เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 192721 ขออนุญาตแก้คำที่สะกดผิด
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 05 มี.ค. 12, 19:25

ปัญหาของการสะกดวรรณยุกต์ไทย ในปัจจุบันนี้   คือความเปลี่ยนแปลงด้านออกเสียงในภาษาพูด  ทำให้เสียงวรรณยุกต์แต่เดิมของเราครอบคลุมไปไม่ถึงเมื่อมาเป็นภาษาเขียน
อย่างคำว่า ป่ะ ที่คุณเพ็ญชมพูท้วงว่าควรสะกดว่า ปะ   ถ้าพิจารณาจากรูปประโยคจะเห็นว่า สองคำนี้ออกเสียงไม่เหมือนกัน  จะให้สะกดเหมือนกันคงไม่เหมาะปะผ้า กับ  เท่ป่ะ  ออกเสียงไม่เหมือนกัน  คำว่า ป่ะ ออกเสียงสั้นกว่า ปะ

คุณก. ไม่ชอบปะผ้า  ใช่ปะ?  ออกเสียงไม่เหมือนกับ คุณก. ไม่ชอบปะผ้า ใช่ป่ะ?


วรรณยุกต์มีไว้สำหรับกำกับระดับเสียง มิใช่กำกับความสั้นยาวของเสียง

สิ่งที่ต้องใส่ไปไม่ใช่ไม้เอก แต่ควรเป็นเครื่องหมายอะไรสักอย่างที่กำกับความสั้นยาวของเสียง

ในภาษาไทยมีเครื่องหมายที่ว่านี้ไหมหนอ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 05 มี.ค. 12, 19:51

 ลังเล
คุณเพ็ญชมพูออกเสียง ปะผ้า กับ ใช่ป่ะ เหมือนกันเลยหรือ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 05 มี.ค. 12, 21:03

ปะ-ป่ะ ไม่ว่าจะเขียนอย่างไร ก็ไม่พ้นเสียงเอก

คงอาจมีต่างกันเพียงความสั้นยาวของการออกเสียง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 21:07

(ดั้งเดิมน่าจะสะกดว่า รัตนชาด คือ แก้วสีแดง มากกว่า เหมือนกับคำว่า ธงชาติ ดั้งเดิมก็น่าจะเป็น ธงชาด คือธงแดง)        

ความเห็นของคุณตั้งน่าสนใจ

มีอีกคำหนึ่งที่หลายคนคิดว่าน่าจะใช้ "ชาด" คือคำว่า "รสชาด"  ทั้งที่รสไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับสีแดงเลย

รอยอินท่านให้ความหมายของ "ชาติ" ไว้ ๓ ประการ คือ

๑. ชาติ [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. การเกิด เช่น ชาตินี้ ชาติหน้า; กําเนิด เช่น มีชาติมีสกุล; เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาติเสือ ชาติขี้ข้า; ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิมหรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ.(ป., ส.).

รัตนชาติน่าจะอยู่ในความพวกหลังนี้
 
๒. ชาติ [ชาด, ชาดติ] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน, ประชาชาติ ก็ว่า.

ความหมายของธงชาติอยู่ในข้อนี้
 
๓. ชาติ [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. รส เช่น ไม่เป็นรสไม่เป็นชาติ.

น่าแปลก ชาติ แปลว่า รส ด้วย

 ยิงฟันยิ้ม
 
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 18 มี.ค. 12, 21:26

ฮึ๊บ ! (ฮื้บ ?- ไม่ทราบสะกดอย่างใดจึงจะถูกต้องที่จะแสดงอาการ"ตกใจตื่น" รอคุณเพ็ญชมพูมาฟันธงก็แล้วกัน)

สองคำข้างบนออกเสียงตรีทั้งคู่ ต่างกันเพียงการออกเสียง

คำหนึ่งสั้น คำหนึ่งยาว

เขียน ฮึบ ดีกว่า ฮึ๊บ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 20 มี.ค. 12, 07:04

มีคำที่เขียนคล้าย ๆ กันอยู่ ๓ คำ แต่ความหมายต่างกัน

หลายท่านใช้ไม่ใคร่ถูก

เรื่องของ เกษียร-เกษียณ- เกษียน

เกษียร = น้ำนม  เกษียณ = สิ้นไป  เกษียน = เขียน

สองคำแรกมาจากภาษาสันสกฤต ส่วนคำหลังเป็นคำไทยที่ล้อสันสกฤต

เกษียร  มาจากสันสกฤตว่า กฺษีร บาลีว่า ขีร เมื่อแปลงเป็นไทย กฺษีร ก็เป็น  เกษียร โดยแปลง สระ อี เป็น สระ เอีย  เมื่อนำมาประกอบเป็นคำว่า "เกษียรสมุทร" จึงได้ความหมายว่า "ทะเลน้ำนม"  อันใช้เรียกสถานที่ในตำนานว่า เป็นอาสนสถานของพระนารายณ์ เทพเจ้าสำคัญในศาสนาฮินดู ทรงบรรทมอยู่เหนือ อนันตนาคราช ที่ลอยอยู่ในทะเลน้ำนม หรือ เกษียรสมุทรแห่งนี้นี่เอง

เกษียณ สันสกฤตว่า  กฺษีณ แปลว่า สิ้นไป บาลีใช้ ขีณ   พอเป็นไทยก็เป็น เกษียณ (เอา อี เป็น เอีย เหมือนกัน)  เมื่อนำมาสร้างเป็นคำเช่นคำว่า "เกษียณอายุ" จึงมีความหมายว่า หมดสิ้นอายุไป แต่คำนี้ไม่ได้หมายความเดียวกับตาย หากแต่มักใช้กับการสิ้นกำหนดการต่าง ๆ เช่น เกษียณอายุราชการ หมายถึง หมดภาระหน้าที่ราชการแล้ว ไม่ต้องรับราชการอีกต่อไปด้วยถึงวาระอันควร พูดสั้น ๆ ว่า เกษียณ ก็มีเป็นต้น

เกษียน เป็นภาษาไทยนี่เอง มาจากคำว่า เขียน  ความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างบาลีและสันสกฤต คือ ข ในบาลี จะเปลี่ยนเป็น กษ  ในสันสกฤต (ข - กษ)   ดังนั้นคำว่า เขียน จึงถูกแปลงเป็นคำสันสกฤตโดยอาศัยหลักการแปลงคำจากบาลีเป็นสันสกฤต ข เปลี่ยนเป็น กษ  จากคำไทย เขียน จึงถูกแปลงเป็นคำล้อสันสกฤต เกษียน ด้วยประการฉะนี้ จนบางครั้งผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลีสันสกฤตยังแปลไม่ถูก   คำนี้นำไปใช้ในคำว่า "เกษียนหนังสือ" ทำนองเดียวกับ เขียนหนังสือ แต่ทั้งนี้ คำ "เกษียนหนังสือ" นี้เป็นคำสร้างใหม่ เพื่อใช้ในความหมายว่า “ข้อความที่เขียนแทรกไว้”  เช่น ในใบลาน หรือข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคำสั่งหรือหนังสือราชการ เรียกว่า หัวเกษียน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
MrMiu
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 05:27

ขอรบกวนถามข้อสงสัยสักเล็กน้อยนะคะ  ยิ้มเท่ห์

ทำไมเดี๋ยวนี้มองไปทางไหนในโลก internet ก็มักจะเจอแต่คำที่ผิดอย่างไม่น่าให้อภัย ...

- ทรมาน เป็น ทรมาณ , ทรมาร      (ดีนะคะเนี่ย ที่ยังไม่มี "ทรมาล" แบบที่วัยรุ่นยอดฮิตนิยมคำ ล มาแทน น  เจ๋ง )
- ลอง เป็น รอง ( เอ่อ ... ช่างสรรหาคำมาพิมพ์ให้ผิดกันจังเลยนะ คนเรา ... )
- พลิ้ว เป็น พริ้ว  ( พลิ้ว ร เรือ นี่ กระทั่งชื่อร้านอาหารก็มีเลยนะคะ ฮ่า ๆ)
- ภาพยนตร์ เป็น ภาพยนต์
- รถยนต์ เป็น รถยนตร์


คำข้างต้น ก็คิดว่าแย่แล้ว ... แต่คำด้านล่างต่อไปนี้แย่กว่า ..

- ใช้  เป็น " ไช้ "
- ไหน เป็น " ใหน "
- ให้ เป็น " ไห้ "

... พบเจอเยอะมากๆค่ะ จนทำให้แอบคิดว่า ปุ่มไม้มลายบนคีย์บอร์ดพังหรืออย่างไร?

ยังไม่นับเรื่องการผันวรรณยุกต์แบบผิดๆอีกที่แสนเยอะนัก ...


เหล่าคนที่เขียนผิด ก็บอกว่า "เขียนผิด/วิบัติก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย ไม่ได้ทำให้ชีวิตฉันเป็นอะไรเสียหน่อย"

อา ... อาจใช่ค่ะ ถ้าคุณไม่ได้ "จำ" คำนั้นๆไปใช้ในชีวิตจริงๆเข้า แต่ หากมีการจำคำที่ผิดเหล่านั้นไปใช้จริงๆ ไม่คิดหรือว่ามันจะน่าอายเพียงใด?
(และผลเสียอาจไม่หยุดอยู่แค่ น่าอาย ด้วย อาจกระทบไปถึง "แค่ภาษาไทยยังใช้ผิดเลย แล้วอย่างอื่นจะรอดหรอ?" กันเลยทีเดียว)

อยากให้ทุกคนใส่ใจกับภาษาให้มากกว่านี้จังเลย ...  เศร้า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 09:02

การสะกดคำผิดเกิดขึ้นด้วย ๒ เหตุผล

๑. ไม่ทราบคำที่ถูกต้อง ตัวอย่าง พันทิบ, อ่ะ

๒. ทราบคำที่ถูกต้องแต่ต้องการเขียนให้แปลกออกไป มักเป็นพวกวัยรุ่น ตัวอย่างเช่น เรว, คับ

เหตุผลที่สองแก้ง่าย พ้นวัยก็เขียนได้ถูกเอง  แต่เหตุผลแรกแก้ยากกว่า ต้องแก้ไขโดยการเรียนรู้ว่าคำที่ถูกต้องเขียนอย่างไร และพร้อมที่จะแก้ไข

ตัวอย่างที่คุณ MrMiu (อ่านว่าอะไรดีหนอ) ให้มา 

ชุดที่ ๑  พลิ้ว, ภาพยนตร์, รถยนต์  อยู่ในเหตุผลข้อที่ ๑

ชุดที่ ๒  ไช้, ใหน, ไห้ อยู่ในเหตุผลข้อที่ ๒

เรื่องไม้ม้วน ไม้มลายนี้ ในแง่ของการค้า บางทีต้องการเขียนผิดเพื่อสร้างจุดเด่นให้กับชื่อสินค้าหรือบริการ



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 09:04

สินค้านี้น่าจะเขียนผิดตามเหตุผลข้อที่ ๑



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 09:09

บางทีการเขียนคำผิดอาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ



เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ  โดยเฉพาะเมื่อพลั้งเผลอในการพิมพ์ข้อความ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 05 เม.ย. 12, 09:16

แต่ไม้เอกในคำว่า "นะค่ะ" นี้คงไม่ใช่เกิดจากการพลั้งเผลอ



เหตุผลข้อที่ ๑ อีกเช่นกัน



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
MrMiu
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 09 เม.ย. 12, 23:17

ขอบคุณมากเลยค่ะ คุณเพ็ญชมพู  ยิ้มเท่ห์

แต่ก็อยากให้รณรงค์ใช้ภาษาไทยให้ถูกจังเลยน้า  เศร้า


อ๊ะ

ขอข้อสงสัยกับอีกคำหน่อยนะคะ คำว่า "ลายเซ็น / ลายเซ็นต์" น่ะค่ะ

เท่าที่ลองเช็ค ก็คือ "ลายเซ็น" ไม่มี ต การันต์
แต่ดูจากหลายๆที่มากเหลือเกินมี ต์  ร้องไห้


ปล. ถ้าจะแวะมาถามไถ่ภาษาไทยที่ถูกต้องที่กระทู้นี้บ่อยๆคงจะไม่เป็นไรใช่ไหมคะ?  อายจัง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 10 เม.ย. 12, 09:22

ขอข้อสงสัยกับอีกคำหน่อยนะคะ คำว่า "ลายเซ็น / ลายเซ็นต์" น่ะค่ะ

เท่าที่ลองเช็ค ก็คือ "ลายเซ็น" ไม่มี ต การันต์
แต่ดูจากหลายๆที่มากเหลือเกินมี ต์  ร้องไห้

ให้การบ้านคุณมิอู (ขออภัยหาก เรียกผิด   ยิ้ม)

ทำไมคำว่า "ลายเซ็น" ถึงไม่มี ต การันต์

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
MrMiu
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 12:27

ขอข้อสงสัยกับอีกคำหน่อยนะคะ คำว่า "ลายเซ็น / ลายเซ็นต์" น่ะค่ะ

เท่าที่ลองเช็ค ก็คือ "ลายเซ็น" ไม่มี ต การันต์
แต่ดูจากหลายๆที่มากเหลือเกินมี ต์  ร้องไห้

ให้การบ้านคุณมิอู (ขออภัยหาก เรียกผิด   ยิ้ม)

ทำไมคำว่า "ลายเซ็น" ถึงไม่มี ต การันต์

 ยิงฟันยิ้ม




(มิอุ ค่ะ คล้ายกัน ฮ่าๆ)

เป็นการบ้านที่ยากมากเลยค่ะ เพราะจะคิดเอาเองก็กลัวผิดมั่วซั่วไปหมด อายเปล่าๆ  อายจัง

รบกวนเป็นครูให้ดีกว่าค่ะ เพื่อความถูกต้อง  อายจัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 12:34

คุณมิอุลองตั้งใจอ่านกระทู้นี้ทุก ๆ หน้า (โดยเฉพาะหน้าสาม) 

แล้วจะทราบว่าคำตอบอยู่หนใด

ฮ่า ฮ่า ฮ่า

ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง