เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 42519 นิราศเมืองแกลงผ่านดาวเทียม
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 10 ต.ค. 07, 22:26

คุณ CRazyHorse ครับ
ขออนุญาตถามด้วยคนครับ
ว่าเป็นไปได้ไหมครับ ที่จีนใหม่จะหมายถึงพวกที่พูดออกสำเนียงแต้จิ๋ว
ที่พระเจ้าตากท่านพามาจากบ้านท่าน

ส่วนจีนเก่าก็น่าจะหมายถึงพวกจีนที่พูดออกสำเนียงฮกเกี้ยน (?) ไป แบบจีนอยุธยาน่ะครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 10 ต.ค. 07, 22:54

เห็นจะไม่ใช่หรอกครับ

คนไทยแยกแต้จิ๋วกับฮกเกี้ยนไม่ออกแน่ สองสำเนียงนี้เป็นตระกูลเดียวกัน(หมิ่นหนาน) ตอนผมเจอคนฮกเกี้ยนครั้งแรกยังแอบฟังตั้งนานกว่าจะจับได้ว่าเขาไม่ได้พูดแต้จิ๋ว

อีกอย่างหนึ่ง พระเจ้าตากท่านไม่ได้พาคนแต้จิ๋วมาจากบ้านครับ อย่างน้อยตัวท่านเองก็เป็นคนจีนรุ่นที่สองในแผ่นดินไทยแล้ว ผมคิดว่าคนแต้จิ๋วอพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ที่มีปริมาณน้อยกว่าฮกเกี้ยนก็เพราะแต้จิ๋วในจีนมีสัดส่วนน้อยครับ

การที่มีลูกแต้จิ๋วได้เป็นกษัตริย์ในแผ่นดินไทย เชื่อว่าเป็นแรงจูงใจให้คนแต้จิ๋วอพยพเข้ามามากในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่ไม่ใช่เพราะพระองค์ไปพามาแน่ๆครับ เขาพามากันเองเป็นทอดๆ ถ้าบอกว่าพระองค์ทรงกรุณาเป็นพิเศษจึงเป็นเหตุให้เข้ามากันมาก อันนี้ผมว่าน่าจะจริงครับ

ชุมชนแต้จิ๋วในไทยมีขนาดใหญ่มาก จนเกิดภาพลวงตา มีคนจำนวนมาก(ผมก็เคย)เข้าใจผิดว่าแต้จิ๋วเป็นพวกใหญ่ในจีน ซึ่งขัดความเป็นจริงที่ว่ามีอยู่แค่ไม่กี่อำเภอเท่าั้นั้น ถึงมีจำนวนระดับหลายล้านคน แต่เผลอๆจะน้อยกว่าพวกจ้วงซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาตระกูลไทเสียอีกครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 10 ต.ค. 07, 22:55

"ชาวเมืองทางหัวเมืองชายทะเลรักใคร่นับถือเขามาก"  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าขณะนั้นประทับอบู่ที่บ้านบางช้าง เมืองราชบุรี
ได้ทรงแนะนำพระราชอนุชาให้เข้าถวายตัวกับพระเจ้ากรุงธนบุรีี(อภินิหารบรรพบุรุษ)


ขอบคุณที่ชวนค่ะ  มิบังอาจยึดอภิสิทธิ์ในเรื่องปล่อยไก่ ไว้เป็นของตนตามที่คุณ CrazyHOrse  เอื้อเฟื้อ

ความรู้เพียงอ่านออกเขียนได้ค่ะ  ตามมาอ่านด้วยความสุขและพอใจเหลือหลาย  รายละเอียดทางประวัติศาสตร์ไม่แม่นยำ  แต่ก็จะพยายามอ่านให้แม่นเสียก่อน

เรียนเชิญคุณ CrazyHOrse  นำทางได้ค่ะ
รับหน้าที่เป็นหน่วงพะรุงพะรังตามมา
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 10 ต.ค. 07, 23:11

ขอบคุณ คุณ CRazyHorse มากครับผม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 11 ต.ค. 07, 18:49

วันที่ ๔ ของการเดินเท้า เป้าหมายวันนี้คือระยอง แต่เมื่อคืนนี้
สงสารแสงแสนสุดเมื่อหยุดพัก   เฝ้านั่งชักกัญชากับตาสัง
เสียงขาคะอยู่จนพระเคาะระฆัง   ต่างร่ำสั่งฝากรักกันหนักครัน

นายแสงสุมหัวกับตาสังเมากัญชากันจนพระเฆาะระฆัง ก็เกือบยันสว่าง เพราะเฆาะระฆังขึ้นมาทำวัตรเช้า ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ก็ราวตีสี่ล่ะครับ จะมีแรงเดินได้ไงนี่

แสนวิตกอกพี่เมื่ออ้างว้าง         ถามถึงทางที่จะไปในไพรสัณฑ์
ชาวบ้านบอกมรคาว่ากว่าพัน      สะกิดกันแกล้วกล้าเป็นน่ากลัว

เป็นเส้นทางป่า "มรรคาว่ากว่าพัน" ที่ชาวบ้านพูดถึงนั้นคือพันเส้น ก็ราว ๔๐ กม. เมื่อจับระยะดูก็จริงตามนั้น นาจอมเทียนไประยองระยะทางไกลกว่า ๔๐ กม.ครับ

กวีของเราได้ฟังความดังนั้น
ยิ่งหวาดจิตคิดคุณพระชินสีห์      กับชนนีบิตุเรศบังเกิดหัว
ข้าตั้งใจไปหาบิดาตัว              ให้พ้นชั่วที่ชื่อว่าไภยันต์
อธิษฐานแล้วสะท้านสะท้อนอก   สำเนียงนกเพรียกไพรทั้งไก่ขัน
เมฆแอร่มแย้มแยกแหวกตะวัน    ก็ชวนกันอำลาเขาคลาไคล

ไม่แต่กวีหรอกครับที่ขยาด ผมก็ด้วย เพราะเส้นทางจากนี้ไปมีสถานที่หลายแห่งสืบหาตำแหน่งได้ยากมากถึงยากมากที่สุด

ผมไปเจอเว็บนึงที่พอจะเป็นประโยชน์
http://202.183.216.170/suntonpu/wellcome.htm และ http://202.183.216.170/suntonpu/mod1.htm
เป็นเว็บของโรงเรียนระยองวิทยาคมที่พานักเรียนไปทัศนศึกษาหมุดกวีที่ทางจังหวัดระยองจัดทำไว้ตามพระดำริของสมเด็จพระเทพรัตน์เมื่อราวปี ๒๕๔๒-๒๕๔๓ แต่เท่าที่ดูจากแผนที่ตำแหน่งหมุดในเว็บดังกล่าว บางหมุดผมรู้สึกว่าไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่ จึงขอใช้เพียงเพื่อพิจารณาประกอบการกำหนดตำแหน่งครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 11 ต.ค. 07, 21:28

จากนาจอมเทียนเดินเข้าดง
เขม้นเมินเดินตรงเข้าดงดึก        ดูซึ้งซึกมิได้เห็นพระสุริย์ใส
เสียงฟ้าร้องก้องลั่นสนั่นไพร      ไม้ไหวไหวเหลียวหลังระวังคอย
สงัดเงียบเยียบเย็นยะเยือกอก     น้ำค้างตกหยดเหยาะลงเผาะผอย
พฤกษาสูงยูงยางสล้างลอย        ดูชดช้อยชื่นชุ่มชอุ่มใบ

ดูความอุดมสมบูรณ์ของป่าแถวจอมเทียนสิครับ ถ้าไม่ได้อ่านนิราศเมืองแกลงนี่คิดเองไม่ได้เลยครับ จินตนการไม่สูงพอ เพราะแถวนั้นตอนนี้มีแต่ทุ่งสลับกับคอนโด

ช่วงนี้ขอให้ดูแผนที่นี้ประกอบนะครับ http://www.rayongland.4t.com/bigmap2.htm

ถึงปากช่องหนองชะแง้วเข้าแผ้วถาง    แม้นค่ำค้างอรัญวาได้อาศัย
เป็นที่ลุ่มขุมขังคงคาลัย                 วังเวงใจรีบเดินไม่เมินเลย
หนทางรื่นพื้นทรายละเอียดอ่อน        ในดงดอนดอกพะยอมหอมระเหย
หายละหวยด้วยพระพายมาชายเชย     ชะแง้เงยแหงนทัศนามา

หนองชะแง้วคือหนองชากแง้ว กวีของเราคงฟังด้วยหูชาวกรุงแล้วได้ยินว่าหนองชะแง้ว คำว่า ชาก นี้ปรากฏบ่อยเป็นชื่อสถานที่แถบภาคตะวันออก พจนานุกรม ร.บ.๒๕๔๒ ไม่ใส่ไว้ (ไม่ทราบว่าฉบับมติชนมีหรือเปล่านะครับ)

ค้นในเน็ตมีคนบอกว่าแปลว่า "บาง" ของภาคกลาง แต่ผมเห็นว่าเลอะ ไม่เข้าเค้าเลย ไม่ว่าจะในความหมายว่าลำน้ำ หรือความหมายกลายที่ในยุคหลังแปลว่าชุมชนริมลำน้ำ เฉพาะในนิราศเมืองแกลงนี้ก็เห็นอยู่แล้วว่าชากอยู่ในป่าชัดๆเลย

อีกที่หนึ่งบอกว่าหมายถึงป่าที่ถูกหักร้างถางพงแล้ว ข้อนี้น่าฟังกว่า แต่ยังยืนยันเป็นมั่นเหมาะไม่ได้ คำนี้อาจจะเป็นภาษาชอง ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองแถบระยองครับ ส่วนคำว่าแง้ว อาจเป็นคำชอง "แงว" แปลว่า ปลาดุกรำพัน (เป็นชื่อปลาชนิดหนึ่งนะครับ มิใช่ปลาดุกทำกิริยารำพันแต่อย่างใด)

ปัจจุบันมีบ้านชากแง้วอยู่เป็นชุมชน แต่หนองชากแง้วนั้นอยู่ทางตะวันออกของบ้านชากแง้วไปหลายกม. หนองชากแง้วนั้นเป็นที่ลุ่มระหว่างภูเขาหลายลูก มีลำธารหลายสายไหลลงมาในบริเวณนั้น ทางตะวันตกของหนองชากแง้วมีช่องเขาที่จะออกไปทางบ้านชากแง้วได้ และที่สำคัญ ไปทางช่องเขานี้ก็จะออกไปทางนาจอมเทียนเช่นเดียวกัน ผมเชื่อว่าปากช่องหนองชากแง้วก็คือปากช่องเขาตรงนี้เองครับ

อ้อ ถึงปากช่องหนองชะแง้วเข้าแผ้วถาง  แม้นค่ำค้างอรัญวาได้อาศัย ผมว่าน่าจะเป็น "เขา" แผ้วถางมากกว่านะครับ ขบวนนี้คงไม่ว่างมานั่งถางป่าให้ชาวบ้านพักกันตอนนี้หรอกครับ และโปรดสังเกตว่า อรัญวา โผล่มาอีกแล้ว

ถึงบางไผ่ไม่เป็นไผ่เป็นไพรชัฏ    แสนสงัดเงียบในไพรพฤกษา
ต้องข้ามธารผ่านเดินเนินวนา      อรัญวาอ้างว้างในกลางดง

ในจำนวนลำห้วยหลายสายที่ไหลผ่านหนองชากแง้ว มีสายหนึ่งชื่อคลองบางไผ่ คลองบางไผ่นี้น่าจะเป็นลำห้วยที่ใหญ่กว่าลำธารอื่นๆ เพราะปัจจุบันมีการสร้างฝายกักเก็บน้ำในบริเวณใต้หนองชากแง้ว เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่ขึ้นมา คลองบางไผ่นี้จะอยู่ทางตะวันออกของหนองชากแง้วแล้วครับ

ถึงพงค้อคอเขาเป็นโขดเขิน         ต้องขึ้นเนินภูผาป่าระหง
ส่งกระทั่งหลังโคกเป็นโตรกตรง     เมื่อจะลงก็ต้องวิ่งเหมือนลิงโลน
ไต่ข้ามห้วยเหวผาจนขาขัด          ต้องกำดัดวิ่งเต้นดังเล่นโขน
ทั้งรากยางขวางโกงตะโขงโคน      สะดุดโดนโดดข้ามไปตามทางฯ
ถึงพุดรสาครเป็นพวยพุ              น้ำทะลุออกจากชะวากขวาง
ดูซึ้งใสไหลเชี่ยวเป็นเกลียวกลาง    สไบบางชุบซับกับอุรา

จากแผนที่ในลิงก์ข้างต้น ลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ของหนองขากแง้วจะเห็นวัดภูดร เชื่อว่าอยู่ตรงตำแหน่งพุดรที่ปรากฏในนิราศเมืองแกลง ส่วนพงค้อนั้นน่าเป็นจุดใดจุดหนึ่งตรงภูเขาระหว่างคลองบางไผ่กับพุดรนั่นเอง
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 00:00

หายไปซ้อมเดินตามลูกยางเล็กๆซะนาน  กลับมาท่าน CH เล่นแบบนี้เลยเหรอ   เยี่ยมเลยครับชัดเจนดี  ลอทำนิราศเมืองเพชรดูบ้างสิครับท่าน....... ตกใจ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 18:24

มาช่วยกันสิครับ นิราศเมืองเพชรผมปักหมุดไว้ 95% นานแล้วครับ ตอนนี้ขอเดินให้ถึงบ้านกร่ำก่อน ชักจะล้าๆแล้วครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 18:40

มาให้น้ำค่ะ อย่าเพิ่งล้า
มีอะไรให้ช่วยไหมคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 19:16

ในนิราศเมืองแกลง  พูดถึงชาวชอง นิดหน่อย

ดูหนุ่มสาวชาวบ้านรำคาญจิต         ไม่น่าคิดเข้าในกลอนอักษรสนอง
ล้วนวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง  ไม่เห็นน้องนึกน่าน้ำตากระเด็น
แล้วไปชมกรมการบ้านดอนเด็จ      ล้วนเลี้ยงเป็ดหมูเนื้อดูเหลือเข็ญ
ยกกระบัตรคัดช้อนทุกเช้าเย็น        เมียที่เป็นท่านผู้หญิงนั่งปิ้งปลาฯ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 19:38

ถ้าผิดพลาดท่าน CH ช่วยด้วยนะครับ
ชอง  นี่คือชาวพื้นเมืองแถบตะวันออกของไทย  ซึ่งสันนิษฐานว่าไม่ได้ย้ายมาจากที่ไหน  แต่เป็ฯชาวพื้นเมืองดั้งเดิม  มีภาษาพูดเป็นของตัวเองแต่ไม่มีภาษาเขียน  ปัจจุบันก็จะอาศัยอยู่แถบจันทบุรีและตราด  แถบเขาคิชฌกูฏ  เขาสมิง  ซึ่งน่าประทับใจที่ยังรักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมกันได้เป็นอย่างดี  แม้จะถือผีแต่ก็หันมาถือพุทธร่วมกันได้อย่างกลมกลืน
ภาพจำลองวัฒนธรรมชาวชอง
ภาพจาก  http://www.thaitambon.com


บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 12 ต.ค. 07, 20:25

http://www.krp.in.th

         ไม่มีเอกสารหลักฐานใดที่จะกล่าวถึงว่า      "   ชอง  "      มาจากไหนแต่ปรากฏในข้อเขียของ
ดร.บีแอร์ ชื่อ แคมโบช ว่าคนพื้นเมืองของจันทบุรี  คือ   ชอง    จัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรเอเชียติค
กลุ่มมอญ  -  เขมร     คนชองมีรูปร่างลักษณะร่างกายสันทัดสูงประมาณ    5   ฟุต     ผมหยิกหยักศก
หน้าผากเหลี่ยม     คางตูม    จมูกหักหน้าตาหนา      ผิวดำแดงคล้ำ    แข็งแกร่ง    ค่อนข้างต่ำ    นิสัย
ใจคอซื่อสัตย์   พูดไม่เก่ง    ชอบอยู่ในที่สงบ   รักอิสระ     ปัจจุบันจันทบุรีมีประชากรชองอยู่ประมาณ
6,000    คน      ในเขตบ้านวังแซ้ม     บ้านปิก      อำเภอมะขาม      บ้านกระทิง      บ้านตะเคียนทอง   
บ้านคลองพลู      บ้านคลองน้ำเย็น     กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ

วิถีชีวิต

ชองมีภาษาพูด      และวัฒนธรรมของตนเอง      นับถือผีบรรพบุรุษ      ทำพิธีเซ่นไหว้ทุกปี
เป็นการรวมญาติเรียกว่า         พิธีเลี้ยงผีหิ้งผีโรง         การทำมาหากินด้วยการปลูกข้าวไร่เก็บของป่า
และเป็นพรานที่ชำนาญ    ชองมีความเป็นอยู่อย่างง่าย    ๆ   สร้างบ้านด้วยไม้ไผ่    หญ้าคา   ใบระกำ
ยกพื้นบ้านมีนอกชาน   พร้อมด้วยห้องเรือน   และครัวติดต่อกัน  หลังบ้านมียุ้งข้าว   กินอาหารง่าย  ๆ
ชองไม่มีภาษาเขียนแต่มีภาษาพูด      เช่น    "  พูดโธ่พุดถัง กาละมัง ครอบ โต๊ด  "    ทั้งประโยค    มี
ความหมายที่เป็นภาษาชอง  โต๊ด แปลว่า  หัว   " อูน เจว ท่อ แซ " แปลว่า  พ่อไปทำนาอย่างนี้เป็นต้น
การปรับตนในสังคมปัจจุบันโดยปกติชอบเอาอย่างคนอื่น              เลียนแบบปรับตัวเข้ากับสมัยได้เร็ว
มักลืมของเก่าชอบของ        ใหม่ดังนั้นสังคม          และวัฒนธรรมของชาวชองเริ่มที่จะเลือนหายไป   
แม้ว่าวัฒนธรรมการแต่งกายในชีวิตประจำวันก็จะเป็นเหมือนคนจันทบุรีโดยทั่วไป   ปัจจุบันชาวชอง
ได้รับการศึกษาเหมือนคนทั่วไปมีสิทธิเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป

ภาพชาวชอง


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 00:37

มาตั้งข้อสังเกตย้อนหลังหน่อย ที่ความเห็น 49
ยิ่งหวาดจิตคิดคุณพระชินสีห์      กับชนนีบิตุเรศบังเกิดหัว
ข้าตั้งใจไปหาบิดาตัว              ให้พ้นชั่วที่ชื่อว่าไภยันต์

ผมสงสัยตรงนี้หน่อยหนึ่ง ขอปรึกษาคนที่รู้ว่า กวีเอ่ยถึงพ่อกี่คนครับ
มี "บิตุเาศบังเกิดหัว"
กับ "บิดาตัว"
ยังกับเป็นสองคน เพราะเรียงกลอนต่อกัน
แล้วพ่อมาเกี่ยวอะไรกับความชั่วที่ต้องหนีให้พ้น
ในเชิงกลอนนั้น ผมไม่พึงใจกับศัพท์แสงตรงนี้เลย ออกจะมั่วซั่วไปหน่อย
นักกลอนจะว่าอย่างไรครับ

ส่วนประเด็นจีนใหม่นี่ ผมก็พยายามหาทางสรุปมาหลายเพลา ยอมแพ้ด้วยว่าข้อมูลไม่พอ
ที่กวีได้ยินแม่สาวจีนเธอร้องไล้ขื่อนั้น ฟังได้ว่า กวีคุ้นกับจีนแต้จิ๋วแล้ว
หมวยเธอจะร้องว่าอะไรก็ช่างเธอ แต่หูกวีรายงานตามที่อยากได้ยิน
นั่นแปลว่ากวีของเรา มาจากบางกอกในยุคที่จีนแต้จิ๋วเต็มเมืองกระนั้นหรือ
หรือว่าจีนอื่นก็ร้องไล้ขื่อด้วยเหมือนกันครับคุณท้องเสีย....เอ้ย คุณเครซี่จอมขยัน
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 04:11

ถึงปากช่องหนองชะแง้วเข้าแผ้วถาง    แม้นค่ำค้างอรัญวาได้อาศัย
เป็นที่ลุ่มขุมขังคงคาลัย                 วังเวงใจรีบเดินไม่เมินเลย
หนทางรื่นพื้นทรายละเอียดอ่อน        ในดงดอนดอกพะยอมหอมระเหย
หายละหวยด้วยพระพายมาชายเชย     ชะแง้เงยแหงนทัศนามา

ผมว่า "ชาก" ใน ชากแง้ว นี้ อาจแปลว่า "หนอง" ก็ได้มั้งครับ ? สุนทรภู่ก็เลยเรียก "หนองชะแง้ว" เทียบง่ายๆ ก็อาจเป็น "หนองปลาดุก"

ชาก กับ มาบ พบมากพอๆ กัน (มาบ : ที่ลุ่มกว้างใหญ่ อาจมีน้ำขัง หรือไม่มีก็ได้)

ผมลองไปรวบรวมคำว่า "ชาก" ในชื่อหมู่บ้านต่างๆ ของภาคตะวันออก ก็แปลกใจอยู่ไม่น้อยว่า มีรูปแบบการตั้งชื่อที่ทำให้นึกไปถึงคำว่า "บาง" ที่พบมาทางภาคกลาง  ลังเล

ไม่รู้ว่าจะเป็นเพราะความหมายคำว่า "ชาก" ถูกกรอบความคิดของภาษาไทยกลางเปลี่ยนให้เป็น "บาง" หรือเปล่า ฮืม แต่เป็น "บาง" ที่หมายถึง "สถานที่" เช่น บ้านชากผักกูด ก็น่าจะหมายถึง สถานที่นี้ มีผักกูดเยอะ หรือ บ้านชากมันเทศ (น่าจะเป็นชื่อใหม่) ก็หมายถึง สถานที่นี้มีไร่มันเทศ

คำว่า ชาก คงถูกเปลี่ยนความหมาย และบางพื้นที่อาจถูกเปลี่ยนเป็นคำไทยไปแล้ว

ชื่อต้นไม้ (ซึ่งทำให้พิจารณาว่า ชาก ไม่น่าจะเป็น หนองน้ำ หรือ บึง แต่น่าจะเป็น บาง)
บ้านชากผักกูด
บ้านชากพุดซา
บ้านชากมะหาด
บ้านชากมะกรูด
บ้านชากลูกหญ้า
บ้านชากขนุน
บ้านชากมันเทศ
บ้านชากอ้อย
บ้านชากทองหลาง
บ้านชากโดน (ต้นกระโดน)
บ้านชากบก (ต้นกระบก)
บ้านชากพง (ต้นกระพง)
บ้านชากกระปอก (เฟิร์นชนิดหนึ่ง)
บ้านชากมาลัย (ต้นมาลัย ?)
บ้านชากตะไคร้

ชื่อบุคคล (อันนี้ ใช้กับ บาง เยอะพอควร เช่นในกรุงเทพฯ จะพบ บางขุนศรี บางขุนเทียน บางขุนพรหม)
บ้านชากยายจีน
บ้านชากยายนาค
บ้านชากตาด้วง
บ้านชากตาดา
บ้านชากเจ้าหลวง
บ้านชากเจ้าเดียว
บ้านชากขุนวิเศษ

บอกคุณลักษณะของ "ชาก" (อันนี้เทียบได้ คือ บางนา บางนอก บางใหญ่ บางเล็ก แต่บางน้ำลึก ไม่คุ้นครับ)
บ้านชากนา
บ้านชากนอก
บ้านชากใหญ่
บ้านชากเล็ก
บ้านชากน้ำลึก (อันนี้น่าสนใจ เพราะจะหมายถึง หนองน้ำ หรือ บึง ที่มีน้ำลึกหรือไม่ ถ้าใช่ก็แสดงว่า ความหมายแต่เดิมของ "ชาก" น่าจะหมายถึง หนองน้ำ หรือ บึง)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 08:03

พูดถึงคำว่า "จีนใหม่" ดิฉันกลับนึกถึงรัชกาลที่ ๓   ทั้งๆก็รู้ว่าคนจีนอพยพเข้ามาในไทยตั้งแต่อยุธยาแล้ว 
ที่คิด เพราะเข้าใจว่าในรัชกาลที่ ๓ ทรงเปิดโอกาสให้จีนอพยพเข้ามาในไทยกันมาก   นอกจากไม่กีดกันแล้วยังสนับสนุนอีกด้วย  เพราะทรงเล็งเห็นว่าแรงงานจีนจะมาเป็นกำลังให้บ้านเมือง ในงานด้านต่างๆ ทั้งงานโยธาและงานช่าง
จริงอยู่ คนจีนเข้ามาไทยได้เสมอ  ไม่มียุคไหนกีดกันห้ามเข้าประเทศ    แต่จำได้ว่าในรัชกาลที่ ๓ นี่แหละมีการหลั่งไหลเข้ามา   
ผลที่เห็นคืองานก่อสร้างและบูรณะวัดวาอาราม   งานช่างจีนที่ประดับตามวัด  ระบบเจ้าภาษี  ฯลฯ
ในกรุงเทพ แต้จิ๋วเข้ามาแยะ อาจจะกระจายไปถึงจังหวัดอื่นๆในภาคกลางด้วย

อย่าลืมเรื่ององค์ชายสี่คุมขบวนเรือเข้ามาในรัชกาลที่ ๓  ถ้ากรองเอาเกร็ดเรื่ององค์ชายออกไป   เหลือแต่เนื้อๆ   
ก็จะมองได้ว่าในสมัยนั้น  ข่าวคงแพร่หลายไปถึงจีนว่า สยามเป็นอาณาจักรที่เปิดรับคนจีน เข้ามาได้สะดวกสบายมากกว่าดินแดนอื่นๆ
เข้ามาเท่าไรก็ได้ไม่จำกัดจำนวน  ไม่ถูกกั้นเขตแหล่งทำมาหากินด้วย
คนจีนจึงเข้ามากันมาก เรียกว่าเป็นระลอกใหญ่ทีเดียว     

พวกนี้ ชาวบ้านเรียกว่า "จีนใหม่" ได้หรือไม่คะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ต.ค. 07, 08:03 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 19 คำสั่ง