เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15
  พิมพ์  
อ่าน: 192716 ขออนุญาตแก้คำที่สะกดผิด
MrMiu
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 19:03

ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำว่า "เล้าหลือ"

ทราบความหมายดีเลยล่ะค่ะ แต่ไม่ทราบคำเขียน เพราะปกติพูดอย่างเดียว  อายจัง



ส่วน b ใน Youtube คิดว่าอย่างไรก็น่าจะเป็น บ ล่ะค่ะ เพราะเป็นตัวสะกด ไม่ได้เป็นตัวหน้า

แต่ก็บอกไม่ได้หรอกค่ะ ก็มิได้เก่งอังกฤษขนาดนั้น เพราะเวลาฝรั่งออกเสียง Youtube ให้ฟังเค้าก็ไม่ได้มาออกชัดถึงขั้น

"ยูทูบบุ หรือ ยูทุบปุ" (ประมาณนี้) ซะด้วย (ยกตัวอย่างเพื่อการเปรียบเทียบเท่านั้น)


ที่คิดว่า ชื่อ แป้ง สมควรสะกดว่า Baeng มากกว่า เป็นเพราะ B จะออกเสียง คล้าย ที่สุด เพราะ P เค้าก็จะออก พ พาน ไปเลย
บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 13 ส.ค. 12, 00:01

ไม่เคยได้ยินเช่นกัน

แต่พอวิเคราะห์ได้ว่าเป็นศัพท์ที่ใช้กันในกลุ่มวัยรุ่น

เมื่อเป็นศัพท์ที่ใช้พูดกันเล่น ๆ คงไม่มีใครอยากออกเสียง ร เรือ ให้ยากนัก 

"เล้าหลือ" น่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย สำหรับการสะกดคำตามวิธีที่วัยรุ่นสามารถออกเสียงได้สะดวก

 ยิงฟันยิ้ม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
เล้า ๑   น. คอกสําหรับให้สัตว์เช่นเป็ดและหมูอยู่.
เล้า ๒   (ถิ่น–พายัพ) น. ปีระกา.
เล้าโลม   ก. กอดจูบลูบคลำแสดงความรัก, พูดปลอบโยนให้โอนอ่อนตาม, โลมเล้า ก็ว่า.

เร้า   ก. กระตุ้นเตือน เช่น เร้าอารมณ์; ปลุกใจ เช่น พูดเร้าใจ. ว. ที่กระตุ้น เตือน เช่น สิ่งเร้า.

ผมขอแสดงความเห็นต่างออกไปว่าที่ถูกต้องน่าจะเป็นคำว่า เร้าหรือ ซึ่งอาจมาจากคำว่า รบเร้า ซึ่งเป็นการสร้างความรำคาญหรือหงุดหงิดใจให้คนฟัง แต่เอาคำท้ายมาคือ เร้า แล้วใช้วิธีออกเสียงซ้ำเป็นคำคู่เสียงสระ เป็น เร้าหรือ แต่เนื่องจากคนไทยพูด ร ไม่ชัด ก็อาจกลายเป็นเล้าหลือไปทั้งที่ตั้งใจหมายถึง เร้าหรือ
บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 13 ส.ค. 12, 00:14

ขอโทษทีครับ เร้าหรือ "หรือ" น่าจะเป็นเสียงซ้ำประเภทสร้อยคำที่ไม่มีความหมาย
ตัวอย่างสร้อยเช่น คำว่าล้าง เวลาอารมณ์เสียก็อาจพูดเป็น ล้างเลิ้ง  แล้วแต่ลิ้นพาไป
แต่ถ้าใช้ เล้าหลือ นึกหาที่มาไม่ออก ภาษาจีนก็ไม่น่าใช่
บันทึกการเข้า
MrMiu
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 14 ส.ค. 12, 19:03

ในความเห็นส่วนตัวก็คิดว่า "เร้าหรือ" เช่นกันค่ะ เพราะ น่าจะมาจาก รบเร้า  ร้องไห้

แต่ไม่มีที่ไหนอธิบายให้ได้แบบถูกต้องแน่นอนเลย จึงไม่มั่นใจ ได้แต่ตามส่วนใหญ่ไป
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 15 ธ.ค. 12, 15:27

คำนี้ไม่ได้เขียนผิดนะคะ  ยิงฟันยิ้ม
แต่ไม่รู้จะเอาไปไว้ในกระทู้ไหนค่ะ
คำว่า จุงเบย ค่ะ
ชักจะอ่านเจอถี่ขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 15 ธ.ค. 12, 16:00

คุณเพ็ญชมพูไปไหนไม่ทราบค่ะ เลยไม่เข้ามาตอบ

 จุงเบย คืออะไร แปล ความหมายของจุงเบย
“จุงเบย” เพี้ยนมาจาก จังเลย แสดงความแอ๊บแบ๊ว บางคนบอกว่าปัญญาอ่อน
ที่มา

จุง – จัง
สระ อุ และ ไม้หันอากาศ (–ั) เป็นสระที่อยู่ใกล้กันในคีย์บอร์ด ทำให้พิมพ์ผิด โดยพิมพ์สลับกันบ่อยๆ จนเลยเถิดกลายเป็นศัพท์วัยรุ่น

เบย – เลย
ล และ บ เป็นตัวอักษรที่อยู่ใกล้กันในคีย์บอร์ด ทำให้พิมพ์ผิด โดยพิมพ์สลับกันบ่อยๆ จนเลยเถิดกลายเป็นศัพท์วัยรุ่น
http://www.guchill.com/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A2-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 15 ธ.ค. 12, 16:11

กำลังนั่งฟังคำบรรยายอยู่ที่อยุธยา  ขยิบตา

จุงเบยน่าจะมาจากการเลียนแบบภาษาแดนโสมของคำว่าจังเลยมากกว่า

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 08 พ.ย. 16, 09:55

ตอนนี้ดูข่าวในสื่อไหน ๆ ข่าวดังที่สุดเห็นจะไม่พ้นข่าว "น็อต กราบรถ" แต่หลายสื่อรวมทั้งนักวิชาการดัง ๆ หลายท่านเขียนชื่อคุณน็อตผิด เป็น "น๊อต" (ใช้ไม้ตรี)

เชิญอ่านความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย

กลุ่มที่สาม หากพยัญชนะต้นเป็นพยัญชนะเสียงต่ำ (อักษรต่ำ) และเป็นคำตาย เสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงตรี เช่น
เสียงยาว เสียงสั้นมีไม้ไต่คู้กำกับ
เสียงวรรณยุกต์ตรี
นกแสก แซ็กคาริน (saccharin) (แซะ + ก)
กระแทก แท็กซี่ (แทะ + ก)
พิเภก หญ้าเพ็ก (เพะ + ก)
แลก แล็กเกอร์ (และ + ก)
แล็กโทส (อ. lactose)
เมตตา เม็ด (เมะ + ด)
ยอก, แยก ย็อกแย็ก (เยาะ + ก, แยะ + ก)
ย็อกแย็กๆ
ย็อกๆ แย็กๆ
แยบคาย แย็บ (อ. jab) (แยะ + บ)
แรก แร็กเกต (อ. racket) (แระ + ก)
ลอก ล็อก (เลาะ + ก)
ล็อกเกต (อ. locket)
แวบเดียว แว็บเดียว (แวะ + บ)

ส่วนคำที่มีแต่เสียงสั้น ก็มี เช่น
หลับผล็อย หลับผล็อยๆ เผล็ดดอก มันแผล็บ เผ่นแผล็ว แลบลิ้นแพล็บ แลบลิ้นแพล็บๆ แลบลิ้นแผล็บ แลบลิ้นแผล็บๆ
ว็อบแว็บ ว็อบๆ แว็บๆ

ผู้เขียน รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 08 พ.ย. 16, 10:13

ท่านรอยอินให้เขียนคำนี้ว่า "นอต" ให้ความหมายไว้ ๒ อย่าง

นอต ๑ น. หน่วยแสดงความเร็วของสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามระบบการเดินเรือ มีค่าเท่ากับ ๑ ไมล์ทะเลต่อชั่งโมง หรือ ๑.๘๕๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่น เรือแล่นได้เร็ว ๘ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง เรียกว่า เรือมีความเร็ว ๘ นอต ลมมีความเร็ว ๕๐ ไมล์ทะเลต่อชั่วโมล เรียกว่า ลมมีความเร็ว ๕๐ นอต. (อ. Knot).

นอต ๒   น. เครื่องตรึงหรือขันสิ่งอื่นให้แน่น ประกอบด้วยแท่งและแป้นโลหะ, ตัวที่เป็นแท่งมีปลายข้างหนึ่งเป็นปุ่ม อีกข้างหนึ่งมีเกลียวด้านนอก เรียกว่า นอตตัวผู้ และตัวที่เป็นแป้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมมีรูตรงกลาง และมีเกลียวด้านใน เรียกว่า นอตตัวเมีย. (อ. nut).

จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔

ถ้าเขียนอย่างนี้ต้องออกเสียงยาว แต่ที่ออกเสียงกันจริง ๆ น่าจะเป็นเสียงสั้น ซึ่งต้องเขียนว่า "น็อต"  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 08 พ.ย. 16, 11:09

เรื่องของคุณน็อตตามข่าว ท่านรอยอินเรียกว่า "นอตหลุด"

นอตหลุด (ปาก) ก. คุมสติไม่อยู่ เช่น เมื่อวานฉันเกือบนอตหลุดตอนที่ทะเลาะกับเขา, หลุด ก็ว่า

ปจฺฉา  โส  วิคเต  โกเธ  อคฺคิทฑฺโฒว  ตปฺปติ  

ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว  เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้  

พุทธภาษิต

ความโกรธเป็นโทษเช่นนี้แล  ตกใจ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 08 พ.ย. 16, 11:11

น๊อตตรงนี้เป็นวิสามัญนามนะครับ เขาจะสะกดอย่างไรก็เรื่องของเขา ราชบัณฑิตไม่เกี่ยว

บังเอิญว่าชื่อเล่นของลูกชายผม(คนละคนกับน๊อตกราบรถนะครับ) เขาก็เขียนว่า "น๊อต" ถามว่าราชบัณฑิตคิดว่ามันมาจากภาษาไหน คำไหน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 08 พ.ย. 16, 15:10

จริงอยู่ที่วิสามัญนามจะสะกดอย่างไรก็ได้ แต่นั่นเพียงแต่ในด้านของความหมาย ชื่อเล่นของลูกชายคุณนวรัตนอาจจะเขียนว่า ณ็อต น็อต หรือเปลี่ยน ต เป็นพยัญชนะใดก็ได้ในแม่กด โดยไม่ต้องคำนึงความหมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรอยู่กฎเกณฑ์ของการผันเสียงวรรณยุกต์



คำว่า น็อต พยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น เทียบได้กับคำว่า งะ ในตารางข้างบน ผันวรรณยุกต์ได้ดังนี้ น่อต-เสียงโท น็อต-เสียงตรี (น๋อต-เสียงจัตวา)  

น็อต มีเสียงตรีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใส่ไม้ตรีเข้าไปกำกับเสียงอีก ทำนองเดียวกับ นุกนิก ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ไม้ตรีเป็น นุ๊กนิ๊ก ให้รกรุงรัง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
bbbadboyza
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 03 ต.ค. 17, 13:57

เข้ามาเก็บข้อมูลครับผม
บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 03 ต.ค. 17, 16:30

เข้ามาเก็บข้อมูลครับผม

นอต เสียงโท เทียบกับคำว่า รอด  ผันกับสระ ออ ซึ่งเป็นสระเสียงยาว  ใช้ ไม้ไต่คู้ กำกับ เป็น น็อต ให้ออกเสียงแบบสระเสียงสั้น ได้เสียงตรี
นุกนิก สระ อิ เสียงสั้น ได้เสียงตรี อยู่แล้ว โดยไม่ต้องผันวรรณยุกต์
บันทึกการเข้า
พี่น็อต
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 09 มี.ค. 18, 09:56

เรียนคุณ NAVARAT.C

กฏการเขียนภาษาไทย ต่อให้เป็นวิสามัญนามหรืออะไร ก็ต้องเคารพการสะกดตามหลักการผันเสียงครับ
คุณ เพ็ญชมพู  นำตารางผันเสียงวรรณยุกต์มาวางให้ ซึ่งสุดมากครับ เยี่ยมเลย

แต่นึกกฏการผันเสียงไม่ออก ให้นึกถึงกฏสรุปคร่าวๆดังนี้ครับ
  ก อักษรกลาง  กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า              อักษรกลาง ผันได้ครบ 5 รูป ทั้งรูปและเสียงตรงกัน
  ข อักษรสูง     ขา ข่า ข้า                      อักษรสูง ผันได้ 3 รูป  รูปสามัญ ออกเสียงจัตวา               รูปเอก ออกเสียงเอกตรง          และรูปโท ออกเสียงโทตรง
  ค อักษรต่ำ     คา ค่า ค้า                     อักษรต่ำ ผันได้ 3 รูป  รูปสามัญ ออกเสียงสามัญเป็นปกติ    รูปเอก ออกเสียงโท               และรูปโท ออกเสียงตรี
ผมเลือกใช้อักษร    ก   ข   ค    ซึ่งเป็นกลุ่มพยัญชนะต้นๆชองชุดอักษรไทยเรา ซึ่ง    จำง่ายดีครับ     555

อักษร ฐาน น คืออักษรต่ำครับ สามารถผันเสียงได้ แค่ 3 รูป เท่านั้น  คือ รูปสามัญ  รูปเอก  และ  รูปโท  ตัวอย่างเช่น   นา น่า น้า
ดังนั้น การเขียนที่เป็นไปได้คือ น้อด น้อท น้อต น้อจ ฯลฯ แต่เนื่องจากต้องการออกเสียงให้สั้น จึงเป็น อักษรต่ำคำตายครับ จึงใช้ไม้ไต่คู้ควบเสียงแทนรูป โท
ดังนั้น รูปเขียนที่ถูกต้องจึงเป็น น็อด น็อท น็อต น็อจ ฯลฯ
และชื่อผมเลือก น็อต เพราะชื่อของผมมาจากคำว่า NOT คณิตศาสตร์ ซึ่งกลับรูปมาจาก Tonn คือต้น (คือเป็นลูกคนแรก) ซึ่งเป็นชื่อผมเหมือนกัน  [NOT - Tonn]
(น้องชายผมชื่อ นัท-NUT กลับรูปเป็น ตุลย์- Tunn คือเกิดราศีตุลย์  [Nut - Tunn] โปรดอย่าว่าไรเลยนะครับ ชื่อบ้านผมเป็นอย่างนี้ คุณย่าตั้งให้ครับ ลูกหลานทุกคนมีชื่อเล่น ไทย-อังกฤษ...)

ดังนั้น จะมากล่าวว่า ราชบัณฑิตไม่เกี่ยว คงไม่ได้นะครับ
เอิ่ม..ผมเป็นวิศวกรคอมฯครับ แต่แม่นเรื่องนี้   ยิงฟันยิ้ม

ป.ล. ถ้าขืนจะเขียน  น๊อต  อย่าพยายามอ่านออกเสียงครับ เดี๋ยวเสียภาษาหมด
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 20 คำสั่ง