เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 72670 เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:12

ภาพที่ ๗


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:16

ภาพที่ ๘


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:17

ภาพที่ ๙


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:18

ภาพที่ ๑๐


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:18

ภาพที่ ๑๑


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:19

ภาพที่ ๑๒ (สุดท้าย)


บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 11:59

รอมานาน สมใจซะที ขอบคุณคุณ V_Mee ครับ

อ่านพระราชนิพนธ์แล้วดูรูป
สังเกตสายตาของธรรมเทวบุตรกับสารถีใน คห.ที่ ๑๐๔
สังเกตมิติของภาพใน คห.ที่ ๑๐๕
สังเกตการแรสีและแสงเงาในรูป ในคห.ที่ ๑๐๗
สังเกตอากัปกิริยาของคน ในคห.ที่ ๑๐๘
สังเกตทิศทางลม การปลิวของชายผ้าและธงทิว ประกอบท่าทีการเจรจาของเทวบุตรทั้งสองฝ่าย ในคห.ที่ ๑๐๙ และ ๑๑๐
ฯลฯ

แล้วท่านจะได้ตระหนักว่า ปราชญ์ทางศิลปะสองแขนง ทรงจรมาพบกัน ก่อกำเนิดงานศิลปะอันทรงค่าฝากไว้บนแผ่นดินอย่างไร
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 08 พ.ย. 07, 23:00

ขอบคุณด้วยคนครับ
หม่อมหลวงปิ่น ท่านให้พิมพ์จำลองขึ้นใหม่ มีสองขนาด
ไม่ทราบว่าจะพอหาได้อีกบ้างใหมหนอ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 09 พ.ย. 07, 20:02

ต้องลองถามที่หอวชิราวุธานุสรณ์ โทร 02 2823264 หรือ 02 2823419 ดูครับ  ไม่แน่ใจว่ายังเหลืออยู่หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 16 พ.ย. 07, 21:24

พูดถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ข้าราชบริพารในรัชกาลที่ ๖ บันทึกไว้  มีหลายเรื่องเป็นเรื่องขำๆ    ขอเก็บที่เสวกโท  จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์) เล่าไว้ค่ะ

" ในคราวเลี้ยงใหญ่   มหาดเล็กเดินโต๊ะต้องแต่งเต็มยศ  จัดเป็นพิเศษ  เสื้อสักหลาดสีน้ำเงิน แบบอีฟนิ่งเดรส   เชิร์ทอกแข็งคอลาร์บัตเตอร์ไฟล    กางเกงสักหลาดสีขาวรัดเข่า  มีโบเงินและดุมเงิน
ถุงเท้าแพรสีขาว  รองเท้าคาจชูหนังสีดำมัน     มีเข็มขัดเป็นลายดอกไม้ที่หลังเท้า   สวมถุงมือ มีลูกไม้ปลายแขนเสื้อและปกคอ
ติดเหรียญตรา   ตัวเสื้อมีลวดยันต์เงินเต็มไปหมด    สวยกว่าเครื่องเต็มยศธรรมดามาก
เมื่อเสร็จงานแล้ว  พวกเราเห็นเป็นโก้เต็มประดา    ก็แต่งชุดนั้นเดินฉุยฉายไปเที่ยวชมการตกแต่งโคมไฟบริเวณพระบรมมหาราชวัง ออกไปถึงข้างนอกด้วย  เจตนาก็เพื่ออวดแบบเบ่งๆหน่อยๆด้วย

บังเอิญเสด็จพระราชดำเนินผ่านไปเห็นพวกเราเข้า    พอรุ่งขึ้นถูกเรียกตัวเข้าเฝ้า   โปรดเทศนาเสียกัณฑ์เบ้อเร่อ  ใจความสำคัญก็ว่าเครื่องแต่งตัวอย่างนี้   เมืองนอก โฮเต็ลใหญ่ๆมีทั่วไป   และไม่มีใครเขานำออกมาแต่งเดินเล่น 
เขาอายกัน เพราะสำหรับบ๋อยเซิฟโต๊ะเท่านั้น
ก้มกราบถวายบังคมด้วยความหน้าชา    แต่ได้ความรู้ใหม่   รอดตัวไป ที่ไม่ต้องถูกส่งไปอบรมทิมสนมพลเรือน"
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 16 พ.ย. 07, 22:18

แต่ได้ความรู้ใหม่   รอดตัวไป ที่ไม่ต้องถูกส่งไปอบรมทิมสนมพลเรือน"

ขออนุญาตขยายความครับ  "ถูกส่งไปอบรมทิมสนมพลเรือน" นั้นก็คือ ส่งไปขังไว้ที่คุกสำหรับข้าราชการในพระราชสำนัก  อยู่ที่ทิมหรือกองรักษาการณ์กรมสนมพลเรือนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 26 พ.ย. 07, 20:48

....จนวันรุ่งขึ้น ๒๕ พฤศจิกายน เมื่อเห็นว่าพระอาการก็ยิ่งทรุดลงเกินกว่าจะประคับประคองไว้ได้อีก    จนในที่สุดเจ้าคุณอัศวินฯ หรือ “หมอปัวส์” หันไปขอปรึกษาคณะแพทย์ เจ้าพระยายมราชและเจ้าพระยาธรรมาฯ    เพื่อหารือว่าควรจะนำพระราชธิดามาให้ทอดพระเนตร เพื่อความโสมนัสเป็นครั้งสุดท้าย   ทุกคนก็ตกลงเห็นชอบด้วย

นายแพทย์จึงเข้าไปกราบบังคมทูลข้างพระกรรณว่า “Your Majesty, do you want to see your baby?”

ในตอนนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงอ่อนเพลียเต็มทีแล้ว    แต่ก็ยังทรงได้ยิน  มีพระราชดำรัสตอบอย่างแผ่วเบาว่า
“Yes, sure”

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ จึงอุ้มเจ้าฟ้าแรกประสูติมาถึงห้องบรรทม    แล้วส่งให้เจ้าพระยารามฯ  เชิญเสด็จพระราชธิดาเข้าไปถวายถึงพระที่

พระเจ้าอยู่หัวทรงอ่อนพระกำลังลงเต็มทีแล้ว   พยายามจะยกพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสเจ้าฟ้า   แต่ทรงยกไม่ขึ้น   เจ้าพระยารามฯ จึงเชิญพระหัตถ์วางบนพระอุระพระราชธิดา
   
พระกิริยาในขณะนั้นเต็มไปด้วยความโสมนัสและโทมนัสระคนกันสุดซึ้ง   พระเนตรคลอพระอัสสุชล   ทรงถอนพระอัสสาสะยาวนาน ทำเอาผู้เฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นทั้งแพทย์พยาบาลและมหาดเล็ก ต่างพากันลำคอตีบตันน้ำตาแทบจะไหลไปตามๆ กัน

พอเจ้าพระยารามราฆพจะเชิญเสด็จพระราชธิดากลับ    พระเจ้าอยู่หัวทรงยกพระหัตถ์ซึ่งอ่อนแรงเต็มทีเป็นสัญญาณให้นำเสด็จกลับมาอีกครั้ง    ท่านก็เลยเชิญกลับมาให้ทอดพระเนตรพระราชธิดาอีกครั้ง  เป็นครั้งที่สองและครั้งสุดท้าย

หลังจากนั้นก็บรรทมหลับ นิ่ง และลึกลงทุกที ท่ามกลางคณะแพทย์หลวง และข้าราชบริพารที่เฝ้าพระอาการอยู่ไม่คลาดสายตา

***********************

กลางดึก ประมาณใกล้ตีสอง คืนวันพุธที่ ๒๕ พฤศจิกายน   พ.ศ. ๒๔๖๘ ย่างเข้าสู่วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ในความเงียบเชียบและมืดสลัวของพระที่นั่ง มีแต่แสงไฟอยู่เพียงมัวๆ ห่างกัน  ขุนนางใหญ่น้อยในราชสำนักพากันเฝ้าอยู่ข้างหน้าตามหน้าที่  จู่ๆ ก็ลุกฮือกันขึ้นมาด้วยความตกใจ  เมื่อเห็นแสงสว่างประหลาดส่องสะท้อนจับหลังคาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ราวกับเกิดไฟไหม้ขึ้นมา

ปรากฏว่าเป็นดาวตก ดวงโตเท่าลูกมะพร้าว   พุ่งจากท้องฟ้า  แดงสว่างจนสะท้อนจับหลังคามุงกระเบื้องเคลือบเป็นแสงจ้า    ขุนนางบางคนถึงกับวิ่งถลันออกมาถึงประตูย่ำค่ำ เพราะนึกว่าเกิดเหตุร้ายขึ้น

หลังจากนั้น  หลังเวลา ๑.๔๕ น.เพียงอึดใจ   เสียงร้องไห้ก็เริ่มระงมขึ้นทีละน้อย จากห้องที่ประทับ แผ่ซ่านออกมาสู่ภายนอก   เหมือนสายลมแห่งความโทมนัสพัดผ่านไปตามส่วนต่างๆ ของพระที่นั่ง

ไม่ว่าจะผ่านไปทางไหน เสียงร้องไห้คร่ำครวญก็ระงมขึ้นมา   กังวานก้องไกลอย่างที่ไม่เคยมีใครได้ยินมาก่อน

เทียนไขถูกจุดขึ้นสว่างเรืองขึ้นตามพระบัญชร       ในความมืดสลัวและเย็นยะเยียบของฤดูหนาว   เสียงแห่งความโศกศัลย์อาลัยยังคงแว่วให้ได้ยินกันอีกยาวนาน....

(ดวงแก้วแห่งพระมงกุฎเกล้า บทที่ ๑ ตอนที่ ๖ ร่มโพธิ์รอน)
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 27 พ.ย. 07, 09:46


       ได้อ่านนสพ. เนชั่น ส่วนไลฟ์สไตล์ ของวันที่ ๑๘ พ.ย. ๕๐  Ties that bind กล่าวถึงความสัมพันธ์อันยาวนาน
ระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่น

        http://www.nationmultimedia.com/2007/11/18/lifestyle/lifestyle_30056378.php

       ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งเสด็จญี่ปุ่นหลังทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ
ทรงประทับอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานกว่า ๑ เดือน

         In December 1902, HRH Crown Prince Vajiravudh (later King Rama VI) visited Japan on his way back
to Siam after spending nine years studying in England. The Crown Prince spent more than a month in Japan
and was seen to be enjoying the culture.

       A photograph showing a mysterious woman in his bedroom led to rumours in the Siam royal court
of a love affair with a Japanese princess.

       Phraya Padipatphubal, who was assigned by King Chulalongkorn to accompany the Crown Prince in Japan,
apparently reported that Japan's palace affairs minister had told him the emperor would like the Crown Prince
to marry one of his three daughters.

       The three princesses were scheduled to visit a royal park and the emperor invited the Siamese prince
to choose one to be his wife.

        Phraya Padipat-phubal also wrote that the Crown Prince had refused to see the Japanese princesses,
adding that the Prince was afraid that if he were to marry a princess and a family conflict were to later arise,
her father would send warships to attack Siam.

        Charnvit [ historian Charnvit Kasetsiri of the Social Sciences and Humanities Textbooks Foundation ]
is not convinced by this story, explaining that the Japanese emperor would not have wanted his daughter
to marry the prince.

         "At the time, the Japanese regarded Siam as a second-class country," he insists.

         It later transpired that the mystery woman in the photograph was the Crown Prince himself clad in a kimono,
the traditional costume worn by Japanese women of the day.

         Other monarchs of Siam also pictured attired in Japanese traditional costume were King Prajadhipok and
his queen Rambhai Barni during their royal visit in April 1931.
 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 28 พ.ย. 07, 11:31

ขอบคุณคุณ V_Mee ที่มาขยายความให้เป็นวิทยาทานค่ะ
คุณ Sila  พระรูปนี้หายากมากค่ะ   น่าเสียดาย น่าจะมีขนาดขยายใหญ่กว่านี้   จะได้เห็นชัดๆ

พระราชนิพนธ์ โคลงโลกนิติจำแลง  ทรงดัดแปลงจากโคลงโลกนิติของเดิม มาเปลี่ยนตอนท้ายให้เป็นเรื่องขำขัน ยั่วล้อความเป็นไปในยุคสมัยนั้นบ้าง   เหน็บแนมทีเล่นทีจริงบ้าง
ขอยกมาเพียงบางบทค่ะ

กบเกิดในสระใต้           บัวบาน
ฤๅห่อนรู้รสมาลย์          หนึ่งน้อย
นั่นคือกบโบราณ          จึ่งโง่ ฉะนั้นแล
กบใหม่มันช่างผล้อย     พูดโอ้ปราชญ์งัน
(ผล้อย = พล่อย)

คบกากาโหดให้           เสียพงศ์
คบนกดีกว่าคง             สนุกด้วย
ข้าวต้มราชวงศ์            กินอิ่ม
แล้วจึ่งพากันย้วย         ยาตร์เข้าเคหา
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 30 พ.ย. 07, 10:09


        ลมหนาวพัดแรงทำให้นึกถึงบท   สักระวาน่าหนาว   โดย  ศรีอยุธยา
เลือกมา ๒ บทครับ

                                 บทที่ ๑ 

       สักระวาน่าหนาวชาวสยาม         ค่อยมีความปรีดิ์เปรมเกษมสันต์
ฤดูร้อนอ่อนแท้แพ้แรงครัน              ยามเหมันต์แรงทวีฤดีสบาย
พิศนภางค์เห็นสว่างกระจ่างแจ่ม        แสนอะแร่มเรืองอร่ามยามเดือนหงาย
ลมระรวยอวยกลิ่นผกากราย            แสนสบายทั่วหน้าประชา เอย

                                 บทที่ ๓

       สักระวาโบราณท่านย่อมว่า         แม้หนาวลมห่มผ้าก็อุ่นได้
หนาวน้ำฟ้าท่านว่าจงผิงไฟ                หนาวอารมณ์ห่มอะไรจึ่งจะวาย
หนาวอารมณ์โอ้ระทมระทดจิต           ไร้มิ่งมิตร์พิสวาทอันมาตร์หมาย
หนาวตลอดทรวงร้าวหนาวทั้งกาย        หนาวแทบวายชีวิตปลิดไป เอย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.341 วินาที กับ 20 คำสั่ง