เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 105 เมื่อ 07 ต.ค. 07, 20:36
|
|
ยอมแพ้เรื่อง Dr.Who ค่ะ ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ไปค้นในเว็บต่างๆ เนื้อเรื่องน่าสนุกมาก แต่ต้องส่งไม้ต่อให้คุณ Sila แทน ******************* "แดนสนธยา" เป็นหนังชุดทีวีที่มหัศจรรย์ยากจะหาใครเทียบ หนังทีวีเรื่องอื่นที่ทำคล้ายๆกันไม่เห็นไปรอด เช่น Outer Limits แม้แต่ Night Gellery ที่ร็อคเขียนบทเองก็ยังสู้ไม่ได้ จนแล้วจนรอดก็ยังได้เป็นที่กล่าวขวัญถึง แม้ว่าร็อค เซอร์ลิงตายไปตั้งแต่ปี 1975 แล้วก็ตาม หนังสือรวมเรื่องสั้นลึกลับชื่อ Twilight Zone ก็ยังพิมพ์ขายอยู่ ทึ่งการวางโครงเรื่องและการผูกเรื่อง ทุกตอนไม่ซ้ำกัน เป็นเรื่องของมนุษย์ที่เผชิญเหตุการณ์"ไม่ธรรมดา"ซึ่งเราจะเดาคำตอบไม่ได้เลยจนจบเรื่อง การขมวดปมและคลี่คลายปมมีอยู่มากที่นึกไม่ถึงเอาจริงๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่านึกไม่ถึงเพราะคนเขียนจบแบบไม่มีเหตุมีผลนะคะ ที่สำคัญคือบรรยากาศของเรื่อง แม้ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ก็จูงใจคนอื่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ หลายตอนเป็นปรัชญาชีวิตที่น่าใคร่ครวญทีเดียว ง่ายๆนี่แหละ แต่เราไม่ค่อยคิดกัน
ตอนที่ได้ชื่อว่ามีเรตติ้ง(น่าจะ)สูงสุด คือ The Eyes of the Beholder นำแสดงโดยดอนน่า ดักลาส(หรือแอลลี่ เมย์จาก Beverly Hillbilles) เป็นเรื่องคนไข้สาวที่กำลังรับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแปลงดวงหน้าน่าเกลียดน่ากลัวของเธอ ให้ธรรมดาเหมือนมนุษย์อื่นเขาบ้าง ในเรื่องบอกว่าแพทย์เคยพยายามผ่าตัดเธอหลายครั้งแล้วแต่ไม่สำเร็จ ถ้าคราวนี้หน้าเธอไม่ดีขึ้นอีก เธอก็จะต้องถูกเนรเทศจากสังคมไปอยู่รวมกับพวกน่าเกลียดแบบเดียวกัน ณ เมืองที่เรียกชื่อว่า Los Angeles
มุมกล้องในเรื่องนี้ทำดีมากค่ะ เราจะเห็นเพียงคนไข้มีผ้าพันแผลพันหน้าอยู่ เห็นเงาของแพทย์พยาบาลที่มาล้อมอยู่รอบๆ เดินไปมา ซุบซิบพึมพำ เหมือนกำลังเฝ้าดูอาการ หญิงสาวร้องไห้คร่ำครวญ ในความอาภัพของตัวเอง เฝ้าแต่วิงวอนให้การผ่าตัดครั้งนี้สำเร็จผลเสียที ในที่สุดผ้าพันแผลก็ถูกคลี่ออกจากดวงหน้า มีเสียงอุทานอย่างตื่นกลัวจากแพทย์พยาบาล เมื่อเห็นดวงหน้าคนไข้ เห็นอาการผงะหงายเบือนหน้าหนี แสดงว่าการผ่าตัดไม่สำเร็จ เธอต้องถูกเนรเทศออกจากสังคม
กล้องเปลี่ยนมุม จับที่ดวงหน้าคนไข้สาว เห็นดวงหน้าสวยน่ารักของดอนน่า ดักลาส แล้วเลื่อนไปจับที่ดวงหน้าแพทย์พยาบาล ทุกหน้าบอกความตื่นกลัวขยะแขยง ที่เห็นหน้าดอนน่า หน้าของพวกนี้เป็นอย่างในรูปข้างล่างนี่ละค่ะ ฉากจบ มีชายหนุ่มที่ได้ชื่อว่าหน้าตาน่าเกลียดมารับคนไข้สาว เพื่อไปอยู่ด้วยกันในดินแดนของคนแบบพวกเขา กล้องจับให้เห็นหนุ่มรูปหล่อที่สุดคนหนึ่ง (ดูเหมือนจะเป็นสจ๊วต แดมอน) เดินมารับเธอ แล้วค่อยๆประคองอย่างทะนุถนอม ออกไปด้วยกัน
ชื่อตอนนี้คือ (Beauty is in ) the Eyes of the beholder เป็นการตีความโจทย์ "ความงามอยู่ที่คนมอง" ออกมาเป็นรูปธรรมได้ชัดเจน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 107 เมื่อ 08 ต.ค. 07, 09:19
|
|
อาจารย์เทาชมพูคะ จำตอนไอ้หุ่นโชว์เสื้อนี่ได้ติดตา แม่นยำ..อยู่ตอนเดียว เพราะหนังสวย เป็นขาวดำ แต่ถ่ายดีมาก น่ากลัวจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 108 เมื่อ 08 ต.ค. 07, 10:14
|
|
พอจะจำตอนที่อาจารย์เล่าได้ ทั้งตอนแรก และตอนชั้นที่ ๑๓ ส่วนตอนความงามนั้นก็คุ้นๆ ครับ ที่โดนใจมากอีกอย่างหนึ่งของชุดแดนสนธยาคือ ดนตรีไตเติ้ล ที่หลอนและวังเวง ชุด โลกพิสดาร Outer Limits ก็ชอบมากครับ อินโทรเปิดมาเป็น "ภาพล้ม" บนจอทีวี ภาพทดลองออกอากาศ ก่อนเปิดสถานีที่คุ้นตาเป็นรูปวงกลมมีชายอินเดียนแดงอยู่ด้านบน เสียงบรรยายประมาณว่า เครื่องรับโทรทัศน์ของท่านไม่ได้ขัดข้อง ชุด Doctor Who จำได้แต่เพียงเหตุการณ์ตอนต้นและท้ายตอนซึ่งเหมือนๆ กัน ตัวละคร เรื่องราว บรรยากาศเลือนไปแล้วครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 109 เมื่อ 12 ต.ค. 07, 10:04
|
|
แดนสนธยา มีหลายตอนที่จับเหตุการณ์ธรรมดาที่จบแบบไม่คาดฝัน ระทึกใจคนดู ก่อความรู้สึกว่าอาจจะเจอเข้ากับตัวเองเมื่อไรก็ได้ ไม่เหมือนหนังผีอย่างแดรคคิวล่าที่คนดูมักรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว อีกตอนที่ตรงตามนี้ เป็นเรื่องผู้หญิงที่ขับรถทางไกลคนเดียว เธอเห็นนักโบกรถคนหนึ่งระหว่างทาง ก็ขับเลยไปไม่รับเขา แต่พอโค้งถนนข้างหน้าเขาก็มายืนโบกรถรออยู่อีกแล้ว ไม่ว่าเธอเร่งความเร็วสักเท่าไหน เขาก็จะมาปรากฏตัวรออยู่ข้างหน้าทุกครั้ง ให้เธอรับขึ้นรถไปด้วย...
ไม่รู้ตอนจบค่ะ ใครนึกออกช่วยบอกหลังไมค์ด้วย
จะเริ่มกระทู้ใหม่ด้วยหนังชุดในอดีตทางทีวีอีกนะคะ ประเดิมด้วย Lost in Space
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 110 เมื่อ 12 ต.ค. 07, 12:22
|
|
อ่านเจอมา ขอขนมาช่วยงาน หรือเพิ่มงานหว่า..... Since this is TVGuide's 50th Anniversary, They decided to put out their own "Top 50 Greatest Shows Of All Time"! Here's What They Came Up With!
1. Seinfeld 2. I Love Lucy 3. The Honeymooners 4. All in the Family 5. The Sopranos 6. 60 Minutes 7. The Late Show with David Letterman 8. The Simpsons 9. The Andy Griffith Show 10. Saturday Night Live 11. The Mary Tyler Moore Show 12. The Tonight Show Starring Johnny Carson 13. The Dick Van Dyke Show 14. Hill Street Blues 15. The Ed Sullivan Show 16. The Carol Burnett Show 17. Today Show 18. Cheers 19. thirtysomething 20. St. Elsewhere 21. Friends 22. ER 23. Nightline 24. Law & Order 25. M*A*S*H 26. The Twilight Zone 27. Sesame Street 28. The Cosby Show 29. Donahue 30. Your Show of Shows 31. The Defenders 32. American Family 33. Playhouse 90 34. Frasier 35. Roseanne 36. The Fugitive 37. The X-Files 38. The Larry Sanders Show 39. The Rockford Files 40. Gunsmoke 41. Buffy the Vampire Slayer 42. Rowan & Martin's Laugh-In 43. Bonanza 44. The Bob Newhart Show 45. Twin Peaks 46. Star Trek: The Next Generation 47. Rocky and His Friends 48. Taxi 49. The Oprah Winfrey Show 50. Bewitched Credits: TV Guide (Top 50 List), IMDB (Synopsis of Shows)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 111 เมื่อ 12 ต.ค. 07, 13:35
|
|
เตรียมตามไป lost in space and time ต่อที่กระทู้ใหม่ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 113 เมื่อ 29 เม.ย. 08, 16:32
|
|
ย้อนกลับมาอ่านกระทู้นี้อีกครั้งแล้ว พบว่ามีข้อความที่เห็นควรนำมาต่อเติมไว้ใน กระทู้นี้ครับ เกี่ยวกับ อ.จำนงและลูกทุ่ง
จากบทความเรื่องประวัติเพลงลูกทุ่งที่ปรากฏในเว็บต่างๆ กล่าวไว้ว่า
คำว่า "เพลงลูกทุ่ง" อาจารย์จำนง รังสิกุล คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เพลงลูกทุ่งมีความชัดเจนจากเพลงลูกกรุงโดยประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงทางสถานีไทยโทรทัศน์ ใช้ชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง"
ส่วนข้อความจาก หนังสือ กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยภาค ๒ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เล่าโดยคุณประกอบ ไชยพิพัฒณ์ แห่งช่องสี่ บางขุนพรหม เรียบเรียงความว่า -
วงดนตรีที่มีชื่อเสียงตามชนบท นักร้องได้แก่ สุรพล สมบัติเจริญ พยงค์ มุกดา ฯ เพลงประเภทนี้ชาวบ้านนิยมฟัง เรียกกันโดยทั่วๆไปว่า “เพลงตลาด” ในสมัยรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ห้ามเพลงประเภทนี้เปิดออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงโดยทั่วไป เพราะเนื้อความเป็นไปในทำนองต่อต้านรัฐบาล สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ข้อห้ามต่างๆ คลี่คลายลง พฤษภาคม ๒๕๐๗ ไทยทีวีช่อง ๔ โดยความคิดของ ท้วม ทรนง ได้เสนอคุณ จำนง รังสิกุล (หัวหน้าฝ่ายจัดรายการ) คุณจำนง ได้กำชับให้คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ เป็นผู้ควบคุมทำดู โดยตั้งชื่อรายการให้ด้วยว่า “เพลงชาวบ้าน” นักร้องคือ พร ภิรมย์, ผ่องศรี วรนุช, ทูล ทองใจ รายการวันนั้นสถานีถูกตำหนิจากผู้ชมมากมาย บ้างก็ตั้งข้อรังเกียจจนคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ต้องลาของดจัด
เหตุการณ์ผ่านมาจนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๐๗ เป็นเดือนที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สิ้น ผมได้นำนโยบายนี้ เสนอฝ่ายจัดรายการใหม่ คุณจำนงเองก็กลัวจะไปไม่รอด ผมก็ขอต่อสู้ให้ได้รับความนิยมให้ได้ จึงเริ่มให้ผมได้มีโอกาส จัดรายการประเภทนี้ขึ้นมาใหม่ในเดือนต่อไป โดยตั้งชื่อรายการให้ใหม่อย่างเก๋ไก๋ว่า “เพลงลูกทุ่ง” พอออกนัดแรก ผู้ชมเล่นงานผมเสียแย่ ผมได้พยายามสู้ต่อไป จนย่างเข้าเดือนที่ ๖ ประชาชนเริ่มยอมรับ คนชักกล่าวขวัญถึงรายการนี้ ความนิยมนี้แทรกซึมไปตามวงดนตรีต่างๆ เริ่มเรียกวงของตนเองว่าวงดนตรีลูกทุ่ง และ นักร้องนิยมเรียกตัวเองว่าเขาคือ นักร้องเพลงลูกทุ่งได้อย่างเต็มปาก ระยะนั้นมีหนังฝรั่งเข้ามาเรื่องหนึ่ง ฉายที่คิงส์ชื่อภาษาอังกฤษว่า Your Cheating Heart ยังต้องตั้งชื่อหนังเป็นภาคภาษาไทยตามรายการนี้ว่า “เพลงลูกทุ่ง” ความจริงคำว่าเพลงลูกทุ่งนี้ต้องการจะตั้งให้เป็นชื่อของรายการทางทีวีมากกว่า แต่จะเป็นด้วยเหตุบังเอิญ หรือไม่ก็ไม่ทราบที่ทั้งนักร้องและนักดนตรีได้นำไปเรียกเป็นชื่อของตัวเองเสียอย่างเหมาะสมเช่นนี้ ความหมายของคำว่า “เพลงลูกทุ่ง” จึงฝังใจผู้ชมมาจนบัดนี้
คำว่า “เพลงลูกทุ่ง” จึงฮิตแต่นั้นมา สิ้นปีนั้นคณะกรรมการจัดงานแผ่นเสียงทองคำต้องจัดประเภท ค.ให้เพลงลูกทุ่งด้วย เราก็ให้คำว่า “เพลงลูกทุ่ง” มาเป็นสมบัติของประชาชนได้ ๑ คำแล้ว ส่วนคำ “ลูกกรุง” อะไรเทือกนั้น ผมว่าเป็นความพิเรนทร์ของคนที่นำมาเปรียบเทียบมากกว่า แม้คำว่า “เพลงลูกทุ่ง” จะเป็นคำมงคลที่ดีแล้วก็ตาม ผู้ที่รับมรดกต่อไปก็น่าจะช่วยกันรักษาไว้ให้อยู่ในความนิยมเสมอ .. ผมเองผู้ได้รับคำนี้มาจากคุณจำนง รังสิกุล ให้มาตั้งเป็นชื่อของรายการ ได้พยายามรักษาต่อสู้ทุกวิถีทางให้คำนี้คงอยู่ใน ความนิยมเสมอ
* ตอนเด็กๆ ได้เคยชมรายการชื่อ ลูกทุ่งกรุงไทย ทางช่องสี่ ครับ มีนักแสดงของช่องนำเพลงลูกทุ่งมาร้องหลายท่าน ได้แก่ คุณศิริพร นฤพนธ์ รอง และคุณประกอบผู้จัด เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 114 เมื่อ 29 เม.ย. 08, 16:45
|
|
รบกวนคุณ SILA กรุณาเล่าเรื่องเกี่ยวกับอาจารย์จำนง รังสิกุล และสานุศิษย์ของท่าน ผู้สถาปนาบันเทิงไทยชนิดไม่ไร้สาระไว้ประดับความรู้ด้วยเถิดครับ
ผมดูทีวีไทยมาร่วม 50 ปี ก็ยังไม่เห็นว่าจะมีใครก้าวข้ามสิ่งที่ท่านทำ (้อ้อ...อาจจะยกเว้น อาจารย์สมเกียรติ อ่อนวิมล ที่มาปฎิรูปรายการข่าวเมื่อสามสิบปีก่อน)
ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 115 เมื่อ 29 เม.ย. 08, 17:10
|
|
ตอบโดยไม่ต้องคิดเลยว่า มิอาจ ไม่สามารถ ครับ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องยาว ย้อนยุค ไม่มีข้อมูลคือหนังสืออยู่กับตัวเลย เช่น จากเหมืองแร่สู่เหมืองรูป ของคุณอาจินต์, โลกมายาของอารีย์ โดยคุณอารีย์ นิตยสารไทยโทรทัศน์(คุณอาจินต์เป็นบก.)ที่เคยซื้อไว้ ก็ไม่มีเหลือแล้ว ทุกวันนี้จึงได้แต่ตามอ่านจากเว็บต่างๆ ที่มีบทความ หรือบทคุยของผู้รู้แสดงไว้ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 116 เมื่อ 29 เม.ย. 08, 21:23
|
|
อ้าว....เสียดายจริงครับ
ถ้างั้น โอนให้คุณกุ้งแห้งละกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 117 เมื่อ 30 เม.ย. 08, 09:25
|
|
มีบทความสั้นๆ มาฝากครับ
คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ เขียนบทความสั้นๆ ลงหนังสือพิมพ์รำลึกถึงความหลัง หนึ่งในบุคคลที่คุณอาเขียน-กล่าวถึง ในฐานะผู้มีพระคุณอยู่เสมอคือ อ.จำนง รังสิกุล
* บทความบางส่วนของคุณอา จาก จุดประกายวรรณกรรม กรุงเทพธุรกิจ *
เมื่อผมเป็นบก.นิตยสาร "ฟ้าเมืองไทย" ตั้งแต่ พ.ศ.2512 ได้นาน 3 ปี ผมมีเกียรติสูงสุดในชีวิตการป็นบก. ที่คุณจำนง รังสิกุลหัวหน้าฝ่ายจัดรายการไทยทีวีช่อง 4 ส่งสารคดีเรื่อง "รำวง" มาให้ผมตีพิมพ์ในฉบับวางตลาดวันที่ 27 เมษายน 2515
คุณจำนง รังสิกุล ท่านนี้ เป็นสุภาพบุรุษที่ผมเคารพสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ที่รับผมเข้าทำงาน ในฝ่ายจัดรายการทีวี ช่อง 4 เมื่อ พ.ศ. 2498 (สองพันสี่ร้อยเก้าสิบแปด) ท่านให้เงินเดือนผมเดือนละ 800 บาท ทำให้ผมซึ่งกำลังเป็นนักเขียนไส้แห้ง ไม่อดตาย ท่านให้ผมทำหน้าที่ผู้เขียนสคริปต์ทีวี ประจำสถานี ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม พระนคร
แล้วในพ.ศ. 2500 ท่านได้สั่งให้ผมเป็นบรรณาธิการนิตยสาร "ไทยโทรทัศน์" รายเดือน โดยท่านจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการทำงานบรรณาธิการให้ผมเดือนละ 600 บาท การเริ่มฝึกเป็นบรรณาธิการในครั้งนั้นทำให้ผมได้รู้จักนักเขียนหนุ่มๆ และนักเขียนสารคดีอาวุโสอีกหลายท่าน ในเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นจากหน้าที่ผู้เขียนสคริปต์ทีวีประจำสถานี (station TV script writer) คุณจำนง รังสิกุล จึงเป็นผู้จุดประกาย "บรรณาธิการ" ให้แก่ผม - อาจินต์ ปัญจพรรค์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ท่านเลี้ยงผมไว้ในฝ่ายจัดรายการช่อง 4 นานถึง 14 ปี (จากพ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2512)....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 118 เมื่อ 30 เม.ย. 08, 09:38
|
|
อีกบทความสั้นๆ จากจุดประกายวรรณกรรม เช่นกันครับ
ผมกด-เก็บภาพ คุณจำนง รังสิกุล ผู้มีพระคุณแก่ชีวิตของผมไว้ เมื่อวันพระราชทานเพลิงศพของท่าน ที่วัดโสมนัส หลายปีมาแล้ว
จะกี่เดือนกี่ปีกี่ยุคกี่สมัย ผมก็ไม่มีวันลืมพระเดชพระคุณของท่านที่ชุบเลี้ยงผมตั้งแต่ผมอายุ 27 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ.2497 โดยรับผมเข้าทำงานในบริษัท ไทยโทรทัศน์ ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม พระนคร จนกระทั่งผมอายุ 42 (พ.ศ.2512)
คุณจำนง รังสิกุล คือเจ้านายที่ผมเคารพในความสามารถของท่าน และกตัญญูในพระคุณของท่าน ที่ทำให้ผมได้มาเดินอยู่บนถนนนักเขียนอาชีพและการเขียนบทโทรทัศน์ 14 ปี อันทำให้ผมได้มีวิชาชีพการประพันธ์เลี้ยงชีวิตมาจนถึงทุกวันนี้ พ.ศ.2549 โดยท่านเมตตารับผมซึ่งตกงานมาจากเหมืองแร่ปักษ์ใต้ เข้าทำงานทีวีซึ่งท่านเป็นหัวหน้าฝ่ายจัดรายการ ท่านเมตตารับไว้ให้ผมทำหน้าที่เป็นผู้เขียนบทโทรทัศน์ ประจำสถานีไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม พระนคร ซึ่งเปิดการแพร่ภาพเมื่อ 24 มิถุนายน 2498 จนถึง 2512 ซึ่งท่านออกจากหน้าที่ 'หัวหน้าฝ่ายจัดรายการ' มาประจำตำแหน่งเดิมของท่าน ในกรมประชาสัมพันธ์ คือ ผู้อำนวยการกองวิทยุกระจายเสียงต่างประเทศ อันเป็นตำแหน่งสำคัญอย่างยิ่งในกรมประชาสัมพันธ์ จนเกษียณอายุราชการ แล้วธนาคารกรุงเทพเชิญท่านไปนั่งเก้าอี้ที่ปรึกษาการประชาสัมพันธ์ของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งท่านจัดรายการทีวี ที่ดีมีคุณค่า ทำเกียรติยศให้แก่ธนาคารกรุงเทพมากมายและยาวนาน จนท่านสิ้นบุญ หลายปีมาแล้ว
ตัวท่านจบมัธยมปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยสอบได้คะแนนภาษาอังกฤษเต็ม 100% (ผมได้มีวาสนาเห็นประกาศนียบัตรของท่าน)
ท่านสำเร็จปริญญาตรีธรรมศาสตร์บัณฑิตรุ่น 2478 เคยรับราชการกระทรวงมหาดไทย โดยเป็นนายอำเภอเมืองภูเก็ต แล้วมาเป็นผู้อำนวยการกองการข่าวต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ แล้วได้รับอนุมัติให้ไปเป็นเจ้าหน้าที่ประกาศและ จัดรายการแผนกภาษาไทยของวิทยุบีบีซี ที่กรุงลอนดอน 3 ปี และรัฐบาลอนุมัติให้เป็นหัวหน้าฝ่ายจัดรายการโทรทัศน์ ของบริษัทไทยโทรทัศน์ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งท่านบริหารงานด้วยสมรรถภาพที่เลิศล้ำเป็นที่เลื่องลือไปในวงการสื่อสารมวลชน ของชาติไทย และท่านได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาการจัดรายการโทรทัศน์ มีลูกศิษย์ลูกหามากมายหลายรุ่น
ผมขอลงท้ายว่า ท่านเป็นผู้มีพระคุณยิ่งยวดแก่ชีวิตของผม - อาจินต์ ปัญจพรรค์ ผมภูมิใจที่สุดที่ได้กดชัตเตอร์-เก็บภาพนี้ของท่านไว้บูชาและเผยแผ่
(ในเว็บมีแต่บทความ ไม่มีภาพประกอบครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|