^
^
ที่ชื่อเช่นนี้เนื่องด้วยตั้งชื่อตามชื่ออำเภอ

ที่จังหวัดขอนแก่นมีอำเภอหนึ่งชื่อ "สีชมพู"
ที่มาของชื่อ "สีชมพู" จากเว็บไซต์อำเภอดอทคอม กล่าวว่าเป็นเพราะพื้นที่นี้มีต้นหว้าใหญ่สีชมพูขึ้นอยู่
http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=51&pv=5
อำเภอสีชมพู เดิมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จากหลักฐานประวัติศาสตร์พอยืนยันได้ว่า สมัยต้นปี พ.ศ. 2118 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้นำกองทัพไปช่วยพม่าตีเวียงจันทร์เมื่อเดินทัพมาถึงพื้นที่หนึ่งในอำเภอสีชมพู สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประชวรกะทันหัน จึงได้เสด็จประทับแรมภายใต้ต้นไม้ใหญ่ซึ่งเรียกว่า ต้นหว้าสีชมพู ต่อมาได้มีชาวบ้านไปตั้งบ้านเรือนบริเวณที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประทับ และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านสีชมพู”
ใครเคยเห็นต้นหว้าสีชมพูบ้าง เรื่องนี้น่าจะเป็นความเข้าใจผิดของผู้เขียนตำนาน ที่ถูกต้องที่มาของชื่อสีชมพูน่าจะเป็นกรณีเดียวกับชื่อ "ชมพูทวีป" ดังที่คุณนิลกังขาเล่าให้ฟัง
ชื่อชมพูทวีปที่ว่ามีต้นหว้ากลางทวีปนั้น มาแต่ในไตรภูมิ ซึ่งไทยเรารับมาจากอินเดียโบราณอีกที ว่ากันว่าโลกสัณฐานตามตำราไตรภูมินั้น (ซึ่งเป็นเรื่องของจินตนาการ โลกคนละดวงกับในวิทยาศาสตร์) มีสี่ทวีป ทวีปที่มนุษย์พวกเราอาศัยอยู่นั้น คือชมพูทวีป ซึ่งที่จริงหมายถึงอนุทวีปอินเดีย อีกสามทวีปนั้น (อุตรกุรุ อมรโคยาน และบุรพวิเทหทวีป) อ่านดูคำบรรยายแล้วเหมือนไม่ใช่โลกนี้ ทำนองเป็นเมืองมหัศจรรย์ หน้าตาคนที่อาศัยในทวีปนั้นก็ทำท่าจะเป็นมนุษยต่างดาวเอา
แต่ละทวีปมีต้นไม้ประจำทวีป ของชมพูทวีปในมีต้นหว้าใหญ่มหึมา เรียกว่า ชัมพุ ตัวทวีปจึงได้ชื่อตามต้นหว้านั้นว่าชมพูทวีป
ชมพูทวีป ไม่ได้นามตามต้นหว้าสีชมพู
แต่เนื่องจาก
ต้นหว้า = ต้นชมพู
จึงได้ชื่อว่า "ชมพูทวีป"
ซ.ต.พ.
http://th.wikipedia.org/wiki/ชมพูทวีป

พอดีเพิ่งมาอ่านเจอครับ กับคำถามที่ว่า
" ใครเคยเห็นต้นหว้าสีชมพูบ้าง เรื่องนี้น่าจะเป็นความเข้าใจผิดของผู้เขียนตำนาน "
ขอยกมือสองข้างสุดแขนครับว่าเคยเห็น เคยกิน เคยปีน และเคยตัดต้นหว้าสีชมพู
ในท้องทุ่งของคนอีสานนั้น มีต้นหว้าอยู่มากมายหลายชนิด ได้แก่ บักหว้าขี้มด บักหว้าน้ำนม บักหว้าก้นหม้อ และ บักหว้าชมพู (คนอีสานใช้คำว่า บัก นำหน้าชื่อต้นไม้ และนำหน้าชื่อผู้ชาย )
หว้าสีชมพู หรือ หว้าชมพู นั้น เป็นหว้าชนิดหนึ่งที่มีลูกขนาดใหญ่ รสชาติหวาน เนื้อเยอะ กินอร่อย เป็นที่นิยมกินกว่าหว้าชนิดอื่น
หว้าขี้มด ลูกกลมๆเล็กๆ เนื้อน้อย เมล็ดใหญ่ รสฝาด
หว้าก้นหม้อ ลูกใหญ่ทรงรี เป็นหว้าที่ลูกใหญ่ที่สุด เนื้อเยอะ เมล็ดเล็ก ดกเต็มต้นแต่ไม่มีคนกิน เพราะฝาดมาก
หว้าน้ำนม ลูกกลมๆ เนื้อเยอะ เมล็ดเล็ก รสหวานนวลๆ ไม่ฝาดเลย จึงเรียกว่า หว้าน้ำนม นิยมกินกันมาก เด็กๆปีนจนต้นจะหัก
จากประวัติสมเด็จพระนเรศวรนั้น ก็เห็นจะเป็นไปได้จริงเรื่องพักที่ต้นหว้าสีชมพู (หรือหว้าชมพู ) เพราะไม้ต้นนี้มีอยู่จริงในท้องถิ่นนั้น
แต่เรื่องที่ว่า ต้นหว้า (ภาษาไทย ) = ต้นชมพู ( ในภาษา

) นั้นผมไม่ทราบครับ