เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 21281 พิเคราะห์นิราศพระประธม
ธิดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 17 พ.ย. 07, 16:53

ถ้าจะยก  "สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรวาล" น่าจะยกมาเต็มประโยค

สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรวาล     พระทรงสารศรีเศวตเกศกุญชร

ถ้าเข้าใจไม่ผิด พระราชาที่ได้ชื่อว่าเป็นพระเจ้าช้างเผือก (หรืออะไรคะ เรียกไม่ถูก คือมีช้างเผือกในรัชกาลมากที่สุด)
ก็คือ รัชกาลที่ ๒ ไม่ใช่หรือคะ หรือว่าจำผิด

ประโยคข้างต้นนี้จึงน่าจะเป็นการที่สุนทรภู่ภูมิใจมากว่าเป็นอาลักษณ์ในพระองค์ของรัชกาลที่ ๒ นะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 28 พ.ย. 07, 12:40

ในรัชกาลที่ ๒ มีช้างเผือก ๓ ช้าง    ดิฉันเห็นด้วยว่า พระทรงสารฯ ที่ว่านี้น่าจะเป็นรัชกาลที่ ๒  แต่คุณพิพัฒน์ไม่เห็นด้วย
เพราะคุณพิพัฒน์เห็นว่าหลักฐานอื่นๆหลายอย่าง ยังไม่ลงตัวกัน
เราไม่น่าจะให้กระทู้จบแค่นี้ ยังมีเรื่องต่อได้อีกมาก
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 01:18

แล้วลาออกนอกโบสถ์ขึ้นโขดหิน            ตรวจวารินรดทำคำอักษร
ส่งส่วนบุญสุนทราสถาพร                     ถึงบิดรมารดาคุณอาจารย์
ถวายองค์มงกุฎอยุธเยศ                       ทรงเศวตคชงามทั้งสามสาร
เสด็จถึงซึ่งบุรีนีรพาน                           เคยโปรดปรานเปรียบเปี่ยมได้เทียมคน

อิอิ  ท่านพิพัฒน์อีกแย้ว  ตอนนี้คงหมายเอาตอนออกมาตรวจน้ำนอกอุโบสถ  อุทิศส่วนกุศลถึงพ่อแม่ครูบาอาจารย์  แต่ตอนสำคัญนี่สิ  "ถวายองค์มงกุฎอยุธเยศ  ทรงเศวตคชงามทั้งสามสาร"  พ่อเจ้าอยู่หัวที่ทรงช้างเผือกสามช้างคงเห็นจะมีแต่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล่ะครับ  และพระมหากษัตริย์พระองค์ด้วยสิ  ที่ "เคยโปรดปรานเปรียบเปี่ยมได้เทียมคน"  เรียกว่าเคยผูกพันมีพระมหากรุณาธิคุณต่อท่านมหากวีอ่ะครับ........ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 12:38

"ทรงเศวตคชงามทั้งสามสาร"
จะแปลว่าช้างเผือกสามเชือก็ได้ครับ ไม่ผิด
แต่....แปลเป็นอย่างอื่นก็ได้

ในกลอน กล่าวถึง
เศวตคชงาม
ทั้ง
สามสาร

ภาษารุ่นนั้น คำว่าทั้ง แปลว่า "and"
มิใช่แปลว่า "was"

ผมจึงอ่านว่า พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงมีช้างเผือก "และ" ช้างทั้งสาม
สามสาร หมายถึงครบถ้วนสามจำพวกตามตำรา
ตำราช้างกำหนดไว้อย่างนั้นครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 13:02

คำว่า"ทั้ง" ในต้นรัตนโกสินทร์  แปลได้มากกว่า ๑ อย่าง ค่ะ
แปลว่า and อย่างคุณพิพัฒน์พูดก็ได้
ถ้าบอกว่า กรุงกุเรปัน ทั้งกรุงดาหา  แปลว่า กรุงกุเรปัน and กรุงดาหา

แต่ ในที่อื่น เขาก็ใช้กันแบบอื่น

โอ้สุธาหนาแน่นเป็นแผ่นพื้น          ถึงแปดหมื่นสี่แสน ทั้ง แดนไตร
เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้       ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย
ล้วนหนามเหน็บเจ็บแสบคับแคบใจ เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกาฯ
(นิราศภูเขาทอง)

"ทั้ง" ในที่นี้แปลว่า "รวมหมด" หรือ totally

"ทรงเศวตคชงามทั้งสามสาร" ดิฉันจึงแปลตรงๆว่า ทรงมีช้างเผือกงาม รวมแล้ว ๓ ช้าง   ซึ่งหมายถึงรัชกาลที่ ๓
สุนทรภู่ดูจะภูมิใจในพระมหากษัตริย์ที่ทรงบุญญาบารมี  ในเรื่องมีช้างเผือกถึง ๓    ถือว่าจำนวนมาก  ในรำพันพิลาปก็พูดย้ำความหมายนี้ว่า
สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรพาฬ         พระทรงสารศรีเศวตเกศกุญชร
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 19:05

"ถึงแปดหมื่นสี่แสน ทั้ง แดนไตร"
แปดหมื่นสี่แสนนั้น คือโลกๆ หนึ่ง แดนไตร ก็เป็นอีกโลกหนึ่งครับ

จึงต้องอ่านว่า
ฉันนั้นไม่มีที่อาศัยเลย ไม่ว่าจะเป็นโลกนี้ หรือโลกทั้งสาม

เย้.....ๆๆๆๆๆๆ ได้เถียงคุณครูอีกเลี้ยว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 19:30

แดนไตร  = สามโลก   คือสวรรค์ มนุษย์ และบาดาล   
ถ้าแปลแบบคุณพิพัฒน์ จะกลายเป็น ๔ โลก คือ โลก + สามโลก

สวรรค์ตามแบบคนไทย ที่อิงความเชื่อในไตรภูมิพระร่วง ไม่ได้ลอยอยู่เหนือก้อนเมฆ  แต่เป็นส่วนบนของโลกมนุษย์นี้เอง   นับแต่จตุมหาราชิกาขึ้นไปถึงนิมมานนรดี 
จตุมหาราชิกาสูงครึ่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุที่เป็นหลักของโลก  ดาวดึงส์ชั้นที่สอง สูงเท่ายอดเขาพอดี   ชั้นสามคือยามา ก็สูงขึ้นไปอีกเป็นเท่าครึ่งของเขาพระสุเมรุ ไล่กันขึ้นไปตามนี้เป็นลำดับ
ส่วนบาดาล เป็นอีกส่วนของโลกเหมือนกัน   อยู่ลึกลงไปใต้ดิน
รวมเนื้อที่ทั้งหมดสามชั้น    ได้สี่แสนแปดหมื่น   ไม่ทราบว่านับหน่วยว่าอะไร  แต่ตัวเลขนี้หมายถึงว่าเป็นเนื้อที่กว้างมหาศาล   
กว้างขนาดนี้แล้ว กวียัง "ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย"  ท่านไม่ได้หมายถึงโลกนี้บวกโลกอื่น แต่บอกว่าบนโลกที่มีตั้งสามแดนนี่แหละ หาที่อยู่ไม่ได้เลย  แสดงว่าไร้ที่อยู่จริงๆละค่ะ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 23:27

คงเป็นเพียงโวหารล่ะครับ  บรรยายเปรียบเทียบแสดงให้เห็นถึงความคับแค้นใจยามไร้วาสนา  ส่วนในคัมภีร์ที่กล่าวถึงจักรวาลว่า ชมภูทวีปหนา 240000 โยชน์  มนุษย์โลกเราปัจจุบันคงไม่ยอมรับกันล่ะครับ  เพราะมันหนากว่าเส้นผ่าศูนย์กลางโลกซะอีก  แต่คนโบราณเค้าเชื่ออย่างนั้น

แต่ท่อนนี้สิครับ  ช่วยวิเคราะห์หน่อยท่านพิพัฒน์

ถ้าขัดเคืองเบื้องหน้าขออานิสงส์        สิ่งนี้จงจานเจือช่วยเกื้อหนุน
ทั้งแก้วเนตรเชษฐาให้การุญ              อย่าเคืองขุ่นข้องขัดถึงตัดรอนฯ

ทั้งแก้วเนตรเชษฐาให้การุญ  ทั้งแก้วเนตร หมายถึง  แก้วตา หรือเปล่าครับ  ผมแปลว่า แก้วตาของพี่   แก้วเนตรเชษฐา  แก้วตาของพี่ภู่  อิอิ.........ใช่ได้ไหมท่าน ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 03 ธ.ค. 07, 01:37

นิราศบทนี้ มีสาวในใจอยู่นางหนึ่ง
คือแม่ศรีสาครฉอ้อนเอว

ผมอ่านแล้วจับใจความได้ว่า สาวเจ้าเพิ่งจะผละจากไปอยู่กับแมสาหงส์
ท่านสุนทรอาจจะยังหวังอยู่เต็มเปี่ยม ว่าจะชิงคืนมาได้
การที่ท่านสำคัญตนถึงปานนั้น บ่งบอกว่าท่านก็สำคัญอยู่
เห็นจะมิใช่กวีเรือเร่ และในเมื่อท่านอวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นอาลักษณ์
ก็แปลว่า "น่าจะ" แต่งหลังรัชกาลที่ 2 ลงมา
ถ้าแต่งในรัชกาลที่สาม ท่านก็เป็นภิกษุอยู่ตั้ง 18 ปี ดังนั้น จึงต้องแต่งในปีที่ 19 ลงไป
คือนอกผ้าเหลือง

ก็ถ้าแต่งในปีที่ 19 ลงไป จะเลยไปอีกหน่อย เป็นปีที่ 25 อะไรอย่างนั้น
จะมิได้เชียวหรือ
และเมื่อร่นมาปลายรัชกาลที่ 3 ได้ ทำไมจะร่นมาปลายรัชกาลที่ 4 ไม่ได้เล่า

เนื้อหาที่ท่านพรรณาถึงพระประโธนนั้น
ผมกำลังทำการบ้านจากรายงานการบูรณะของท่านขำ และเสียดายที่ไม่มีนิราศของกรมหมื่นวงษาธิราช
ต้องขอไปเสาะหาก่อน จึงจะมาจบกระทู้นี้ได้....บ๋ายบายครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.102 วินาที กับ 19 คำสั่ง