เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 23199 ใครสร้างจารึกพ่อขุนรามคำแหง
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 23:19

เรื่องการศึกษาส่วนจารึกโดยผู้เชี่ยวชาญการอ่านจารึก ที่ศึกษาโดยใช้หลักวิชาที่ยอมรับกันเป็นสากล อันนั้นผมไม่กล้าก้าวล่วงครับ ขอน้อมรับโดยดุษฎี  ยิงฟันยิ้ม

แต่ข้อความในสรุปรายงานการวิจัยที่ว่า

"การศึกษาวิจัยด้วยวิธีนี้ มิได้เป็นการกำหนดอายุของศิลาจารึก แต่เป็นการเปรียบเทียบริ้วรอย และองค์ประกอบที่ผิวที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากกระบวนการสึกกร่อน ผุพัง สลายตัวของศิลาจารึกหลักที่ ๑ เทียบกับศิลาจารึกหลักอื่นๆ ของสุโขทัย และศิลาจารึกของรัตนโกสินทร์ (ถ้ามี) เป็นที่น่าเสียดายที่ยังค้นไม่พบศิลาจารึกหรือวัตถุโบราณสมัยรัตนโกสินทร์ที่ทำด้วยหินทรายแป้งชนิดเดียวกันนี้ จึงยังไม่สามารถเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจน"

อันนี้ไม่หวายครับ ผมรับไม่ได้อย่างแรง
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 23:22

เดี๋ยวก่อนครับ ก่อนผมจะงงเอง ขอสรุปเรื่องที่คุยกันอยู่ไว้ตรงนี้หน่อยครับ

เรื่องการพิสูจน์อายุโดยทาง "วิทยาศาสตร์" นี้ ผมไม่รับ แต่ไม่ได้แปลว่าหลัก ๑ นี้ไม่ได้สร้างสมัยสุโขทัย หรือต้องสร้างโดย ร.๔ นะครับ

คนละประเด็นกัน
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 00:49

ปัญหาเรื่องวิธีทดสอบหินอีกประการหนึ่งคือ ไม่มีการนำจารึกจากยุคอื่นมาเทียบด้วยครับ
ทำไมต้องหาจารึกยุคอื่นมาเทียบล่ะครับ ขอทราบเหตุผลหน่อยดิ
เรามีตัวคงที่ คือหินอีกสี่ชิ้น แม้ไม่ใช่เนื้อเดียวกัน แต่อยู่ในกลุ่มที่เปรียบเทียบกันได้
ตัวแปรที่อยากให้เลิกแปร คือจารึกพ่อขุนราม  ผลการวิเคราะห์ชี้ว่าตัวแปรสอดคล้องกับตัวคงที่
ดังนี้แล้ว หินก้อนอื่น ต้องมาเกี่ยวอะไรด้วยครับ


ผลการวิเคราะห์บอกได้แค่ว่า ผู้วิเคราะห์เห็นว่าหลักที่ ๑ ดูคล้ายจารึกช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อีก ๓ หลัก
โดยที่สองหลักในนี้เป็นหินชนวนซึ่งมีเนื้อต่างจากหลัก ๑ ที่เป็นหินทราย
ในวงการวิทยาศาสตร์เองก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้นะครับ
ผมยังคิดว่า ผลการวิเคราะห์นี้ ใช้บ่งชี้อะไรไม่ได้เลย

ขอทราบความเห็นของฝ่ายค้านในกรณีนี้ด้วย
ถ้าผลวิเคราะห์ขนาดนี้บ่งชี้อะไรไม่ได้ ข้อเสนอทั้งหมดของดอกเตอร์บ่งชี้อะไรได้หรือครับ
และขอท้วงติงเรื่องถูกต้องเกินไปนี่ บ่งชี้อะไรได้
ขอทราบอย่างชัดๆหน่อยเถอะครับ

การจะล้มงานวิจัยระดับนี้ด้วยคำพูดลอยๆอย่างที่ยกมา ออกจะไม่เป็นวิทยาศาสตร์ไปหน่อยกระมัง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 01:36

กระทู้นี้ เกิดจากผมรับข้อเสนอที่ว่ารัชกาลที่ 4 ปลอมจารึกพ่อขุนรามไม่ได้ จึงต้องออกมาค้าน
ทั้งที่เป็นเรื่องเก่ามาก เกิดตั้งแต่ผมยังต้องก้มหน้าก้มตาเรียนหนังสืออยู่
มาสะกิดเป็นตะกอนก็เพราะกระทู้เรือนไทยเมื่อไม่นานมานี้  ....โชคไม่ดีเลย   เฮ้อ

เนื้อหาที่จะถก ก็แบ่งออกเป็นสองทาง
ทางแรกคือข้อเสนอนี้มีจุดอ่อนอะไรหรือไม่
ทางที่สองคือ ในตัวจารึกนั้น มีอะไรเป็นหมุดเวลาได้หรือไม่
เพื่อหาข้อสรุปว่า เราเองที่โง่ หรือมีคนอื่นโง่กว่าเรา

การกลับกลายเป็นว่า คุณเครซี่ จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ไม่รู้ สนับสนุนข้อเสนอเรื่องจารึกเป็นของปลอมอย่างแข็งขัน
เอาละ เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็อยากให้ถกกันอย่างแข็งขันเต็มที่ด้วย เผื่อจะทำผมเปลี่ยนใจมายอมรับได้ว่า
พระเจ้าแผ่นดินของเรา กับพระมหาเถระอีกรูปหนึ่ง ร่วมกันโกหกลวงโลก
จะมาหยอดคำหวานอะไรในทางเชิดชูยกย่อง ผมเห็นว่าเป็นการตอแหล คนโกหกเราจะนับถือได้อย่างไร
เราไม่ควรสนับสนุนการโกหกหลอกลวง จริงใหมครับ
และเราก็ไม่สนับสนุนการอ้างว่าเป็นวิชาการ แต่ไม่เคยทำตามระเบียบวิธีทางวิชาการว่าด้วยการนำเสนองานเลย
ทำตัวเหมือนโจรมุมตึก แอบตีหัวแล้วก็หนีเข้าย้าน พอเขาเรียกให้มาพิสูจน์ ก็ไม่กล้า

ข้อเสนอนี้ ท้ายที่สุดจะพาให้สังคมไปสู่จุดหมายใด ท่านที่สนใจใฝ่รู้พอจะนึกคุณูปกรณ์ได้หรือไม่

กรณีที่ผมระบุว่าท่านดอกเตอร์ไม่ยอมทำตามประเพณีวิชาการก็คือ
ท่านเขียนหนังสือออกมาหนึ่งเล่ม อย่างคลุมเครือว่าด้วยประวัติศาสตร์ศิลปะจากจารึกพ่อขุนราม
แต่ทั้งเล่ม ยกข้อความมาชี้ทีละประโยคว่าไม่น่าเชื่อถืออย่างไร
ถือว่าตั้งชื่อหลอกลวง มันมิได้เกี่ยวอะไรกับศิลปะเลย
ครั้นพอมีคนออกมาแก้ข้อกล่าวหา ทุกข้อ ทุกประเด็น
ชอบที่เจ้าของข้อเสนอควรมาเสนอเนื้อหาเพิ่ม เพราะข้อแย้งนั้น มีน้ำหนักทั้งสิ้น
มาจากการศึกษาเอกสารหมดประวัติศาสตร์ไทย ตลอดชีวิตของผู้รู้สองคน
โดยมารยาท งานวิชาการใดถูกท้วงติง ควรถือเป็นเกียรติ และควรเสวนา

ไม่ครับ

ท่านด็อกเจ้าของข้อเสนอ ไม่เคยร่วมแสวงหาสาระที่ลึกลงไป
เพื่ออาจจะยกระดับสถานะภาพความรู้เกี่ยวกับอดีตให้ข้ามพ้นความรู้เดิมๆ
ท่านวางตัวเหนือข้อขัดแย้ง และเมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงคำขอของเจ้านาย ท่านก็ขอพูดเดี่ยว
นี่ไม่ใช่พฤติกรรมที่เหมาะสมในประชาคมวิชาการ

ท่านที่คัดค้านผม คือคุณวรณัย เคยเตือนว่า ไม่ควรพาดพิงคนที่มิได้มีโอกาสมาตอบโต้
ผมขอแถลงจุดยืนว่า เมื่อเป็นงานวิชาการ และเสนอต่อสาธารณะแล้ว ไม่มีเกราะคุ้มกันอีกต่อไป
และไม่มีกาลเวลาด้วย
มิเช่นนั้น เราก็ต้องไม่ตำหนิหลวงวิจิตรฯ ในเรื่องวรรณกรรมคลั่งชาติสิ
ห้ามตำหนิคผู้แต่งเรื่องภูเขาอัลไตเป็นที่เกิดของชาติไท
แล้วทำให้เราไปตู่ประวัติศาสตร์หนานเจามาเป็นของเรามาตั้งเกือบร้อยปี

สิ่งสำคัญคือ การตำหนิวิชาการเหล่านั้น ต้องทำอย่างเปิดเผย มีเนื้อหา และไม่ไส่ไคล้
ยัดเยียดข้อหาผิดๆ ใส่กัน
ผมเห็นว่า ข้อเสนอเรื่องปลอมจารึกนี้ เป็นแนวคิดที่น่ากลัวยิ่ง
จะอ้างหลักการหรูเริ่ดอะไรมารองรับก็ตาม แต่งานที่มีข้อบกพร่องนับร้อยจุด
เราจะพึงยกย่องละหรือ

แม้แต่ข้อผิดนับร้อยนั้น ก็อาจจะยอมให้ผ่านไป หากในนั้นมีประโยชน์อันยิ่งใหญ่ต่อสังคม บันจุอยู่
เสียดายนักหนา ที่ มัน..... ไม่....... มี.......ครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 02:07

เรื่องตัวเรียง
ท่านชี้ว่า การวางสระ พยัญชนะไว้บันทัดเดียวกัน เกิดเพราะรู้จักการพิมพ์
อยากจะหัวร่อให้ฟันหัก ฟันก็ดันไม่มีซะอีก
เอาละ เป็นข้อสังเกตที่เกร๋ยยยยย์ ม้าก มากกกก....
แล้วไง

คนๆ หนึ่ง ไปเห็นวิธีเรียงพิมพ์ของโรงพิมพ์ เกิดบันลุธรรมขั้นสูง กูจะเอาวิธีนี้มาปลอมจารึก
ท่านคร๊าบ....คิดต่ออีกหน่อยเถิด ปลอมแล้วได้อาไรย ฮึ
ได้จารึกที่แสนพิลึก....แค่นั้นหรือ
ท่านต้องบอกด้วย ว่าเขาทำไปทำไม เอาสระพยัญชนะมาอยู่แถวเดียวกันน่ะ
ผมว่าท่านออกจะบุ่มบ่ามไปหน่อยเรื่องนี้ ประเภทว่า เห็นแล้วรีบตระครุบ

ไอ้สระพยัญชนะอยู่แถวเดียวกันน่ะนะ
ไม่ต้องไปดูที่โรงพิมพ์หมอบลัดเลดอก เปิดหนังสือภาษายุโรปทุกแผ่นก็เห็นแล้ว
และเห็นมาตั้งแต่รัชกาลพระไชยราชาธิราชเป็นอย่างน้อยด้วยแหละ
ทำไมต้องมารอจนเห็นโรงพิมพ์ เห็นตัวเรียงพิมพ์ จึงจะนึกอะไรเท่ๆ อย่างทั่นด๊อกระบุ

แล้วโรงพิมพ์พวกนั้น ยังไม่เรียงหนังสือจดหมายเหตุภาษาไทยด้วยสระพยัญชนะแถวเดียวกันเลย
รัชกาลที่ 4 ก็ทรงมีโรงพิมพ์ตั้งแต่ครองวัดบวร จนมาออกราชกิขขานุเบกษรัชกาลที่ 4 นานนมกาเล
ไม่เห็นจะเรียงตัวพิมพ์ด้วยสระพยัญชนะในแถวเดียวกันเลย

เป็นข้อเสนอที่เวียตมากๆ ไม่รู้คิดมาได้ไง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 09:40

แต่อันนี้เวียตกว่า
รอมาตั้ง 20 ปี ยังไม่มีใครเอาด้วยเรื่องการเรียกแบบศิลปะ ท่านก็เสนอใหม่
เมืองโบราณ ปีที่ ๒๕ ฉบับ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๔๒
----------------
การปรับเปลี่ยนยุคสมัยของพุทธศิลป์ ในประเทศไทยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะแยกพุทธศิลป์ออกจากรัฐศาสตร์และการเมือง
โดยนำไปไว้ภายใต้บริบทของพุทธศาสนา ซึ่งจากการศึกษาประติมานิรมาณวิทยาของพุทธศิลป์ในประเทศไทยแล้ว
ก็สามารถที่จะจำแนกออกตามความเปลี่ยนแปลงของพุทธศาสนาในแต่ละช่วงเวลา ได้ดังต่อไปนี้

๑) ลัทธิหีนยาน นิกาย มหาสังฆิกะ และมูลสรรวาสติวาท
ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๕ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๗)
๒) ลัทธิมหายาน
ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๖ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐)
๓) ลัทธิหีนยาน นิกายเถรวาท
ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๗ - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐)
๔) ลัทธิวัชรยาน
          ๑. ลัทธิวัชรยาน จากอินเดีย ชวา และจัมปา
          ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๘ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑)
          ๒. ลัทธิวัชรยาน จากกัมพูชา
          ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓)
          ๓. ลัทธิวัชรยาน ในประเทศไทย
          ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔)
๕) นิกายเถรวาท จากลังกา
ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖)
๖) นิกายสยามวงศ์
ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙)
๗) ธรรมยุตนิกาย
ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ปัจจุบัน (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ - ปัจจุบัน)
------------------------------
นำมาลงไว้เป็นอนุสาวรีย์แห่งปัญญา
ใครอ่านแล้วคิดยังไงไม่ทราบ แต่ผมอ่านแล้วขำกลิ้งครับ
ยกตัวอย่างเช่น จะปิดป้ายพระพุทธรูปปางลีลาองค์สำคัญที่ปัจจุบันอยู่ณ พระระเบียงคต วัดเบญจมบพิตร
เราก็ต้องเรียกว่า ศิลปไทยนิกายเถรวาทจากลังกา อายุประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
และเรียกอย่างนั้นกับพระนาคปรกไชยา ซึ่งมีจารึกบอกปีสร้างประมาณ 1820 กว่าๆ
โดยที่ทั้งสององค์ มีสาระทางศิลปะและความคิดที่ต่างกันอย่างน่าสนใจ แต่การเรียกของท่าน จะสลายความตากจนเกลี้ยง
ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นการเดินถอยหลังหรือไม่

ส่วนการที่ให้เรียกศิลปะตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ลงมาว่าศิลปะไทยธรรมยุตนิกาย
อันนี้ผมฝากทุกท่านช่วยหัวเราะด้วยนะครับ
ผมเอง ยังไม่เคยเห็นศิลปะแบบธรรมยุตเลย ใครรู้ก็ช่วยแนะนำด้วย

ที่นำทริดสะดีของท่านมาแถม ก็อยากจะบอกอ้อมๆ น่ะครับ ว่า ปล่อยแกเหอะ
ถ้าโชคดี อีกสิบยี่สิบปีข้างหน้า ก็มีของใหม่มาอีกแหละ....ชัวรรรรร์
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 11:59

ขอเสริมอีกนิดเรื่องเอาศิลปะมาอยู่ใต้ลัทธิศาสนา ซึ่งต่อไป น่าจะเป็นข้อเสนอระดับมนุษย์ต่างดาวสร้างปีระมิด
น้องๆ ที่อ่านเจอ พี่ขอเตือนว่า อ่านแล้วตรอง ตรองแล้วตาก ตากแล้วค่อยมาตรึก ว่า
เวลาเรากำหนดแบบศิลปะขึ้นมาหนึ่งชื่อ เช่นศิลปะเดียรถีย์ แบบมั่วซั่วตอนต้น กับแบบมั่วซั่วตอนปลาย
เราแบ่ง เพราะมีข้อแยกแยะชัดเจน มีไอเดียใหม่เกิดขึ้นในงาน
มีรูปแบบที่ต่างออกไปมากๆ หรือฝีมือช่างตลอดจนความนิยมในเทคนิคและวัสดุ ต่างกัน
และต้องมีจำนวนงานมาก พอรองรับปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงข้างต้นด้วย

แต่ของทั่นนักปลาด ท่านมาแนวใหม่ ท่านเอาลัทธิศาสนา ซึ่งเป็นสถิตย์ เกิดแล้วแทบจะไม่เปลี่ยนแปลง
มาเรียกการกระทำที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดของมนุษย์ คือการสร้างศิลปะ
คิดดูเถิด เถรวาท ถูกติงว่าไม่เหมาะแก่กาล เพราะแก้คัมภีร์แม้แต่หนึ่งตัวอักษร ยังไม่ได้
จะเอามาใช้เรียกพระพุทธรูป แถมจะลามมาเรียกอย่างอื่นที่เราสงเคราะห์เข้าเป็นศิลปะด้วยเช่นกัน
เป็นต้นว่ากะต่ายขูดมะพร้าว หรือหมู่เรือนไทย แม้จนหมู่กระฏีในสังฆาวาส ด้วยก็จะกระไรอยู่นา

ก็ศิลปะนั้น เกิดมาแล้วก็ดับไป เป็นของขึ้นกับรสนิยม ขึ้นกับอะไรมากมาย ที่ลัทธิศาสนาท่านพยายามกำจัด
เพราะศิลปะนั้น ใช้แล้วทิ้งครับ ไม่เคยทำซ้ำๆกันเกินกว่าชั่วคน หรืออย่างเก่งก็หนึ่งศตวรรษ

เป็นข้อเสนอที่พาให้น้องๆ ต้องงวยงงหลงไหล ไม่เป็นอันเข้าถึงแก่นแห่งศิลปะอันได้แก่สุนทรียภาพ
ส่วนอาจารย์ศิลป์ พีระศรีเอง ท่านก็อาจจะบ่นมาจากสวรรค์เบื้องบนว่า
ฉานทำนุสาวรีย์ตั้งมากมาย เพิ่งรู้ว่าฉานเป็นธรรมยุต
อันนี้พระเถระสายธรรมยุตบนสวรรค์ก็อาจจะงงกว่า บอกว่าธรรมยุตนี่ มีการสร้างศิลปะด้วยหรือ

ดังนี้แล้ว สาธุชนที่เป็นแฟนแน่นเหนียวของทั่นนักปลาด  คงจะเห็นพ้องต้องกันกับผม
ว่าข้อเสนอทั้งหลายของท่านผู้นี้ ล้วนเข้าสู่ระดับภูมิปัญญาขั้นสูง เลอลภจบพสุธา
ต้องใช้ความงมงายเท่านั้น จึงจะคล้อยตามได้ถึงกึ๋น

1 ที่เคยเรียกศิลปะเป็น ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี อู่ทอง สุโขทัย ลานนา อยุธยา รัตนโกสินทร์ ใช้ไม่ได้
ต้องเรียกศิลปะมอญ ศิลปะเขมร ศิลปะกลุ่มชนภาคใต้ ศิลปะไทย....
เอ่อ....20 ปีผ่านไป อีนี้ก็ห้ามเรียกอีกเระ ทั้งที่ท่านเองเหระ เป็นคนคิดค้นมาได้ คือท่านค้านแม้แต่ตัวเอง เอากะเขาดี้.....
ท่านบอกว่า ต้องนี่เลย....เจ๋งสุดแล้ว
ศิลปะลัทธิหีนยาน ศิลปะลัทธิมหายาน ศิลปะลัทธิหีนยานนิกายเถรวาท ศิลปะลัทธิวัชรยาน ศิลปะนิกายเถรวาทจากลังกา
บล่าๆๆๆๆๆๆ....อันหลังนี่ไม่ยักเรียกลัทธิแฮะ

2 ศิลปะสมัยใหม่ของไทย สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ปลูกฝังให้

3 ไม่มีงานศิลปะอยู่เลยในประวัติศาสตร์ไทย มีแต่งานช่างทั้งนั้น

4 พระจอมเกล้าปลอมจารึกพ่อขุนราม

เอาแค่พอนึกได้เท่านี้ก่อน

โอ้พระเจ้า ....ท่านเพิ่งฉลองเกษียณไปแหม็บๆ แปลว่าจะมีเวลาทุ่มเททางวิชาการอีกมาก
น้องๆ เอ๋ย ล้างหูรอรับทฤษฎีใหม่ๆกันนะครับ....

ไม่เชื่อเรา ....เขามาแน่

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 13:05

ขออภัยหากทำให้คุณพิพัฒน์ไม่สบายใจครับ แต่ผมไม่ได้สนับสนุนว่าจารึกหลักที่ ๑ ปลอมโดย ร.๔ นะครับ

เรื่องไหนผมเห็นว่าไม่แปลกผมก็ตั้งข้อสงสัย(อย่างเรื่องวรรณยุกต์) แต่ถ้าเรื่องไหนพันเข้ามาใกล้ส่วนที่พื้นฐานความรู้ผมจะพอวินิจฉัยได้ เห็นว่าไม่ถูกก็ขอแสดงว่าไม่ถูก โดยมิได้อคติแต่อย่างใด ถ้ามีใครเอาหินรัตนโกสินทร์ไปเทียบกับหลัก ๑ ด้วยวิธีการนี้ แล้วสรุปผลว่าเหมือนกัน ผมก็ต้องค้านอยู่ดี เพราะไม่เห็นด้วยกับวิธีการ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับผลครับ

ใครลองตั้งกระทู้ว่าหลัก ๑ ปลอมโดย ร.๔ ก็จะเห็นได้เอง  ยิงฟันยิ้ม

เรื่องการกำหนดอายุทางโบราณคดีโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์นั้น ขอลงรายละเอียดให้ฟัง เผื่อท่านผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคยมาอ่านเจอด้วยนะครับ ท่านผู้ชำนัญการอย่าำเพิ่งสวดว่าผมมาอวดขี้เท่อเลย

วิธีการกำหนดอายุที่ใช้กันมีหลายวิธี วิธียอดฮิตคือ Carbon Dating การกำหนดอายุโดยวัดปริมาณธาตุคาร์บอนในเนื้อวัตถุ
วิธีนี้ใช้หลักธรรมชาติว่า ในสิ่งมีชีวิต จะมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก ธาตุคาร์บอนส่วนมากจะอยู่ในรูปปกติ เรียกว่าเป็น C-12 แต่จะมี C-14 ปนอยู่ในปริมาณเล็กน้อย แต่เป็นสัดส่วนกับ C-12 ตายตัว

C-14 นี้เป็นธาตุกัมมันตรังสี จะเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา ด้วยอัตราการสลายตัวที่แน่นอนค่าหนึ่ง เป็นธรรมชาติของ C-14 เอง เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง สัดส่วน C-14 ต่อ C-12 จึงลดลงเรื่อยๆ เพราะไม่มี C-14 ใหม่มาเติมครับ

วิธีนี้จึงเป็นที่ยอมรับในการกำหนดอายุอินทรียสาร มีความแม่นยำสูงระดับหนึ่งดังที่คุณ pipat ได้ยกตัวอย่างไว้ในคคห.ต้นๆกระทู้นี้ แต่มีข้อระมัดระวังในการใช้คือ อายุที่ได้เป็นอายุนับจากวันที่สิ่งมีชีวิตนั้นตายนะครับ

วิธีเชิงวิทยาศาสตร์อื่นๆที่ใช้กำหนดอายุ ที่ได้เห็นก็มีการดูพิจารณาโดยทิศทางของขั้วแม่เหล็กโลก โดยธรรมชาติ ขั้วแม่เหล็กโลกจะค่อยๆเปลี่ยนทิศทางไปเรื่อยๆในรูปแบบที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาจนรู้อย่างแน่ชัด กรณีที่มีหินที่เกิดจากการแข็งตัวของลาวา ในเนื้อหินนั้นมีธาติเหล็กหรือโลหะที่มีคุณสมบัติเชิงแม่เหล็ก ผลึกแร่ในเนื้อหินนั้นจะเรียงตัวตามสนามแม่เหล็กโลก ณ เวลานั้น ถ้าหินนั้นยังอยู่ในที่ไม่ได้ขยับไปไหน หากเราตรวจสอบทิศทางของขั้วแม่เหล็กในหินนั้น เราก็จะสามารถสอบกลับไปถึงเวลาที่เกิดหินนั้นได้ครับ

ที่ยกบางวิธีมานี้จะชี้ให้เห็นว่า การกำหนดอายุโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้น เขาทำอย่างมีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ ผลที่ได้ ผิดถูกเรารู้ว่าความผิดพลาดอยู่ในระดับไหน หรือถ้าผิดหลุดโลกไปเลยจะเกิดเพราะอะไรได้บ้าง

ทีนี้มาดูระเบียบวิธีการวิจัยที่ได้ทำกับหลักที่ ๑ เสียดายที่ผมหาลิงก์รายงานการวิจัยไม่ได้ ขอโยงลิงก์กับไปกระทู้เก่า บทความของ อ.ชัชวาล บุญปัน มาแก้ขัดนะครับ คคห. 38 กระทู้นี้ครับ

ผู้วิจัยทำการ 2 อย่างดังนี้
1. ถ่ายภาพตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบต่างๆ แล้วเปรียบเทียบดูความแตกต่างของปริมาณแคลไซต์ที่ผิวหิน กับส่วนที่อยู่ด้านในของผิวนั้น (แล้วเรียกว่า expose กับไม่ expose)
2. ใช้เครื่อง Energy Dispersive X-rays Spectrometer มาตรวจวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุบนผิวของตัวอย่าง ทั้งส่วนที่ expose และ ไม่ได้ expose

ตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ นอกจากหลักที่ ๑ (ที่เชื่อว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือ ๒๐) ก็มีจารึกอีก ๓ หลักจากศตวรรษที่ ๒๐ กับ พระแท่นมนังคศิลาบาต ที่เชื่อวา่ร่วมสมัยกับจารึกหลักที่ ๑ โดยทั้งหมดเป็นหินตะกอน (หลัก ๑ เป็นหินทราย ตัวอย่างอื่นเป็นหินทรายบ้างหินชนวนบ้าง)

ทั้งสองวิธีที่นำมาใช้นี้ ไม่ใช่วิธีที่ใช้กันเป็นสากล ไม่มีใครใช้มาก่อน เมื่อไม่มีใครใช้มาก่อน (ท่านผู้ใดสงสัยประเด็นนี้ลองถามน้องกุ๊กเรื่อง archeological dating ดู) ก็เป็นหน้าที่ของผู้วิจัยที่จะพิสูจน์ให้เห็นก่อนว่าวิธีนี้สามารถใช้ได้ครับ

ต้องอธิบายให้ได้ว่าในกระบวนการที่ 1 ที่ส่องดูการลดลงของปริมาณคาลไซต์นั้น มีความหมายอะไรในทางวิทยาศาสตร์
และต้องอธิบายว่าปริมาณธาตุที่ลดลงจากการวิเคราะห์ในกระบวนการที่ 2 นั้น มันบอกได้ว่าจารึกไหนใหม่เก่าอย่างไร

แต่ไม่ว่าการลดลงของสารเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไร แต่กระบวนการพวกนี้เป็นกระบวนการสึกหรอทางธรรมชาติที่ไม่ได้กำหนดที่เวลาอย่างเดียว แต่อยู่ที่สภาพแวดล้อมในการเก็บรักษาด้วย หาไม่พวกปลอมวัตถุโบราณคงไม่ปั๊มงาน "ดูเก่า" ออกมาได้คึกคักขนาดนี้ครับ

ที่สำคัญ เมื่อไม่มีการเปรียบเทียบกับจารึกในยุคสมัยอื่นเลย (เพราะหาไม่ได้?) จะบอกได้อย่างไรว่าวิธีนี้ใช้ได้ รู้ได้อย่างไรว่าจารึกสมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ จะให้ผลที่ต่างจากนี้


นี่แหละครับประเด็นสำคัญ คือขาดกลุ่มควบคุมที่จำเป็นต้องมีในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

คำตอบจึงออกมาได้แค่ว่า "มีความเป็นไปได้ที่หลักที่ ๑ สร้างในสมัยสุโขทัย"

ซึ่งอันนั้นนักประวัติศาสตร์ก็บอกได้ดีกว่านั้นมาตั้งเป็นร้อยปีแล้วครับ  ยิงฟันยิ้ม

วิธีสอบอายุแบบนี้ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครใช้อยู่ดี ถึงแม้จะมีโบราณวัตถุรอคิวสอบอายุมากมาย และเชื่อว่าคงไม่ได้ใช้ไปตลอดกาลครับ  เศร้า

และถ้าใครจะทะลึ่งเอาวิธีนี้มาทดสอบกับจารึกสมัย ร.๔ ได้ผลว่าเหมือนกัน แล้วสรุปว่าหลัก ๑ สร้างสมัย ร.๔ อันนี้ผมก็โวยแหลกเหมือนกัน  โกรธ

ปล. กะลังจะโพสต์ เจอคคห.สุดท้ายคุณ pipat ต้องบอกว่า มาก็ไม่กลัวครับ ถ้ามาแปลกๆ เรามาชวนกันชำแหละก็ได้ครับ อิอิ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 14:26

ดื้อพอกับผมเลย หัวหน้าเผ่าเรานี่

เรามีหินสี่ก้อน ที่เชื่อว่าอายุราว 500 ปีขึ้นไป เราอยากรู้ว่าก้อนที่ 5 อายุราวๆ นั้นใหม
เราก็ดูว่า องค์ประกอบที่ผิว กับที่ร่อง เหมือนกันใหม ปรากฏว่าเหมือนกัน
แสดงว่า การปราบผิวให้เรียบ กับการเซาะร่องทำจารึกและลวดลาย ทำในคราวเดียวกัน
ผลออกมาเหมือนกันทั้ง 5 ก้อน
เราจึงกล้ายืนยันว่า หินก้อนที่ 5 อายุรุ่นราวคราวเดียวกับอีก 4 ก้อน คือทำเมื่อ 500 กว่าปีมาแล้ว
ตรงใหนครับ ที่ต้องเอาหินยุคอื่นๆ มาควบคุมการทดสอบครั้งนี้

คำตอบจึงออกมาได้แค่ว่า "มีความเป็นไปได้ที่หลักที่ ๑ สร้างในสมัยสุโขทัย"
ผมไม่สรุปอย่างนั้นครับ หัวหน้า
แต่สรุปว่า หินห้าก้อน นี่มาจากยุดเดียวกัน ถ้าเป็นยุครัตนโกสินทร์ก็เป็นทั้งห้าก้อนเลย
แล้วไม่ต้องเอาก้อนที่ 6 7 8 มาสอบ อยากสอบก็ไปทำเอาเอง

ส่วนบทความของอาจารย์ชัชวาลนั้น บอกตามตรงว่าอ่านแล้วไม่คล้อยตาม เพราะท่านมิได้ทำการทดลองซ้ำเพื่อหักล้าง
แต่โต้แย้งด้วยพรรณาความที่วกวน และไม่มีจุดหักล้างตรงๆ สักประเด็นเดียว และยังสงสัยด้วยว่า มีความรู้จริงแท้แค่ใหน(กันเชียว)
ยิ่งกว่านั้น ท่านยังอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งความมืด ที่ฝักไฝ่การปลอมจารึก
คิดดูเถิด มานึกสงสัยผลการทดลอง เพียงเพราะยูเนสโกประกาศจารึกนี้เป็นมรดกโลก กี่ปีล่ะที่อมพะนำอยู่
จึงขมีขมันออกความเห็น อย่างนี้เขาเรียกโหนกระแส ไม่ใช่นักวิชาการ
เป็นขุนพลอยพยักกับหัวหน้าแก็งค์ ที่โวยวายประเด็นนี้เหมือนกัน
ผมจึงยังไม่รับฟังแม้จะอ่านไปสามเที่ยวแล้ว

วิทยาศาสตร์ ต้องหักกันด้วยผลแล็บเท่านั้นครับ
บันทึกการเข้า
KoKoKo
อสุรผัด
*
ตอบ: 49


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 14:39

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นด้วยความรู้เท่าหางอึ่งของผมนะครับ

ที่ต้องใช้แท่งหินหลายๆยุคมาเปรียบเทียบกันก็น่าจะเป็นเพราะว่า เราอยากรู้ว่าวิธีการทดสอบแบบนี้มันใช้ได้ดีแค่ไหน ใช้ได้จริงรึเปล่า....เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นหรือไม่ครับ

เช่น

หินที่คาดว่าอยู่ในยุค ก มีหินชนิด A สี่แท่ง ชนิด B สามแท่ง ชนิด C อีกห้าแท่ง
หินที่คาดว่าอยู่ในยุค ข สมมติว่ามีแค่สามแท่ง
หินที่คาดว่าอยู่ในยคุ ค มีแปดแท่ง

การทดลองแบบนี้น่าจะได้เห็นการเปรียบเทียบข้อมูลสองชุด

คือ
1.  หินในยุคเดียวกัน แม้ชนิดจะต่างกัน แต่จะให้ผลการทดลองที่เหมือนกัน หรือไม่
2.  หินที่ต่างยุคกัน จะให้ผลการทดลองที่ต่างกัน หรือไม่

คราวนี้ค่าตัวเลขที่จะใช้เปรียบเทียบกัน จะเป็นปริมาณของอะไร (อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆ ตามหลักธรณีวิทยา)
สมมติว่า เป็นปริมาณสารสนิม x สารสนิม y และสารสนิม z หน่วยเป็น mg. (โจทย์สมมตินะครับ อย่าถือเป็นสาระ)

ก็เก็บข้อมูลให้ครบ แล้วเอาไปคำนวณสถิติง่ายๆ ใน ExCel ก็ดี ใน SPSS ก็ดี หรือใช้มือคำนวณก็ได้ แล้วแต่จะสะดวกนะครับ
(เหอๆๆๆๆ เขียนละเอียดเผื่อน้องๆ มัทธยมที่เข้ามาอ่านน่ะครับ) ยิงฟันยิ้ม

ถ้าข้อมูลเป็นไปตามสมมติฐานว่า

หินที่คาดว่าอยู่ในยุค ก มีหินชนิด A สี่แท่ง ชนิด B สามแท่ง ชนิด C อีกห้าแท่ง
หินที่คาดว่าอยู่ในยุค ข สมมติว่ามีแค่สามแท่ง
หินที่คาดว่าอยู่ในยคุ ค มีแปดแท่ง

ข้อมูลก็จะออกมาว่า
หินต่างชนิด A,B,C มีปริมาณสนิม x,y,z ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
แต่หินต่างยุค ก,ข,ค มีปริมาณสนิม x,y,z ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ที่ระดับความเชื่อมั่นเท่าไรก็ว่าไป

การทดลองแบบนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ อย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่า หินต่างยุค ก,ข,ค มันต่างกันจริงๆนะ หินต่างชนิดกัน A,B,C มันให้ผลออกมาเหมือนกันนะ แต่จะปีไหน ยุคไหน เมื่อไร ค่อยว่ากันอีกที

หรือการทดลองที่ผ่านมา ทำแบบนี้แล้วถ้าทำแล้ว ก็ควรเชื่อกันหรือเปล่านะครับ
หรือว่าเขาทำกันละเอียดกว่านี้ครับผมแค่อยากทราบระเบียบวิจัยเท่านั้นเองครับ

อยากทราบจากใจจริง

KoKoKo




บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 14:50

ก็ถูกต้องอยู่ครับ ที่ว่าวิทยาศาสตร์ต้องว่ากันที่ผลแล็บ

แต่ที่เราใฃ้ผลแล็บอย่างเดียวแบบ C-14 ได้ เพราะ C-14 เป็นกระบวนการที่ทุกคนยอมรับ มีการทดลองเปรียบเทียบ ทางทฤษฎีก็ชัดเจนไม่มีใครแย้ง กำหนด "ช่วง" อายุได้

เอาตัวอย่างเข้าแล็บ วัดเปอร์เซ็นต์ C-14 เทียบ C-12 เปิดชาร์ตปุ๊บ ตอบได้เลย
ทำแบบนี้ได้เพราะ Carbon Dating เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับแล้ว เราเป็นผู้ใช้เครื่องมือ ไม่ได้คิดค้นเอง


แต่กรณีวิธีวัดอายุจารึกที่ทำกันครั้งนั้นต่างไป

วิธีเป็นวิธีที่ไม่มีใครเขาทำกัน เป็นสมมติฐานใหม่ กำลังจะเสนอเครื่องมือใหม่ในการวัดอายุหินสลักด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน

โดยปกติแล้วจะให้ยอมรับกันเป็นสากลได้ ขนาดว่าเอาเข้าแล็บเปรียบเทียบจารึกต่างยุคต่างสมัยต่างชนิดหินต่างฝีมือสลัก ได้ผลแล้วเขียนเปเปอร์ออกมา คนยังไม่ยอมรับกันง่ายๆ ต้องเอาไปพิสูจน์กันหลายรอบ จนแ่น่ใจกันว่าวิธีนั้นได้ผลจริง เขาถึงยอมรับกัน

แต่นี่ แม้แต่ผู้ตั้งสมมติฐานก็ไม่ยังเคยทำการทดสอบเลยสักครั้ง ใช้จารึกจากยุคสุโขทัยมาเทียบเท่านั้น แล้วสรุปเลยว่าต้องสร้างสมัยสุโขทัย

เห็นสี่ขาก็ว่าแมวแบบนี้ วงการวิทยาศาสตร์ก็เหวอสิครับ

เหมียนกับวิธีที่อ.พิริยะ imply ว่าหลัก ๑ สร้างโดย ร.๔ โดยเอาเหตุการณ์สมัย ร.๔ มาสวมเหตุการณ์ในจารึกมิมีผิด

ถ้าผมปล่อยผ่านไป ทั้งที่เห็นอยู่อย่างนี้ จะอ้างตนเป็นผู้เป็นกลางอย่างสุจริตได้อย่างไรล่ะครับ  ยิงฟันยิ้ม

ปล. คคห.คุณ kokoko โผล่มาตอนจะโพสต์พอดี ตอบสั้นๆได้ว่า ไม่มีการทำ เพราะผู้วิจัยบอกว่าไม่มีจารึกหินแบบเดียวกันต่างสมัยให้เปรียบเทียบครับ อยากจะร้องไห้จริงๆ  ร้องไห้
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 17:54

เรื่องสอบอายุหินนี่ ตกลงคุยกันคนละเรื่องแล้วละครับ
สำหรับผม พอใจแล้วที่บอกได้ว่าหินห้าก้อน มีองค์ประกอบทางเคมีที่สอดคล้องกัน
ฟังได้ว่าเป็นของรุ่นราวคราวเดียวกัน ผมไม่ต้องรอถึง 99.9999999999999999999 % ครับ
เว้นแต่คุณเครซี่ชี้ออกมาได้ว่า ปลอมหมดนั่นแหละ .......จึงจะหงายท้อง

คุณเครซี่กลับไปตั้งแง่ว่าวิธีที่เขาทำ ว่ายังไม่มีการรับรอง อันนั้นก็ปล่อยนักธรณีวิทยาเขาถกกัน
ถ้าถกกันจบ แล้วชี้ออกมาว่า การทดลองนี้ใช้ไม่ได้ ผมก็จะถอนการสนับสนุนข้อนี้
แต่คงเห็นนะครับ ว่าผมใช้ผลแล็บเพื่อเสริมความเห็น การวิเคราะห์ทางเอกสารก็ยังเดินต่อ
ไม่งั้นก็สรุปเปรี้ยงว่าเชื่อนักวิทย์....สิ จบ
(อันที่จริง ฝ่ายเสนอน่าจะหาเงินทำแล็บนี้แทนนะครับ จะได้จบๆ ไป)

อ้อ คาร์บอนสิบสี่นี่ ดูเหมือนเขาเลิกใช้เดทติ้งโบราณวัตถุแล้วนะครับคุณหัวหน้าเผ่า
ส่วนที่บอกว่านักวิทย์บางคน ยังไม่รับรองผล ท่านเพิ่งยกมาคนเดียว เป็นนักวิทย์จริงหรือไม่ ก็ไม่รู้ด้วยสิ

คนอื่นๆ เขาว่ายังไงครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 19:07

อ้า... เอาไงเอากันครับ ผมอยากให้ถอนหลักฐานข้อนี้ออก ให้นักธรณีวิทยาเขาไปคุยกันมาให้เป็นเรื่องเป็นราวดีกว่านี้ครับ

ผมว่าหลักฐานอื่นที่ชี้ว่าเป็นจารึกสมัยสุโขทัยมีเจ๋งๆกว่านี้ถมเถไปครับ

อย่าง co-relation ของเนื้อความในหลัก ๑ กับหลักอื่นๆอีกหลายหลัก ถ้า ร.๔ ท่านจะทรงให้ทำขึ้นมาได้ก็ต้องไปอ่านพวกนั้นก่อน หรือไม่ก็ต้องปลอมมันทั้งยวง

โอ้... ปวดกบาลครับ ไม่รู้ว่าท่านจะทรงว่างขนาดนั้นหรือเปล่า
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 14 ก.ย. 07, 00:13

4 คำพรรณาเมือง
จารึกกล่าวถึงสภาพเมืองสุโขทัย ครบทั้งสี่ทิศ และกล่าวถึงกลางเมืองด้วย
ทั้งหมดนี้ ถ้าพระจอมเกล้าทรงแต่งขึ้นใหม่ ทรงได้ข้อมูลจากใหน....ฮึ

ตรงนี้ขอเล่าเรื่องโบราณสถานในป่าเสียหน่อย ผมก็ไม่ทันเห็นสภาพสุโขทัยวันนั้น หรือวันที่จอมพลป. สั่งขุดค้น
ต้องจำลองเหตุการณ์เทียบกับวันที่ผมตามคุณอนันต์ วัฒนานิกรเข้าไปในเมืองโบราณยะรัง
เราจอดรถไว้นอกหมู่บ้าน คุณอนันต์พาเข้าไปพบผู้ใหญ่ แล้วเราก็ออกเดินกันเป็นเวลาร่วมชั่วโมง เข้าไปในป่าเงาะ ต้นสูงชลูด
ทางเดินแทบจะไม่มี ต้องแหวกหาทางเอง เหมือนเข้าป่ายังไงยังงั้น
ต้นไม้ขึ้นหนาแน่น ถ้าไม่รู้ทางเป็นไม่รู้ว่าควรเดินต่อทางใหน จนเมื่อยขบและเหนื่อยหอบนั่นแหละ
คุณอนันต์ก็บอกว่า ถึงแล้ว
พวกเรางงอยู่ตรงนั้นครับ เพราะมองไปรอบๆ ก็เหมือนกับทิวทัศน์ที่เดินผ่านมา ไม่มีตรงใหนบอกได้ว่าอะไรเป็นอะไร
จนคุณอนันต์ชี้ที่กองอิฐที่เรายืนอยู่ว่า นั่นแหละ ทรากเมือง....555555

ชาวบ้านเห็นบริเวณนี้ มีทรากของโบราณ ก็เลยไม่ยอมแผ้วถาง จะด้วยเหตุอะไรไม่รู้
คนนอกหลงเข้ามา อย่าว่าแต่ทำรังวัดเลยครับ กลับออกไปยังท่าจะแย่
แล้วเมืองสุโขทัย ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่กี่ร้อยปีก่อน
ดูรูปจากเที่ยวเมืองพระร่วง กลางเมืองตรงวัดพระธาตุ ต้นไม้งาม สูงกว่ายอดพระธาตุเสียอีก
ทรากอิฐทรากปูนทับถมสูงมาถึงสองสามเมตร

เจ้าฟ้าใหญ่ จะใช้วิชาอะไร สามารถพรรณนาสภาพของเมืองพื้นที่กว่าสองตารางกิโลเมตร
ได้ละเอียดละออ ถูกต้องทั้งโครงสร้าง เรียกว่า สิ่งที่กล่าวในจารึก เป็นมีของจริงให้เห็นกะตาทั้งนั้น

ที่น่าประหลาดใจก็คือ จารึกระบุถึงสรีดภงส์
ก็ต้องเรียนถามท่านนักปลาดว่า จะทรงหาวิธีการใด จึงเดินทางไปเห็นฝายมหึมานอกเมืองออกไปตั้งหลายกิโล
เพียงเพื่อมาระบุไว่หนึ่งคำ....คำเดียวเท่านั้น
แล้วคำว่าสรีดภงส์ก็เป็นคำจำเพาะ จะให้หมายถึงอะไร นอกจากฝายเลี้ยงเมืองก็ยังนึกไม่ออก
คนที่คิดคำนี้ จะต้องชำนาญผังเมือง ไม่งั้นก็ต้องเห็นเมืองเมื่อยังสมบูรณ์

เป็นไปไม่ได้ ที่คนเห็นป่ารกในปี 2376 จะบรรยายสภาพเมืองได้แม่นยำขนาดนี้
เว้นแต่เกิดเมื่อห้าร้อยปีก่อน และยังไม่ตายจนรัชกาลที่ 3

เอ .....ทริดสะดีนี้ พอสู้ท่านด๊อกได้ใหมหนอ
คือโหลนพ่อขุนราม มาช่วยพระจอมเกล้าปลอมจารึก....ไม่ได้การ
จะต้องไปแต่งนิยายเพิ่มอีกเรื่องเสียจะดีกว่า

กริ๊กๆๆๆๆ จุ๊กกรู๊ เสียงร้องด้วยความปื้มมม์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 14 ก.ย. 07, 09:45

นอกจากสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ท่านต้องทรงจำลองผังเมืองสุโขทัยให้ถูกต้อง เผื่อนักโบราณคดีมาขุดค้นภายหลัง ได้ไม่ร้องว่า..อ้าว ทำไมไม่เห็นเหมือนในศิลาจารึก
ท่านจะต้องทรงรวบรวมและบัญญัติศัพท์อีกมากมาย ที่ไม่มีในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอีกด้วย   เพื่อจะใส่ลงในจารึก  อย่างละคำสองคำ
เป็นคำที่ชาวบ้านหรือแม้แต่เจ้านายขุนนางสมัยรัชกาลที่สามที่สี่ ก็ยังแปลไม่ออก
อาจารย์มหาฉ่ำและอาจารย์มหาแสง ต้องอุทิศเวลาค่อนชีวิต มาแปลศัพท์พวกนี้  แล้วพบว่ามันมีความหมายทั้งนั้น
นักภาษาศาสตร์จนถึงปัจจุบันก็ยังเที่ยวหากันมารวมรวมไว้    อย่างที่บอกไว้ย่อๆในกระทู้เก่า  ว่ามันเป็นศัพท์จริง   ยังมีเค้าหลงเหลือให้เห็นในภาษาถิ่น จริงๆ
ทั้งหมดนี้ทรงกระทำเพื่ออะไร  เพื่อเผื่อไว้ในวันขึ้นครองราชย์   หรือเพื่อเซอร์จอห์น เบาริง งั้นหรือคะ
 ฮืม ลังเล
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง