เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 72539 เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 16:54

ขอเล่าเกร็ดอีกเรื่อง  คราวนี้เรื่องผี  คงจะมีคนในเว็บรู้จักเรื่องนี้กันบ้างแล้วนะคะ  เพราะเป็นเรื่องแพร่หลาย ตีพิมพ์ลงในหนังสือวชิราวุธานุสรณ์ แต่ที่เล่านี่   เผื่อคนที่ยังไม่รู้

เป็นเหตุการณ์ตอนปลายรัชกาล   วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘    พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ สิ้นพระชนม์   
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานน้ำสรงพระศพ  ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ ณ พระที่นั่งอุดร ซึ่งมีเฉลียงทั้งบนและล่าง เชื่อมต่อกับพระที่นั่งอัมพรสถาน 
มีอัฒจันทร์(บันได)หินอ่อนทอดลงไปที่ถนนสำหรับรถยนต์พระที่นั่งเข้าเทียบ
หากมีพระราชประสงค์จะเสด็จขึ้นลงจากตรงนั้นก็ทรงทำได้
แต่ปกติแล้วรถจะเทียบหน้าพระที่นั่งอัมพรสถาน   บรรดาราชองครักษ์และมหาดเล็กตามเสด็จก็จะไปรอรับเสด็จที่พระที่นั่งอัมพรสถาน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 17:04

วันนั้น พระเจ้าอยู่หัวเสด็จจากพระที่นั่งอุดร ตรงไปที่พระที่นั่งอัมพรสถานเพื่อจะประทับรถพระที่นั่งจากตรงนั้น
ระหว่างเสด็จมาตามลำพังพระองค์เดียว เพราะผู้คนไปรอที่อัฒจันทร์ด้านพระที่นั่งอัมพรกันหมด   พอเลี้ยวจากอัฒจันทร์ชั้นบนจะลงมาที่ชั้นล่าง  ก็ทอดพระเนตรเห็นนายพันโทจมื่น ฤทธิ์รณจักร (กรับ โฆษะโยธิน)  ผู้บังคับการทหารรักษาวัง และราชองครักษ์เวร  มายืนเฝ้าถวายการเคารพอยู่ริมถนนเชิงอัฒจันทร์
พระเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านไป ทรงรับความเคารพ ด้วยความแปลกพระทัยที่องครักษ์เวรมายืนเฝ้าอยู่ตรงนี้ตามลำพัง แทนที่จะไปรอเฝ้าที่หน้าพระที่นั่งอัมพรอย่างที่ควรทำ
แต่ก็ทรงนึกว่า หรือราชองครักษ์จะรอเฝ้าเพราะมีเรื่องกราบบังคมทูลเป็นส่วนตัว    แต่ท่าทีเขาก็ไม่เห็นจะถวายหนังสือหรือมีเรื่องกราบบังคมทูล
และที่แปลกพระทัยอีกอย่างคือ แทนที่จะแต่งเต็มยศขาวตามหมายกำหนดการ  จมื่นฤทธิ์ฯกลับแต่งเต็มยศใหญ่
จะทรงทักว่าแต่งผิด ก็เกรงว่าจมื่นฤทธิ์ฯจะตกใจ   จึงเสด็จผ่านไปเฉยๆ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 17:08

จนกระทั่งเสด็จกลับจากงานพระศพ  กลับมาที่พระที่นั่งอุดร   ทรงลืมเรื่องของจมื่นฤทธิ์ฯไปแล้ว
ทอดพระเนตรเห็นพานดอกไม้ธูปเทียนกราบถวายบังคมทูลลาตาย วางอยู่

เป็นระเบียบของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนข้าราชสำนัก จะต้องมีญาติพี่น้องทำหนังสือกราบบังคมทูลในนามผู้ตาย ถวายบังคมลาตายส่งไปที่กระทรวงวัง พร้อมดอกไม้ธูปเทียนใส่พานไปด้วย
เจ้าหน้าที่กระทรวงวังจะได้นำพานและหนังสือ ทูลเกล้าฯถวาย เพื่อทราบใต้ฝ่าละอองฯ
หลังจากนั้นสำนักพระราชวังก็จะจัดน้ำหลวงอาบศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศส่งไปให้ผู้ถึงแก่กรรม

หนังสือลาตายที่ทรงเปิดทอดพระเนตร  เป็นหนังสือลาตายของนายพันโท จมื่นฤทธิ์รณจักรนั่นเอง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็ทรงระลึกได้ทันทีว่า บ่ายนี้ที่จมื่นฤทธิ์ฯมาเฝ้าในเครื่องแต่งกายเต็มยศใหญ่   ก็คงเป็นเพราะประสงค์จะมาถวายบังคมลาตายด้วยตัวเองนั่นเอง

เรื่องนี้ ทรงเล่าให้ข้าราชสำนักฟัง รวมทั้งพระยาบำรุงราชบริพาร ซึ่งนำเรื่องมาบันทึกลงไว้ในหนังสือในภายหลังค่ะ




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 23 ต.ค. 07, 09:02

มาดึงกระทู้ไว้ไม่ให้ตก

"The Screech Owl" เป็นชื่อหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เล่มแรก ที่ออกโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ศึกษาอยู่ที่อังกฤษ
เป็นหนังสือรายสัปดาห์  มีเกร็ดเรื่องเล็กๆน้อยๆ สำหรับเยาวชน  พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ  ไม่ได้ขาย แต่แจกจ่ายอ่านฟรีในหมู่คนข้าราชบริพาร
เรื่องราวที่ลงพิมพ์เป็นพระราชนิพนธ์ทั้งหมด

ต่อมาทรงออกหนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่งชื่อ The Looker-on  เป็นหนังสือพิมพ์ประจำสมาคมนักเรียนไทยที่อังกฤษ ที่ทรงจัดตั้งขึ้น
พระราชทานนามสมาคมว่า "สามัคคีสมาคม"   ส่วนหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็เป็นที่มาของ "สามัคคีสาร" ในเวลาต่อมา
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 23 ต.ค. 07, 09:18

พูดถึง "สามัคคีสมาคม" ก็ต้องเอ่ยว่านี่คือสมาคมคนไทยในต่างประเทศสมาคมแรกครับ สมาคมไทยทั้งหลายที่บรรดาชาวไทยในต่างแดนทั้งหลายที่สรวลเสเฮฮามาร่วมกิจกรรมกันอยู่ ล้วนมีวิวัฒนาการมาจากรากฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อไว้ทั้งสิ้น

นักเรียนไทยในยุโรปยุคนั้นมีอาการหลายจำพวกครับ จำพวก Homesick คิดถึงบ้าน ง้องแง้งงอแงแบบเด็กอ่อนแอก็มี จำพวกลืมกำพืด ทำตัวเป็นฝรั่งจ๋า ไม่สนใจความเป็นไทยเลยก็มี จำพวกต่างคนต่างอยู่ ก้มหน้าก้มตาเรียนอย่างเดียว ไม่มีเพื่อนไม่มีฝูง ไม่เสวนากับใครเลยก็มี ไม่ต่างอะไรจากนักเรียนไทยในต่างแดนสมัยนี้หรอกครับ

วิธีทำให้บรรดานักเรียนไทยเหล่านั้นหายเหงา ไม่ลืมความเป็นไทย รู้จักสมานสามัคคี เห็นจะไม่มีทางใดดีไปกว่ารวบรวมเข้ามาเป็นสมาคม

"สามัคคีสมาคม" จึงถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๔๔

 ถ้าจะบอกว่าสมาคมนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของแนวพระราชดำริเรื่องประชาธิปไตย ของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ก็คงจะไม่ผิดนัก ลองดูวิธีบริหารสิครับ

ตั้งแต่แรกเลยคือให้จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการอำนวยการให้เปลี่ยนกันเข้ามาบริหารงาน ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกอื่นมีโอกาสเข้ามารับผิดชอบสมาคม อันเป็นการฝึกคนจำนวนมากให้มีทักษะในการทำงานเพื่อส่วนรวม และเป็นการฝึกหัดการบริหารงานไปในตัว ที่เป็นประชาธิปไตยไฉไลขึ้นไปอีกก็ได้แก่การที่กรรมการทุกตำแหน่ง ได้แก่ สภานายก อุปนายก เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ นายทะเบียน ปฏิคม สนทนากรรมการ เกฬากรรมการ บันเทิงกรรมการ บรรณาธิการสามัคคีสาร และบรรณารักษ์ นั้นให้สมาชิกเลือกตั้งโดยตรง มิใช่กำหนดตำแหน่งแต่งตั้งกันเองภายหลัง ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะทรงทดลองประชาธิปไตย และศิลปะในการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย ภายในขอบเขตของสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรขนาดเล็ก

พอมาอยู่ด้วยกันแล้ว ก็ต้องมีการประชุมประจำปีเรียกกว่า “มีตติ้ง” ในลักษณะผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกกับวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ นอกจากประชุมเรื่องกิจการของสมาคมแล้ว ยังมีการพบปะสังสรรค์กัน เป็นกิจกรรมต่อเนื่องหลายวัน สำหรับกิจกรรมต่างๆ นั้น ได้แก่ การแข่งขันกีฬา การเล่นดนตรี การเสวนาทางวิชาการ การโต้วาที ตลอดจนร่วมรับประทานอาหารและพำนักในสถานที่เดียวกัน เพื่อกระชับไมตรีในหมู่สมาชิก

มีการออก "สามัคคีสาร" แลกเปลี่ยนความรู้ ข่าวสาร และความคิดเห็นในหมู่คนไทยในยุโรป

กิจการของสามัคคีสมาคมเฟื่องฟูมากในยุครัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ครับ ยิ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี, สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ, พระนางเจ้าสุวัทนาฯ และเจ้านายอีกหลายพระองค์ เสด็จนิราศไปประทับที่อังกฤษ สามัคคีสมาคม ยิ่งเป็นปึกแผ่นมาก เพราะแต่ละงานก็มีเจ้านายเสด็จมาทรงร่วม เป็นกำลังใจ เป็นศูนย์รวมความภักดี

สมาชิกสมาคมนี้แหละครับ ที่รวมตัวกันเป็น "ขบวนการเสรีไทย" สายอังกฤษ ที่ทำให้ไทยรอดพ้นจากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ ๒
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 25 ต.ค. 07, 19:21

ข้อที่สะดุดตาสะดุดใจข้าพเจ้า ในเรื่องกบฎ ร.ศ. ๑๓๐ อีกอย่างหนึ่ง  คือมีผู้ตำหนิพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในเรื่องยศและตำแหน่งหน้าที่ของเสือป่า
โดยกล่าวว่า ผู้น้อยกลับได้รับแต่งตั้งให้มีตำแหน่งสูงทางเสือป่า   ชักตัวอย่างว่า  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเชี่ยวชาญวิชาการทหาร  กลับได้ทรงรับยศเสือป่า เป็นเพียงนายกองเท่านั้น
ข้าพเจ้าขอยืนยันจากประสบการณ์จริงๆว่า  "ทูลกระหม่อมพระองค์เล็ก" ไม่เคยเสด็จเข้ากรมกองอะไรเลย  ทรงได้รับยศแบบกิตติมศักดิ์เท่านั้น

ส่วนผู้อื่นที่เป็นผู้ใหญ่   กลับได้รับยศต่ำกว่าผู้น้อยนั้นมีจริง   แต่นั้นแหละ   ข้าพเจ้าจะปัญญาอ่อนไปอย่างไรก็ไม่ทราบ    ข้าพเจ้ากลับคิดว่า นั่นพระองค์ทรงทดลองประชาธิปไตยอีกแล้ว
คือทรงฝึกให้คนเห็นหน้าที่สำคัญกว่าบุคคล   และ ณ บัดนี้  เราก็เห็นกันอยู่แล้ว  ผู้น้อยระดับศึกษาธิการจังหวัดได้เป็นรัฐมนตรี  มีตำแหน่งหน้าที่เหนือปลัดกระทรวง  และอธิบดีก็มี

ถ้าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จกลับมายังประเทศสยามของพระองค์ได้ในวันนี้   อาจมีพระราชดำรัสว่า 
"ข้าฝึกไว้แล้ว   แต่มีเวลาฝึกน้อยไป  บ้านเมืองสยามจึงได้ยุ่งอยู่อย่างนี้"

จากหนังสือ "รำลึกถึงพระผู้"    ของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ปิ่ยมาลากุลวรานุสรณ์  ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 04 พ.ย. 07, 23:16

http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y2572255/Y2572255.html
มีรูปภาพประกอบ ธรรมาธรรมะสงคราม ครับ แต่เป็นจิตรกรรมฝาผนังบนวิหารวัดครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 05 พ.ย. 07, 13:26

รูปที่นำลงประกอบในลิ้งค์นั้น เจ้าของกระทู้ไปเก็บมาจากหลายที่ครับ
ส่วนมากมาจากพระระเบียงคตวัดพระแก้ว

ทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับพระราชนิพนธ์เลย
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 06 พ.ย. 07, 11:57

ขออภัยอย่างสูงครับ ที่ไม่ได้ตรวจทานให้ดีก่อน
ผมลองหาโดยใช้ google แล้ว ก็ไม่เห็นมีภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม นอกเหนือจากในกระทู้นี้ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:02

ภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่อง ธรรมาธรรมะสงคราม เป็นฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ภาพที่ ๑


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:08

ภาพที่ ๒


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:09

ภาพที่ ๓


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:10

ภาพที่ ๔


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:11

ภาพที่ ๕


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 07 พ.ย. 07, 07:11

ภาพที่ ๖


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 20 คำสั่ง