เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 193018 ขออนุญาตแก้คำที่สะกดผิด
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 29 ธ.ค. 10, 08:04

คุณดีดีลองใคร่่ครวญดูอีกที

คำว่า "ใหล" คำเดียว ไม่มีในพจนานุกรม

แต่ถ้าประกอบคำอื่นเช่น "หลงใหล" อย่างในกาพย์ "ยี่สิบม้วนจำจงดี" -  มิหลงใหลใครขอดู ก็ใช้ได้  และในพจนานุกรมก็มีคำนี้นะ

คำว่า "หลับใหล" และ "ใหลตาย" ไม่มีในพจนานุกรมก็จริงอยู่

แต่เป็นคำที่ราชบัณฑิตสถานแนะนำให้ใช้


มีคำอธิบายไว้หลายประการทีเดียวแแหละ


คุณศิลา คงให้คำอธิบายในเรื่องนี้ได้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 29 ธ.ค. 10, 09:21

ดูจำนวนคนที่ใช้ผิดสิคะ... รวมทั้งหนูดีดีด้วย .... ตกใจ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 29 ธ.ค. 10, 14:31

คุณศิลาเคยพูดถึงเรื่อง "หลับใหล" ไว้เมื่อต้นปีนี้เอง

บันทึกวิชาการท้ายกระทู้ ครับ

หลับใหล

          คำว่า ใหล ที่ใช้ไม้ม้วน ไม่ใช้ลำพัง ต้องใช้ซ้อนกับคำอื่น ได้แก่ ใช้ซ้อนกับคำว่า หลง เป็น หลงใหล  และ
ซ้อนกับคำว่า หลับ เป็น หลับใหล     

          คำว่า ใหล ที่ใช้ไม้ม้วนนี้น่าจะหมายถึงละเมอ เพราะในภาษาลาวมีคำว่า ใหล (สะกดด้วยสระไอ ไม้ม้วน)
หมายถึง ละเมอหรือพูดในเวลาเผลอสติอย่างคนบ้าจี้ที่ถูกหลอกให้ตกใจแล้วพูดโพล่งออกมา และในภาษาไทขาว
ซึ่งเป็นภาษาของชาวไทที่อยู่ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีคำที่ออกเสียงคล้าย ๆ เหล่อ หมายถึง ละเมอ
เช่น นอนเหล่อ หมายถึง นอนละเมอ   
          คำว่า เหล่อ ในภาษาไทขาว น่าจะเป็นคำเดียวกับคำว่า ใหล ในภาษาไทยและภาษาลาว

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.


ส่วนคำว่า "ใหลตาย" มีคำอธิบายจากราชบัณฑิตสถานดังนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 30 ธ.ค. 10, 08:31

เรื่องไม้ม้วน -ไม้มลายอีก ๒ คำ

คุณเคยใช้คำไหน ระหว่าง

เหล็กไน   กับ  เหล็กใน

หมาไน   กับ   หมาใน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 ธ.ค. 10, 08:45

เคยใช้เหล็กไน  กับ หมาไน    แต่ราชบัณฑิตให้ใช้ เหล็กไน  กับ หมาใน

ขอถามกลับไปบ้าง

ก๋วยเตี๋ยวลาดหน้า  ก๋วยเดี๋ยวราดหน้า
ถนนราดยาง  ถนนลาดยาง
ผัดไทย   ผัดไท
คำไหนถูก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 ธ.ค. 10, 08:59

เคยใช้เหล็กไน  กับ หมาไน    แต่ราชบัณฑิตให้ใช้ เหล็กไน  กับ หมาใน[/color]


ราชบัณฑิตก็ให้ใช้ เหล็กใน ด้วย   ยิงฟันยิ้ม

คำว่า "ไน" ราชบัณฑิต นอกจากจะหมายถึงเครื่องปั่นด้ายด้วยมือแล้ว ท่านให้หมายถึง "ปลาไน" อย่างเดียว

คำว่า "หมาไน" อาจารย์จำนงค์  ทองประเสริฐ มีคำอธิบายไว้ในเรื่อง หมาใน - หมาไน รายการ ภาษาไทย ๕ นาที ดังนี้

      วันนี้จะขอนำเรื่อง "หมาใน - หมาไน" มาเสนอท่านผู้ฟังอีกสักครั้งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ได้เคยนำมาพูดในรายการนี้มาครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ แล้ว เพราะมีผู้เขียนวิจารณ์ลงในบัญชร "พูดไทย เขียนไทย" ของ "เปรียญ ๗" ใน น.ส.พ. สยามรัฐ ทั้งนี้เนื่องจากมีบางคนเห็นว่าควรจะเขียนว่า "หมาไน" โดยที่ "ไน" ใช้สระไอไม้มลาย โดยบอกว่า ที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเขียนว่า "หมาใน" โดยใช้สระใอ ไม้ม้วนนั้น ไม่ถูกต้อง และยังบอกว่า "ผิดที่สุดในโลก" ก็ไม่ทราบว่าท่านเอาอะไรมาเป็นเครื่องวัด

      คำว่า "หมาใน" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ก็ใช้สระใอไม้ม้วน และให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. หมาป่าพวกหนึ่ง ตัวขนาดเล็ก ขนสั้นเกรียน มักไปเป็นฝูง."

      คำว่า "หมาใน" นี้ หนังสือปทานุกรม ฉบับกรมตำรา กระทรวงธรรมการ พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้เก็บเข้าชุดกับ "หมาจิ้งจอก" และ "หมาป่า" โดยให้บทนิยามอย่างเดียวกันดังนี้ "น. สัตว์ในป่ารูปคล้ายหมา ลักษณะและขนต่าง ๆ กัน." แสดงว่า พจนานุกรม ฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ ให้รายละเอียดมากขึ้น ส่วนคำว่า "หมาจิ้งจอก" พจนานุกรม ฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. หมาป่าชนิดหนึ่ง มักเที่ยวหากินเป็นฝูง (อ. Jackal) ; หมาป่าชนิดหนึ่ง ตัวขนาดเล็ก หางเป็นพวง." ส่วนคำว่า "หมาป่า" ได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น.หมาจำพวกหนึ่ง หากินเป็นฝูงดุร้ายมาก มีในประเทศหนาว (อ. Wolf)."

      จากบทนิยามของหมาทั้ง ๓ ชนิดนี้ ก็จะเห็นว่าเป็นพวกหมาป่าทั้งสิ้น เพียงแต่หมาป่าที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Wolf นั้น อยู่ในประเทศแถบหนาว ส่วนหมาในกับหมาจิ้งจอกนั้น ท่านมิได้บอกไว้ว่าอยู่ในประเทศหนาว แสดงว่าในประเทศแถบอบอุ่นและแถบร้อนก็มี "หมาใน" แตกต่างกับ "หมาจิ้งจอก" ตรงที่หมาในอยู่แต่ในป่า หมาจิ้งจอกชนิดหนึ่งชอบหากินเป็นฝูง อีกชนิดหนึ่งตัวขนาดเล็ก หางเป็นพวงเท่านั้น ท่านมิได้เขียนเป็น "หมาไน" โดยใช้ น สระไอ ไม้มลาย ทั้งนี้ก็คงเป็นเพราะมันไม่มี "ไน" ซึ่งคงมีลักษณะคล้ายเครื่องสำหรับกรอฝ้ายหรือไหมเข้าหลอดกระมัง

      คำว่า "หมาใน" ที่ "ใน" ใช้สระใอไม้ม้วนนั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือสมัยรัชกาลที่ ๑ แล้วเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้เพราะในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วงฉบับของพระมหาจันทร์และพระมหาช่วย ซึ่งจารอยู่บนใบลานทั้ง ๒ ฉบับ ล้วนจารว่า "หมาใน" ดังมีข้อความว่า "เทพยดาและครุฑราชนาคราชและยักษ์คนธัพพะกินนรกินนรี และวิทยาธรแลผีหมาในและราชสีห์แลหมีแลเสือเหลืองเสือโคร่งก็มาไว้มากมายท่านนี้..." ส่วนหนังสือไตรภูมิพระร่วง ฉบับกรมศิลปากร ซึ่งอาจารย์พิทูร มลิวัลย์ เป็นผู้ชำระ และกรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในการประชุมสัมมนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงในโอกาสฉลอง ๗๐๐ ปีลายสือไทย วันที่ ๑๔ - ๒๑ ธันวาคม ๒๕๒๖ ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาตินั้น คำว่า "หมาใน" ได้แก้เป็นหมาไน" ที่ "ไน" ใช้สระไอไม้มลาย ตามพจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลางซึ่งอาจารย์พิทูร มลิวัลย์เป็นกรรมการจัดทำด้วยผู้หนึ่ง

      ในหนังสือ "บทกลอนกล่อมเด็ก บทปลอบเด็ก และบทเด็กเล่น" ซึ่งเก่ามาก จนกระดาษจะกรอบอยู่แล้ว อาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ได้นำมาให้ดู พบว่า ในบทที่ ๒ ซึ่งเป็น "บทปลอบเด็ก" นั้น บทแรกชื่อ "จิงโจ้" มีข้อความ ดังนี้

  "จิงโจ้เอย มาโล้สำเภา  หมาในไล่เห่า
  จิงโจ้ตกน้ำ หมาในไล่ซ้ำ  จิงโจ้ดำหนี
  ได้กล้วยสองหวี ทำขวัญจิงโจ้  โห่ฮิ้ว โห่ฮิ้ว"

      คำว่า "หมาใน" ในบทปลอบเด็ก ซึ่งมีอยู่ ๒ แห่ง ท่านก็ใช้ "หมาใน" ที่ "ใน" ใช้ไม้ม้วนเช่นกัน

      ในหนังสือ "ธรรมาธรรมะสงคราม" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีตอนหนึ่งว่าดังนี้

  "รถทรงกงกำทั้งหมด ตลอดงอนรถ ล้วนแล้วด้วยไม้ดำดง
  บัลลังก์มียักษ์ยรรยง ยืนรับรองทรง สลักกระนกมังกร
  ลายสิงห์เสือหมีสลอน หมาในยืนนอน อีกทั้งจรเข้เหรา"

      คำว่า "หมาใน" ในพระราชนิพนธ์เรื่อง "ธรรมาธรรมะสงคราม" ก็ใช้ น สระใอไม้ม้วนเช่นกัน

      ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบว่านักปราชญ์รุ่นก่อน ๆ รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งชาวไทยได้ยกย่องเทิดทูนเป็น "พระมหาธีรราชเจ้า" นั้นล้วนโง่เขลา ใช้ภาษาผิด ๆ ด้วยกระนั้นหรือ ผู้ที่คิดว่าตนถูกที่สุดในโลก ผู้อื่นผิดที่สุดในโลกนั้น จะเข้าลักษณะที่ Pope กวีเอกคนหนึ่งของโลกได้เขียนไว้ว่า

  "We think our father's fools, so wise we grow;  
  Our wiser sons no doubt will think us so."  

ซึ่งกรมพิทยลาภพฤฒิธาดา ได้ทรงนิพนธ์เป็นภาษาไทยไว้ดังนี้

  "พวกเราคิดบิดาเราเฉาฉงน เราเป็นคนมีปัญญาจะหาไหน
  บุตรของเราคงดีจริงยิ่งขึ้นไป จิตต์ใจเขาคงคิดเหมือนบิดา"

      ขอฝากเป็นของขวัญในวันขึ้นพุทธศักราชใหม่ ๒๕๓๖ แต่ท่านผู้มีความรักภาษาไทยทุกท่าน.

จำนงค์   ทองประเสริฐ
๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๕







บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 30 ธ.ค. 10, 09:01

เรื่องการใช้ไม้ม้วน - ไม้มลาย คุณโฮเคยเอาบทความของคุณรัชตพล ชัยเกียรติธรรมมาเสนอ

อ่านแล้วน่าสนใจ

ลองอ่านกันดู



ก็เลยไปเจอบทความที่น่าสนใจ จึงนำมาให้อ่านกันครับ


-------------------------------------------


ใครว่าไม้ม้วนมี 20 คำ


รัชตพล ชัยเกียรติธรรม


     เห็นชื่อหนังสือ หรือที่เรียกกันว่า พ็อกเกตบุ๊ก "บนแผ่นดินร้องไห้" ของ "ใฮ ขันจันทา" แล้วนึกแปลกใจว่า ตกลงสะกดชื่อ ยายไฮ (ไม้มลาย) หรือ ยายใฮ (ไม้ม้วน) กันแน่ เพราะชื่อที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ส่วนมากใช้ ยายไฮ (ไม้มลาย) เช่น เสนอ 12 หญิงไทย "ยายไฮ" รับโนเบล (ข่าวสด. 1 กรกฎาคม 2548 : 1) "บ้านใร่กาแฟ" ชื่อร้านกาแฟเพิ่งเปิดใหม่แถวถนนสุขุมวิท ย่านเอกมัย กรุงเทพฯ ก็ใช้ "ใร่" ไม้ม้วนแทนไม้มลาย


    หลักการใช้ไม้ม้วน (ใ -) หลายคนทราบดีกว่ามีอยู่ 20 คำ จะมีคำอะไรบ้างนั้น ต้องฟื้นความจำบทอาขยายสมัยเด็ก ๆ ที่ท่องเป็นกาพย์ยานี 11 ว่า "ผู้ใหญ่หาผ้าใหม" หรือบางคนอาจท่องเป็นโคลงสี่สุภาพ "หลงใหลมิใช่ใบ้ ใฝ่ใจ...." ฯลฯ ส่วนคำอื่น (ที่นอกเหนือจาก 20 คำ) ใช้ไม้มลาย ( ไ - )  


    ไม้ม้วนทั้ง 20 คำนี้ เป็นคำไทยแท้มีอยู่ 8 คำ ที่มีเสียงซ้ำกับไม้มลาย คือ

ใจ (จิต, ศูนย์กลาง) - ไจ (ส่วนหนึ่งของเข็ดด้ายหรือไหม)

ใด (อะไร, สิ่งไร) - ได (มือ)

ใต้ (ข้างล่าง, ต่ำ, ตรงข้ามกับเหนือ) - ไต้ (วัตถุสำหรับใช้จุดไฟ)

ใน (ข้างใน, ภายใน, ตรงข้ามกับนอก) - ไน(เครื่องปั่นฝ้ายหรือไหม)

ใย (สิ่งที่เป็นเส้นเล็กยาว ๆ ขาว ๆ, นวลบาง ผ่องใส) - ไย (ไฉน, ทำไม, ส่งไป)

ใส สว่าง, สะอาด, กระจ่าง - ไส (เสือกไป, ส่งไป)

ให้ (สละ, มอบ , อนุญาต ) - ไห้ (ร้อง)

ใหล (หลง) - ไหล (เลื่อนไป, เคลื่อนไป)


คำอื่นนอกจากนี้ เช่น ใคร่ กับ ตะไคร่ ใบ กับ สไบ จะเรียกว่าซ้ำกันไม่ได้ เพราะเป็นคำพยางค์เดียวกับสองพยางค์ ย่อมแสดงความแตกต่างกันอยู่ในตัวอยู่แล้ว (กำชัย ทองหล่อ, 2540 : 66)

 ด้วยเหตุนี้ ทำให้คนส่วนใหญ่สะกดไม้ม้วนและไม้มลายผิดบ้างถูกบ้าง เช่น ลำใย - "ลำไย", น้ำแข็งใส - "น้ำแข็งไส", และ "หลงใหล" - หลงไหล (คำที่อยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ " " คือคำที่สะกดถูกต้อง) ลองดูตัวอย่างการใช้ ใ - ผิด จากโฆษณานาฬิกายี่ห้อหนึ่งในหน้าหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 หน้า 19 เขียนไว้ว่า "สื่อภาพชวนหลงไหลหรือสื่อภัยเข้าหาตัว"


    ฉะนั้น "ยายไฮ" และ "บ้านไร่กาแฟ" น่าจะใช้ไม้มลายมากกว่า แม้กระนั้น ผมก็มีข้อแย้งขึ้นมาในใจ ชื่อ "ยายใฮ" และ "บ้านใร่กาแฟ" เขียนเป็นไม้ม้วนก็ได้ เพราะเป็นคำนามประเภทวิสามานยนาม เป็นชื่อเฉพาะที่บัญญัติขึ้นมา สำหรับใช้เรียกร้องชี้เฉพาะเจาะจงลงไป จะสะกดอย่างไรหรือเขียนอย่างไรก็ได้ เหมือนกับคำว่า เท่ ที่นักร้องชื่อดังสะกดผิดว่า เท่ห์ ทำเอาหลายคนเขียนสะกดผิดเมื่อนำคำเหล่านั้นมาใช้เป็นคำนามประเภทสามานยนาม เช่น สวย เท่ห์ ทันสมัย ใส่.......


    แค่ไม้ม้วน 20 คำแบบสามานยนามยังใช้กันผิด ๆ ถูก ๆ เกิดมีไม้ม้วนแบบวิสามานยนามขึ้นมาอีก เชื่อได้เลยว่าไม้ม้วนไม่ได้มีแค่ 20 คำอีกต่อไป


_______________________________________________________________________________

กำชัย ทองหล่อ. 2540. หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์


 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 30 ธ.ค. 10, 09:03

ขอถามกลับไปบ้าง

ก๋วยเตี๋ยวลาดหน้า  ก๋วยเดี๋ยวราดหน้า
ถนนราดยาง  ถนนลาดยาง
ผัดไทย   ผัดไท
คำไหนถูก


คำถามของคุณเทาชมพู  คุณดีดีลองตอบก่อนเป็นไร

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 30 ธ.ค. 10, 09:16

ขออภัย  อ่านผิด  ราชบัณฑิตให้ใช้ เหล็กใน และ หมาใน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 ธ.ค. 10, 15:49

พูดถึงเรื่องอาหารการกิน

เคยเดินตาม ถนนลาดยาง เพื่อไปซื้อ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า และ ผัดไทย

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 06 ม.ค. 11, 08:26

สายลมหนาวพริ้วแผ่วมาเวลาค่ำ
ยินเสียงพร่ำร่ำลามารศรี
ก่อนจะจากโฉมสุดายามราตรี
โปรดปรานีคิดถึงบ้างยามห่างไกล


ข้อความข้างบนนี้   มีคำที่ผิดบ้างไหม
เร็วเร็วมาไวไว      มาช่วยคิดพินิจที

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 06 ม.ค. 11, 08:36

เลือกตอบ 1 คำ  ที่เหลือยกเป็นการบ้านให้ท่านอื่นค่ะ

"พริ้ว"      รอยอิน ท่านให้สะกดว่า พลิ้ว
พลิ้ว   [พฺลิ้ว] ก. บิด, เบี้ยว, เช่น คมมีดพลิ้ว; สะบัดเป็นคลื่นไปตามลม
   เช่น ธงพลิ้ว.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 06 ม.ค. 11, 09:00

เหตุผลของท่านรอยอิน

พลิ้ว กับ ปลิว มีความหมายเดียวกัน

ปลิว [ปฺลิว] ก. ลอยตามลม, ถูกลมพัด, (ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเบา), โดยปริยายใช้เป็นคําเปรียบเทียบ มีความหมายคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เดินตัวปลิว.

สายลมหนาวปลิวแผ่วมาเวลาค่ำ

ฟังดูแปลก ๆ หู

คุณเทาชมพูว่าอย่างไร

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 06 ม.ค. 11, 09:04

ขนนก ปลิว ไปตามลม   กับ ขนนก พลิ้ว ไปตามลม  เหมือนกันไหมล่ะคะ คุณเพ็ญชมพู
ถ้าเหมือนกันก็ถือว่าเป็นคำเดียวกัน
ถ้าไม่เหมือนกัน   ก็คือคนละคำ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 07 ม.ค. 11, 08:44

เลือกตอบ 1 คำ  ที่เหลือยกเป็นการบ้านให้ท่านอื่นค่ะ

ยังไม่มีการบ้านส่ง

เห็นทีคุณเทาชมพูต้องลงมาเฉลยเองเสียแล้ว

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง