สรุปว่า Not หรือ Knot สะกดภาษาไทยว่า น้อต
อ่านไปอ่านมาชักงง ขอถามเพื่อความแน่ใจ
ไม้ไต่คู้ ทำให้เสียงของคำ(สะกดด้วยอักษรต่ำ)ที่เป็นเสียงโท อย่างคำว่า นอต หรือ นอก กลายเป็นเสียงตรีได้ไหม
เช่น นอก (เสียงโท) น็อก (เสียงตรี) นอต(เสียงโท) น้อต( เสียงตรี)
ปัญหาคือ ไม้ไต่คู้ ทำให้เสียงตรี สั้นลงกว่าเขียนไม้โท หรือเปล่าคะ?
คุณเทาชมพูสับสนเรื่อง เสียงสั้น และ เสียงยาว
น็อต และ น้อต มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำและเป็นคำตายทั้งคู่ ต่างกันที่ คำแรกมีเสียงสั้น ส่วนคำหลังมีเสียงยาว การผันวรรณยุกต์มีดังนี้
คำแรก (เสียงสั้น) น่อต-เสียงโท น็อต-เสียงตรี (น๋อต-เสียงจัตวา)
ทุกคำถ้าเขียนเพื่อให้เห็นชัด ๆ ว่าเป็นคำเสียงสั้นต้องมีไม้ไต่คู้อยู่ระหว่างพยัญชนะและวรรณยุกต์ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการพิมพ์ (และอาจทำให้สับสนยิ่งขึ้น) * เทียบกับคำในตาราง คือ ง่ะ งะ ง๋ะ
คำหลัง (เสียงยาว) นอต-เสียงโท น้อต-เสียงตรี (น๋อต-เสียงจัตวา) เทียบกับคำในตารางคือ งาด ง้าด ง๋าด

*
ลองอ่านบทความเรื่อง ตำแหน่งของไม้ไต่คู้ (๒) โดยอาจารย์นิตยา กาญจนะวรรณ
ไม้ไต่คู้ ถึงแม้ว่าจะมีหน้าที่บังคับให้เสียงสั้นลงในทำนองเดียวกับไม้ตรี ดังที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ประถม ก กา แต่ตำแหน่งของไม้ไต่คู้กลับถูกจำกัดลงไป ดังนี้
๑. ในอดีตทั้งไม้ไต่คู้และไม้ตรีปรากฏอยู่เหนือสระบนได้ แต่ในปัจจุบันไม้ไต่คู้ไม่สามารถปรากฏอยู่เหนือสระบนได้ ดังที่ปรากฏในเอกสารต่อไปนี้
(จากหนังสือ แบบเรียนเร็ว ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ : เล่ม ๑ หน้า ๙๑)
๒. ในอดีตไม้ไต่คู้สามารถปรากฏร่วมกับเครื่องหมายวรรณยุกต์ ได้ แต่ในปัจจุบันปรากฏร่วมไม่ได้ ดังปรากฏในเอกสารต่อไปนี้
(จากหนังสือ แบบเรียนเร็ว ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ : เล่ม ๑ หน้า ๗๑)[ /size]