เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8471 ถึงเวลาหยุดผลิตหนังสือเล่มหรือยัง
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
 เมื่อ 21 ต.ค. 07, 00:32

สอง-สามปีมานี้ ผมแทบจะไม่ได้ซื้อหนังสือเล่มเลย
โดยเฉพาะหนังสือศิลปะของต่างประเทศ
เล่มสุดท้ายนั้น แพงมาก เป็นหนังสือว่าด้วยศิลปะภาพถ่ายในเชิงสังคม-วัฒนธรรม
เล่มหนาตั้งสามนิ้ว หนักเป็นกิโล และแพงขนาดค่าแรงขั้นต่ำในกรุงเทพถึงสิบวันทีเดียว

ปรากฏว่า ทุกอย่างที่อยู่ในหนังสือนั้น
ผมหาได้จากอินเตอร์เนต
ไม่ว่าจะเป็นรูปสวยๆ ประเด็นที่เขาเสนอออกมา แม้แต่รายละเอียดลึกๆ ที่แต่เดิมนั้นไม่มีวันได้อ่าน
อย่างเช่น อยากดูหน้าตาของ เบรซง (Henri Cartier-Bresson) ผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับศิลปะแขนงนี้
ก็ได้เห็นหน้าเขา ตั้งแต่หนุ่มจนเก้าสิบ (เขาเสียชีวิตเมื่อวัย 95)
หนังสือเล่มยิ่งใหญ่ของเขา "ขณะเวลาแห่งการตัดสินใจ" ก็ได้เปิดดูตั้งแต่หน้าแรกยันหน้าสุดท้าย โดยไม่ต้องซื้อ....ฮา

และอื่นๆ อีกมากมาย (ยกเว้นไทยศึกษา...โฮ)

มานั่งคิดไตร่ตรองดู เอ....หรือว่า เรากำลังมาถึงวาระสุดท้ายของหนังสือเล่มเสียแล้ว
ต่อไป การพิมพ์หนังสือ อาจจะเป็นกิจกรรมจำเพาะ คล้ายๆ กับโรงน้ำแข็ง โทรเลข หรือโทรสาร
คือ มีแต่เลือนหายไป ....

อาจจะหลงเหลืออยู่ ก็เฉพาะงานที่ต้องใช้เอกสารตัวจริงบางกิจกรรม
เนื่องในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จึงขอชวนคุยให้ทันกระแสสักหน่อย

เราจะได้เห็นวาระสุดท้ายของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์แล้วหรือนี่

--------------------
ปัจฉิมลิขิต
อย่าคิดว่าผมตีตนไปก่อนไข้นะครับ ข่าวล่ามาช้าบอกว่า  BBC จะต้องปลดพนักงานออกถึง 3000 คน
เพราะคนหันไปติดตามอินเตอร์เนตกันหมด สื่อตัวอื่นกำลังจะต้องถูกปลดระวางแน่ๆ......เฮ้อ

(อยากเห็นหนังสือพิมพ์หัวเขียวเลิกกิจการจริงๆ)
บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 00:47

ใกล้ถึงเวลาหรือยัง การีนตอบไม่ได้คะ
แต่ใคร่ขออยากแสดงความคิดเห็นว่า แม้กระแสอินเตอร์เนตจะมากปานใดก็ตาม แต่การีนเองก็ไปสัปดาห์หนังสือและพบว่า คนแน่นมาก เบียดเสียดกันซื้อหนังสืออย่างมากมาย เห็นได้ชัดว่ายังมีคนนิยมอ่านและซื้อหนังสือเล่มเสมอ

จริงๆแล้ว นิยายที่การีนชอบอ่าน แม้จะหาอ่านกันได้ตามเว็บไซต์ทั่วไปอย่างก่ายกอง แต่เมื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ติดตาม ได้ออกเป็นเล่ม การีนและอีกหลายๆคนก็ยังไปซื้อ่านและเก็บไว้เสมอ

จริงๆแล้ว(อีกครั้ง) การีนคิดเห็นว่า หนังสือเล่ม เป็นของที่มีคุณค่าต่อจิตใจมาก (หากไม่คิดในแง่ความรู้ ซึ่งหาได้ตามอินเตอร์เนตอยู่แล้ว) ในฐานะคนธรรมดาที่มีรัก โลภ อยู่ ก็ย่อมอยากได้หนังสือ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ชอบ มาเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวอยู่ดี

หนังสือเล่มที่การีนชอบ อย่างเช่น หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น พวกที่มีลิขสิทธ์แท้จริงทั้งหลาย การีนก็ยังหาอ่านไม่ได้ตามอินเตอร์เน็ต ยกเว้นฉบับบย่อ ฉบับมีคนแอบเอามาลงไว้ ที่เหลือและส่วนใหญ่ ยังต้องหาเช่า หาซื้อไว้อยู่ดี

การีนยังไม่เห็นวาระสุดท้ายของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์คะ

เพราะหาเราคิดในหลายๆมุมมองแล้ว เราจะเห็นว่า "หนังสือ" ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้อยู่ดี
เด็กสามขวบสมัยนี้เล่นคอม และใช้อินเตอร์ได้ก็จริง แต่พ่อแม่ก็ไม่ได้สอนให้เขา "อ่าน" เป็น...จากการใช้อินเตอร์เนตนี่คะ

อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ที่สิ้นสุด คือ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค(ผู้อ่าน) มากกว่าคะ ซึ่งก็เป็นแค่บริษัทการพิมพ์ สำนักพิมพ์ต่างๆเท่านั้น ซึ่งหากเราพิจารณาอีก ก็จะเห็นว่าบริษัท สำนักพิมพ์ต่างๆก็ผุดขึ้นมาราวดอกเห็ดเช่นกัน ถ้าเขาเห็นช่องทางทำกิน

บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 07:25

ดิฉันจ่ายค่าหนังสือน้อยลงกว่าเก่า  ประมาณ ๕๐%  ในหลายปีที่ผ่านมา เพราะหลายเรื่องหาได้จากอินเทอร์เน็ต   โดยเฉพาะวรรณกรรมเก่าแก่ของต่างประเทศ  เพราะมีเว็บที่นำลงให้อ่านฟรีได้มากมายหลายเรื่อง
เมื่อก่อน อยากได้  The Scarlet Pimpernel  หาซื้อไม่ได้เลย   ตอนนี้นอกจากพริ้นท์ออกมาจากเน็ตได้แล้ว  ยังเพิ่งรู้ว่ามีตอนต่อ ถึงรุ่นหลานของพระเอกเสียด้วย
เลยกลายเป็นว่า เรื่องไหนหาจากเน็ตไม่ได้จริงๆถึงจะซื้อ

ก็ไม่ได้เดือดร้อนกับสื่อการอ่านที่เปลี่ยนจากเล่มเป็นจอ (หรือแผ่น) เพราะรู้สึกว่าเราจะได้ตัดต้นไม้น้อยลง
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 08:21

หากว่า:

*ผมอ่านหนังสือจากจอคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ปวดตา ล้าสมอง
*คอมพิวเตอร์ที่ผมมี หรือที่ผมมีกำลังทรัพย์และสติปัญญาพอจะซื้อ มีขนาดพกพาได้ ใช้ง่าย ไม่ต้องเสียบปลั๊ก ไม่ต้องใช้ถ่าน ไม่ช็อต ไม่กระตุก ไม่โดนไวรัส ไม่ใช้เวลาดาวน์โหลดนาน ตกน้ำแล้วไม่พัง นำมาตากแห้งแล้วใช้การได้ หรือตกพื้นแล้วไม่แตกชำรุด แต่นำมาใช้อ่านหนังสือต่อไปได้อย่างปกติ
*หนังสือเก่าทั้งปวงที่เลิกพิมพ์ไปแล้ว มีบรรจุอยู่อินเทอร์เนต
*หนังสือไม่ใช่ของสะสม
*การกดปุ่ม กวาดสายตา และพลิกหน้าหนังสืออ่านหนังสืออินเทอร์เนต ให้อารมณ์และความรู้สึกไม่แพ้การพิศดูรูปเล่ม พลิกกระดาษไปข้างหน้า ย้อนกลับ ตีลังกา ตะแคงซ้ายขวาตามอารมณ์ ได้กลิ่น ได้ดูอายุสมัยในการพิมพ์ ฯลฯ

เมื่อนั้น ผมคิดว่าก็ควรเลิกพิมพ์หนังสือเป็นเล่มครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 08:25

คุณ UP นี่เหมาะจะมีอาชีพร่างระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์ กฎหมาย หรืออะไรในข่ายนี้
เพราะเขียนอะไรครอบคลุมดีจัง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 08:53

*ผมอ่านหนังสือจากจอคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ปวดตา ล้าสมอง
ขนาดอ่านอย่างปวดตาปวดหมอง ใครไม่รู้ ยังติดเนตงอมแง......ฮา

*คอมพิวเตอร์ที่ผมมี หรือที่ผมมีกำลังทรัพย์และสติปัญญาพอจะซื้อ มีขนาดพกพาได้ ใช้ง่าย ไม่ต้องเสียบปลั๊ก ไม่ต้องใช้ถ่าน ไม่ช็อต ไม่กระตุก
ไม่โดนไวรัส ไม่ใช้เวลาดาวน์โหลดนาน ตกน้ำแล้วไม่พัง นำมาตากแห้งแล้วใช้การได้ หรือตกพื้นแล้วไม่แตกชำรุด
แต่นำมาใช้อ่านหนังสือต่อไปได้อย่างปกติ

ไม่เคยเจอหนังสือที่ไม่กลัวน้ำ ไม่กลัวปลวก ไม่กลัวแดด ไม่กลัวฝุ่น ไม่กลัวฉีกขาด หลุดออกจากสัน ไม่กลัวหาย ไม่กลัวเพื่อนอิ๊บ....ฯลฯ

*หนังสือเก่าทั้งปวงที่เลิกพิมพ์ไปแล้ว มีบรรจุอยู่อินเทอร์เนต
รอกูเต้นเบอร์กโปรเจค อีกสิบปี

*หนังสือไม่ใช่ของสะสม
อินเตอร์เนต ทำให้เลิกการสะสม การสะสมพระพุทธองค์ไม่ทรงส่งเสริม

*การกดปุ่ม กวาดสายตา และพลิกหน้าหนังสืออ่านหนังสืออินเทอร์เนต ให้อารมณ์และความรู้สึกไม่แพ้การพิศดูรูปเล่ม
พลิกกระดาษไปข้างหน้า ย้อนกลับ ตีลังกา ตะแคงซ้ายขวาตามอารมณ์ ได้กลิ่น ได้ดูอายุสมัยในการพิมพ์ ฯลฯ

หนังสือเล่มก้อทำระบบอ้างอิงที่เจ๋งแบบไฮเปอร์เทกส์ไม่ด้าย ทำระบบค้นคำแบบสะเตทออฟดิอาร์ทไม่ด้าย
ใส่เสียง รูปเคลื่อนไหว และอื่นๆ อีกมากมายให้อยู่รอรับการอ่าน ไม่ได้
อ้อ สำหรับคนตาไม่ดี การขยายขนาดตัวหนังสือนี่ ฟ้าประทานเทียวครับ

เมื่อนั้น ผมคิดว่าก็ควรเลิกพิมพ์หนังสือเป็นเล่มครับ
จะรอดูต่อไป ว่าห้องสมุดระดับโลกแห่งใด ที่เริ่มต้น เลิกซื้อหนังสือปัจจุบันเข้าชั้น
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 10:44

มาหนับหนุนคุณพพ.ในบางเรื่อง ว่า เวลาไปร้านหนังสือ เดี๋ยวนี้ขาออกมาแทบจะไม่ได้ซื้ออะไรติดมือมาก เคยจ่ายที 4000-10,000บาท เพื่อหนังสือโฆษณา แบล็คบุค อาร์ไคฟ์ กราฟฟิคดีไซน์สบายๆทุกครั้ง แต่เดี๋ยวนี้ ไม่เดินผ่านชั้นนั้นเลย เซลล์แมนร้านหนังสือที่เอาหนังสือมาเสนอบริษัททุกสองเดือนสามเดือนก็ถูกร้านปลดหน้าที่ให้ไปทำอย่างอื่น
ชีวิตเบาสบายมากขึ้น
แต่หนังสือที่ติดมาเป็นสิบปี อย่างvanity fair และInstyleฉบับอเมริกาก็ยังต้องซื้ออยู่ ถึงแม้เล่มหลังจะเป็นสมาชิกในเน็ต และเครืออมรินทร์ไปซื้อมาแปลทุกเดือน ก็มิได้ขาด
อังกฤษได้อรรถรสกว่าว่างั้นเถอะ
หนังสือท่องเที่ยวเช่น อายวิทเนส เดี๋ยวนี้ก็ไม่เดินผ่านค่ะ..มีความอดกลั้นมากขึ้น
หนังสือนิตยสารนั้น เช่นแพรว ดิฉัน ฯลฯ เลิกซื้อจริงๆ เพราะอ่านได้ตามร้านทำผม ร้านกาแฟ ร้านตัดเสื้อ หนังสือผู้หญิงที่ดิฉันเขียนเรื่องซุบซิบดาราให้มาหกฉบับ ก็เป็นสมาชิกอยู่ ส่วนสารคดีนั้นเขาส่งให้ฟรี และอสท.ซื้อเมื่อไม่รู้จะซื้ออะไร
เดิมรายได้ส่วนหนึ่งคือซื้อหนังสือค่ะ กิจวัตรที่เข้าร้านหนังสือก็ยังทำอยู่
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 22:25

เออ......... เห็นทีผมจะเป็นอีกคน ที่ติดเนต (หรือเปล่าไม่รู้) ซะแล้ว
เพราะตัวเองไม่ได้ซื้อซีดีเพลง หรือ หนังสือที่ต้องหามาทำงานมานานแล้วครับ
(อย่างน้อยก็ 3 - 4 ปีล่ะ)


หมอหลายคนเมื่อก่อนเขาต้องมี "หนังสือสาย"
เอาไว้ให้รุ่นน้องอ่านเวลาเรียนผ่าอาจารย์ใหญ่
เล่มไหนยิ่งเน่า ยิ่งเหม็นฟอร์มาลิน ยิ่งมีเศษเสี้ยวของอาจารย์ใหญ่เป็นของฝากก็ยิ่งขลัง....

แต่ทุกวันนี้พี่เขาทำกันอย่างมากก็ coppy link ที่มีภาพ หรือให้ CD ภาพสวยๆ กันก็พอแล้ว
เอาหนังสือไปทำไม ? ยิ่งเปื้อนยิ่งเสียสุขภาพ
คนไข้ที่ไหนจะนับถือหมอที่มาสอนให้ดูแลสุขอนามัย....
แต่ตอนเรียนมาวันๆนั่งหัวจมอยู่ในตำราเปื้อนอาจารย์ใหญ่กันล่ะครับ ?




ปล. มาแอบบอกว่าของที่น่าจะตกไปไวกว่าหนังสือเสียอีก คือ CD ครับ
ผมไม่ได้ซื้อ CD (VDO นี่ไม่พูดถึงเนาะ) มาไม่ต่ำกว่า 3 ปีแล้วครับ
อยากได้อะไร ใหม่แค่ไหน เก่าแค่ไหน หายากแค่ไหน ถ้ารู้ที่ก็หาได้หมด
ใครอยากได้ Demo หายากแสนยากของนักร้องที่ตายไปเมื่อห้าสิบปีที่แล้วมาฟังก็มีให้โหลด....
แค่มี torrent หรือ น้องกบ น้องลาน้อย ก็เท่านั้นล่ะครับ พอแระ
(แต่น่าเสียดายครับ คนไทยส่วนมากเอาไปหาของไม่ดีมาดูซะนี่...) เศร้า
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 00:11

internet นอนอ่านไม่ได้ค่ะ  อ่านบนรถเมล์ก็ไม่ได้  แล้วถ้าอ่าน "คู่กรรม" จากinternet กับอ่านจากหนังสือ เราจะได้ความรู้สึกเหมือนกันไหมน้า  (ความจริงดิฉันไม่เคยอ่านคู่กรรมนะคะ  ไม่กล้าค่ะ  ไม่ต้องถึงคู่กรรม  แค่เรื่องอื่น ๆ ของคุณทมยันตี  ที่พระเอก หรือนางเอกตายดิฉันก็น้ำตาร่วงเป็นเผาเต่าแล้ว)

ดิฉันจำได้ว่าตอนที่มีคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ เคยมีการพูดกันว่าจะทำให้เราสิ้นเปลืองกระดาษน้อยลง  ลดพื้นที่ที่จะต้องใช้เก็บเอกสาร  แต่ที่ดิฉันเห็นอยู่ตอนนี้คือ  เรายังสิ้นเปลืองกระดาษเหมือนเดิม หรือเปลืองมากขึ้น  เพราะผิดนิดผิดหน่อยเราก็แก้แล้วสั่งพิมพ์ใหม่  เพราะใช้เวลานิดเดียว  การเก็บข้อมูลต่าง ๆ ก็สิ้นเปลืองมากขึ้นเพราะกลายเป็นว่าต้องเก็บทั้งที่เป็นกระดาษ และfile คอมพิวเตอร์เพื่อความมั่นใจ

เพื่อความมั่นใจเช่นกัน  ดิฉันยังขอให้มีทั้งหนังสือและคอมพิวเตอร์ก็แล้วกันนะคะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 00:27

คำขอไม่อนุมัติครับ
การเก็บกระดาษ เป็นเรื่องสิ้นเปลืองอย่างยิ่ง เดธโหลดของกระดาษนั้น วิศวกรส่ายหัวทั้งนั้น เปลืองเหลือเกิน

ภายในยี่สิบปีต่อไปนี้ เอกสารของพลเมืองสหรัฐ อาจจะกลายเป็นดิจิตัลหมด
คงจำได้ว่า เมื่อหลายเดือนก่อน มีคนแฮคข้อมูลการจ่ายเงินเดือนของเพนตาก้อน กว่าสองล้านระเบียน
แสดงว่า เขาไม่ใช้กระดาษกันไปทีละส่วนๆ

มองปีต่อปี จะไม่รู้สึกว่ากระดาษหายไป
แต่ถ้าอยู่ในวงการกระดาษ จะพบว่า เดี๋ยวนี้ เหลือกระดาษให้เลือกใช้น้อยชนิดลงทุกที
ส่วนคู่กรรม หรือคู่แบนั้น หากประสงค์จะเสพบนรถเมล์ อีกหน่อยจะมาเป็นออดิโอไฟล์ครับ
ใส่หูฟัง เพลินไปเลย ไม่ต้องเก็บด้วย มีโกดังกลางให้ใช้ จ่ายประจำเดือนเล็กน้อย

ต่อไปอาจจะฝากฮาร์ดดิสก์ทั้ง 500 กิ๊ก ไว้ที่โกดังกลาง เอาไว้กับตัวเฉพาะที่สำคัญสุดยอด
เดี๋ยวนี้ แม้แต่นามบัตรยังจะไม่ใช้กระดาษกันแล้ว

แงๆๆๆๆๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 01:23

โอ้โห คุณพิพัฒน์นี่ ทำไมถึงเป็นผู้ใหญ่ที่ใจร้ายจัง
จะให้ทุกคนกลายเป็นแม่ครัวแก่ๆ นั่งปอกกระเทียมซอยหอม
เจียนใบตอง โขลกพริกแกงค้างครัว กันหมดเลยหรือครับ
ถึงต้องมานั่งฟังละครวิทยุเรื่องคู่กรรมเอาได้นี่

คนเขาซื้อหนังสือนวนิยายมาอ่าน
เขาก็อยากจินตนาการถึงโลกส่วนตัวของเขา
ถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อยที่เขาจำได้ตั้งแต่มันยังเป็นสถานีรถไฟอยู่
ไม่ใช่ตึกร้างท้ายโรงพยาบาลเหมือนอย่างทุกวันนี้

ยิ่งถ้าคนอ่านคนไหน ได้ลายเซนคุณทมยันตีเธอมาล่ะก็
คงหวงอ่าน ถนอมอ่าน เผลอๆ ดูแลหนังสือยิ่งกว่าแฟน
ไม่ได้คิดไม่ได้เห็นหนังสือเล่มนั้นเป็นเดธไหลดอะไรของคุณพิพัฒน์ด้วยหรอก

แล้วยังจะมาบีบคั้นจิตใจด้วยการผลักไสให้นักอ่านไปเจอออดิโอ้โฮไฟล์ของคุณพิพัฒน์เข้าเสียอีก
แบบนี้ป้าอังศุมาลินมาได้ยินอีกคนเข้าร่ำๆจะไปเจอลุงโกโบริบนทางช้างเผือกเสียรู้แล้วรู้รอด
 ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 02:31

คุณpipatเจ้าขา  ดิฉันขอโมทนาสาธุด้วยเลยเจ้าค่ะถ้าทำได้จริง ๆ เรื่องไม่ใช้กระดาษนี่  ในชั่วอายุดิฉันนี่จะได้เห็นปริมาณการใช้กระดาษลดลงไหมค่ะ  แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรค่ะว่า คุณเพนตาก้อนที่ถูกแฮ็คข้อมูลนี้เธอจะไม่ได้เก็บข้อมูลที่เป็นกระดาษไว้ด้วย  เมื่อก่อนดิฉันคิดว่าการเก็บข้อมูลทั้งกระดาษและfileแบบนี้มีเฉพาะเสียมกุ๊กของคุณpipat  แต่ดิฉันเคยทำงานกับบริษัทของแคนาดา  มาทำProjectในเมืองไทย  การจัดทำเอกสารการเงินของเขาใช้กระดาษเปลืองเพื่อความเรียบร้อยค่ะ  คือ ทุกอย่างต้องเป็น A4 หมด จะมีข้อความมากหรือน้อยก็ A4 เท่านี้ยังไม่พอ  เอกสารการเงินทั้งหมดScanเป็นfile  เมื่อจบProject ทั้งเอกสารกระดาษ และfile จัดเก็บอย่างดี  ส่งกลับไปแคนาดาทั้งหมดค่ะ

แล้วอย่างนี้เมื่อไหร่กระดาษจะลดลงค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 07:34

เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน   เคยมีความพยายามจะใช้ไมโครฟิล์มแทนกระดาษ  ด้วยการถ่ายหนังสือเป็นเล่มๆลงไมโครฟิล์มเก็บไว้ในห้องสมุด     ประหยัดเนื้อที่บนชั้นหนังสือได้มหาศาล และยังคงทนไม่ชำรุดอย่างกระดาษอีกด้วย 
แต่การอ่านไมโครฟิล์มก็ต้องอ่านผ่านเครื่อง ขลุกขลักและทรมานสายตา  จนไม่มีใครเห็นด้วยที่จะทำห้องสมุดไมโครฟิล์มขึ้นมา   มันไม่สะดวกสบายเท่าหนังสือ

เมื่อมีอินเทอร์เน็ต   หนังสือเก่าจำนวนนับไม่ถ้วนกลายเป็นหน้าในเว็บไซต์   ถ้าอ่านแค่สั้นๆก็อ่านจากหน้าจอ  ถ้าอยากอ่านทั้งเล่มก็พริ้นท์ออกมา  แต่ ๑๐๐ คนก็ไม่ใช่ว่าพริ้นท์ออกมาทั้งร้อย   อาจจะพริ้นท์เฉพาะบางหน้าเท่านั้น 
ตรงนี้คือการประหยัดกระดาษ

ตามหน่วยงานหลายแห่ง  เมื่อก่อนมีแต่แฟ้มเป็นร้อยๆ ใส่กระดาษไว้เป็นหมื่นหน้าจนท่วมห้อง  แต่พอมีแผ่นดิสก์ และเดี๋ยวนี้คือซีดี   ประหยัดแฟ้มประหยัดกระดาษไปแยะ
ประวัติศาสตร์ไทยเล่มหนาๆ เดี๋ยวนี้ลงซีดีแผ่นเดียว

การผลิตหนังสือยังไม่หยุดหรอกค่ะ  แต่กระดาษอาจลดจำนวนลงเพราะหนังสืออีเล็กโทรนิคเข้ามาแทนที่ได้มาก
บันทึกการเข้า
BLUECOLOR
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 08:37

ขออนุญาตเขียนความรู้สึกแบบนี้ ....
โดยส่วนตัวแล้ว  การอ่านหนังสือเป็นเล่ม กับ การอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้ผลต่างกัน
อยู่ที่ประเภท   วัตถุประสงค์ในการอ่าน   เช่น หนังสือเล่มพวกนวนิยาย  เรื่องราวที่ต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อ
ซึ่งต้องอ่านอย่างต่อเนื่อง  คงต้องใช้ จากหนังสือที่เป็นกระดาษ    แต่ถ้าอ่านข้อความ ข่าว  บทความสั้นๆ
การอ่านจาก อินเตอร์เน็ต  อาจสะดวกกว่า  คือสะดวกด้วยแหล่งที่มานั่นเอง

ทั้งสองอย่างมีข้อดี และ เสีย
หลายคนกำลังบอกว่า การทำหนังสือเป็นเล่ม ต้องเปลืองทรัพยากรไม้  เป็นจำนวนมาก  แต่ก็ยังไม่ได้ค้นข้อมูล
ว่าปริมาณไม้บนโลกนี้ที่เสียหายไป  นำไปทำหนังสือ หรือ เพื่อการอื่น มากกว่ากัน

ไม่พูดถึงประเทศอื่น เอาเมืองไทยดีกว่า   คนจำนวนไม่น้อย ที่เข้าไม่ถึงสื่ออีเลคทรอนิคส์ แบบ อินเตอร์เน็ต
ปัจจุบันการอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ ไม่ถึง 10 บรรทัดต่อคน  หากจำกัดเรื่องหนังสือเล่มลงไปอีก  จะเหลือกี่บรรทัดไม่ทราบ

การใช้งานคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ก็สร้างปัญหาไม่น้อยกว่าการใช้ไม้ในการทำหนังสือ  เพราะว่า ... ทุกวันนี้มีขยะอีเลคทรอนิคส์  มากมาย   เนื่องจากคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ  ที่ออกมาเบียดที่รุ่นเก่า  รวมทั้งระบบโปรแกรมต่างๆ ด้วย   ก็ยังไม่ได้ค้น
ข้อมูลเช่นกันว่า  รวมความแล้ว อะไรเปลืองมากกว่ากัน ระหว่างเยื่อกระดาษ กับ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

สิ่งหนึ่งที่คนบนโลกทุกวันนี้ควรคิด ไม่ใช่จำกัดแค่เรื่องนี้หรอกค่ะ  แต่ควรคิดไกลออกไปถึงว่า  ตอนนี้คนบนโลกมีมหาศาล
และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ   ในขณะที่ทรัพยากรทั้งหลาย   ที่เราบอกว่า  เคยไม่จำกัดนั้น กำลังมีท่าว่าจะกลายเป็นจำกัดไปแล้ว     ... คนบนโลกควรหันมาคิดว่า ทำอย่างไรจะมีการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดต่างหาก   ใช้โดยไม่ทิ้งขว้าง
เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัว  เช่น  ควรคิดก่อนที่จะก่อขยะ  มากกว่าจะคิดว่า จะทิ้งอะไรดี  เวลาทิ้งจะแยก กับ จัดการขยะอย่างไร เป็นต้น

เรื่องหนังสือ ก็พอมีทางออก (เพราะตัวเองนิยมหนังสือเล่ม)  ก็คืออย่าพิมพ์พร่ำเพรื่อ  ใช้กระดาษที่ใช้แล้ว เวียนใช้ใหม่   อ่านหนังสือแบบถนอม เพื่อจะหมุนเวียนนำไปให้คนอื่นเขาได้อ่านบ้าง (กรณีที่เขาขาดและต้องการ) ตามโครงการต่างๆ ที่ส่งหนังสือเข้าห้องสมุดสาธารณะ  เป็นต้นค่ะ 

บันทึกการเข้า
BLUECOLOR
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 09:05

การอ่านหนังสือจากเล่ม และ จากหน้าจอคอมพิวเตอร์  ก็มีผลต่อสมองต่างกัน

กานอ่านหนังสือ เป็นเล่ม สมองมีการใช้งานมากกว่า  ตั้งแต่เดินไปหยิบ(เท้าและส่วนที่ต้องเคลื่อนไหว)
การหยิบจับหนังสือ(มือสองข้าง)   ระหว่างการอ่าน มือสองข้างต้องพลิกเปิด   ฯลฯ  กระบวนการเหล่านี้
สามารถเพิ่มจำนวนเซลส์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ทั้งนั้น 

ส่วนการอ่านภาพ เคลื่อนไหว  ไม่ว่าจาก โทรทัศน์ หรือ จากจอคอมพิวเตอร์   สมองมีการใช้งานน้อยกว่า
(การดูทีวีมากๆ  ทำให้ คนใช้สมองน้อยลง )

ตรงนี้คือข้อสังเกต  ของตัวเอง ....
**  การใช้งานในหน้าจอคอมพิวเตอร์มากๆ   มีผลกระทบกับจิตใจด้วย  เนื่องจากว่า ทุกอย่างรวดเร็วไปหมด
จนสร้างความเคยชิน   ให้กลายเป็นคนที่รออะไรไม่ได้เสียแล้ว

แต่ตรงนี้คงมิได้เกิดกับทุกคน    อาจเฉพาะบางกรณีเท่านั้น 

** ใน คห . 13  ลืมเขียนในประเด็น  ระบบไฟฟ้า กับ ค่าไฟฟ้า  ลงไปด้วย
ว่า  หากไฟดับ  คงอ่านหนังสือ อีเลคทรอนิคส์ ไม่ได้  (แต่อาจมีข้อโต้แย้งว่า  ก็ไม่จำเป็นต้องอ่านนี่นา ซึ่งก็จริง)
ส่วนหนังสือ ยังใช้แสงแดด(กลางวัน) อ่านไปได้  และ ใช้แสงเทียน (กลางคืน) อ่านได้  ถ้าจำเป็นจริงๆ

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง