ไม่ได้กลบเกลื่อนครับ แต่ขืนใช้เกณฑ์นี้อ่านวรรณคดีเก่ามีหวังต้องจบแบบท่านเปรี๊ยะแหละครับ คือทุกอย่างใหม่หมด ไม่มีของเก่าเลย เพราะดันใช้คำพ้องกับชื่อเฉพาะรุ่นหลัง

ผมได้ตัวอย่างอื่นที่ไม่ใช่งานของสุนทรภู่แน่ๆมาให้ดูตัวอย่างนึงครับ
ไช ยานุภาพล้ำ ฦๅไชย
ไชย ลาภลุหฤทัย ปิ่นเกล้า
ไชย ไชยเศิกกษัย เกษมราษ ฎรนา
ไชย ชำนะผ่านเผ้า ทั่วเที้ยรถวายไชย ฯ
โคลงบทนี้มาจากโคลงสรรเสริญพระเกียรติรัชกาลที่ ๑ ทราบแต่ว่าผู้แต่งคือพระชำนิโวหาร(ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร) และแต่งเมื่อไหร่ก็ยังระบุไม่ได้
น.ม.ส.ทรงวินิจฉัยว่าโคลงเรื่องนี้เล่าเหตุการณ์เหมือนกวีผู้แต่งอยู่ในเหตุการณ์(เป็นคนในยุค ร.๑) ในขณะที่ภาษาที่ใช้บางตอนกลับทรงรู้สึกว่าน่าจะใหม่กว่าสมัย ร.๑ แต่อธิบายไม่ถูก เจาะจงไม่ได้ว่าตรงไหน ยิ่งไปเทียบกับฉบับตัวเขียนแต่ละฉบับก็ความต่างกันมากจนจับได้เพียงเค้าเท่านั้น
ฉบับที่ผมมีอยู่พิมพ์โดยกรมศิลปากร ๒๕๔๖ นี้เอง ผมลองเทียบฉบับตัวเขียนสองฉบับที่ตีพิมพ์ไว้ท้ายเล่ม ปรากฏว่าความตรง "ปิ่นเกล้า" นี้ไม่มีในฉบับตัวเขียนทั้งสองฉบับ ในขณะที่ฉบับตัวพิมพ์นั้น ต้นฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ ๕ (แต่ก็อาจจะหยิบมาจากฉบับตัวเขียนอื่นที่มีความต่างไปก็ได้)
แต่ถ้าตีความตัวอย่างนี้ว่า ปิ่นเกล้าในที่นี้คือสมเด็จพระปิ่นเกล้า เย็นนี้ก็กลับบ้านไม่ถูกล่ะครับ มึนนนนนนนนน
หรือลองดูอันนี้อีกอัน จากนิราศพระปฐมของหลวงจักรปาณี(มหาฤกษ์) แต่งในรัชกาลที่ ๔
จึงเป็นไปในแผ่นดินปิ่นสยาม ทรงพระนามพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จนสมบทบวชสนองไม่หมองมัว พอครองตัวตามประสาวิชาคุณมีใช้คำว่าปิ่นสยามในลักษณะเดียวกับที่สุนทรภู่ใช้ปิ่นเกล้า และส่วนที่ระบุพระนามพระมหากษัตริย์ก็ว่ากันเต็มๆครับ