เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 42461 นิราศเมืองแกลงผ่านดาวเทียม
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 ต.ค. 07, 00:53

มันต้องให้ได้อย่างนี้สิ คุณcrazyhorse!!!!
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ต.ค. 07, 21:47

ฝีพายกลับมาแล้ว เชิญลงเรือกันได้เลยครับ

ทับนาง ปัจจุบันยังมีคลองทับนางอยู่ครับ บรรยากาศคลองทับนางช่างเงียบเหงาเหลือเกิน
ถึงทับนางวางเวงฤทัยวับ           เห็นแต่ทับชาวนาอยู่อาศัย
นางชาวนาก็ไม่น่าจะชื่นใจ         คราบขี้ไคลคร่ำคร่าดังทาคราม
อันนางในนคราถึงทาสี             ดีกว่านางทั้งนี้สักสองสาม
โอ้พลัดพรากจากบุรินแล้วสิ้นงาม  ยิ่งคิดความขวัญหายเสียดายกรุง
กวีท่านนี้ ไม่ว่าจะใช่จะใช่สุนทรภู่หรือไม่ ปากจัดใช้ได้เลยครับ

บางพลี บรรยากาศบางพลีตรงข้ามกับทับนางอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
ถึงบางพลีมีเรือนอารามพระ           ดูระกะดาษทางไปกลางทุ่ง
เป็นเลนลุ่มลึกเหลวเพียงเอวพุง       ต้องลากจุงจ้างควายอยู่รายเรียง
ดูเรือแพแออัดอยู่ยัดเยียด            เข้าเบียดเสียดแทรกกันสนั่นเสียง
แจวตะกูดเกะกะปะกระเชียง          บ้างทุ่มเถียงโดนดุนกันวุ่นวาย
โอ้เรือเราคราวเข้าไปติดแห้ง          เห็นนายแสงผู้เป็นใหญ่ก็ใจหาย
นั่งพยุงตุ้งก่านัยน์ตาลาย              เห็นวุ่นวายสับสนก็ลนลาน
น้อยกับพุ่มหนุ่มตะกอถ่อกระหนาบ   เสียงสวบสาบแทรกไปด้วยใจหาญ
นายแสงร้องรั้งไว้ไม่ได้การ           เอาถ่อกรานโดยกลัวจนตัวโกง
สงสารแสงแข็งข้อไม่ท้อถอย         พุ่มกับน้อยแทรกกลางเสียงผางโผง
ถ้วยชามกลิ้งฉิ่งฉ่างเสียงกร่างโกรง   นาวาโคลงโคลนเลอะตลอดแคมฯ

บางพลียุคนั้นคึกคักน่าดูครับ บรรยากาศคล้ายๆกับคลองโยงทางฝั่งท่าจีน การตื้นเขินของคลองลัดที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำสองสาย โดยเฉพาะที่เชื่อมในแนวขวางแบบนี้ เป็นเรื่องธรรมชาติครับ สาเหตุเป็นเพราะว่าน้ำจะไหลเข้าจากปากคลองทั้งสองฝั่ง และไหลมาชนกันตรงกลาง ดังนั้นยิ่งเข้าใกล้กลางคลอง น้ำยิ่งไหลเบา ตะกอนที่มากับน้ำก็จมลง จนตื้นเขินในที่สุด

เรื่องนี้ไม่เกินสติปัญญาบรรพบุรุษของเราไปได้ มีการขุดคลองจากตรงกลางคลองลงมาไปออกที่อื่น กรณีของคลองมหาสวัสดิ์และคลองโยงใช้คลองทวีวัฒนาเพื่อการนี้ ทำให้ลดการสะสมของตะกอน คลองจะตื้นช้าลงครับ

ปัจจุบัน คลองสำโรงจะมีคลองลัดไหลลงทะเลหลายคลอง แต่ก็ยังต้องพึ่งการขุดลอกเป็นครั้งคราวด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 ต.ค. 07, 22:25

จนตกลึกล่วงทางถึงบางโฉลง         เป็นทุ่งโล่งลานตาล้วนป่าแขม
เหงือกปลาหมอกอกกกับกุ่มแกม     คงคาแจ่มเค็มจัดดังกัดเกลือ

บางโฉลง เป็นชื่อคลองที่กลายเป็นชื่อตำบลในปัจจุบัน จากคลองสำโรงขึ้นไปตามคลองนี้ข้ามถนนบางนา-ตราดไปจนถึงสนามบินสุวรรณภูมิ แล้วไหลเลียบไปตลอดฝั่งตะวันออกของสนามบินที่เห็นเป็นสี่เหลี่ยมใหญ่โตเบ้อเร่อเบ้อร่ากลางภาพในคคห.๑๒ นั่นไงครับ ส่วนที่อยู่ตรงสนามบินสุวรรณภูมิเรียกชื่อว่าคลองหนองงูเห่า ส่วนคลองที่เป็นแนวตะวันตกของสนามบิน ก็คือคลองลาดกระบัง ที่เชื่อมต่อมาจากคลองบางพลีนั่นเอง

ผมไม่ทราบว่าคลองบางพลี-คลองลาดกระบัง และคลองบางโฉลง-คลองหนองงูเห่า อยู่ในสภาพนี้มาก่อนแล้วหรือถูกปรับให้เป็นอย่างนี้ระหว่างการก่อสร้างสนามบินนะครับ ท่านใดทราบกรุณามาช่วยหน่อยครับ

ถึงหัวป่าเห็นป่าพฤกษาโกร๋น          ดูเกรียนโกรนกรองกรอยเป็นฝอยเฝือ
ที่กิ่งก้านกรานกีดประทุนเรือ          ลำบากเหลือที่จะร่ำในลำคลอง

ในจังหวัดสมุทรปราการมีหมู่บ้านชื่อหัวป่าอยู่สองที่ แต่ทั้งสองที่ไม่ได้อยู่ใกล้กับบริเวณนี้เลย ผมเข้าใจว่าสภาพสมุทรปราการเมื่อก่อนคงจะเป็นป่าสลับกับชุมชนเป็นระยะๆ ก็เลยต้องมีหัวป่าหรือทวารอรัญวาเยอะหน่อย ที่รอดมาจนถึงเป็นชื่อหมู่บ้านยุคใหม่ได้นั้น คงเป็นส่วนน้อยแล้วครับ

ถึงหย่อมย่านบ้านไร่อาลัยเหลียว     สันโดษเดียวมิได้พบเพื่อนสนอง
เขารีบแจวมาในนทีทอง              อันบ้านช่องมิได้แจ้งแห่งตำบล

ปัจจุบันมีบ้านไร่อยู่แถวนี้จริง แต่ต้องเลยไปอีกหน่อย คือเลยคลองกระเทียม(ซึ่งเป็นตำบลถัดไป)ไปอีก ผมเข้าใจว่าแถวนี้คงเหมาะจะทำไร่ และมีไร่อยู่น่าจะตลอดแนว โดยเฉพาะฝั่งใต้ของคลองสำโรงแถบนี้ที่ยังมีร่องรอยชื่อบ้านไร่ และบ้านไร่พริกอยู่ ดังนั้นบ้านไร่นี้เห็นที่จะไม่ใช่ชื่อเฉพาะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 08:30

จากค.ห. 9
อ้างถึง
หลังจากปิดคลองลัดโพธิ์ไปในสมัย ร.๑ เป็นอันว่าทางลัดที่เคยใช้ลัดประหยัดระยะทางได้ถึง ๑๗ กม.ก็ไม่มีอีกแล้ว ยิ่งพิจารณาว่าระยะทางจากปากคลองบางกอกใหญ่มาถึงลัดโพธิ์นี่แค่ราว ๑๒-๑๓ กม.เท่านั้นเอง คงจะพอเห็นความสำคัญของคลองนี้นะครับ

แต่ธรรมชาติหรือจะสู้สติปัญญามนุษย์ได้ มาถึงรัชกาลที่ ๒ มีรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ลงไปสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ในพ.ศ. ๒๓๔๘ ได้ขุดคลองลัดหลวงในคราวนั้นด้วย

เป็นหลักฐานพอจะชี้ได้ไหมว่า กวีได้เดินทางอ้อมไปถึง ๑๗ ก.ม. เพราะในเวลานั้นคลองลัดโพธิ์ปิดไปแล้ว   คลองลัดหลวงก็ยังไม่ได้ขุด
แสดงว่านิราศเมืองแกลงแต่งก่อน พ.ศ. ๒๓๔๘  แต่ช้ากว่าพ.ศ. ๒๓๒๕  (ต้นรัชกาลที่ ๑)
ถ้าเดินทางในรัชกาลที่ ๓ น่าจะเข้าคลองลัดหลวงไปสบายไปแล้ว 
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 09:40

อ่านความเห็นอาจารย์ข้างบน ระบุปี  ๒๓๔๘ จึงต้องย้อนไปอ่านต้นทาง....พบว่า
คุณเครซี่พิมพ์ศักราชเพี้ยนไปนิดหนึ่งครับ
ปีสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ คือ 2357 (น่าจะพิมพ์ 5 เป็น 4) ปี 2347 ยังเป็นรัชกาลที่ 1 อยู่

จึงต้องขออนุญาตแก้ข้อความของอาจารย์เป็น
"นิราศเมืองแกลงแต่งก่อน พ.ศ. ๒๓๕๘  แต่ช้ากว่าพ.ศ. ๒๓๒๕  (ต้นรัชกาลที่ ๑)"
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 11:08

ขอบคุณคุณ Pipat ที่ช่วยแก้ให้ครับ พิพม์ผิดไปจริงๆ ต้้อง ๒๓๕๘ จึงตั้งเมืองเขื่อนขันธ์เสร็จครับ

ปากคลองสำโรงจะริมแม่น้ำช่วงโค้งกระเพาะหมูของคลองลัดหลวง ดังนั้นการใช้คลองลัดหลวงเพื่อเดินทางไปคลองสำโรงจะไม่สามารถร่นระยะได้ถึง ๑๗ กม. แต่จะร่นได้ราว ๖ กม.เศษดังนี้ครับ




บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 11:21

แต่จะฟันธงว่าการที่กวีไม่ใช้คลองลัดหลวงแปลว่ายังขุดไม่เสร็จนั้น ผมยังไม่แน่ใจนัก เพราะนิราศฉะเชิงเทรา ที่ว่าแต่ง ๒๓๖๙ และเดินทางเข้าคลองสำโรงเหมือนกัน ก็ไม่ใช้คลองลัดหลวงครับ

ขอแวะออกข้างทางอีกนิดนึงครับ

อ่านนิราศธารถลาง เรียกวัดราษฏร์บูรณะว่าราชบูรณะอีกแล้ว เป็นอันว่านิราศต้นรัตนโกสินทร์ที่ผ่านมาทางนี้ถึง ๔ เรื่องแล้วที่เรียกอย่างนี้ วัดนี้ผมเจอแค่ว่าสร้างราวปี ๒๓๑๐ ไม่รู้อะไรมากกว่านั้น นิราศ ๕ เรื่องที่ผ่าน กล่าวถึงวัดนี้ถึง ๔ เรื่อง มีนิราศเืองแกลงเรื่องเดียวที่ไม่เอ่ยถึง จะผ่านตอนดึกเกินไปหรือเปล่าก็ไม่ทราบครับ

หรือชื่อเก่าจะเป็นราชบุรณะจริงๆ?
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 12:59

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงวินิจฉัยว่า เมืองหลวงโบราณจะต้องมีวัดสำคัญ 3 วัดคือ
วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ กับวัดราชประดิษฐ์
(จึงทรงสถาปนาวัดราชประดิษฐ์ในปี 2410 และทรงมีพระราชาธิบายไว้)

สันนิษฐานว่า หลังจากนั้น จึงต้องเปลี่ยนชื่อวัดที่พ้อง ให้กลายความหมายไปครับ
แปลว่า ที่เรียกราษฎ์บูรณะ เป็นของใหม่หลังประกาศรัชกาลที่ 4 (2410)....กระมัง
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 14:15

ขอบคุณครับ เรื่องเปลี่ยนชื่อวัด เห็นจะเป็นอย่างนั้นครับ แต่ผมยังสงสัยต่อว่า แล้ววัดราษฎร์บูรณะที่เดิมใช้ชื่อวัดราชบุรณะนั้นเป็น "ราชา" หรือเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะ ประวัติวัดบอกว่าสร้าง ๒๓๑๐ แต่ผ่านไปไม่กี่สิบปี นิราศพระยาตรัง ต้นรัตนโกสินทร์กลับบอกว่าไม่รู้ว่าราชาพระองค์ไหนมาสร้าง

ดูแปลกๆยังไงชอบกลครับ

เรื่องการใช้เส้นทางคลองลัด นิราศธารถลางของนายมี (แต่งราว ๒๓๗๐-๒๓๗๔ แต่มีผู้ข้องใจอยู่ว่าใช่นายมีแต่งหรือไม่) เมื่อผ่านปากคลองลัด (ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นลัดหลวง เพราะลัดโพธิ์ปิดไปสี่สิบกว่าปีแล้ว) กวีว่า

มาถึงด่านด่านเรียกให้เรือหยุด     แล้วรีบรุดมาในลำแม่น้ำไหล
ต้องเดินอ้อมค้อมคดรันทดใจ      มิได้ไปทางลัดน่าขัดเคือง


ก็น่าอึดอัดใจอยู่ เพราะกวีมากับเรือใบเดินทะเล เข้าคลองลัดไม่ได้ แต่พอเป็นหลักฐานให้เห็นว่า ณ เวลานั้น น่ามีการใช้คลองลัดหลวงกันเป็นปกติ ถ้ากวีมาเรือเล็กก็คงเข้าคลองไปแล้ว


เรื่องนิราศเมืองแกลงไม่เข้าคลองลัดหลวง (ถ้ามีแล้ว) ผมมานึกดู เป็นไปไำด้อย่างหนึ่งครับ ตอนที่ผ่านปากลัดกลอนว่า

ถึงปากลัดแลท่าชลาตื้น              ดูเลื่อมลื่นเลนลากลำละหาน
เขาแจวจ้วงล่วงแล่นแสนสำราญ      มาพบบ้านบางระเจ้ายิ่งเศร้าใจ

จากที่ผมประเมินไว้ก่อนหน้านี้ว่า ช่วงเวลาเดินทางน่าจะเป็นแรม ๒-๓ ค่ำ ดูจะระยะทางแล้ว ช่วงเวลาที่ผ่านมาถึงแถวปากลัดเป็นช่วงน้ำลง จากความตรงของคลองลัดหลวงด้านเหนือ น่าจะเป็นคลองขุดแน่ๆ โดยทั่วไปความลึกมาตรฐานของคลองขุดคือ ๖ ศอก ซึ่งต้ืนกว่าลำแม่น้ำแน่ๆ จึงเป็นไปได้ว่าเข้าคลองไม่ได้เพราะน้ำลง ทำให้คลองตื้นเขิน

ยิ่งเมื่อมาถึงคลองสำโรงแล้วต้องรอเช้าน้ำขึ้นถึงเข้าคลองได้ ดูจากแนวแล้วปากคลองลัดหลวงด้านเหนืออยู่สูงกว่าปากคลองสำโรง น้ำก็ต้องขึ้นมาถึงช้ากว่าเสียอีก

เป็นไปได้ว่า ตอนนั้นมีคลองลัดหลวงแล้ว แต่น้ำลงคลองแห้ง เลยต้องพายอ้อมไปตามลำแม่น้ำครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 16:16

เฉพาะเรื่องคลองลัดนี้ เดาเพิ่มได้อีกหลายทาง
1 ทางการขุดคลองลัด แต่งด่านที่ปากคลอง น่าจะเก็บเงิน กวีอาจจะขี้เหนียว ปล่อยให้ลูกน้องจ้ำพายไปอีกสองชั่วโมง ตัวเองนั่งสบายอยู่แล้ว
2 ถ้ามาจังหวะไม่เหมาะ เข้าคลองลัดแล้วต้องพายทวนน้ำ น่าจะเหนื่อยอยู่ พายตามน้ำไปตามเดิมดีกว่า
3 ทางเปลี่ยว ไม่อยากเข้าไปเสี่ยง

ข้อสามนี่ มีตัวอย่างในนิราศสุพรรณ
กวีมาตามคลองมหานาค แล้วมาเลี้ยววัดสะเกษทำไม อ้อมโลก
เพราะจะต้องผ่านวัดสะเกษ ไปออกคลองโอ่งอ่าง ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านวัดแจ้ง วังหลังแล้วเข้าคลองบางกอกน้อย

ทำไมไม่ตรงมาจากคลองมหานาคก็มาที่สามแยกตรงป้อมมหากาล แล้วออกขวาผ่านวัดปรินายก ตรงออกบางลำภู
ก็ออกเจ้าพระยาตรงวัดสังเวชได้เหมือนกัน

ผมเดาว่า เส้นนี้ กลางคืนไม่น่าผ่าน ฉวยเป็นอะไรไป เช่นเรือยางแบน....เอ๊ะ ไม่ใช่สิ
เกิดไปเกยตื้นตรงใหนสักแห่ง พอดีโดนปล้น ตายฟรี....กระมัง
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 17:49

ตอนสร้างนครเขื่อนขันธ์ ร.๒ ทรงให้ครัวมอญที่อพยพเข้ามาครั้งใหญ่ในครั้งนั้นไปตั้งบ้านเรือน นอกจากนี้ก็ยังมีที่กะเกณฑ์รวบรวมจากละแวกนั้นด้วย ดูจากจำนวนวัดที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวผมว่าแถวนครเขื่อนขันธ์ต้องคึกคักไม่เบาครับ โดยเฉพาะริมคลองลัดหลวงเองก็มีหลายวัดแล้วครับ

เป็นไปได้อีกอย่างว่าเจ้าถิ่นอาจไม่อยากให้ใครล่วงล้ำเข้าไปยามวิกาล


ไปต่อในคลองสำโรงนะครับ พ้นบางโฉลงไป
ถึงคลองขวางบางกระเทียมสะท้านอก    โอ้มาตกอ้างว้างอยู่กลางหน
เห็นแต่หมอนอ่อนแอบอุระตน            เพราะความจนเจียวจึงจำระกำใจ
จะเหลียวซ้ายแลขวาก็ป่าแสม            ตะลึงแลปูเปี้ยวเที่ยวไสว
ระหริ่งเรื่อยเฉื่อยเสียงเรไรไพร           ฤทัยไหวแว่วว่าพะงางาม


คลองขวางเห็นจะเป็นตรงโค้งน้ำหักศอกที่ผมหมายไว้เป็นหมายเลข 1 ในภาพนี้ครับ อย่างก่อนถึงบางกระเทียมเล็กน้อย


บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 17:59

ถึงชะแวกแยกคลองสองชะวาก      ข้างฝั่งฟากหัวตะเข้มีมะขาม
เข้าสร้างศาลเทพาพยายาม          กระดานสามแผ่นพิงไว้บูชา
ตะลึงแลแต่ล้วนลูกจระเข้            โดยคะเนมากมายทั้งซ้ายขวา
สักสองร้อยลอยไล่กินลูกปลา       เห็นแต่ตากับจมูกเหมือนตุ๊กแก
โอ้คลองขวางทางแดนแสนโสทก    ดูบนบกก็แต่ล้วนลิงแสม
เลียบตลิ่งวิ่งตามชาวเรือแพ          ทำลอบแลหลอนหลอกตะคอกคน
คำโบราณท่านผูกถูกทุกสิ่ง           เขาว่าลิงจองหองมันพองขน
ทำหลุกหลิกเหลือกลานพาลลุกลน   เขาด่าคนจึงว่าลิงโลนลำพองฯ


คลองหัวตะเข้อยู่ก่อนถึงโค้งหักศอกคลองขวางเสียอีก แต่ที่เอ่ยถึงตรงนี้ผมเข้าใจเอาเองว่าหมายถึงฟากด้านเหนือคลองสำโรงเท่านั้นเอง ตำแหน่ง "ชะแวกแยกคลองสองชะวาก" นั้นคงเป็นตรงหมายเลข 3 ในแผนที่ข้างบนครับ

เลยไปพักใหญ่จะเป็นโค้งน้ำหักศอกอีก น่าจะเป็นคลองขวางที่ปรากฏในกลอนที่ยกมาในคคห.นี้
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 18:23

ถึงชะวากปากคลองเป็นสองแพร่ง     น้ำก็แห้งสุริยนก็หม่นหมอง
ข้างซ้ายมือนั้นแลคือปากตะครอง     ข้างขวาคลองบางเหี้ยทะเลวน


คลองแยกนี้เห็นจะเป็นแยกสำคัญ ดูลักษณะลำคลองที่คดโค้งแล้วน่าจะเป็นคลองธรรมชาติเก่าแก่ ตรงไปทางตะวันออกที่เขียนว่าบางบ่อในแผนที่จะไปออกปากตะครอง ซึ่งเป็นปากคลองสำโรงฝั่งแม่น้ำบางปะกง ในขณะที่ลงใต้ไปตามลำคลองบางเหี้ยจะออกทะเล

สมัยร.๕ มีการทำประตูระบายน้ำกลางคลองนี้ และมีการตั้งด่านภาษี คลองบางเหี้ยจึงได้อีกชื่อหนึ่งว่าคลองด่าน (ว่ากันว่าจอมพล ป. ห้ามเรียกชื่อคลองว่าบางเหี้ย ใครเรียกโดนปรับ ดูลิงก์นี้)
ช่วงสิบกว่าปีมานี้ คลองนี้กลายเป็นสัญญลักษณ์ของความชั่วช้าของนักการเมือง"น้ำเน่า"ของจริง เพราะมีการทุจริตโครงการบำบัดน้ำเสียที่ปล้นชาติอย่างไร้สำนึกที่สุด

จนสามปีที่แล้ว มีการดำเนินคดีนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ แต่เหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา เพราะเป็นแค่การแบล็คเมล์แก๊งโจรกระจอกให้ยอมยุบแก๊งเข้าร่วมกับแก๊งมาเฟียขาใหญ่ระดับข้าม(ไปอยู่)ชาติ(อื่นแล้ว)

พวกนี้ไม่ใช่แค่ "บาง" ต้องเรียกว่า "โคตร" เลย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 20:58

เช้าถึงเย็น จากปากคลองสำโรงมาถึงชะวากปากคลองบางเหี้ยนี้ก็ราว ๓๓.๕ กม.ครับ ทำความเร็วได้ราว ๓ กม./ชม. ช้ากว่าช่วงที่อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาหน่อย คงเพราะทางคดเคี้ยว ไม่มีกระแสน้ำช่วย และยังเสียเวลาไปติดตื้นที่บางพลีด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 ต.ค. 07, 21:17

ดิฉันคนพระประแดงแท้ อ่านที่คุณCrazyhorseเขียนแล้วสะใจค่ะ
คุณแม่เคยพายเข้าทั้งลัดหลวงลัดโพธิ์นะคะ ลัดโพธิ์น่ะมาตื้นเขินระยะสามสิบปีที่ผ่านมาก่อนขุดคลองชุบชีวิตอีกครั้งด้วยโครงการแก้มลิง ที่ตื้นเขินเพราะประชาชนปลูกบ้านล้ำคลอง ทิ้งขยะมูลฝอยนับเป็นสิบๆปีค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 19 คำสั่ง