เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 192698 ขออนุญาตแก้คำที่สะกดผิด
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 16 ธ.ค. 10, 16:05

เรื่องของ ยนต์-ยนตร์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 17 ธ.ค. 10, 10:07

คำที่ลงท้ายด้วย ต์ และ ตร์ ที่มีปัญหาอีก ๒ คำ

สวดมนต์ หรือ สวดมนตร์

เวทมนต์  หรือ เวทมนตร์

คำไหนดี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 20 ธ.ค. 10, 08:53

คำที่ถูกต้องคือ สวดมนต์ และ เวทมนตร์

อาจารย์จำนงค์ ทองประเสิรฐ ให้เหตุผลไว้ดังนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 20 ธ.ค. 10, 12:04

อีกสองคำ

คำแรกมีผู้เขียนผิดกันมาก  - โคตร  มักเขียนผิดเป็น โครต  

ตำทีสองมีผู้เขียนผิดกันบ้าง - เพชร  เขียนผิดเป็น   เพรช  

ใครเขียน ๒  คำนี้ผิดบ้าง

ยกมือขึ้น

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 21 ธ.ค. 10, 08:35

พยัญชนะสองตัวนี้ ท ทหาร และ ฑ มณโฑ มักมีหลายท่านสับสนในการใช้

ทูต  หรือ  ฑูต

ทีฆายุโก หรือ ฑีฆายุโก

คำไหนดีหนอขอถามหน่อย   

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 21 ธ.ค. 10, 09:34

ท ทหาร ค่ะ
ทั้งสองคำ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 21 ธ.ค. 10, 09:47

คำถามเดิม

ใครใช้ ๒ คำนี้ผิดบ้าง

ยกมือขึ้น

ทำไมถึงใช้ ท ทหาร คุณเทาชมพูคงจะอธิบายความได้

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 21 ธ.ค. 10, 13:35

 ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก, ทีฆายุกา - ฑีฆายุกา โดย ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ     
 
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก, ทีฆายุกา - ฑีฆายุกา

          เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ไม่ว่าจะเป็น ๕ ธันวาคม หรือ ๑๒ สิงหาคม ก็ตาม มักจะพบป้ายหรือข้อความถวายชัยมงคลว่า ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา หรือ ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี ตามสถานที่ราชการ หรือในหนังสือพิมพ์ ตลอดจนวารสารรายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือนอยู่ทั่วไป เขียนกันถูกบ้าง ผิดบ้าง นั่นคือคำว่า ทีฆายุโก หรือ ทีฆายุกา ซึ่งจะต้องใช้ ท นั้น บางทีก็ใช้ ฑ อยู่บ่อย ๆ

          คำว่า ทีฆายุโก เป็นภาษาบาลี ใช้ ท แปลว่า มีอายุยืน เมื่อรวมข้อความที่ว่า ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ตามตัวอักษรก็แปลว่า ขอพระมหาราชาจงทรงมีพระชนมายุยั่งยืนนาน แปลอย่างรวบรัดว่า ขอจงทรงพระเจริญ ที่ใช้ว่า ทีฆายุโก สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ทีฆายุกา สำหรับพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้น เป็นการเปลี่ยนรูปตามไวยากรณ์ เพราะคำว่า มหาราชา เป็น ปุงลิงค์ คือ เพศชาย จึงต้องใช้ ทีฆายุโก ส่วน มหาราชินี เป็น อิตถีลิงค์ คือ เพศหญิง จึงใช้ ทีฆายุกา

          เหตุที่บางคนเขียนเป็น ฑ นั้น คงเป็นเพราะตัว ฑ อยู่ใกล้กับ ฆ ซึ่งมีหัวหยัก เลยทำให้ ท มีหัวหยัก เลยกลายเป็น ฑ ตามไปด้วย

          คำในภาษาไทยที่มาจากภาษาบาลีที่เดิมเป็น ท แล้วมีผู้เขียนเป็น ฑ ในสมัยก่อน ๆ นั้น มีอยู่หลายคำ เช่น คำว่า ทูต  ซึ่งเป็นภาษาบาลี ใช้ ท ก็มีพบอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในหนังสือเก่าเขียนเป็น ฑูต  โดยใช้ ฑ หรือคำว่า มนเทียรบาล หนังสือเก่า ๆ เช่นในเรื่อง กฎมณเฑียรบาล  ก็ดี หรือ หมู่พระราชมณเฑียร  ก็ดี ที่คำว่า มณเฑียร  ก็ใช้ ฑ แต่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้เขียนเป็น มนเทียร  ใช้ ท เพราะคำนี้มาจากคำบาลีว่า มนฺทิร   ซึ่งแปลว่า เรือน  เมื่อแผลง อิ เป็น เอีย คำว่า มนฺทิร  จึงกลายเป็น มนเทียร  ทำนองเดียวกับแผลงคำว่า วชิร  เป็น วิเชียร หรือ พาหิร  เป็น พาเหียร   และ ปกีรณกะ  เป็น ปเกียรณกะ   ฉะนั้น

          จึงขอให้เขียนคำว่า ทีฆายุโก ให้ถูกต้อง ในฐานะที่เราเป็นประชาชนที่มีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงไม่ควรที่จะใช้ข้อความใด ๆ ที่เกี่ยวกับพระองค์ให้ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง

          นอกจากนั้น ตามหนังสือพิมพ์รายวันแทบทุกฉบับ ก็มีทั้งคำว่า ทีฆายุโก และ ฑีฆายุโก ปะปนกันอยู่ในฉบับเดียวกัน จึงควรจะระมัดระวังให้มาก ความจริงก็มิได้ทำให้ความหมายเสียไป แต่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาเท่านั้นเอง เพราะคำว่า ฑีฆ  ในภาษาบาลีหรือสันสกฤตที่แปลว่า ยาว  นั้นไม่มี มีแต่ ทีฆ  เท่านั้น ความจริงเรื่องนี้ก็ได้มีผู้สอบถามมาอยู่เสมอ แต่การเขียนก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร ยังมีที่ผิด ๆ ให้เห็นอยู่ แม้จะน้อยลงบ้างก็ตาม ยิ่งคำว่า ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี ด้วยแล้ว บางทีก็เขียนเป็น ทีฆายุโก โหตุ มหาราชินี และบางทีที่คำว่า "ทีฆายุโก" ใช้ ฑ แต่ในปัจจุบันการเขียนถูกต้องเกือบ ๑๐๐% แล้ว เพียงแต่คำว่า ทีฆายุโก และ ทีฆายุกา บางทียังใช้ ฑ แทน ท อยู่บ้างเท่านั้น จึงขอให้ช่วยกันระมัดระวังและเขียนให้ถูกต้องด้วย.

ผู้เขียน :  ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์  ทองประเสริฐ  ราชบัณฑิตประเภทปรัชญา สาขาวิชาตรรกศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ที่มา :  จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน  ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๙, สิงหาคม ๒๕๓๗

 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 21 ธ.ค. 10, 16:23

เรื่องนี้มีอีกยาว เคยได้มีการอภิปรายกันมาแล้วในเรือนไทย

ทีฆายุโก โหตุ VS ฑีฆายุโก โหตุ ------------- ทูต VS ฑูต
มาอีกแล้วครับ คำที่มักเขียนผิดบ่อยๆ พอดีวันนี้พิมพ์คำว่า "ทูต" แต่นิ้วพาไปเป็น "ฑูต" ก็เลยคิดได้ว่า อืม ก็น่าจะมีคนเขียนผิดบ่อยอยู่ ก็เหมือนเดิมครับ ใช้ google หาคะแนนซะเลย ผลได้ดังนี้ครับ

ทูต ได้ 904 รายการ

ฑูต ได้ 343 รายการ

ก็แสดงว่า อย่างน้อยในอินเตอร์เน็ต ก็มีคนเขียนผิด 1 ใน 3 ครับ


ุุุุุุุ---------------------------

ทีฆายุโก โหตุ

ส่วน ทีฆายุโก โหตุ กับ ฑีฆายุโก โหตุ นั้น คำที่ถูกต้องคือ "ทีฆายุโก โหตุ" (ใช้ "ท" และ เว้นวรรคตรง"โหตุ") ผมใช้ google ดูแล้วน่าตกใจครับ เพราะผิดกันมากจริงๆ

ทีฆายุโกโหตุ ได้ 80 รายการ (ผิดเพราะไม่วรรคก่อนโหตุ ด้วยครับ)

ฑีฆายุโกโหตุ ได้ 185 รายการ (ผิดกำลังสอง เพราะนอกจากไม่วรรคแล้ว ยังใช้ "ฑ" อีก)


ทีฆายุโก โหตุ ได้ 373 รายการ

ฑีฆายุโก โหตุ ได้ 402 รายการ

เห็นแล้วน่าตกใจครับ เขียนผิดกันเกินครึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานราชการเขียนผิดก็มีมากเสียด้วย

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไม่มีคำว่า "ทีฆายุโก โหตุ" ให้สำหรับตรวจสอบหรือเปล่า ? ซึ่งผมมองว่าจริงๆ "ต้องมี" นะครับ เพราะ คำนี้ ถึงจะเป็นภาษาบาลีก็จริง แต่เราจะต้องได้อ่านกันอย่างน้อยก็ปีหนึ่ง 2 ครั้ง คือ 12 สิงหา (ทีฆายุกา โหตุ) กับ 5 ธันวา (ทีฆายุโก โหตุ) ไม่รู้ว่า พจนานุกรมฉบับมติชนมีหรือเปล่า ? ใครมีอยู่ใกล้มือช่วยลองเปิดตรวจดู แล้วแจ้งผลด้วยนะครับ



ยังมีต่ออีกหลายความคิดเห็น

ขอเชิญเข้าไปอ่านต่อได้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 23 ธ.ค. 10, 08:53

คำที่ใช้ ทร กับ ซ ก็มีคนใช้ผิดบ่้อย ๆ

ทราก       หรือ  ซาก

แทรกแซง  หรือ  แซกแซง

คำไหนถูกต้อง

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 25 ธ.ค. 10, 08:35

ซาก
แทรกแซง
ถูกต้อง

คำที่สะกดผิด เช่นซากสะกดว่า ทราก   เป็นคำที่สะกดกันมาสมัยก่อน  เคยเห็นในเนื้อเพลงเก่าๆสัก ๕๐-๖๐ ปีก่อน สะกด ทราก กันบ่อย
อาจเป็นว่าพจนานุกรมสมัยปี 2493  ไม่ได้แพร่หลายนัก    แม้แต่โรงพิมพ์บางแห่งหรือนักเขียนเองก็ไม่ได้มีพจนานุกรมวางไว้ข้างตัว
จึงสะกดกันไปตามความนิยม

ทร ใช่ที่ไหนบ้าง ดูได้จากบทกลอนข้างล่าง
" ทรวดทรงทราบทรามทราย    ทรุดโทรมหมายนกอินทรี
มัทรีอินทรีย์มี                            เทริดนนทรี พุทราเพรา
ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด          โทรมมนัสฉะเชิงเทรา
ตัว "ทร " เหล่านี้เรา                 ออกสำเนียงเป็นเสียง " ซ "

สังเกตว่า โทรมมนัส ไม่ใช้กันแล้วเดี๋ยวนี้ ใช้แต่ โทมนัส
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 28 ธ.ค. 10, 14:18

คำที่ใช้ไม้ม้วนมี ๒๐ คำ ใคร ๆ ก็ท่องได้

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่       ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ         มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ        ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้           มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว         หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง   ยี่สิบม้วนจำจงดี

๒ คำนี้ไม่มีใน ๒๐ คำข้างต้น

หลับไหล  หรือ  หลับใหล

ไหลตาย  หรือ  ใหลตาย

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 28 ธ.ค. 10, 15:18

ร่วมด้วยช่วยกันค่ะ   ยิงฟันยิ้ม

มีอีกหลายคำที่มักเขียนกันผิดค่ะ
เทิด         มักเขียนผิดเป็น     เทอด
ทูนหัว       มักเขียนผิดเป็น     ทูลหัว
ทระนง      มักเขียนผิดเป็น     ทรนง
บุคลากร    มักเขียนผิดเป็น     บุคคลากร
บุคลิกภาพ  มักเขียนผิดเป็น     บุคคลิกภาพ
บูชายัญ     มักเขียนผิดเป็น    บูชายันต์
โพทะเล     มักเขียนผิดเป็น    โพธิ์ทะเล
แมงมุม      มักเขียนผิดเป็น    แมลงมุม
แมลงสาบ   มักเขียนผิดเป็น    แมลงสาป
รสชาติ      มักเขียนผิดเป็น    รสชาด
ไอศกรีม    มักเขียนผิดเป็น    ไอศครีม
อุกกาบาต   มักเขียนผิดเป็น    อุกาบาต
วิ่งเปี้ยว     มักเขียนผิดเป็น    วิ่งเปรี้ยว
.......



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 28 ธ.ค. 10, 15:41

๒ คำนี้ไม่มีใน ๒๐ คำข้างต้น

หลับไหล  หรือ  หลับใหล

ไหลตาย   หรือ  ใหลตาย




คำไหนถูกหนอ รอคำตอบ

ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 28 ธ.ค. 10, 17:36

คำว่า "ใหล" ในพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณทิตสถาน พ.ศ. 2542 ไม่มีความหมายค่ะ

ส่วนคำว่า "ไหล" หมายถึง
 
ไหล ๑ น. (๑) ชื่อปลารูปร่างกลมยาวคล้ายงู มีหลายวงศ์ในหลายอันดับ เช่น
 ไหลนา หรือ ไหลบึง (Fluta alba) ในวงศ์ Flutidae ไหลทะเล (Ophichthys
 microcephalus) ในวงศ์ Ophichthyidae, อีสานเรียก เอียน หรือ เอี่ยน.
 (๒) ดู มังกร ๒.

ไหล ๒ น. ส่วนของพืชบางชนิดเช่นบอนและบัว ซึ่งเลื้อยชอนไปแตกเป็นหน่อ
 ขึ้น, หางไหล ก็เรียก.
  
ไหล ๓ น. โลหะชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่าเอาไฟเทียนลนก็ไหลย้อยออกได้ เรียกว่า
 เหล็กไหล.
 
ไหล ๔ ก. เคลื่อนที่ไปอย่างของเหลวเช่นนํ้า, เลื่อนไป.


ดังนั้น คำว่า "หลับไหล" และ "ไหลตาย" จึงควรใช้ "ไหล" ที่มีความหมายว่า เคลื่อนที่ไป ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง