กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 07 ต.ค. 07, 13:58
|
|
ชอบมากค่ะ คุณUP ที่นำพระราชดำรัสมาลง..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 07 ต.ค. 07, 15:07
|
|
ดิฉันอ่านความเห็นทุกท่านแล้วนึกถึงพระราชดำรัสของพระองค์ที่เคยเรียนในวิชาภาษาไทย ทรงเปรียบเทียบแรง ๆ ในเรื่องฝรั่งมองเรา เหมือนการที่เราเอ็นดูสุนัข ถึงสุนัขจะทำท่านั่ง ท่าไหว้เลียนแบบคนได้เป็นที่น่าเอ็นดูอย่างไร เราก็คงไม่ยกสุนัขขึ้นมาเป็นคนเสมอกัน ดังนั้นการที่เราจะทำได้เช่นฝรั่งอย่างไร ฝรั่งก็คงไม่ยกย่องเราเท่าฝรั่งก็ฉันนั้น ดิฉันจำใจความได้เท่านี้แหละค่ะ แต่จำได้ฝังใจทีเดียว แล้วก็จำได้เรื่องที่ทรงใช้มหาดเล็กไปดูสุนัขคลอดลูก ที่มหาดเล็กต้องวิ่งไปดูอยู่หลายรอบ เป็นอุบายการสอนคนได้ฝังใจเช่นกัน
นอกจากนี้ เรื่อง "ดุสิตธานี" เมืองจำลองการปกครองแบบประชาธิปไตย เรื่องการที่พระองค์ทรงใช้นามปากกาเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ทุกคนวิพากษ์วิจารณ์ได้โดยไม่ต้องเกรงพระราชอาญา เรื่องเช่นนี้ดิฉันไม่ได้ยินใครพูดถึง ไม่มีให้อ่านนานแล้วนะคะ รบกวนท่านผู้รู้อรรถาธิบายไว้ในกระทู้นี้เพื่อเป็นการเผยแพร่อีกทางหนึ่งเถอะค่ะ
ส่วนเรื่องใต้โต๊ะ เรื่องที่เป็นข้อมูลแบบลับเฉพาะคล้ายว่าผู้เล่าจะเป็นบุคคลพิเศษที่ได้รู้ลึกเหนือใคร ก็ย่อมเป็นที่สนใจของผู้ฟัง และสมใจผู้เล่า เช่นนี้แหละค่ะ ทุกวันนี้ก็ยังเป็นที่นิยมไม่เสื่อมคลายนะคะ คุณpipatเห็นทีจะได้รำคาญตลอดไปแน่นอนค่ะ อันนี้ดิฉันกล้ายืนยัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 07 ต.ค. 07, 15:37
|
|
ผมคิดว่า ทรงมีพลังจินตนาการที่เกินปกติชนไปมากๆๆๆๆๆๆๆ คนที่มีอัจฉริยภาพและมีพรสวรรค์ คือคนที่ไม่ได้มีแค่พลังจินตนาการสูงเหนือคนทั่วไปมากๆ เท่านั้น แต่สามารถแปรจินตนาการออกมาเป็นชิ้นงาน หรือเป็นโครงการที่มีคุณค่าต่อสังคมด้วยค่ะ ส่วนเรื่องใต้โต๊ะเสวย หรือเกร็ดสิ่งละอันพันละน้อย ก็เป็นเรื่องเอกซคลูสีฟที่กล่าวขวัญถึงด้วยความรู้สึกในทางบวก แทรกมาบ้างในพระราชกรณียกิจ ซึ่งมักจะบรรยายกันอย่างเคร่งขรึมเป็นงานเป็นการ มีอะไรเล็กๆน้อยๆคั่นบ้าง ก็เป็นรสเป็นชาติ มายกมือสนับสนุนคุณ pakunค่ะ เห็นจะต้องยอมให้คุณพิพัฒน์รำคาญไปอีกนาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 07 ต.ค. 07, 16:00
|
|
ความรำคาญของผม ไม่ได้ทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปได้อยู่แล้ว แต่อาจจะทำให้คนที่พลอยรำคาญตามบ้าง หันมาแก้รำคาญด้วยการ"อ่าน" พระราโชบายที่ล้ำสมัย เหมาะแก่ประเทศน่ารำคาญที่คนขี้รำคาญอย่างผม มาสร้างความรำคาญแก่ท่านผู้ทนความรำคาญสูง นามว่าสยามประเทศเศษสวรรค์นั่นประลัย
น่าประหลาดที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น ท่านมองทะลุเปลือกของยุโรปแล้วพยายามทำให้คนไทย ไม่หลงเปลือกนั้น อนิจจาที่ทรงทำไม่สำเร็จ แต่ที่ทรงทำไปนั้น ก็สร้างประโยชน์ล่วงหน้าไว้ไม่รู้จักเท่าไร แปลกตรงที่คนฉลาดๆ ไม่ยักรู้ เมื่อหลายวันก่อน ได้อ่านทรากเอกสาร เกี่ยวกับการวิจารณ์วรรณกรรมแบบหลังอาณานิคม (แปลว่าไรก้อม่ายรุ....) คนเขียนพูดโน่นพูดนี่ไปหลายกระบวนท่า แต่พอวกมาประเทศไทย ท่านลืมพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 ไปซะงั้น ทั้งที่ทรงเป็นบุคคลแรกๆ ที่สร้างปฏิภาคแห่งอารยธรรมตะวันตกไว้ในภาษาไทย ทั้งโดยการต่อต้าน การดัดแปลง ไปจนถึงการปรับเข้าสู่ความเป็นไทย มิได้สุดโต่งไปทางเดียวอย่างคนสิ้นคิดอื่นๆ
จำได้ว่าศาสตราจารย์เวลล่า เขียนเรื่องนโยบายชาตินิยมของพระองค์ไว้ในหนังสือชื่อ "ไชโย" ผมไม่เคยอ่านตัวจริง ทราบแต่บทสรุป ทำนองว่าทรงทำไม่สำเร็จ ที่จะปลูกฝังอุดมการณ์นี้แก่ประชาชนของพระองค์
ท่านผู้ใดจะมีเมตตาเล่าให้ฟังสักหน่อยได้บ่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 07 ต.ค. 07, 17:12
|
|
วรรณกรรมแบบหลังอาณานิคม แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Postcolonial literature หรือบางทีก็สะกดแบบนี้ค่ะ Post-colonial literature เมืองไทยไม่มี เพราะเราไม่เคยเป็นอาณานิคมของใคร จุดมุ่งหมายของการวิจารณ์วรรณกรรมแบบนี้ก็เพื่อสำรวจว่าในประเทศที่เคยเป็นอาณานิคม กวีและนักเขียนมีอุดมการณ์ที่จะปลดแอกตัวเองให้พ้นจากการครอบงำของประเทศมหาอำนาจยังไง ผ่านทางงานสร้างสรรค์ ในที่สุดหลังจากดิ้นรนจนต้องแลกด้วยเลือดเนื้อและชีวิต ก็ได้อิสรภาพมา วรรณกรรมที่แสดงออกถึงความกดดัน การแสวงหาตัวตนของตัวเอง การปลอดพ้นจากการครอบงำทางวัฒนธรรมนั่นแหละเป็นสิ่งที่มีค่าควรศึกษา จึงจัดขึ้นมาเป็น Postcolonial literature ไทยเราไม่มีประวัติในการต่อสู้เชิงปลดแอกแบบนั้นมาก่อน จนทุกวันนี้คนไทยก็ยังไม่เดือดร้อนอะไรที่มีกระแสวัฒนธรรมอื่นไหลท่วมเราอยู่ไปมาเป็นประจำ ตั้งแต่สมัยทวดมาจนถึงเหลน ครั้งหนึ่งเมื่อร้อยปีก่อน เราเคยสนุกกับ"ความพยาบาท" ของมารี คอเรลลี่ยังไง ทุกวันนี้เราก็สนุกกับแดจังกึมคล้ายๆกันยังงั้น เพราะรู้ว่าจะชอบหรือไม่ชอบอะไร คนไทยก็เป็นคนไทย
แต่ถ้าจะเอา Postcolonial literature มาศึกษาให้ได้ เห็นจะต้องมองในแง่ที่กว้างและเบลอกว่านั้นคือมองว่ามีความพยายามจะ"ปลดแอก" อะไรในวรรณกรรมไทยบ้าง อย่างหนึ่งที่นึกได้คือวรรณกรรมเพื่อชีวิตเมื่อเกือบสี่สิบปีก่อน พยายามปลดแอกศักดินาของไทยเรา แต่ก็ไม่ได้ขัดข้องที่จะเดินไปตามทาง"สังคมนิยม" ซึ่งก่อกำเนิดมาจากรัสเซียและแพร่มาถึงจีน ไม่ใช่ของไทยแต่ดั้งเดิมอยู่ดี
ถ้าพูดถึงความพยายามจะปลดแอกจริงๆแล้ว พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖หลายเรื่อง เช่นลัทธิเอาอย่าง ก็พูดเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา ทรงเห็นภัยการเลียนแบบฝรั่งจนไม่ภูมิใจในความเป็นไทย ว่าจะมีผละเสียอย่างกว้างขวางหลายอย่างต่อคนไทย ไม่ต้องอาศัยอาจารย์เวลล่ามาบอก พวกเราก็บอกเองได้ค่ะ ว่าคนไทยจนทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้ดำเนินรอยตามพระบรมราโชวาทกันเลย รัฐบาลจอมพลป. พยายามในช่วงสั้นๆยุควัธนธัม ออกมาในรูปของชาตินิยมอย่างตกขอบ แต่เมื่อคนไทยไม่ได้คล้อยตาม นอกจากทำตามระเบียบเพราะถูกบังคับ พอหมดชุดรัฐบาล นโยบายเรื่องนี้ก็หมดไปด้วยกัน
๑)ขออภัย ออกนอกเรื่องไปเยอะ ๒)ดิฉันกับคุณ pakun(สงสัยว่าคำนี้ออกเสียงไทยว่าอะไร ป้ากุน?) หลุดคำว่ารำคาญออกมาคำเดียว คุณพิพัฒน์กระหน่ำกำนัลมาให้เสียนับไม่ถ้วน กลัวแล้วค่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 07 ต.ค. 07, 17:37
|
|
เรื่องความอยากรู้อยากเห็นของชาวบ้าน (หรือเรื่องความรำคาญของ คุณpipat) เป็นเหมือนเชื้อไฟน้อยๆ คอยเติมลงในสมองของคนที่ไม่เคยสนใจในตัวบทของประวัติศาสตร์ แล้วดึงเขาเข้ามาสู่ตัวบทนะครับ (ดีกว่าปล่อยให้คนพวกนั้นกลายเป็น นั่งกินขนมขบเคี้ยว ดื่มน้ำหวาน ดูซีรีส์น้ำเน่าอยู่บ้าน..... แล้วกลายเป็น "มนุย์หัวมัน" เป็นไหนๆครับ)
เลยขอมายกมือสนับสนุนคุณ pakund (แบบช้าไปหน่อย) อีกคน ว่าผมก็ยังเห็นดีกับเรื่องแบบนี้อยู่ ถึงบางทีจะรู้สึก "เอือม" กับความไม่จริงที่ผู้กล่าวอ้างหลายคนใส่สีตีไข่ลงไปในเรื่องจำพวก "เรื่องน่ารำคาญ" ของ คุณpipat บ้างเป็นครั้งคราวครับ แหะๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หนอนบุ้ง
อสุรผัด

ตอบ: 113
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 07 ต.ค. 07, 19:28
|
|
"ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้ ข้าอยากได้ยุวชนที่เป็นสุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์สุจริต มีอุปนิสัยใจคอดี
“I do not want a walking school book. What I want are just mainly young men, honest, truthful, and clean in habits and thoughts.”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หนอนบุ้ง
อสุรผัด

ตอบ: 113
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 07 ต.ค. 07, 19:51
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 07 ต.ค. 07, 21:00
|
|
สยามประเทศ เศษสวรรค์ นั่นประลัย นานเท่าไหร่ จักมองเห็น เป็นรำคาญ นานเท่าที่ หลากเผ่าพันธ์ หลากสันดาน ใจสำราญ จักมองเห็น เช่นนั้นเอง
กลอนพาไปค่ะ กำลังอยากไปแจมกระทู้คุณจิตแผ้วอยู่พอดีเชียว
ป้ากุนใช่เลยค่ะคุณเทาชมพู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 08 ต.ค. 07, 11:19
|
|
มุดอยู่ใต้โต๊ะยังหลบไม่พ้นกระสุนกราดมาจากคุณพพ. สงสัยต้องแปลงเป็น ขอมดำดิน ในตำนาน
พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ผู้มีน่าที่เปนผู้ช่วยข้าพเจ้าในแพนกค้นพงษาวดาร และตำนานต่างๆ ได้เปนผู้ทรงปรารภขึ้นว่า เรื่องในพงษาวดารเหนือมีดีๆ อยู่ แต่มีที่เสียสำคัญอยู่ที่ตรงว่า จะเชื่อถือเอาเปนจริงแท้ไม่ได้เสียโดยมาก เพราะผู้แต่งพงษาวดารเหนือมักชอบเก็บแต่เรื่องแสดงอิทธิปาฏิหาร เสียเปนพื้น ข้าพเจ้าได้เปนผู้กล่าวขึ้นว่า เรื่องทั้งปวงในพงษาวดารเหนือ เชื่อว่ามีความจริงเปนเค้ามูลอยู่ทุกเรื่อง ... กรมพระดำรงทรงเลือกเรื่องขอมดำดินมาให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้แต่งเปนคำสันนิษฐานขึ้นตามแบบ นักเลงโบราณคดี...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 08 ต.ค. 07, 13:14
|
|
ขอบคุณป้ากุนครับ ทำเอาผมต้องเจียมถ้อยคำลงได้ชะงัด
อยากให้สังเกตต่อด้วยว่า พระองค์น่าจะเป็นคนแรกๆ ที่สนใจญี่ปุ่น ทั้งในระดับสยามประเทศหรือระดับโลกาภิวัฒน์ จึงทรง"เลือก" ที่จะเยือนประเทศนี้ อันเป็นเรื่องน่าสนใจนัก ว่าทรงเห็นอะไร ในประเทศที่ใครๆ ก็ดูแคลนแห่งนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 08 ต.ค. 07, 13:59
|
|
ขอบคุณ คุณเทาชมพู ที่เมตตาแยกกระทู้ มาเป็นเกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๖
ชอบอ่านเรื่องเกร็ดประวัติศาสตร์ แทบทุกตอนก็จะตามหาอ่านรายละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติม บางตอนก็ตกตะลึงพรึงเพริดในรายละเอียดอันหาอ่านไม่ได้ง่ายๆ เช่นเรื่อง พระอภัยมณีตอนสมบูรณ์ ที่สุนทรภู่แต่งนิดๆ บางตอนข้อมูลเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่นเรื่องโครงกระดูกในตู้ นั้น อ่านแล้วก็งงงันไปในความสนุกสนานและความรู้ที่ท่านผู้ใหญ่บันทึกไว้ ต่อมาเมื่อมีการโต้แย้งข้อมูลบางเรื่อง ก็ยิ่งเป็นเรื่องรื่นเริงบันเทิงใจ ได้เรียนรู้ว่า การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมนั้น เป็นเรื่องประเทืองปัญญา อ่านประวัติศาสตร์เข้าใจขึ้นเป็นอันมาก
ขอคัดย่อความบางตอน จาก หนังสือ "ศุกรหัศน์" เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกโท จมื่นมานิศตย์นเรศ(เฉลิม เศวตนันทน์) เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๑ หน้า ๑๙๒ - ๑๙๖ เป็นบทความรอบเมืองไทย ที่ กรรมการส่งเสริมสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นฝ่ายอำนวยการจัดการ
"เรื่องการไหว้ครูละครหลวง ถือกันว่าเป็นพระราชพิธีใหญ่ส่วนหนึ่ง คราวนั้นนับว่าเป็นงานใหญ่ที่สุด มีนักรำเข้าพิธีมากทั้งโขลนหลวงละครหลวงทั้งหญิงและชายแล้ว ยังมีโขนสมัครเล่น คือชุดที่ในหลวงทรงเองเข้าร่วมด้วย เห็นจะจำนวนร่วมพันกระมัง ดูเต็มโรงละครไปหมด ...................................... ......................................
เมื่อเริ่มพิธีก็แสดงพระมหากรุณาบารมีเป็นคั่นแรก คือ ตามปกติเมื่อจะเริ่มพิธีไหว้หรือครอบองค์พระครูฤๅษีเก่า จะต้องสมมติว่ามาก่อน ซึ่งโดยเนื้อหาก็ได้แก่พระครูผู้เฒ่านั่นเอง
ในคราวนั้น ท่านเจ้าคุณครูพระยานัฏกานุรักษ์แต่งกายนุ่งขาวห่มขาวรัดผ้าพันทะนาเรียบร้อย สวมศีรษะพระครูฤๅษี มือถือไม้เท้าประจำอันเป็นไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ ตามธรรมดาจะออกมาด้วยเพลงหน้าพาทย์ "พราหมณ์ออก" หรือ บาทสกุณีเป็นอย่างสูง
แต่ครั้งนี้โปรดเกล้าให้ออกด้วยหน้าพาทย์องค์พระ คือพระพิราพรอญ ซึ่งครูเกรงกลัวกันนัก มือหนึ่งถือใบมะยม ดูเหมือนจะเป็นมือขวา มือซ้ายทำท่าเหมือนนรสิงห์ซึ่งมีเล็บและกางนิ้ว มือต้องสั่นอยู่ตามจังหวะ ท่าทางน่าเกรงขามและเคารพ เพลงหน้าพาทย์ก็มีสำเนียงและท่วงทำนองผิดกว่าเพลงทั้งปวง มีลีลาน่าสยดสยองพองหัว
ศิิษย์ทุกคนถวายบังคมแล้วก้มหน้านิ่งอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 08 ต.ค. 07, 14:41
|
|
สิ่งหนึ่งที่ทรงประทับพระราชหฤทัยยิ่งในการเยือนญี่ปุ่น และเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมอย่างทันตาเห็นในแผ่นดินสยาม คือการศึกษาของสตรีในประเทศญี่ปุ่นครับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรกิจการของโรงเรียนสตรีในญี่ปุ่น (ผมจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว) ก็ทรงพอพระราชหฤทัยในวิธีบริหารจัดการ และการสอนให้สตรีรู้ศิลปวิทยาการควบคู่ไปกับการฝึกตนให้เพียบพร้อมอยู่ในจรรยามารยาทอย่างญี่ปุ่นๆ พอเสด็จพระราชดำเนินกลับสยาม ก็ทรงนำความเรื่องนี้มาทรงเล่าถวายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทันที สมเด็จพระพันปีฯ ก็ทรงรับเป็นพระราชธุระ ก่อกำเนิดเป็น "โรงเรียนราชินี" ซึ่งมีแนวนโยบายในการอบรมศิลปวิทยาการ ควบคู่ไปการฝึกจรรยามารยาทและวิธีจัดการดูแลเหย้าเรือนตามวิถีอย่างไทยๆ
นักเรียนเก่าราชินีผู้สนใจประวัติโรงเรียนคงทราบดีว่าได้ทรงจ้างครูมาจากประเทศญี่ปุ่น ๓ คน สอนภาษาอังกฤษ คำนวณ วิทยาศาสตร์ วาดเขียน เย็บปัก และการประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง ครูทั้งสามคนนี้อยู่ประจำโรงเรียน คนหนึ่งชื่อ มิสยาซูอิ เททสุ สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ เป็นอาจารย์ใหญ่ท่านแรก
อีกกิจการที่เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรแล้วประทับพระราชหฤทัยคือโรงพยาบาลกาชาดญี่ปุ่นครับ ทรงเล็งเห็นประโยชน์ว่างานกาชาดจำเป็นต้องมีสถานพยาบาลเป็นของตัว จึงทรงสถาปนา "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" ขึ้นในสังกัดสภากาชาดไทย
นี่เป็นพระราชกรณียกิจที่เห็นได้ชัดๆ ส่วนที่เป็นนามธรรม เป็นพระบรมราโชบาย หรือแนวพระราชดำริ ขอติดไว้ ขออนุญาตไปสะสางภารกิจก่อน แล้วจะมาร่วมสนุกต่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 08 ต.ค. 07, 15:04
|
|
มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ "ขอมดำดิน" ปรากฏขึ้นในกระทู้นี้ ทำให้ผมนึกไปถึงแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ อีกทางหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในพระราชนิพนธ์ คือการที่ทรงพยายามดึงความงมงายเหนือธรรมชาติออกจากคติความเชื่อ
อย่างเรื่องขอมดำดิน เป็นตำนานเก่าแก่บุรมบุราณครับ แต่จะติดอภินิหารอยู่มาก ฉะนั้น ในตำนานเรื่องขอมดำดินของพระองค์จึงทรงตีความดัดแปลงให้ชะลอมใส่ส่วยน้ำที่พระร่วงทรงประดิษฐ์ขึ้นนั้น ไม่ได้บรรจุน้ำอยู่ได้เพราะวาจาสิทธิ์ หากแต่เป็นเพราะพระร่วงรู้จักกโลบาย สอนให้ชาวบ้านสานชะลอมตาถี่ๆ และหายามาชันอุดรอยรั่วทำให้ตักน้ำได้ หรือการดำดิน ก็หมายถึงการแอบมุดๆ หลบๆ ซ่อนๆ ไปอย่างลึกลับราวกับดำดิน ไม่ใช่มุดดำไปราวกับนักดำน้ำ การที่ขอมแปลงกายชะแว้บไป..อย่างไสยเวทหรือประตูล่องหนในโดราเอมอนนั้น ก็ทรงตีความให้กลายเป็นการปรับรูปพรรณการแต่งตัวให้ละม้ายอย่างพวกคนไทย อย่างการที่พระภิกษุร่วงเสกขอมให้กลายเป็นหินแหงแก๋ติดธรณี ก็ทรงพระราชนิพนธ์ให้กลายเป็นว่าพระร่วงเสด็จเข้าไปเรียกลูกศิษย์วัดมากลุ้มรุมจับตัวไว้จนกระดิกกระเดี้ยไปไหนไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น
คือไม่ทรงทิ้งตำนานเก่าของไทย แต่ทรงปรับให้เข้ากับแนวคิดวิทยาศาสตร์อย่างโลกตะวันตก พระราชนิพนธ์เรื่องพระร่วงของพระองค์จึงดำเนินโครงเรื่องตามตำนานดั้งเดิมของไทย และในขณะเดียวกันก็ไม่มอมเมาผู้อ่านให้ติดคิดเห็นเป็นเรื่องงมงาย
แล้วคุณ SILA ล่ะครับ เป็นขอมดำดินประเภทไหน ขอมแนวตำนานเก่า หรือขอมแนวพระราชนิพนธ์ใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|