เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 172114 ดอกไม้สีชมพู
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 08:01

Golden shower  ชื่อไปตรงกับกล้วยไม้พันธุ์นี้


บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 09:45

สิ่งที่คุณติบอเพิ่มเติมมาตรงกับที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปี 2543 บอกไว้  ซึ่งก็จะกลายเป็นว่ารูปช่อดอกชัยพฤกษ์ที่ดิฉันบอกไว้  ที่ถูกต้องควรจะเป็นช่อกัลปพฤกษ์  แล้วรูปดอกที่มีสีชมพูเช้มคือ ดอกชัยพฤกษ์  ซึ่งจากที่เห็นในภาพลักษณะการออกดอกของชัยพฤกษ์ไม่เป็นช่อ  อย่างนั้นเครื่องหมายที่ประดับเพื่อบอกยศก็ควรจะเป็นช่อกัลปพฤกษ์ไม่ใช่ชัยพฤกษ์นะซิค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 23:43

เล่าเอง อธิบายเอง งงเอง ปวดหัวเอง
ชื่อสามัญที่เรียกกันไปตามภาษาปากก็ราวๆนี้ล่ะครับ ป้ากุน

ยิ่งถ้าไปเจอชื่อสำหรับพวก "ลูกผสม" จะยิ่งน่าปวดหัวมากกว่านี้อีกหลายเท่าครับ
เพราะบ่อยครับ บอนสี โกศล โป๊ยเซียน ลั่นทม และชวนชมจะใช้ชื่อซ้ำๆกันไปหมด
คุยกันถึงต้นนึง ก็อาจจะเผลอไปเข้าใจถึงอีกต้นหนึ่งได้

หรือพรรณไม้บางชนิด ที่ผสมพันธุ์ครั้งหนึ่งได้ต้นอ่อนจำนวนละมากๆ (อย่างกล้วยไม้)
เราก็อาจจะพบได้ว่ากล้วยไม้ที่มีชื่อเดียวกัน มีหน้าตาดอกที่แตกต่างกันไปอีกหลายแบบ
(ขออนุญาตยกตัวอย่าง แคทลียาที่ชื่อ "จงกลนี" นะครับ)

หรือกล้วยไม่อีกหลายชนิดก็มีชื่อจริง แล้วก็ชื่อย่อยกันไปอีกหลายเที่ยว
เช่น กล้วยไม่แคทลียาดอกสีม่วงที่เรียกกันว่า "ลัคกี้" ก็มีลัคกี้อะไรต่อมิอะไรอีกหลายลัคกี้จนบางพันธุ์คนเล่นยังไม่รู้จักก็มีครับ แหะๆ


เวบนี้ท่าทางนักพฤกษศาสตร์มือสมัครเล่น(อย่างผม) จะมีน้อยกว่านักภาษาศาสตร์ตัวจริงอยู่มากนะครับ คุณป้ากุน (หาเสียงสนับสนุนซักหน่อยนะครับ อิอิ)
ในฐานะนักพฤกษศาสตร์มือสมัครเล่นคนหนึ่ง ผมเลยขออนุญาตเรียนถามนักภาษาศาสตร์ตัวจริงหลายๆท่านในเวบซักหน่อยดีกว่า
ว่า คำว่า "ชัยพฤกษ์" "ราชพฤกษ์" กับ "กัลปพฤกษ์" ปรากฏอยู่ในวรรณคดี หรือวรรณกรรมยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นบ้างไหมครับ
ถ้าปรากฏอยู่ เขามีรายละเอียดอะไรพอให้นักพฤกษศาสตร์มือสมัครเล่นอย่างผมพอจะติดตามไปอ่านมาเล่าแจ้งแถลงไขให้ฟังกันได้บ้างไหมครับ


ปล. โดยส่วนตัวผมชอบกล้วยไม้สกุลออนซิเดียมอยู่หลายพันธุ์ครับ อาจารย์
พันธุ์นี้ถึงจะเก่า และขยายพันธุ์ง่ายมาก (ขนาดตาเล็กๆตามช่อดอกยังกลายเป็นต้นใหม่ได้)
และถูกนักสะสมกล้วยไม้หลายท่านติฉินนินทาว่า "เชย" หรือเรียกอย่างหยามเหยียดว่า "ดอกไม้วัด"
แต่ผมว่าเขาก็มีเสน่ห์ในความเป็นเขาอยู่มากทีเดียวนะครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 ต.ค. 07, 09:18

ยินดีรับตำแหน่งนักพฤกษศาสตร์สมัครเล่นด้วยความเต็มใจค่ะ  ดิฉันสนใจทั้งสัตวศาสตร์ และกีฏศาสตร์เลยนะคะ  แต่สนใจในระดับที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน  ดิฉันสังเกตว่า  เด็ก ๆ จนถึงผู้ใหญ่ด้วยนะคะ  ไม่ค่อยสนใจเรื่องพวกนี้  เอาแค่ต้นนี้ต้นอะไร นกอะไร แมลงอะไร หาคนตอบได้แบบมั่นใจยากจริง ๆ ค่ะ  โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ  ถ้าเป็นคนที่มาจากต่างจังหวัด  ก็จะตอบจากพื้นความรู้แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน  แต่ถ้าเป็นคนรุ่นหลัง ๆ ได้เรียนหนังสือเยอะ ๆ จะตอบไม่ค่อยได้  กลายเป็นว่า  ยิ่งเรียนยิ่งไม่รู้แฮะ 

อย่างกล้วยไม้ดิฉันก็จะสนใจรู้ประมาณว่า ตระกูลไหนเพื่อจะได้หาวิธีปลูกเลี้ยงให้เหมาะสมค่ะ  หรือถ้ายุ่งยากมาก  ก็จะไม่ซื้อ ไม่หามาเลี้ยงให้ท้อแท้ใจเปล่า ๆ อย่างตามรูปที่คุณติบอpostมาจะมีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า ผีเสื้อ ตรงกันไหมค่ะ  ดิฉันก็ชอบมากค่ะ  ชอบเพราะช่างเลี้ยงง่าย  ทำให้คนเลี้ยงมีกำลังใจอย่างยิ่งค่ะ 

ส่วนเจ้า ชัยพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์ ก็ยังสนใจหาคำตอบอยู่ค่ะ  เพราะเรื่องนี้ค้างใจมานานโขค่ะ  มีคนมาช่วย ๆ กันใส่ใจอย่างนี้ก็มีกำลังใจหาคำตอบต่อค่ะ

มีของฝากอีกแล้วค่ะ  ดอกไม้สีชมพู  ดิฉันไม่รู้เรื่องชื่อทางวิทยาศาสตร์นะคะ  แต่เรียกกันว่า "บัวสวรรค์" บ้าง "บัวดิน" บ้าง เป็นต้นไม้ที่ปลูก ดูแลรักษาง่าย แดดดี ๆ ก็ออกให้ชื่นใจอยู่เรื่อย ๆ ค่ะ  ถ้าคุณติบอจะให้ความรู้เพิ่มเติมก็เชิญนะคะ


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 ต.ค. 07, 10:12

เพชรสีชมพู..
เพชรที่หายากที่สุด
แต่สวยที่สุดของโลก ชื่อ steinmetz pink diamond
เผยโฉมสู่สาธารณะเมื่อพค. 2003 นี่เอง ณ ดินแดนที่เล็กแต่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โมนาโค
มีน้ำหนักถึง 59.6 กะรัต พบที่อัฟริกา เจียระไนแล้วจากก้อนเต็มที่หนัก 100 กะรัต ว่ากันว่า น้ำงามบริสุทธฺไม่มีมลทินเลย
นางแบบผู้โชคดีได้ใส่โชว์คือเฮเลนา คริสเตนเสน และดาราสาวเจนน่า เอลฟ์แมนค่ะ



บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 09 ต.ค. 07, 10:40

ขอบคุณครับอาจารย์ ผมพึ่งนึกได้ว่าตั้งชื่อเป็นภาษาไทยไว้........ อายจัง

งามครับพี่กุ้งแห้ง  เขาทำยื่นออกมาในทะเลสาบ ดูเหมือนลอยอยู่กลางน้ำ ดูแปลกไปอีกแบบด้วยครับ
 ทราบมาว่าพื้นที่สำหรับสวดมนต์กว้างขวางมาก จุได้หมื่นกว่าคนขึ้นไปทีเดียว... ฮืม 
แถมข้างในยังมีห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงรูป เปิดให้นักท่องเที่ยวชมกันอีกต่างหาก


ตอนที่ไป อากาศร้อนแบบทะเลทรายจนคิดว่านี่ตูอยู่ดูไบหรือเปล่า...เลยไม่ได้เข้าไปสำรวจค่ะ คุณoboro ตอนแดดเปรี้ยงๆเห็นบรรดาข้าราชการในปุตราจาย่าเขาขับรถกันไปทำละหมาด ลานจอดแน่น เลยไม่อยากฝ่าไป
แค่ถ่ายรูปภายนอกมาฝากค่ะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 ต.ค. 07, 20:08

SMITINAND T. 2001. Thai Plant Names, revised edition. The Forest Herbarium, Royal Forest Department, Bangkok. pp.112-113.

LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

Cassia bakeriana Craib = กัลปพฤกษ์ (but some northerners call it : ชัยพฤกษ์) (Local Tree)
English: Wishing tree, Pink shower

Cassia fistula L. = ราชพฤกษ์ (but some also call it : ชัยพฤกษ์ ) (Local Tree)
English: Golden shower, Indian laburnum, Pudding-pine tree

Cassia grandis L.f. = กาฬพฤกษ์ (Exotic Tree)
English: Horse cassia

Cassia javanica L. subsp. javanica = ขี้เหล็กชะวา (Local Tree)
English: Pink and white shower

Cassia javanica L. subsp. agnesราชพฤกษ์ (also called ราชพฤกษ์ป่า) (Local Tree)
English: -

Cassia javanica L. subsp. nodosa = กัลปพฤกษ์ (also called กาลพฤกษ์,  ชัยพฤกษ์) (Local Tree)
English: -

Cassia javanica L. subsp. renigera = ชัยพฤกษ์ (Exotic Tree)
English: Common pink cassia

I think that the name ชัยพฤกษ์ is the common name for the genus CASSIA. 

sorry that I can't use Thai font at my office ...



บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 09 ต.ค. 07, 20:26

ใช่ครับ ชัยพฤกษ์เป็น common name ของไม้วงศ์ Cassia โดยเฉพาะในหนังสือของอาจารย์ที่คุณ Hotacunus อ้าง
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 09 ต.ค. 07, 20:31

In the book : Thai Plant Names, there are six plants called "บัวสวรรค์" which scientifically described as

1) AMARYLLIDACEAE: Zephyranthes candida (Lindl.) Herb. (Exotic Herb) (other name: Bua farang dok khao) p.563

2) AMARYLLIDACEAE: Zephyranthes carinata Herb. (Exotic Herb) (other name: Bua farang dok yai) p.563

3) AMARYLLIDACEAE: Zephyranthes citrina Baker (Exotic Herb) (other name: Bua farang dok lueang) p.563

4) LECYTHIDACEAE: Gustavia gracillima Miers (Exotic Tree) p.264

5) RAFFLESIACEAE: Rafflesia kerrii Meijer (Parasite Herb) (official name: Bua phut, other: Bua tum) p.446

6) ZINGIBERACEAE: Curcuma roscoeana Wall. (Herb) (official name: Khamin daeng) p.160

I don't know which name belongs to Ajan เทาชมพู's "บัวสวรรค์"  ลังเล

 
However, the name "บัวดิน" has not been recorded in this book.
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 ต.ค. 07, 20:39

บัวสวรรค์ น่าจะเป็น กระเจียว นะครับ

เป็นไม้ล้มลุก ตระกูลขิงข่า
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 ต.ค. 07, 21:10

If it belongs to the ginger-turmeric family, then ZINGIBERACEAE: Curcuma roscoeana would be recognized.

I do suspect the species name "ROSCEANA", is there anything linking with ROSE color ?.

=======================

For กระเจียว in the book describes as

ZINGIBERACEAE
Krachio bua : Curcuma alismatifolia Gagnep. (Herb) - official name: Khamin khok

Krachio khao : Curcuma parviflora Wall. (Herb) - other name: Krachio khok

Krachio : Curcuma sessilis Gage (Herb) - official name: Ao daeng, other name: Ka tiao

Krachio bua : Curcuma sparganifolia Cagnep. (Herb)
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ต.ค. 07, 21:11

These are the POLLEN of some Cassia genus that we maintioned above :


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 10 ต.ค. 07, 01:20

อ่านไปอ่านมาชักงง

เพิ่มเติ่มครับ ขยายความเพื่อความเข้าใจ ปรมาจารย์ท่านนั้นเห็นว่า
คำว่าต้นชัยพฤกษ์มีมานาน และใช้เป็นไม้มงคลมากมายหลายหลาก
ในพิธีมงคลต่างๆ โดยเฉพาะทางทหาร เพราะมีคำว่าชัย
แต่ต้นชัยพฤกษ์จริงๆ น่าจะเข้ามาเมืองไทยไม่นาน
ดังนั้นท่านจึงอนุมานว่า ชัยพฤกษ์แต่โบราณกาลนั้นคือ ราชพฤกษ์ นั่นเอง
พจนานุกรมแรกๆ จึงเขียนว่า ชัยพฤกษ์ และราชพฤกษ์คือต้นเดียวกัน
แต่ความเข้าใจรับรู้ของชาวบ้านเมื่อห้าสิบปีก่อน รู้ว่าชัยพฤกษ์มีดอกสีชมพูต่างจากหรือราชพฤกษ์
และนิยมเรียกราชพฤกษ์ว่าคูน หรือ ลมแล้งมากกว่า


SMITINAND T. 2001. Thai Plant Names, revised edition. The Forest Herbarium, Royal Forest Department, Bangkok. pp.112-113.

LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

Cassia javanica L. subsp. nodosa = กัลปพฤกษ์ (also called กาลพฤกษ์,  ชัยพฤกษ์) (Local Tree)
English: -


ขออนุญาตออกตัวไว้ก่อนนะครับ ว่าคุยหลังไมค์กะเจ้าของความคิดเห็นที่ 95 มาก่อนแล้ว
ว่าปรมาจารย์ตั๊กม้อ..... เอ๊ย ปรมาจารย์ด้านพฤกษศาสตร์ของเขา คือผู้แต่งหนังสือของคุณ Hotacunus

เลยรู้สึกว่าอ่านไปอ่านมายิ่งงงตัวเองหนักกว่าเดิมเสียอีก ?
รบกวนพี่ Hotacunus ช่วยเปิดหนังสือเพิ่มอีกนิดนึงได้มั้ยครับ ว่า subsp. nodosa นี่เขา local อยู่แถวไหนน่ะครับ



ปล. รูปแล้ว บัวดิน ของคุณป้ากุน กับ อ.เทาชมพู น่าจะอยู่วงศ์ Amaryllidaceae ครับ คุณพี่ Hotacunus
ดูจากชื่อที่มีอยู่ขออนุญาตใช้วิชาเดาชั่นว่าเป็นชื่อที่ 2 จากรายการทั้งหมดครับ
เพราะอันบนมันดอกขาว อันล่างมันดอกเหลือง เหลืออันนี้แหละ ที่ชอยส์ยังไม่ถูกตัด ลากมาเป็นสีชมพูแล้วกัน
(และบัวดินสีชมพูดอกเล็ก หรือ บัวดินสีชมพูอ่อนที่มีความนิยมน้อยกว่าก็อาจจะไม่ได้ถูกรวบรวมชื่อลงไปในหนังสือเล่มนี้ได้ครับ)

ปล.2 โดยส่วนตัวผมติดเรียก "บัวดิน" ว่า "บัวดิน" ครับ
เพราะรู้สึกว่าเรียกบัวสวรรค์แล้วพาลจะสับสนอยู่หลายหน
ชื่อนี้ท่าที่เคยเห็นมามีทั้งพืชขิงข่า ทั้งไม้พุ่ม และไม้กาฝากอย่างที่พี่ Hotacunus อามาลงไว้
(และอาจจะเผลอกลายเป็นชื่อเรียกราคาพรรณไม้อิมปอร์ตอีกหลายชนิดที่พ่อค้าแม่ค้าในสวนจตุจักรเอาเข้ามาขายด้วยครับ เหอๆ)
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 10 ต.ค. 07, 01:44

เข็มม่วงครับ แต่สีชมพู Ascocentrum ampullaceum


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 10 ต.ค. 07, 01:46

อิอิ กระทู้นี้กลายเป็นกระทุ้พฤกษศาสตร์ไปซะแล้ว ลองใหม่ครับ อันนี้สกุลเดียวกับ Golden shower เป็น Oncidium Hybrid
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง