เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 15805 งกไปหรือเปล่า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
 เมื่อ 19 ต.ค. 07, 13:02


ผมไม่เคยอ่านแฮรี่ ป๊อตเตอร์ จึงไม่รู้คุณงามความดีของเรื่อง
แต่พอทราบข่าวความสู้ชีวิตของคนแต่ง และนึกยกย่องเธอ
แต่มาเจอข่าวนี้ รู้สึกพิลึกชอบกล ที่เธอให้ฟ้องเทศกาลหนึ่งในอินเดีย เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์
จริงอยู่ การกระทำของผู้จัดงาน "อาจจะ" เข้าข่ายละเมิด แต่ถ้าเป็นการละเมิดในลักษณะนี้
ผมคิดว่า น่าจะเข้าข่าย fair use
http://www.law.cornell.edu/uscode/html/uscode17/usc_sec_17_00000107----000-.html
โดยถือว่า การเฉลิมฉลองดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาเชิงคติความเชื่อและวัฒนธรรมต่อชุมชน
ข้อสำคัญ ไม่ทำให้ผลประโยชน์ของผู้ทรงสิทธิ์เสียหายด้วย(ตรงกันข้าม เป็นการเผยแพร่เสียอีก)

อดคิดไม่ได้ว่า อาการอย่างนี้ เข้าข่าย "งกเกินคน" หรือไม่

http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9500000122348
“เจ.เค.โรว์ลิง” นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษ ได้ยืนขอคำร้องต่อศาลสูงของเมืองเดลีในประเทศอินเดีย ให้เรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์เป็นมูลค่ากว่า 2 ล้านรูปี
หรือเกือบ 2 ล้านบาท โทษฐานที่ผู้จัดงานในเทศกาลทุรคาบูชาประจำปีนี้ได้สร้างรูปจำลองของปราสาทฮอกวอตส์โดยไม่ได้รับการยินยอมจากเธอ ซึ่งล่าสุด
ทางศาลพิจารณาให้ทางผู้จัดใช้แบบจำลองดังกล่าวต่อไปได้เฉพาะในเทศกาลนี้เท่านั้น

------------------

แฟน ๆ ชาวอินเดียได้ออกอาการลิงโลด
หลังจากศาลยอมไฟเขียวให้อนุญาตผู้จัดงานทางศาสนา สามารถสร้างโรงเรียนฮอกวอตส์ขนาดเท่าของจริงตามนวนิยาย'แฮร์รี่ พอตเตอร์'ได้แล้ว
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ศาลสูงกรุงนิวเดลลี ได้ปฎิเสธการคัดค้านของเจ.เค.โรวลิ่ง ผู้ประพันธ์นวนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์ ชื่อดังว่า
การสร้างประสาทดังกล่าวที่เมืองกัลกัตตา ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยตอนนี้ผู้จัดได้รับอนุญาตให้สามารถเดินหน้าสร้างปราสาทดังกล่าว ซึ่งทำจากไม้ไผ่
และเยื่อกระดาษ ซึ่งจะเปิดตัวในช่วงเทศกาลใหญ่ของศาสนาฮินดู อันใกล้จะมีขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคมนี้แล้ว
 
ขณะที่ผู้จัดงานบอกว่า พวกเขาหวังว่าจะการเปิดตัวปราสาทดังกล่าว จะดึงดูดผู้คนให้มาชมกันเป็นจำนวนมาก ๆ
ส่วนหนี่งจากเรื่องฉาวที่เป็นคดีความกับเจ.เค.โรลลิ่ง ผู้ประพันธ์นวนิยายพ่อมดน้อยด้วย และคิดว่าน่าจะเป็นเช่นนี้ เพราะตอนนี้สื่อก็เริ่มตีข่าวเรื่องนี้แล้ว
ส่วนนายซาโยนา แมนดัล ผู้ก่อตั้งชมรมแฟนคลับแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ วัย 19 ปี ชาวอินเดีย บอกว่า ศาลได้ทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะมันจะทำให้เราได้เห็นโรงแรม
พ่อมดดังกล่าวจริง ๆ ได้เหมือนในภาพยนตร์
ก่อนหน้านี้ นักเรียนจำนวนมากต่างได้ไปยลโฉมปราสาท'ฮอกวอตส์'ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยต้นแบบของประสาทแห่งนี้ ถูกสร้างคล้ายของจริง เช่น มีบันไดหินอ่อน พื้นหินบริเวณห้องโถงทางเข้า ซี่งเต็มไปด้วยคบเพลิงเหมือนอย่างในภาพยนตร์
ทั้งนี้ ปราสาทฮอกวอตส์สร้างตามจินตนาการเป็นโรงเรียนพ่อมดสำหรับกลุ่มเด็กพรสรรค์ที่มีเวทมนตร์อย่างแฮร์รี่ พอตเตอร์ และเพื่อน ๆ
หนังสือพิมพ์มติชน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ต.ค. 07, 13:20

ถ้าการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ มีผู้จัด  มีรายได้จากคนดู เอาเข้ากระเป๋าคนจัดงาน   ปราสามฮอกวาร์ดส์นี่ก็เข้าขั้นส่วนหนึ่งของธุรกิจการจัดงาน    ต้องให้ค่าลิขสิทธิ์แก่คุณนายโรลิ่ง
แต่ถ้าฉลองเทศกาลกันเฉยๆ ไม่คิดสะตุ้งสตางค์ ไม่มีกำไร  มุ่งหวังประโยชน์ในเชิงความรู้หรือความเชื่อ หรือเป็นความบันเทิงล้วนๆไม่คิดค่าเข้าชม   ยังงี้ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ค่ะ  กฎหมายเว้นให้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ต.ค. 07, 13:40

เมื่อคิดในมุมกลับ
คุณนายโรลริ่ง ได้หยิบฉวยลิขสิทธิ์ของคนอื่นมาบ้างหรือไม่
ปราสาทที่เธอจินตนาการ ย่อมมาจากปราสาทที่มีอยู่แล้ว
เรื่องพ่อมดแม่มดที่เธอสร้างขึ้น ก็เป็นลัทธิพิธีที่มีมาก่อนแล้ว
การขี่ไม้กวาด ก็มีผู้ทำมาก่อน
เหาะไปมา ชนนู๋นชนนี่ ก็มีผู้ทำมาก่อนแล้ว
การเดินทะลุมิติ ก็มีคนทำมาก่อน
ฯลฯ

ผมไม่ค่อยเข้าใจเจตนารมณ์ของกฏหมายลิขสิทธิ์สักเท่าใดเลย
อาจจะเป็นเพราะชอบละเมิดอยู่เป็นประจำก็เป็นได้

อย่างกรณ๊ยูทู้ป
ทุกอย่างในนั้นมันละเมิดชัดๆ ทำไมไม่มีการตามฟ้องร้องมั่ง
แล้วทำไมยังยกย่องช่องที่ส่งเสริมการละเมิดโจ่งแจ้งนี้กันละ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ต.ค. 07, 15:00

อ่านแล้วเหมือนกันค่ะ แรกอ่านก็สนใจ อ่านรายละเอียดแล้วรู้สึกว่า เจ๊เจเคแกจะงกข้ามทวีป รวยมากกว่าควีนตัวเองไปหรือยังไม่รู้ ยังงกอีก..แต่อย่างอาจารย์ว่าแหละค่ะ
กรรมเป็นเครื่องส่อเจตนา เขาเจตนาทำเพื่อการค้ามากกว่าการศึกษา ก็สมควรโดนฟ้องนะฮะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ต.ค. 07, 16:34

             ไม่ได้อ่าน ไม่ได้ดูหนังเรื่องแฮรี่เลย

      เดาว่า เธอคงฟ้องเพื่อหวังให้เป็นการป้องปราม ประกาศให้ทราบมากกว่าว่า ไม่ได้นะ อย่ามาละเมิดลิขสิทธิ์กัน ไม่งั้นอาจ
มีเหตุการณ์แบบนี้อีก ที่โน่น ที่นี่ ทั่วโลก   
       
             ลองค้นดูหน่อยว่า รวยขนาดนี้เธอบริจาคทรัพย์เพื่อสาธารณะอย่างไร

      บริจาคเงินให้ สมาคมโรค multiple sclerosis ของอังกฤษ โรคนี้พรากมารดาเธอไปด้วยวัยเพียง 45 ปี   

      หนึ่งแสนเหรียญให้สถาบัน Dana-Farber ในนามของ Catie Hoch เพื่อนรุ่นเด็กของเธอที่เสียชีวิตจากมะเร็ง

      เงินจำนวนมากเพื่อช่วยในการค้นหาเด็กที่หายไปในปอร์ตุเกส

      £ 20,000 to help create a centre in Edinburgh which will promote children’s literature.    เป็นต้น
       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 ต.ค. 07, 17:36

อ้างถึง
เมื่อคิดในมุมกลับ
คุณนายโรลริ่ง ได้หยิบฉวยลิขสิทธิ์ของคนอื่นมาบ้างหรือไม่
ปราสาทที่เธอจินตนาการ ย่อมมาจากปราสาทที่มีอยู่แล้ว
เรื่องพ่อมดแม่มดที่เธอสร้างขึ้น ก็เป็นลัทธิพิธีที่มีมาก่อนแล้ว
การขี่ไม้กวาด ก็มีผู้ทำมาก่อน
เหาะไปมา ชนนู๋นชนนี่ ก็มีผู้ทำมาก่อนแล้ว
การเดินทะลุมิติ ก็มีคนทำมาก่อน

สิ่งที่คุณพิพัฒน์ยกมา ไม่ถือเป็นลิขสิทธิ์ค่ะ  เป็นจินตนาการซึ่งปรากฏมานานแล้ว โดยไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งผูกขาดได้ว่าเขาคิดขึ้นแต่ผู้เดียว
ปราสาทมีอยู่มากมายก็จริง  แต่ปราสาทแบบฮอกวาร์ดส์ มีหนึ่งเดียว ไม่ซ้ำกับปราสาทในหนังสือเล่มไหน   ถือว่าเป็นการสร้างสรรค์ของคุณโรลิ่งเธอ  คนอื่นละเมิดเอาไปทำขายไม่ได้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 ต.ค. 07, 19:14

นั่นว่าไปตามตัวบทกฏหมายครับ
แต่คนแต่ง ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่า เมื่อความคิดเรื่องพ่อมดน้อยแวบมาสู่ห้วงนึก
เธอได้มันมาจากที่ใด

ในแง่ของกฏหมาย เธอย่อมมีสิทธิ์ฟ้องดะ ไปทั่วทั้งโลก ด้วยเงินที่มากกว่าการบริจาค
และก้อต้องสมน้ำหน้า ที่มีศาลยุติธรรม อันกล้าตัดสินออกมาอย่างนั้น
ถ้าการสร้างปราสาทจำลองออกมา เป็นเรื่องละเมิด
การเล่าเรื่องของเธอก็ละเมิดด้วยสิครับ

ที่พูดนี่ ไม่ได้เปิดกฏหมายเพื่อจะเอาชนะคะคานกันนะครับ
แต่พูดเพื่อตั้งคำถามถึงสำนึกของคนปกติ ที่ว่า ตอนไม่ดัง ใครเอาหนังสือไปพูดถึง
ก้อชอบ

พอดังแล้ว
ใครพูดถึง ก็หาว่ามาฉวยผลประโยชน์
คราวก่อนเธอก็ฟ้องหนังสือรัสเซีย เรื่องแม่มดขี่เชลโล่

อีกหน่อยก็คงฟ้องเงาของเธอเอง
ข้อหาเลียนแบบเธอ...โอ่ง โฮ่ง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 ต.ค. 07, 20:43

ในฐานะที่อ่านขนดกปั้นหม้อมาหลายเล่มแล้ว
ขออนุญาตออกมาสนับสนุนคุณพิพัฒ์นิดนึงครับ


คิดว่าหลายๆท่านในเรือนไทย ก็ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว
อยากเรียนถามท่านที่ได้อ่านแล้วว่าไม่ทราบว่าแต่ละท่านรู้สึกเหมือนผมอย่างหนึ่งไหมครับ
คือ.... จากการอ่านนวนิยายชุดนี้มาแล้วกี่เล่มต่อกี่เล่ม ผมรู้สึกว่าคุณเจเอฟเค.... เอ๊ย เจเค
เธอหยิบยกทั้งชื่อ และบุคลิกของตัวละครจากวรรณกรรมเรื่องอื่นไปใช้อย่างดื้อๆอยู่หลายครั้ง

ใช้อย่างเห็นภาพเสียจนเผลอนึกถึงเรื่องอื่นเสียด้วย เช่น ชื่อ มักซีม, ลูปิน หรือบทของ นาร์ซิสซาร์ มัลฟอย เป็นต้น
หรือเธอจะมาอ้างว่า ลิขสิทธิ์พวกนั้นมันหมดอายุไปหลายสิบปีแล้ว ยืมใช้ไปยังไงก็ไม่ได้ผิดกฏหมาย มันก็อาจจะได้ ตกใจ





แต่คุณ JK เองก็น่าจะจำได้นี่นา ว่าเธอให้สัมภาษณ์ว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจเรื่องงูชื่อ Nakini ที่ให้นมได้มาจากที่ไหน
ไปทวงเขาเองแล้วซะนี่...... ไม่เกรงใจเลยหรือ ลังเล


ปล. คิดว่าคุณ JK คงไม่ออกมาบอกอีกว่าชื่อ Lupin ของเธอมาจากชื่อดอกไม้สีม่วงอมฟ้าของทวีปอเมริกานะครับ  รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 01:10

ผมไม่ค่อยเข้าใจเป้าหมายของระบบลิขสิทธิ์สักเท่าไร
สมมติว่าในชั่วโมงวรรณคดีร่วมสมัย ผู้สอนคัดบทหนึ่งของนิยายมาถ่ายเอกสารแจกนักเรียน
บางทีก็ถ่ายมันทั้งเรื่องเลย ถ้าเป็นเรื่องสั้น เพื่อให้เด็กมาถกกันในชั่วโมง อย่างนี้ กฏหมายว่าละเมิดแต่ไม่ผิด

แต่ถ้าหนังสือพิมพ์รายวันเอาเรื่องย่อนิยายมาลง อย่างนี้ผิด ทั้งๆ ที่ต่างก็ส่งเสริมชื่อเสียงของนักเขียนเหมือนกัน
จะบอกว่าฝ่ายหนึ่งเป็นการค้า อีกฝ่ายหนึ่งเป็นการศึกษา ผมก็เห็นว่า โรงเรียนก็เก็บเงินค่าสอน
เหมือนหนังสือพิมพ์เก็บเงินคนอ่าน

ยังมีอีกว่า บางครั้งนักเขียน ส่งบางตอนไปพิมพ์เผยแพร่ อย่างนี้ไม่ละเมิด แต่ฉบับอื่นเอาไปแพร่ต่อ กลายเป็นละเมิด
ผมเข้าใจดีว่า ถ้านักเขียนอนุมัติ ก็ไม่ถือว่าผิด
แต่ผมไม่เข้าใจว่า การกระทำอย่างเดียวกัน ทำไมเจ้าหนึ่งผิด อีกเจ้าหนึ่งไม่ผิด
เพียงเพราะการอนุมัติของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นละหรือ

ผมค่อนข้างซื่อบื่อ เข้าใจเรื่องการละเมิดเพียงว่า ถ้าคุณกอ. เอางานของคุณขอ ไปทำซ้ำแล้วเก็บผลประโยชน์เข้าตัว อย่างนี้ผิดแน่ๆ
จะทำซ้ำโดยใช้ชื่อคุณขอ หรือแกล้งบอกว่าเป็นงานของคุณกอ ต่างก็ผิดทั้งนั้น
แต่ถ้า คุณกอ เอาไปเผยแพร่ด้วยเจตนาชื่นชมยินดี มันจะผิดไปได้อย่างไร แล้วยิ่งไม่ได้ทำซ้ำทั้งหมดอีกด้วย บางทีก็ย่อความ บางทีก็ตัดตอน
การกระทำล้วนแต่ส่งเสริมงานให้คุณขอทั้งนั้น เป็นผม ผมปลื้มตายเลย

ยังมีอีกประเด็น...ใหนๆ ก็ยกตัวอย่างนักเขียนแล้ว
ร้านให้เช่าหนังสือก็ควรจะละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ถูกใหมครับ ร้านเช่าดีวีดียังต้องเข้าระบบลิขสิทธิ์เลย
พวกที่ขายหนังสือมือสอง และดีวีดีมือสอง ก็ผิดกฏหมายด้วยดิ
แม้แต่ให้กันเป็นของขวัญก็ผิดกฏหมายด้วย เพราะเป็นการจ่ายแจก

....เอ มันยุ่งอยู่นา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 13:30

มหาเศรษฐีอย่างคุณโรลิ่ง ย่อมมีบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมายไว้คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของเธอ    เธอคงไม่มีเวลาไปสอดส่องทั่วโลกหรอกค่ะว่าใครเอาอะไรเกี่ยวกับแฮรี่ พ็อตเตอร์ไปใช้บ้าง   ก็บริษัทกฎหมายนี่แหละดูแลให้
คงมีการปรึกษากันแล้วว่าต้องฟ้อง จะชนะหรือไม่ชนะก็ไม่เป็นไร  แต่เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นเอาอย่าง  ศาลเขาก็พิพากษาว่ายกฟ้องเฉพาะกรณีนี้     แสดงว่าคำพิพากษาไม่ครอบคลุมไปถึงคนอื่นในกรณีอื่นที่จะเลียนแบบบ้าง

กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผลผลิตของคนกลุ่มหนึ่ง เช่นพวกศิลปิน  นักเขียน  นักแต่งเพลงฯลฯ  ว่าสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมานอกจากมี"คุณค่า"ทางใจ แล้วยังมี"ราคา"ทางโลกด้วย   
อย่างภาพวาด ก็ไม่ได้มีราคาเฉพาะกระดาษ ผ้าใบ  พู่กัน สีน้ำหรือสีน้ำมัน  กรอบรูป   แต่ตัวภาพนั่นแหละคือราคาตัวจริง  ประเมินราคาได้   แลกเปลี่ยน ค้ำประกัน ซื้อขาย ได้อย่างทรัพย์สินอื่นๆ
กฎหมายจึงคุ้มครองเพื่อไม่ให้คนพวกนี้ถูกฉกฉวยเอาเปรียบจากคนอื่นๆ   และยังเป็นการยอมรับ" ค่า" และ"ราคา" ของผลผลิตจากสมองและจินตนาการด้วย

ถ้าหากว่าใครก็ตามที่เป็นเจ้าของผลผลิตเหล่านี้ ไม่สนใจและไม่เห็นด้วย  กฎหมายก็ไม่ว่าอะไร  ไม่เอากฎหมายก็อย่าเอา กฎหมายไม่ตามไปบังคับให้เอา
แต่ถ้าเขารู้สึกว่ามันมีค่าและราคาตามความเหนื่อยยากของเขาที่สร้างขึ้นมา  กฎหมายลิขสิทธิ์ก็มีขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิ์อันพึงมีพึงได้สำหรับเขา
และที่สำคัญคือ ปกป้องเขาจากการ"เสียประโยชน์อันพึงได้" ด้วยค่ะ

คำถามของคุณพิพัฒน์  มีอาณาเขตกว้างมาก   กระจายไปหลายจุด
จะค่อยๆตอบไปทีละเรื่อง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 13:39

อ้างถึง
สมมติว่าในชั่วโมงวรรณคดีร่วมสมัย ผู้สอนคัดบทหนึ่งของนิยายมาถ่ายเอกสารแจกนักเรียน
บางทีก็ถ่ายมันทั้งเรื่องเลย ถ้าเป็นเรื่องสั้น เพื่อให้เด็กมาถกกันในชั่วโมง อย่างนี้ กฏหมายว่าละเมิดแต่ไม่ผิด

กฎหมายไม่ได้บอกว่าละเมิดแต่ไม่ผิดค่ะ  ข้อนี้กฎหมายถือเป็นกรณียกเว้น ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด
จุดมุ่งหมายในการสอน คือเพื่อให้ความรู้   ถ้าวิชานั้นใช้แฮรี่พ็อตเตอร์เป็นการสอนหนังสือเพื่อให้เข้าใจวรรณกรรม    ผู้สอนถ่ายเอกสารมาสอนนักเรียน  เพื่อให้ความรู้  ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์เอาเอกสารมาขายเด็ก ตัดหน้าสำนักพิมพ์ที่ขายเป็นเล่ม   กฎหมายยกให้
ข้อนี้เป็นความจำเป็นที่กฎหมายลิขสิทธิ์เปิดทางให้การเรียนการสอน   มิฉะนั้นจะกลายเป็นช่องโหว่ให้เอากฎหมายลิขสิทธิ์มาเป็นเครื่องมือบีบบังคับโรงเรียน 
ผลคือทางร.ร.ไม่อาจหยิบยกเอาเรื่องอะไรมาสอนได้เลย  ถ้าไม่ซื้อหนังสือมาโดยตรงจากทางร้าน 
ทีนี้ถ้าหนังสือขาดตลาด หรือพิมพ์หมดไปแล้ว  หรือราคาแพงเกินกระเป๋าเด็กนักเรียน   วิชาการทั้งหลายก็สะดุดหยุดหมดน่ะสิคะ
ประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของนักเรียน สำคัญกว่า ในกรณีนี้ กฎหมายยกให้   
แม้ว่าร.ร.ได้เก็บค่าเล่าเรียนจากเด็ก ก็เป็นค่าบำรุงสถานที่ ค่าจ้างครู ค่าอาหาร ค่าเล่าเรียน  เอามาอ้างเป็นผลประโยชน์ที่นักเขียนเสียไป ไม่ได้ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 21:14

ตอบคุณติบอบ้าง

อ้างถึง
อยากเรียนถามท่านที่ได้อ่านแล้วว่าไม่ทราบว่าแต่ละท่านรู้สึกเหมือนผมอย่างหนึ่งไหมครับ
คือ.... จากการอ่านนวนิยายชุดนี้มาแล้วกี่เล่มต่อกี่เล่ม ผมรู้สึกว่าคุณเจเอฟเค.... เอ๊ย เจเค
เธอหยิบยกทั้งชื่อ และบุคลิกของตัวละครจากวรรณกรรมเรื่องอื่นไปใช้อย่างดื้อๆอยู่หลายครั้ง

ใช้อย่างเห็นภาพเสียจนเผลอนึกถึงเรื่องอื่นเสียด้วย เช่น ชื่อ มักซีม, ลูปิน หรือบทของ นาร์ซิสซาร์ มัลฟอย เป็นต้น
หรือเธอจะมาอ้างว่า ลิขสิทธิ์พวกนั้นมันหมดอายุไปหลายสิบปีแล้ว ยืมใช้ไปยังไงก็ไม่ได้ผิดกฏหมาย มันก็อาจจะได้

แต่คุณ JK เองก็น่าจะจำได้นี่นา ว่าเธอให้สัมภาษณ์ว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจเรื่องงูชื่อ Nakini ที่ให้นมได้มาจากที่ไหน
ไปทวงเขาเองแล้วซะนี่...... ไม่เกรงใจเลยหรือ

ตอบได้ ๒ ข้อ
๑) ถ้างานเดิมหมดลิขสิทธิ์ไปแล้ว เพราะเจ้าของถึงแก่กรรมไปนานเกิน ๕๐ ปี  คุณจะหยิบเอาตัวละครมาใช้ได้ ไม่ถือเป็นการละเมิด   อย่าว่าแต่ตัวละคร แม้แต่เอาเรื่องทั้งเรื่องมาเขียนใหม่ พิมพ์ใหม่  แปล หรือดัดแปลง ก็ทำได้ 
เพราะงานสร้างสรรค์เหล่านี้ตกเป็นของสาธารณะไปแล้ว  ในอินเทอร์เนตมีเยอะแยะเลยค่ะที่งานเหล่านี้มาพิมพ์ฟรีให้อ่าน

คุณติบอจะแต่ง"พระอภัยมณี" ต่อก็ได้  อย่าว่าแต่ "พระอภัยมณี"  แม้แต่นวนิยายอะไรก็ตามที่ผู้แต่งตายไปนานกว่า ๕๐ ปี คุณจะเอามาแต่งต่อหรือยืมตัวละครมาก็ทำได้ จะเอามาแปลหรือดัดแปลงเป็นเรื่องไทยๆก็ทำได้
กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ถือว่าผิด
๒) ส่วนเรื่องงู ไม่เข้าใจว่าหมายถึงเรื่องอะไรเพราะไม่ได้อ่านคำให้สัมภาษณ์   ถ้ามันมาจากเรื่องจริง  เธอเอามาแต่งเป็นเหตุการณ์ในนิยาย  ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 
แต่ถ้าใครคนหนึ่งแต่งนิยายเรื่องงูชื่อ Nakini ที่ให้นม เอาไว้ อย่างชัดเจน เป็นสิ่งที่เขาคิดขึ้นมา และตัวเขาก็ยังไม่ตาย หรือตายไม่ถึง ๕๐ ปี  คุณโรลิ่งไปก๊อปเอามาเขียนลงในนิยายเธอ
เจ้าของเรื่องเดิมเขาฟ้องเรียกค่าเสียหายว่าละเมิดลิขสิทธิ์ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 21:33

อ้างถึง
ผมค่อนข้างซื่อบื่อ เข้าใจเรื่องการละเมิดเพียงว่า ถ้าคุณกอ. เอางานของคุณขอ ไปทำซ้ำแล้วเก็บผลประโยชน์เข้าตัว อย่างนี้ผิดแน่ๆ
จะทำซ้ำโดยใช้ชื่อคุณขอ หรือแกล้งบอกว่าเป็นงานของคุณกอ ต่างก็ผิดทั้งนั้น
แต่ถ้า คุณกอ เอาไปเผยแพร่ด้วยเจตนาชื่นชมยินดี มันจะผิดไปได้อย่างไร แล้วยิ่งไม่ได้ทำซ้ำทั้งหมดอีกด้วย บางทีก็ย่อความ บางทีก็ตัดตอน
การกระทำล้วนแต่ส่งเสริมงานให้คุณขอทั้งนั้น เป็นผม ผมปลื้มตายเลย

กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้เล่นงานดะไปหมดว่าใครจะเอางานไปพิมพ์ซ้ำแม้แต่ประโยคเดียวก็ต้องโดนข้อหาละเมิด
เขามีข้อกำหนดเอาไว้ว่า เอาไปพิมพ์ซ้ำเพื่ออะไร เช่นถ้าเป็นการ Quote ข้อความในการรีวิว หรือวิจารณ์  ยังงี้สมเหตุสมผล  ไม่เป็นการละเมิด
การตัดตอนสั้นๆมาประกอบคำอธิบาย ก็อยู่ในข่ายเดียวกัน
ในหนังสือโดยมาก จะมีการประกาศข้อนี้เอาไว้ในหน้าต้นๆก่อนบทที่ ๑  ลองเปิดดูนะคะ

แต่...
ถ้าการกระทำนั้นทำให้ผู้เขียนเสียสิทธิ์อันพึงมีพึงได้  โดยไม่ได้ยินยอมแต่แรก  เรียกว่าละเมิด
เช่นอะไร
เช่น คุณพิพัฒน์ เขียนนิยายขนาดสั้นขึ้นมา ๑ เรื่องยาว๓๐ หน้ากระดาษ A๔   ไม่ได้มีเจตนาแจกฟรี  แต่เจตนาพิมพ์ขาย ก็พิมพ์ออกมา
คอลัมนิสต์ชื่อคุณ ก.ไก่ มาอ่านเจอ  เกิดชื่นชอบ เอาไปลงทั้งเรื่องเลย ในหนังสือพิมพ์ ข. ไข่ ให้ผู้อ่านทั่วประเทศได้อ่าน
แล้วบอกว่าชื่นชมเรื่องนี้มาก อยากให้อ่านทั่วกัน  เป็นการแนะนำเรื่องดีๆ

ยังงี้ละเมิดไหม ละเมิดค่ะ
เพราะทำให้คุณพิพัฒน์เสียสิทธิ์อันพึงได้จากการจำหน่ายนิยายของคุณ    ก็ในเมื่อคนอ่านจำนวนมากเขาอ่านจากหนังสือพิมพ์ได้ครบหมดทั้งเรื่องแล้ว เขาจะมาซื้อของคุณอีกทำไม
มีคนอ่านหนังสือพิมพ์ ๕๐๐ คน  คุณก็หมดสิทธิ์ได้คนอ่านมาควักกระเป๋าซื้อไปแล้ว ๕๐๐ คน  รวม  ๕๐๐ เล่ม

สิทธิ์อันพึงได้นี้แหละ ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ปกป้องให้คุณ    คุณก.ไก่แกจะอ้างว่าเอาไปลงเพื่อแนะนำหรือชื่นชมอะไรก็ตาม   เขาก็ทำให้คุณเสียสิทธิ์อันพึงมีพึงได้  คุณฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายได้
แต่ถ้าคุณพพ.ใจดีไม่เอาเรื่อง  กฎหมายก็ไม่ตามมาบีบบังคับให้เอาเรื่อง

ทีนี้ ทางออกจะทำยังไง   ก็หมายความว่าคุณก.ไก่ จะเอาอะไรไปลงตีพิมพ์   ต้องระวังว่าจะทำให้เจ้าของงานชิ้นนั้นเขาเสียหายหรือไม่   เขายอมหรือเปล่า
ถ้าไม่แน่ใจ  ก็มาขอกันดีๆกับเจ้าของเรื่อง  เจ้าของเขาเห็นด้วยว่าทำแบบนี้เท่ากับปชส.หนังสือเขา เขาก็จะยินยอม 
ก็ถือว่าตกลงกันแล้ว  ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 21:36

อาจารย์ตอบแบบทนายความ หรือผู้พิพากษาเลยครับ
ไม่มีตรงใหนที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย

แต่ข้อสงสัยของผม ไม่ได้อยู่ในประเด็นว่าถูกกฏหมายหรือเปล่า
อยู่ที่เจตจำนงในการเข้าสู่ระบบลิขสิทธิ์ และการใช้มันในการปกป้องสิทธิ์ของตน
มันเม๊คเซนท์หรือไม่

อย่างกฏหมายระบุการสิ้นสุดอายุความของคดีอาญาไว้ ที่....ตีเสียว่า 20 ปี
ก็มีคนเห็นว่า กรณีอย่างนี้ ไม่ควรมีอายุความ

หรือที่กฏหมายลิขสิทธิ์ ระบุอายุคุ้มครองไว้ 50 ปี ก้อมีความพยายามจะขยายเป็น 100 ปี
ผมสงกะสัยเพียงว่า คนที่หากินกะเชคสเปียร์ หรือสุนทรภู่อยู่ในปัจจุบันนี้น่ะ
มันปลอดลิขสิทธิ์ตามกฏหมายแล้ว แต่ลิขสิทธิ์ในสำนึกรับรู้น่ะ ยังไงก็ไม่มีอายุ
แล้วได้ทำอะไรเป็นค่าลิขสิทธิ์หรือไม่

ถ้าคุณเจเค เคยลอกเรื่องจากนิยายฮินดูมา เธอก็เป็นหนี้ลิขสิทธิ์(อย่างน้อยก็ในใจเธอ) คนอื่น
เรื่องพ่อมดของเธอ ตรวจดูแล้ว ก็ลอกมาขยำใหม่เสียครึ่งๆ
อาจารย์สุชีพ ทำงานมหึมาเกี่ยวกับพระไตรปิฎกไว้ ท่านก็ยกให้องค์กรที่จะทำประโยชน์ต่อเนื่องได้

ผมไม่ได้ค้านเรื่องความรวยจากการทำงานของคุณเจเค
ผมเพียงแต่สงสัยว่า คนเรา เอาของคนอื่นมาใช้ ทำได้
คนอื่นเอาของคนอื่นมาใช้บ้าง บังเอิญเป็นผลงานของตัว ทนไม่ได้

การที่ที่ปรึกษาทางกฏหมาย ฟ้องเรียกเงินนั่น ถ้าได้เงินมา ก็เข้ากระเป๋าเธอ
ค่าจ้างฝูงทนายก็จากกระเป๋าเธอ เธอจะใช้คำอ้างอย่างที่อาจารย์ช่วยแก้ตัวให้ มันไม่พ้นตัวอยู่ดี

ไอ้ที่ตาหลกขำกลิ้งก้อคือ เธอฟ้องเอาเงินนะครับ ไม่ใช่ฟ้องให้หยุด
คนที่ถูกฟ้องเป็นเด็กวัยรุ่นในชมรมคนรักแฮรี่เสียด้วย

ผมจึงอดนึกไม่ได้ว่า "งกไปปล่าว เจ๊....."
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 20 ต.ค. 07, 21:44

การกระทำของเด็กพวกนี้ ก็เหมือนพวกแฟนคลับต่างๆ ทั่วโลก ทำกับสิ่งที่ตนรัก
ซึ่งแม้ผมจะไม่ค่อยเห็นด้วยนัก แต่ผมก็เห็นว่าน่าสนับสนุน
เรารักใคร แล้วพยายามหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น ย่อมน่าสนับสนุน

เช่น เด็กบางคนแต่งชุดพ่อมดน้อยออกมาเดินถนน

ก้อไอ้ชุดงี่เง่านั่นก็น่าพิศวงมาก คือถ้าซื้อจากผู้ทรงสิทธิ์ เป็นใส่ได้
ถ้าตัดเย็บเอง หรือคนอื่นตัดเย็บ เป็นผิด มันก็เป็นการตีความกฏหมายแบบตรงไปตรงมา
แต่มองลึกลงไป การที่จับเด็กมาแต่งพ่อมด อย่างที่เธอทำในนิยายนี่ มันไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของเธอแน่ๆ
จะตะแบงว่า ชุดของแฮรี่ มีชายห้อยเป็นลักษณะจำเพาะ ใช้สีใช้ผ้า ไม่เหมือนใคร
ก็ลบข้อเท็จจริงไม่ได้ว่า

การสร้างเด็กให้เป็นพ่อมดน้อยนั้น ไม่ใช่ไอเดียเธอ เป็นไอเดียที่เขาทำกันมาไม่รู้กี่ร้อยล้านครั้งแล้วในวันฮาโลวีน
อย่างนี้ เธอไม่ผิดกฏหมายแฮะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง