ชมพู่ และ ย่าหมู ผมคิดว่ามีรากเดียวกันครับ คือ มาจาก Jambu
เหตุที่ทางภาคใต้เรียก "ฝรั่ง" ว่า "ย่าหมู" ก็คงเรียกตามภาษามาเลย์ครับ คือทางมาเลย์เรียกฝรั่งว่า "Jambu batu" ซึ่งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า batu แปลว่าอะไร

แสดงว่าทางมาเลย์นี้เรียก ทั้ง ชมพู่ และ ฝรั่ง ว่า "ชมพู่" แต่จะเป็นชมพู่น้ำ หรือชมพู่อะไรก็ว่ากันไป
Ja - m - B - U
ชะ - ม - พ - อู
ยะ - ม (รวบกับเสียง พ) - อู
ถ้าเอาสำเนียงแขกฮินดี รู้สึกจะออกว่า "จัม-บู" ครับ
=================================
"สีชมพู" ผมคิดว่าคงมาจากสีของ "ลูกชมพู่" นั่นแหละครับ คงจะทำนองเดียวกันกับ "ส้ม"
"สีขาว" ผมก็สงสัยอยู่ว่า จะเพี้ยนมาจาก "สีเข้า (สีข้าว)" ได้หรือไม่ เพราะข้าว มีสีขาว

ส่วน rose ในภาษาฝรั่งเศสนั่น มาจากภาษาละตินเป็นแน่แท้ คือมาจากคำว่า ROSA ซึ่งแปลว่า "ดอกกุหลาบ" ดังนั้นในภาษาฝรั่งทั้ง ดอกกุหลาบ และ สีชมพู (สีของดอกกุหลาบ) จึงใช้คำเดียวกันว่า rose
ดอกกุหลาบนี้ ภาษาอื่นๆ ในยุโรปก็รับ RO*S* ไปใช้ครับ เช่น
อิตาลี - โปรตุเกส - สเปน : Rosa
ฝรั่งเศส - อังกฤษ - เยอรมัน - เดนมาร์ก : Rose
ดัทช์ : Roose
ส่วน rouge (สีแดง) ก็มาจากคำละตินครับคือ RUBEUS (สีแดง) (RUBER ก็เรียก)
อิตาลี : rosso
สเปน : rojo
ฝรั่งเศส : rouge
อังกฤษ : red
ดัทช์ : rood
เยอรมัน : rot
เดนมาร์ก : rød
นอร์เวย์ : rød
สวีเดน : röd