เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 21282 พิเคราะห์นิราศพระประธม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 11:32

อ้างถึง
ถึงวัดทองหมองเศร้าให้เหงาเงียบ       เย็นยะเยียบหย่อมหญ้าป่าช้าผี
สงสารฉิมนิ่มน้องสองนารี                     มาปลงที่เมรุทองทั้งสองคน
ขอบุญญาอานิสงส์จำนงสนอง       ช่วยส่งสองศรีสวัสดิ์ไปปัฏิสนธิ์
ศิวาลัยไตรภพจบสกล          ประจวบจนได้พบประสบกัน
ทั้งแก้วเนตรเกสรามณฑาทิพย์       จงลอยลิบลุล่วงถึงสรวงสวรรค์
จะเกิดไหนได้อยู่คู่ชีวัน          อย่ามีอันตรายเป็นเหมือนเช่นนี้ฯ


กลับไปอ่านใหม่อีกครั้ง  ในตอนนี้มีชื่อผู้หญิง ๓ คน ค่ะ  ตายหมดแล้ว
๑) ฉิม
๒) นิ่ม
สองคนนี้เป็นพี่น้องกัน  อาจเป็นน้องสาวของกวีด้วย  เอ่ยควบกันไปไม่แยกกัน
๓) เกษ หรือเกส  เคยเป็นภรรยาของกวี    ที่ตายไปอาจจะไม่ใช่เจ็บป่วยอย่างธรรมดา  เพราะบอกว่า ตายไปเพราะอันตราย  อาจจะเป็นอุบัติเหตุ หรืออะไรสักอย่าง
แม่เกษ คนนี้ เอ่ยถึงไว้อีกตอน
ถึงวัดเกดเจตนาแต่การะเกด                             ไม่สมเจตนาน่าน้ำตาไหล
เคยสบเนตรเกษน้อยกลอยฤทัย                        มาจำไกลกลืนกลั้นที่รัญจวน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 11:50

นิราศพระประธมยังไม่ได้ปักหมุดแผนที่ไว้ แต่เคยตรวจสอบเส้นทางคร่าวๆเทียบกับนิราศอื่นแล้วครับ

อันนี้แผนที่ชี้ว่าไม่น่าใหม่ถึง ๒๔๐๙ ครับ ฮี่ฮี่
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 12:27

อาจารย์คงตีความจากตรงนี้
ทั้งแก้วเนตรเกสรามณฑาทิพย์ จงลอยลิบลุล่วงถึงสรวงสวรรค์
ผมเห็นว่า ถ้าทั้งหมดเป็นชื่อคน ก็มีหลายคนอยู่
มีทั้ง แม่แก้ว แม่เนตร แม่เกสรา แม่มณฑา แม่ทิพย์

แต่ก็ยังไม่เจอตรงใหนที่บอกว่า ฉิมนิ่ม เป็นน้องสาวกวี แต่จุดที่ผมสงกะสัยคือในคนที่ตายนั้น
กวีเธออยากให้"เกิดไหนได้อยู่คู่ชีวัน อย่ามีอันตรายเป็นเหมือนเช่นนี้ฯ"
ผมอ่านได้ความว่าอยากได้ฉิมนิ่มคนใดคนหนึ่งมาเป็นคู่ชีวัน....มันออกจะพิลึกอยู่นา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 12:53

อ้างถึง
ถึงวัดทองหมองเศร้าให้เหงาเงียบ       เย็นยะเยียบหย่อมหญ้าป่าช้าผี
สงสารฉิมนิ่มน้องสองนารี                     มาปลงที่เมรุทองทั้งสองคน
ขอบุญญาอานิสงส์จำนงสนอง       ช่วยส่งสองศรีสวัสดิ์ไปปัฏิสนธิ์
ศิวาลัยไตรภพจบสกล          ประจวบจนได้พบประสบกัน
ทั้งแก้วเนตรเกสรามณฑาทิพย์       จงลอยลิบลุล่วงถึงสรวงสวรรค์
จะเกิดไหนได้อยู่คู่ชีวัน          อย่ามีอันตรายเป็นเหมือนเช่นนี้ฯ


เวลาอ่าน   ต้องแยกค่ะ

ถึงวัดทองหมองเศร้าให้เหงาเงียบ       เย็นยะเยียบหย่อมหญ้าป่าช้าผี
สงสารฉิมนิ่มน้องสองนารี                     มาปลงที่เมรุทองทั้งสองคน
ขอบุญญาอานิสงส์จำนงสนอง             ช่วยส่งสองศรีสวัสดิ์ไปปัฏิสนธิ์
ศิวาลัยไตรภพจบสกล                        ประจวบจนได้พบประสบกัน

นี่คือจบตอนแม่ฉิมแม่นิ่ม     กวีรำลึกตอนผ่านวัดทอง(ไม่ทราบว่าชื่อเต็มคืออะไร)  เพราะว่าผู้หญิงสองคนนี้ตายมาเผาที่นี่   
ก็ส่งจิตรำลึกขอให้ไปสู่สุคติ   ได้ขึ้นสวรรค์ จนกว่าจะได้พบกันอีกครั้ง
สังเกตว่าไม่มีการรำพันถึงความรักฉันชู้สาว   เพียงแต่แผ่ส่วนกุศลไปให้  ส่วนลงท้ายก็เป็นการกล่าวอย่างเรียบๆ  แค่ได้พบกัน    เหมือนสองคนนี้เป็นญาติพี่น้อง ไม่ใช่คนรัก 

ทั้งแก้วเนตรเกสรามณฑาทิพย์       จงลอยลิบลุล่วงถึงสรวงสวรรค์
จะเกิดไหนได้อยู่คู่ชีวัน          อย่ามีอันตรายเป็นเหมือนเช่นนี้ฯ

นี่คือความอีกตอนหนึ่ง  มีคำว่า "ทั้ง" เริ่มต้นไว้ เป็นการคั่นระหว่างบทก่อนกับบทนี้ให้รู้ว่าคนละคน
แก้วเนตร แปลว่าแม่แก้วตา(พี่)  มณฑาทิพย์ เป็นสร้อยคำประกอบชื่อเกสรา  บอกให้รู้ว่าเปรียบแม่คนนี้เป็นดอกไม้สวรรค์  น่าจะมีฐานะในสังคมดีกว่าหญิงชาวบ้านทั่วไป
ยิ่งอวยพรให้หล่อนเป็นดอกไม้สวรรค์ที่ลอย(กลับ)ขึ้นไปถึงสวรรค์ ก็ยิ่งเห็นว่ายกย่องคนนี้
จะเกิดไหนได้อยู่คู่ชีวัน    วรรคนี้แน่นอนว่าเป็นเมีย
ส่วนวรรคท้ายแสดงว่าแม่เกษ ตายเพราะอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง  ไม่ใช่เจ็บป่วยหรือแก่ตาย

ในพระอภัยมณี  สุนทรภู่ตั้งชื่อตัวละครหญิง เมียของศรีสุวรรณว่า นางแก้วเกษรา   ผู้หญิงคนนี้เป็นคนดีที่สุดในบรรดาเมียๆของพระเอกพระรอง
สวย อ่อนหวาน ไม่มีความหึงหวง จงรักภักดีต่อสามี เสมอต้นเสมอปลาย แต่ไม่ค่อยมีบทบาท  เป็นภาพที่เลือนๆเมื่อเทียบกับคนอื่น
เป็นได้ว่าเอาเค้าโครงการสร้างมาจากแม่เกษคนนี้แหละค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 14:18

ไม่ค่อยเข้าใจวิธีคิดเกี่ยวกับชื่อคนตามแนวนี้สักเท่าไร
อาจจะเพราะไม่ได้มีอาชีพเป็นนักสืบ ถ้าได้เป็น ข้าพเจ้าก้อตกงามแหง๋มๆ

ตรงที่ที่มีแต่ความกำกวม ท่านแยกแยะชื่อคนออกมาได้ราวกะไก่จิกเมล้ดทรายในกองฟาง
แต่ตรงที่ที่ชัดเจนแจ่มแจ๋วยิ่งกว่าเพชรโดนแสง ท่านตาฟางมองไม่เห็นเอาซะงั้น
ถ้า "แก้วเนตรเกสรามณฑาทิพย์" ถอดความได้ว่า เป็นสาวชื่อเกษ
"สิ้นแผ่นดินปิ่นเกล้ามาเปล่าอก น้ำตาตกตายน้อยลงร้อยหน โอ้พระคุณทูลกระหม่อมจอมสกล พระคุณล้นเลี้ยงเฉลิมให้เพิ่มพูน"
ท่านจะถอดความลับชื่อ "ปิ่นเกล้า" ให้กลายเป็นพระพุทธเลิศหล้าฯ ไปได้อย่างไรขอรับ

ทีนี้มาเทียบเกษสองหนกันดูที
เกษหนแรกนั้น ตายแล้วแน่ๆ ตายอย่างไม่ปกติด้วย และเป็นสาวที่กวียกย่องถึงให้ขึ้นสวรรค์
เกษที่สองนี่ ยังไม่ตายครับ "เคยสบเนตรเกษน้อยกลอยฤทัย มาจำไกลกลืนกลั้นที่รัญจวน"
แค่ห่างกันเท่านั้น ที่สำคัญ เกษแรกชื่อเกสรา แต่เกษที่สอง เธอชื่อการะเกด

ส่งท้าย....ถ้าเกสราเป็นยอดรักจริงๆ ทำไมไปเป็นรองประธานเสียได้
กลอนท่อนนั้น ถอดความได้ว่า เมื่อผ่านวัดทอง (คือวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อยที่มีจิตรกรรมเลื่องชื่อของครูทองอยู่กับคงแป๊ะ)
อันแสนเงียบเหงาเพราะเป็นป่าช้าผี ก็นึกถึงสองสาวฉิมนิ่ม ที่ได้มาปลงศพยังเมรุทองวัดนี้
คำว่าเมรุทอง กวีท่านเล่นความนิดหน่อย เมรุนั้นเป็นเมรุปูนแต่อยู่วัดทอง เป็นของหลวงสร้างครั้งรัชกาลที่ 3 สำหรับศพผู้ใหญ่
การที่ฉิมนิ่มได้ขึ้นเมรุที่นี่ แสดงว่าศักดิ์ฐานะแห่งเมรุหลวงนั้นคลายลงมาก จนคนธรรมดาก็ได้ใช้
(นี่เป็นหลักฐานเรื่องความใหม่ครับ...คุณเครซี่)

จากนั้นก็เป็นคำอาลัยชุดใหญ่ ...ขอบุญญาอานิสงส์ ส่งสองศรีไปปฏิสนธิ์บนศิวาลัยไตรภพจนกว่าจะได้พบกันอีก
แก้วตาดอกไม้สวรรค์ทั้งสอง(แก้วเนตรเกสรามณฑาทิพย์) จงลอยลิบลุล่วงถึงสรวงสวรรค์

แต่อาจารย์กลับไปยกสร้อยคำมาตั้งเป็นประธานเสียนั่น ครั้นมาถึงตอนที่ต้องเสนอแก้วเกสราเป็นตัวเอก
ทำมะไรความมันจ๋องยังงั้นละขอรับ

"ถึงวัดเกดเจตนาแต่การะเกด ไม่สมเจตนาน่าน้ำตาไหล เคยสบเนตรเกษน้อยกลอยฤทัย มาจำไกลกลืนกลั้นที่รัญจวน"
ความชี้ชัดว่าการะเกดเป็นประธาน แต่ส่วนขยายประธานนั้น ไม่โอ่อ่าระดับสรวงสวรรค์เลย
อีหนูอาจจะยังไม่ตายด้วยซ้ำ และอาจจะปิ๊งกันแค่ฟาดเนตรสักหนหนึ่ง แล้วก็เลิกรากันไป
เพราะกลอนต่อไป กวีไปสนใจดอกโศกซะแระ และต่อให้เอากลอนดอกโศกท่อนนี้มาเป็นเครื่องอลังการณ์แด่น้องการะเกด
มันก้อเป็นเพียงสำนวนความที่ปราศจากความหมายหนักแน่น ดีกว่าลมเพลมพัดนิดหน่อย

หาสมกับความโศกาจาบัลย์ที่ประดิษฐ์ประดอยชื่อเกดให้หรูระยับเป็น แก้วเนตรเกสรามณฑาทิพย์
แม้แต่สักเล็กน้อย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 14:47

ปุจฉา
อ้างถึง
"สิ้นแผ่นดินปิ่นเกล้ามาเปล่าอก น้ำตาตกตายน้อยลงร้อยหน โอ้พระคุณทูลกระหม่อมจอมสกล พระคุณล้นเลี้ยงเฉลิมให้เพิ่มพูน"
ท่านจะถอดความลับชื่อ "ปิ่นเกล้า" ให้กลายเป็นพระพุทธเลิศหล้าฯ ไปได้อย่างไรขอรับ

วิสัชนา
ถึงสามโคกโศกถวิลถิ่งปิ่นเกล้า               พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี            ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว

ถ้าแปลตามนัยยะของคุณพพ.  ปิ่นเกล้าในที่นี้ก็คือสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ    และพระพุทธเจ้าหลวง หมายถึงรัชกาลที่ ๕
แต่พระเจ้าแผ่นดินที่เปลี่ยนชื่อสามโคกเป็นปทุมธานี คือรัชกาลที่ ๒ นะคะ

ส่วนเรื่องแม่เกษ    กลอนบทหลังดิฉันตีความว่าจากไกลคือจากตาย  รำลึกความหลังที่เคยจีบกันเท่านั้นเอง
ชื่อเกษ เกด เกส สมัยที่ยังไม่มีทะเบียนบ้านให้จดชื่อ   เขานับเสียงเป็นเกณฑ์ ไม่ใช่ตัวสะกด ค่ะ  สะกดได้หลากหลาย
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 14:49

ในพระอภัยมณีก็มีใช้คำว่าพระปิ่นเกล้านาครับ

ใช้ตรรกะเดียวกัน มิกลายเป็นว่าพระปิ่นเกล้าไปอยู่ในนิยายหรือครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 17:42

ถ้าแปลตามนัยยะของคุณพพ.  ปิ่นเกล้าในที่นี้ก็คือสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ    และพระพุทธเจ้าหลวง หมายถึงรัชกาลที่ ๕
แต่พระเจ้าแผ่นดินที่เปลี่ยนชื่อสามโคกเป็นปทุมธานี คือรัชกาลที่ ๒ นะคะ

ผมเคยแปลความไว้แล้ว แต่อาจารย์คงไม่ฟัง จึงขอย้ำใหม่ว่า ถ้าแบ่งวรรคตอนผิด ความหมายก็ผิด

ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า (นี่คือบทตั้ง)

พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว (นี่คือข้อเท็จจริงที่ 1)

โอ้พระคุณสูญลับไม่กลับหลัง แต่ชื่อตั้งก็ยังอยู่เขารู้ทั่ว (นี่คือคำขยายข้อเท็จจริงที่ 1)
โอ้เรานี้ที่สุนทรประทานตัว ไม่รอดชั่วเช่นสามโคกยิ่งโศกใจ (นี่คือข้อเท็จจริงที่ 2)
สิ้นแผ่นดินสิ้นนามตามเสด็จ ต้องเที่ยวเตร็ดเตร่หาที่อาศัย (นี่คือคำขยายข้อเท็จจริงที่ 2)

อ่านแบบผมก็ได้ความว่า มาถึงสามโคก ก็คิดถึงพระปิ่นเกล้า ผู้มีพระคุณล้นเหลือ
ความคิดถึงตรงนี้ เกิดเพราะผลแห่งการเปรียบเทียบนามพระราชทาน 2 ชื่อ
เมืองปทุมได้รับพระราชทานนามจากพระพุทธเจ้าหลวง แม้พระองค์สิ้นแล้ว นามก็ยังไม่สูญ
ไอ้เรานี่สิ นามพระราชทานเหมือนกัน ทำไมไม่เห็นเหมือนเมืองสามโคกหนอ
พอพระปิ่นเกล้าสิ้นเราก็สิ้นนามตามไปด้วย  แถมยังลำบากต้องเตร็ดเตร่หาที่อยู่ใหม่

เรื่องหาที่อยู่ใหม่นี่ก็เป็นประเด็นที่คนชอบลืม
สุนทรภู่เอง ในรำพันพิลาป ท่านบอกไว้โต้งๆ ว่าแต่ปีวอกออกขาดราชกิจ บรรพชิตพิศวาสพระศาสนา
ไม่ได้คร่ำครวญเรื่องโศกาอาดูรอันใด แม้แต่จะอาลัยพระเจ้าแผ่นดินสักแอะก็ไม่มี
แล้วทำไมในนิราศภูเขาทองจะต้องมาฟูมฟายด้วย
เพลงยาวถวายโอวาทเสียอีก ยังอวดโอ่คำโตถึงตัวเอง นั่นก็ไม่คร่ำครวญถึงเจ้าแผ่นดิน
ในนิราศพระประธมนี้อีกแหละ เล่าเรื่องไกรทองเสียยกใหญ่ ก็ไม่ยอพระเกียรติให้สมความอาลัย

ผมได้ย้ำคิดย้ำทำมาเป็นเวลานาน ก็คงต้องย้ำต่อไปนกว่าจะโดนสวนเข้าโครมจังๆ แต่ในเมื่อยังไม่โดน
ก็ต้องตะโกนบอกต่อไปว่า
สุนทรภู่ไม่ได้ผูกพันกับรัชกาลที่ 2 แต่ผูกพันกับพระปิ่นเกล้าคร๊าบบบ.......
เรื่องเล่าเกี่ยวกับสุนทรภู่ ว่าด้วยโจทเจ้า ขี้เมา พึ่งพระองค์เจ้าลักขณา หมายปองดอกฟ้า พระองค์เจ้าหญิงวิลาส
และแหนงพระเจ้าแผ่นดิน....ล้วนแต่ยกเมฆทั้งนั้น

นิราศราวๆ สี่เรื่อง ก็ไม่ใช่ของสุนทรภู่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
เฮ้อ.....บ้าอยู่คนเดียว  แฮ่ก แฮ่ก
(หอบแบบหมาหอบแดดครับ)

คุณเครซี่ยกกลอนมาว่าหน่อยดิ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 17:51

* ฝ่ายทัพพระอนุชาวายุพัฒน์       ต่างเร่งรัดพลขันธ์รีบผันผาย
พอพ้นดงลงเนินเดินสบาย           ตวันบ่ายปลายรังถึงลังกา
เห็นพวกพลบนเชิงเทินเนินหอรบ    อาวุธครบไพร่นายรายรักษา
จึงหยุดทัพยับยั้งรอรั้งรา             ขับม้ามาหน้ากำแพงแจ้งคดี
พระปิ่นเกล้าเจ้าลังกาบัญชาใช้      ให้คุมไพร่มาบำรุงชาวกรุงศรี
เร็วเร็วเถิดเปิดประตูพระบูรี          อย่าช้าทีโทษมึงจะถึงตาย ฯ


ยกมาจาก http://www.cybered.co.th/praapi/apai60.htm

แต่ถ้าลองถามน้องกุ๊กว่า "พระอภัยมณี ปิ่นเกล้า" จะเจออีกหลายตอนนักครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 18:33

อ่านค่ะอ่าน
แต่อ่านยังไงก็คิดอย่างคุณพพ.ไม่ลง นี่คะ

เพราะความตอนนี้ก็ชัดเสียยิ่งกว่าชัด ว่า ไปถึงสามโคกก็ทำให้หวนคิดถึงรัชกาลที่ ๒ เพราะท่านพระราชทานนามใหม่ให้สามโคกว่าปทุมธานี เพราะ(สมัยนั้น) มีบัวขึ้นเยอะแยะ
แล้วก็นึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่สิ้นไปไม่หวนกลับมาอีก
ส่วนมาเปรียบเทียบชื่อสามโคก กับตัวเอง นั่นก็เป็นตอนต่อมา  แต่ไม่ได้ทำให้พระพุทธเลิศหล้ากลายเป็นพระปิ่นเกล้าไปได้

ลองสังเกตในนิราศเรื่องอื่นๆสิคะ  สุนทรภู่ไม่เคยออกพระนามพระมหากษัตริย์เลยนะคะ   คนสมัยโน้นเขาไม่ระบุกันตรงๆ  แม้แต่ชื่อเจ้านายตั้งหลายพระองค์ที่อุปถัมภ์ ท่านก็ไม่ระบุพระนาม    มีแต่"ฟ้าอาภรณ์" เท่านั้นที่เอ่ยถึง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 18:55

ข้อเท็จจริงวางแผ่แบบไม่มีทางโต้แย้ง ว่า
พระนามพระเจ้าแผ่นดิน ที่เรียกง่ายๆ ว่า พระ .... เกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นของคิดขึ้นโดยรัชกาลที่ 4
ถ้าสุนทรภู่เป็นคนรุ่นรัชกาลที่ 1 จริง จะต้องเรียกเจ้าอยู่หัวว่าขุนหลวง หรืออะไรประมาณนั้น
แต่ท่านเรียกพระปิ่นเกล้าตรงๆ ไม่รู้ตั้งกี่ครั้งกี่หน ทำไมไม่คิดไปตรงๆ ง่ายๆ
ไปยอกย้อนทำไม ไม่ใช่กลบทซักกะหน่อย

แล้วอาจารย์ยังบอกอีกว่า สุนทรภู่ไม่เคยออกพระนามพระมหากษัตริย์ ก็ปิ่นเกล้านี่เป็นพระนามอะไรหรือครับ
แล้วที่ผมสงสัยไม่ใช่เรื่องออกพระนาม แต่สงสัยว่าตรงจุดที่ควรจะเอ่ยถึงพระกรุณาธิคุณ กลับไม่มี
เราชอบคิดเป็นดราม่า ว่ากวีคนหนึ่งหนีตายออกบวช และรักเจ้านายแทบจะตายตามไป
ก็ถ้ารักไคร่ถึงเพียงนั้น ทำไมออกบวชปีสวรรคต ไม่เอ่ยอะไรสักแอะ
ผ่านบ้านนายไกรทองก็ไม่เอ่ยสักแอะ
วีรกรรมที่ต่อกลอนพระราชนิพนธ์ ก็ไม่เคยเอ่ยสักแอะ
ส่วนที่เอ่ยไว้ อย่างเช่นหมอบรับกับพระจมื่นไวย ดูในวังเห็นหอพระอัฐิ บ้านพระราชทาน....ฯลฯ
จะต้องโยงไปรัชกาลที่ 2 ให้ได้
ทั้งๆ ที่ไม่มีหลักฐานอะไรที่น่าเชื่อเลยอันจะบ่งชี้ว่า ตาภู่เคยเข้าเฝ้า เคยเป็นกวีที่ปรึกษา
ท่านที่เล่าเรื่องเหล่านี้ไว้ ผมก็เห็นอ่านกลอนสุนทรภู่ไม่รู้เรื่องเหมือนผมนั่นแหละ

ท่านอาจจะบอกว่า ก็มันไม่จำเป็นต้องเอ่ยนี่นา อันนั้นผมก็เข้าใจ
แต่นิราศสองบทนี่ มีเหตุอะไรต้องเอ่ยถึง"ปิ่นเกล้า"ด้วย พระอภัยมณี ยิ่งไม่ต้องเอ่ย
เอ....หรือว่าสุนทรภู่ต่างหาก เป็นคนคิดพระนามนี้ขึ้นมาใช้เล่น

แล้วนักปราชญ์อย่างพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงยืมใช้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 19:04

พระนามพระเจ้าแผ่นดิน ที่เรียกง่ายๆ ว่า พระ .... เกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นของคิดขึ้นโดยรัชกาลที่ 4
ถ้าสุนทรภู่เป็นคนรุ่นรัชกาลที่ 1 จริง จะต้องเรียกเจ้าอยู่หัวว่าขุนหลวง หรืออะไรประมาณนั้น

พระนามพระเจ้าแผ่นดินอย่างนี้เป็นของที่คิดโดย ร.๔ จริงครับ แต่ก่อนหน้านั้นคำพวกนี้ใช้เป็นสามานยนาม ปรากฏทั่วไปในวรรณคดี อย่างน้อยก็ย้อนไปได้ถึงอยุธยาตอนต้นนะครับ ข้อนี้ผมขอยืนข้างเดียวกับอ.เทาชมพูคร้าบ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 19:13

ข้อนี้จะว่าไปแล้วยังมีอีกประเด็นหนึ่งว่า การออกพระนามพระมหากษัตริย์โดยตรงยังน่าจะเป็นเรื่องใหม่ในสมัยนั้นด้วยซ้ำไปครับ

ศ.ป.ฉบับล่าสุดลงพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๕ เรื่องวัดราชประดิษฐ์กับวัดมกุฏกษัตริย์ ปรากฏว่าข้าราชการสมัยนั้นไม่ใคร่กล้าออกชื่อวัดมกุฏกษัตริย์โดยตรง จน ร.๔ ต้องให้เรียกว่าวัดนามบัญญัติแทน
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 20:11

"สิ้นแผ่นดินปิ่นเกล้ามาเปล่าอก  น้ำตาตกตายน้อยลงร้อยหน"
" ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า..."
ถ้ากวีสามัญชนคนหนึ่ง  แม้เป็นขุนนางก็เถอะ   เขียนในตอนปลายรัชกาลที่ ๔  ออกพระนาม "ปิ่นเกล้า" เฉยๆ ราวกับเป็นเพื่อนคลาสเมทกันมาตั้งแต่สมัยไหน
เห็นจะไม่ได้ลอยนวลอยู่นอกคุกหรอกค่ะ 

คุณพพ.ก็ทำเป็นไม่รู้ไปได้     ถ้อยคำที่ใช้  อย่าง  ปิ่นเกล้า   ในพระโกศ  อะไรพวกนี้  ไม่ใช่พระนาม  แต่เป็นศัพท์หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน
เหมือนชาวอยุธยาเรียก พระเจ้าบรมโกศ 
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 21:29

ผมไม่เคยเห็นการใช้คำว่า "ปิ่นเกล้า" ในสถานะที่เป็นสามานยนามเลย ก่อนรัชกาลที่ 4
ถ้าจะมีให้เห็น โปรดยกมาให้ดูเป็นขวัญตาด้วย

การที่คนทั้งหลายไม่กล้าออกพระนาม "มงกุฏเกล้า" ทั้งที่ทรงโปรดจะให้เรียกเช่นนั้น
พระจุลจอมเกล้าจึงทรงค่อนเอา เมื่อทรงเล่าเรื่องวัดพระนามบัญญัติ
แต่....

กวีที่ชื่อสุนทรภู่ ไม่ใช่คนธรรมดานะครับ
ขนาดที่กล้าอ้างว่าเข้าเฝ้าไกล้ชิดจนได้"กลิ่น" แค่นี้ก็แหกขนบโบราณไปไกลมากแล้ว
และถ้ารัชกาลที่ 4 ทรงกลอนนิราศพวกนี้ แล้วทรงโปรด ใครจะว่าอะไรได้เล่าครับ

ถ้าเราเชื่อว่า ทรงโปรดให้ตาภู่แต่งเสภา ก็แปลว่าน่าจะทรงทราบฝีปากของจางวางเอกแห่งวังหน้าผู้นี้
นอกจากนั้น คำกลอนที่มีคำว่า"ปิ่นเกล้า" ก็ปรากฏสง่าผ่าเผยอยู่ทั้งรัชกาลที่ 4 (ถ้าเชื่อว่าตาภู่แต่งในรัชกาลที่ 3)
ทำไมพ่อเพ็ง (พระยาบุรุษฯ) จึงกล้าเอาไปเล่นเป็นละคอนดึกดำบรรพ์ได้ ในเมื่อมีถ้อยคำต่ำสูงอยู่อย่างนั้น
แถมหมอสมิธยังพิมพ์ขายจนรวย ก็แปลว่า คนอ่านมากเป็นกระตั้กสิครับ จริงบ่

หมายรับสั่งมากมายของรัชกาลที่ 4 รวมทั้งราชกิจจานุเบกษา ก็เอ่ยพระนามพระจอมเกล้าทั้งนั้น
ประชาชีมิต้องก้มกราบก่อนเปิดอ่านหรือครับ พระบรมรูป ที่เป็นรูปถ่าย ก็แพร่หลายเป็นพันๆ สำเนา
เหล่านี้ล้วนแต่แสดงว่า การยึดถืออะไรที่ล้าสมัยนั้น อาจจะมี
แต่ในวันเวลาเดียวกันนั้น

คนที่โดยเสด็จพระราชนิยม ก็ต้องมีเช่นกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง