เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21
  พิมพ์  
อ่าน: 172124 ดอกไม้สีชมพู
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 14:39

กระทู้ยาวมากจนตาลาย  จำไม่ได้ว่าลงอะไรไปบ้าง
บัวหลวง  เคยลงหรือยังคะ

คุณเทาชมพูเคยเสนอเรื่องบัวไว้ครั้งหนึ่ง

บัวชมพู(ไม่มีฟอร์ด)



ป้ากุนก็เคยเสนอไว้เหมือนกัน

บัวหลวงสีชมพูค่ะ


แล้วก็คุณกุ้งแห้งเยอรมัน

บัวสีชมพู ในหมู่บัว บูชาพระรัตนตรัยวันมาฆะที่ผ่านมานี่เองค่ะ



คุณชัยช่วยบรรยายภาพ

ภาพดอกบัวของคุณ กุ้งแห้งเยอรมัน ดูแล้วมีความสุขมากครับ
ขออนุญาตแจมด้วยสักหน่อย
ถ้าไม่เห็นเหมาะสมไม่ไพเราะก็กรุณาช่วยลบด้วยนะครับ

กลีบบัวตัดเมื่อสายต้องแดดแล้งลม
ปลายกลีบไหม้มัวหม่นต้องลมขาดชื้น
ปัญญาประดิษฐ์ใส่จัดกลีบให้สักครา
กลับสวยไปวัดได้บูชาองค์พระปฏิมา

กลิ่นหอมกำจายเอื้อยลอยลม
กลิ่นดอกบัวเกิดแต่ตรมมูกลื่น
กลิ่นจางหอมชื่นใจกลิ่นตรมมลายหมด
เหมือนคนละทุกข์ได้สุขนั้นเพียง...พอ


บัวสวรรค์ของคุณ drunken beauty

เรียน คุณchai1960 ค๊ะ
ยิงฟันยิ้ม

เรานางดิน มิอาจเทียบ บัวสวรรค์
ไม้เทวัญ เนรมิต ประดิษฐ์ศรี
อยู่สวรรค์ ดินแดนนาม สุขาวดี
คงhappy  ยิงฟันยิ้ม กว่าตัวเรา นางชาวดิน 55555 เอิ้กกก




ปิดท้ายด้วยบัวสายของคุณเทาชมพู

บัวสาย   waterlily


ถึงยามสายสายสวาทไม่ขาดสาย
เห็นบัวรายเรียงดูอยู่ตรงหน้า
ฝากบัวสายแทนคำจำนรรจา
ถึงไกลตายังเหลือใยไม่ไกลตัว

"แก้วเก้า" 
ในยุค 2510 กว่าๆ  ก่อนบทกวีเพื่อชีวิตจะเข้ามา





 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 14:44

ชมพูภูคา

เคยเสนอไว้เมื่อเดือนที่แล้ว   ยิ้มเท่ห์

พูดถึงดอกไม้สีชมพู ผมนึกถึงเจ้า 'ชมพูภูคา' ก่อนเป็นอันดับเเรกเลยครับ

ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สีชมพูจากไม้ยืนต้นที่พบเพียงไม่กี่ต้นบริเวณดอยภูคา จังหวัดน่าน และเป็นแห่งที่สองของโลกนอกจากในประเทศจีน
ชื่อ 'ชมพูภูคา' นี้เป็นชื่อที่สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ได้พระราชทานให้เนื่องในโอกาสที่เป็นดอกไม้ที่นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วยครับ



ปล. รูปจากเน็ตครับ

รูปหายไปตามกาลเวลา

ขอเสริมทั้งเรื่องและรูป

ชมพูภูคา Bretschneidera sinensis Hemsl. เป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย และเป็นพันธุ์ไม้หายากซึ่งใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก เมื่อประมาณ ๓๐ ปีมาแล้ว ที่ประเทศจีน มีรายงานว่าพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ในเขตมณฑลยูนนาน แต่ปัจจุบันป่าดิบเขาอันเป็นสภาพแวดล้อมของพันธุ์ไม้นี้ในประเทศจีนถูกทำลายลงไปมาก นักวิชาการจึงคาดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

สำหรับประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ ดร. ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิตประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพสาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ได้ออกสำรวจป่าบริเวณดอยภูคา ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน พบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ จึงได้เก็บตัวอย่างมาตรวจสอบ และต่อมาได้ตั้งชื่อภาษาไทยว่า ชมพูภูคาเนื่องจากดอยภูคาเป็นพื้นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่พบต้นชมพูภูคา เพราะมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

ลักษณะของต้นชมพูภูคาสูงประมาณ ๒๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ๕๐ เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อยรูปไข่แกมรูปใบหอกปลายใบแหลมยาว แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีขาว ช่อดอกตั้งตรงแยกแขนงออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีชมพูมีริ้วสีแดง ดอกจะบานประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ลักษณะของผลคล้ายมะกอก แต่มีขนาดใหญ่กว่า ต้นชมพูภูคาจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณป่าดิบเขา บนไหล่เขาชันที่มีความสูงตั้งแต่ ๑,๒๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ความชื้นอากาศสูง และอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างต่ำตลอดปี

ขณะนี้อุทยานแห่งชาติดอยภูคาได้ทดลองเพาะกล้าชมพูภูคาจากเมล็ดจนเป็นผลสำเร็จ แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ชมพูภูคาอยู่รอดได้คือ ต้องช่วยกันรักษาธรรมชาติ ป้องกันไม่ให้มีการตัดไม้หรือแผ้วถางป่าในบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากชมพูภูคาต้องมีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา จึงจะเจริญเติบโตได้ดี

จาก นิตยสาร “สตรีสาร” ฉบับวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 11 ส.ค. 10, 14:44

ดอกไม้สีชมพู ทางฝ่ายดิฉัน คงจะหมดโกดังเสียแล้ว

ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 17 ส.ค. 10, 16:13

ดอกไม้งาม พระนาม "สิรินธร"

ขอเริ่มต้นด้วย

กุหลาบพระนามสิรินธร

ใน พ.ศ. ๒๕๒๔ กุหลาบประเภทดอกใหญ่ (Hybrid Tea) พันธุ์หนึ่งชื่อ Madras ของบริษัทผู้ผลิตกุหลาบรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา คือ บริษัท แจ็คสันแอนด์เพอร์กินส์ จำกัด มีดอกสีชมพูแกมม่วง ได้รับคัดเลือกเป็นกุหลาบแห่งปี  นายจีระ ดวงพัตรา แห่งไร่จีระโรสเนิสเซอรี่ ตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้สั่งกุหลาบชนิดนี้เข้ามาปลูกได้ประมาณ ๒-๓ เดือน พบว่าเกิดกลายพันธุ์ในต้นเดียวกัน ให้ต้นใหม่ที่มีดอกสีชมพูเหลืองเหลือบ เมื่อทำการทดลองติดตาจนแน่ใจว่าเป็นกุหลาบพันธุ์ใหม่ จึงได้ขอพระราชทานชื่อกุหลาบพันธุ์นี้ว่า "พระนามสิรินธร" นับได้ว่าเป็นกุหลาบพันธุ์ที่โดดเด่นที่สุด เพราะเป็นกุหลาบพุ่มชนิดดอกโต (Bush - Rose) สีชมพูเหลืองเหลือบ กลีบซ้อนแน่น สวยงามมาก เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชานุญาตจึงได้จดทะเบียนไว้มีชื่อภาษาอังกฤษว่า " Princess Maha Chakri Sirindhorn"



ที่มาของข้อมูล : สยามไภสัชยพฤกษ์ ภูมิปัญญาของชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 14:35

ท่ามกลางบรรยากาศอบอ้าวของวันในกาลเริ่มต้นแห่งฤดูฝน บนภูเขาหินปูนทางปลายสุดแห่งตะวันตก กล้วยไม้เล็ก ๆ ที่เก็บตัวมาตลอดฤดูแล้ง เพ่ิงได้รับฝนแรกไปไม่นาน ก็ผลิใบออกมาเหนือพื้นหินที่ปกคลุมด้วยเศษซากใบไม้ แสงแดดและน้ำฝนทำให้เธอได้รับพลังงานอย่างเต็มที่ นั่นหมายถึงฤดูกาลแห่งกล้วยไม้งามกำลังจะเริ่มขึ้นเช่นกัน และที่พิเศษสุดของกล้วยไม้แสนมหัศจรรย์แห่งผืนป่าเมืองไทย ก็ได้แก่กล้วยไม้ดินที่มีดอกสีชมพูอมม่วงสุดหวาน ที่ได้รับการตั้งชื่อสกุลเป็นพระนามของสมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในเดือนแห่งพระประสูติกาลนี้ ขอนำทุกท่านไปรู้จักกับกล้วยไม้งามในสกุลนี้ สิรินธรเนีย (Sirindhornia)

ย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีก่อนบนเทือกเขาหินปูนแห่งดอยเชียงดาว ดร.ปียเกษตร สุขสถาน ขณะนั้นกำลังศึกษาในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ขึ้นไปทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเฟินบนดอยเชียงดาว และเจอกับกล้วยไม้ขนาดเล็กใบลาย ๆ มีเพียงช่อดอกเหี่ยว ๆ เมื่อพิจารณาเห็นว่าใบคล้ายกับกล้วยไม้ในสกุล Hemipilia แต่ก็ได้เพียงเก็บความสงสัยอยู่เต็มหัวใจ…

จวบจนเวลาล่วงเลยมาหลายปี กระทั่งได้เข้าร่วมงานเป็นนักพฤกษศาสตร์ ประจำสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้เห็นภาพกล้วยไม้ชนิดนี้อีกครั้ง แต่นั่นก็เป็นเพียงภาพถ่าย ซึ่งทางนักวิจัยได้เก็บตัวอย่างลงมาไว้และให้ดอกในเรือนปลูกเลี้ยง เมื่อเห็นดอกจริง ๆ ก็ยิ่งทำให้ความกระหายใคร่รู้ทวีขึ้น และได้ส่งภาพถ่ายและภาพวาดทางพฤกษศาสตร์ให้กับ Dr. Henrik Ærenlund Pedersen ผู้เชี่ยวชาญกล้วยไม้แห่ง University of Copenhagen, Denmark. เมื่อทำการตรวจสอบจึงคาดว่าน่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลก และในช่วงเดียวกันคณะนักสำรวจที่นำโดย ดร.ปิยเกษตร เดินทางไปเก็บพืชในวงศ์คล้า (MARANTACEAE) บริเวณ อ.อุ้มผาง จ.ตาก และได้รับข่าวจากเพื่อนนักพฤกษศาสตร์ว่าบนดอยหัวหมด มีดอกไม้กำลังบานไม่น้อย คณะสำรวจจึงเดินทางไปที่นั่นทันที…ซึ่งก็ได้เจอกับกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่งกำลังผลิดอก อย่างงดงามอยู่ริมทาง จากนั้นคุณสมควร สุขเอี่ยม ช่างภาพขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ บันทึกภาพชุดนั้นเอาไว้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นภาพชุดแรกของกล้วยไม้ชนิดนี้ และหลังจากสำรวจตามยอดเขาใกล้ ๆ เรียบร้อย ทีมสำรวจจึงได้กล้วยไม้ชนิดที่ชวนให้อัศจรรย์ใจไปอีก ๒ ชนิด จากลักษณะทางพฤกษศาสตร์แล้วสามารถไปรวมกับชนิดที่พบบนดอยเชียงดาวได้แน่นอน…

เมื่อผู้เชี่ยวชาญทำการเปรียบเทียบพร้อมศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและรอบคอบ ทั้งจากเอกสารและตัวอย่างต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์พืชทั้งในและต่างประเทศ จึงสรุปได้ว่ากล้วยไม้ ๓ ชนิด ดังกล่าวเป็นสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก ทางองค์การสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต นำพระนามของสมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาตั้งเป็นกล้วยไม้สกุลใหม่ของโลก เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสพระชนมายุครบ ๔๘ พรรษา และได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า Sirindhonia

สำหรับกล้วยไม้ในสกุล Sirindhonia มีสมาชิกอยู่ ๓ ชนิดด้วยกัน เป็นสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก ๒ ชนิด ย้ายมาจากสกุลเดิมอีก ๑ ชนิด

ชนิดแรกคือเอื้องศรีเชียงดาว (Sirindhornia pulchella H.A. Pedersen & Indhamusika) ชื่อของเอื้องศรีเชียงดาว ในภาษาละติน pulchella มีความหมายว่า น่ารัก หรือ สวยงาม ตามอย่างลักษณะของดอกและใบ ที่มีลวดลายสีน้ำตาลบนใบสีเขียว กับช่อดอกสั้น ๆ แทงออกมาจากตรงกลางของใบที่ห่อกันเป็นกล้วย กับสีชมพูสุดหวานของดอก ยิ่งทำให้เธอมีความน่ารักยิ่งนัก โดยเฉพาะในยามที่สายหมอกไหลผ่านเข้ามา ความกระด้างของผาหินปูนดูจะเบาบางและชวนประทับใจยิ่งนัก สำหรับกล้วยไม้งามแห่งเทือกดอยเชียงดาวชนิดนี้ ได้ทำการศึกษาและทบทวนโดย Henrik Pedersen และ สุรางค์รัชต์ อินทมุสิก



ข้ามไปยังเทือกดอยแห่งผืนป่าตะวันตกบนผาหินปูนสีกระดำกระด่าง ในช่วงฤดูฝนเอื้องศรีประจิม (Sirindhornia mirabilis H.A. Pedersen& P.Suksathan) กำลังแทงช่อยาวกว่าหนึ่งฟุตออกมาจากโคนใบที่ม้วนคล้ายกรวย พร้อมดอกสีชมพูอมม่วง ซึ่งแสดงลักษณะคล้ายกับแมลงกำลังบิน สำหรับชื่อชนิดของคำว่า mirabilis มีความหมายถึงลักษณะอันแสนมหัศจรรย์



ส่วนชนิดสุดท้ายนั้นได้ย้ายมาจากสกุล Habenaria โดยมีชื่อชนิดว่าเอื้องศรีอาคเนย์ (Sirindhornia monophylla (Collett & Hemsl.) H.A.Pedersen & P.Suksathan) ซึ่งชื่อหมายถึงกล้วยไม้ที่มีเพียงใบเดียว ให้ดอกสีชมพูหวานหยาดเยิ้ม จนดอกไม้ในละแวกนั้นต้องหม่นหมองเลยทีเดียว สำหรับกล้วยไม้ชนิดนี้เคยได้รับการเก็บตัวอย่างโดยหมอคาร์ (A.F.G. Kerr) นักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช เมื่อราวปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ และรายงานไว้ว่าเป็น Habenaria monophylla Collett & Hemsl.



สำหรับสองชนิดหลังบันทึกไว้อย่างเป็นทางการว่าทำการศึกษาโดย Henrik Pedersen และ ดร.ปิยเกษตร สุขสถาน ซึ่งนับเป็นความน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง สำหรับวงการพฤกษศาสตร์ของไทยและคนไทยทั้งชาติ ที่มีการรายงานความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในรูปทางวิชาการ ให้คนทั่วโลกได้รับรู้ถึงความมั่งคั่งของทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ ที่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก


จาก กล้วยไม้เจ้าฟ้าสิรินธรความงดงามแห่งแผ่นดิน เรื่องและภาพ โดย หัสชัย บุญเรือง อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๔๙  ฉบับที่ ๙  เมษายน ๒๕๕๑
http://www.osotho.com/th/content/indexdetail.php?ContentID=1110&myGroupID=
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 18 ส.ค. 10, 16:55

^
สวยมาก ทั้งดอกไม้ ภาพและคำบรรยาย

นำโฮย่า มาฝากค่ะ



http://www.plantloverscorner.com/forum/index.php?topic=125.0

บางแห่งเรียก ผกาแก้ว  จำได้ว่าเมื่อเริ่มเป็นที่รู้จักกัน  มีชื่อซึ่งน่าจะเป็นพื้นเมืองว่า นมตำเลีย

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 24 ส.ค. 10, 10:27

กล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ "ชมพูนครินทร์" (Dendrobium Pink Nagarindra) อยู่ใน วงศ์ ORCHIDACEAE เป็นกล้วยไม้ลูกผสมระหว่างต้นพ่อพันธุ์ “บลัชชิ่ง”(Dendrobium Blushing) และต้นแม่พันธุ์ “เอริก้า”(Dendrobium Arica) ดอกมีสีโอลด์โรส (สีขาว อมชมพู อมส้ม) ปากดอกเป็นสีชมพูแดง ปลายกลีบดอกทั้ง ๕ กลีบเป็นสีเดียวกัน



ลักษณะดอกกึ่งฟอร์มกลม มีความสวยและความทนก้านช่อที่ไม่ยาวมากจึงมีความเด่นที่เหมาะเป็นกล้วยไม้ประดับ ชนิดจัดโชว์ทั้งต้นและดอก ดอกออกนานหลายสัปดาห์ หากสังเกตที่ดอกนี้มีเกล็ดเงินระยิบระยับอ่อน ๆ แฝงอยู่ในกลีบดอกเมื่อถูกสะท้อนแสงไฟ ในช่วงอากาศหนาวดอกจะเปลี่ยนสีเป็นสีโอลด์โรสเข้มจัดทั้งดอก ความสูงของต้นและดอกเฉลี่ยประมาณ ๓๐-๔๐ ซม.ออกดอกเฉลี่ยมากกว่า ๓ ครั้งต่อปี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานชื่อ เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ชื่อพันธุ์ว่า “ชมพูนครินทร์”


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 26 ส.ค. 10, 11:06

กล้วยไม้รองเท้านารีพริ้นเซสสังวาลย์ Paphiopedilum Princess Sangwan กล้วยไม้พระนาม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พันธุ์รองเท้านารีลูกผสมระหว่าง ต้นแม่พันธุ์รองเท้านารีช่องอ่างทอง Paphiopedilum godefroyae var. angthong  และต้นพ่อพันธุ์รองเท้านารีดอยตุง  Paphiopedilum charlesworthii โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง,โครงการพัฒนาดอยตุง,จ. เชียงราย เป็นผู้ผสมพันธุ์



 ยิงฟันยิ้ม
       
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 21 ธ.ค. 10, 11:46

ญี่ปุ่น เขามีทุ่งมอสสีชมพู  ยังไม่เคยไปเห็นด้วยตัวเองสักที     เห็นแต่ในรูป

เอาดอก moss phlox มาลงให้ดูกันค่ะ



คุณเทาชมพูนำทุ่งมอสสีชมพูไปฝากไว้ที่กระทู้ "ชมพู" ขออนุญาตนำมาส่งบ้าน  ยิ้มเท่ห์

เนินเขามอสสีชมพูที่ฮอกไกโด



Shibazakura หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Moss Pink จะบานตั้งแต่เดือนเมษายนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม ดอกชิบะซากุระมีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาตะวันออกเฉียงเหนือ ดอกไม้ชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ทั้งสีชมพูและสีขาว ดอกจะบานที่พื้นดิน ที่ญี่ปุ่นนำมาปลูกตามรั้วบ้าน หรือตามที่ลาดเอียง ดุจดังพรมผืนยักษ์ มีประโยชน์ในการรักษาหน้าดิน และทนกับความร้อนและอากาศที่แห้งแล้งได้ดี ในช่วงฤดูใบไม้ผลิดอกไม้จะบานและหน้าตาดูคล้ายกับดอกซากุระ ส่วนในฤดูอื่นจะมีใบสีเขียวแทน ดูคล้ายต้นหญ้า ดังนั้นจึงเรียกกันว่า ชิบะซากุระ คำว่าชิบะหมายถึงต้นหญ้า แปลได้ว่า ซากุระต้นหญ้า

ในญี่ปุ่นมีทุ่งมอสสีชมพูให้ชื่นชมอยู่หลายแห่ง
http://www.japantourcenter.com/index.php/japan-travel-news/latest-travel-news/456-shibazakura










 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 21 ธ.ค. 10, 14:40

ไม่เชิงเป็นดอกไม้เท่าไร แต่สีชมพูหวานๆ ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 21 ธ.ค. 10, 14:57

นี่ครับ ถ่ายจากต้นไม้ในสวนที่บ้าน "ไข่มุกอันดามัน" สีหวานสวยมากเลยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 21 ธ.ค. 10, 15:04

ทิวลิปสีหวาน สีชมพู ถ่ายจากงานฤดูหนาวที่ริมน้ำกก จังหวัดเชียงรายครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 11:20

ดอกไม้สีชมพูรูปหัวใจ มอบให้ทุกท่านในวันแห่งความรัก

Dicentra

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 11:52

เพิ่งไปงานดอกไม้ ของ Dasada  ที่ปราจีณบุรีมา  เลยขอนำรูปดอกไม้สีชมพูมาฝากชาวเรือนไทยทุกท่านด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 14 ก.พ. 11, 11:52

กวางดอกไม้สีชมพู


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 3.093 วินาที กับ 20 คำสั่ง