เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
โพลล์
คำถาม: คุณคิดว่าทำไมคนถึงมักเขียนภาษาไทยกันผิด
การอ่านที่เหมือนกัน
อยากให้แตกต่างจากคำที่ถูกต้อง
เห็นคนเขียนกันจึงอยากเขียนบ้าง

หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 28748 ภาษาวิบัติ
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 10 ม.ค. 08, 22:03

เว็บของวัยรุ่นส่วนมากก็มักจะใช้ภาษาพิสดาร เช่น เว็บเด็กดี ฯลฯ

นักร้องบางคนได้รับรางวัลใช้ภาษาดีเด่น ไม่รู้ว่าทำไมถึงยังได้ ขนาดใช้ภาษาผิดเพี้ยนสุด ๆ แล้วนะเนี่ย  เศร้า

เราบอกอะไรเขาไปก็ไม่ได้ประโยชน์ เขาก็ตอบกลับมาว่า "เออน่า" อยู่นั่นแหละ

ถ้าเราปล่อยไป ภาษาไทยก็จะล่มจมหมดสิ้น แต่ถ้าไปเตือนก็โดนเหมือนบรรทัดที่ 3 บ้างก็โดนคำด่ากลับมา
บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 12:32

ช่วยกันด้วยเถอะ  ดิฉันชมรายการ "เดอะสตาร์" ค่ะ  มีหลาย ๆ อย่างในรายการนี้น่าชื่นชม  ซึ่งขอยกไปชมในกระทู้อื่น  แต่ที่คิดว่าต้องช่วยกันคือ  ผู้เข้าร่วมประกวดที่นำเสนอในรายการตั้งแต่การคัดเลือกรอบแรก  ทุกภาค เกือบ 100%ออกเสียง ฉ ฉิ่ง ช ช้าง ออกเสียงเป็น sh ธ ธง ท ทหาร เป็นเสียง th ไม่เว้นแม้แต่ผู้เข้าร่วมประกวดบางคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นครูสอนร้องเพลง กรรมการผู้ตัดสินทั้ง 3 ท่านได้ทำหลาย ๆ อย่างดีค่ะ  แต่เรื่องนี้ไม่ได้ถูกพูดถึง ไม่ได้รับความสำคัญเลย  หรือเรื่องนี้เราไม่ควรสนใจ ไม่สำคัญจริง ๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 13:13

สมัยก่อนดิฉันเกิด เรื่อยมาจนถึงตอนดิฉันยังเล็กๆ   ลิเกมี"ขนบ" การออกเสียงที่ไม่เหมือนชาวบ้านพูดกันทั่วไป
คือเขาออกเสียงคำที่ลงท้ายด้วยแม่ กน    เช่น กัน   สั่น   พระขรรค์   พระจันทร์  ด้วยการรัวลิ้นเป็นเสียง ลลลลล
คือ  ไปด้วยกัน   ก็ออกเสียงเป็น "ไปด้วยกัลลลลล"
แต่ก็ใช้เฉพาะบนเวที   พอเข้าโรง   หรือออกมาปะปนกับชาวบ้าน เขาก็พูด "ไปด้วยกัน" ตามปกติ

"ขนบ"ของนักร้องปัจจุบัน เห็นจะทำนองเดียวกับลิเก
พวกนี้พอกลับบ้านก็ไม่ได้ออกเสียง ช เป็น ch   ออกเสียงปกติ ชั้นก็เป็นชั้น  ไม่ใช่ เชิ้น
มันเป็นความนิยมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมานานเป็นสิบปีแล้วค่ะ  เข้าใจว่าเกิดในยุคที่เอานักร้องลูกครึ่งพูดไทยไม่ค่อยชัดมาร้องเพลงภาษาไทย   
เลยกลายเป็นความเท่ ที่นักร้องพูดไทยได้ตามปกติ  จะต้องร้องเลียนแบบคนร้องไม่ชัดกันหมด

ถ้าจะฟังนักร้องร้องภาษาไทยไม่เป็นเสียงฝรั่ง คุณป้ากุนเห็นจะต้องหันไปฟังนักร้องลูกทุ่ง  พวกนี้ออกเสียงไทยได้ชัดกว่านักร้องค่ายดัง    เพียงแต่รักษาความเหน่อเอาไว้ตามวิธีร้องดั้งเดิมของเพลงลูกทุ่ง
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 14:21

กำลังจะมาบอกเลยค่ะว่า ในบรรดาผู้เข้าประกวดทั้งหลาย  คนที่ร้องเพลงออกเสียงภาษาไทยสำเนียงไทยชัดเจนคือคนที่นำเพลงลูกทุ่งมาร้องเท่านั้นเอง  จริงอย่างที่อาจารย์บอกค่ะฟังเพลงลูกทุ่งครั้งใด ชื่นใจจริง ๆ  คิดถึงเพลงลูกกรุงที่ยังไม่มีงานใดนำคุณค่าดั้งเดิมออกมาใช้ได้เลยนะคะ

ไหน ๆ ก็เปิดประเด็นทักท้วงแล้ว  ขอท้วงเลยไปถึงโฆษณาหลอดประหยัดไฟยี่ห้อหนึ่งค่ะ  จริง ๆ ก็โฆษณาเรียบง่ายดีเลยนะคะ  แต่เธอออกเสียงคำว่า "ประหยัด" เป็น "เปียหยัด" คุณกุ้งแห้งฯค่ะเข้ามีผู้ทำหน้าที่ทักท้วงเรื่องอย่างนี้ในการผลิตงานโฆษณาไหมค่ะ  สงสัยจัง
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 16:51

เป็นไอเดียอย่างหนึ่งของคนทำโฆษณาบางคนค่ะ ที่ต้องการสร้างสิ่งผิดๆ หรือตลกๆเพื่อให้คนจดจำ จะได้ไปเลียนแบบ โฆษณาจะได้ดัง บางคนก็คิดมุขจากคำพูดเก่าๆ แล้วเอามาใช้ได้ถูกกาละเทศะ การเอาสำเนียงตจว.มาล้อบ้าง ถ้าทำได้ดูจริงใจ มันก็จะออกมาน่ารัก ..ถ้าทำแล้วจงใจ มันก็จะออกมาหลอกๆ..
ไม่ได้ดูโฆษณาค่ะ คุณป้ากุน ตอนนี้ถ้าเปิดทีวี จะดูแต่รายการช่องที่ไม่มีโฆษณา
......
มีค่ะ กระบวนการแรกเลย คือหัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์ ปล่อยให้ออกมา แล้วไปขายไอเดีย ลูกค้าก็เห็นดีเห็นงามไปอีก พอทำหนังเสร็จ ส่งเซ็นเซอร์ เซ็นเซอร์สมัยนี้ใจกว้าง ก็ปล่อยให้ผ่าน เพราะเข้าใจว่า เป็นจุดให้คนจำ
รอผลกระทบจากคนดูว่าจะชอบคำนี้ไหม มันมีผลกับแบรนด์หรือไม่ ถ้าชอบก็ซื้อ ไม่ชอบก็อย่าซื้อ ..ยอดขายตกเมื่อไหร่ ทีมงานทั้งลูกค้าและคนขายไอเดียคงน้ำตาตกในเช่นกัน
...
สัจธรรมค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 12 ก.พ. 08, 00:18

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในฐานะคนที่เคยหากินกับการร้องเพลงมาบ้างนะครับ

ผมเป็นคนนึง ที่ไม่เคยคิดอยากออกเสียงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
แต่พอจะร้องเพลงเข้าจริงๆ เพลงบางเพลงไม่ออกเสียงแบบนี้ไมได้ครับ คุณป้ากุน




ผมขออนุญาตยก เพลง "คิดถึงเธอทุกที ที่อยู่คนเดียว"
ของคุณเจนิเฟอร์ คิ้ม เป็นตัวอย่างง่ายๆนะครับ

เพลงนี้เป็นเพลงนึง ที่ถ้าออกเสียงถูกอักขระ
จะกลายเป็นเพลงลูกกรุงที่ไม่เข้ากับพื้นหลังที่เป็นเสียงแซคโซโฟนไปทันที
คนร้องก็ต้องร้องออกมาเป็น คิดถึงเธอทุกทีที่อยู่คนเดียว แบบผิดอักขระล่ะครับ
ไม่งั้นตัวคนร้องเองก็รับกับเสียงที่ร้องออกมาเองไม่ได้จริงๆครับ แหะๆ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 12 ก.พ. 08, 02:18

ปัญหามันอยู่ที่ตอนนี้ดิฉันเองอึดอัดขัดค้องใจที่เสียง sh และ th ใช้กับเพลงปัจจุบันทุกเพลง  นักร้องรุ่นใหม่จะร้องเพลงอะไร(ยกเว้นเพลงลูกทุ่งเท่านั้นกระมั่ง)ก็กลายเป็นเสียง sh และ th ไปหมด  เมื่อไม่นานมานี้มีJazz concert นำเพลงพระราชนิพนธ์มาร้องโดยนักร้องดิฉันจำชื่อไม่ได้ เสียงดีมีความสามารถ แล้วไม่ใช้นักร้องตามค่ายเพลง  ก็ยังออกเสียง sh กับ th เลยค่ะ งานเดียวกันนี้ คุณเจนิเฟอร์ คิ้ม ก็มาร้องด้วย 1 เพลง แต่เธอร้องเป็นภาษาอังกฤษค่ะ เลยไม่รู้ว่าถ้าเธอร้องเป็นภาษาไทยจะออกเสียงอย่างไร ยอมรับเลยค่ะตัวเองสะดุดทุกทีเวลาได้ยิน  เคยมีโอกาสจัดงานเล็ก ๆ ได้เลือกเพลงของวงรุ่นใหม่เมือ 6-7 ปีที่แล้ว รู้สึกว่าจะชื่อ ละอองฟอง มาใช้ประกอบงาน  ด้วยความที่รู้จักกันเลยขอร้องว่างานนี้ขอแบบเสียงภาษาไทยเพราะงานนี้จัดให้นักเรียนดู  เขาก็ร้องกันได้นะคะ  เพลงก็ออกมาไพเราะไม่แตกต่างเลยค่ะ (ปัจจุบันวงนี้สลายตัวไปแล้วค่ะ)  ดังนั้นถ้าเป็นบางเพลงก็รับได้ค่ะ(แต่ไม่อยากเชื่อเลยว่า แค่ไม่ได้ออกเสียง ท เป็น th ก็ทำให้เสียงที่ออกมาไม่เพราะ  อยากลองฟังนะเนีย)  ทีจริงความอึดอัดขัดใจของดิฉันน่ะไม่เท่าไหร่หรอกค่ะ  ไม่ชอบก็ไม่ฟังเท่านั้น  แต่ดิฉันกังวลว่าต่อ ๆ ไปผิดจะกลายเป็นถูกเท่านั้นเอง  แล้วอยากบอกอาจารย์เทาชมพูว่า  เสียงอย่างนี้ระบาดออกมาจากเพลงแล้วล่ะค่ะ  พิธีกร ผู้ดำเนินรายการวัยรุ่นทั้งหลาย เป็นอย่างนี้ไม่ใช่น้อย

ยังมีอีกนะคะ  คำว่า ถูก กับ ได้รับ ได้ยินจากทีวีสะดุดหูหลายทีแล้ว เช่น อาจารย์ประหยัด พงษ์ดำ ถูกยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ คราวนี้จะลองจดไว้เล่น ๆ ว่า ประโยคแปร่ง ๆ อย่างนี้มีอะไรบ้าง  ได้ยินจากที่ไหน
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 12 ก.พ. 08, 08:23

ผมรักภาษาไทย แต่ไม่ร้องเพลงไทยครับ
ขอร่วมวงความคิดด้วยสักนิด ปัญหาน่าจะอยู่ที่การอบรมในครอบครัวตั้งแต่เล็กๆมาเลย ตัวคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่ต้องพร่ำสั่งสอนหลานลูกให้พูดไทยให้ถูกต้อง เพื่อนผมคนหน่ง ที่บ้านของเธอไม่ว่าเด็กๆเล็กๆ หรือคุณยายพูดชัดเปรี๊ยะ
เวลาเด็กพูดผิดๆบ้าง เพราะไร้เดียงสาก็จะขำกัน
แต่บ้านนี้จะสอนว่าที่ถูกเป็นอย่างไร ไม่มีครับพวก ปาทู ... เลือหางยาว ...พะเจ้าอยู่หัว พะลาชินี
..
เอาหละ เมื่อเด็กโตขึ้น เปลี่ยนแปลงไป มีภาษาแช็ททางเน็ต ซึ่งอ่านดูแล้วประสาทกินบ้าง
เป็นแฟชั่น เป็นวิวัฒนาการอันวิบัติ
แต่อย่างน้อย เมื่อสู่ที่สาธารณะ ผมเชื่อว่า พวกเขาเหล่านี้ รู้ผิดรู้ถูก 
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 00:51

คำว่าภาษาวิบัติ  กับ  ภาษาวิวัฒน์  มันใกล้กันครับ  ที่เราบอกว่าต้องพูดแบบนี้ถึงชัดหรือถูกต้องแต่ถ้าให้คนยุคเดิมย้อนหลังฟังก็อาจแปร่งๆก็ได้  ผมคิดว่าถ้าไม่เป็นที่นิยมก็จะหายไปเองเวลาผ่านไปก็จะเลิกพูดด้วยวัยด้วยความเป็นผู้ใหญ่ขึ้น  แต่ถ้านิยมก็ใช้กันแล้วก็เปลี่ยนจากของเดิมมาใช้จนเป็นปกติ  เช่นคำว่า "ขอรับ"  ก็มาใช้เป็น "ครับ"  ส่วนที่มักลงท้ายแม่ กน  ด้วยเสียง ลลล  ลูกทุ่งก็มีครับลองฟังของคุณพุ่มพวง  หรือ คุณยุ้ย ดูครับ  มีบางเพลงออกเสียงแบบนี้จริงๆ  แต่ผมเฉยๆนะครับภาพรวมเพราะดี  ยิ่งปัจจุบันเมโลดี้เป็นสำเนียงฝรั่งความขัดกันระหว่างตัวโน๊ตกับวรรณยุกต์มีเป็นธรรมดาครับ  แบบท่านติบอว่า  ถ้าออกตามวรรณยุกต์เป๊ะคงไม่ได้อรรถรส  เพราะฉะนั้นถ้าเป็นเพลงหรือการแสดงอื่นๆเกี่ยวกับการร้องพอรับได้ครับ  แต่ถ้าเป็นพิธีกรผู้ดำเนินรายการหรือผู้ประกาศใช้คำผิดหรือออกเสียงไม่ถูกต้องแบบป้ากุนว่า  อันนี้คงไม่ดีแน่ครับ......... ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 02:08

เป็นปัญหาใหญ่ในสังคมครับ แหะๆ



ผมไม่ถือ และไม่ว่า เรื่องเพลง
เพราะลองยกตัวอย่างเพลงที่คิดว่าคนอ่านในนี้น่าจะได้ยินกันครบทุกท่าน
คือเพลง "รักไม่รู้ดับ" ที่นำมาประกอบโฆษณาบัตรเครดิตยี่ห้อหนึ่ง

เพลงนี้เดิมป้าตู่ร้องเอาไว้ ฟังดูถึงจะไม่ไทยจ๋า ก็ไทยพอสมควร
มาร้องใหม่คราวนี้ปรับจังหวะเร็วขึ้นจนสามารถร้องจนจบในโฆษณาได้
และปรับทำนองให้เหมือนเพลงฝรั่งมากขึ้น

คนร้องก็เลยต้องเปลี่ยนเสียงอักขระหลายคำให้เข้ากับทำนองครับ
จะ ก็กลายเป็น Ja หรือ ชั้น ก็กลายเป็น chunt
เผลอๆสาวเจ้าก็มอบ "rug" แทนที่จะมอบ "รัก" ให้แฟนหนุ่มก็มี
แต่เพลงดูเข้ากับทำนองใหม่ มากกว่าวิธีการร้องแบบเดิมเยอะนะครับ



โดยส่วนตัวผมว่าเพลงก็เป็นงานศิลปะแบบหนึ่ง
ลองยกตัวอย่างว่าถ้าจิตรกรไทยซักคนจะเขียนภาพแบบ เซน ที่ใช้พู่กันอันโตๆ สะบัดมือไวๆ เพื่อแสดงอารมณ์
แต่โดนจารีตของสังคมฝืนให้รักษารูปแบบของงานจิตรกรรมแบบรัตนโกสินทร์เอาไว้
เหมือนจิตรกรรมที่พยายามยัดเยียดขนบลงไปในรูปวาดเห่ยเฟยติดยี่ห้อในท้องตลาดทุกวันนี้

คนวาดจะปวดศีรษะกันตอนวาดหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ
แต่คนเสพงานอย่างผมน่ะปวดศีรษะกันตอนเสพงานแน่
ที่เห็นรัตนโกสินทร์วิบัติกันไปไกลเกินจะกู่กลับเสียแล้ว

บ่อยครั้งที่ผู้สร้างงานบางคนก็อาจจะรู้สึกว่าตัวเองจำเป็นต้องลด "อัตตา" หรือ "จารีต" ลง
เพื่อปรับให้สอดคล้องกับ "วิธีการสร้างงานศิลปะ" นะครับ





ปล. ผมมั่นใจครับ ว่าตัวเองพูดภาษาไทยค่อนข้างชัด
(ถึงจะติดวิธีการออกเสียง "ส" เสียดแทรก ก็ตาม)
แต่ถึงเวลาร้องเพลงขึ้นมา....... มันก็อีกเรื่องนึงครับ

ส่วนนักร้อง นักจัดรายการวิทยุ หรือนักอ่านข่าว คนไหนร้องเพลงถูก
แต่พูดออกเสียงผิดอักขระ...... ผมว่าเขาคงอยากสร้างความเป็นตัวของตัวเอง
แต่ดันเลือกวิธีที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่มั้งครับ แหะๆ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 09:11

เสียงที่เพี้ยน
การออกเสียงได้ไม่ครบคำ แม้คำสั้นๆ เช่น "ฉัน"
การไม่มีปอดของนักร้อง
ไม่มีปากของนักร้อง
ไม่มีศักยภาพพิเศษของนักร้อง

ยังจะมาแหกปากหลอนหูประชาชี
ถือว่าเป็นการประกอบอาชญากรรมทางความงาม
ท่านว่าให้เอาซิปติดปาก...ถ้าไม่หยุด จะหยอดด้วยกาวตาช้าง

นักร้องที่ออกแผ่นในปัจจุบัน ยกเว้น 2-3 คนแล้ว ที่เหลือ
จ้างให้ฟังเพลงละหมื่น ก็ยังเป็นบาปแก่หูเลยครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 09:55


        นิดหนึ่งครับ ตุณติบอ เพลงรักไม่รู้ดับนี้นำทำนองมาจากเพลงสากล On the Sunny Side of the Street
สมัยก่อนโน้นเป็นเสียงคุณสวลี ครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 10:04

ขอบคุณ คุณSILA มากครับ
เพลงนี้ผมมีแต่ไฟล์เสียงของป้าตู่ครับ
เลยนึกว่าแกเป็นต้นตำรับ หน้าแตกเป็นเสี่ยงๆเลยครับ  รูดซิบปาก




ปล. พอนึกออกครับ ว่าถ้าเป็นคุณสวลีร้อง เพลงจะออกมาเป็นยังไง
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 10:05

รู้สึกว่าเราจะพายเรือในอ่างมาครบรอบแล้วล่ะค่ะ  ประเด็น เสียง sh และ th  และอื่น ๆ  เป็นความเปลี่ยนแปลงจากโลกาภิวัฒน์  ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ  พึงเข้าใจและยอมรับ  ดิฉันยังรู้สึกแย้งกับข้อสรุปนี้อยู่นะคะ

ขออนุญาตถามเพื่อน ๆ ชาวเรือนไทยนิดซิค่ะ  เผื่อใครจำได้  เจ้าเสียง sh มาระบาดในเพลงไทยช่วงไหนนะ  ช่วงที่ลูกครึ่งอย่าง ทาทายัง มานิยมในวงการบันเทิงไทยอย่างที่อาจารย์เทาชมพูตั้งข้อสังเกตหรือเปล่าค่ะ  ดูเหมือนนักร้องก่อนหน้านั้น อย่าง คุณแอม เสาวลักษณ์ ลีลาบุตร  คุณตู่ นันทิดา เองก็ไม่เป็นนะคะ  ดังนั้นดิฉันว่าเพราะเพลงพาไปก็ไม่น่าจะใช่นะคะ  อยากตรวจทานดูว่าตัวเองอคติเองหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 10:09

ดิฉันเองก็เป็นนักแต่งเพลงกะเขาด้วยเหมือนกัน  เคยแต่งทั้งทำนองและเนื้อร้องให้มหาวิทยาลัย   ปัจจุบันก็ยังแต่งอยู่  ทำเป็นงานอดิเรกและการกุศล
อ่านของคุณติบอแล้ว สงสัยอะไรหลายอย่าง  
ผมขออนุญาตยก เพลง "คิดถึงเธอทุกที ที่อยู่คนเดียว"
ของคุณเจนิเฟอร์ คิ้ม เป็นตัวอย่างง่ายๆนะครับ

เพลงนี้เป็นเพลงนึง ที่ถ้าออกเสียงถูกอักขระ
จะกลายเป็นเพลงลูกกรุงที่ไม่เข้ากับพื้นหลังที่เป็นเสียงแซคโซโฟนไปทันที
คนร้องก็ต้องร้องออกมาเป็น คิดถึงเธอทุกทีที่อยู่คนเดียว แบบผิดอักขระล่ะครับ
ไม่งั้นตัวคนร้องเองก็รับกับเสียงที่ร้องออกมาเองไม่ได้จริงๆครับ แหะๆ


ที่ว่า" ไม่เข้า" คือไม่เข้ากับความรู้สึกของคน หรือว่าไม่เข้ากับเสียงโน้ตดนตรี

ตามประสบการณ์ เครื่องดนตรีฝรั่งทุกชนิดไม่ว่าเปียโน ไวโอลิน หรือแซก  มันก็เล่นไปตามโน้ตดนตรีสากล ซึ่งไม่เกี่ยวกับการเปล่งเสียงแบบไทยหรือฝรั่งหรือจีน
เสียงโน้ตมันมีตายตัวของมันอยู่แล้ว

การแต่งเพลงไทย ให้เข้ากับเสียงโน้ตสากล  มีความยากอยู่ที่ว่า อักษรไทยมีเสียงวรรณยุกต์กำกับ จะเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ตามโน้ตเพลงได้จำกัดไม่กี่เสียง
ยกตัวอย่าง เสียง โด่ (ก็ในโด เร มีฯนั่นแหละ) หรือเสียง C  เวลาบรรจุคำร้องไทยลงไป  ที่จะออกเสียงได้ดี คือเสียงวรรณยุกต์เอก
อย่างคำว่า หนึ่ง   อยู่  ต่อ  หรือเป็นคำตาย ก็ เอก  อาจ  อด  ฯลฯ  
แต่ถ้าเอาเสียงสามัญบรรจุลงไปใน โด่ หรือ C  เช่นคำว่า เธอ  มา  นอน ละก็  นักร้องจะร้องออกมาเป็น เถ่อ  หม่า  หน่อน

ทีนี้คำว่า ฉัน ที่ออกเสียงแบบไทยว่า ชั้น   ปัจจุบันออกเป็น "เชิ้น"   มันเป็นเสียงวรรณยุกต์เดียวกันคือวรรณยุกต์ตรี  
ถ้าเป็นโน้ตที่ลงกับเสียงตรีได้ เช่น เสียง Me ( หรือ  E )ละก็   ร้องได้ทั้ง ชั้น และ เชิ้น ละค่ะ   ไม่น่าจะเกี่ยวกับว่าแซกเป่ายังไง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 21 คำสั่ง