เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
โพลล์
คำถาม: คุณคิดว่าทำไมคนถึงมักเขียนภาษาไทยกันผิด
การอ่านที่เหมือนกัน
อยากให้แตกต่างจากคำที่ถูกต้อง
เห็นคนเขียนกันจึงอยากเขียนบ้าง

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 28737 ภาษาวิบัติ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 11:17

ตอบแบบคนไม่รู้เรื่องดนตรีนะครับ
เสียง sh และ th ในภาษาไทยนี้ เป็นเสียงไม่เต็มโน๊ต
เอาว่าไม่เต็มเสียงไทยละกัน คือใช้แค่ลมผ่านปลายลิ้นก็ได้เสียงแล้ว ไม่ต้องใช้ลึกถึงโคนลิ้น ลูกคอ หรือท้อง
เป็นเสียงที่ทำง่าย เด็กเพิ่งหัดพูดก็ทำได้ ในทางดนตรี เมื่อนำมาใช้นั้น มีที่ทางให้สิงสู่อยู่ไม่มาก
ส่วนใหญ่มักจะไปอาศัยอยู่กับเพลงแจ๊ส

ในเพลงไทยนั้น เสียงครึ่งเสียงแบบนี้ ผมไม่เคยได้ยินจากนักร้องรุ่นมีครู
ลองฟังง่ายๆ อย่างรุ่นชายเมืองสิงห์เถิด แกจะบิดเสียงไปอย่างไรก็ตาม คำนั้น ต้องครบเสียง
จะไม่มีการสร้างเสียงลอดปลายลิ้นอย่าง sh... th เป็นอันขาด เพราะแกต้องร้องเพลงครบโน๊ต
คนมีครู ทำอะไรครึ่งๆ กลางๆ ไม่เป็นดอก

นักร้องไร้ครูนั้น มาพร้อมวงสตริง
เมื่อสี่สิบปีที่แล้ว วัฒนธรรมที่น่าจะเรียกว่าสันดานแยงกี้ เข้ามาเต็มถนนเพชรบุรีตัดใหม่
พวกนี้ฟังเพลงแบบที่บ้านมัน เราก็ต้องทำเพลงแบบที่บ้านมันฟัง เอามากรอกหู
ก้อ พี่สุเทพ พี่ชรินทร์อะไรเหล่านี้ ร้องเพลงแยงกี้ม่ายเป็นอ่ะ มันก้อเลยเกิดช่องว่างทางดนตรีขึ้นมา
เด็กวัยยี่สิบตอนนั้น รวมกลุ่มกันเล่นดนตรี เอารูปแบบของวงสี่เต่าทองมาใช้
มีกีต้าร์สามตัว กลองหนึ่งชุด ก็หาเงินได้แล้ว ร้องเพลงของฝาหรั่งให้ฝาหรั่งฟัง
ก็ไม่ได้มาทำร้ายเพลงไทยอะไร

วิกฤติมาจากการประกวดวงสตริงครับ
วงที่ชนะเลิศสามปีซ้อนวงนั้นแหละครับ ที่นำเสียง sh และ th เข้าสู่หูชาวไทยอย่างเป็นทางการ
ยิ่งวงมีชื่อเสีย...เอ้ยชื่อเสียง
sh และ th ก้อกลายเป็นของเท่ การดัดเสียงไทยเข้าสเกลโน๊ตฝาหรั่ง ก็บังเกิด
เป่น ปาย ม้าย ด้าย....ท่า หาก ฉาน มี สิ่บ น่า......เหมือน ทด สะ กัน
ประมาณนี้แหละครับ

ส่วนความวิบัติที่ตามมา เพราะการที่มีอากู๋อาเฮียเข้ามาทำมาหากินกับเพลงไทยนั้น
ผมไม่ถนัด เพราะไม่ฟังเพลงไทยมาตั้งแต่สุรพลตาย ศรคีรีตาย ระพินตาย

ท่านเหล่านี้ พาเพลงไทยตายไปด้วย....ฮือๆๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 11:55

แจสหลายเพลง ที่ใช้ ช sh ch หรือ ส s แล้วไม่น่าฟังก็มีครับ
ส่วนมากมักจะเป็นแจสที่ใช้ภาษาค่อนข้างซับซ้อน
เช่น เพลงพระราชนิพนธ์แจสหลายเพลง
ถ้าใครซักคนมาร้อง jud tien buan suang puang teb-pha-jao
ผมว่าคงออกมาคล้ายๆแขกสวดมนต์มากกว่าเพลงแจสครับ แหะๆ

แต่ถ้าแจสฝันๆ อีกหลายเพลง อย่าง "คิดถึงเธอทุกทีที่อยู่คนเดียว" ที่ว่า
ถ้าจะร้องให้ลงอักขระจริงๆ อารมณ์ฝันๆ ของเพลงคงหายไปเยอะครับอาจารย์
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 13:06

เมื่อวันเสาร์ที่แล้วดูรายการชิงช้าสวรรค์  นักเรียนได้นำเพลงของ ชินกร ไกรลาส มาขับร้องประกวด  ครูสลาได้ให้ข้อสังเกตเป็นความรู้ไว้ว่า  จุดเด่นของ ชินกร ไกรลาส นอกจากลูกคอซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว  ชินกรยังเป็นนักร้องที่สามารถร้องเพลงได้ไม่เพี้ยนทั้งคำ วรรณยุกต์ และโน้ต  ดิฉันว่า  นักร้องที่สามารถน่าจะเป็นผู้นำพาทุกอย่างไปค่ะ ไม่ใช่ให้โน้ต หรือดนตรีพาไป ต้องลองไปหาเพลงของชินกรมาฟังเยอะ ๆ แล้วล่ะค่ะ

ดิฉันเห็นมีฝรั่งมาร้องเพลงลูกทุ่งอยู่  แต่ไม่เคยสนใจ  คราวนี้เห็นจะต้องลองหามาฟังเสียหน่อย  เผื่อจะได้อะไรใหม่ ๆ มาเป็นประเด็น
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 00:26

ท่านศิลปินแห่งชาติ คุณชินกร ไกรลาศ  ผมยอมรับครับว่าท่านร้องได้ชัดเจนไม่เพี้ยนวรรณยุกต์ด้วย  แต่นั่นเป็นเพลงไทยแท้ๆครับทำนองจากเพลงไทยเดิม  เอาง่ายๆครับโน๊ตดนตรีไทยจะไม่มีตัวครึ่งเสียง พวกแฟลชหรือชาร์ป  ถ้าแต่งละเมียดละไมหน่อยก็ร้องได้โดยไม่ผิดสำเนียงและวรรณยุกต์ด้วยครับ  แต่ในปัจจุบันเพลงที่เราว่าเป็นแจ๊สเป็นสตริง ฯลฯ  สำเนียงฝรั่งครับ  ถ้าจะว่าแปร่งหรือเริ่มเพี้ยนตอนไหน  ผมว่าน่าจะตั้งแต่ตอนที่เอาทำนองฝรั่งมาแปลงเป็นเนื้อไทยล่ะครับ  ถ้าไม่ละเมียดละไมในการใส่คำร้องก็ผิดวรรณยุกต์ได้โดยง่ายเพราะต้องยึดทำนองเป็นหลัก  แต่ที่น่านับถือ  คือเอาท่วงทำนองฝรั่งมาบ้างแต่ยังร้องได้ชัดถ้อยใส่คำร้องได้สวยคือวงสุนทราภรณ์ครับ  หลังๆมานี่หาได้ยากยิ่งพวกR&Bยิ่งแล้วเลยครับ  ลูกทุ่งก็มีบ้างครับ  อย่างที่เอาเพลง Diana ของ Paul Anka มาร้องขึ้นต้นด้วย  "เธอลูกเสี่ยเฮง....."  ผมฟังทั้งของก็อตและของดั้งเดิม  โอ้ย ฮากก  ฮากก ฮากกาน  บ่ได้ดอก  แต่ไม่เห็นมีใครว่าอะไรนี่ครับ  ผมเห็นด้วยกับท่านติบอครับ  เพลงคือเพลงฟังได้ครับศิลปะแขนงนึง   แต่ถ้าพูดปกติมาออกเสียงเป็น  พี่แช่  พี่แช่  อันนี้แมนรับบ่ได้....... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 01:40

ค้านคุณกล้วยหน่อย (ในฐานะที่มีเพื่อนสนิทเล่นดนตรีไทยมาหลายคนละ)
ผมว่าในมุมกลับกัน......



คนดนตรีไทยที่หัวอนุรักษ์หลายคนกลับเรียก "เพลงลูกทุ่ง-ลูกกรุง ทำนองดนตรีไทยเดิม" ว่า "ดนตรีวิบัติ" ครับ
(ไม่เว้นแม้แต่สุนทรภรณ์ ผู้เป็นต้นคิดแรกๆที่เอาเพลงไทยเดิมมาตัดลูกเล่นออกแล้วใส่เนื้อใหม่เข้าไป)
เพราะการทำเพลงลักษณะนี้ ด้วยความไม่สันทัดกรณีของนักดนตรีสากลชาวไทย
ทำให้เกิดการคงทำนองเพลงเดิม แต่เปลี่ยนจังหวะให้กลายเป็นจังหวะแบบละตินอเมริกา
หรือการลดทอนความละเมียดละไมที่เพลงควรจะมีลงไปจนแทบไม่เหลืออะไรเลย



ถ้านักดนตรีไทยรุ่นใหม่ซักคนแกะโน๊ตมาจากเพลงสุนทราภรณ์ แล้วเผลอไปเล่นให้ครูดนตรีฟัง
ก็มักจะโดนถามมาด้วยน้ำเสียงเหยียดๆว่า "นี่เธอไปเอาลูกวงโยฯที่ไหนมาเล่นน่ะ"
หรือไม่ก็ "นี่มันวงมโหรีนะ ไม่ใช่วงดนตรีหางเครื่องที่ไหน" เอาได้ง่ายๆครับ แหะๆ





ปล. ใครเคยฟังเพลงไทยเดิมจริงๆ......
ต่อให้ไปฟังจากแผ่นของหม่อมส้มแขก... เอ๊ย หม่อมส้มจีน ก็ได้
ผมเชื่อครับ ว่าหลายเพลงโดยเฉพาะเพลง 3 ชั้น น่ะ ฟังกันไม่ออกนะครับ ว่าเขาร้องว่าอะไร
เสียง พยัญชนะต้น ตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ เพี้ยนไม่เหลือหลอครับ แหะๆ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 06:58

ขอร่วมวงสักนิด
ดิฉันเป็นแฟนสุนทราภรณ์ ก้าน แก้วสุพรรณ พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ สุรพล สมบัติเจริญ เรียม ดาราน้อย ศรีไสล สุชาติวุฒิ พิทยา บุณยรัตพันธ์ ฯลฯ แต่มีอยู่ยุคหนึ่ง เพื่อนชอบพี่แช่มาก ดิฉันกัดฟันขอร้องคนสนิทให้ไปซื้อพี่แช่มาให้ฟังหน่อย
เทปม้วนนั้น พี่แช่เขียนเนื้อเอง ร้องเอง
เพื่อนคนนั้นร้องได้ทุกเพลง
แต่ไม่ได้ชอบตามเพื่อนหรอกค่ะ แค่อยากจะรู้เท่านั้นว่า ดีตรงไหน
เพลงรุ่นใหม่ๆได้ฟังบ่อย ทั้งสดๆ และที่วัยรุ่นเปิดให้ฟัง ฟังแล้วทำใจ
แต่ก็มีบางวง ที่พวกเขามีภูมิหลังทางดนตรีไทยไต่เต้ามาจากการประกวดตามสถานีวิทยุ ที่ให้เยาวชนขึ้นไปเล่นดนตรีประกวดกัน แล้วมีกูรูรับเชิญขึ้นมาเป็นกรรมการวิจารณ์ คัดเข้ามาเรื่อยๆจนได้วงชนะเลิศ
สร้างวงดีๆให้เมืองไทย และทำลายน้ำใจวงที่ดีๆไปพลางๆด้วยเพราะการตัดสินที่ไม่อยู่บนรากฐานของดนตรีแต่เป็นการค้าที่บังอาจใช้คำว่าการตลาด
แต่เป็นการตลาดแบบสุกเอาเผากิน
เราจึงได้นักร้องประเภทออกเสียงภาษาไทยไม่ถูกอักขรวิธี คนแต่งเพลงที่ไม่สนฉันทลักษณ์เพราะมันยากเกินกว่าที่เขาจะเข้าใจ
หรือใส่ใจ
แล้วก็กลบว่า มันไม่ทันสมัย...
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 07:04

ดิฉันเพิ่งมาเป็นแฟนดนตรีไทยจริงจัง เพราะไปนั่งดูการแสดงดนตรีไทยและเพลงไทยเดิมบ่อยๆที่มหาวิทยาลัยบูรพา
ซึ่งทำให้ชีวิตมีความสุขพอๆกับการฟังดนตรีสากลดีๆ
ชอบสินนภา สารสาส และกลุ่มอนุรักษ์ดนตรีไทยของเธอ
สินนภา ไม่ร้อง แต่แต่งเพลง ประยุกต์ไทย กับแปลงสากล
ชอบเสียงร้องเพลงไทยอันไพเราะด้วยอักขระ ที่ไม่เว่อ ของครูบาอาจารย์ชายหญิงที่นั่น
รวมถึงนักศึกษาที่บทจะให้นั่งเล่นดนตรีไทยด้วยท่าทีที่สงบ สง่า เสงี่ยมก็ได้
และเมื่อเป็นดนตรีสากลก็เล่นได้ดี ซ่า ไม่แพ้ฝรั่ง
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 07:38

นักแต่งเพลงและโพรดิวเซอร์เก่งๆ ที่มีวิญญาณไทย สไตล์ฝรั่งเช่น เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ที่ไม่ปล่อยให้นักร้องเปล่งเสียงผิดพลาดก็ล้มหายตายจากไป นักแต่งเพลงและโพรดิวเซอร์รุ่นหลังๆไม่ทราบใช้อะไรเป็นบรรทัดฐานเขาก็ทำงานของเขาไป
อาจจะคิดว่า มันโก้ดีด้วยซ้ำ ถ้าจะปล่อยงานที่นักร้องร้องตัวท.ทหารเป็นตัว ที ช.ช้าง เป็น ตัวsh
ฯลฯ
ทำใจว่าเป็นเรื่องของแฟชั่น เกิดขึ้น แล้วก็เสื่อมสลาย
พวกผู้ประกาศข่าวและพิธีกร รวมถึงดารารับเชิญในทีวี และผู้ประกาศวิทยุนี่สิ
คงต้องเข้มงวดให้มากๆ
บันทึกการเข้า
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 10:24

สมัยเด็กๆ ครูภาษาไทยผม เน้นให้ออกเสียงชัด ควบกล้ำถูกต้อง    ครู ไม่ใช่ คู   เกลียด ไม่ใช่ เกียด
เพื่อนตจว หัดพูดภาษากรุงเทพ  ครูสอนให้ออกเสียงยังไงถึงไม่เหน่อ

ครูบอกว่าภาษาทุกภาษา ออกเสียงชัดเจนถูกต้องถึงจะเพราะ   ไม่เห็นภาษาไหนสอนว่าออกเสียงเพี้ยนๆดีกว่า น่าฟังกว่า
พึ่งรู้ในกระทู้นี่ว่าออกเสียงเพี้ยนถึงจะดี    ในเพลงภาษาไทยที่เอาดนตรีฝรั่งหนุนหลัง   เอ๋อรัปทานครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 11:24

ดิฉันขออนุญาตเปิดประเด็น  ทำไมเราถึงต้องอนุรักษ์เสียง และการใช้ภาษาไทยแบบเดิม ๆ ของเราไว้  ทำไมเราไม่ปล่อยให้ภาษาของเราปรับตัวไปตามกระแสของสังคม และโลก  พระพุทธเจ้าบอกว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง  ถ้าเรายึดมั่นถือมั่น ตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลง นั่นแหละทุกข์ 
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 12:57

เราอยู่ในกระแสของการเปลี่ยนแปลง และมีสิทธิ์เลือกที่จะให้ภาษาวิวัฒน์ไปอย่างไร แต่ถึงที่สุดจะเป็นอย่างไรก็คงฝืนไม่ได้ครับ

เฉพาะในภาษาไทยที่เราใช้อยู่ก็มีร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงอยู่ไม่น้อย เสียง ฃ, ฅ หายไปแล้ว เสียง ไ และ ใ กลายเป็นเสียงเดียวกัน(ต้องไปหาร่องรอยเอาจากภาษาอื่นในตระกูล "ไท" ด้วยกัน) เสียง ห จนป่านนี้ผมยังไม่แน่ใจว่า ห ไทยแท้ๆเป็นเสียงนาสิกหรือไม่

ไม่นับเรื่องเสียงวรรณยุกต์กรุงเทพที่เกลื่อนเข้ากับวรรณยุกต์แต้จิ๋ว ทำเอาสำเนียงกรุงเทพเพี้ยนไปจากไทยภาคกลางแต่ดั้งเดิม และในทางกลับกันก็ทำให้ลูกจีนแต้จิ๋วในไทยส่วนมากพูดแต้จิ๋วโดยมีเสียงวรรณยุกต์เหลือแค่ ๕ เสียงเหมือนไทยกรุงเทพ ทั้งๆที่แต้จิ๋วมีเสียงวรรณยุกต์ ๙ เสียงครับ

ลาวเองก็ทำ ร หายไปนานแล้ว ในขณะที่ไทยเองยังรักษาเอาไว้ได้ ก็ไม่รู้เพราะว่าใกล้ชิดกับเขมรที่ออกเสียงรัวลิ้นได้ถนัดหรือเปล่านะครับ หรืออย่างการรับคำแขกมาออกเสียงแบบไทย ผมคุ้นๆว่าเคยอ่านเจอว่า Art Linkletter แซวว่าเวียนหัวกับภาษาไทยมาก เพราะเขียนชื่อท่านผู้นำในสมัยนั้นว่า Bipul แต่ออกเสียงว่า Pibul ผมก็ยังนึกไม่ออกเหมือนกันว่าบรรพบุรุษไทยของเราท่านถ่ายเสียงพวกนี้มาอย่างไร หรือเสียงภาษาไทยในสมัยโบราณก็ต่างไปจากที่เราใช้ในปัจจุบันนี้อีก (มองต่างมุม อาจจะเป็นแขกเองที่เพี้ยน  ยิงฟันยิ้ม)

โดยส่วนตัว ผมเองสนับสนุนการอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยแบบมาตรฐานปัจจุบัน แต่ก็ทำใจยอมรับได้ว่า ถ้ามันจะเปลี่ยนก็ต้องเป็นเช่นนั้นแหละครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 14:10

พระพุทธเจ้าบอกว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง 

ไม่เถียงครับ
แต่สงสัยว่า การกลายพันธุ์ ความมักง่าย การรู้เท่าไม่ถึงการ
เป็นความเปลี่ยนแปลงที่พึงรับได้หรือไม่

หากจะอ้างกฏธรรมชาติ เด็กสาวตัดจุกแล้ว ก็มีลูกได้ เราจะยอมรับความเปลี่ยนแปลงนี้หรือไม่
ผมเห็นว่า สังคมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
แต่ยังมีความเปลี่ยนแปลง แสดงถึงกำลังหนุนที่แข็งแกร่ง

การอุปสมบทนั้น ทำอย่างเดิมๆ มานานกว่า 2500 ปี
ทำไมไม่เปลี่ยนแปลงบ้างครับ คนสองเพศก็น่าจะบวชได้
บวชทางอินเตอร์เนตก็น่าจะทำได้ หรือเป็มมหายานพร้อมเถรวาท ...เอ้า ฮินดูด้วย
ในคนเดียวกัน เวลาเดียวกัน น่าจะทำได้

ความสามารถในการรักษามิให้เปลี่ยนแปลง ยิ่งเป็นพลังยิ่งใหญ่ ที่อาจจะเหนือกฏธรรมชาติ
ผมคิดว่าพุทธศาสนานั้น เหนือกว่ากฏธรรมชาติ เทียบกันไม่ได้เลย
แต่ก็ยังมีคนพยายามบอกว่าพุทธธรรมคือกฏธรรมชาติ

อันนี้ผมว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ก้าวหน้า....เหมือนเสียงเพี้ยนเป็นไพเราะ
ขอไปนั่งข้างคุณบุ๊ค...ม่ายรับประทานเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 14:20

ดิฉันขอเป็นพวกอนุรักษ์นิยมในเรื่องนี้ค่ะ  และเห็นด้วยอย่างยิ่งถ้าจะมีใครนำเสียงและคำที่สูญหายไปจากภาษาไทยกลับมาได้ เช่น สำนักพิมพ์กะรัต และผีเสื้อ นำ ค คน กลับมาใช้ในหนังสือของเขาค่ะ ที่อนุรักษ์ไม่ใช่เพราะว่าเราเป็นคนไทย  หรือว่าภาษาไทยของเราสำคัญและยิ่งใหญ่กว่าภาษาใด ๆ นะคะ  แต่เป็นเพราะว่า  เราพึงเคารพต่อสิ่งที่มีมาก่อนเราเกิดค่ะ 

ความหลากหลายของภาษาก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ   เพียงแต่เรายังไม่ทราบที่มาที่ไปว่าทำไมโลกนี้ต้องมีหลายภาษา   ไก่อยู่ตรงไหนของโลกก็ขันเหมือนกัน  แต่มนุษย์เหมือน ๆ กันกลับเปล่งเสียงไม่เหมือนกันในแต่ละชนชาติ  เมื่อเรายังไม่รู้ว่าความแตกต่างนี้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร  เพื่อประโยชน์อะไร  รักษาความหลากหลายไว้ก็ไม่มีอะไรเสียหายไม่ใช่หรือค่ะ  ความหลากหลายนี้รวมถึงภาษาของชนทุกเหล่า ไม่ว่าจะกลุ่มใหญ่ หรือกลุ่มน้อยขนาดไหน 

ไม่ว่าเราจะเป็นใคร ชนชาติใด  เมื่อใช้ภาษาใดก็พึงเคารพและให้เกียรติแก่ภาษานั้น ๆ โดยการพยายามใช้ภาษานั้น ๆ ให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่เมื่อเราเป็นคนไทยก็พึงจะใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องกว่าชนชาติอื่น ๆ ที่มาใช้ภาษาของเรา

สำหรับเรื่องเพลง  ดิฉันว่า  อย่างไรเสียก็ควรจะเป็นเสียงไทยค่ะ  ลองปลี่ยนวิธีไหมค่ะ  เปลี่ยนเป็นทำเพลงหรือดนตรีให้เข้ากับเสียงไทย  หรือใช้คำไทยที่มีอยู่หลากหลายให้เหมาะกับเสียงดนตรี  หรือทำไม่ได้เพราะคนทำเพลงรู้จักดนตรี และคำ แค่นั้นเอง  หรือต้องรีบทำให้เสร็จ  ทำให้ได้ปริมาณ  มากกว่าจะมาใช้เวลาละเมียดละไมกับสิ่งที่ตัวเองทำ  ต้องขอโทษนะคะที่ดูเหมือนสบประมาท  แต่แค่อยากค้นหาความจริงเท่านั่นเองค่ะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 14:48

การนำเอา ฅ มาเขียน ฅน ของของสนพ.กะรัตและผีเสื้อ เป็นความวิบัติทางภาษานะครับป้ากุน ไม่ใช่การอนุรักษ์ เพราะโบราณไม่เคยใช้ ฅ มาเขียน คน เขาใช้เขียน ฅอ ครับ การต่อยอดความสับสนจากแบบเรียนเร็วที่ย่นย่อ ฅ ฅอคน เหลือแค่ ฅ คน จนคนเข้าใจว่า ฅ ใช้เขียน ฅน และพยายามเขียน คน เป็น ฅน จึงเป็นความวิบัติทางภาษาอย่างร้ายแรง
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 15:40

เห็นด้วยกับป้ากุนเรื่องรักษาสิ่งที่มีก่อนเราเอาไว้
ไม่ต้องคิดถึงอะไรทั้งนั้นแหละ หมวกของพ่อเรา ตกทอดถึงเรา เราก็ต้องเก็บเพื่อส่งต่อลูกเรา
เรื่องง่ายๆ แค่นี้ ทำไม่ได้หรือ

ไม่เห็นด้วยกับป้ากุนเรื่องใช้ ค คน
เพราะค คน ตายไปแล้ว ....นาน ก่อนเราเกิด
จะย้อนยุคไปเอากลับมาใช้ ต้องการพลังมากกว่าสำนักพิมพ์หนึ่งยี่ห้อ ซึ่งทำไปเพื่อเหตุใด ยังนึกไม่ออก
อย่างที่เคยมีข้อเรียกร้องให้กลับประเทศเราไปใช้สยาม ผมก็ขอวางเฉย ไม่รังเกียจครับ
แต่ขอใช้พลังทำอย่างอื่นก่อน

การเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่ดีขึ้น ไม่น่าทำ
กลับไปใช้ค คน แล้วทำให้ภาษาไทยรุ่งเรือง เอาเลยครับ
กลับไปใช้สยามแล้ว สำนึกความเป็นคน เพิ่มมากขึ้น เอาเลยครับ

แต่สร้างความเปลี่ยนแปลงแล้วสุนทรียแห่งภาษาและเสียง พิการ

ไม่เอาครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 21 คำสั่ง