เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4608 กาแล
มัญชีร
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 12 ม.ค. 01, 09:51

เรือนไทยภาคเหนือ ติดกาแลไว้เพื่ออะไรคะ มีความเชื่ออะไรเป็นพิเศษรึเปล่า
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 ธ.ค. 00, 18:17

ให้อีกามาแล?
มั่วเจ๊า
บันทึกการเข้า
แฟนลิเก
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 ธ.ค. 00, 20:35

มันคืออะไรครับ
บันทึกการเข้า
มัญชีร
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ธ.ค. 00, 09:37

ให้อีกาไม่แลต่างหากล่ะคะ ถ้าเป้นประโยชน์ในเชิงช่างก็คือติดไว้เพื่อไม่ให้อีกาหรือนกมาเกาะได้ จะได้ไม่ถ่ายมูลเลอะเทอะหลังคา แต่ทีนี้อยากทราบว่า มีความเชื่ออะไรนอกเหนือจากนี้หรือเปล่า
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ธ.ค. 00, 23:33

เรื่องภูมิปัญญาล้านนาเกินความรู้ผมครับ ผ่มค่นต๋าย..
แต่ถ้าจะให้เดา นี่กำลังจะมั่วนะครับ อาจจะมีความเชื่อเรื่องสิริมงคลอะไรเป็นพิเศษมาประกอบด้วยหรือไม่ เป็นไปได้ครับ
ลักษณะกาแลที่เป็นไม้ 2 อันเอามาขวางขัดกันไว้ ชวนให้ผมนึกไปถึงเฉลว ซึ่งก็เป็นไม้เอามาขัดๆ กันไว้เหมือนกันเป็นรูป - ดูคล้ายๆ ดาวหกแฉกหรือแปดแฉก มักปักอยู่เหนือหม้อต้มยาไทยโบราณ (ภาคกลาง) เห็นว่าช่วยฤทธิ์สรรพคุณยาด้วย
คำว่า เฉลว นั้น มีบางคนบอกว่ามาจากคำว่า ตาเหลว แปลว่าดวงตาของนกเหยี่ยว น่าสนใจที่กาแล ก็มีคำว่ากา (นก?) และมีคำว่าแล (ดู?) จะเกี่ยวกันไหมไม่ทราบ
แต่เครื่องหมาย X นั้น เราเรียกเครื่องหมาย "ตีนกา" - กากบาท ไม่ยักเรียกกาแล (แต่ดูหน้าตากากบาทกับกาแลที่หน้าจั่วเรือนไม่ต่างกันเท่าไหร่?)
การเอาไม้มาขัดๆ กันไว้แล้วเชื่อว่ามีอะไรเป็นอำนาจพิเศษอยู่นี้ ฝรั่งก็มี ถ้าจำไม่ผิดไม้ที่ขัดกันเป็นรูปนี้ # ฝรั่งบางคนเรียกว่า hex ว่าเป็นเวทมนตร์แม่มด แต่อันนี้ไม่แน่ใจครับ
มั่วเหมือนเดิมครับ
บันทึกการเข้า
Mr Z
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 ธ.ค. 00, 11:39

เคยได้ยินมาว่าเป็นเครื่องหมายของการจำนนต่อพม่านะครับ ว่ากันว่าถ้าบ้านไหนไม่มีกาแล พวกพม่าก็จะบุกมาปล้นอ่ะ อันนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับ ได้ยินเค้าเล่ากันมาอ่ะ ไม่ confirm ครับ
บันทึกการเข้า
สอบวา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ม.ค. 01, 21:50

เรือนกาแลแท้ๆ มีองค์ประกอบสำคัญที่เด่นๆ อยู่หลายชิ้นเช่นกาแล กับหัมยนต์ ร้านน้ำ
หัมยนต์ หำยนต์ หำยนนั้นค่อนข้างชัดเจนว่าทำหน้าที่เป็นยันต์ศักดิ์สิทธิ์  เพื่อป้องกันและขับไล่ภยันตรายต่างๆ จากภายนอก  ไม่ให้ผ่านเข้าประตูห้องนอนไปทำร้ายเจ้าของเรือน

กาแล ก๋าแล หรือกาแหลยังไม่มีการสรุปเป็นเรื่องราวกันเลยครับ มีหลายนัยแล้วแต่จะยกความหมายไหนมาคุยกัน  บ้างก็ว่าเพื่อป้องกันแร้งและกามาเกาะหลังคาเรือน  ซึ่งคนล้านนาหรือคนไทยยวนถือว่าเป็นเรื่องอัปมงคล
บางความหมายบอกว่าพม่าบังคับให้ทำ เพื่อให้เห็นว่าผิดกับบ้านเรือนของพม่า
ส่วนอาจารย์ไกรสีห์ นิมมานเหมินทร์ท่านบอกว่าน่าจะรับเอาอิทธิพลของคนลัวะ  ซึ่งเคยปกครองดินแดนล้านนามาก่อน  เรือนลัวะนั้น เวลาทำพิธีเสนเรือนจะใช้เขาควายมาติดด้านหน้ายอดหลังคา  และได้พัฒนามาเป็นการแกะไม้ติดในส่วนยอดของหลังคาแทน  เพื่อแสดงฐานะในภาษาลัวะเรียกส่วนนี้ว่า “กะแหล้” เวลาแผลงไปเป็นสำเนียงยวนที่อ่อนเนิบมากกว่า ก็เลยแผลงเป็น “กาแล” ซึ่งความเชื่อนี้ได้รับความเชื่อถือกันมากที่สุด
บันทึกการเข้า
สอบวา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ม.ค. 01, 21:51

สำหรับความหมายใหม่ซึ่งยังไม่เป็นที่เผยแพร่กันมากนัก  บอกว่ากาแลเป็นวัฒนธรรมร่วมในการสร้างบ้านของคนไทหลายกลุ่ม  แต่ว่าพัฒนาแตกต่างกันออกไป “กาแล” เป็นส่วนที่วิวัฒนาการมาจากโครงสร้างของบ้านมาแต่โบราณที่มี่ปั้นลมไขว้กัน (อย่างเช่นกระท่อมที่เราเห็นเด็กๆวาดกัน  ภาพกระท่อมจะมีไม้ไขว้กันทั้งหัวและท้ายหลังคา) ทั้งนี้การไขว้กันทำให้สะดวกในการก่อสร้าง และยึดให้ไม้แข็งแรงมั่นคง และปั้นลมที่ไขว้กันนี้พบในอัสสัม พม่าในรัฐไทยใหญ่และกะฉิ่น ลาว
แต่คนล้านนาซึ่งโดยรากฐานนั้นมีจิตใจอ่อนโยนและมีศิลปะสูง ได้พัฒนาปั้นลมที่ไขว้กันเป็นกาแลที่แกะสลักอย่างสวยงาม  
เรื่องราวของกาแลก็เลยยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด  
แต่ที่แน่ๆ กาแลกับเฉลวนั้น  แตกต่างกัน
บันทึกการเข้า
สอบวา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ม.ค. 01, 21:51

เฉลวนั้นใช้ในพิธีกรรมของคนไทยแทบทุกภาค ส่วนใหญ่เราจะเห็นเฉลวปักอยู่บนหม้อยา บางทีก็ใช้ในการทำขวัญข้าวตามทุ่งนา และแต่ละภาคก็ใช้แยกย่อยกันอีกที
ในล้านนาออกสำเนียงว่า “ตาแหลว” นอกจากว่าจะใช้ในเรื่องหมอเมือง แล้ว ยังใช้ในเรื่องของพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเกษตรทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นไหว้แม่โพสพ ไหว้ผีขุนน้ำต่างๆ ไหว้ผีขุนฝาย เหมืองน้ำต่างๆ
และยังใช้ตาแหลวปกตินี้ในการทำพิธีสืบชาตาบ้าน (ในพิธีสืบชาตาคนไม่ใช้ตาแหลว)
ตาแหลวของล้านนาที่สานกันเป็นแปดแฉกนั้น   แทนค่าความหมายทิศทั้งแปด ในคติของล้านนานั้น  ทิศทั้งแปดตามคัมภีร์มหาทักษานั้นแทนค่าเดชเมือง ศรีเมือง  อายุเมือง (จำได้เท่านี้ครับ) ทิศทั้งแปดจะอยู่รายล้อมจุดศูนย์กลางที่ตัดกัน ซึ่งเรียกว่าใจเมือง  ดังนั้นตาแหลวแบบนี้จึงใช้ในพิธีสืบชาตาเมือง  ทั้งนี้จะสานกันอย่างดีและสวยงามเป็นพิเศษ ซึ่งเค้ามีคำเมืองเฉพาะเรียกว่า “ตาแหลวพันชั้น” ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 17 คำสั่ง