เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4149 ว่าด้วยตัวเลขไทย คณิตศาสตร์ กับ ลูกคิด
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 24 ธ.ค. 00, 22:59

ไม่ได้แวะมาเรือนไทยเป็นเดือน    กลับมาอีกครับรู้สึกครึกครื้นจังครับ
ระหว่างที่ลิเกกำลังเตรียมโรง ขอฉวยโอกาสยกมือถามครับ

เกิดความสงสัยขึ้นมานะครับ ว่าตัวเลขไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้ เริ่มมีครั้งแรก
ตั้งแต่สมัยใหน มีจารึกอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงหรือเปล่า

ผมเข้าใจว่าเรารับระบบการเขียนตัวเลขมาจากอินเดึย
เพราะเลขไทยเป็นระบบ Possition Number
ต่างกับระบบเลขของจีนที่ จำนวนต่างๆ ใช้หนึ่งตัวอักษร

ข้อดึของ Possition Number ก็คือทำให้สะดวกในการคำนวนครับ
ง่ายทั้งบวก ลบ คูณ หาร  ในขณะที่ตัวเลขแบบจีน หรือ แบบโรมัน และ กรีก
ที่ใช้ตัวอักษรแทนนั้น ทำให้การคำนวนยุ่งยากมากครับ
( ถ้าจำไม่ผิด รู้สึกว่า ตัวอักษรทุกตัวของกรีก แทนจำนวนตัวเลขได้หมด
แต่ของจีนนี่ไม่ทราบครับ คงต้องถามท่านอื่นๆ ครับ )

ยกตัวอย่างเช่น ๗ บวก ๔ เท่ากับ ๑๑ ระบบอินเดีย (และไทย และ อาหรับ ซึ่งล้วนรับมาจาก
อินเดียด้วยกัน ) ทำได้ง่ายมาก แต่ถ้าเป็น โรมันจะใช้เวลาพอสมควร ยิ่งถ้าจำนวน
ตัวเลขเยอะละก็ ยิ่งยากเข้าไปใหญ่

ด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้ ทั้งจีน และ กรีก โรมัน ( และประเทศในยุโรปอื่นๆ )
ต้องประดิษฐ์ เครื่องช่วยคำนวน เช่น ลูกคิด
ในขณะที่อินเดีย ไทย อาหรับ ไม่จำเป็นต้องใช้

นับว่าคนไทยฉลาดในการเลือกใช้นะครับ
แต่ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ระบบจริงๆ ของไทยนั้นเป็นเป็นอย่างไร หรือ มีหรือไม
คาดว่าคงหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ยาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ธ.ค. 00, 21:04

สวัสดีค่ะ  ขอต้อนรับกลับเรือนไทยอีกครั้ง

ไปค้นมาให้ เจอคำตอบสั้นๆจาก

http://siambonus.net/TipS/TipsTH_21-25.htm' target='_blank'>http://siambonus.net/TipS/TipsTH_21-25.htm

"เลขไทยมีมาตั้งแต่เมื่อใด  

ตัวเลขไทยคงประดิษฐ์ขึ้นในเวลาเดียวกับตัวอักษรอื่นๆ แม้ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 เราจะไม่พบเลขครบทั้ง 10 ตัว ขาด ๓,๖,๘ และ ๙ แต่เราก็อนุมานได้ในทำนองเดียวกัน พยัญชนะว่าต้องมีตัวเลขเหล่านี้อยู่แล้ว เพราะการประดิษฐ์ตัวเลขนั้นต้องเป็นระบบและ มีลำดับ ที่สำคัญเราพบตัวเลขที่ขาดไปในจารึกสมัยพระยาลิไทย แสดงว่าตัวเลขทั้งหมด มีอยู่ ตัวเลขสมัยสุโขทัยเขียนแตกต่างไปจากตัวเลขสมัยปัจจุบันมาก"



หมายเหตุ

ความแตกต่างที่ว่าน่าจะหมายถึงการกลาย มากกว่าการเปลี่ยนเป็นตัวเลขใหม่ เพราะอักษรไทยปัจจุบันก็วิวัฒนาการมาจากอักษรลายสือไท

แต่ที่แน่ๆคือในตำราจินดามณี ของพระโหราธิบดี สมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีตัวเลขไทยแล้ว



ลิเกโรงนี้พระเอกนางเอกลางานไปฉลองคริสต์มาสกันหมด    ตามหาตัวไม่เจอ    อีกไม่กี่วันก็ปีใหม่ คงจะลากันอีก   อาจจะต้องปิดโรงลิเกชั่วคราวถ้าหาดาราใหม่ไม่ทัน

คุณจ้อช่วยมาเป็นพระเอกทีได้ไหมคะ   หานางเอกมาด้วยเลยก็ได้ค่ะได้ครบชุด
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 ธ.ค. 00, 05:53

จะให้เป็นพระเอกเลยหรือครับ หุๆๆ

ให้เล่นยืนเป็นต้นไม้ หรือ เสาไฟฟ้าล่ะก็พอใหวครับ
เรื่องร้องลิเกนี่ต้องขอไปกวดวิชาก่อนครับ
แต่ถ้าให้รำโชว์หุ่น เฉยๆ ละก็สบายมาก
ผมถนัดลิปซิงก์น่ะครับ แหะๆๆ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 ธ.ค. 00, 07:27

อุ๊ย คุณจ้อก็ไปให้ป้าหนอนติวเข้มให้ซีคะ  พี่ไปเข้าหลักสูตรเร่งรัดสองวันก็ไปสอบเทียบได้แล้วค่ะ  ของสำคัญมันอยู่ที่ใจ....  



เอาหลักสูตรติวเข้มของป้าหนอนมาแปะให้ค่ะ



"



                         เพลงลิเก

                         ลักษณะบังคับ...  ใช้คำวรรคละ  4-12 คำ   เพลงลิเกเป็นกลอนด้น  ถือเอาจังหวะและทำนองร้องเป็นสำคัญ  

                         อย่างน้อยร้องทีละสองวรรค จะร้องยาวเท่าไหร่ก็ได้  มีกำหนดอยู่ในเวลาร้องถ้าต้องการจะจบลงในกลอนไหน

                          ก็ให้เอื้อนเสียงลงที่กลอนนั้น   การส่งสัมผัส  ตามแผนผัง



                            O O O O O O O ก         O O O ก O O ข

                         O O O O O O O ค            O O O ค O O ข

                         O O O O O O O ง            O O O ง O O  ข



                         ตัวอย่างก็ที่พวกเราเล่นๆ กันอยู่น่ะค่ะ



                         เท่าที่อุตส่าหะไปหาวีดีโอมาดู  ถ้าร้องวรรคละไม่ถึงแปดคำจะร้องเร็วกว่า   ถ้าวรรคนึงยาวๆ จะร้องช้าๆ มักใช้ตอนซาบซึ้ง

                          ตอนพระเอกอ้อนแม่ยก  อะไรประมาณนี้  เวลาร้องยาวๆ  บางทีเขียนเป็นแผนผังได้อีกอย่าง  (อันนี้สังเกตมาเองนะจ๊ะ)



                              o o o ก    o ก o o ค         o o o ค   o o ค o o ข

                         o o o ง    o ง o o จ                o o o จ   o o จ o o ข



                         ตัวอย่าง

                         สวัสดีทุกๆ ท่าน  จากกันไปนานหนักหนา...

                                     ...คงหันเหเสน่หา  ที่รักกันมาแต่เริ่ม

                         มีแฟนใหม่แล้วหรือยัง   ลืมความหลังแล้วหรือญาติ...

                                     ...ยังคงคิดถึงอยู่ไม่ขาด  ยังหวังจะวาดรักเติม

                         ไม่เคยลืมรักลับ  วันนี้จึงกลับมาใหม่...

                                     ...ถ้าหากยังไม่รักใคร  เรามารักกันใหม่เหมือนเริ่ม



                         จะเห็นว่าจริงๆ ก็คือสองวรรคใหญ่ๆ ที่ลงท้ายด้วยสระ เอิม

                         แต่เพิ่มสัมผัสในเข้าไปในระหว่างคำที่ยาวๆ นั่นเองค่ะ



                         เอาหละ  ตอนนี้เรื่องก็ดำเนินมาจนถึง  พระมารดากับพระสังข์  ได้ควายมาหมักเป็นเสบียงได้หลายไหแล้ว

                          ส่วนวิญญาณเจ้าชายบือนั้นก็ล่องลอยวนเวียนอยู่ยังไม่ไปไหน

                         และเราก็มองเห็นหนุ่มๆ แถวนี้พอจะเอามาทำเสด็จพ่อ(ที่ขับไล่เราออกจากเมือง)  

                          อำมาตย์ที่จะมาเจอลูกหอยแล้วเอาข่าวไปทูล   หรือสาวๆ ที่อาจจะสมัครเป็น เสด็จเมียน้อยที่คอยยุยงส่งเสิม  หรือตัวอะไรๆ

                         ที่จะนึกผสมผเสเข้าไปได้แล้ว  



                         บัดนี้ก็ควรแก่เวลาที่จะดำเนินเรื่องราวต่อไปได้   อิอิ

                         เชิญทุกท่านตามอัธยาศัยนะคะ





                         จากคุณ : พระศรีมารดา - [6 ต.ค. 14:11:59]  

                         ก๊อปของคุณศรีจิตรามาค่ะ  จากกระทู้  http://pantip.inet.co.th/cafe/writer/topic/W693805.html' target='_blank'>http://pantip.inet.co.th/cafe/writer/topic/W693805.html "



ส่วนเรื่องตัวเลข  พี่เคยไปค้นเปรียบเทียบคำเรียกตัวเลขในภาษาไทย คำเมือง ลาว จีนกลาง จีนแต้จิ๋ว กวางตุ้ง ญี่ปุ่น ที่มีเสียงคล้ายๆกันน่ะค่ะ  

ไม่มีเวลาไปค้น  ไว้เขียนต้นฉบับเสร็จแล้ว (แหะๆ)  จะไปถอดของเก่ามาแปะให้นะคะ  ของเดิมพี่เขียนเป็นภาษาอังกฤษไว้นานแล้ว  

เก็บๆอยู่ในกรุน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ธ.ค. 00, 10:59

สำหรับตัวเลขที่เป็นตัวเขียนนั้น ผมเคยเห็นว่าภาษาเขมร(ปัจจุบัน) เหมือนกับภาษาไทยปัจจุบันทุกประการครับ สงสัยเหมือนกันครับว่าเกิดอะไรขึ้น รู้อยู่ว่าอักขระไทยนั้น inherit มาจากอักขระเขมรแต่วิวัฒนาการมาก็ไม่น่าจะเหมือนกันโดยตลอด สงสัยอยู่ว่าเขมรเพิ่งจะยืมของเราไปใช้หรือเปล่า ฝากถามผู้รู้หน่อยนะครับ
ส่วนการออกเสียงนั้น ที่คุณพวงร้อยว่าคล้ายกันในภาษาละแวกนี้ ขอยืนยันอีกคนครับ ว่าคล้ายกันกับสำเนียงจีนต่างๆจนเกินกว่าที่จะเป็นความบังเอิญได้ น่าจะเป็นเพราะมีที่มาร่วมกัน
ไทยโบราณว่า
เอก ยี่ สาม ไส งั่ว ลก เจ็ด แปด เก้า(เจา) สิบ(จ๋ง) (ข้อมูลจากพระนิพนธ์อธิบายพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาโดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
แต้จิ๋วว่า
อิก หยี ซา สี่ โหงว ลัก ฉิก โป่ยะ เก้า จั๊บ
เทียบกับภาษาจีนกลาง
อิ๊ เอ้อ ซัน ซื่อ อู่ ลิ่ว ชี ปา จิ่ว สือ
จีนแคะว่า
อิก หยี่ ซำ เซ่ อึ้ง หลก ฉิก ปัด กิ้ว ซิบ
กวางตุ้งว่า
ยัด หยี่ ซำ เซ อึ๋ง หลก ชัด ปัด เก๋า สับ

ก็ลองพิจารณาดูครับ

*สำเนียงจีนแคะกับกวางตุ้งผมไม่มั่นใจ 100% ผู้ใช้ภาษาเป็นประจำกรุณาทักท้วงด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง