เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 15837 งกไปหรือเปล่า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 21:51

ขออำไพค่ะ นึกว่าถามถึงกฎหมายลิขสิทธิ์   อ่านไม่แตก ว่าไม่ได้ถามเรื่องนี้

อ้างถึง
ผมสงกะสัยเพียงว่า คนที่หากินกะเชคสเปียร์ หรือสุนทรภู่อยู่ในปัจจุบันนี้น่ะ
มันปลอดลิขสิทธิ์ตามกฏหมายแล้ว แต่ลิขสิทธิ์ในสำนึกรับรู้น่ะ ยังไงก็ไม่มีอายุ
แล้วได้ทำอะไรเป็นค่าลิขสิทธิ์หรือไม่

หุหุ   หมายถึงพวกที่ตั้งกระทู้ว่าสุนทรภู่ไม่ได้แต่งนิราศเรื่องนั้น แต่แต่งเรื่องนี้  หรือเปล่าคะ
ดิฉันยัง   คุณพิพัฒน์ล่ะคะ

ส่วนเรื่องเชคสเปียร์   คุณพิพัฒน์รู้หรือเปล่าว่าสมัยท่านเริ่มเขียนบทละคร ก็โดน Richard Greene เขียนด่ากระจายว่าไปลอกเรื่องของเขามาดัดแปลง  มาทำเป็นของตัวเอง
หนึ่งในนั้นก็คือเอาเรื่อง Rosalynde ของกรีนมาเขียนเป็น As You Like It (ตามใจท่านป
ก็ไม่เห็นจ่ายค่าอะไรนี่คะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 22:03

อ้างถึง
ก้อไอ้ชุดงี่เง่านั่นก็น่าพิศวงมาก คือถ้าซื้อจากผู้ทรงสิทธิ์ เป็นใส่ได้
ถ้าตัดเย็บเอง หรือคนอื่นตัดเย็บ เป็นผิด มันก็เป็นการตีความกฏหมายแบบตรงไปตรงมา
แต่มองลึกลงไป การที่จับเด็กมาแต่งพ่อมด อย่างที่เธอทำในนิยายนี่ มันไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของเธอแน่ๆ
จะตะแบงว่า ชุดของแฮรี่ มีชายห้อยเป็นลักษณะจำเพาะ ใช้สีใช้ผ้า ไม่เหมือนใคร
ก็ลบข้อเท็จจริงไม่ได้ว่า

นี่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์แล้วค่ะ ชุดพ่อมดที่ว่าถ้ามีผู้ออกแบบ ของบริษัทอะไรก็ตามที่เขาได้สิทธิ์ออกแบบไปแต่ผู้เดียว  ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของคุณโรลิ่งอีกแล้วค่ะ

ถ้ามีผู้ผลิตทำเลียนแบบสินค้าบริษัทนั้น  จำหน่ายในแบรนด์นั้น  เรียกว่าละเมิด  แบบเดียวกับสินค้าเลียนแบบกระเป๋าแบรนด์เนมที่ถูกตำรวจบุกจับ  ทำลายของทิ้งเป็นข่าวบ่อยๆ
เพราะผู้ผลิตเหล่านั้นทำให้บริษัทที่ได้รับสิทธิ์มา เสียหาย

แต่ถ้าพ่อแม่จะเย็บเสื้อชุดพ่อมดให้ลูกใส่  หรือไปจ้างช่างตัดแค่ ๑ ชุด  ให้ลูก ไม่ได้จ้างผลิตขายมากๆ   ก็ทำได้นะคะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 22:15

ร้านขายแกสแห่งหนึ่ง ให้ลูกจ้างแต่งเป็นไอ้แมงมุมทำงาน
ถูกฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์
ผมก้องง ก็ถ้าเราไปซื้อชุดที่เขาทำขายมาใช้ แล้วใช้นุ่งเวลาทำงาน มันเกี่ยวไรกะลิขสิทธิ์หรือครับ

ถ้างั้น ซาเล้งที่เขาใช้
หรือสองแถวที่เขาขนของ ก้อต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์อีกอะดิ
กลับกัน ท้ายรถกะบะ ชอบทำตัวนูนเป็นยี่ห้อ
แบบนี้คือโฆษณาชัดๆ ไม่ผิดกฏหมาย

ผมงงเรื่องแบบนี้มากกว่าครับ
--------------------------

ปัจฉิมลิขิต
ว่าจะชวนคนชอบสุนทรภู่ ไปคารวะท่านที่กุฏีวัดเทพธิดาราม
อย่างน้อยก็เป็นการจ่ายค่าลิขสิทธ์ทางใจ(ล่ะฟะ)
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 22:33

เรื่องนี้คงต้องไปดูว่าเจตนารมณ์ของกฏหมายลิขสิทธิ์คืออะไร?

กฏหมายลิขสิทธิ์มีเพื่อสนับสนุนให้คนสร้างสรรค์งานขึ้นมา เพราะถ้าทำแล้วเป็นสมบัติแก่โลก มันก็จะเป็นเหมือนสมัยโบราณที่ศิลปินต้องหาเจ้านายสังกัด เพราะขายงานเองไม่ได้ หรือขายได้ก็ขายเป็นครั้งๆ ไม่มีสิทธิ์เก็บกินผลประโยชน์จากงานสร้างสรรค์นั้น

ระบบแบบนี้ต้องยอมรับว่าทำให้คนหนีออกจากงานสร้างสรรค์ไปไม่น้อย เพราะมันไม่มีจะกินเอาน่ะสิครับ ตัวอย่างที่น่าสงสารคือโมสซาร์ท ดังคับฟ้า แต่พอตกกระแสถึงกับอดตาย(ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง) ถ้าสมัยนั้นมีกฏหมายลิขสิทธิ์คงไม่ต้องจบชีวิตแบบนี้

ผมเข้าใจว่าลิขสิทธิ์ปัจจุบันจะคุ้มครองจนถึง ๕๐ ปีหลังจากผู้สร้างสรรค์งานเสียชีวิต หรือ ๕๐ ปีนับจากวันเผยแพร่ในกรณีที่ใช้นามแฝง จะว่าไปก็สมน้ำสมเนื้อ ให้โอกาสผู้สร้างสรรค์งานและทายาทเก็บผลประโยชน์ หลังจากนั้นยกให้เป็นสมบัติของสาธารณะ เปิดช่องให้คนอื่นเอาไปต่อยอดได้ หรือถ้าใครใจร้อน จะจ่ายเงินขอใช้สิทธิ์ กติกาก็เปิดช่องอยู่

ถ้าไม่มีส่วนนี้คงจบเห่ อารยธรรมมนุษย์คงแป้กอยู่แค่นี้ เพราะไม่ให้ต่อยอดกันเลย เจอซอยตันตลอด

ส่ว ๕๐ ปีจะยาวไปหรือสั้นไป อันนี้ก็นานาจิตตัง ก็ต้องหาจุดที่เหมาะสมกันต่อไปครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 22:39

ตกประเด็นสำคัญไปประเด็นหนึ่ง การให้โอกาสผู้สร้างสรรค์เก็บกินผลประโยชน์นี้ถือเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์งานด้วยอีกทางหนึ่ง

เพราะถ้าทำแล้วต้องกินแกลบอย่างเดียว คงมีคนเดินเข้ามาในวงการนี้น้อยลง เท่ากับขาดโอกาสที่จะได้งานดีๆเพิ่มขึ้น

คนแบบอุดมคติที่จะทำงานศิลปะเพื่อศิลปะเพียงอย่างเดียว จะมีกินหรือเปล่าไม่สำคัญ พวกนี้คงมี แต่ไม่รู้จะอยู่รอดสร้างงานได้นานสักเท่าไหร่

อันนี้ทุนนิยมแท้ๆเลยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 00:14

ผมไม่ได้สงสัยในเรื่องการรักษาผลประโยชน์ของผู้สร้างงาน
แต่สงสัยในแง่ของความงก ที่กฏหมายเปิดช่องให้ต่างหาก

อันที่จริงจะโทษกฏหมายตรงๆ ก็คงไม่ได้ เพราะเห็นๆ อยู่ว่ากฏหมายก็มีผู้รักษาที่เป็นธรรม
แต่ผมตั้งประเด็นที่จริยธรรมของผู้ทรงสิทธิ์มากกว่า
ตัวอย่างหนึ่ง ที่เกี่ยวกะคอมพิวเตอร์ก็คือ กรณีไมโครซอฟต์ ที่ศาลบังคับให้เปิดเผยซอร์สโค๊ต
มิเช่นนั้นจะเข้าข่ายผูกขาด
เราไม่ชอบการผูกขาด เพราะมันเป็นพฤติกรรมที่เลว เอาเปรียบและปิดกั้นสิทธิ์ของคนอื่น

เมื่อถูกบังคับ บริษัทนี้ก็เอาซอร์สโค๊ตพิมพ์เป็นเล่ม ตั้งไว้ให้คนอ่าน กลางห้องมั่นคง
คุณอยากได้ก็ขอเข้ามาอ่าน แล้วจำเอาสิ แค่สามสิบล้านตัวเท่านั้น
ที่เขาทำก็ถูกต้องตามกฏหมายทุกประการ

เมื่อเป็นอย่างนี้ คนอีกครึ่งโลก ไม่ยอมจ่ายเงินค่าโอเอสของบิล เกต ก็อาจจะสมกันดี
และเมื่อผูกขาดได้ เขาก็วางราคาเท่าไรก็ได้ จนมาเจอประเทศจีน
ดำริจะทำโอเอสแห่งเจ๊กขึ้นมา (ถ้าคุณไม่ลดราคา) สุดท้าย ไม่มีใครรู้ว่าวินโดว์จ่ายให้ปักกิ่งเท่าไร
เพื่อให้ประเทศจีนเลิกโครงการโอเอสเจ๊ก

สำหรับประเทศกระจอกงอกง่อยอย่างเสียมกุก ก็ต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าที่ขายเกินราคาหนึ่งร้อยเท่าต่อไป
ด้วยเงินภาษีอากรของคนตาดำๆ อย่างเรา

นี่ละครับ ผลดีของกฏหมายลิขสิทธิ์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 07:27

ขอโทษ ตามไม่รู้เรื่องแล้วค่ะ  ประเด็นมันขยายออกไปไกลมากแล้ว
ขอส่งไม้ต่อให้คุณอาชาผยองดีกว่า
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 08:40

อาจารย์เรา ท่านมีจิตใจสูง จึงมองประเด็นคุณเจเคเป็นเรื่องปกป้องสิทธิ์
แต่ผมถามอีกประเด็นมาแต่ต้นคะร๊าบบบ...

ผมถามว่า
"งก"
เกินไปหรือเปล่า

คือถามทั้งพฤติกรรมของเจ๊เจเค
และถามไปถึงวัตถุประสงค์ของกฏหมายลิขสิทธิ์

อาจารย์ตอบ ทำให้หายสงสัยไปได้ ว่ากฏหมายไม่ได้วางอยู่บนฐานของความ"งก"
แต่คนใช้กฏหมายตะหาก ที่เอาความ"งก" มาใช้กับกฏหมาย
งกจนเห็นว่า ระยะเวลาคุ้มครอง 50 ปีนั้น ไม่พอ อยากเพิ่ม
งกจนต้องบิดเบือนหลักแห่งการค้าโดยยุติธรรม ให้กลายเป็นเครื่องมือที่ให้ประโยชน์แก่ตนฝ่ายเดียว

สำหรับเหตุผลของคุณเครซี่นั้น โดยตัวบทก็ไม่มีอะไรจะคัดค้านได้
แต่โดยข้อเท็จจริงก็คือ กฏหมายลิขสิทธิ์นั้น "ฆ่า"นักคิดเล็กๆ ที่อยากทำอะไรที่พอสมควรแก่อัตภาพ
"ฆ่า" ความหลากหลายทางความคิด และสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ ไม่รู้จักเท่าไร
การผูกขาดของไมโครซอฟท์ ทำให้วงการคอมพิวเตอร์ล้าหลังกว่าที่ควรไปกี่ปี
และคนเก่งๆ เป็นหมื่นเป็นแสน ไม่มีที่แสดงออก ตกงาน ล้มเหลว....ฯลฯ

ผมทราบครับ ว่าการเอาผลงาน เช่นหนังสือทั้งเล่มไปก๊อปปี้ใหม่ มันผิด
แต่ทำไมมันผิดบ้างถูกบ้าง ในการกระทำเดียวกัน
เช่นสมัยที่ยังไม่เข้าสู่ดิจิคัล
บริษัทยักษ์ใหญ่ ต่างก็ผลิตเทปคาสเสท หรือม้วนวีดีโอให้ผู้คนไปใช้กีอปปี้เพลง หนัง รายการต่างๆ กันอย่างโจ่งแจ้ง
หนับหนุนอย่างเปิดเผยด้วย ขนาดทำเทปคาสเสทที่มีความยาว 47 นาทีออกมาขาย
เพื่อให้ก๊อปปี้เพลงจากแผ่นเสียงไวนิ่ลได้พอดีๆ เพราะ 30 นาที มันน้อยเกินไป

มาถึงปัจจุบัน แค่เพลงเดียว พี่ก้อห้ามก๊อป ด่าว่าคนก๊อปด้วยเหตุผลของคุณเครซี่
ดูเหมือนว่า หลักการที่ดีของระบบลิขสิทธิ์
พลิกดูอีกด้าน

ก็คือความ"งก" ที่กฏหมายรับรอง....ประมาณนั้นแหละครับ

บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 02:01

ดิฉันว่าประเด็นของคุณpipatน่าสนใจค่ะ  ถ้าจะให้เกิดประโยชน์จริง ๆ  และเป็นการชี้ที่มีอคติน้อยที่สุดก็คงต้องไปอ่านกฎหมายลิขสิทธิ์ค่ะว่ารายละเอียดบัญญัติไว้อย่างไร  เจตนาของกฎหมายคงเป็นอย่างที่คุณเทาชมพูบอก  ส่วนเรื่อง "ความงก" เป็นเรื่องของเจ้าของสิทธิ์  กฎหมายลิขสิทธิ์คงไม่ได้มีเจตนาไปคุ้มครองความงกของเจ้าของสิทธิ์หรอกค่ะ  แต่ก็คงเป็นธรรมดาเหมือนกฎหมายฉบับอื่น ๆ ที่มีคนอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายหาประโยชน์ให้ตนอย่างไม่เหมาะ ไม่สม  ที่บอกอย่างนี้ไม่ใช่ดิฉันเห็นว่า คุณJKเธอเป็นเช่นนี้นะคะ  ดิฉันหมายถึงทั่ว ๆ ไป  และดิฉันก็เชื่อว่ากฎหมายลิขสิทธิ์คงมีช่องโหว่ที่เป็นปัญหาอยู่อีก  อย่างกรณีเรื่อง ข้าวหอมมะลิ ที่เกือบถูกจดลิขสิทธิ์เป็นข้าวของประเทศ..... (ดิฉันจำไม่ได้เช่นเคย)  แต่ไทยไหวตัวทันไปค้านไว้ก่อน  ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นเราไม่มีสิทธิ์ปลูกข้าวหอมมะลิไป  ดังนั้นดิฉันว่า  กฎหมายก็คงไม่ได้ถูกต้องสมบูรณ์ไปทั้งหมด  เมื่อแก้ปัญหาหนึ่งแล้วไปเกิดอีกปัญหาหนึ่ง  ก็แก้กฎหมายอีกก็ได้นี่ค่ะเพื่อเป็นประโยชน์ตามเจตนาให้ได้มากที่สุด  แต่ว่าปัญหามันคืออะไรล่ะค่ะ  ดิฉันพยายามอ่านก็ยังไม่เข้าใจ 

อย่างกรณี JK ที่คุณpipatยกมา  ดิฉันว่า  มันต้องเริ่มที่ว่า  ปราสาทนี้ถือเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของ JK หรือไม่  ถ้าเห็นว่าเป็น  อย่างไรก็ต้องแจ้งผู้สร้างสรรค์งานทราบ  แล้วจะเจรจาทางการค้ากันอย่างไรก็ต้องตกลงกันไป  ถ้าเจ้าของงานเขาจะงกเรียกเก็บค่างานของเขาเท่าไหร่  ถ้าคุณจะใช้ของเขาคุณก็ต้องจ่าย  เพราะมันเป็นสิทธิ์ของเขา  นี่คือกติกา  แต่ถ้าผู้จัดเห็นว่าไม่เป็น  แต่ JK ว่าเป็น  ก็ต้องไปศึกษากันในกฎหมายแล้วล่ะค่ะว่าเขามีเกณฑ์อย่างไร  อันนี้ไม่มีความรู้มากพอจะออกความเห็นได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 08:02

อ้างถึง
ผมถามว่า
"งก"
เกินไปหรือเปล่า

คือถามทั้งพฤติกรรมของเจ๊เจเค
และถามไปถึงวัตถุประสงค์ของกฏหมายลิขสิทธิ์

ไม่งกค่ะ ถ้าเป็นสิ่งที่คุณเจเคเธอมีสิทธิ์ได้   
แต่ถ้าเธอไม่สนว่ากิจกรรมนั้นเป็นธุรกิจเอาสตางค์หรือไม่  ถึงเป็นงานกุศล ทำเพื่อศรัทธา  ไม่คิดกำไร ไม่เงินคนดูเอาเข้ากระเป๋าผู้จัดเลย  ฉันก็จะฟ้องลูกเดียว   ยังงี้ถือว่า"งก"
ถ้าเป็นงานกุศล  กฎหมายก็เปิดช่องไว้แล้วว่าให้ยกเว้น

ส่วนเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ตอบไปแล้ว     จุดหมายคือปกป้องสิทธิ์ของผู้ผลิตงานสร้างสรรค์ แต่ถ้าผู้สร้างสรรค์เองพลิกแพลงไปเอาเปรียบคนอื่นหรือปิดกั้นคนอื่น  อันนี้โทษผู้สร้างสรรค์เอง  ไม่ใช่โทษกฎหมาย
ถ้าผู้คนเห็นว่าช่องโหว่มันกว้างจนคนเอาเปรียบขึ้นเรื่อยๆ  ก็สามารถรวมกลุ่มกันเรียกร้องให้แก้กฎหมายได้นี่คะ

อ้างถึง
อาจารย์เรา ท่านมีจิตใจสูง จึงมองประเด็นคุณเจเคเป็นเรื่องปกป้องสิทธิ์
ถ้าจะออกความเห็นกันให้สนุก  ดิฉันว่าเรามางดออกความเห็นเกี่ยวกับ"ตัวคน" แต่หยุดอยู่แค่"ประเด็น" ดีไหมค
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 09:57

ผมไม่ได้อ่านข่าวนี้ละเอียด แต่เข้าใจว่าที่โดนฟ้องไม่ใช่เรื่องหน้าตาของปราสาทนะครับ แต่เป็นเรื่องการใช้ "ชื่อ" และ "เรื่องราว" ว่าเป็นปราสาทฮ็อกวอร์ท
ไม่งั้นศาลท่านคงไม่ตัดสินว่าละเมิดได้หรอกครับ

ถ้างานผีตาโขนมีพ่อค้าหัวใสจะทำแบบเดียวกันนี้ ผมก็จะแอบเมล์ไปบอกน้าเจเคให้ช่วยมาฟ้องเหมือนกัน อนาถใจน่ะ
ใครจะไปรู้ได้ว่าพ่อค้าในงานทุรคาบูชานี่ก็อาจจะโดนคนท้องถิ่นนั่นแหละแอบส่งซิกให้เจ๊เหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม

ส่วนเรื่อง Micro$oft นั้น ผมไม่เคยได้ยินเรื่องเอา source code ไปพิมพ์แสดงในห้องเลยครับ และคิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ เพราะมันขัดกับปัญหาจริงที่เกิดขึ้น
ปกติ source code เขาไม่จำเป็นต้องเปิดเผยอยู่แล้ว แต่เรื่องที่ M$ โดนฟ้องนั้นเป็นเพราะว่าใช้การผูกขาดตลาด OS(Window$) มาใช้ประโยชน์เอาเปรียบคู่แข่งขันในตลาดอื่นโดยเฉพาะซอฟท์แวร์ตระกูล Office

โดยปกติผู้ผลิต OS จะเปิดเผยข้อมูลส่วนหนึ่งที่เรียกว่า API เพื่อให้ผู้ผลิตซอฟท์แวร์รายอื่นๆสามารถเรียกใช้ในโปรแกรมของตัวเองได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ M$ เปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ไม่หมด (และบางส่วนถึงกับวางยา) ทำให้โปรแกรมจากผู้ผลิตรายอื่นทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือบางทีจู่ๆก็มีปัญหาในการใช้งานเมื่อ M$ อัพเดท OS ของตัวเอง ในขณะที่ M$ Office ไม่มีปัญหาเลย เพราะรู้กันเป็นการภายใน

พฤติกรรมแบบนี้กฎหมายเขาไม่อนุญาต สุดท้ายศาลจึงสั่งปรับเงิน และบังคับให้ M$ เปิดเผย API ออกมาอย่างน้อยเท่ากับที่ส่งให้ทีมที่ทำ M$ Office

เรื่องนี้ M$ ก็รู้ดีอยู่แล้วว่าต้องจบแบบนี้ แต่กระบวนการฟ้องร้องนี้ต้องใช้เวลา เป็นเกมทางธุรกิจ ดูเอาแล้วกันครับว่าถึงต้องเปิด API ถึงต้องจ่ายค่าปรับ แต่คุ้มมาก เพราะคู่แข่งตายหมดแล้ว

สุดท้าย M$ เป็นคนกำหนดราคาตลาดได้ต่อไปครับ

ผมใช้คอมพ์มาเกิน ๒๐ ปีแล้ว ราคาฮาร์ดแวร์ถูกลงอย่างมาก (ไม่ต้องคิดถึงประสิทธิภาพ) แต่ราคาซอฟท์แวร์ไม่เคยถูกลงเลย

แต่ทั้งหมดนี้ผมว่าไม่เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์เลยนะครับ ปัญหาอยู่ที่การผูกขาดล้วนๆ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 13:32

ผมมองสวนทางว่า กฏหมายลิขสิทธิ์นี่แหละ ตัวสะกัดความเจริญก้าวหน้าในทุกเรื่อง

ยกตัวอย่างที่คอมพิวเตอร์ก้อด้าย......
ถ้าไอบีเอ็มไม่เปิดสิทธิ์ในการทำเครื่องแก่สาธารณะ โลกจะไปไกลขนาดนี้ใหม
ดูแอปเปิ้ลสิ ใช้ระบบปิด สุดท้ายจากส่วนแบ่ง 20 % ในตอนเริ่มแข่ง เดี๋ยวนี้อาจจะเหลือไม่ถึง 2 %
ถ้าไม่มีการผูกขาดจากทั้งจ๊อบบ์ และเกตต์ ป่านนี้คอมพิวเตอร์จะเหลือเครื่องละไม่ถึงหมื่น
และดีกว่านี้ไม่รู้เท่าไร

ผมไม่มีความรู้เรื่องเกมส์ แต่ผมงงว่าบริษัทเล็กๆ เหล่านั้น สร้างของพิศดารออกมาได้ยังไง
เมื่อสิบปีก่อน เกมส์สนุกมากมาย มีให้เล่นกันโดยไม่คิดเงิน บางคนก็ขอแค่โปสการ์ดสักแผ่น
ปรากฏว่า พวกยักษ์ใหญ่ พากันมาซื้อไปขายแบบเก็บเงิน
ปลั๊กอินหลายๆ ตัว ที่ใช้บนแมค ก็ถูกซื้อเก็บเหมือนกัน

ถ้าผมมีอำนาจ ผมจะออกกฏหมายนี้ใหม่ ให้มีรูหายใจขยายใหญ่ยิ่งขึ้น
ทำให้การละเมิดแบบฆ่าเจ้าของลิขสิทธิ์หายไป แต่การละเมิดแบบต่อยอดอยู่ได้
จะร่างยังไงก็ยังนึกไม่ออกเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 14:32

จริงๆแล้วทั้ง IBM และ Mac ก็อยู่ใต้กฎหมายสิทธิบัตรอันเดียวกันนะครับ เพียงแต่สองเจ้านี้เลือกหนทางต่างกัน

เรื่องซอฟท์แวร์นี่ไม่ต่างกัน คือเปิด API ให้คนมาเขียนโปรแกรมให้ตามสบาย

แต่เรื่องฮาร์ดแวร์ IBM ยอมให้ผลิตได้ ด้วยความมั่นใจว่า ตลาดเปิดทำให้อัตราการโตสูงเป็นทวีคูณ และโดยรวม IBM จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้มากกว่าอยู่แบบงุบๆงิบๆเหมือนที่ Apple ทำ

จะว่าไปก็ตลก เพราะโมเดลเดียวกันนี้ Apple เคยทำมาก่อนแล้วสมัยยังเป็น Apple II ซึ่งทำให้มี Apple II Compatible ออกมาเพียบ

ทีนี้มาดูผลที่เกิดขึ้นกันบ้าง

IBM โตเป็นเจ้าตลาดอย่างไม่น่าเชื่อ เครื่อง IBM Compatible กลายเป็นของประจำบ้าน (ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อสามัญเป็น PC อย่างที่เรียกในปัจจุบัน) ส่วน Mac ห่อตัวใช้กันอยู่ในกลุ่มเล็กๆ

Apple ซึ่งคงรู้สึกเสียดายว่าตักตวงประโยชน์จาก Apple II ไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย มาถึง Mac ก็เลยไม่ให้สิทธิ์ใคร ทำตัวเป็นระบบปิด แต่ความจริงแล้วมีช่วงหนึ่ง Apple ก็เคยให้้สิทธิ์คนอื่นทำเครื่อง Compatible อยู่พักนึงนะครับ(ไม่รู้ว่าเห็น IBM โกยเงินแล้วน้ำลายไหลหรืิเปล่า) แต่เข้าใจว่ามีปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพและภาพลักษณ์(?) สุดท้ายก็เลิกให้สิทธิ์ กลับไปทำเองหมดเหมือนเดิม

ส่วน IBM ที่ฟู่ฟ่าสุดๆ จนในที่สุดเจอเครื่อง Compatible ครองตลาด ไอ้ที่หวังว่าจะได้ชื่อ IBM Compatible เป็นตัวนำ ชาวบ้านเขาก็หันมาเรียกเป็น PC ไปหมด สุดท้าย IBM ต้องขายกิจการส่วน PC ให้เจ๊ก Lenovo ไปแล้ว ผันตัวเองไปทำธุรกิจ IBM จักรกลธุรกิจข้ามชาติ หากินกะคนรวยสบายกว่ากันแยะเลย

และปิดฉากธุรกิจนี้ไปแบบที่เรียกว่าจบเห่ และสบายใจได้เลยว่าจะไม่มีพ่อค้าหน้าไหนกล้าเดินรอยตาม IBM อีกแน่ๆ

ก็สิทธิบัตรเขาไม่ได้บังคับว่าห้ามเปิดนี่ครับ เจ้าของเลือกได้ว่าจะเอาไง IBM เลือกเปิด แล้วเป็นอย่างนี้ แสดงให้ดูว่าเปิดโล่งโจ้งแล้วต้องจบแบบนี้ และนี่คือสภาพที่ไม่มีสิทธิบัตรนั่นเอง รายใหญ่อย่าง IBM ยังมีโอกาสตักตวงผลประโยชน์ช่วงแรกๆไปได้บ้าง แต่ถ้าเป็นรายเล็กๆหมดสิทธิ์รอดแน่ ทำแทบตาย ยังไม่ทันได้กินเลยโดนคนอื่นจ้วงกินเรียบ ต้องนั่งร้องไห้โฮๆ แล้วใครมันจะไปทำล่ะคร้าบ... ไม่จูงใจเลย

ในขณะที่ Mac อยู่อย่างลุ่มๆดอนๆมาตลอดเกือบ ๒๐ ปีนี้ แต่ Mac ก็ยังเป็น Mac นะครับ  ยิ้มเท่ห์

ผมเสียดายเหมือนกันที่ระบบของ Mac ไม่เปิด เพราะที่จุดเริ่มต้น Mac เหนือกว่าแบบคนละเรื่องเลย ระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกแบบ USB นั้น Mac มีของคล้ายๆกันนี้ใช้มาราวๆชาตินึงมาแล้ว ผมยังเคยทะลึ่งเอาคียบอร์ดมาต่อพ่วงกันสามตัวซ้อนมาแล้ว ตื่นเต้นดีมาก  ยิงฟันยิ้ม Mac OS และ เมาส์ ก็เป็นต้นฉบับให้ Window$ ลอกไปใช้จนมีคดีความเป็นเรื่องเป็นราวมาแล้ว (โดยประสบการณ์ที่เคยศึกษา API ของทั้งสอง OS นี้ ถ้าบอกว่าไม่ได้ลอก สู้บอกผมว่าควายออกลูกเป็นลิงได้ยังน่าเชื่อกว่าเป็นไหนๆ) ถึงแม้จอบส์จะขมายไอเดียทั้งสองอย่างมาจากแล็บ Xerox ที่พาโลอัลโตอีกทีก็เถอะ

จะให้แจ๋ว ต้องคุยกันต่อเรื่องแนวคิด Open Source และ GPL ที่กำลังแรงในช่วงหลายปีนี้ครับ เป็นการใช้กฎหมายลิขสิทธิ์อย่างน่าสนใจมากครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 15:50

ผมได้ยินมาต่างจากนี้หน่อยนึง....
ไอบีเอมจ้างบริษัทเล็กๆ แห่งหนึ่ง มารับทำโอเอสให้คอมพิวเตอร์สายพันธุ์ใหม่ของตน
ที่เลือกบริษัทเล็ก ได้ไม่ต้องกลัวว่าจะโตมาฆ่าตนเอง
สองเกลอหัวแข็งก๊ได้งานไป กลายเป็นไมโครซอฟต์

ในช่วงเวลานั้น ตลาดคอมพิวเตอร์ อยู่ในมือยักษ์สีฟ้า เป็นเมนเฟรมทั้งสิ้น ราคาตั้งต้นที่ร้อยล้าน
ไอบีเอมจึงไม่สนใจจะมองเครื่องตั้งโต๊ะ ราคาแค่หลักหมื่นๆ บาท
ขายพันตัวยังไม่ได้ราคาเท่าขายอาหลั่ยเมนเฟรมตัวเดียว แล้วปีนั้น คนที่รู้จักคอมพิวเตอร์มีแค่หยิบมือเดียว
ไอบีเอมจึงยอมให้คนอื่นมาสร้างเครื่องเลียนแบบ
นั่นทำให้ โอเอสของไมโครซอฟท์เป็นที่ต้องการ
ยักษ์สีฟ้าพลาดอีก เมื่อไมโครซอฟท์ขออนุญาตขายโอเอสของตนให้กับพวกเครื่องเทียบเท่าเหล่านั้น
ลิขสิทธิ์แรกเริ่มทุกอย่าง เป็นของไอบีเอม ซึ่งมองว่ายิ่งคนใช้เครื่องเทียบเท่ามากเท่าไร ท้ายที่สุดก็มาจบที่เมนเฟรม
ตูจะได้ขายเครื่องร้อยล้าน เพิ่มขึ้นง่ายดาย......พระเจ้าคงนั่งหัวร่ออยู่ในวันนั้น

ส่วนค่ายแมคนั่น เจตจำนงก้นบึ้งน่ากลัวมาก
เขาต้องการเอาชนะยักษ์สีฟ้า....คนอารัย คิดใหญ่ได้ขนาดนั้น ยิ่งกว่ามดล้มไดโนซอร์อีก
บริษัทจากโรงรถ จะล้มบริษัทที่ใหญ่กว่าประเทศบางประเทศ
แต่จ๊อบบ์ทำสำเร็จ เขารวย จนซื้อเวลาโฆษณาที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ คือเมื่อพักครึ่งซุปเปอร์โบล์ว
เพื่อเปิดตัวคอมพิวเตอร์ที่ชื่อเป็นผลไม้....เขาจึงเป็นขวัญใจของสาวกตราบเท่าทุกวันนี้
แต่จ๊อบบ์คิดผิด ที่ไปเอาประธานเป๊ปซี่โค มาใช้งาน
เขาหวังว่า หมอนี่จะรับบริหารธุรกิจ เพื่อเขาจะได้คิดงานสร้างสรรค์ แค่ไม่กี่ปี หมอนี่ก็ไล่จ๊อบบ์ออกจากบริษัท
เออ....เอากะมันสิ

ตอนนั้นแอปเปิ้ลตกต่ำถึงที่สุดแล้ว จนต้องยอมเปิดช่องให้มีการผลิตแมคโคลน ออกมา
ทุกคนที่เกี่ยวข้อง เจ้งไม่เป็นท่า ยกเว้นจ๊อบบ์ ซึ่งบอกว่า
"เมื่อคุณถูกไล่ออกจากบริษัทที่คุณเป็นคนก่อตั้ง จงดีใจ"....ตอนนั้นเขาไปเปิดบริษัทคอมพิวเตอร์ใหม่
และกำลังสนุกกับ pixar บริษัททำอะนิเมชั่นที่เขาซุ่มฟูมฟักอยู่ ตอนนั้น ไมโครซอฟท์ครองโลกเรียบร้อยแล้ว
ด้วยการยืมเปลือกของแมค มาคลุมฬาที่ชื่อว่าดอส กลายเป็นวินโดว์

จ๊อบบ์ถูกเชิญกลับมาคุมแอปเปิ้ล เขาทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน
เขาออกแมคเจนเนอเรชั่นใหม่ เปลี่ยนทุกอย่างหมด ซึ่งทำให้รอดตาย
เขาฟ้องไมโครซอฟท์ และคดีจบลงเงียบๆ ด้วยการที่เกตต์เข้าถือหุ้นแอปเปิ้ล 5 % ผมคิดว่านี่คือค่ายอมความ

มองย้อนกลับ ผมจึงอยากสรุปว่า การปิดกั้นลิขสิทธิ์ เป็นการปิดกั้นความก้าวกระโดด
เกตต์ยึดติดอยู่กับการเอาเปรียบทางลิขสิทธิ์ ทำให้เขามองอินเตอร์เนตผิดหมด
ทุกวันนี้เกตต์เดินตามกูเกิ้ลต๊อกๆๆๆๆ แต่ผมว่าเขาตามไม่ทันและ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 24 ต.ค. 07, 20:36

เรื่องเกตส์กับอินเตอร์เน็ต มันเป็นอย่างนั้นจริง แต่คู่กรณีตัวจริงคือ Netscape เมื่อสิบปีที่แล้วนะครับที่ทำให้เกตส์กลืนน้ำลายตัวเอง ประกาศว่าทุกองคาพยพของ M$ ต้องมุ่งหน้าหานเตอร์เน็ต

แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับกรณี Google นะครับ และก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ด้วย

M$ เสียเปรียบ Google ในบางสนามเพราะน้องกุ๊กเธอฉลาดเลือกเล่นในเกมส์ที่ M$ ไม่มีแต้มต่อ ค่อยๆตะล่อมรุกคืบไปเรื่อยๆ เกมนี้ M$ เสียเปรียบเพราะฝีมือสู้ไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องอื่นใด แต่สงครามยังไม่จบ M$ ไม่ใช่ผู้นำที่ดี แต่เป็นนักลอกเลียนตัสยงที่รู้ดีว่าจุดแข็งของตัวเองคืออะไรและพร้อมจะใช้จุดแข็งนี้เข้าบดคู่แข่งโดยไม่ต้องสนใจถูกผิด

จุดแข็งนี้คือเรื่องการผูกขาดครับ ไม่ใช่เรื่องลิขสิทธิ์เลย

Andy Tai ทำแผนภูมิสงครามซอฟท์แวร์ไว้อย่างน่าสนใจ http://mshiltonj.com/software_wars/ เห็นภาพชัดเจน ชาร์ตแรกที่ปี 1998 นั่นคือหลังจากที่เกตส์กลืนน้ำลายที่เคยบอกว่าอินเตอร์เน็ตเป็นของเด็กเล่น ประกาศกลับลำ ทุกโครงการของ M$ มุ่งหน้าสู่อินเตอร์เน็ต แล้วออก IE (บังคับ)แถมมากับ Windows จนทำให้ Netscape ต้องม้วนเสื่อ ยกโครงการ Web Browser ให้เป็นสมบัติสาธารณะ (จนแตกหน่อมาเป็นเจ้าจิ้งจอกไฟในทุกวันนี้)


เรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ ผมก็เห็นว่ามันไม่ได้สมบูรณ์แบบนะครับ แต่ถ้าหวังให้ทุกคนช่วยกันคนละไม้คนละมือทำเพื่อมนุษยชาติ มันก็เหมือนกับคอมมูนิสต์ที่ฝืนสัญชาติญานอยากได้ใคร่ดีของมนุษย์ สุดท้ายคือคนส่วนมากไม่อยากจะทำอะไรเลย เพราะทำมากทำน้อยก็ได้เท่ากัน

แนวคิดสัญญาลิขสิทธิ์แบบ GPL ที่โครงการ Open Source จำนวนมากใช้อยู่ก็น่าสนใจนะครับ ประกาศว่าสิ่งที่ทำมาเป็นสมบัติของมนุษยชาติ เผยแพร่พร้อม Source Code ใครใคร่แก้ก็เชิญตามสบาย มีเงื่อนไขว่าได้ผลอย่างไรต้องเป็นสมบัติสาธารณะต่อไป ห้ามอ้างสิทธิ์เป็นของตัวเอง

แต่ก็มีการแตกลูกแตกหลาน บางแบบก็ให้สิทธิ์ว่าคนที่เอาไปทำต่อมีสิทธิ์ปิดหรือเปิดก็ได้เหมือนกัน

การมีหลากหลายโมเดลให้เลือกแบบนี้ก็ดีครับ สุดท้ายรูปแบบเหมาะสม สังคมได้ประโยชน์ ประนีประนอมกับผลประโยชน์ได้ ก็จะถูกคัดเลือกโดยธรรมชาติเองครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง