เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 192711 ขออนุญาตแก้คำที่สะกดผิด
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 08:13

อึ๊ ฮือออ โอ่ะ โฮ (เชิญคุณเพ็ญตามถนัดเลยครับ)

ครั้งนี้อยากชี้ชวน      เพื่อนพี่ล้วนเก่งภาษา
ช่วยพิจารณา          "โอ่ะ" นั้นหนาผิดอย่างไร



ตำราประถมสาม       ตอบคำถามข้างบนไว้
พิศดูให้แน่ใจ          ภาษาไทยไม่ยากเลย   

 ยิงฟันยิ้ม        
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 09:44

อ อ่าง เป็นอักษรกลาง   ผันด้วยสระ เสียงสั้น  ออกเสียงเป็นเอก  โดยไม่ต้องใส่ ไม่เอก
โอ่ะ ----> ออกเสียงเท่ากับ  โอะ
แต่ถ้าคุณนวรัตนเปลี่ยนจาก อ เป็น ฮ 
โฮ่ะ----จะไม่ออกเสียงเท่ากับ  โฮะ   คำแรกเป็นเสียงโท  คำที่สองเป็นเสียงตรี   ถ้าจะออกเสียงเอกให้ได้ ต้องใช้อักษรสูงที่คู่กับ ฮ  คือ ห   
โห่ะ

เรื่องน่าเวียนหัวของการผันวรรณยุกต์ไทย คือมันขึ้นกับอักษรสูง กลาง ต่ำ   ทำให้สระเดียวกัน ถ้าอยู่กับอักษรคนละกลุ่มก็ออกเสียงต่างกัน    จึงเป็นเรื่องน่าเห็นใจที่เด็กสมัยนี้ผันกันไม่ถูก   เพราะหลักสูตรสอนให้จำเป็นคำๆ  ไม่ได้จำอักษรเป็นตัวๆ   พอมาเรียนอักษรสูง กลาง ต่ำก็จะสับสน   หรือไม่บางโรงเรียนอาจไม่ได้สอนเลย
ส่วนคุณนวรัตน ท่านเป็นเด็กสมัยก่อน  เรียนหลักสูตรเดียวกับดิฉัน   เรื่องผันวรรณยุกต์ก็น่าจะผันเป็นแน่นอน  แต่ไปเรียนทางสาขาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย ก็อาจจะลืมไปบ้าง   ดิฉันเองถ้าไม่ได้เป็นครูก็คงลืมเหมือนกัน 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 10:34

อ อ่าง เป็นอักษรกลาง   ผันด้วยสระ เสียงสั้น  ออกเสียงเป็นเอก  โดยไม่ต้องใส่ ไม่เอก
โอ่ะ ----> ออกเสียงเท่ากับ  โอะ
แต่ถ้าคุณนวรัตนเปลี่ยนจาก อ เป็น ฮ  
โฮ่ะ----จะไม่ออกเสียงเท่ากับ  โฮะ   คำแรกเป็นเสียงโท  คำที่สองเป็นเสียงตรี   ถ้าจะออกเสียงเอกให้ได้ ต้องใช้อักษรสูงที่คู่กับ ฮ  คือ ห    
โห่ะ
 


"โห่ะ" หนาว่าถูกไหม      ลองดูใหม่กันอีกที
ผันอักษรสูงนี้              กรณีเดียวกับกลาง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 11:05

มายืนเข้าแถวเดียวกับคุณ Navarat   อายจัง
โห่ะ  ต้องสะกดว่า โหะ
เห็นไหม ลืมจนได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 14:23

คำที่พบบ่อยบ่อย              มิใช่น้อยนั้นคือ "อ่ะ"
"โอ่ะ" "โห่ะ" พบน้อยจ้ะ      "อ่ะ" เป็น "อะ" จะปลอดภัย
 
ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 17:10

เป็นลม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 17:45

ภาษาไทยเป็นเสียงดนตรี คนไทยจึงออกเสียงได้สารพัดตั้งแต่เสียงสูงไปหาต่ำหรือต่ำไปหาสูง บางทียังมีลูกเล่นได้อีกตั้งแต่ใช้หลอดเสียงในคำคอ ไปจนถึงริมฝีปาก เพื่อแสดงอารมณ์

ภาษาไทยจึงไม่ใช่ศาสตร์อย่างเดียว แต่ยังมีศิลป์ด้วย

โอะ ก็อ่านว่าโอะแหละครับ ทำนองเดียวกับเด็กหัดเรียนผันคำว่า อะ อา อิ อี อึ อือ โอะ โอ เสียงมันมาอยู่ตรงกลางๆเกือบจะปลายลิ้นแล้ว ไร้ความรู้สึก

แต่ โอ่ะ ที่เป็นคำอุทานด้วยความทึ่งในสติปัญญาของคุณตั้ง ต้องอ่านให้ออกเสียงจากกลางอกมาสุดที่ลำคอ คนอ่านก็จะได้ความรู้สึกว่าผมมีความจริงใจต่อความทึ่งที่มีต่อคุณตั้งจริงๆ

แน่ะ ว่าเข้านั่น
พอรับฟังได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 18:50

ถึงคิวของ The Love Guru  ( ชื่อภาคไทย "ปรมาจารย์รักสูตรพิสดาร"  )เป็นหนังตลกที่ยัดเยียดมุก (ระวังอย่างยิ่งที่จะไม่สะกด ข. ไข่ให้คุณเพ็ญชมพูพิมพ์ตัวแดงกลับมาให้)

ใน ๕ คำของคุณเทาชมพูมีอยู่่คำหนึ่งยังมีปัญหา

มุก (ตลก) ไม่ใช่ มุข

มีเหตุผลการใช้อยู่สองฝั่ง

มุก - เหตุผลของราชบัณฑิตยสถาน  ความคิดเห็นที่ ๑๑๘

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/02/K5115945/K5115945.html#118

มุข - เหตุผลของคณะกรรมการพจนานุกรม สำนักพิมพ์มติชน ความคิดเห็นที่่ ๑๑๙

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/02/K5115945/K5115945.html#11
9

ราชบัณฑิตยสถานมีเหตุผลที่มาที่ไปของคำว่า "มุก" ชัดเจนกว่าค่ะ

คุณเทาชมพูใช้ "มุก" เพราะให้คะแนนท่านรอยอิน

หากใครให้คะแนนท่านมติชนใช้ "มุข"

ก็คงไม่ว่ากัน

 ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 20:11

ก็เห็นมีแต่คุณเพ็ญชมพูนั่นแหละที่จะว่าหรือไม่ว่า     ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 05 มี.ค. 12, 15:00

แว่ว ๆ คำว่า "เท่ห์ป่ะ"

เท่ห์

คำนามประเภทวิสามานยนาม เป็นชื่อเฉพาะที่บัญญัติขึ้นมา สำหรับใช้เรียกร้องชี้เฉพาะเจาะจงลงไป จะสะกดอย่างไรหรือเขียนอย่างไรก็ได้ เหมือนกับคำว่า เท่ ที่นักร้องชื่อดังสะกดผิดว่า เท่ห์ ทำเอาหลายคนเขียนสะกดผิดเมื่อนำคำเหล่านั้นมาใช้เป็นคำนามประเภทสามานยนาม เช่น สวย เท่ห์ ทันสมัย ใส่.......

ป่ะ

คำที่พบบ่อยบ่อย              มิใช่น้อยนั้นคือ "อ่ะ"
"โอ่ะ" "โห่ะ" พบน้อยจ้ะ      "อ่ะ" เป็น "อะ" จะปลอดภัย


ป่ะ เป็น ปะ ก็จะปลอดภัยเหมือนกัน

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 05 มี.ค. 12, 15:30

ปัญหาของการสะกดวรรณยุกต์ไทย ในปัจจุบันนี้   คือความเปลี่ยนแปลงด้านออกเสียงในภาษาพูด  ทำให้เสียงวรรณยุกต์แต่เดิมของเราครอบคลุมไปไม่ถึงเมื่อมาเป็นภาษาเขียน
อย่างคำว่า ป่ะ ที่คุณเพ็ญชมพูท้วงว่าควรสะกดว่า ปะ   ถ้าพิจารณาจากรูปประโยคจะเห็นว่า สองคำนี้ออกเสียงไม่เหมือนกัน  จะให้สะกดเหมือนกันคงไม่เหมาะ

ปะผ้า กับ  เท่ป่ะ  ออกเสียงไม่เหมือนกัน  คำว่า ป่ะ ออกเสียงสั้นกว่า ปะ

คุณก. ไม่ชอบปะผ้า  ใช่ปะ?  ออกเสียงไม่เหมือนกับ คุณก. ไม่ชอบปะผ้า ใช่ป่ะ?

เชิญอ่านความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย

แซ่บ (๑) โดย รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ    

มีผู้สงสัยว่าคำว่า "แซ่บ" ที่เราออกเสียงสั้นๆ กันนั้น ทำไม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ จึงกำหนดให้เขียนว่า "แซบ" โดยไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ ถ้าไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับก็ย่อมหมายความว่าคำนี้ออกเสียงยาวเท่าๆ กับคำว่า "แซม" ใช่หรือไม่

ก่อนที่จะตอบข้อสงสัยนี้ได้ สมควรที่จะพิจารณาระบบการเขียนของภาษาไทยเสียก่อน ดังนี้

๑. การเขียนสัญลักษณ์แสดงเสียงสั้นของภาษาไทยนั้นแสดงได้ด้วยสระสั้น อันได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ
๒. สระอะ หากมีตัวสะกด รูปอะ เปลี่ยนเป็นไม้หันอากาศ เช่น
ปะ + น = ปัน
๓. สระเอะ และ สระแอะ หากมีตัวสะกด รูปอะ เปลี่ยนเป็นไม้ไต่คู้ เช่น
เปะ + น = เป็น
แกระ + น = แกร็น
๔. สระโอะ หากมีตัวสะกด รูปโอ กับ อะ ลดรูปหายไป เช่น
โกะ + ล = กล
๕. สระเอาะ หากมีตัวสะกด เปลี่ยนรูปเหลือเพียง ตัวออ เช่น
เคร่าะ + ก = คร่อก
๖. สระเออะ หากมีตัวสะกด ตัวออ และ รูปอะ เปลี่ยนเป็น รูปอิ เช่น
เงอะ + น = เงิน
๗. สระเอียะ และ สระเอือะ หากมีตัวสะกด รูปอะ หายไป เช่น
เจี๊ยะ + ก = เจี๊ยก
เอื๊อะ + ก = เอื๊อก
๘. สระอัวะ หากมีตัวสะกด รูปไม้หันอากาศ กับ รูปอะ หายไป เช่น
จั๊วะ + ก = จ๊วก

ใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ปรากฏคำสั้นยาวตามเกณฑ์ที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนี้
กลุ่มแรก หากพยัญชนะต้นเป็นพยัญชนะเสียงกลาง (อักษรกลาง) หรือพยัญชนะเสียงสูง (อักษรสูง) เสียงวรรณยุกต์คงเดิม เช่น
เสียงยาว เสียงสั้น มีไม้ไต่คู้กำกับ
เสียงวรรณยุกต์ไม่เปลี่ยน
เลียนแบบ นอนแบ็บ
เปรต เป็ด
เศรษฐี เสร็จ
เหตุ เห็ด
เอน เอ็น
เอดส์ (อ. AIDS) เอ็ด

กลุ่มที่สอง หากพยัญชนะต้นเป็นพยัญชนะเสียงต่ำ (อักษรต่ำ) และเป็นคำเป็น เสียงวรรณยุกต์คงเดิม เช่น
เสียงยาว เสียงสั้น มีไม้ไต่คู้กำกับ
เสียงวรรณยุกต์ไม่เปลี่ยน
นิกายเซน ลายเซ็น
ของแพง ผักแพ็งแพว
วอมแวม ว็อมแว็ม
วอมๆ แวมๆ ว็อมๆ แว็มๆ
แวมๆ แว็มๆ
หนวดแหยม อย่าไปแหย็ม

กลุ่มที่สาม หากพยัญชนะต้นเป็นพยัญชนะเสียงต่ำ (อักษรต่ำ) และเป็นคำตาย เสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงตรี เช่น
เสียงยาว เสียงสั้นมีไม้ไต่คู้กำกับ
เสียงวรรณยุกต์ตรี
นกแสก แซ็กคาริน (saccharin) (แซะ + ก)
กระแทก แท็กซี่ (แทะ + ก)
พิเภก หญ้าเพ็ก (เพะ + ก)
แลก แล็กเกอร์ (และ + ก)
แล็กโทส (อ. lactose)
เมตตา เม็ด (เมะ + ด)
ยอก, แยก ย็อกแย็ก (เยาะ + ก, แยะ + ก)
ย็อกแย็กๆ
ย็อกๆ แย็กๆ
แยบคาย แย็บ (อ. jab) (แยะ + บ)
แรก แร็กเกต (อ. racket) (แระ + ก)
ลอก ล็อก (เลาะ + ก)
ล็อกเกต (อ. locket)
แวบเดียว แว็บเดียว (แวะ + บ)

ส่วนคำที่มีแต่เสียงสั้น ก็มี เช่น
หลับผล็อย หลับผล็อยๆ เผล็ดดอก มันแผล็บ เผ่นแผล็ว แลบลิ้นแพล็บ แลบลิ้นแพล็บๆ แลบลิ้นแผล็บ แลบลิ้นแผล็บๆ
ว็อบแว็บ ว็อบๆ แว็บๆ

ผู้เขียน รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 05 มี.ค. 12, 15:37

แซ่บ (๒)

คําที่ออกเสียงสั้น แต่ไม่มีรูปไม้ไต่คู้กำกับก็มี เช่น

เสียงยาว เสียงสั้น

แปดเปื้อน บีบแตรแป๊ด

ถั่วแปบ แป๊บเดียว

แปรงลวด เสียงแปร่ง

เจ็บแปลบ เจ็บแปล๊บ

เจ็บแปลบๆ เจ็บแปล๊บๆ

ขุนแผน แผ่นดิน

ถั่วงอก ง่อกแง่ก

นอนแซ่ว

แนบชิด โกยแน่บ

แวดล้อม ตวาดแว้ด

หากพิจารณาโดยผิวเผินอาจจะกล่าวได้ว่า รูปวรรณยุกต์ที่กำกับอยู่ทำให้ออกเสียงสั้น แต่จะทำให้ตอบคำถามมิได้ว่า เหตุใดคำว่า "ง่อกแง่ก" และ "แน่บ" จึงใช้รูปวรรณยุกต์เอกกำกับ เพื่อให้ออกเสียงโท ทั้งๆ ที่ "งอกแงก" และ "แนบ" เป็นเสียงโท อยู่แล้ว โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับอีก

ตามหลักการใส่รูปวรรณยุกต์กำกับนั้น ถ้าพยัญชนะต้นเป็นพยัญชนะเสียงต่ำ (อักษรต่ำ) มีสระเสียงยาว และตัวสะกดเป็นคำตาย จะเป็นเสียงโทได้ทันทีโดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เช่น งาก แต่ถ้าเป็นสระสั้น ต้องใช้รูปวรรณยุกต์เอกกำกับ เพื่อให้เป็นเสียงโท เช่น งั่ก

เพราะฉะนั้น การที่คำว่า ง่อกแง่ก และ แน่บ มีรูปวรรณยุกต์เอกกำกับ เพื่อให้เป็นเสียงโทได้ ย่อมแสดงว่า คำนี้มีสระสั้น

มีทางเดียวที่จะชี้ได้ว่า คำนี้ใช้สระสั้น ก็คือต้องถอยหลังกลับไปที่รูปเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง นั้นคือ "ง่อก" น่าจะมาจากสระเอาะ ไม่ใช่สระออ และ "แง่ก" กับ "แน่บ" น่าจะมาจากสระแอะ ไม่ใช่ สระแอ ดังนี้

เง่าะ + ก = ง่อก

แง่ะ + ก = แง่ก

แน่ะ + บ = แน่บ

หากพิจารณาในแง่นี้คำที่เขียนด้วยสระยาวอีกหลายคำ แท้ที่จริงน่าจะเป็นสระสั้นที่เปลี่ยนแปลงมา จึงน่าจะใช้รูปวรรณยุกต์กำกับได้โดยไม่ผิด เช่น

คำที่ปรากฏในพจนานุกรม คำที่น่าจะเขียนได้

ม่อลอกม่อแลก ม่อล่อกม่อแล่ก

มะลอกมะแลก มะล่อกมะแล่ก

ลอกแลก ล่อกแล่ก

วอกแวก ว่อกแว่ก

ในกรณีของสระสั้นที่เปลี่ยนรูปไปเป็นไม้ไต่คู้นั้นอาจจะพิจารณาได้ยากกว่ากรณีของการลดรูปอย่างธรรมดา ทั้งนี้เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปการเขียน ไม่ให้ไม้ไต่คู้ปรากฏคู่กับรูปวรรณยุกต์ เมื่อเครื่องหมายบอกเสียงสั้นหายไป ผู้เรียนภาษาจึงต้องจำเป็นคำๆ ว่า รูปสระสั้นและสระยาวที่เหมือนกันนั้น คำใดเป็นสระสั้น คำใดเป็นสระยาว เช่น เก่ง กับ เก้ง ทำไมคำแรกออกเสียงสั้น ทำไมคำหลังออกเสียงยาว ทั้งๆ ที่รูปสระเหมือนกัน สองคำนี้สามารถสันนิษฐานได้ว่า

เก่ะ + ง = เก่ง

เก้ + ง = เก้ง

ในพจนานุกรม สัพะ พะจะนะ ภาษาไทย ของ ปัลเลอกัวซ์ ยังปรากฏรูปวรรณยุกต์เอกวางอยู่เหนือไม้ไต่คู้ในคำว่า เก่ง ซึ่งพิมพ์ดีดหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปัจจุบันไม่สามารถแสดงรูปได้แล้ว

หากพิจารณาในแง่นี้คำที่เขียนด้วยสระยาว แต่ความจริงออกเสียงสั้นก็น่าจะใช้รูปวรรณยุกต์กำกับได้ เช่น

คำที่ปรากฏในพจนานุกรม คำที่น่าจะเขียนได้

คุยกันแซด คุยกันแซ่ด

เซแซดๆ เซแซ่ดๆ

อาหารแซบมาก อาหารแซ่บมาก

นอกจากนี้ ก็ยังอาจจะทำให้เขียนคำอื่นๆ ที่ออกเสียงสั้นได้อีก เช่น

คำที่ปรากฏในพจนานุกรม คำที่น่าจะเขียนได้

เสียงกรนครอก เสียงลิงขู่คร่อกๆ

คอยเงก เง็กลั้ง

ซอกเขา ซ็อกเกอร์

เสกคาถา เซ็กซ์

เข้าเซตกัน เข้าเซ็ตกัน

เมืองนอก ถูกน็อก

ขันนอต ขันน็อต

หญ้าแพรก แพ็กของ

มอบหมาย ม็อบ

รอก เพลงร็อก

แรด แร่ด

เวช เว็บ

เนตบอล เน็ตบอล

ยางแฟบ

ผงซักฟอกแฟ้บ ผงซักฟอกแฟ็บ

ส่วนคำอื่นๆ ที่ไม่มีตัวเทียบในพจนานุกรมก็น่าจะเขียนได้ เช่น ไอ้กรั๊วก ชักแหง็กๆ ชักแง็กๆ เรื่องนั้นแป้กไปแล้ว

แม้แต่คำที่พจนานุกรมกำหนดให้เขียนเป็นเสียงยาว ก็อาจจะทำให้เป็นเสียงสั้นได้ เช่น ล็อกเก็ต แร็กเก็ต โดยไม่จำเป็นต้องเขียนด้วยสระยาว แล้วกำหนดให้อ่านเสียงสั้น ดังในคำว่า

แฟลกซ์ [แฟฺล็ก] ชื่อไม้ล้มลุก (อ. flax)

ด้วยเหตุผลการวิเคราะห์ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ คำว่า "แซบ" ถ้าออกเสียงสั้นก็น่าจะเขียนว่า "แซ่บ" ได้

จึงเสนอมาเพื่อพิจารณา

ผู้เขียน รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
 
ถ้างั้นก็ควรมีคำที่ออกเสียงสั้นกว่าเสียงปกติ  สะกดต่างกัน เช่นคำว่า  ปะ-ป่ะ    อะ-อ่ะ   แรด-แร่ด  ฯลฯ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 05 มี.ค. 12, 16:12

ถ้างั้นก็ควรมีคำที่ออกเสียงสั้นกว่าเสียงปกติ  สะกดต่างกัน เช่นคำว่า  ปะ-ป่ะ    อะ-อ่ะ   แรด-แร่ด  ฯลฯ

คำว่า แรด-แร่ด แซบ-แซ่บ กับ ปะ-ป่ะ อะ-อ่ะ   เป็นคนละกรณีกัน

แรด-แร่ด แซบ-แซ่บ เป็นเรื่องที่ไม้ไต่คู้สามารถปรากฏร่วมกับเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้  ทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ งง

ลองอ่านบทความเรื่อง ตำแหน่งของไม้ไต่คู้ (๒) โดยอาจารย์นิตยา กาญจนะวรรณ เช่นกัน

ไม้ไต่คู้ อักขระตัวแรกที่ค้นพบใน พ.ศ.๒๐๐๐ ดูเหมือนว่าจะเป็นอักขระที่อยู่คู่กับภาษาไทยมาอย่างยืนยงที่สุด เพราะในปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้กันอยู่ และคำว่า ก็ ก็ยังคงเป็นคำพิเศษคำเดียวในภาษาไทยที่เขียนในลักษณะนี้

อย่างไรก็ตาม การใช้ไม้ไต่คู้ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปมิใช่น้อย เมื่อ ดร.นันทนา ด่านวิวัฒน์ ได้ค้นพบว่า ไม้ไต่คู้ ปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกวัดจุฬามณี พ.ศ.๒๒๓๐ มีหน้าที่ ทำให้สระเสียงยาวในพยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กลายเป็นเสียงสั้น นั้น อาจจะเป็นเพราะว่าในขณะนั้นยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นในสมัยหลัง และถึงแม้ว่าจะมีหน้าที่บังคับให้เสียงสั้นลงในทำนองเดียวกับไม้ตรี ดังที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ประถม ก กา แต่ตำแหน่งของไม้ไต่คู้กลับถูกจำกัดลงไป ดังนี้

๑. ในอดีตทั้งไม้ไต่คู้และไม้ตรีปรากฏอยู่เหนือสระบนได้ แต่ในปัจจุบันไม้ไต่คู้ไม่สามารถปรากฏอยู่เหนือสระบนได้ ดังที่ปรากฏในเอกสารต่อไปนี้

(จากหนังสือ แบบเรียนเร็ว ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ : เล่ม ๑ หน้า ๙๑)

๒. ในอดีตไม้ไต่คู้สามารถปรากฏร่วมกับเครื่องหมายวรรณยุกต์ ได้ แต่ในปัจจุบันปรากฏร่วมไม่ได้ ดังปรากฏในเอกสารต่อไปนี้

(จากหนังสือ แบบเรียนเร็ว ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ : เล่ม ๑ หน้า ๗๑)


การนำไม้ไต่คู้กลับมาสู่ตำแหน่งเดิมอาจจะให้ทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีคือ ทำให้การอ่านง่ายขึ้น เพราะสามารถระบุได้ชัดเจนว่า สระที่เปลี่ยนรูปไปนั้นมาจากสระสั้นหรือสระยาว เช่น

เก่ง อ่านเสียงสั้น เพราะมาจาก เกะ + ง เปลี่ยนรูปสระอะ เป็นไม้ไต่คู้ แล้วใช้ร่วมกับไม้เอก

เก้ง อ่านเสียงยาว เพราะมาจาก เก + ง แล้วใช้รูปไม้โทอย่างเดียว

ในปัจจุบันนี้ที่เราอ่านได้ว่าตัวหนึ่งสั้นตัวหนึ่งยาวก็เพราะความเคยชิน แต่รูปการเขียนมิได้ช่วยอะไรเลย

ข้อเสียคือ จะต้องมีการปรับปรุงรูปการเขียนภาษาไทยเสียใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ใช้ภาษาสับสน นอกจากนี้ ยังต้องปรับปรุงทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถแสดงตำแหน่งได้ เพราะในปัจจุบันนี้ทำอย่างไรก็ไม่สามารถจะพิมพ์ไม้ไต่คู้ร่วมกับรูปวรรณยุกต์อื่นหรือสระบน (สระอิ สระอี สระอึ สระอือ) ได้ นอกจากจะใช้วิธีแทรก (insert) สัญลักษณ์ (symbol) ซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งผ่านทางอีเมล์ได้

ใครมีความเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไร เชิญได้เลยจ้ะ



ถ้าไม่ให้งง แร่ด  และ แซ่บ ต้องเขียนตามคำแนะนำข้างบนดังนี้

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 05 มี.ค. 12, 16:32

ไม่อาจจะรับแซ่บได้ เพราะยังสงสัย
แรด - แร็ด   คำแรกเป็นเสียงโท คำที่สองเป็นเสียงตรี  ไม้ไต่คู้มาเปลี่ยนเสียงคำเสียแล้ว  จนเมื่อเติมไม้เอกเข้าไป จึงถูกกำหนดให้เป็นเสียงเอก
ถ้างั้นจะให้เขียนว่าอะไรดี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 05 มี.ค. 12, 18:56

แรด - แร็ด   คำแรกเป็นเสียงโท คำที่สองเป็นเสียงตรี  ไม้ไต่คู้มาเปลี่ยนเสียงคำเสียแล้ว  จนเมื่อเติมไม้เอกเข้าไป จึงถูกกำหนดให้เป็นเสียงเอก

เสียงวรรณยุกต์เป็นดังนี้

อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงยาว (สระแอ)   แหรด (เอก)  แรด (โท)    แร้ด (ตรี)      

อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น  (สระแอะ)  แหร็ด (เอก)   แร่ด (โท)   แร็ด (ตรี)

เติมไม้เอกเข้าไป ก็ยังเป็นเสียงโทอยู่นั่นเอง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง