เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9491 "นายบำเรอราชา"
333103
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


 เมื่อ 21 ต.ค. 07, 22:30

ขอความรู้นิดนึงค่ะ --

ทราบมาว่า "นายบำเรอราชา" เป็นบรรดาศักดิ์ของมหาดเล็กวังหน้า
ท่านใดทราบหรือไม่คะว่า ณ พ.ศ. 2468 ผู้มีบรรดาศักดิ์ "นายบำเรอราชา" คือใคร?

ไปค้นในเน็ตนี้มีว่า ขุนบำเรอราชา (อ้น) เป็นปู่ของพระยานรรัตนราชมานิต จะใช่คนเดียวหรือไม่คะ

หรือจะแนะนำให้ไปหาในหนังสือใดก็ได้ค่ะ

บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 23:25

http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5893512/K5893512.html


ลองอ่านกระทู้นี้ดูครับ
เห็นพวกรุ่นพี่คณะเขาว่า มีนักศึกษาคณะโบราณคดีไปสอบถามไว้ในพันทิป
ผมเลยลองเอาที่อยู่มาฝากคุณ333103 ดู ไม่รู้พอจะตอบได้บ้างมั้ยนะครับ



ส่วนตัวผมเองไม่มีข้อมูลโดยตรง
แต่เข้าใจว่าผู้ตอบรายที่ 1, 2, และ 3 ในกระทู้นู้น
อาจจะแวะเวียบมาตอบคำตอบอีกครับ คิคิ (เดาเอานะกั๊บ  ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า
333103
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 21:43

ดิฉันไปตั้งกระทู้นั้นไว้เองค่ะ -- และยังไม่สามารถหาคำตอบให้กระจ่างกว่านั้นได้

ถ้าพรุ่งนี้เวลามีพอจากงานหนังสือ จะไปหอสมุดแห่งชาติค่ะ หากมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมจะนำมาฝาก

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ต.ค. 07, 08:40

ไม่ทราบชื่อตัวและนามสกุลของ"นายบำเรอราชา"  แต่อ่านแล้ว สันนิษฐานอะไรได้หลายอย่าง
๑  ไม่ใช่คนเดียวกับขุนบำเรอราชา ปู่ของพระยานรรัตนฯ ค่ะ ราชทินนามคนละอย่าง
๒  คิดว่าท่านเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๖  มากกว่าเป็นมหาดเล็กในวังหน้ารัชกาลที่ ๕   
ดูจากที่ว่ากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๘  คือ ๔๐ ปีก่อนท่านจะจำนำหนังสือเล่มนี้ 
ถ้าเป็นมหาดเล็กหุ้มแพรมาแต่ครั้งโน้น อายุคงไม่ต่ำกว่า ๖๕-๗๐ อาจจะถึงแก่กรรมไปแล้วก็ได้
๓  สงสัยจริงๆว่าใครเป็นคนเขียนข้อความนี้ ผู้รับจำนำ เป็นคนบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเวลาเจ้าของกลับมาไถ่ถอน  หรือตัวเจ้าของบันทึกไว้เองเมื่อจำนำ 
๕  หนังสือเล่มนี้แสดงถึงความใกล้ชิดในราชสำนักรัชกาลที่ ๖  จึงได้มา   แต่การที่เอามาจำนำ แสดงว่านายบำเรอราชา ท่านคงจะเงินขาดมือในขณะนั้น หรือไม่ก็ฐานะขัดสน ถึงเอาหนังสือมาจำนำ แล้วไม่ได้ไถ่ถอนกลับ
๖  วันเดือนปีที่เซ็น  ๒๔/๑๒/๖๘  ไม่ทราบว่าเดือน ๑๒ นับแบบไหน  ถ้านับเมษาเป็นเดือน ๑  เดือน ๑๒ ในที่นี้คือเดือนมีนาคม  ซึ่งเป็นปลายปีของพ.ศ. ๒๔๖๘  นับแบบปัจจุบันคือมีนาคม ๒๔๖๙  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเสด็จสวรรคตไปตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนก่อนหน้านี้
หลังจากเสด็จสวรรคต จะมีการยุบตำแหน่ง หรือปลดจากราชการ ข้าราชการบางหน่วยบางคนในราชสำนักด้วยหรือเปล่า ก็ไม่ทราบ  แต่กรมบางกรมที่เกี่ยวกับดนตรีและบันเทิงนั้นถูกยุบแน่
 ถ้ามี  และนายบำเรอราชาอยู่ในข่ายพ้นจากราชการ  ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมท่านถึงต้องจำนำกระทั่งหนังสือ ซึ่งควรจะรักษาเอาไว้อย่างดี

ทั้งหมดนี้เป็นข้อสันนิษฐานเท่านั้นค่ะ  เชิญผู้รู้ ค้านได้
บันทึกการเข้า
333103
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ต.ค. 07, 21:47

ลายมือเจ้าของหนังสือค่ะ



บันทึกการเข้า
333103
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ต.ค. 07, 22:12

ประเด็นข้อ 2. น่าสนใจมาก ดิฉันจะนำข้อสันนิษฐานของคุณเทาชมพูไปเป็นแนวทางสืบค้นต่อไปค่ะ

ข้อมูลเกี่ยวกับวังหน้าก็หายากจัง ยังอยากค้นตรงที่ว่า ครั้งที่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญตั้งมหาดเล็ก จะมีเอ่ยถึงบ้างหรือไม่น่ะค่ะ

จะไปหอสมุดฯ เสาร์-อาทิตย์นี้ค่ะ วันนี้ไปลุยเก็บหนังสือที่ศูุนย์ฯ สิริกิติ์มาทั้งวัน  ยิ้มกว้างๆ

บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ต.ค. 07, 01:52

ในฐานะคนที่สงสัย (แต่ม่ะใช่ผู้รู้)
ขออนุญาตค้านข้อสันนิษฐานข้อที่ 6 ของ ท่าน อ. เทาชมพูนิดนึงครับ



ที่ผมเข้าใจ.....

ดูเหมือนว่าชื่อ "นายบำเรอราชา" และ "วันที่" จะเป็นลายมือ และหมึกเดียวกัน
คำว่าจำนำนั่นน่าจะถูกเขียนแทรกทีหลังโดยคนรับจำนำ (?)



เป็นไปได้มั้ยครับ ว่าชื่อกับวันที่นี่ ถูกเขียนขึ้นก่อน
เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของๆหนังสือเล่มนี้

ส่วนคำว่า "เอามาจำนำไว้ที่...." นั่นคนรับจำนำเขียนไว้ใต้ชื่อ
เพื่อบอกว่าใครเอามาจำนำไว้อีกที




ถ้าเป็นแบบนี้ผมสันนิษฐานเองว่า
ตาบำเรอราชาคนนี้น่าจะได้หนังสือมาวันที่แกลงวันที่ไว้
แล้วเอาไปเป็นเจ้าของอยู่ซักพัก
จนวันหนึ่งถึงคราวขัดสนจนยาก ลำบากลำเค็ญ เลยเอาหนังสือเล่มที่ว่ามาจำนำไว้

แบบนี้ก็ต้องหาดูว่าคุณบำเรอราชาแต่ละคนมีอายุถึงเท่าไหร่
มีใครบ้างมั้ยที่อายุพ้นจากวันที่รับหนังสือไปแล้ว
แต่สังขารยังเอื้ออำนวยต่อการเดินทางไปเวิ้งอยู่
ถ้ามี อาจจะเป็นคุณบำเรอราชาคนนั้นครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ต.ค. 07, 08:08

น่าจะค้นในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่พ.ศ. 2453- เพราะว่าการแต่งตั้ง บุคคลให้ดำรงตำแหน่ง "นายบำเรอราชา" จะต้องลงประกาศไว้ในราชกิจจาฯ ร่วมกับบุคคลอื่นที่ได้รับแต่งตั้งในคราวเดียวกัน
ดิฉันเริ่มนับตั้งแต่ปีแรกในรัชกาลที่ ๖  โดยมีสมมุติฐานว่านายบำเรอราชาคนนี้เป็นมหาดเล็กรัชกาลที่ ๖ ไม่ใช่มหาดเล็กวังหน้ารัชกาลที่ ๕

สังเกตอีกอย่างจากวิธีการเซ็นวันเดือนปี   การเขียน วันที่/เดือน/ ปี     คือมี /  คั่น แบบนี้
เคยเห็นในวิธีการเขียนของคนรุ่นเก่าสมัยรัชกาลที่ ๖ และ ๗ ค่ะ  รวมทั้งลายมือด้วย  ลายมือชัดเจนอ่านง่าย ตัวอักษรม้วนกลมสวยงามแบบนี้  นึกถึงลายมือของม.ล. ปิ่น มาลากุล  ท่านได้รับการศึกษาสมัยรัชกาลที่ ๖
บันทึกการเข้า
333103
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 ต.ค. 07, 19:52

คิดเหมือนคุณติบอค่ะ

และขอขอบคุณคุณเทาชมพูในการแนะแนวทางในการตั้งต้นหาข้อมูลด้วย

รอเสาร์-อาทิตย์ด้วยใจจดจ่ออยู่ค่ะ

ปล. ไปงานหนังสือกันมาแล้วยังคะ ได้อะไรมาบ้าง
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 พ.ย. 07, 20:08

วันที่  ๒๔/๑๒/๒๔๖๘  คือวันที่  ๒๔  มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๖๘  เป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง  การบันทึกนามและวันที่ในวันถวายพระเพลิงจึงน่าจะมีนัยสำคัญบางประการอยู่

ราชทินนาม นายบำเรอราชา นี้ ไม่เคยผ่านตาเลยว่า เป็นราชทินามมหาดเล็กกองไหน  หรือจะเป็นนามแฝงพระราชทานสำหรับมหาดเล็กบางคน  หรือเป็นชื่อตัวละครในบทพระราชนิพนธ์บางเรื่อง  ซึ่งมักจะทรงคิดขึ้นเพื่อประชดประชันใครบางคน  แล้วคุณมหาดเล็กที่ได้เล่นละครเรื่องนั้นจึงได้นำชื่อนั้นมาเป็นนามแฝง  ดังเช่น ทรงคิดชื่อพระราชทานท่านหมาอมหลวงปิ่น  มาลากุล ว่า "เข็ม  หมวกเจ้า"  เข็มนั้นมาจากปิ่น  หมวกเจ้า คือ มาลากุล เป็นต้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 พ.ย. 07, 20:34

คำว่า"นายบำเรอราชา" น่าจะเป็นมหาดเล็กหุ้มแพร นะคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 พ.ย. 07, 21:34

มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับข้าราชสำนักที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ นายบำเรอ________แต่เป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
นำเสนอเพื่อเป็นแนวทางค้นคว้าต่อไป

หนังสือชื่อ พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ  ศักราช ๒๔๗๔  เป็นหนังสือหนา ๑๖๙๔ หน้า  มีโฆษณาเล็กน้อย
หนังสือนี้จัดเป็นหนังสือหายาก เพราะในปีต่อมาก็ถูกโยนทิ้งหรือกำจัดอย่างรวดเร็ว  ใช้ประโยชน์มิได้  ราชการไม่เก็บ  ราษฎรก็ไม่ทราบจะเก็บไปทำไม
กล่าวได้ว่าเป็นหนังสือไม่ปรารถนาเห็นในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็เป็นได้


สารบัญมีพระราชบัญญัติต่างๆ
กฎเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย
อัตราค่าธรรมเนียมเครื่องหมายการค้า
พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. ๒๔๗๔
ประกาศกระทรวงต่างประเทศ
เวลาเดินรถและเรือกับค่าโดยสาร
ทำเนียบท้องที่(มณฑล และจังหวัดต่างๆ)
ทำเนียบราชการ

รายการที่น่าสนใจในเรื่องนี้ คือ กระทรวงวัง(หน้า ๗๓๗ - ๗๔๐)  ถ้าคุณเทาชมพูเห็นสมควรจะคัดลอกนามที่สำคัญๆมาลง

บุคคลสำคัญของประเทศ มีที่อยู่  และ ชื่อท่านเหล่านั้นยังอยู่ในกระทรวงและกรมต่างๆ  แปลกตาเหมือนกัน

วชิราวุธวิทยาลัย(หน้า ๗๖๑ - ๗๖๒)
มีรายชื่อ กรรมการกิตติมศักดิ์  กรรมการจัดการ  ผู้บังคับการ  อาจารย์ผู้กำกับคณะ  ครู นายแพทย์ สมุหบัญชี นายเวร รองเวรและนายทะเบียน
เนื่องจากเป็นสมาชิกของ เรือนไทย ไม่นานนัก  ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อมูลซ้ำซ้อนหรือไม่  เกรงว่าจะเป็นการนำมะพร้าวห้าวมาขายสวน


อักขรานุกรมขุนนาง อักษร บ   เริ่มจาก บำรุง  มี

บำเรอจิตจรุง   ขุน   (ห่อ  คุปตวาทิน)  รองเสวกโท  ประจำกรมปี่พาทย์และโขนหลวง  กระทรวงวัง

บำเรอบรมบาท  นายรอง(กุน  พึ่งบารมี)  รองเสวกโท  มหาดเล็กเวรศักดิ์

บำเรอบริรักษ์  พระยา(สาย ณ มหาไชย)  มหาเสวกโท  สังกัดกระทรวงวัง,  นายพันตรีพิเศษ  ประจำกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.,    บ้านห้าแยกพลับพลาไชย  พระนคร

บำเรอภักดิ์  พระยา(สนิท  จารุจินดา)  มหาเสวกตรี  ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง     บ้านถนนพระรามที่ ๕  สะพานเหลือง  พระนคร

บำเรอรถกล   ขุน(เขียว  พร้อมลักขณ) รองอำมาตย์โท  สารวัตรโทรเลขโทรศัพท์และอานัติ สัญญาณ กองช่างไฟฟ้า  กรมรถไฟหลวง

บำเรอวรการ  ขุน(จ่าง  เหมทัพพะ) รองเสวกโท นายเวรกรมสนมพลเรือน กระทรวงวัง


ข้อมูลเรื่องวังหน้า ไม่ค่อยเห็นค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 พ.ย. 07, 09:04

น่าสนใจมากค่ะคุณวันดี  ถ้าว่างๆก็อยากให้เอามานำลง  ดิฉันอาจจะเล่าผสมโรงเรื่องราชทินนามขุนนางรัชกาลที่ ๖   อาจจะตั้งเป็นกระทู้ใหม่ได้เลย

"นาย" ที่นำหน้า "นายบำเรอราชา" บอกให้รู้ว่าเป็นบรรดาศักดิ์ของมหาดเล็กชั้นหุ้มแพร    ทำนองเดียวกับ นายนริทร์ธิเบศร์ กวีเอก  และนายสุดจินดา ซึ่งเป็นตำแหน่งของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท
ถ้าคนมาจำนำหนังสือเป็น "หลวง" บำเรอราชา  หรือ "พระยา"บำเรอราชา  ก็บอกเลยว่าเป็นขุนนางสังกัดกระทรวงวัง   
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 14:55

น้องอาร์ท เพื่อนคู่ขวัญของคุณณล หนุ่มสยาม ใน facebook ค้นได้จากราชกิจจานุเบกษามาได้ดังนี้

"เจอในราชกิจจานุเบกษามาครับเรื่อง "ข้าราชการกราบถวายบังคมลาอุปสมบท"
รองเสวกโท นายบำเรอราชา (วาด กลันทะเลขกะ) สังกัดกรมมหาดเล็ก กราบถวายบังคมลาอุปสมบท
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
จะได้อุปสมบท ณ วัดสุนทรธรรมทาน กำหนดวันที่ ๑๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
(เล่ม ๔๙ หน้า ๘๑๔)"

ขอบคุณน้องอาร์ทไว้ ณ ที่นี้ครับ







บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง