เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
โพลล์
คำถาม: คุณคิดว่าทำไมคนถึงมักเขียนภาษาไทยกันผิด
การอ่านที่เหมือนกัน
อยากให้แตกต่างจากคำที่ถูกต้อง
เห็นคนเขียนกันจึงอยากเขียนบ้าง

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 28750 ภาษาวิบัติ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 25 ต.ค. 07, 14:00

ที่จริง ถ้าราชบัณฑิตยฯ จะอนุโลมให้อ่าน ขะมักเขม้น ว่า ขะหมักขะเม่น   ได้  ก็ต้องทำมากกว่ายอมให้อ่านผิดๆ   ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
จะให้ถูก คือต้องแก้ไขตั้งแต่การสะกดคำ    ให้เขียนว่า ขะมักเขม้น หรือ ขมักเขม้น ก็ได้
ตัดสระอะ ออกไป คำนี้จึงอ่านได้ว่า ขะหมักขะเม่น   

แต่ท่านไม่ทำอย่างนั้น  ไปอนุโลมว่า การอ่านผิด ถ้าอ่านกันมานาน  จนชินกันไปหมดแล้วก็ถือว่ายอมรับได้  ไม่ว่าจะสะกดยังไงก็ตาม
เลยไม่ต่างอะไรกับการตั้งสินค้าบนทางเท้าสาธารณะ   ถ้าปล่อยให้ตั้งมานาน  จนไล่ไม่สำเร็จ   ก็ให้ถือว่าถูกต้อง รู้แล้วรู้รอดไป
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 ต.ค. 07, 14:22

เรื่องภาษาวิบัติ เมื่อก่อนผมก็รำคาญใจเหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้เฉยๆแล้วครับ

เพราะมาคิดๆดูภาษามันเปลี่ยนแปลงไปตลอด ทั้งภาษาพูดภาษาเขียน ถ้าจะเรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าคือการวิบัติ การวิบัตินี้ก็เกิดต่อเนื่องกันมาตลอดนานเท่าไหร่แล้วก็ไม่ทราบ และถ้ามันจะวิบัติลงไปได้จริง ป่านนี้ก็คงล้มหายตายจากไปนานแล้วครับ

๗๐๐ ปีมานี้ จากจารึกสุโขทัยมาถึงปัจจุบัน อักขรวิธีเปลี่ยนไปมาก คำศัพท์ที่ใช้หลายคำเลิกใช้ไปแล้ว และมีอีกหลายคำที่ถึงแม้ยังใช้อยู่ แต่ความหมายเปลี่ยนไปแล้ว

หรือเอาให้ใกล้กว่านี้ สมัยผมเรียนมัธยม คู่มือสอบบางเล่มยังเขียนโปรยบนปกว่า "เฉลยโดยพิสดาร" อยู่เลย สมัยนี้ขืนใครเขียนแบบนี้สงสัยขายไม่ออกแน่  ยิงฟันยิ้ม

สรุปว่าถ้าภาษาวิบัติคำไหนมันแน่จริง ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยจนตกทอดไปถึงอนาคตได้ก็ช่างมันเต๊อะ

ทั้งนี้ทั้งนั้นผมก็เห็นว่าใครไม่ชอบใจก็เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลโดยชอบธรรมนะครับ เพราะท่านก็คือฝ่ายที่ต้านกระแสการเปลี่ยนแปลง เป็นส่วนหนึ่งของผู้กำหนดอนาคตของภาษาไทยเหมือนกันครับ


มีเรื่องพิลึกๆทีี่ได้เห็นมาอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับภาษาวิบัติหรือเปล่าไม่ทราบ คือเรื่องมาตรฐาน ISO 11940
http://en.wikipedia.org/wiki/ISO_11940
ดูแล้วข้องใจมากว่ามาตรฐานนี้กำหนดขึ้นมาเพื่ออะไร เพราะไม่ใช่มาตรฐานการถอดเสียง แต่เป็นการถอดรูป คือเขียนภาษาไทยโดยใช้อักษรโรมันที่เพิ่มตัวประหลาดเข้าไปมากมายเพื่อให้ถอดรูปอักษรไทยได้ครบทุกตัว ซึ่งฝรั่งก็อ่านไม่ออกอยู่ดี

เห็นประโยชน์อยู่ประการเดียว คือเลิกใช้อักษรไทย แล้วไปเขียนด้วยอักษรประหลาดตามมาตรฐานนี้แทน

For what?  เศร้า
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 25 ต.ค. 07, 14:46

วิวัฒนาการของภาษา กับ ภาษาวิบัติ เป็นคนละเรื่องกันค่ะ  แม้ว่าบางส่วนคาบเกี่ยวกันอยู่ก็ตาม  แต่จะเอาอย่างหนึ่งมาอ้างในการค้านอีกอย่างหนึ่ง แบบสูตรสำเร็จ  ก็คงจะไม่ได้
นักภาษาศาสตร์ถือว่าภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือภาษาที่ตายแล้ว   หมายถึงไม่มีสังคมใดใช้ในชีวิตประจำวันอีก  หยุดอยู่แค่ในตำรับตำราเก่าๆ อย่างภาษาละติน   ถ้ายังงี้ละก็ไม่มีวิบัติ   แต่ภาษาที่ใช้พูดใช้เขียนกันอยู่เป็นประจำย่อมมีการเปลี่ยนแปลง
แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นก็ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนสะเปะสะปะได้ตามใจชอบ   แล้วอ้างว่าวิวัฒนาการ  มันจะต้องมีบางอย่างที่คงตัวอยู่เสมอ

อย่างหนึ่งที่ดิฉันเห็นว่าคงตัว ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด คือหลักเกณฑ์
เช่นหลักเกณฑ์ในตัวสะกด และการออกเสียง
ถ้าโพสในเว็บบอร์ด ว่า "อีกแระ" แทน "อีกแล้ว"  ดิฉันไม่ถือว่าเป็นภาษาวิบัติ แต่เป็นภาษาพูด 
แต่ถ้าสะกดว่า "อีกแร๊ะ" ดิฉันถือว่าผิด  เพราะ ร เป็นอักษรต่ำ  สะกดด้วยสระเสียงสั้น เป็นเสียงตรีอยู่แล้ว ไม่ต้องเติม ไม้ตรี   นี่คือผิดหลัก
ส่วนการออกเสียง    ฉ   ช   ของเรา  ออกเสียงไม่เหมือน  ch หรือ sh ของฝรั่ง  นักร้องร้องออกเสียงเพี้ยนเป็น ch หรือ sh ทีไร   ดิฉันถือว่าออกเสียงผิด  เพราะเป็นการจงใจให้ผิด   ต่างจากฝรั่งที่พยายามพูดภาษาไทยแล้วออกเสียงแบบภาษาของเขาด้วยความเคยชิน
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 ต.ค. 07, 00:30

             อนุโลมอ่านแบบคำพวกนี้หรือปล่าวครับ
ตำรวจ   อ่านว่า   ตำ-หรวด    ที่จริงน่าจะอ่านว่า     ตำ-รวด
กำเนิด   อ่านว่า  กำ-เหนิด    ที่จริงน่าจะอ่านว่า      กำ-เนิด
           
                ผู้รู้แถวบ้านผมว่า  มันมาจากภาษาเดิม  ที่เราแผลงจากคำว่า  ตรวจ  เป็น  ตำรวจ  เลยอนุโลมอ่าน  เหมือน เกิด  เป็น กำเนิด   อนุโลมอ่านเนื่องจากศัพท์และนิยมมาแบบนี้  อย่างนี้ควรเรียกว่ายังไงล่ะครับ  มีเหตุผลที่มาที่ไปเลยอ่านอย่างนี้  แต่ผิดหลักการอ่านที่ว่า  อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว  อ่านออกเสียง โท  อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้นอ่านออกเสียงตรี  ทำไมไม่เขียนไปเลย  ว่า  ตำหรวจ   หรือ  กำเหนิด  ถ้าอยากให้เป๊ะๆตามหลักการ  ไม่ต้องมามีข้อยกเว้นเวลาสอนเด็กๆ.. เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 26 ต.ค. 07, 07:17

คำที่คุณ Bana ยกมา มันมีที่มาที่ไป อธิบายได้  และมีหลักเกณฑ์ด้วย  คือเป็น"คำแผลง"
ตำรวจ แผลงจากคำว่า ตรวจ
กำเนิด แผลงจากคำว่า เกิด
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคำ เช่น
ดำริ   แผลงจากคำว่า ตริ   ต แผลงเป็น ด อีกทีหนึ่ง
ดำรู   แผลจากคำว่า ตรู   (แปลว่างาม  อย่างที่เห็นในคำว่า โฉมตรู)
คำแผลงทุกคำ รักษาเสียงวรรณยุกต์เอกจากคำเดิมเอาไว้   เป็นเค้าให้รู้ถึงกำเนิดของคำ    เพราะฉะนั้นถึงไม่ใช้หลักเกณฑ์การผันเสียงวรรณยุกต์   ก็เป็นเพราะมีหลักเกณฑ์ของตัวเอง
คนละอย่างกับ ขะมัก ที่ออกเสียงว่าขะหมักค่ะ  เอามาอ้างแทนกันไม่ได้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 26 ต.ค. 07, 10:31

จะว่าไปเรื่องการออกเสียง ฉ ช เป็น sh อาจเป็นเรื่องที่ "ผิด" เฉพาะคนที่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศนะครับ

คนส่วนมากอาจจะฟังแล้วแค่แปลกหู เพราะแยกแยะความแตกต่างของ ช sh ch ไม่ได้
หลายปีที่แล้วผมไปเสียบเรียบ สังเกตเห็นว่าเขาออกเสียง shop ว่า ส็อป ในขณะที่ไทยเราออกเสียง ฉ็อป ความจริงแล้วทั้งไทยและเขมรไม่มีเสียง sh ต่างฝ่ายต่างก็ออกเสียงไปตามที่หูตัวเองได้ยิน หรือจะมีใครเริ่มใช้แล้วคนอื่นใช้ต่อๆกันมาก็ไม่รู้
ผมคุยกับคนเขมรคนนึงเรื่องนี้ เขาบอกว่าคนไทยออกเสียงผิด แทนที่จะอ่าน ส็อป ดันอ่านว่า ฉ็อป ฮา...........

ในภาษาไทยเองมีร่องรอยของเสียงที่เพี้ยนไปจนไม่เหลือเค้าเดิมคือเสียง ฅ ซึ่งเราไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไรแน่ แต่อาจเป็นเสียงลงคอ (แบบเสียง h ของจีนกลาง)
นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีเสียง ร และเสียงควบกล้ำ ร,ล ที่แตกต่างกันระหว่างไทยกับลาว
เสียง ห ที่ทางอีสาน(และที่อื่นด้วยไหม?) ออกเสียงขึ้นจมูก
พวกนี้ก็น่าจะเกิดจากวิวัฒนาการของภาษาด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 26 ต.ค. 07, 11:01

อ่านของคุณอาชาแล้วงง ไม่เข้าใจ

ถ้าคนต่างประเทศที่ภาษาของเขามีแต่เสียง ch หรือ sh ไม่มีเสียง ช  มาหัดพูดภาษาไทย    แล้วออกเสียง ช ช้าง เป็น ch sh  ตามความเคยชินแต่เดิม     ดิฉันไม่ถือว่าผิด
ที่ผิดคือคนไทยที่ออกเสียง ช ได้สบายเพราะพูดมาตั้งแต่เกิด แต่กลับไปออกเสียง ch sh ที่ไม่มีในภาษาของเรา  เวลาพูดภาษาไทย หรือร้องเพลงไทย  นี่ต่างหากล่ะคะ ผิด
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 26 ต.ค. 07, 11:22

เรารู้ว่าผิด และผิดเพราะอะไร แต่มีคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของสังคม เขาไม่รู้จักเสียง sh ch ครับ ดังนั้นในโลกทัศน์ของเขา มันก็คือเสียง ช ทั้งนั้นแหละครับ แต่แปร่งๆไปหน่อย

เหมือนกับเวลาฝรั่งมาหัดพูดไทย มันยากตรงเรื่องวรรณยุกต์ เพราะไม่มีของแบบนี้ในโลกทัศน์ของเขาเลยครับ เขาแค่รู้สึกได้ว่ามันมีอะไรแปลกๆอยู่ หลายคนอยู่เมืองไทยเป็นสิบปียังจับทางไม่ถูกเลยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 26 ต.ค. 07, 11:47

ดิฉันว่า  การที่เสียงบางเสียงหาย หรือเปลี่ยนไปเกิดขึ้นเพราะว่าเสียงนั้น ๆ ไม่เข้ากับพื้นเสียงของภาษากลางที่เราใช้กันอยู่  ในอดีตมันเกิดขึ้นเพราะการติดต่อสื่อสารความรู้ที่มีมันไปถึงกันได้ยาก  การสื่อสารเป็นไปแบบปากต่อปาก  อันนี้ดิฉันเข้าใจ และรับได้  เสียง ค คน ก็เลยหายไป  แต่อย่างเสียง "ญ" อ่านพบว่าเป็นเสียงขึ้นจมูกแบบคำเมือง  ซึ่งถ้าเรามีโอกาสฟังดี ๆ ได้ยินคนเมืองแท้ ๆ พูด "แม่หญิง" เสียง "ญ" เป็นเสียงขึ้นจมูก  ออกเสียงยากมากสำหรับคนไม่คุ้นเคย  แต่ถ้าใส่ใจ เอาจริงเอาจัง  ก็ทำได้ค่ะ  ณ วันนี้เสียง "ญ" ยังมีอยู่  ขณะที่เรามืเครื่องมือการสื่อสารที่ดีขนาดทำให้โลกทั้งโลกสามารถรับรู้เรื่องราวถึงกันได้รวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาที  เทคโนโลยี่สื่อสารมวลชนทำได้มากมาย  ทำไมเราทำความรู้แค่นี้ไม่ได้ค่ะ สมัยดิฉันเด็ก ๆ จำได้ว่า คนจำนวนมากออกเสียง H เป็น เฮช ตอนนี้ก็ไม่เห็นมีใครอ่านเป็น เฮช อีกแล้ว เราทำมาได้อย่างไรล่ะคะ  ดิฉันว่าเราไม่ควรยอมจำนนนะคะ 
ทำอย่างไรเราจะได้เสียง "ฉ" ที่ไม่ใช่ sh "จ" ที่ไม่ใช่ "J" "ท ธ" ที่ไม่ใช่ "TH" ของเรากลับคืนมา  ขณะที่เราก็ออกเสียง "shirt" ไม่ใช่ "เชิร์ต" ได้ด้วย

ขอแถมตรงนี้นิดหนึ่งค่ะ  ดิฉันชอบดูรายการ Morning talk ของช่อง 11 ค่ะ  รู้สึกดีที่พิธีกรไทยพูดคำว่า "สวัสดี" ชัด ขื่อถนน สถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นภาษาไทยก็ออกเสียงไทยชัด ไม่ด้อยไปกว่าการออกเสียงภาษาอังกฤษ

ดิฉันรู้สึกเหมือนคุณเทาชมพูค่ะ  และเข้าใจที่คุณCrazyHorse บอกว่าบางคนจับความแตกต่างไม่ได้  หรือบางคนจับได้แต่ก็ออกเสียงไม่ได้  อันนี้ก็ให้เป็นคน ๆ ไป ทำไม่ได้แต่ก็รู้อยู่ แต่คนแบบนี้ไม่ควรมาเป็นต้นแบบ  ไม่ควรนำมาเผยแพร่เป็นที่ยอมรับกันค่ะ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 27 ต.ค. 07, 00:57

                แต่แถบบ้านผม  เสียง "ช"  ออกกันลำบากมากเลยครับ  ส่วนมากจะออกเป็นเสียง "ซ"    "ช้าง"  ออกเป็น   "ซ้าง"  ไม่เว้นแม้แต่เด็กๆ  อันนี้คงโทษไม่ได้หรอกครับ  เหมือนปักษ์ใต้  ออกเสียง "ง"  เป็น  "ฮ"  ก็เยอะ  ถ้าภาษาพูดนะครับแถบบ้านผม  ไม่ใช่ว่าเสียง "ช"  หายไป   แต่มันไม่เคยมีเสียง "ช" เลยด้วยซ้ำ  แถบบริเวณที่ท่าน CH ยกตัวอย่างมาก็ประมาณคล้ายๆกัน  อักขระโบราณแถบนี้แม้ประเทศเพื่อนบ้าน  มีหลายตัวครับออกเสียงไม่ค่อยได้  "เรือ"  ก็ออกเป็น  "เฮือ"

                จนผมสงสัยว่าการออกเสียงแท้จริงแล้ว  ที่ถูกจริงๆแบบที่แถบภาคกลางว่าเอาเอง  แล้วยึดถือเป็นรูปแบบว่านี่ล่ะถูกที่สุดนั้น  มันจริงหรือเปล่า  แม้แต่คำที่ว่ากันว่าแผลงมาจากภาษาต่างบ้านต่างเมือง  เอาเข้าจริงไม่เหมือนของเดิมของจริงด้วยซ้ำ  ผมยังนึกถึงคำที่เคยเรียนกันว่า กัมมาจล  ตะแล๊ปแก๊บ  คงประมาณนี้กระมัง  ภาษาถิ่นต่างหากที่ยังคงอัตลักษณ์ไว้ได้อย่างยาวนาน  มีหลักฐานจากคำสวดหรือภาษาจากคัมภีร์ที่ยังใช้กันในปัจจุบัน......... ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 ธ.ค. 07, 21:03

ปัจจุบันคำภาษาที่มักเขียนกันผิดโดยไม่เจตนาก็มีมาก ที่เห็นกันเป็นส่วนใหญ่ก็คือ "อนุญาต"

ที่เขียนกันผิดก็เพราะว่า ญาติ พ้องกับคำว่า ญาต ที่ใช้ใน อนุญาต คนไทยคิดว่าญาติเป็นคำที่ถูกต้องจึงนำมาใช้ แต่ที่จริงแล้วเป็นการเขียนที่ผิดรูปแบบ  รูดซิบปาก

บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 ธ.ค. 07, 14:27

เรื่องสะกดผิดคงไม่เข้าข่ายภาษาวิบัติหรอกครับ เรียกว่า "ผิด" ชัดเจนกว่า บางครั้งบางหนเผลอเรอผมก็เคยพิมพ์ผิดบ้างเหมือนกันครับ

เคยหลงไปเจอเว็บไซต์บางแห่ง อ่านแล้วงง ตอนแรกนึกว่าพิมพ์ผิด อ่านไปอ่านมาเจอบ่อยจนเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องพิมพ์ผิดเสียแล้ว เป็นเรื่องของแฟชั่นใหม่ ที่น่าจะเข้าข่ายภาษาวิบัติ ซึ่งจะมีผลต่อการค้นหาข้อมูลเสียด้วย

เขาใช้ ภ แทน เ และใช้ ย แทน โ ครับ เช่นจะเขียน เลือก กลับพิมพ์ว่า ภลือก จะเขียน โดย ก็กลายเป็น ยดย อ่านแล้วเวียนหัวมากๆ คิดไม่ถึงว่าจะเล่นกันพิสดารถึงขนาดนี้ครับ

 เศร้า
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 ธ.ค. 07, 20:57

ที่ง่ายๆสะกดผิดกันประจำผมเห็น คะ ค่ะ...เจ้าคะ เจ้าค่ะ รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 ธ.ค. 07, 18:28

ค่ะ คะ คับ งับ อย่างเช่น มีอะไรรึเปล่าค่ะ หวัดดีงับ
บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
pazzanai
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 02 ม.ค. 08, 09:38

ตอนเด็ก เห็นภาษาเขียนแปลกๆ พวกนี้ จากนิตยสารวัยรุ่นค่ะ
สมัยวัยน่ารัก เธอกับฉัน ที่มักจะขึ้นชื่อดาราวัยใสยุคนั้นว่า
ยัย...อย่างนั้น   นู๋... อย่างนี้
ซึ่งเด็กๆ วัยรุ่นสมัยนั้น ก็ใช้ตามกันจนเคยชิน
รวมทั้งตัวหนังสือไทยแบบยกล้อ ก็เริ่มจะเห็นได้มาตั้งแต่ยุคนั้นล่ะค่ะ

ส่วนหนึ่งมากจากความรู้สึกอยากเลียนแบบความโก้เก๋
ซึ่งก็มาจากสื่อต่างๆ นี่เอง
ภาษาพูด กับภาษาเขียน ก็มีความแตกต่างกันค่ะในเรื่องของการวิบัติ
เวลาเห็นใครเขียนหนังสือไทยด้วยภาษาวิบัติ จะหงุดหงิดกว่าภาษาพูดเยอะเลยค่ะ
แต่ก็ไม่ชอบให้วิบัติทั้งสองอย่างอยู่แล้ว
พวกอ่านออกเสียง ส.เสือ อักเสบ
เวลาฟังในวิทยุ ก็ยังหงุดหงิดว่า ให้ผ่านใบผู้ประกาศมาได้อย่างไร
ส่วนภาษาเขียนไม่ต้องพูดถึง..
เห็นแล้วคิดว่า เรียนจบม.6 มาได้อย่างไร


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 22 คำสั่ง