เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 172037 ดอกไม้สีชมพู
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 09 พ.ค. 08, 09:12

ดอกไม้จากบ้านนาของเพื่อนที่ภาคกลางนี่เอง เพิ่งถ่ายมาสดๆเมื่อวานนี้ค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 09 พ.ค. 08, 12:16

ดอกนี้ บานอยู่โดดๆที่ดินค่ะ


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 15:12

นี่ก็ดอกอะไรไม่รู้ ค่อนไปทางแดง เนื่องจากเราไม่มีกระทู้ดอกไม้แดง เลยนำมาลงให้ชมค่ะ ไม่มีกลิ่นหอม


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 18:28

รอพี่กล้วยมาตอบครับ คิคิ
นายติบอก็ม่ะเก่งเรื่องดอกไม้  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 02 มิ.ย. 08, 21:07

ชบาสีชมพู ..สวยจริงๆค่ะ ที่ท้องนาบ้านเพื่อน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 10 มิ.ย. 08, 05:14

แอปเปิ้ล ออกดอกไม่กี่วันก็โรยหมดแล้ว
เอารูปนี้มาฝากติบอ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 11:03

ขออนุญาตฟื้นกระทู้เก่า

อ่านกระทู้นี้แล้ว รู้สึกชื่นใจ ได้บรรยากาศเก่า ๆ ของเรือนไทย ญาติมิตรมากมายมาตั้งวงคุยกัน

ดอกจามจุรี



หวังทุกยาม เรือนไทยนี้ สีชมพู

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 11:19

อ่านในสองหน้าแรก เห็นพูดกันถึงต้นไม้ในสกุล Cassia ขอสรุปอีกที

ราชพฤกษ์ ในอดีตคือ ชัยพฤกษ์



ชัยพฤกษ์ ในอดีตคือ ราชพฤกษ์



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 11:24

ต้นไม้ในสกุล Cassia   ที่ชื่อในภาษาไทยมักนิยมลงท้ายด้วย -พฤกษ์ ยังมีอีกหลายชนิดที่เรียกชื่อสับสนกัน

Cassia bakeriana Craib  เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่เริ่มแรกมหาวิทยาลัยขอนแก่นเรียกชื่อต้นไม้ชนิดนี้ว่า "กาลพฤกษ์"  ดังมี เพลงมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพลงหนึ่งชื่อ "ร่มกาลพฤกษ์" มีเนื้อร้องว่า

สถาบันแหล่งเรียนเพียรศึกษา  
ถิ่นประสาทสรรพวิทยาเกรียงไกร
ผองเราพิทักษ์ รักษาเชิดชูวิไล  
พร้อมใจมั่นส่งเสริมส่งศักดา  
รั้วสีอิฐแรงฤทธิ์แห่งศรัทธา  
กล้าแกร่งแข็งดั่งภูผา พื้นหล้าธาตรี  
เป็นเกียรติสมศักดิ์ศรี  
สง่าทวีร่วมไมตรีคงมั่นนิรันดร์  
ขอบูชาพระธาตุจำรัสขจร  
สัญลักษณ์ประทานพรคุ้มครอง  
เราเหมือนน้องพี่ปรองดอง  
ประคองกันไม่จืดจางร้างรา
ใต้ร่มกาลพฤกษ์ ลมสบัดโบยมา  
รื่นอุราเคลิบเคลิ้มวิญญาภิรมย์
ให้ขอนแก่นแดนศึกษาเคยบ่ม
เด่นในสังคมนิยมอยู่คู่ฟ้าไทย


ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น กัลปพฤกษ์  โดยสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคราวประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗ ได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่อต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่า

กัลปพฤกษ์"   ตามที่มหาวิทยาลัยได้มีหนังสือสอบถามไปที่ราชบัณฑิตยสถาน เกี่ยวกับข้อมูลต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้รับคำชี้แจงว่า ชื่อเรียกภาษาไทยที่ถูกต้องของพรรณไม้ Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ leguminosae คือ "กัลปพฤกษ์" จึงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า  ต่อจากนี้ไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มีต้นและดอกไม้ ชื่อ "กัลปพฤกษ์" เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น



กาลพฤกษ์-กัลปพฤกษ์ นี่สับสนพอ ๆ กับ ราชพฤกษ์-ชัยพฤกษ์ เลยนะ

 ยิงฟันยิ้ม

 
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 11:28

ยังมีอีก พฤกษ์ หนึ่ง เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ คือ "กาฬพฤกษ์" Cassia grandis Linn. f. 

ในเว็บไซต์บางแห่งก็ยังสับสนบอกว่ามีชื่ออื่น ๆ คือ กัลปพฤกษ์ ,ชัยพฤกษ์



 เจ๋ง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 11:34

เสริมอีกนิดเรื่อง ชัยพฤกษ์ (ที่ไม่ใช่สีชมพู)

ใครจะทราบบ้างว่า ชัยพฤกษ์ที่เป็นช่อในเครื่องหมายยศของนายพลหรือบนอินทรธนูของข้าราชการพลเรือน หาใช่ต้นไม้ในสกุล Cassia ไม่  แท้จริงแล้วเป็นต้นไม้ของฝรั่งที่ชื่อ http://en.wikipedia.org/wiki/Bay_laurel Laurus nobilis



ช่อชัยพฤกษ์  =  laurel wreath มีประวัติมายาวนานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ผู้ชนะในการแข่งขันกีฬาโอสิมปิกในสมัยนั้นจะได้รับช่อชัยพฤกษ์นี้เป็นรางวัลแห่งชัยชนะ

ตำนานต้นชัยพฤกษ์ อยู่ในเรื่องเกี่ยวกับนาง Daphne ซึ่งเป็นนางอัปสร รูปงามธิดาของ Peneus เทพประจำแม่น้ำตามเรื่องเล่าว่า Apollo ได้พบนางในกลางป่า ให้บังเกิดความพิสมัย จึงเยื้องกรายเข้าหาหมายจะแทะโลม แต่ไม่ทันถึงนางก็วิ่งหนีไปเสียแล้ว ฝ่าย Apollo อารามที่ลืมไม่ว่าอะไรอื่นทั้งสิ้นจึงวิ่งตาม วิ่งพลางร้องเรียกให้นางแดฟนีหยุดแม้ชั่วขณะหนึ่ง เท่านั้นก็ตามที เธอสัญญาว่าจะไม่ทำอันตรายเลย

นางอัปสรไม่ยอมฟังคำสัญญาหรือวิงวอน ตั้งหน้าแต่รุดหนีอย่างเดียว ฝ่าย Apollo ก็วิ่งกวดตามไปโดยไม่ลดละ จนนาง  Daphne เริ่มอ่อนกำลังและตระหนักว่า ฝ่ายไล่กำลังรุกกระชั้นเข้าไปทุกที นางจึงวิ่งหนีกระหืดกระหอบอกสั่นลงยังริมฝั่งแม่น้ำของบิดา ขอให้แปลงร่างนางเสียหรือบันดาลให้นางจมลงไปในปฐพี ยังมิทันที่นางจะถึงริมฝั่งน้ำดี นางก็รู้สึกเหมือนหนึ่งตัวเองถูกตรึงติดกับพื้น ด้วย เท้าหยั่งลงในดินเป็นราก ผมและมือก็งอกออกเป็นใบ ส่วนเครื่องคลุมกายกลายเป็นเปลือกไม้ ปกคลุมร่างอันสั่นเทาของนางไป บิดาของนางตอบสนองการที่นางร้องให้ช่วยแล้ว โดยเปลี่ยนนางเป็น ต้นชัยพฤกษ์ ( Bay Laurel ) อยู่ ณ ที่นั้น

ฝ่าย Apollo ตามมาทันไม่เห็นนาง เห็นแต่ต้นไม้ครั้งแรกเธอไม่รู้สึกเลยว่า สาวเจ้าลับจาก เธอไปแล้วโดยไม่มีวันจะได้พบอีก แต่เมื่อความจริงเป็นที่ปรากฏดังนั้น เธอจึงมีเทพบรรหารว่า นับแต่บัดนี้ต้นชัยพฤกษ์ จงเป็นต้นไม้ที่โปรดปรานของเธอ อันคนหลายคนพึงเด็ดช่อใบร้อยพวงมาลา เป็นรางวัลแก่กวีและนักดนตรีสืบไป



http://xchange.teenee.com/index.php?showtopic=54321&mode=linearplus

http://www.liza-kliko.com/laurel-wreath/



บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 12:09

แวะมาตอบคุณกุ้งค่ะ  น่าจะเป็นต้นเข็มปัตตาเวียนะคะ  ส่งรูปมาให้เปรียบเทียบค่ะว่าใช่หรือเปล่า  สีดอกมีทั้งขาว ชมพู และแดงค่ะ  เห็นปลูกตามเกาะกลางถนนในกรุงเทพหลายที่นะคะ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 13:20

คุณกุ้งทราบแล้วเปลี่ยน

 ยิงฟันยิ้ม


ดอกบ๊วยหรือดอกเหมยสวย ๆ ที่ญี่ปุ่น

 







สวยไม่แพ้ซากุระทีเดียว

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 14:18

สีชมพูเต็มกระทู้ ดูโดดเด่น
ชมพูเพ็ญ ใช่คนไกลที่ไหนอื่น
มาฟื้นภาพความหลังให้ยั่งยืน
แต้มสีสันกันสดชื่นทั้งเรือนไทย


ประเดิมด้วย  Nemesia Confetti


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 08 ก.ค. 10, 15:15

พูดถึงดอกไม้สีชมพู ผมนึกถึงเจ้า 'ชมพูภูคา' ก่อนเป็นอันดับเเรกเลยครับ

ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สีชมพูจากไม้ยืนต้นที่พบเพียงไม่กี่ต้นบริเวณดอยภูคา จังหวัดน่าน และเป็นแห่งที่สองของโลกนอกจากในประเทศจีน
ชื่อ 'ชมพูภูคา' นี้เป็นชื่อที่สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ได้พระราชทานให้เนื่องในโอกาสที่เป็นดอกไม้ที่นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วยครับ



ปล. รูปจากเน็ตครับ

รูปหายไปตามกาลเวลา

ขอเสริมทั้งเรื่องและรูป

ชมพูภูคา Bretschneidera sinensis Hemsl. เป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย และเป็นพันธุ์ไม้หายากซึ่งใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก เมื่อประมาณ ๓๐ ปีมาแล้ว ที่ประเทศจีน มีรายงานว่าพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ในเขตมณฑลยูนนาน แต่ปัจจุบันป่าดิบเขาอันเป็นสภาพแวดล้อมของพันธุ์ไม้นี้ในประเทศจีนถูกทำลายลงไปมาก นักวิชาการจึงคาดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

สำหรับประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ ดร. ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิตประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพสาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ได้ออกสำรวจป่าบริเวณดอยภูคา ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน พบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ จึงได้เก็บตัวอย่างมาตรวจสอบ และต่อมาได้ตั้งชื่อภาษาไทยว่า ชมพูภูคาเนื่องจากดอยภูคาเป็นพื้นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่พบต้นชมพูภูคา เพราะมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

ลักษณะของต้นชมพูภูคาสูงประมาณ ๒๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ๕๐ เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อยรูปไข่แกมรูปใบหอกปลายใบแหลมยาว แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีขาว ช่อดอกตั้งตรงแยกแขนงออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีชมพูมีริ้วสีแดง ดอกจะบานประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ลักษณะของผลคล้ายมะกอก แต่มีขนาดใหญ่กว่า ต้นชมพูภูคาจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณป่าดิบเขา บนไหล่เขาชันที่มีความสูงตั้งแต่ ๑,๒๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ความชื้นอากาศสูง และอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างต่ำตลอดปี

ขณะนี้อุทยานแห่งชาติดอยภูคาได้ทดลองเพาะกล้าชมพูภูคาจากเมล็ดจนเป็นผลสำเร็จ แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ชมพูภูคาอยู่รอดได้คือ ต้องช่วยกันรักษาธรรมชาติ ป้องกันไม่ให้มีการตัดไม้หรือแผ้วถางป่าในบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากชมพูภูคาต้องมีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา จึงจะเจริญเติบโตได้ดี

จาก นิตยสาร “สตรีสาร” ฉบับวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 20 คำสั่ง