เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 42545 นิราศเมืองแกลงผ่านดาวเทียม
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 09:10

ประเด็นต่อมาก็คืออาหมวยเธอสปี๊คจีน
ตรงนี้น่าสนใจ

จีนเก่านั้น จะมาแต่ตัว มาหาเมียเอาดาบหน้า...แหะๆ ก็อสาวไทยงัยยย์
ได้ลูกออกมาก็เหมือนหนูสิน คือเป็นลูกครึ่งที่แม่เป็นคนเลี้ยง ก็ต้องพูดไทย
แต่หมวยของนิราศเมืองแกลง ดูจะเป็นของนอก คือเป็นตึ่งหนั่งเกี้ยทั้งอรองค์
แปลว่าเธอมาแต่เมืองจีนหรือ หรือเกิดที่นี่แต่แม่เป็นจีน เธอจึงรจนาภาษาเจ๊ก

โดยทางสอบสวนเช่นนี้ ผมจึงประหวัดไปถึงกลอนของพระยาไชยวิชิต(เผือก) ที่บอกว่า
มีจีนแต้จิ๋วมาเป็นช่างสร้างวัดให้พระนั่งเกล้า
ดูจะสอดคล้องกันชอบกล

นึกไปอีกทาง ถ้ากลอนนี้ แต่งตอนรัชกาลที่ 1 ตอนปลาย จะมีอีหมวยให้กวีได้ถามทางใหมหนอ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 23:45

เรื่องชากก่อนนะครับ คำนี้ปรากฏบ่อยเหมือนคำว่าบางในพื้นที่ภาคกลางก็จริง แต่ที่ต่างกันคือตำบาลที่ขึ้นด้วยชาก เท่าที่ผมเห็น ไม่ยักกะมีลำน้ำไหลผ่าน และที่ปรากฏในนิราศเมืองแกลง หลายที่เป็นป่า ดังนั้นก็ต้องไม่ได้แปลว่าหมู่บ้านเช่นกัน

นอกจากนี้ ลำน้ำที่ปรากฏ ถ้าค่อนไปทางชลบุรีจะขึ้นด้วยบาง ถ้าขยับไปทางระยองก็มักเป็นห้วยครับ (ห้วยอีร้า ห้วยพะยูน ห้วยโป่ง ฯลฯ)

คงต้องทิ้ง "ชาก" ไว้เป็นปริศนาต่อไปครับ

ทีนี้เรื่องสาวจีนครับ กวีว่าสาวจีนเป็นจีนใหม่ คำนี้ผมยังเชื่อว่าหมายถึง ซิงตึ๊ง หรือ ซินตึ๊ง ที่เป็นคำที่คนแต้จิ๋วเองใช้เรียกจีนที่มาจากเมืองจีน ยังไม่คุ้นเคยกับภาษาวัฒนธรรมไทย แปลตรงตัวก็แปลว่าจีนใหม่ ประกอบกับคำไล้ขื่อที่เอ่ยถึงด้วย เห็นได้ชัดว่ากวีคุ้นเคยกับจีนแต้จิ๋ว นอกจากรู้จักคำว่าไล้ขื่อแล้ว ยังรู้ด้วยว่าซิงตึ๊งนี่แปลว่าจีนใหม่เสียด้วย

แต่การจะสรุปว่าต้องเป็นจีนที่หลั่งไหลเข้ามาในสมัย ร.๓ ผมยังคิดว่าเร็วไปครับ คือเป็นอย่างที่อ.เทาชมพูว่าคือ หลังสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว การไหลบ่าของจีนได้ชะลอตัว แต่ไม่ใช่ว่าหยุดไปเสียเลยทีเดียว

การไหลบ่าเข้ามาทั้งสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมัย ร.๓ มีลักษณะที่ตรงกันอย่างหนึ่งคือ พระเจ้าแผ่นดินทรงกรุณาชาวจีนเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา ยังมีปัจจัยการค้าต่างประเทศเข้ามาประกอบ ทำให้เกิดการผลิตเพื่อส่งออกเป็นอุตสาหกรรม และต้องการแรงงานจำนวนมาก จีนเข้ามามากก็ด้วยช่องทางทำมาหากินเหล่านี้เอง

แต่ช่วงเวลาอื่น ถึงไม่มีแรงจูงใจเป็นพิเศษจากพระกรุณาของพระเจ้าแผ่นดิน แต่ความขัดสนในบ้านเมืองจีนเองก็ยังมีอยู่ตลอด คนจีนยังอพยพอยู่ตลอดเวลาครับ ยิ่งพวกที่มีญาติอยู่เมืองไทยอยู่แล้วก็คงมากันเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ดีกว่าอดอยากอยู่ที่แต้จิ๋วนะครับ

คุณพิพัฒน์ชี้อีกประเด็นหนึ่งว่า สาวจีนนี่ต้องเป็นลูกจีนแท้ คือมีแม่เป็นจีนด้วย ไม่้ใช่แต่พ่อเท่านั้น ข้อนี้จริง และเป็นข้อสำคัญ แต่ก็มีข้ออธิบายได้หลายประการครับ

สาวจีนอาจจะเป็นลูกจีน ที่แม่เป็นจีนที่มาจากแผ่นดินใหญ่ โดยหอบหิ้วกันมาทั้งครอบครัว ถึงความจริงแล้วคนจีนที่อพยพเข้ามาส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ที่โสดมาหาเมียเอาที่เมืองไทยก็มี ที่ทิ้งเมียไว้ที่เมืองจีนเอาไว้(โดยมาหาเอาใหม่ที่เมืองไทย)ก็มาก แต่ไม่ได้ทั้งหมดครับ มีบางส่วนที่หอบหิ้วกันมาทั้งครอบครัว หรือที่มาคนเดียว ทำมาหากินจนตั้งตัวได้แล้วให้ลูกเมียตามมาก็มี พวกจีนพวกนี้บางทีตั้งกันเป็นอาณานิคมอยู่กันเอง มีลูกมีหลานก็พูดจีนเป็นภาษาหลัก พูดไทยกันไม่ค่อยได้ ที่หนักถึงขนาดพูดไทยไม่ได้เลยก็มี

ที่พูดมานี่ไม่ได้ยกขึ้นมาลอยๆนะครับ ขอลงทุนยกอาม่า คุณย่าผมเองเป็นตัวอย่าง

อาม่าเป็นลูกจีนที่เกิดเมืองไทย รุ่นพ่อแม่มาจากเมืองจีน อาม่าเกิดมาในชุมชนชาวจีนแห่งหนึ่งในกรุงเทพ พูดภาษาแต้จิ๋วกันทั้งชุมชน เมื่ออายุได้ราว ๑๒ ปี อาม่าถูกส่งไปเรียนหนังสือเมืองจีน ๒-๓ ปี กลับมาอีกที ได้รับเกียรติเป็นมนุษย์ต่างดาว เอ๊ย...ต่างด้าวไปแล้ว เพิ่งจะโอนสัญชาติ(กลับมา)เป็นไทยเมื่อราว ๓๐ ปีมานี่เอง

เชื่อไหมครับ อาม่าผมพูดไทยไม่แข็งแรงขนาดหนัก ถ้าคุยกัน ได้ถามให้ชัดเจนก็พอสื่อสารได้ แต่ดูละครไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ดูไปต้องคอยถามไปว่าเรื่องมันเป็นอย่างนี้ๆหรือเปล่า แล้วผมก็ชอบแกล้งอาม่าด้วยการหลอกเล่าเรื่องมั่วๆให้อาม่าฟัง อาม่าไม่รู้หรอกครับว่าโดนหลอก แต่พอผมบอกควาจริง อาม่าก็ด่าผมอย่างรักใคร่ทุกที อิอิ

จีนอย่างอาม่านี่แหละที่ คนไทยเจอต้องเรียกว่าจีนใหม่หรือซินตึ๊งแน่นอน เพราะเข้าเกณฑ์ทุกประการ เท่าที่ผมทราบอาม่าไม่ใช่กรณีพิเศษ เขาเป็นอย่างนี้กันเยอะแยะครับ ทั้งๆที่เกิดเมืองไทย โตเมืองไทยแท้ๆ

เล่ามาเสียนาน ขอสรุปสั้นๆว่าจีนใหม่ในนิราศเมืองแกลงนี่เห็นจะใช้เป็นหมุดเวลาที่สำคัญไม่ได้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 00:14

จากพุดรกวี "ขึ้นเนินเดินในดงไม้หอม" ผ่านห้วยอีร้าและห้วยพะยูนไปออกชากลูกหญ้า กวีบรรยายไว้อย่างเห็นภาพว่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก โดยอันนี้ผมวัดโดยใช้ดัชนี"ทาก"ครับ  ยิงฟันยิ้ม
ครู่หนึ่งถึงชะวากชากลูกหญ้า         ล้วนพฤกษายางยูงสูงไสว
แต่ล้วนทากตะเละลำรำพูไพร        ไต่ใบไม้ยูงยางมากลางแปลง
กระโดดเผาะเกาะผับกระหยับคืบ     ถีบกระทืบมิใคร่หลุดสุดแสยง
ปลดที่ตีนติดขาระอาแรง             ทั้งขาแข้งเลือดโซมชะโลมไป

ชากลูกหญ้าอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของภูดร แต่มีภูเขาขวางอยู่ โดยมีลำห้วยอีร้าและห้วยพะยูนไหลลงไปจากทางตะวันตกของภูเขานี้ เข้าใจว่ากวีคงเดินเลาะอ้อมเขาลงไปทางใต้แล้ววกไปตะวันออกไปออกชากลูกหญ้า

จากชากลูกหญ้าไปก็เป็นชากขาม อันนี้ยังระบุตำแหน่งแน่นอนไม่ได้ครับว่าอยู่ตรงไหน แต่จุดต่อไปจะไปห้วยโป่งและห้วยพร้าวตามลำดับ
ตำแหน่งของห้วยโป่งและห้วยพร้าวนี้ยังมีชื่อบ้านอยู่ หมุดกวีเขาก็ปักตรงนั้น แต่ผมคิดว่าจุดที่กวีผ่านไม่น่าจะเป็นตรงบ้านนั้นเพราะจะต้องขึ้นเหนืออ้อมออกนอกเส้นทางไปไกล น่าจะข้ามห้วยทั้งสองตอนใดตอนหนึ่งในเส้นทางนั้นเอง

ถึงสุนัขกระบาก อันนี้เห็นจะเป็นสำนักกระบากมากกว่า แถวนั้นมีตำบลที่ขึ้นด้วยสำนักอยู่หลายแห่ง เท่าที่ผมลองตรวจสอบดูมีชื่อหมู่บ้านที่ขึ้นด้วยสำนัก หรือมีคำว่าสำนักประกอบอยู่เกือบทุกภาค แต่จะหนาแน่นมากทางตะวันออกนี้ ได้แก่ สำนักยาง, สำนักอ้ายงอน, สำนักท้อน ฯลฯ ปัจจุบันสำนักกระบากก็ยังมีอยู่ แต่ผมยังระบุตำแหน่งแน่นอนไม่ได้เช่นกัน

ถึงตรงนี้กวีดีใจว่าใกล้ออกจากป่าแล้ว แต่แข้งขาชักไม่ไหว โผล่ออกมาได้ก็ตรงชายทุ่งริมตลิ่ง ซึ่งเห็นจะเป็นตลิ่งแม่น้ำไม่ใช้ริมทะเลครับ
ยิ่งจวนเย็นเส้นสายให้ตายตึง          ดูเหมือนหนึ่งเหยียบโคลนให้โอนเอน
ออกปากช่องท้องทุ่งที่ตลิ่ง            ต่างเกลือกกลิ้งลงทั้งรกถกเขมร
ด้วยล้าเลื่อยเหนื่อยอ่อนนอนระเนน   จนสุริเยนทร์ลับไม้ชายทะเล
ผลัดกันทำย่ำเหยียบแล้วยืนหยัด      กระดูกดัดผัวะเผาะให้โผเผ
ค่อยย่างเท้าก้าวเขยกดูเกกเก         ออกโซเซเดินข้ามตามตะพาน

ดูจากระยะที่เดินมา ถือว่าวันนี้กวีไม่ค่อยบ่นมากเท่าวันแรกๆ

จากตรงนี้ก็เดินเลาะแม่น้ำไปเรื่อยๆ ผ่านบ้านทับม้า(ปัจจุบันเรียกบ้านทับมา ไม่รู้เปลี่ยนชื่อหรือกวีฟังผิด หรือไม่ก็คนคัดลอกผิด) เข้าใจว่ากวีไม่ได้เข้าไปในบ้านทับมา แค่มองจากไกลๆ เพราะบ้านทับมาไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำ จากทับมาไปเล็กน้อยก็ถึงระยองแล้วครับ

กลอนว่าไปสิ้นสุดการเดินทางในวันนี้ที่บ้านเก่าบ้านญาตินายแสง ตรงนี้หมุดกวีเขาบอกว่าอยู่ที่บ้านเก่า อ.บ้านค่าย ก็จากระยองไปอีกราว ๓ กม.เศษ ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับว่าใช่หรือเปล่า อ่านดูแล้วผมรู้สึกเหมือนว่าอยู่ในระยองนั่นเอง แต่คิดอีกทีบุกป่ามา ๔๐ กว่ากิโล เดินทางทุ่งอีกสัก ๓-๔ กิโลคงรู้สึกว่า "เดะๆ"

สรุปว่าวันนี้เป็นวันที่หนักมาก ผมวัดระยะได้ ๕๐ กม.พอดี ถ้าบ้านเก่าอยู่ในระยอง ไม่ได้ไกลไปถึงบ้านค่ายก็ต้องลดลงไปอีก 3 กม.ครึ่งครับ

อ่วมอยู่ดี
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 01:16

คำว่าจีนใหม่ แปลจากซินตึ้งแน่นอน
แต่การยกครัวเข้ามาทั้งโคตรนั้น เป็นปรากฏการณ์สมัยหลังลงมามาก

แม่ผมเองเป็นตัวอย่าง ครอบครัวเป็นกวางตุ้ง อยู่ๆ มีโจรมาจับน้องคนเล็กไปเรียกค่าไถ่
ทางบ้านช่วยกันต่อสู้ เอาตัวกลับมาได้ น้าผมตอนนั้นอายุแค่สามขวบ เดี๋ยวนี้ แปดสิบเกือบเก้าสิบ
การเป็นต่างด้าวรุ่นร้อยปีมานี้ เรียกว่าทิ้งแผ่นดิน คือถอนเสาเรือนมากันทั้งครอก พ่อผมก็มาด้วยเหตุคล้ายกัน

แต่ที่พระเจ้ากรุงธน และรัชกาลที่ 1 ท่านรับจีนเข้ามา เป็นชนิด เผชิญโชค
คือรับคนหนุ่มเข้ามาคราวละมากๆ ส่วนใหญ่เป็นโสด ถ้ามีลูกเมียก็มักจะไม่มากัน
เว้นแต่เบื่อเมีย....ฮ่าฮ่า
ทีนี้ การรับจีนอพยพนี่ ต้องได้รับอนุญาตนะครับ ไม่ใช่ว่าจะเล็ดลอดมากันทีละเล็กละน้อยแบบเรือมนุษย์สมัยเวียตนามแตก
ทางจีนมีหนังสือเตือนมาทางบางกอกครั้งรัชกาลที่ 1 เป็นหลายครั้ง

จุดบ่งชี้ มีแต่เรื่องอาหมวยพูดจีนนี่แหละครับ ถ้าจีนครั้งรัชกาลที่ 1 เป็นไม่มีลูกสาวที่พูดจีน เพราะแม่เป็นไทย
จะมีลูกสาวพูดจีนแท้ๆ ต้องพากันเข้ามาครั้งรัชกาลที่ 3 ซึ่งคนจีนมั่นใจแล้ว ว่าเข้ามาไม่อดตาย
เพราะมีอุตสาหกรรมอ้อยรองรับ

อุตสาหกรรมนี้ เป็นของสั่งเข้าร้อยปูเซงนา อาเครซี่เอ้ย....
ก่อนนั้น เราไม่มีน้ำตาลทรายกินกัน มีแต่น้ำตาลปึก น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลเฉยๆ ชนิดเป็นเกล็ดละเอียด แห้ง เป็นเทคโนโลยี่จีน
นำเข้ามาปลายรัชกาลที่ 2 รับรองโดยกาละฟัด ในเจอรนั่ลของเขา บอกว่าการทำน้ำตาลทราย(ขาว)
พวกจีนเพิ่งนำเข้ามาเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ตรงกับ พ.ศ. 2355 โดยประมาณ
หมายความว่า จีนรุ่นนั้น คงถูก "นำเข้า" โดยประสงค์ของบ้านเมือง เพราะหลังจากนั้น การทำไร่อ้อยก็กลายเป็นแหล่งทำเงินอย่างมหาศาล
จนมีเรื่องเล่าว่า เจ้าพระยาพระคลัง เอาน้ำตาลแลกกับรั้วเหล็ก ในน้ำหนักเท่ากัน เมื่อสร้างวัดปลายรัชกาลที่ 3

เทียบข้อมูลแล้ว ผมจึงเชื่อว่า หมวยไล้ขื่อนางนี้ อีเปงหมวยซิงตึ้งแท้ๆ เข้ามาตอนรัชกาลที่ 3 เป็นอย่างเร็วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 12:14

อ้างถึง
เล่ามาเสียนาน ขอสรุปสั้นๆว่าจีนใหม่ในนิราศเมืองแกลงนี่เห็นจะใช้เป็นหมุดเวลาที่สำคัญไม่ได้ครับ

ขอตัดพ้อคุณอาชาผยองหน่อยเถอะค่ะ 
ถ้าจะปักหมุดสำคัญให้คุณอาชาเชื่อได้  ก็มีทางเดียวคือกวีต้องระบุวันเดือนปีพ.ศ. ที่แต่งไว้ในนิราศ ชัดๆ นั่นแหละ  ซึ่งถ้าเป็นงั้นท่านทั้งหลายที่อ่านนิราศกันมาตั้งแต่พิมพ์ครั้งแรก  คงปักให้เราเรียบร้อยแล้วละ
ก็ที่พวกเรามานั่งล้อมวงถกประเด็นกันเอาเป็นเอาตาย ก็คือพยายามปักหมุดเวลาจากสภาพแวดล้อมทางสังคม     
ดิฉันว่าเรื่องจีน ถ้าปะติดปะต่อให้ละเอียดอาจจะพอทำให้เห็นภาพเวลาได้ไม่มากก็น้อย


มาช่วยแกะรอยคนจีนตามเส้นทางไปเมืองแกลง   อ่านๆดู   ชุมชนคนจีนอุ่นหนาฝาคั่งทีเดียวละค่ะ

เริ่มที่บางปลาสร้อย

แลทะเลแล้วก็ให้อาลัยนุช         ไม่สร่างสุดโศกสิ้นถวิลหา
จนอุทัยไตรตรัสจำรัสตา            เห็นเคหาเรียงรายริมชายทะเล
ดูเรือแพแต่ละลำล้วนโปะโหละ   พวกเจ๊กจีนกินโต๊ะเสียงโหลเหล
บ้างลุยเลนล้วงปูดูโซเซ            สมคะเนใส่ข้องเที่ยวมองคอย

ตรงนี้ เป็นชุมชนคนจีนที่ตั้งถิ่นฐานทำประมงจนลงตัวแล้ว    อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ยังคงวัฒนธรรมของตัวเองอยู่เหนียวแน่น 
แสดงว่ามีการรวมตัวเป็นเอกเทศ     ไม่ปะปนอยู่ในกลุ่มเชื้อชาติอื่น 
เช่นยัง"กินโต๊ะ" คือมีโต๊ะนั่งกินข้าว  ไม่กินกับพื้นอย่างคนไทยที่ปูเสื่อกินข้าว    พูดภาษาจีนระหว่างกัน  ไม่พูดภาษาไทย
เรียกได้ว่ามีหมู่บ้านจีนอุ่นหนาฝาคั่ง  ในอำเภอบางปลาสร้อยของไทยในยุคที่กวีหนุ่มไปเมืองแกลง

กวียังย้ำถึงคนจีนที่บางปลาสร้อยไว้อีกครั้ง ในตลาด
ขายหอยแครงแมงภู่กับปูม้า            หมึกแมงดาหอยดองรองกระถาง
พวกเจ๊กจีนสินค้าเอามาวาง            มะเขือคางแพะเผือกผักกาดดอง

ข้อนี้บอกอะไรได้บ้าง
บอกได้ว่า
๑) คนจีนที่บางปลาสร้อย ไม่ใช่เข้ามาเป็นแรงงานอย่างในรัชกาลที่ ๓  แต่มาอยู่ตั้งถิ่นฐาน ทำมาหากิน
ทำอาชีพประมง  และปลูกผักปลูกพืชขาย
น่าจะเข้ามานานแล้ว  อย่างน้อยสองชั่วคน  คำบรรยายบอกให้รู้ถึงการลงหลักปักฐานที่มั่นคงแล้ว
๒) พวกนี้ต้องเป็นจีนพูดภาษาเดียวกัน   ถึงรักษาวัฒนธรรมกันไว้ได้เหนียวแน่น  ถ้าแต้จิ๋วก็แต้จิ๋วทั้งก๊ก  แคะก็แคะทั้งก๊ก
๓)สำเนียงจีนที่พูดกัน  สำเนียงอะไรไม่ทราบ  กวีเรื่องนี้จับได้เพียงไกลๆเท่าที่ได้ยิน
ไม่มีบทสนทนาปราศรัยด้วย    อาจจะไม่ใช่แต้จิ๋ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 12:58

๓) ถ้าถามว่ากวีรู้จักภาษาแต้จิ๋วไหม   เห็นด้วยว่ารู้จัก อย่างน้อยเขียนคำว่า ไล้ขื่อ ได้ถูกต้อง  รู้ด้วยว่าแปลว่าอะไร
 
ถึงท้องธารศาลเจ้าริมเขาขวาง              พอได้ทางลงมหาชลาไหล
เข้าถามเจ๊กลูกจ้างตามทางไป               เป็นจีนใหม่อ้อแอ้ไม่แน่นอน
ร้องไล้ขื่อมือชี้ไปที่เขา                         ก็ดื้อเดาเลียบเดินเนินสิงขร
ศิลาแลเป็นชะแง่ชะงักงอน                    บ้างพรุนพรอนแตกกาบเป็นคราบไคล
****************
ถึงที่โขดต้องกระโดดขึ้นบนแง่                ก่นเอาแม่จีนใหม่นั้นใจหาย
บอกว่าใกล้ไกลมาบรรดาตาย                ทั้งแค้นนายแสงนำไม่จำทาง
๔) ถ้าถามว่า ทำไมเรียกสาวจีนคนนั้นว่า "จีนใหม่"  แทนที่จะเรียกว่า จีน เฉยๆ     เพราะหน้าตาคนจีนก็เหมือนๆกัน    ก็ชวนให้คิดว่า คำว่า "จีนใหม่" เป็นคำที่คนไทยยุคกวีหนุ่ม รู้จักแพร่หลายในหมู่คนไทย
เรียกคนจีนบางกลุ่มว่า "จีนใหม่"  บางพวกเรียก"จีน" เฉยๆ

จีนบางปลาสร้อย เป็น "จีน" เฉยๆ  แต่คนจีนริมลำธารใกล้ศาลเจ้าเป็น "จีนใหม่" 
ความแตกต่างเห็นได้ชัดในบทกวีคือ จีนใหม่พูดไทยไม่ได้     ส่วนจีนเก่านั้นแม้ว่าพูดจาโหลเหลกันในกลุ่มพวกเขา  แต่พูดไทยกับคนไทยได้   ไม่งั้นคงค้าขายพืชผักอยู่ในตลาดไม่ได้
สาวจีนใหม่ริมธาร เธอฟังออกว่าหนุ่มไทยสี่คนนี้หลงทาง  ถามทาง    แต่เธอตอบไทยไม่ได้ พูดได้แต่จีน
เธอคงมาอยู่ในเมืองไทยไม่นานนักละมัง   พ่อแม่อพยพเอาตัวเธอมาด้วย   คงไม่ได้คบค้ากับคนไทยเท่าไร  แต่ก็คงเจอบ้างถึงฟังภาษาไทยรู้เรื่อง

๔) หนุ่มกวีของเรารู้ภาษาจีนแต้จิ๋วแบบไหน  คงรู้บ้างบางคำ     จากไหน? ก็จากสำเพ็งไงล่ะคะ
คำบรรยายต้นเรื่องบอกให้รู้ว่าคงท่องเที่ยวสำเพ็งเสียปรุ  รู้จักหน้าตาดีว่ามีซอกซอยตรงไหนยังไง คนไม่เคยไป ย่อมบรรยายไม่ถูกค่ะ

ถึงสำเพ็งเก๋งตั้งริมฝั่งน้ำ                  แพประจำจอดเรียงเคียงขนาน
มีซุ้มซอกตรอกนางเจ้าประจาน         ยังสำราญร้องขับไม่หลับลง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 12:59

อันนี้อยากรู้เฉยๆ ครับ ใครตอบขอขอบพระคุณล่วงหน้า

ไทยเราเรียกคนจีนว่า เจ๊ก มาแต่เมื่อไร และหมายถึงจีนอะไรครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 13:04

อ่านเจอที่ใหนจำไม่ได้แล้ว
ท่านว่า "จีนใหม่" จะแต่งตัวตามลัทธิของแมนจู คือโกนหัวไว้เปีย
ถ้าจีนเก่า จะแต่งกายผมเผ้ามาทางไทยครับ

ตอนที่เจ้าพระยาสิงห์ท่านเล่นสงกรานต์(เลือด) ที่ฉะเชิงเทรา ก็ว่า หมายหัวพวกไว้เปียนี่แหละ
เป็นอั้งยี่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 13:21

แล้วผู้หญิงจีนใหม่ กับจีนเก่า แต่งตัวยังไงคะ
เดาว่าผู้หญิงจีนใหม่ที่เจอริมลำธาร นุ่งกางเกง ถักเปียยาว หรือม้วนเปียขึ้นเป็นมวยท้ายทอย

บรรยายว่าหล่อนเป็นเจ๊กลูกจ้าง    สงสัยว่ารับจ้างทำอะไร   ซักผ้าริมลำธารเหมือนในหนังจีนหรือเปล่า
เพราะดูจากภูมิประเทศช่วงนั้น  เป็นเส้นทางภูเขา   ไม่ใช่ไร่นาที่จะจ้างแรงงาน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 13:46

การที่กวีท่านระบุว่า หมวยอึ๋ม(หรือเปล่าหว่า) ของเรานั้น เป็นจีนใหม่นี่ เป็นหมุดเวลาดอกเป้งทีเดียวเชียวนา....
เพราะจีนเก่า ไม่มีผู้หญิงครับ ดังได้บอกแล้วว่ามาหาเมียเอาดาบหน้า

ยิ่งบอกชัดว่าเป็นลูกจ้าง ก็ยิ่งเป็นหมุดใหญ่กว่าดอกใหญ่อีก
ผมคิดเอาว่า เมื่อโรงหีบอ้อย ต้องพึ่งคนงานเป็นร้อย อาหารการกินต้องทำพิเศษ
น่าจะถึงกับสั่งแม่ครัวมาด้วยเทียวแหละ ไม่งั้นกุลีหมดแรงข้าวต้ม ขนน้ำตาลไม่ไหว
จะมีสาวไทยใจกล้า ไปทำครัวเจ๊กเลี้ยงจับกังได้ไง เจ้าหล่อนหวังแต่จะเป็นเมียเจ๊สัวทั้งนั้น
กลอนเรื่องอื่นก็เคยรับประทานนิสัยเลือกซะมีอย่างนี้เอาไว้แรงๆ

ไปอ่านประวัติเมืองชลโดยสรุปแล้ว
http://www.chonburi.go.th/history.php

เห็นว่า หัวเมืองตะวันออกนี้ เว้นแต่จันทบุรี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่แล้วนั้น ที่อื่นๆ ย่อมแหลกยับเยินเพราะการสงคราม
เริ่มตั้งแต่กรมหมื่นเทพพิพิธ ส้องสุมผู้คนจนต้องรบกับทัพในกรุง แล้วกรมหมื่นมาโดนพม่าตีแตก
ผู้คนย่อมเบาบาง จนเมื่อเจ้าตากผ่านมา ก็ยังเป็นที่รกร้างขาดไพร่บ้านพลเมือง
กว่าจะตั้งเป็นบ้านเป็นเมืองกลับคืน ก็น่าจะปลายรัชกาล หรือล่วงเข้ารัชกาลที่ 1

ถ้าเชื่อว่า นิราศเมืองแกลง แต่งเมื่อ 2350 ก็ห่างปีสร้างกรุงเพียง 25 ปี
เวลา 25 ปีนี้ พอเพียงให้หัวเมืองด้านนี้ คึกคักอย่างในบทนิราศหรือไม่ คิดว่าไม่ได้
แต่ถ้าร่นเวลามาแถวๆ ที่เจ้าพระยาพระคลัง และท่านสิงห์ จะมาปราบอั้งยี่ อันนี้คิดว่าสอดคล้องกัน
ครั้งนั้นศพพวกจีนลอยน้ำมาทีละสิบละร้อย ตายกันเห็นจะหลายพัน
แสดงว่า หัวเมืองแถวนี้ เป็นแหล่งชุมนุมชาวจีนที่คึกคัก อย่างเดียวกับที่อ่านเจอในนิราศทีเดียว

จึงขอเดาว่า แต่งก่อนสงกรานต์เลือด 2391 ครับ
แต่จะก่อนเพียงใด ก็น่าจะอยู่ในรัชกาลที่ 3 นั่นเอง นี่เดาจากฐานทางเศรษฐกิจแท้ๆ ทีเดียวเจียว

อ้อ สงกรานต์เลือดนั้น ในพงศาวดารจดว่าเป็นการเล่นของเจ้าพระยาพระคลังนะครับ
เจ้าพระยาสิงห์ท่านมาสมทบช่วยอีกแรง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 14:11

ทีนี้ จะ"เอาคืน" คุณเครซี่ที่น่ารักบ้าง ว่า
ในเมื่อท่านเห็นแก่ 0.001 % แห่งความอาจจะผิดพลาด จึงไม่ยอมรับความไม่ผิดพลาดอีก 99.009 % ที่เราอุตส่าห์หามาให้
แล้วท่านจะยอมให้เรายอมรับข้อเสนอที่ 99.001 % ผิดพลาด มาเติมเต็มความน่าจะเป็น 0.001 % ละหรือ

เพราะท่านอ้างอาม่า ซึ่งเป็นข้อมูลเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง มาหักล้างข้อมูลของพ.ศ. 2350-2400 อย่างนี้ ทำไม่ได้ครับ
มีตัวแปรมากมายมหาศาลระหว่างข้อเสนอ กับข้อหักล้างเรื่องอาม่า
เป็นต้นว่า อาม่าได้รับโอกาสกลับไปเรียนหนังสือที่เมืองจีน นี่เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดสมัยสุนทรภู่ครับ

แล้วท่านก็ด่วนสรุปว่า อาม่านี่แหละ เหมาะสมจะเป็นซิงตึ้ง
"จีนอย่างอาม่านี่แหละที่ คนไทยเจอต้องเรียกว่าจีนใหม่หรือซินตึ๊งแน่นอน เพราะเข้าเกณฑ์ทุกประการ"
ผมก้อขอย้ำให้มันชัดเจนว่า ไม่มีการเรียกคนรุ่นอาม่าเป็นซินตึ้งอีกแล้ว ถ้าเป็นจีนเรียก
และไม่มีการเรียกอาม่าเป็นจีนใหม่อีกเช่นกัน ถ้าเป็นไทยเรียก
ในยุคของอาม่านั้น คำนี้ เกือบจะเลิกใช้แล้ว เพราะเข้าสู่กระบวนการกำจัด....เอ้ย จำกัดการอพยพแล้ว
คนไทยจึงไม่รู้จักจีนใหม่อีกต่อไป เพราะราวๆ 2450 เป็นต้นมา
การดูแลคนอพยพ มีระบบเข้มแข็ง สังคมก็ปรับตัวรับรู้ได้อย่างกลมกลืนแล้ว
พวกเข้ามาใหม่ จะฝังตัวอยู่ในกลุ่ม จนปรับตัวได้ จึงออกสู่สังคมภายนอก
มีแต่คนจีนเจ้าถิ่นเท่านั้น ที่จะเรียกเด็กใหม่ว่าซิงตึ้งอยู่ชั่วปีหรือสองปี จนเจ้านั่น กลายเป็นโอลด์ตึ้ง

ดังนั้น การที่เราพบคำว่าจีนใหม่ ในเอกสารรุ่นต้นรัตนโกสินทร์
แล้วเราจะหยิบเอาข้อมูลสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาใช้รองรับ

ท่านว่า ไม่เอื้อด้วย เทศะ แอนด์ กาละ ครับป๋ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 14:50

ไปค้นเจอ"จีนใหม่" ในนิราศพระประธม  อยู่ที่คลองโยง

ตามแถวทางกลางย่านนั้นบ้านว่าง    เขาปลูกสร้างศาลาเปิดฝาโถง
เจ๊กจีนใหม่ไทยมั่งไปตั้งโรง            ขุดร่องน้ำลำกระโดงเขาโยงดิน

ตรงนี้เหมือนกับว่าจีนใหม่กับไทย อยู่ปะปนกันเป็นชุมชนเดียวกันเสียแล้ว 
อาจจะเป็นสังคมขยายในเวลาหลังจาก นิราศเมืองแกลง เป็นไปได้ไหมคะ

ทบทวนเรื่องขุนช้างขุนแผน  มีหลายตอนมากที่พูดถึงชนกลุ่มน้อย  แต่ไม่พูดถึงที่อยู่อาศัยของคนจีนนอกเมืองสุพรรณ
มีแต่เอ่ยถึงคนจีนนิดหน่อยในกรุงศรีอยุธยา(ก็คือกรุงเทพนั่นเอง) ตอนพลายชุมพลปราบเถรขวาด
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 14 ต.ค. 07, 15:26

ผมวางนิราศพระประโธนไว้เป็นเรื่องก่อนสุดท้ายของท่านสุนทรภู่
ปีนั้น จีนใหม่เข้าแทรกในกิจกรรมตามหัวเมืองสนิทสนมแล้วครับ

นิราศนี้ก้อน่าเปิดทู้ใหม่เหมือนกัน
แต่คงต้องรอนักภูมิศาสตร์กาลเวลา ว่างภาระกิจก่อน....ฮิฮิ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 15 ต.ค. 07, 15:42

ขออภัยครับ ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาเท่าไหร่ อาจจะเดินช้าหน่อยครับ

ความจริงเรื่องจีนใหม่นี่ก็น่าจะเป็นกระทู้ใหม่ได้เหมือนกันครับ เพราะมีแง่มุมที่น่าสนใจอยู่มาก และยังอาจใช้เป็นหมุดเวลาสำคัญในนิราศหลายเรื่องได้ หากมีหลักฐานซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปถึงอายุของ "จีนใหม่" ได้

จนใจว่าสมัย ร. ๑ ผมไม่รู้จะไปข้อมูลอะไรมายืนยันได้ว่าคนจีนอพยพเข้ามาแบบไหน แต่คนที่อพยพเข้ามาในช่วงราว ๑๐๐ ปีมานี้มีตัวอย่างให้เห็นหลายรูปแบบมาก
- หนุ่มโสดมาแสวงโชค (พ่อของตาผมเข้ามาราว ๒๔๕๐-๒๔๖๐ ยังเป็นแบบนี้อยู่เลย มาหาเมียเอาที่นี่ ไม่ได้ยกครัวเข้ามา และหลังจากตั้งตัวได้แล้วยังช่วยเหลือให้คนเข้ามาแบบเดียวกันอีกไม่น้อย แสดงให้เห็นว่าจีนยุคหลังนี้ก็ไม่ได้ยกครัวกันมาเป็นหลักนะครับ พวกนักแสวงโชคยังมีอีกเยอะ)
- หนุ่มไม่โสดทิ้งลูกเมียไว้เมืองจีนแล้วเข้ามาแสวงโชค พวกนี้ตั้งตัวได้แล้วยังแบ่งเป็น
  - ส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวที่เมืองจีน แต่หาเมียใหม่ในเมืองไทย
  - ขนเอาลูก หรือ ทั้งลูกทั้งเมียตามมา
- พวกมากันทั้งครอบครัว
- พวกมากันเป็นลำเรือหรือสองสามลำเรือ อย่างที่มีบางคนอ้าง แต่ข้อนี้ผมยังสงสัยอยู่ว่ามีจริงหรือ? ถ้าอยู่บ้านสบายอยู่แล้วจะมาทำไม ถ้าหนีเมียมาก็ว่าไปอย่าง แต่คงไม่หนีแบบยกมากันสองสามลำเรือหรอกครับ

(ความจริงมีกรณีศึกษาอีกหลายกรณี แต่คงต้องไปกระซิบคุยกันหลังบ้าน รู้สึกว่าเอาบรรพบุรุษมาขายมากไปเสียแล้ว)

ผมไม่อยากจะเชื่อว่าสมัยพระเจ้าตาก หรือสมัย ร.๑ จะมีกฏห้ามพาเมียมาด้วยนะครับ (แต่อาจมีคนกุขึ้นมาใช้เป็นข้ออ้างทิ้งเมียไว้ก็เป็นได้ อิอิ)
ถ้าไม่มีกฏเกณฑ์อะไรเป็นพิเศษเชื่อว่ารูปแบบการอพยพน่าจะไม่ต่างกัน เพราะปัจจัยหลักยังเป็นเรื่องของ "โอกาส" เหมือนเดิม ไม่น่าจะเกี่ยวกับยุคสมัยครับ

ส่วนเรื่องอุตสาหกรรมน้ำตาลจากอ้อย อันนี้ผมเห็นด้วยครับว่าเหตุการณ์พบสาวจีนที่พัทยาในนิราศเมืองแกลงนั้นไม่ขัดกับกับภาพชาวไร่อ้อยเลย เพราะในกลอนบอกว่าจีนพวกนี้เป็นลูกจ้าง ซึ่งก็อาจเป็นลูกจ้างทำงานในไร่อ้อยได้ เสียแต่ว่ากวีไม่ยักกะระบุว่าแถวนั้นเป็นไร่อ้อย ไม่อย่างนั้นภาพคงชัดกว่านี้มาก

และศาลเจ้าที่ระบุในกลอน ก็ชี้ให้เห็นว่านี่เป็นชุมชนชาวจีน

ปัญหาอยู่ที่ว่าผมไม่รู้ว่าชาวจีนตั้งแต่ยุคปลายอยุธยาสืบเนื่องมาถึงต้นรัตนโกสินทร์ตามเมืองชายฝั่งตะวันออก นอกจากทำการค้าแล้ว เขาทำมาหากินอะไรกันอีก เมืองชลบุรีหรือบางปลาสร้อยนี้อาจไม่ได้คุมกันแน่นหนาในยุคพม่าล้อมกรุง แต่เห็นได้ชัดว่าในแผ่นดินพระเจ้าตากนั้นคุมกำลังกันได้หมดแล้วตั้งแต่ ๒-๓ ปีแรก

ถ้าจีนแถวนั้นจะหนีพม่าไปหมด ก็เห็นจะไหลกลับมาจนเต็มเหมือนเดิมในเวลาอันสั้นแหละครับ

ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ในยุคอุตสาหกรรมอ้อยเฟ่องฟู ภาคตะวันออกทั้งภาคเป็นแหล่งผลิตอ้อยสำคัญ ตั้งแต่ฃลบุรี ระยอง จันทบุรี ไปถึงตราด ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อย

แต่ผมว่าอ่านนิราศเมืองแกลงแล้ว ถ้าไม่นับชุมชนจีนที่บางปลาสร้อยกับที่เจอสาวจีนแถวพัทยาแล้ว ไม่มีบรรยากาศแบบนี้ให้เห็นอีกเลยนะครับ

ดังนั้นโอกาสที่สาวจีนจะเป็นชาวไร่อ้อยในสมัย ร.๓ จึงเป็นไปได้ แต่ไม่ได้มากไปกว่าโอกาสที่จะเป็นคนจีนในชุมชนจีนที่ตั้งหลักกันมาตั้งแต่ยุคพระเจ้าตากหรือ ร.๑ เลย ดอกาสไม่ได้เป็น 99.99% เต็มที่ก็สัก 30-40% เท่านั้นแหละครับ



กลับไปเรื่องจีนใหม่อีกที

ผมไม่แน่ใจว่าในยุคก่อนมีเรียกจีนใหม่แล้วมีจีนเก่าหรือไม่?

แต่ถ้าพิจารณาจะในสังคมจีนเองออกไป เราไม่มีจีนเก่าครับ คือมี จีนใหม่ กับ ไม่ใช่จีนใหม่

คำว่า ซิงตึ๊ง แปลตรงตัวว่าจีนใหม่ คือจีนที่มาเมืองไทยใหม่ๆ ยังกะเร่อกะร่าไม่รู้ภาษาวัฒนธรรมไทย คนจีนในไทยเองใช้ในกลิ่นอายแบบ "ไอ้บ้านนอก" อะไรอย่างนั้น และก็ไม่มีจีนเก่าในสารบบความนึกคิดของจีนแต่อย่างใด เพราะ ไอ้บ้านนอก เมื่อรู้ความแล้วก็พ้นสภาพความเป็นไอ้บ้านนอกไป ไม่ได้รับเกียรติเป็นจีนเก่า หรือจีนเก๋าแต่อย่างใด

ผมยังคิดว่าคนไทยเองก็รับโลกทัศน์นี้จากคนจีนไปเรียกจีนใหม่ ไม่ได้สร้างคำจีนใหม่/จีนเก่าขึ้นมาจากระลอกการอพยพเองโดยไม่เกี่ยวกับคำว่าซิงตึ๊งแต่อย่างใดนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 15 ต.ค. 07, 16:45

คำว่าจีนใหม่ ส่อเค้าว่าเป็นคำเรียกของวัฒนธรรมเมือง
คิดดูว่า ถ้าอาตี๋เดินทางจากซัวเถา มาที่แปดริ้ว แกก็คงเข้าสมทบกับพรรคพวกที่อยู่มาก่อนแล้ว การแบ่งเขาแบ่งเราไม่น่าจะรุนแรง
แต่ถ้าอาตี๋เข้ามาบางกอก คำเรียกแบบเหยียดมีเค้าว่าจะเกิดทันที เพราะในกรุง มีจีนมากมายหลายพวก
ทีนี้ จีนซินตึ้งเข้ามามากในครั้งใด

ผมเดาว่า ในกรุง ไม่ต้องการจีนกุลี พวกแรงงานนั้นต้องไปอยู่ตามหัวเมือง บางกอกจึงควรจะปลอดซิงตึ้งในรัชกาลที่ 1
คำว่าซิงตึ้ง จึงไม่น่าจะเป็นศัพท์รัชกาลที่ 1
งานที่ทำก็ตั้งแต่เหมืองแร่ - รังนก ที่ปักษ์ใต้ ประมงและงานไร่แถบปากอ่าว โดยเฉพาะฟากเมืองชล
ไกล้เข้ามาอีกทีก็กุลีโรงน้ำตาล ซึ่งต้องจับจองแม่น้ำสายสำคัญเป็นหลัก
การขุดคลองในรัชกาลที่ 3 - 4 ก็เพื่ออุตสาหกรรมเหล่านี้ และมาเสริมด้วยโรงสีหลังสนธิสัญญาเบาริ่ง

ดังนั้น ผมจึงขอย้ำว่า หมุดเวลานั้น หาได้ในนิราศเมืองแกลงแน่นอน จากข้อมูลสภาพบ้านเมือง และผู้คน
ยิ่งไม่มีร่องรอยของการทำไร่ ยิ่งชี้ชัดว่า หัวเมืองพวกนี้ อุ่นหนาฝาคั่งขึ้นมาอีกระดับหนึ่งโดยไม่พึ่งน้ำตาล

แต่จะคับคั่งก่อน หรือหลังอุตสาหกรรมน้ำตาล คำตอบน่าจะหาไม่ยากครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.146 วินาที กับ 19 คำสั่ง