เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 8321 ประวัติศาสตร์มีคุณค่า หรือ มีราคา
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 ต.ค. 07, 23:55

อ่านที่คุณ Pipat เปิดประเด็นไว้  เรื่องนั้นคงตามแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว  แต่ผมมีเรื่องที่น่าจะแก้ไยได่ในวันเวลานี้มาฝากเรื่องหนึ่ง  คือ เรื่องพระตำหนักปฐมนครของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

เรื่องขอเรื่องมีอยู่ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้บูรณะพระปฐมเจดีย์นั้น  ได้เสด็จออกไปตรวจการบูรณะด้วยพระองค์เอง  และโปรดให้สร้างพระตำหนักที่ประทับไว้ที่ใกล้กับองค์พระ  นานวันเข้าพระตำหนักที่ประทับนั้นก็ผุพังลง  แล้วจึงมีการก่อสร้างสำนักงานเทศบาลนครปฐมทับลงไปบนพื้นที่พระตำหนักปฐมนคร  แต่เมื่อเร็วๆ นี้มีการรื้อสำนักงานเทศบาลนั้นเพื่อสร้างใหม่  และมีการขุดดินเพื่อทำที่จอดรถใต้ดินก็ให้บังเอิญไปเจอฐานรากของพระตำหนักปฐมนครเข้า  ทางฝ่ายเทศบาลก็จัดจงล้อมรั้วและพยายามจะรื้อถอนฐานรากของพระตำหนักนั้น  แต่มีชาวนครปฐมจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วย  พยายามคัดค้านการก่อสร้างสำนักงานเทศบาลใหม่เพื่อที่จะอนุรักษ์พระตำหนักปฐมนครนั้นไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลานของชาวนครปฐม  ทางเทศบาลก็ไปเชิญนักโบราณคดีของกรมศิลปากรมาดู  คำตอบที่นักโบราณคดีท่านนั้นตอบผู้ที่ร้องคัดค้าน คือ คุณเคยเห็นพระตำหนักปฐมนครอยู่ที่ตรงนี้หรือ  แล้วนักโบราณคดีท่านนั้นก็ฟันธงไปเลยวว่า ไม่ใช่ฐานรากของพระตำหนักปฐมนคร  เหมือนเช่นครั้งที่ห้างโลตัสนครปฐมไปสร้างทับบนซากโบราณสถานก็มาทำนองนี้เหมือนกัน  นี่แหละกรมศิลปากรไทย

อีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องพระที่นั่งปาฏิหารย์ทัศไนย ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นไว้ที่ชาลาพระที่นั่งพิมานปฐม  พระราชวังสนามจันทร์ เมื่อครั้งทอดพระเนตรพระปฐมเจดีย์แสดงปาฏิหารย์  ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ โปรดให้ชลอมาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร  มาบัดนี้จะมีการฉลอง ๑๐๐ ปีพระราชวังสนามจันทร์  ชาวนครปฐมก็พากันเรียกร้องขอพระที่นั่งองค์นี้กลับไปที่เดิม  แต่คำตอบที่ได้รับจากสำนักพระราชวังผู้ดูแลพระราชวังสนามจันทร์ในปัจจุบัน  กลับบอกว่าไม่ขอรับองค์จริงคืนมา  แต่จะจำลองขึ้นใหม่  ฟังแล้ววังเวงจริงๆ ครับ 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 18 ต.ค. 07, 00:01

เคยอ่านข้อเขียนของคุณหญิงสวาท  รัตนวราห อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวัโนทัยพายัพ  จังหวัดเชียงใหม่ที่ท่านเขียนถึงกำแพงเมืองเชียงใหม่ที่ถูกทลายลงเพราะประโยชนื?งเศรษฐกิจของคนบางกลุ่ม  โดยท่านอ้างถึงกรุงโรมซึ่งมี่รายได้มหาศาลจากการขายการท่องเที่ยว  จึงขอหยิบยกข้อเขียนของท่านมาไว้เป็นอุธาหรณ์แก่ท่านผู้เกี่ยวข้องกับการรักษาสมบัติของชาติครับ

“...ประเทศอิตาลีเขาได้เงินรายได้มหาศาลจากการ “ขายกรุงโรมให้นักท่องเที่ยวปีละละหลายแสนล้านลีร์”  เพียงแต่อิฐหักๆ และไกด์เก่งเท่านั้นก็ทำเงินให้ประเทศได้แล้ว...”
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 18 ต.ค. 07, 01:40

ขอเสริมความเห็นคุณวี สักเล็กน้อย
กรุงโรมไม่ได้ขายได้เพราะไกด์เก่งอย่างเดียวดอกครับ
กรุงโรมขายประวัติการณ์ของยุโรปทั้งหมด และ
บางส่วนของความยิ่งใหญ่ของมนุษย์

ประวัติศาสตร์ คือกระจกสะท้อนว่า เราในฐานะลูกลานของคนเก่าก่อน เติบใหญ่ ถอยห่างจากความตกต่ำมามากเพียงใด
หรือว่า ตรงกันข้าม...เราหินชาติกว่าคนรุ่นก่อนอย่างเทียบไม่ติด
คนที่เห็นค่า ย่อมจะรักษากระจกบานนี้ไว้ด้วยชีวิต แต่ก็มีบ้าง ที่ทำให้มันมัวๆ ไปบ้าง
หากจะทำให้ปัจจุบันของตน ดียิ่งขึ้น

เมื่อสอง-สามวันก่อน ผมได้ยินรายการท่องเที่ยวในทีวี พูดว่า สัญญลักษณ์ของกรุงเทพคือเสาชิงช้า
รู้สึกแปลกใจ
จะเรียกว่าเป็นการบิดเบือนก็เห็นจะได้
จะเรียกว่าความเห่อ ก็อาจจะได้
แต่ที่น่ากลัวก็คือ การเผยแพร่ความคิดเห็นที่ไร้สาระอย่างนี้ ปาวๆ ในจอทีวี ไปสู่คนเป็นล้านๆ
ในที่สุด ความเท็จก็กลายเป็นความจริงไปได้

การสอนให้รักประวัติศาสตร์ ยังเป็นเครื่องชี้วัดความเข้มแข็งของสังคมนั้นๆ ได้ด้วย
สยามและญี่ปุ่น นับว่าอ่อนแอพอๆ กัน
ฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับว่ามีการรุกราน และเข่นฆ่ากันเป็นแสนเป็นล้านในสงครามมหาเอเชียบูรพา
อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ยอมรับรู้ว่า มีเดือนตุลาคมอันแสนหฤโหดเกิดขึ้นกลางกรุง
การทำไม่รู้ไม่ชี้ต่อเหตุการณ์อันเป็นกระจกแห่งความจริง ไม่ช่วยให้สังคมเป็นสุข
การยอมรับในข้อผิดพลาด และพร้อมจะชดใช้ นั่นแหละคือยาวิเศษ

ในแง่นี้ ประวัติศาสตร์เป็นมากกว่าคุณค่า หรือมูลค่า
ประวัติศาสตร์อาจจะเป็นเงื่อยไขชี้เป็นชี้ตายให้กับอนาคตได้ทีเดียว
คราวที่จีนทำผิดพลาดเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ถ้ายังดันทุรังและปกปิด ก็คงไม่มีจีนอันรุ่งเรืองอย่างทุกวันนี้
สำหรับชีวิตของคนธรรมดา อย่างเราๆ ท่านๆ ความผิดพลาดต่างๆ สรุปในเชิงประวัติศาสตร์ได้ว่า
"เจ็บแล้วต้องจำ" หรืออะไรในความหมายประมาณนี้
แต่สำหรับประเทศชาติ ประวัติศาสตร์คือเส้นทางที่ทอดไปสู่อนาคต

ไม่มีไม่ได้เป็นอันขาด
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 18 ต.ค. 07, 01:49

ขอเล่าฝากไว้อีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เหมือนกัน แต่เป็นประวัติศาสตร์ที่เพิ่งเกิด
ปี 2518 เขมรแตก เกิดความตระหนกในหมู่เศรษฐีว่า คอมมิวนิสต์จะกินประเทศไทย
มีการขนย้ายทรัพย์สิน และหาทางหนีทีไล่

เศรษฐีคนหนึ่งที่บางปู เป็นเจ้าของโครงการประหลาดที่จำลองสถาปัตยกรรมอันมีคุณค่าของประเทศเอาไว้ให้คนมาชม
ไม่หนี ....ไม่แม้แต่จะคิด
ลูกๆ ปรึกษาว่า เตรียมการไว้บ้างก็ดี แต่สองสามีภรรยาปฏิเสธ บอกเป็นคำมั่นว่า
ไม่อาจทิ้งโครงการที่แสนรักนี้ไปใหนทั้งนั้น
เขาทั้งสองสรุปอย่างปลงตกว่า โครงการนี้ น่าจะมีค่าในสายตาของพวกคอมมิวนิสต์ และเขาคงยอมให้สองคนผัวเมีย
เป็นยามคอยดูแลสิ่งที่ทั้งคู่สละทุกสิ่งทุกอย่างสร้างให้กับประเทศนี้

เรื่องนี้อาจจะตอบคำถามของกระทู้ได้ว่า ประวัติศาสตร์มีค่าอย่างไร
อ้อ...ตามนิตินัยแล้ว สองสามีภริยา มิใช่ไทยแท้ด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
KoKoKo
อสุรผัด
*
ตอบ: 49


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 07:06

ได้ติดตามบทความ ในเวป ม.เที่ยงคืนด้วยน่ะครับ เลยเอาอันนี้มาฝาก

การใช้วัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ของเกาหลีใต้: บทเรียนของประเทศไทย
KOCCA: เกาหลีกับการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า
ธเนศ เจยเสนานนท์ : เขียน

หยิบ บทสรุป มาแปะไว้นะครับ

    ภายหลังจากความสำเร็จของเกาหลีใต้ในหลายๆ ด้านทำให้เกาหลีใต้ก้าวขึ้นมาเป็นขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ในเอเชียที่ไม่อาจมองข้ามได้อีกต่อไป ความสำเร็จของเกาหลีใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้วัฒนธรรมเชิงพาณิชย์นั้น จัดได้ว่าเป็นการขับเคลื่อนประเทศไปสู่สังคมองค์ความรู้ได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่เพียงแค่หารายได้เข้าประเทศเท่านั้น ยังสามารถนำวัฒนธรรมเข้าไปครอบงำวัฒนธรรมของหลายๆ ชาติได้อีกด้วย เกิดกระแส Korean Fever ขึ้นในหลายๆ ประเทศที่นิยมความเป็นเกาหลี เช่น รูปแบบการแต่งตัว อาหารการกิน หรือแม้กระทั่งภาษา ประชาชนจากหลายประเทศในเอเชียหันมาเรียนภาษาเกาหลีกันมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเข้ามาของธุรกิจด้านวัฒนธรรมของเกาหลีนั่นเอง

ซึ่งเบื้องหลังของความสำเร็จดังกล่าวมาจากการสนับสนุนอย่างจริงจังของรัฐบาลผ่าน KOCCA องค์การมหาชนที่เข้ามาแปลงวัฒนธรรมเกาหลีใต้ให้เป็นวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมโดดเด่นและหลากหลาย ก็เป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่ได้รับกระแสเกาหลีใต้ด้วย จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่าทำไมเกาหลีใต้ ประเทศที่มีวัฒนธรรมไม่โดดเด่นนักจึงได้กลายมาเป็นประเทศที่ใช้วัฒนธรรมของตนสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศได้อย่างรวดเร็ว แล้วประเทศไทยจะทำเช่นนั้นได้หรือไม่

บทเรียนที่ได้รับจาก KOCCA จึงน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง หากประเทศไทยจะนำวัฒนธรรมของตนเข้าสู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์แล้วจะต้องทำอย่างไร ดังนั้นบทความนี้ได้เสนอทางออกเชิงนโยบายเอาไว้อย่างคร่าวๆ แล้ว โดยการกระตุ้นให้ภาครัฐเห็นความสำคัญกับอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมมากขึ้น และส่งเสริมอย่างจริงจัง เช่น การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน การสร้างองค์กรที่เข้มแข็ง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ และ การใช้รัฐบาลเป็นสื่อกลาง

อย่างไรก็ดีข้อเสนอแนะนี้อาจยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมของไทย ดังนั้นจึงต้องอาศัยการระดมความเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อมาร่วมมือกันใช้วัฒนธรรมของไทยสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศ


แหล่งข้อมูล http://www.midnightuniv.org/midnight2544/0009999551.html

จะดีไม่ดีอย่างไร ท่านผู้อ่านลองคิดพิจารณานะครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 13:53

เรื่องกรมศิลปากรกับการอนุรักษ์นี่ได้รับทราบ รับฟังครั้งใดก็เศร้าใจเสียทุกทีเลยค่ะ  เมื่อไหร่จะมีเรื่องดี ๆ ออกมาบ้างก็ไม่รู้  เราทำอะไรก็ไม่ได้  เศร้าอย่างเดียวเลย

ส่วนวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ดิฉันไม่คัดค้านนะคะ  แต่ขอค่ะ  ก่อนจะทำให้มีคุณค่าเชิงพาณิชย์  ขอทำให้คนไทยเองเห็นคุณค่าที่เป็นแก่นแท้ของวัฒนธรรมนั้น ๆ ก่อนได้ไหมค่ะ  อย่างเช่น  คุณค่าของสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ทำไมเราต้องอนุรักษ์  อย่างเสาชิงช้านั่นแหละค่ะ  มีสักกี่คนจะเข้าใจคุณค่าที่แท้จริงของเสาชิงช้า  ดิฉันไม่ได้ไปดูนิทรรศการเลยไม่แน่ใจว่าได้มีอรรถาธิบายไว้บ้างหรือไม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 ต.ค. 07, 21:05

ครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ก็เคยมีโครงการสนับสนุน ขยายร้านอาหารไทยไปทั่วโลกไม่ใช่หรือคะ  แนะนำต้มยำกุ้งให้เป็นที่รู้จัก
ตอนนี้เป็นยังไงบ้าง  ไม่ได้ยินข่าวอีก
บันทึกการเข้า
KoKoKo
อสุรผัด
*
ตอบ: 49


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 23 ต.ค. 07, 04:01

เรื่องอาหารไทย ผมว่าก็ไปได้สวยหรือเปล่านะครับ โดยเฉพาะต้มยำกุ้ง ธรรมชาติของเอกชนจะกระตือรือร้นอยู่แล้วนะครับ หากรัฐบาลให้การสนับสนุน จับอันโน้นเชื่อมอันนี้พบกัน วงจรมันก็วิ่งไปได้ แต่เรื่องที่น่าคิดก็คือว่า แล้ววงจรแบบไหนดีล่ะครับเนอะ  ยิ้ม

เดลินิวส์
วันที่ 18 ตุลาคม 2550 เวลา 00:00 น.
แหล่งข้อมูล  http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=143365&NewsType=1&Template=1

เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งตีปีก ผลิตกุ้งป้อนญี่ปุ่นปีละ 4 พันตัน

  น.ส.สุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เปิดเผยว่า จากกรณีสันนิบาตสหกรณ์ประมงญี่ปุ่นได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้สั่งกุ้งกุลาดำและกุ้งก้ามกรามจำนวน 4,000 ตันต่อปีเพื่อป้อนร้านอาหารไทยในโตเกียว ขณะนี้ก็ได้ประสานไปยังสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งในเครือข่ายตามลุ่มน้ำต่าง ๆ ทั้ง 6 แห่ง เพื่อผลิตกุ้งให้ได้ตามความต้องการ ซึ่งประกอบด้วย สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำบางปะกง จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำท่าจีน จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำจันทบุรี จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำสามร้อยยอด-ปราณบุรี จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำปากพนัง จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำท่าทอง จำกัด

  “สันนิบาตสหกรณ์ประมงญี่ปุ่นบอกให้จัดหาวัตถุดิบส่งให้กับอาหารไทยในโตเตียว ซึ่งเขาคุมตลาดอยู่ 90% ต้องการกุ้งก้ามกรามและกุ้งกุลาดำ แต่ต้องเป็นกุ้งเลี้ยงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อไปทำเมนูต้มยำกุ้ง ปีละ 4,000 ตัน” น.ส.สุ  พัตรา  กล่าว
 
  อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เผยต่อว่า  สำหรับการดำเนินการนั้นก็จะจัดโควตาให้กับสห กรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งในลุ่มน้ำต่าง ๆ รับไปดำเนินการ ซึ่งในเบื้องต้นบ้านแพ้วรับไป 200 ตัน ปราณบุรีรับไป 200 ตัน ส่วนที่เหลือจะกระจายให้กับสหกรณ์อื่นต่อไป นอกจากนี้ สิ่งที่เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งทำอยู่คือการสร้างเครือข่ายคอนแทร์คฟาร์มมิ่ง กับบริษัทส่งออก เนื่องจากกุ้งในประเทศไทย 90% ส่งออก ข้อดีก็คือทำให้เกษตรกรรู้ราคาล่วงหน้า เพราะสหกรณ์ไปเจรจาเองจึงรู้ว่าตลาดต้องการไซซ์ไหน ราคาเท่าไหร่ บางครั้งไปเจรจาได้ออร์เดอร์มา 600 ตัน ซึ่งตัวเองผลิตไม่ได้ก็มากระจายให้สหกรณ์อื่นช่วยกัน ใครได้มาก็มาคุยกัน แบ่งโควตากันไป
 
  น.ส.สุพัตรา ระบุอีกว่ากุ้งทุกตัวที่ส่งออกไปต่างประเทศ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่ามาจากแหล่งเลี้ยงที่ไหน มาจากบ่อใด เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคปลายทาง  ซึ่งที่ผ่านมาญี่ปุ่นนำเข้ากุ้งตัวเลขค่อนข้างสูงต่อปีหรือเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกาเฉลี่ย 19% จากการส่งออกกุ้งทั้งประเทศ   
 
  ทางด้านนายภิญโญ เกียรติภิญโญ ประธานสหกรณ์กุ้งลุ่มน้ำท่าจีนเปิดเผยว่า กุ้งที่มีความต้องการของญี่ปุ่นนั้น ได้แก่กุ้งกุลาดำและกุ้งก้ามกราม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำท่าจีนและเครือข่ายที่จะมีการหันกลับมาฟื้นฟูการเลี้ยงกุ้งกุลาดำขึ้นมาอีกครั้ง แต่ต้องมีวิธีการเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและต้องเป็นการเลี้ยงไซซ์ใหญ่เพื่อหลีกหนีจากประเทศอื่นที่เป็นคู่แข่ง อย่างไรก็ตามสถานการณ์ตลาดกุ้งไทยในญี่ปุ่นน่าจะดีขึ้นหลังการตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทป้า) มีผลบังคับใช้วันที่ 1 พ.ย. 50 นี้
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 23 ต.ค. 07, 06:56

จริงๆเรื่องขยายร้านอาหารไทยไปทั่วโลก หน่วยงานราชการเขาทำอยู่แล้วค่ะ แต่รัฐบาลหนึ่งซึ่งพีอาร์เก่งหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นหาเสียงและหาทางใช้งบผลาญเงินเป็นว่าเล่น เสร็จแล้วก้เงียบฉี่ไม่มีการติดตามผล ผอ.สถาบันอาหารก็หมดวาระ เปลี่ยนตัวกันไป
มีเรื่องน่าสมเพชที่เพื่อนดิฉันมาเล่าให้ฟัง คือเขาได้ดูอธิบดีกรม....คนปัจจุบันให้สัมภาษณ์ เรื่องการสนับสนุนหนังไทยให้ขายได้ทั่วโลก คุณอธิบดีได้พูดประโยคที่งี่เง่าที่สุดในชีวิต(ใครในนี้เป็นเพื่อนท่านก็ช่วยไปบอกด้วย)ว่า
แค่มีกล้องตัวเดียว ก็ทำงานได้แล้ว..
จะบ้า!
มิน่า..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ต.ค. 07, 07:31 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
คุณพี่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 76



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 25 พ.ย. 07, 10:11

     ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่มีคุณค่า อย่างแน่นอน แต่ที่เห็นว่ามีราคานั้นเพราะมนุษย์เราใช้ประวัติศาสตร์ในด้านผลประโยชน์ ดังเช่น การเปิดให้โบราณสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แล้วเก็บค่าเข้าชม หรือค่าธรรมเนียมต่างๆ นั่นก็เป็นการดี เพราะว่าเงินส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ช่วยเหลือสมทบในการบูรณะซ่อมแซมจากการที่โบราณสถานต่างๆเหล่านั้นไปผุกร่อนลงไป จะเป็นด้วยตามกาลเวลาหรือแม้กระทั่งจากน้ำมือมนุษย์เอง นอกจากเรื่องของโบราณสถานแล้ว ยังมีเรื่องราวของประวัติศาสตร์ที่อยู่ในเอกสาร ที่นักวิชาการที่น่าเคารพหลายๆท่านได้ศึกษาแล้วตีพิมพ์เผยแพร่ขึ้นมาในหลายๆแง่มุม นี่ก็เป็นการทำให้ประวัติศาสตร์อันเก็บเงียบอยู่กับกาลเวลานั้นได้ฟื้นขึ้นมา จากหนังสือที่นักวิชาการหลายๆท่านได้ออกมานั้นก็ยังมีราคา ทำเงินให้ท่านเองได้อาจจะมากบ้างน้อยบ้างก็ดี
     อีกประการหนึ่งในการขุดเอาประวัติศาสตร์ขึ้นมานั้นก็ยังเป็นการทำให้มวลมนุษย์นั้นได้รับรู้ถึงประวัติความเป็นมาของโคตรเหง้าบรรพบุรุษตัวเองอีกด้วย เพราะนั่นเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องการทราบเรื่องราวในอดีตของตน
     อีกประการหนึ่งที่จะขอกล่าวไว้ คือ เรื่องของโบราณวัตถุ ที่คนเราพยายามนำมาเป็นสมบัติของตนเองซึ่งในวงประวัติศาสตร์แล้วนั้นถือว่าเป็นจุดบอด เพราะคนเหล่านั้นถือโอกาสจากโบราณสถานที่มิได้มีหน่วยงานใดเข้าไปดูแล หยิบฉวยนำมาเป็นสมบัติของตน ที่กล่าวอย่างนี้ก็เพราะว่า ได้ประสบพบเจอด้วยตนเอง ฉะนั้น จึงขอให้ทุกๆท่านช่วยกันรักษาสิ่งที่หลงเหลือจากอดีต ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราทราบถึงโคตรเหง้าของเรานี้เอาไว้ให้ดี
บันทึกการเข้า
นรีนันท์ มรรคดวงแก้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 43


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 18:14

อ่านแล้วเห็นด้วยจริง ๆ ค่ะ  รู้สึกเศร้าใจนะ
 เมื่อไม่กี่วันมานี้ก็ได้รับฟังเรื่อง เจดีย์ซาว ที่เมืองลำปางว่าปัจจุบันทาสัใหม่  ใช้สีทองทาบางส่วน  ทำให้ผิดจากที่เคยเห็นเมื่อนานมาแล้วว่าเป็น สีขาว  (ที่มีคราบความเก่า)
บันทึกการเข้า
violoncello
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 21:56

เห็นด้วยครับ
ผมรู้สึกเสียดายพวกบ้านตึกโบราณที่เจ้าของเป็นพวกคนมีเงินหรือเสนาบดี บ้านบางหลังสวยงามมากแต่เป็นที่น่าเสียดายที่คนปัจจุบันไม่ค่อยเห็นคุณค่าของสิ่งโบราณเหล่านี้ มีหลายที่ที่เคยเป็นบ้านโบราณสวยงามแต่ปัจจุบันกลายเป็นตึกต่างๆ
ผมว่าคงจะดีมากถ้ามีการออกกฎหมายเกี่ยวกับตึกโบราณเข้มงวดอย่างประเทศอังกฤษ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง