เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 172044 ดอกไม้สีชมพู
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 11 ต.ค. 07, 22:49

คุณป้าของหนู รู้จักพระผู้ใหญ่หลายรูป
มีพระรูปหนึ่งระดับเดียวกับพระวันรัตน์ เข้ารับการผ่าตัด
หมอฉีดมอร์ฟีนให้เพื่อระงับความปวด
ฉีดไป ฉีดไป พระเกิดติดมอร์ฟีนเข้า

คุณป้าถามพระว่า “อิฉันอยากทราบจริงๆ เจ้าค่ะ ว่ามอร์ฟีนฉีดเข้าไปแล้วเป็นอย่างไรบ้างคะ”
ท่านเจ้าคุณภิกษุชรารูปนั้นนึกอยู่นาน ก่อนจะบรรยายความรู้สึกช้าๆ ว่า
“อ่าาาา โลกทั้งโลกเป็นสีชมพูสดชื่นนนนน”
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 11 ต.ค. 07, 23:38

ได้พักคั่นไปดูแฟชั่นสวย ๆ งาม ๆ แล้วกลับมาที่พฤกษศาสตร์ต่ออีกหน่อยนะคะ  ดิฉันสรุปเรื่องชัยพฤกษ์อย่างนี้ได้ไหมค่ะ  สรุปว่าพืชตระกูล cassia มีชื่อเรียกภาษาไทยว่า "ชัยพฤกษ์" ทั้งหมด  ส่วน ต้นคูน มีชื่อเฉพาะเจาะจงไปอีกว่า "ราชพฤกษ์" กัลปพฤกษ์ ก็คือตระกูล ชัยพฤกษ์ ที่ชื่อ กัลปพฤกษ์  เหมือน"กล้วยไม้" ที่มีหลากหลายสี พันธ์ หลากหลายชื่อเรียกเฉพาะเจาะจงลงไปอีก เป็น แคทรียา แวนด้า อะไรอย่างนั้น

ดูเหมือนเว็บวิชาการเมื่อก่อนจะมีลิงค์ไปที่เว็ปไซค์หนึ่งที่ให้ความรู้เรื่องต้นไม้ และดอกไม้  ตอนนี้ไม่เห็นแล้วนะคะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 00:43


คุณป้าถามพระว่า “อิฉันอยากทราบจริงๆ เจ้าค่ะ ว่ามอร์ฟีนฉีดเข้าไปแล้วเป็นอย่างไรบ้างคะ”
ท่านเจ้าคุณภิกษุชรารูปนั้นนึกอยู่นาน ก่อนจะบรรยายความรู้สึกช้าๆ ว่า
“อ่าาาา โลกทั้งโลกเป็นสีชมพูสดชื่นนนนน”


เท่าที่เข้าใจ
อาการเห็นทุกอย่างเป็นสีชมพูแบบนี้เป็นการออกฤทธิ์ของสารเสพสารเสพย์ติดในกลุ่มสารฝิ่นครับ
มอร์ฟีนเองก็เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น ไม่น่าแปลกนะครับ ที่ "โลกทั้งใบกลายเป็นสีชมพู"
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 00:54

ได้พักคั่นไปดูแฟชั่นสวย ๆ งาม ๆ แล้วกลับมาที่พฤกษศาสตร์ต่ออีกหน่อยนะคะ  ดิฉันสรุปเรื่องชัยพฤกษ์อย่างนี้ได้ไหมค่ะ  สรุปว่าพืชตระกูล cassia มีชื่อเรียกภาษาไทยว่า "ชัยพฤกษ์" ทั้งหมด


โดยส่วนตัวผมว่ายังไม่ได้นะครับ คุณป้ากุน
Cassia มีสมาชิกอีกหลายอย่างครับ
ที่ยังไม่ถูกลากเข้ามาข้องแวะกับวงเสวนาชัยพฤกษ์เลย
อย่างแสมสาร เป็นต้น

ในความเห็นส่วนตัวผม การใช้ตำราเล่มเดียว ที่มีผู้เขียนหลักเพียงคนเดียวอ้างอิง ก็น่าลำบากใจครับ
เรื่องการเรียกชื่อพืชที่เปลี่ยนไปตามแต่ละถิ่น ดูเหมือนจะมีเรื่องของมนุษยวิทยามาเกี่ยวข้องด้วยค่อนข้างมาก
และโดยความเห็นส่วนตัวของผมอีกเช่นกัน อาจารย์ท่านที่เขียนหนังสือเล่มนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ระบุแหล่งที่มาของชื่อในวงเล็บของท่านเอาไว้
และไม่ได้ระบุไว้ด้วย ว่ามีคนที่เรียกเช่นนั้นซักเท่าไหร่ ? กี่มากน้อย ?


มันเป็นไปได้นะครับ ที่คนเขียนหนังสือจะยึดเอาความชื่นชอบส่วนตัวของตนเข้ามาใช้ในหนังสือของตัวเองด้วย
เพราะถ้าท่านสนใจว่ามีพืชในสกุล Cassia ชนิดไหนบ้างที่ถูกเรียกว่า "ชัยพฤกษ์"
พอท่านทำการสำรวจต้นไม้ในสกุลนี้ ผมเข้าใจว่าคำว่า "ชัยพฤกษ์" น่าจะถูกเก็บเอาไว้ในความทรงจำของท่านมากกว่าชื่ออื่นๆ

โดยความเห็นส่วนตัวผมพยายามอ้างอิงชื่อภาษาไทยและข้อมูลของพรรณไม้จากหนังสือ "พรรณไม้ในสวนหลวง ร.9 ครับ"
เพราะ(มีอคติส่วนตัว)ว่าเล่มนี้ใช้ผู้เขียนเป็นคณะ และน่าจะมีการสอบทานที่ดีกว่าครับ
(ถึงภาพจะ kitsch ไปแล้วสำหรับหนังสือเรื่องต้นไม้ก็เถอะครับ แหะๆ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 10:31

เห็นเพชรสีชมพูของคุณกุ้งแห้ง  ติดใจ  เลยไปค้นชื่อ pink diamond บ้าง
พบว่ามีดอกไม้หลายพันธุ์เลยเชียว ที่เจ้าของตั้งชื่อว่า pink diamond   
เอารูปมาลงให้ดูกันค่ะ

มีทั้งโรโดเดนดรอน(กุหลาบพันปี)  ทิวลิป   คาลลาลิลี่ และคัทลียา


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 11:31

สวยค่ะ อาจารย์เทาชมพู ...
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 12:55

ชอบคาล่าสีชมพูครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 18:49

ดอกไม้สีชมพูดอกนี้ คงทำให้คุณกุ้งแห้งจำความหลังได้
ชงโค ค่ะ


บันทึกการเข้า
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 18:57

ชวนชมครับ  ยิ้ม (ขาวกับชมพูพอได้หรือเปล่า)


บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 10:21

คุณเทาชมพูกรุณายกให้ดิฉันเป็นเจ้าของกระทู้นี้  ขอบพระคุณและรับไว้ด้วยความยินดีค่ะ  พอดีได้อ่านเรื่อง "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" ในนิตยสารบ้านและสวน ฉบับ ต.ค.2549 ขอนำรูปและเรื่องย่อ ๆ มานำเสนอไว้ ณ ที่นี้นะคะ

"กุหลาบจุฬาลงกรณ์" สันนิษฐานว่าเป็นกุหลาบHybrid Perpetual(อันนี้ต้องขอผู้รู้ขยายความนะคะ) ต้นสูง  ก้านยาว  ดอกใหญ่  ซึ่งเจ้าดารารัศมีสั่งเข้ามาจากประเทศอังกฤษ  ปลูกเลี้ยงไว้ที่พระตำหนักม่อนจ๊อกป๊อกบนดอยสุเทพ(รื้อไปแล้ว)  และคุ้มเจดีย์กิ่ว(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาในเชียงใหม่)  ด้วยเจ้าดารารัศมีทรงโปรดกุหลาบต้นนี้เป็นพิเศษจึงทรงตั้งชื่อว่า "กุหลาบจุฬาลงกรณ์"  เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์  ปัจจุบันมีปลูกที่ รอบพระรูปเจ้าดารารัศมี หน้าพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์  รอบเสาธงที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ สวนกุหลาบของคุณพจนา นาควัชระ(ผู้เขียนบทความค่ะ)


บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 10:31

แพงพวยค่ะ  ดูเหมือน กทม.นิยมนำมาปลูกประดับข้างทาง  คงเป็นเพราะปลูก  และดูแลรักษาง่าย  อดน้ำได้ดี  แต่มีกลิ่นที่ไม่เป็นที่นิยม  ่ดิฉันชอบตัดมาปักแจกันค่ะ  เพราะถ้าเลือกกิ่งที่มีดอกตูมอยู่เยอะ ๆ วันถัด ไปดอกตูมก็จะทยอยบานจนหมด  เรียกว่าจัดดอกไม้ทีหนึ่งอยู่ได้หลายวัน  แล้วแต่ละวันก็เปลี่ยนไปด้วย  ที่สำคัญประหยัดค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 11:30

รักเร่สีชมพู   pink dahlia ค่ะ

รักเอ๋ยรักเร่                    พราวเสน่ห์พะพร่างต่างสี
แดงเหลืองนวลงามมากมี  ยิ่งเห็นยิ่งทวีความรัก
รักเร่ผูกพันกระสันเสน่ห์    รักเร่เล่ห์โลมความสมัคร
รักเร่เที่ยวเร่รักนัก            รักเร่ไม่ประจักษ์รักจริง

เนื้อร้อง ของคุณณัฐ จิตระจินดา


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 22:08

แอบเอามาแจมด้วยคนครับ

เร่มจากของถนัดของผมก่อนนะครับ
"ไม้เลื้อย" ก่อนเลย อิอิ


จำได้ว่าอาจารย์เคยโพสต์เรื่องดอก "พวงชมพู" และ "ช่อชมพู" ไปแล้ว
เท่าที่ตอนนี้ผมพอจะนึกออกยังเหลืออีกต้นนึงที่ดอกสวยและพบเห็นกันค่อนข้างบ่อย
......แต่ชื่อดันไปพ้องกับอาหารการกินที่มาจากส่วนที่ไม่น่าพิสมัยเท่าไหร่..... ก็คือ "เล็บมือนาง" ครับ

จำได้ว่าหลายปีก่อน ผมถูกเพื่อนสนิทชวนไปเดินซื้อต้นไม้ที่ตลาดเทเวศร์
เขาบอกว่าอยากได้ไม้เลื้อยที่สีสวย ดอกหอม และออกดอกบ่อยไปปลูก
เราก็คุยกันไปคุยกันมา ผมก็เสนอต้นไม้หลายชนิดให้เขา
แล้วก็มาถึงเจ้าเล็บมือนาง ผมก็ถามเขาไปว่า "เล็บมือนางล่ะ ชอบมั้ย"
เจ้าตัวก็ตอบมาว่า "เมื่อก่อนก็ชอบนะ แต่หลังๆรู้ว่าเขาเอาปากกัดเลาะกระดูกออกก็เลยไม่อยากกินอ่ะ"
....... เอ๊า คุยกันไปคนละเรื่องจนได้ ชวนเรามาดูต้นไม้แท้ๆ..... แลบลิ้น


เมาท์เยอะไปละ กลับมาเรื่องเล็บมือนางดีกว่า
เล็บมือนางยังแบ่งย่อยๆได้อีก 2 ชนิดครับ คือพันธุ์ดอกรา(ดอกชั้นเดียว) และ ดอกซ้อน
เวลาบานวันแรก กลีบจะยังแผ่ แสะสียังอ่อนๆอยู่เป็นสีขาวอมชมพูครับ
แต่พอบานวันถัดๆไปสีดอกก็จะเข้มขึ้นและกลีบจะม้วนเข้าด้านใน



ผมไปแอบแฮบภาพมาฝากกันนะครับ ทั้งดอกราและดอกซ้อนเลยครับ



ภาพบนสุด - เล็บมือนางดอกรา (ดอกเริ่มแก่ บานมาหลายวันแล้วครับ)
ภาพกลาง  - เล็บมือนางดอกซ้อน (มีทั้งดอกใหม่สีอ่อน กับดอกแก่สีเข้มครับ)
ภาพล่างสุด - เล็บมือนางดอกรา บานวันแรกแต่หลายชั่วโมงแล้วครับ สีก็เลยเข้มแบบนี้ล่ะครับ




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 23:04

เล็บนางกางกลีบกะทัดรัด                 เหมือนมือเจ้าปรนนิบัติพัดวีผัว
บานเย็นสะพรั่งฝั่งสระบัว                  เหมือนเย็นเช้าเย้ายั่วอยู่กับน้อง
                                                          (ขุนช้างขุนแผน)


บันทึกการเข้า
Mb.
แขกเรือน
อสุรผัด
*
ตอบ: 33


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 01:22

เจอกระทู้ถูกใจ ขออณุญาติแจมด้วยหนึ่งคนครับ

พูดถึงดอกไม้สีชมพู ผมนึกถึงเจ้า 'ชมพูภูคา' ก่อนเป็นอันดับเเรกเลยครับ

ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สีชมพูจากไม้ยืนต้นที่พบเพียงไม่กี่ต้นบริเวณดอยภูคา จังหวัดน่าน และเป็นแห่งที่สองของโลกนอกจากในประเทศจีน
ชื่อ 'ชมพูภูคา' นี้เป็นชื่อที่สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ได้พระราชทานให้เนื่องในโอกาสที่เป็นดอกไม้ที่นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วยครับ



ปล. รูปจากเน็ตครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง