๑.
การใส่ ไม้เอก ลงไปในคำ จะช่วยให้คำนั้นเสียงสั้นลงหรือคะ? ถึงแม้ว่าคำคำนั้นจะออกเสียงเอกอยู่แล้วอย่างเช่นคำนี้
วรรณยุกต์มีไว้สำหรับกำกับระดับเสียง มิใช่กำกับความสั้นยาวของเสียง
สิ่งที่ต้องใส่ไปไม่ใช่ไม้เอก แต่ควรเป็นเครื่องหมายอะไรสักอย่างที่กำกับความสั้นยาวของเสียง
๒.
แต่มีอีกคำนึงที่สงสัยมากๆเลยค่ะ จะออกเสียงประมาณว่า "ออก" (แต่เป็นเสียงสั้น) (สมมติภาพโดนรัดคอ ก็จะรู้สึกแน่นที่คอจนร้องออกมาว่า ออก)
เลยอยากทราบว่า คำคำนี้ ควรจะเขียนว่าอย่างไรดี เพื่อให้มันออกเสียงว่า ออก แต่ออกเสียงเร็วๆ?
อ่อก? อ็อก?
ในกรณีนี้เครื่องหมายที่กำกับความสั้นยาวของเสียงคือ "สระ"
ขอให้พิจารณาคำว่า "ออก" และ "อ็อก" สองคำนี้มีสระต่างกัน การออกเสียงก็ต่างกัน
ออก = อ + สระออ + ก เสียงยาว
อ็อก = อ + สระเอาะ + ก เสียงสั้น
คุณมิอุจะเลือกคำไหนเอ่ย
