สำหรับคนที่ไม่เชื่อในความสามารถของชาวไทย การที่ผมบอกว่านายจิต เป็นคนเก่ง เป็นเจ้าของผลงานชิ้นนั้นๆๆๆ.....ท่านก็บอกสั้นๆ ว่ายกเมฆ
จบ ...(อาจจะแถวคำอะไรตามแต่วงศ์สกุลจะสอนสั่งตามออกมาสักชุด หึหึ)..........จบ (จริงๆ)
เมื่อไม่เชื่อความเห็นของผม ลองฟังความรู้จากผู้รู้ดูสักที ความว่า
"ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี มีหีบไม้สักขนาดเล็กใหญ่จำนวนนับร้อยใบ ตั้งแต่ขนาดฝ่ามือไปจนถึงขนาดสูงเกือบข้อศอก บรรจุกระจกเนกาติฟ
ฝีมือนายจิตรไว้นับไม่ถ้วน ในอัลบัมเก่าบางเล่มของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และรูปถ่ายเจ้านาย
ขุนนาง พร้อมตราร้านนายจิตรเต็มไปหมด ในหนังสือพิมพ์เก่าบางฉบับในหอสมุดแห่งชาติ ลงโฆษณารับจ้างถ่ายรูปของนายจิตรหลายครั้งหลาย
เมื่อยิ่งสืบก็ยิ่งพบผลงานของนายจิตร"(อเนก นาวิกมูล นิตยสารสารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๔ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕)
นี่เจ้าตัวไปเห็นมาเอง สมัยที่หอจดหมายเหตุยังต้องพึ่งความรู้ของคนนอกอยู่ เดี๋ยวนี้ ใครก็อย่าหวังได้เห็นคลังข้อมูลอย่างนี้
ถามว่ากล่องเป็นร้อย แปลว่าอย่าเที่ยวเหมาว่ารูปอะไรๆ ในกรุงสยามยุคนั้น เป็นฝีมือเจ้าของกล่อง อย่างนั้นหรือ
ถ้ายังไม่เชื่อข้อความข้างบน จะเชื่อข้อความที่นายจิตบอกไว้เองหรือไม่เล่า....


?
"Photographics Studio established 1863 F. Chit & Son
Portraits taken daily from 7 to 11 A.M. views of All parts of Siam always on hand, also Siamese Celebrities and Characters of Siamese Lifes"
(the Siam Merkcantile Gazette 1889)
โฆษณานี้ บอกย้อนหลังถึงยี่สิบหกปี ถึงการก่อตั้งห้องถ่ายของนายจิต .......และบอกเนื้อหาของผลงานไว้ น่าจะพอประเมินออกเพราะเขียนเป็นภาษาเทพ
ถ้ายังไม่เชื่ออีก
ไปอ่านโฆษณา ที่ไกล้กับปีตั้งห้องถ่ายกันดู
"อนึ่ง มิศฟะรันซิศจิต, เปนพนักงานสำหรับชักเงารูป ปราถนาจะให้คนในกรุงนอกกรุงเข้าใจว่า, ตัวนั้นอยู่ที่แพ้ (ใส่ไม้โท คงหลงลืม -เอนก) น่าบ้านกะดีจีน,
ได้เป็นพนักงานสำรับชักเงารูปต่าง ๆ. รูปที่ได้ชักไว้แล้วนั้น, ก็มีหลายอย่าง, คือรูปวัง, แลรูปวัด, รูปตึก,รูปเรือน, แลรูปเงาต้นไม้, แลรูปท่านผู้มีวาศนาต่าง ๆ
ในกรุงเทพนี้. ถ้าท่านผู้ใดปราถนา, จะให้ข้าพเจ้าไปชักเงารูปที่บ้านของท่าน ข้าพเจ้าก็จะไปทำ, ราคาค่าจ้างนั้น จะเอาแต่อย่างกลางภอสมควร."
ลงพิมพ์เป็นภาษาคน....เอ้ยภาษาไทยเสียด้วย ในหนังสือจดหมายเหตุ ของหมอปลัดเลฉบับภาษาคน....เอ้ยภาษาไทย ปี 2408 คือสองปีหลังเปิดกิจการ
คนที่คิดต่อได้ คงคิดต่อได้ว่า ลงโฆษณาบอกไว้เป็นชุดใหญ่ถึงรูปที่ท่านมีไว้ให้บริการ ก็ต้องมีให้หาซื้อได้จริงๆ
ถามว่า บริการใคร ใครกันจะอยากได้รูปถ่ายพวกนั้น และจะสะสมจนมีมากขนาดนั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง
คอยเก็บเศษที่พวกฝาหรั่งทำหล่นไว้ ก็ได้มากอย่างนั้นละหรือ แล้วที่ท่านเป็นช่างภาพหลวงล่ะ ว่างงานหรือ
ข้อมูลที่สำคัญที่สุดอีกชิ้นหนึ่งนั้น เป็นของลี้ลับ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเมตตาถ่ายเอกสารส่งมาให้ จ่าหน้าปกว่า
"ต้นบาญชีรูปต่าง ๆ เล่มที่ ๑ ที่ข้าพเจ้าขุนสุลทรสาทิศรักษ เปนผู้ชั่งชักรูปอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งได้ทำไว้ ได้ลงพิมพ์ในปีขานสำเรจธิศก ๑๒๔๐"
หน้าต้นๆ หายไป และหน้าท้ายก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นหน้าสุดท้าย แม้กระนั้น ลำดับเลขที่รูปก็ยังมีถึงเลขพัน
ในสมุดภาพรัชกาลที่ 4 ผมถือโอกาสใช้ชื่อรูปจากบาญชีนี้ กับรูปถ่ายที่มั่นใจว่าตรงกัน เช่น
"พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องอย่างฝรังเสศ เสด็จยืนกุมพระกรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ"
ศักดิ์ศรีของท่าน จะเห็นได้อย่างน่าเคารพ ในชื่อรูปชิ้นหนึ่ง ว่า
"พระรูปพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องต้น ถ่ายต่อพระรูปที่มิษเตอทอมซันเปนผู้ถ่าย หมายนำเบอ..."
คือบอกไว้ไม่ปิดบังว่าถ่ายกีอปปี้จากใคร แต่ที่ใครปิดบังว่าเอาของใครมาใส่ชื่อตัวนั้น ต้องไปถามเหล่าคอเคซอยฟีเว่อร์ว่า เคยเห็นเขาทำกันหรือไม่
บาญชีของท่านนั้น บอกปีพิมพ์ไว้ตรงกับพ.ศ. 2421 หมายความว่า 15 ปี ตั้งแต่เปิดห้องถ่ายรูปมาได้สะสมรูปไว้นับจำนวนมหาศาล
มากมายขนาดนั้น เห็นจะต้องให้ช่างภาพตาน้ำข้าว ยกทัพมากินอยู่สักกี่คณะดีล่ะ อย่างรายนายตำสั้นนั่น เข้าเขมรตั้งหลายเดือน ได้มา 60 แผ่นเท่านั้นเอง
หรือยังไม่เชื่ออีก ก็ไปเปิดหนังสือคอร์ต ที่ลงรายงานเรื่องสิ่งของที่บันจุในอู่พระฤกษ์ ใต้พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระราชพิธีก่อพระฤกษ์
วันพุธ เดือนหก แรม๑๐ค่ำ ปีชวดอัฐศก ศักราช ๑๒๓๘ คือก่อนบาญชี สองปี
แลมีรูปถ่ายต่างๆ ดังจะได้มีบาญชีบอกต่อไปนี้.....รวมทั้งสิ้นเปน ๕๓ รูปๆ เหล่านั้นม้วนผูกในถุงเข้มขาบ บรรจุในหีบตะกั่วนั้นเหมือนกัน.... "
น่าประหลาดใจ ที่บาญชีรูปที่บันจุ ทำไมละม้ายคล้ายบาญชีนายจิตเสียจริงๆ แถมมาตรงกับรูปมากมายที่เห็นกันเจนตา
ถามว่า ทั้งหมดนั่น เราจ้างฝรั่งมาถ่ายหรือ แล้วให้ช่างภาพหลวงนั่งตบยุง....เฮอะๆ