เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 192701 ขออนุญาตแก้คำที่สะกดผิด
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 07 ม.ค. 11, 08:51

ยินเสียงพร่ำร่ำลามารศรี

พร่ำ      รอยอินบอกว่าถูกแล้ว
ร่ำลา     รอยอินใช้คำว่า ล่ำลา  แต่อนุญาตให้ใช้ ร่ำลา ก็ได้
                  ล่ำลา   ก. อําลา, ลา, ร่ำลา ก็ว่า.

เป็นอันว่าถูกทั้ง ๒ คำ

โปรดปรานีคิดถึงบ้างยามห่างไกล
ปรานี        รอยอินสะกดตามนี้    เรามักจะสะกดผิดเป็น ปราณี
              ปรานี   [ปฺรา-] ก. เอ็นดูด้วยความสงสาร.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 10 ม.ค. 11, 07:38

เมื่อไม่นานมานี้ รอยอินท่านอนุญาตให้ใช้ ล่ำลำ ได้อย่างเดียว

คุณโฮฯยังเึคยรำพันถึงสองคำนี้ไว้ในคำที่มักเขียนหรือพิมพ์ผิดบ่อยๆ ความคิดเห็นที่ ๒๙ - พันทิป เืมื่อสี่ปีที่แล้ว

ร่ำลา กับ ล่ำลา เห็นราชบัณฑิตยฯ ว่า "ล่ำลา" ถูกครับ

แต่คนส่วนมากจะคิดว่า "ร่ำลา" ถูก

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า "ร่ำลา" น่าจะถูกนะ อิอิ คงต้องขุดรากกันดูครับว่า "ร่ำ" แปลว่าอะไร แล้ว "ล่ำ" แปลว่าอะไร

ผมก็ไม่ทราบเหตุผลของราชบัณฑิตฯ เหมือนกันว่า ทำไมจึงบัญญัติให้ "ล่ำลา" ถูก ฮืม ท่านใด มี copy เหตุผลของราชบัณฑิตฯ โปรดนำมาเป็นวิทยาทานด้วยนะครับ

-----------------------------------------
"ร่ำลา" ถูก ?

ที่ผมคิดว่า "ร่ำลา" น่าจะถูก เพราะว่า ดูจากศัพท์อื่นๆ ที่มีคำว่า "ร่ำ" ประกอบด้วยแล้ว เช่น ร่ำไห้ (ร้องไห้ฟูมฟาย คือ ร้องไห้ซ้ำๆ ต่อๆ กันไป) ร่ำลือ (ลือกันไปเป็นวงกว้าง คือ ลือซ้ำๆ ต่อๆ กันไป) ซึ่งมันจะเกี่ยวกับอาการที่ต้องออกเสียง และต้องซ้ำๆ ต่อเนื่องกันไป

ดังนั้น "ร่ำลา" (พูดจากันอยู่นานก่อนจากกัน คือ พูดจาซ้ำๆ จะไปก็ไม่ยอมไป อิอิ) ก็น่าจะอยู่ในชุดคำกลุ่มนี้ด้วย

สังเกตว่า "ร่ำลา" มักจะใช้ในประโยค เช่น "นี่ จะร่ำลากันอีกนานไหม ?" ซึ่งมันก็ส่อให้เห็นความหมายในเชิง อ้อยอิ่ง พูดลากันไม่ยอมไปเสียที

ถ้าจะขุดรากจริงๆ สงสัยต้อง หาประโยคตัวอย่างมาวิเคราะห์เยอะๆ ครับ

ผมคิดว่า คำว่า "ร่ำ" น่าจะมีรากเดียวกับ "พร่ำ" มีความหมายว่า "ซ้ำๆ" "บ่อยๆ" "เป็นเวลานาน"

"ร่ำๆ ว่าจะไปเที่ยวทะเล" --- ร่ำๆ คือ คิดอยู่หลายครั้งแล้ว, คิดอยู่บ่อยๆ

------------------------------------

ส่วน "ล่ำ" นึกได้แต่ "ล่ำสัน" "ล่ำบึ้ก" คือ รูปคำมันออกไปทาง แข็งแรง หนักแน่น ถ้าเอาความหมายนี้ไปใช้กับ "ลา" ก็อาจแปลได้ว่า

"ล่ำลา" ๑. (ก.) การกล่าวคำจากกันอย่างหนักแน่น กล่าวลากันอย่างจริงจัง เอาเป็นเอาตาย
"ล่ำลา" ๒. (น.) ลาตัวใหญ่ ร่างกายกำยำ ล่ำบึก บึกบึน ทรหด อดทน (ลาล่ำ ก็เรียก)

.... อิอิ ....

จากคุณ : OMICRON (Hotacunus)  - [ 6 ก.พ. 50 04:25:56 ]



มาปีนี้ รอยอินท่านใจดีอนุญาตให้ใช้ได้ทั้ง ๒ คำ

ร่ำลา ก. อำลา, ลา, ล่ำลา ก็ว่า.

ล่ำลา ก. อําลา, ลา, ร่ำลา ก็ว่า.


รออีกสักหน่อย ท่านอาจใจดีให้ใช้ พริ้ว และ พลิ้ว ได้ทั้ง ๒ คำก็เป็นได้


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 10 ม.ค. 11, 07:49

โปรดปรานีคิดถึงบ้างยามห่างไกล
ปรานี        รอยอินสะกดตามนี้    เรามักจะสะกดผิดเป็น ปราณี
              ปรานี   [ปฺรา-] ก. เอ็นดูด้วยความสงสาร.

ปราณี ก็ไม่ผิดถ้าใช้ถูกที่

ปราณี [ปฺรานี] น. ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน. (ส. ปฺราณิ, ปฺราณินฺ; ป. ปาณี).


เช่นเดียวกับ มานพ และ มาณพ

มานพ [-นบ] น. คน. (ป.). (มาจากศัพท์ มนุ).

มาณพ [-นบ] น. ชายหนุ่ม, ชายรุ่น. (ป., ส.).

จะใช้คำไหนควรตรวจดูความหมายเสียก่อน

 ยิงฟันยิ้ม
 
 

 
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 10 ม.ค. 11, 08:24

คำว่า ปราณี ที่ถูกต้องก็เห็นแต่เป็นชื่อคน  ยังหาประโยค(ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน)  มีคำนามว่า ปราณี ไม่ได้  คุณเพ็ญชมพูช่วยหามาหน่อยปะไร
มีปราณีมากมายอยู่ตามท้องถนน   หรือว่า  ผู้ชาย และผู้หญิง  ต่างก็เป็นปราณี  ยิงฟันยิ้ม


หลังๆนี้รอยอินค่อนข้างใจดี  อนุโลมให้ใช้คำที่เมื่อก่อนท่านว่าผิด  แต่ประชาชนใช้กัน  ในที่สุดรอยอินเห็นว่าไหนๆก็ใช้กันมาแพร่หลาย จนชิน   คำถูกของท่านเสียอีกไม่ค่อยมีใครใช้กัน  ท่านก็อนุโลมตามความนิยม ให้ใช้ได้
เช่นประวัติศาสตร์   รอยอินเคยกำหนดให้อ่าน ประหวัดติสาด    ต่อมาก็อนุโลมให้อ่านประหวัดสาดได้ เพราะชาวบ้านออกเสียงอย่างนี้กัน

หนักๆเข้าจะกลายเป็นว่า อะไรที่แพร่หลายถือว่าหยวนๆกันไป   ซึ่งไม่สมควร

มีคำหนึ่งที่ดิฉันรับการตัดสินของรอยอินไม่ได้  คือคำว่า ขะมักเขม้น   
คำนี้ยังไงก็ต้องอ่านว่า ขะมักขะเม่น
แต่รอยอินอนุโลมให้อ่านทั้ง  ขะมักขะเม่น และ ขะหฺมักขะเม่น
คำหลังยังไงก็ผิดตามหลักไวยากรณ์  เพราะไม่ได้สะกดว่า "ขมัก" ซึ่งถ้าสะกดแบบนี้   อนุโลมได้ให้ออกเสียง ห นำ  อย่างคำว่า ยักษ์ขมูขี  ขมู  คำหลังออกเสียง ห นำ  
แต่นี่มีสระ อะ คั่นกลางอยู่ทั้งตัว   รอยอินไปอนุโลมได้ยังไง ไม่เข้าใจ

ขอให้ดูคำอธิบายของรอยอิน ว่าขะมักเขม้นแปลว่าอะไร
ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้ว     เสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทํา, เขม้นขะมัก ก็ว่า.
เขม้นขะมัก ท่านอนุโลมให้ออกเสียงว่า ขะเม่นขะหมักหรือเปล่านะ?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 10 ม.ค. 11, 08:52

คำว่า ปราณี ที่ถูกต้องก็เห็นแต่เป็นชื่อคน  ยังหาประโยคที่มีคำนามว่า ปราณี ไม่ได้  คุณเพ็ญชมพูช่วยหามาหน่อยปะไร
มีปราณีมากมายอยู่ตามท้องถนน งั้นหรือ   หรือว่า  ผู้ชาย และผู้หญิง  ต่างก็เป็นปราณี  ยิงฟันยิ้ม

นอกจาก ปราณี จะอยู่ในชื่อคน ยังอาจมีที่ใช้ได้อยู่อีกแห่งหนึ่งคือในคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง

หากขาดลมปราณี           ทุกชีวีไร้ชีวิต
โปรดเถิดช่วยโปรดคิด      ไว้ชีวิตด้วยปรานี

ถ้าไม่มี สระอี คงจะสะดวกให้การใช้หน่อย

ปราณ [ปฺราน] น. ลมหายใจ; สัตว์มีชีวิต, ชีวิต, ใจ. (ส. ปฺราณ; ป. ปาณ).

การฝึกลมปราณนี้ มีพื้นฐานจากการฝึกสมาธิให้ใจสงบ

 ยิงฟันยิ้ม
 
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 10 ม.ค. 11, 09:18

มีคำหนึ่งที่ดิฉันรับการตัดสินของรอยอินไม่ได้  คือคำว่า ขะมักเขม้น   
คำนี้ยังไงก็ต้องอ่านว่า ขะมักขะเม่น
แต่รอยอินอนุโลมให้อ่านทั้ง  ขะมักขะเม่น และ ขะหฺมักขะเม่น
คำหลังยังไงก็ผิดตามหลักไวยากรณ์  เพราะไม่ได้สะกดว่า "ขมัก" ซึ่งถ้าสะกดแบบนี้   อนุโลมได้ให้ออกเสียง ห นำ  อย่างคำว่า ยักษ์ขมูขี  ขมู  คำหลังออกเสียง ห นำ  
แต่นี่มีสระ อะ คั่นกลางอยู่ทั้งตัว   รอยอินไปอนุโลมได้ยังไง ไม่เข้าใจ

ขอให้ดูคำอธิบายของรอยอิน ว่าขะมักเขม้นแปลว่าอะไร
ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้ว     เสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทํา, เขม้นขะมัก ก็ว่า.
เขม้นขะมัก ท่านอนุโลมให้ออกเสียงว่า ขะเม่นขะหมักหรือเปล่านะ?


ที่จริง ถ้าราชบัณฑิตยฯ จะอนุโลมให้อ่าน ขะมักเขม้น ว่า ขะหมักขะเม่น   ได้  ก็ต้องทำมากกว่ายอมให้อ่านผิดๆ   ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
จะให้ถูก คือต้องแก้ไขตั้งแต่การสะกดคำ    ให้เขียนว่า ขะมักเขม้น หรือ ขมักเขม้น ก็ได้
ตัดสระอะ ออกไป คำนี้จึงอ่านได้ว่า ขะหมักขะเม่น   

แต่ท่านไม่ทำอย่างนั้น  ไปอนุโลมว่า การอ่านผิด ถ้าอ่านกันมานาน  จนชินกันไปหมดแล้วก็ถือว่ายอมรับได้  ไม่ว่าจะสะกดยังไงก็ตาม
เลยไม่ต่างอะไรกับการตั้งสินค้าบนทางเท้าสาธารณะ   ถ้าปล่อยให้ตั้งมานาน  จนไล่ไม่สำเร็จ   ก็ให้ถือว่าถูกต้อง รู้แล้วรู้รอดไป

เห็นด้วยกับคุณเทาชมพู

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 11:54


ลับสมองลองปัญญา

มีปัญหามาถามคำอังกฤษ
โปรดช่วยคิดทับศัพท์ใช้อย่างไรหนา
footpath, pump เขียนอย่างไรให้ถูกนา
อีก tent ภาษาไทยอย่างไรดี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 12:00

ขอผ่านให้ท่านอื่น
เพราะไม่เห็นด้วยกับวิธีทับศัพท์ของราชบัณฑิตฯปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 15:28

ขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์เทาชมพูและท่านผู้รู้ทุกท่านด้วยครับ

ปัจจุบัน ผมยังประสบปัญหาเมื่อต้องเขียนคำสองคำนี้ การ กับ การณ์ ครับ

   ถ้าเมื่อไรจะเขียน “เหตุการณ์” นั่นพอจะนึกออกหละครับว่า กอไก่ สระอา รอเรือ นอเณร การันต์ หรือ “อุดมการณ์” ก็พอจำได้ว่าต้องเขียนเช่นนี้ แต่พอยามใดจะเขียนคำที่มีความหมายว่า ผู้กระทำความไม่สงบให้แก่อาณาจักร ก็งงชะงักครับ มิรู้ว่าควรเขียน “ผู้ก่อการร้าย” หรือ “ผู้ก่อการณ์ร้าย” ผมเคยพิมพ์ “แถลงการณ์” แล้วคุณน้าท่านติงเตือนให้ว่า “มีนอเณรการันต์ด้วย” สรุปแล้ว พอจะมีหลักเกณฑ์จดจำหรือไม่ครับ เมื่อใดพึงใช้ “การ” แหละยามไหนจึงควรใช้ “การณ์”

ขอแสดงความนับถืออย่างสูงยิ่ง
ชูพงค์ ตรีวัฒน์สุวรรณ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 15:52

การ ๑ น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.

การณ์ [กาน] น. เหตุ, เค้า, มูล, เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สังเกตการณ์. (ป., ส.).

 
อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ เขียนเรื่อง อุดมการณ์ - อุดมการ ไว้ คุณชูพงศ์ลองไปอ่านดู

http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1187


บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 15:56

ขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูอย่างยิ่งครับ หมดคู่ การ กับ การณ์ แล้ว ต่อไป ผมยังมี กาล กับ กาฬ อีกคู่หนึ่งด้วยครับ แหะๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 16:01

กาล ๑, กาล- [กาน, กาละ-] น. เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).
กาล ๒ [กาน] (โบ) น. คําประพันธ์.

กาฬ, กาฬ- [กาน, กาละ-, กานละ-] น. รอยดําหรือแดงที่ผุดตามร่างกายคนเมื่อตายแล้ว. ว. ดํา, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.).

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 16:02


ลับสมองลองปัญญา

มีปัญหามาถามคำอังกฤษ
โปรดช่วยคิดทับศัพท์ใช้อย่างไรหนา
footpath, pump เขียนอย่างไรให้ถูกนา
อีก tent ภาษาไทยอย่างไรดี

 ยิงฟันยิ้ม

คุณชูพงศ์ลองให้ความเห็นคำข้างบนหน่อยเป็นไร

 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 23 ม.ค. 11, 11:00

บางทีการบ้านอาจจะยากไป

เอาใหม่

footpath - ฟุตบาท หรือ ฟุตปาธ

pump     - ปั๊มพ์  หรือ ปั๊ม

tent      - เต๊นท์ หรือ เต็นท์

เชิญคุณเทาชมพูลองมาช่วยวิจารณ์หน่อยว่าควรใช้คำไหน

ไม่ต้องเกรงใจท่านรอยอิน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 23 ม.ค. 11, 18:35

ดิฉันไม่ค่อยจะขัดแย้งท่านรอยอิน เพิ่งมายกเว้นเรื่องทับศัพท์  เพราะท่านไม่ยอมให้ใช้วรรณยุกต์    ทำนองท่านอ้างว่าเวลาฝรั่งเขาออกเสียง  เสียงสูงต่ำเปลี่ยนแปลงได้ไม่คงที่ตามลักษณะของประโยค   ท่านเลยไม่ให้ใช้วรรณยุกต์กำกับคำไทยที่ถอดเสียงจากคำฝรั่ง
ส่วนดิฉันเห็นว่าคำไทยไม่ว่ามีวรรณยุกต์หรือไม่มี  คำนั้นมีเสียงวรรณยุกต์กำกับตายตัวอยู่แล้ว   ยิ่งไม่ใส่วรรณยุกต์ยิ่งออกเสียงเพี้ยนหนักเข้าไปอีก
เช่น tent  ไปออกเสียง เตนท์  หรือเต็นท์   มันก็กลายเป็นเสียง เตน (สามัญ) หรือเต็น (เสียงสั้น)อย่างนกกระเต็น  ยังไงฝรั่งเขาก็ไม่ออกเสียง tent ว่า  เต็น อยู่แล้ว
สรุป อยากเขียนว่า
footpath -หรือ ฟุตปาธ
pump     - ปั๊มพ์
tent      - เต๊นท์
แต่บางทีอยากเอาใจรอยอินขึ้นมา เพราะสอนการแปล ต้องเป็นแม่ปูที่ดีเดินตามรอยผู้ใหญ่  จึงจำต้องสะกดตามรอยอินกำหนดให้ ทั้งๆไม่เห็นด้วย
หวังว่าอีกไม่นาน รอยอินจะอนุโลม เหมือนอนุโลมให้อ่าน ขะหมักขะเม่น มาแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง