เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 26628 ชื่อ "บางกอก" มาจากไหน (อีกแล้ว)
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 21 ก.ย. 07, 12:04

จารึกนครชุม (พ.ศ.๑๙๐๐) เอ่ยถึงชื่อเมืองไว้ ๒ เมืองคือ บางพาน และ บางฉลัง
เห็นแล้วนึกได้ว่ายังมีเมืองบางยางของพ่อขุนบางกลางหาวอีก

ดังนั้น บาง นี่คงจะเป็นคำที่เก่าแก่มาก อย่างน้อยก็ย้อนไปได้ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 21 ก.ย. 07, 12:10

ชื่อพ่อขุนบางกลางหาว  ก็น่าสนใจนะคะ   
แปลว่าอะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 21 ก.ย. 07, 15:15

ชื่อบุคคลในศิลาจารึก ล้วนแต่มีความหมาย
ชื่อ รามคำแหง เราก็รู้ว่ามีที่มา     เกิดจากเจ้ารามแสดงวีรกรรม ในศึกระหว่างสุโขทัยกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด 
บาลเมือง คือผู้ทะนุบำรุงบ้านเมือง   
ไสสงคราม  ไส แปลว่า สี่   สงคราม ก็มีความหมายอยู่ในตัวแล้วไม่ต้องแปล
งัวนำถม  หรืองั่วนำถุม   งั่วแปลว่าห้า  นำถุม เคยอ่านพบว่า สันนิษฐานว่าน้ำท่วม  อาจจะเกี่ยวโยงไปถึงตำนานพระร่วงที่ทรงจมน้ำหายไป ก็เป็นได้
แล้วถ้าอย่างนั้น  บางกลางหาว  ก็ต้องมีความหมาย  ไม่ใช่ชื่อที่ตั้งขึ้นลอยๆ  ไร้ที่มาที่ไป
กลางหาว =กลางท้องฟ้า
บาง คืออะไร ที่อยู่กลางท้องฟ้า  เกี่ยวกับทำเลที่อยู่ของชุมชนหรือเปล่า  ไม่น่าจะใช่
ถ้าหากว่าหาความหมายของ บางกลางหาว ได้ ก็น่าจะเข้าใจความหมายของ"บาง" เมื่อเจ็ดแปดร้อยปีก่อนได้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 21 ก.ย. 07, 15:26

เจอคำถามอ.เทาชมพูเข้าไป ผมอึ้งไปเกือบสามชั่วโมง  ลังเล ชื่ออยู่ตรงหน้ามาหลายสิบปีกลับมองข้ามไปเสียได้ครับ

ผมคุ้นเคยกับวลี "พ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง" แต่พอไปค้นเข้าจริงๆ ยังไม่เจอตรงไหนที่บอกว่าพ่อขุนบางกลางหาวเป็นเจ้าเมืองบางยาง จารึกวัดศรีชุมของพระมหาเถรศรีศรัทธา (ใช้บริการฐานข้อมูลจารึกบ่อย ขอขอบคุณทีมงานผู้จัดทำอันอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ  ยิ้ม ) ความมีแต่ว่า
...เมื่อก่อนพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นไปเมืองบางยาง ให้สิริจัดพลพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด พาพ่อขุนผาเมืองผดาจกันแลกัน...

ดังนั้น พ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง ถ้าไม่ใช่ใครสรุปให้เสร็จก็คงเป็นผมที่จำผิดเองแหละครับ

ถึงตรงนี้ขอปิดตำราดำน้ำตามถนัด เป็นไปได้ไหมว่า พ่อขุนบางกลางหาว คือพ่อขุนเจ้าเมืองบางกลางหาว ซึ่งอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ลึกลับพอๆกับ(หรือยิ่งกว่า)เมืองบางยาง เมื่อปราบขอมสบาดโขลญลำพงได้แล้ว พ่อขุนผาเมืองยกเมืองสุโขทัยให้แล้วแถมชื่อพระราชทานจากผีฟ้ายโศธรปุระให้อีก

ตรงนี้ต้องขยาย

ใน wiki คนเขียนบอกว่าชื่อ ศรีอิทรบดินทราทิตย์ (ที่หลัก ๑ เขียนเป็น ศรีอินทราทิตย์ จนฝ่ายยักษ์เอาไปล้อว่าพ่อขุนท่านเขียนชื่อพ่อตัวเองผิด) ความจริงแล้วท่านจงใจตัดออกเพราะ ศรีอินทรบดินทราทิตย์ = ศรี+อินทรปัต+อินทร+อาทิตย์ ตัดอินทรปัตซึ่งหมายถึงเมืองพระนครออกไปกลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ เป็นการปลดแอกจากอำนาจขอมเมืองพระนคร

ไม่รู้ว่าความตรงนี้เขาเอามาจากไหน แต่ต้องชมเชยคนคิดว่ามีจินตนาการสูงมาก น่าจะชวนมาร่วมวงกระทู้นี้ อิอิ

เรื่องการยกชื่อให้นี้ น่าคิดว่าพ่อขุนบางกลางหาวอาจจะไม่ใช่มาจากสกุลที่มีอำนาจมากมาย เป็นพ่อขุนเมืองเล็ก ยิ่งถ้าตีความว่าชื่อบางกลางหาวเป็นชื่อเมืองไม่ใช่ชื่อตัวเท่ๆอย่างพ่อขุนผาเมืองแล้ว การยกชื่อศรีอินทราทิตย์ให้ดูจะสมเหตุสมผลขึ้นมาทีเดียว

เพื่อความไม่ประมาท ขอกลับมาคิดในแง่มุมที่ว่าบางกลางหาวอาจเป็นชื่อตัว ลำน้ำที่อยู่บนฟ้า เห็นภาพสองอย่างคือ สายรุ้ง กับทางช้างเผือกครับ อาจเป็นชื่อที่ตั้งตามนิมิต ลึกซึ้งกว่านี้อาจจะต้องไปเปิดไตรภูมิกับโองการแช่งน้ำดูก่อนครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 21 ก.ย. 07, 15:55

อ้างถึง
เมื่อก่อนพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นไปเมืองบางยาง ให้สิริจัดพลพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด พาพ่อขุนผาเมืองผดาจกันแลกัน...

มาประท้วงคุณอาชาแทนพ่อขุนบางกลางหาว
ท่านเป็นเจ้าเมืองทั้งที  ยังหาชื่อตัวไม่ได้อีกหรือคะ  ต้องเอาชื่อเมืองมาต่อท้ายตำแหน่ง  น่าน้อยใจแทน

ไม่ใช่หรอกค่ะ  บางกลางหาว ต้องเป็นชื่อตัว  จะเห็นได้จากประโยคข้างบนนี้ 
ที พ่อขุนผาเมืองท่านยังมีชื่อตัว  แยกเห็นชัดจากชื่อเมืองที่ท่านครองอยู่
ไม่งั้นก็ต้องเขียนว่า พ่อขุนบางกลางหาว ขึ้นไปเมืองบางยาง ให้สิริจัดพลพ่อขุนเมืองราด น่ะสิคะ
ถ้าบางกลางหาวเป็นชื่อเมือง ต้องเขียนว่า "เมืองบางกลางหาว"   เหมือน "เมืองบางยาง"


บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 22 ก.ย. 07, 02:49

ผมว่า "บางกลางหาว" บาง ในที่นี้อาจหมายถึง "พื้นที่" ก็ได้มั้งครับ เป็นคำซ้อนความหมาย คือ พื้นที่กลางท้องฟ้า = ท้องฟ้า ฮืม

เคยอ่านที่ไหนไม่รู้ มีคนแปลว่า บางกลางหาว คือ ดวงอาทิตย์ เพราะ ดวงอาทิตย์อยู่กลางท้องฟ้า

อันนี้คิดเล่นๆ นะครับ "บาง" เป็นคำไทโบราณ ที่สูญความหมายไปแล้ว

อะไรที่อยู่กลางหาวได้ ตอนนี้นึกถึง "เมฆ" ไม่รู้เหมือนกันว่า ศัพท์ทางคำเมือง ไทใหญ่ หรือ ลาว เรียก "เมฆ" ว่าอะไร ฮืม

ส่วนดวงอาทิตย์ จะลากเอา "บาง" ว่าจารึกเพี้ยนจาก "วาน" (วัน) ก็กลัวจะถูกตีหัวเสียก่อน  ยิงฟันยิ้ม

ตะวัน ก็น่าจะเพี้ยนมาจาก "ตาวัน" (ตา ของวัน ฮืม)

เอาเป็นว่า ผมคิดไว้สองแบบครับ คือ บาง ที่แปลว่า พื้นที่ กับ บาง ที่สูญความหมายไปแล้ว  อายจัง
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 22 ก.ย. 07, 02:55

ได้ของไท-กะไดมาครับ

Proto-Thai-Kadai: *m-f[a].C
Meaning: cloud
Proto-Zhuang-Tai: *fV.C
Ong Be: ba.4
Lakkia: fa.3

เอาหละสิ ภาษาไทโบราณเรียกเมฆว่า "ฟ้า" เรียก ท้องฟ้าว่า "หาว" ฮืม

ท้องฟ้า ก็คือ "ส่วนท้องของเมฆ" ฮืม อืม...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 22 ก.ย. 07, 08:46

อ้างถึง
เมื่อก่อนพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นไปเมืองบางยาง


บางยางในที่นี้น่าจะใช้ในความหมายเดียวกับ บางกอก บางบอน บางรัก บางระมาด ฯลฯ อย่างในปัจจุบัน
ถ้างั้น พอจะเชื่อได้ไหมว่า บาง ในคำว่าบางกลางหาว  ก็ความหมายเดียวกัน 
ดิฉันวิเคราะห์ว่า
๑. เป็นคำนาม  เหมือนคำว่า บาง ที่ใช้ประกอบชื่อพืช สัตว์ ฯลฯ ตั้งเป็นชื่อสถานที่ต่างๆ   ไม่ใช่ บาง ที่ตรงกันข้ามกับ หนา
๒. ลักษณะการวางคำ ใน บางกลางหาว เป็น นาม+คุณศัพท์+นาม  รวมความแล้ว เป็น "นามวลี" คือกลุ่มคำนาม
๓. พิจารณาจากบริบท คือคำว่า กลาง และ หาว   หาวหมายถึงฟ้า  กลาง คือ อยู่ตรงกลาง  ถ้างั้น บาง  ก็ต้องเป็นคำนามของอะไรสักอย่างที่เอาขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าได้ โดยไม่รู้สึกประดักประเดิดเมื่อแปลออกมาแล้ว
สมมุติว่า บาง แปลว่า ทางน้ำ
ทางน้ำกลางฟ้า  อาจจะหมายถึงสายรุ้ง หรือทางช้างเผือก อย่างที่คุณอาชาผยองว่า  ความหมายนี้ไม่ประดักประเดิด  ออกจะ poetic ด้วยซ้ำ
คนสมัยสุโขทัย poetic ในแบบกะทัดรัด  ไม่อลังการอย่างสมัยอยุธยา  แต่มีความหมายดี
ดูแต่พ่อที่เติมคำว่า คำแหง ให้ลูกชายเพราะรบชนะข้าศึกตั้งแต่อายุ ๑๙ สิคะ   
แต่ถ้าแปลว่า ถิ่น ที่อยู่  เกาะ ละแวก อะไรพวกนี้ แล้วไปอยู่กลางหาวละก็  ประดักประเดิดแน่
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 22 ก.ย. 07, 09:04

อาจารย์ประเสริฐท่านเชื่อว่าเป็น "บ่างกลางหาว"
เป็นการยกย่องว่าเก่งกล้าราวกะเหาะเหินเดินอากาส
ชื่อที่ยกคุณสมบัติสัตว์มาใช้แบบนี้ ทางไทยใหญ่นิยมกัน

หมายความว่า ชื่อนี้น่าจะมาก่อนสำนวน "บ่างช่างยุ" นิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 22 ก.ย. 07, 09:21

อ้างถึง
อาจารย์ประเสริฐท่านเชื่อว่าเป็น "บ่างกลางหาว"
เป็นการยกย่องว่าเก่งกล้าราวกะเหาะเหินเดินอากาส
ชื่อที่ยกคุณสมบัติสัตว์มาใช้แบบนี้ ทางไทยใหญ่นิยมกัน

อุแม่เจ้า ! (อุทานแบบโบราณให้เข้ากับกระทู้)
แสดงว่าเชื้อสายพ่อขุนรามเป็นไทยใหญ่งั้นหรือคะ
ถ้าใช่อย่างที่ท่านสันนิษฐาน    นึกถึงซุปเปอร์แมนขึ้นมาทันที
ในยุคที่เดินทางกันด้วยช้าง แสดงฝีมือรบกันบนหลังช้าง   การเหาะเหินเดินอากาศจะเป็นความเก่งกล้าในรูปแบบไหน

ป.ล. บ่างตัวที่นิสัยไม่ดี   โด่งดังมาจากอีสป  ไทยใหญ่คงไม่รู้เรื่องด้วยมั้งคะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 22 ก.ย. 07, 10:21

แหม่....ก้อ ร. 4 ท่านทรงหนังสือออกฟ่างฝาง
จะเพิ่มอีสปเข้าในรีซอร์สของการสร้างจารึก

ไม่เห็นจะไม่ได้ เท่อ็อก
วัฒนธรรมไทยใหญ่ก็ไม่ได้ห่างไกลจากเราเท่าใดเลย วิธีตั้งชื่อเช่นนี้ น่าจะเป็นผลมาจากเบ้าหลอมอันเดียวกัน
เก่าก่อนจะโดนระบบเทวราชากลืนกิน
ขุนบ่างกลางหาว ฟังเป็นผู้ทรงอำนาจดีจัง

อาจารย์ประเสริฐท่านคิดชื่อนี้มาตั้งนาน สมัยที่ท่านขอแก้คำว่า "ท่าว"
ท่านว่า ท่าว แปลว่าด่าวดิ้น ไม่เป็นมงคลเลย บางกลางท่าว นึกได้แต่ตายกลางสนามรบ...เอื๊อก
ท่านก็เลยเพียรอ่านจนคนอื่นเห็นท่าว เป็น หาว
แต่ที่ท่านเสนอบาง เป็น บ่าง

ไม่ยักมีคนคล้อยตาม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 22 ก.ย. 07, 11:13

คุณพพ.ก็พูดเล่นจนนึกว่าจริง
อ.ประเสริฐท่านดูตัวอักษรจารึก ที่อ่านตอนแรก ท ทหาร บวก ไม้เอก    ท่านว่าไม่ใช่ เป็น ห หีบ ต่างหาก
ตัวที่คิดว่าเป็นไม้เอกนั่นแหละ คือหัวที่สองของ ห หีบ 
กลางท่าว   ฟังไม่รู้เรื่อง  แต่  กลางหาว  ฟังปุ๊บเข้าใจปั๊บว่าหมายความว่าอะไร   เลยรับกันได้ง่าย

แต่บ่างกลางหาว...ฟังแล้ว นึกไปถึงฉายาจอมยุทธในนิยายของกิมย้ง  พวกอาจารย์รุ่นแรกของก๊วยเจ๋ง
เลยยังรับไม่ได้สนิทใจค่ะ
อีกอย่าง บ่างมันร่อนจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปอีกต้นหนึ่งไม่ใช่หรือ      ตัวไหนบินได้สูงถึงกลางหาว?
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 22 ก.ย. 07, 14:23

ชื่อพ่อขุนบางกลางหาว เข้าใจว่าปรากฏอยู่ในจารึกวัดศรีชุมเพียงหลักเดียว แต่ปรากฏอยู่หลายครั้ง
จารึกวัดศรีชุมก็เหมือนจารึกอื่นๆในสมัยสุโขทัยที่ใส่วรรณยุกต์แบบตามสบายพัก (ยกเว้นหลักที่ ๑ หลักเดียว อิอิ) เมื่อคืนผมก็คิดอย่างที่อ.ประเสริฐท่านว่าครับ คือเป็นไปได้ว่าจะมีวรรณยุกต์อยู่ตรงไหนสักแห่งในชื่อนี้เหมือนกัน แต่เราไม่เห็นเพราะคนจารเกิดไม่อยากใส่วรรณยุกต์ตรงนั้น และถ้าจะมี ก็เห็นจะเป็นได้แค่บ่างนี่แหละ

แต่ บ่างกลางหาว เป็นชื่อประหลาดครับ ได้ยินแล้วนึกถึงชื่อพวกอินเดียนแดงอย่าง Sitting Bull หรือ Crazy Horse แหะๆ

เมื่อดูชื่อพ่อขุนท่านอื่นๆแล้วเห็นว่าไม่ค่อยจะเข้ากัน บาลเมือง, รามกำแหง, ลือไทย, เลอไท, ไสสงคราม, งั่วนำถม

ว่าแต่ นาวนำถม ตรงนำถมแปลว่าน่ำท่วม และจะแปล นาว ว่าอย่างไรดีครับ มะนาว? ชักจะเข้ากลุ่มบ่างกลางหาวเหมือนกัน
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 23 ก.ย. 07, 08:47

อ้างถึง
เมื่อดูชื่อพ่อขุนท่านอื่นๆแล้วเห็นว่าไม่ค่อยจะเข้ากัน บาลเมือง, รามกำแหง, ลือไทย, เลอไท, ไสสงคราม, งั่วนำถม
เห็นด้วยค่ะ  บ่างกลางหาว ไม่เข้าชุดกันเลย  ชื่ออื่นออกจะเท่   ฟังดูมีสง่าสมเป็นกษัตริย์
แล้วยังชื่อ พญาเม็งราย  พญางำเมือง ที่ว่าอยู่ในยุคเดียวกับพ่อขุนรามคำแหง อีกล่ะ  ก็ดูจะเข้าชุดกับบาลเมือง ลือไทย  เลอไท  ได้ดี
แม้แต่ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด  ก็พอจะเข้าชุดกันได้
แต่ "บ่าง" รับไม่ได้จริงๆ  ไม่เข้ากันเลย    มันมีสง่าตรงไหน

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 23 ก.ย. 07, 11:33

ถ้าดูจารึกปู่สบถหลาน (ฐานข้อมูลจารึกเรียกจารึกปู่ขุนจิดขุนจอด) รายพระนามฝ่ายสุโขทัยเป็นดังนี้

ปู่ขุนจิด ขุนจอด ปู่พระยาศรีอินทราทิตย์ ปู่พระยาบาน ปู่พระยารามราช ปู่ไสสสงคราม ปู่พระยาเลอไทย ปู่พระยางัวนำถม ปู่พระยามหาธรรมราชา พ่องำเมือง พ่อเลอไทย

ชื่อที่มาก่อน ปู่พระยาศรีอินทราทิตย์ คือปู่ขุนจิด ขุนจอด น่าสงสัยว่าปู่ขุนจิด ขุนจอดนี้เป็นบรรพชนของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือเป็นผีบรรพบุรุษในความเชื่อ

แต่ถ้าเป็นชื่อบรรพชน นั่นหมายถึงว่ารุ่นก่อนหน้า พ่อขุนบางกลางหาว (อาจจะเป็นพ่อและอาหรือลุง) ชื่อจิดกับจอด เป็นชื่อสามัญมาก สอดคล้องกับข้อสันนิษฐานที่ว่าพ่อขุนบางกลางหาวเป็นเจ้าเมืองเล็กๆมาก่อน ไม่ใช่วงศ์กษัตริย์ ชื่อที่ใช้ก็เลยเป็นชื่อสามัญชน

ที่น่าคิดอีกเรื่องหนึ่งคือ จารึกหลักเดียวที่ออกชื่อพ่อขุนบางกลางหาวคือจารึกวัดศรีชุมที่จารโดยมหาเถรศรีศรัทธาซึ่งเป็นวงศ์พ่อขุนผาเมือง ลักษณะเนื้อความนักวิชาการหลายท่าน (ทั้งฝ่ายยักษ์และไม่ยักษ์ซึ่งรวมถึงอ.ขจร สุขพานิช) ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นจารึกฝ่ายค้าน (คุย)ข่มวงศ์พญาลิไทซึ่งเป็นสายพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ โดยในจารึกออกชื่อพ่อขุนบางกลางหาวซ้ำถึง ๖ ครั้ง และบอกว่าพ่อขุนผาเมืองเป็นคนยกชื่อศรีบดินทราทิตย์ที่ได้รับพระราชทานจากผีฟ้ายโศธรปุระแก่พ่อขุนบางกลางหาว

เป็นไปได้ไหมว่าชื่อ บ่างกลางหาว นี่ก็ไม่ได้สง่าจริงๆนั่นแหละครับ จารึกอื่นที่จารโดยฝ่ายวงศ์พ่อขุนบางกลางหาวจึงไม่ออกชื่อนี้เลย เลี่ยงไปใช้ชื่อศรีอินทราทิตย์แทน

แต่ผมยังอยากให้เป็นชื่อสวยๆแบบ บางกลางหาว มากกว่าอยู่ดีครับ  ยิ้ม

ปล. ตกไปประเด็นหนึ่ง เคยเห็นข้อสันนิษฐานที่ว่าขุนจิด กับขุนจอด เป็นขุนในเมืองจิดกับเมืองจอดที่อยู่ฝั่งพม่าในปัจจุบัน ถ้าข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริง พ่อขุนบางกลางหาวจะเป็นเจ้าเมืองบางกลางหาวก็คงไม่ผิดกติกาอะไรนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง