เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 23184 ใครสร้างจารึกพ่อขุนรามคำแหง
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 15:11

ก่อนฟิลิบส์ สแตร็นคิดวิธีกำหนดอายุศิลปะด้วยลวดลายและแบบศิลปะขึ้นมาได้
ทุกคนในโลกวางอายุบายนไว้ก่อนอังกอร์ครับ เพราะมันหักพังเหลือเกิน
สแตร็นใช้วิธีที่คุณเครซี่อาจจะถือว่าซับเจ๊กถีบเหลือเกิน คือเอารูปร่างมาเทียบกัน
ที่ละชุด ทีละส่วน จนได้กุญแจไข คือการออกแบบทับหลังและลายเสาอิงกรอบประตู
สร้างตารางอายุที่แม่นยำราวกะเดินไปคุยกับช่างมา
(อันนี้ หลังจากหาจารึกที่แน่ชัดมายันกันแล้วนะครับ....ฮิฮิ)

ในทางช่าง ระบบเชื่อตา ก็ยังสำคัญอยู่มาก
ไม่งั้นพิพิธภัณฑ์ที่ซิดนี่ย์ จะยอมซื้อพระพุทธรูปทวาฯ องค์หนึ่งตามคำแนะนำของดอกเตอร์
ทั้งๆ ที่ในตลาดของเก่า เขารู้กัน ว่าใครสลัก.....555555

เรื่องอายุรอยกร่อนนั่น หลักง่ายๆก็คือของที่อายุใกล้กัน สนิมก็ต้องเหมือนกัน
(สรุปแบบเด็กๆนะครับ)
ทีนี้ สิ่งที่น่าฟังก็คือ เขาเลือกหินเนื้อไกล้เคียงกันมาสอบ
เมื่อผลออกมาว่า ทั้งสี่หลัก ให้ค่าความเก่าที่ไกล้เคียงกัน ก็เป็นอันสรุปได้ว่า
หลักที่หนึ่ง ไม่ควรใหม่กว่าชาวบ้านเขาตั้งห้าร้อยปี
ช่องว่างเวลาระหว่าง พ.ศ 1900 กับ 2400 มันคือ 500 ปีนะครับ มันห่างกันเสียจนยากจะเอาซับเจ่กถีบมากล่าวหา

คุณเครซี่คิดต่อไปอีกว่า นักธรณีที่ทำการทดลองไม่รู้เรื่องโบราณ นักโบราณก็ไม่เก่งทางแล็บ
อันนี้ฟังแล้วแปลกครับ เพราะการทดลองเขาทำกันระดับจุลทัศน์ เรื่องเก่าใหม่ เรื่องสไตล์ มองไม่เห็นอยู่แล้วละครับ
อันที่จริง ผลจากแลบเพียงข้อนี้ข้อเดียว ก็น่าจะพอ
และอาจารย์ประเสริฐเอง ท่านก็เป็นนักคณิตศาสตร์ระดับโลก เป็นวิทย์มากกว่าศิลป์เห็นๆ
ท่านเชื่อ ผมก็เชื่อตามละครับ.....ฮิฮิ
(คุณอาชาคงไม่ทราบว่า ท่านเชื่ออะไร ยากกว่าคนธรรมดามากแค่ใหน)

เมื่อสามสิบปีก่อน ก็เคยมีกรณีหาอายุคล้ายกัน
คุณกริสเวิล์ด เธอเสนอว่าพระเชียงแสนทั้งหมด ไม่มีองค์ใหนเก่ากว่าพ.ศ 2000
ฝ่ายที่ค้านก็รุมสิครับ เพราะรูปแบบทางศิลปะมันฟ้องว่าเก่ากว่านั้น อย่างน้อยก็ต้องก่อน 1900
สุดท้าย คุณกริสเวิล์ด ซึ่งเป็นมหาเศรษฐี ควักกระเป๋าสั่งตรวจสององค์ ด้วยเทคนิคคาร์บอนสิบสี่
ผลออกมาคือ เทคนิคนี้มีค่าแปรผันถึง + / - 200 ดังนั้นเมื่อวัดได้ 1960 ก็อาจจะเป็น 1760 หรือ 2160
สรุปว่าวัดไม่ได้
สำหรับเทคนิคนี้ เขาไม่ได้ระบุค่าผันแปรมา ก็คงไม่มีนัยยะสำคัญกระมัง

ส่วนการวัดด้วยตาเนื้อ เราจะลองก็ไม่ผิดกติกาครับ ไปดูจารึกจริงสักสองชั่วโมง
ดูเทคนิคการเซาะร่อง โดยเฉพาะตรงรอยหยัก และหัวโค้ง
จดบันทึกร่องรอยตามที่เห็นอย่างละเอียด
แล้วรีบบึ่งรถเมล์ไปวัดโพธิ์ และวัดพระแก้ว หาจารึกเรื่องตำรายา และโคลงภาพรามเกียรติ์
งัดเอาบันทึกมาสอบ ก็จะเห็นอะไรที่ควรเห็น

อย่างไม่ซับเจ๊กถีบครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 16:41

2 หิน
มาจำลองเหตุการณ์ต่อ
ตามทริดสะดีท่านดอกฯ จารึกมาปลอมขึ้น เมื่อพระองค์ครองราชย์แล้ว
ผมก็ขอรับช่วง สับท่านจากตรงนี้เลยละกัน

หมายความว่า จะต้องทำขึ้น ระหว่าง 2394 ไปจนถึงก่อนอีตาเบาฯ จะเข้ามา
หมายความต่อไปว่า ทำขึ้นหลังทรงธุดงค์ไปยังเมืองสุโขทัยแล้ว 18-22 ปี
ตรงนี้ละครับ ปัญหา
หลังกลับฮ่องกง ตาเบาก็สั่งพิมพ์หนังสือของตน ในนั้นมีสำเนาจารึกด้วย
พิมพ์เสร็จ หนังสือก็เข้ามาเมืองไทย ผมเดาจากข้อมูลอื่นว่า เห็นจะทรงสั่งซื้อเป็นหลายสิบเล่ม
ท่านคงไม่ทราบว่า ทรงสั่งซื้อหนังสือต่างๆ เป็นชุด เพื่อพระราชทานโอรสมากมาย
หนังสือนี้ จึงแพร่หลายอยู่ในเมืองไทยมากมายมาแต่ครั้งกระโน้น

แต่ทุกคนเป็นใบ้กันหมด ทุกคนเห็นว่า การที่พระเจ้าแผ่นดินสยาม "เล่นตลก" กับฝรั่งคนหนึ่ง
เป็นเรื่องบ่อมิไก๊ ทุกคนหุบปากหมด ใครมีหนังสือก็ไม่เปิดดูจารึกปลอม
และถึงเห็นก็เงียบ
หมอบลัดเลจอมจมูกไว ก็ไม่ระแคะระคายการลวงโลกครั้งนี้ พระปิ่นก็เช่นกัน
เป็นงั้น?ฮืมฮืม?

ทำไมคนอื่นจะต้องรู้ด้วย
ต้องรู้เพราะเราปกครองด้วยระบบกษัตริย์ครับ ไม่ใช่ระบบมาเฟีย
ประการแรก เมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ทำอะไรงุบงิบไม่ได้
หากทรงพระประสงค์จะได้หินสักก้อน ไม่ใช่สั่งปุ๊ป หินก้อมาวางที่ท้องพระโรงนา
นั่นมันอาละดินกับตะเกียงวิเศษ

หินก้อนที่ทำจารึก ไม่ใช่หินสามานย์ เป็นหินอย่างดี ทั้งประวัติศาสตร์หาได้ยังไม่ถึงห้าก้อน
คิดหรือครับ ว่าหากรัชกาลที่ 4 จะปลอมจารึก ต้องเจาะจงเลือกหินอย่างนี้มาทำ
คงชี้หินแถวๆวัดโพธิ์นั่นแหละครับ ......จบ
ต่อให้ทั่นด๊อกเอง หากจะกลับชาติไปปลอมจารึก ท่านก็ต้องหาหินไกล้มือนั่นแหละ
ท่านจะไปเอาความรู้เรื่องหินอาไรย์ เหมาะแก่การจารึกมาจากใหน
อยุธยาทั้งอาณาจักร สี่ร้อยสิบเจ็ดปี ยังไม่เคยมีจารึกตกทอดมาถึงบางกอกเลยสักชิ้น
ต้องชายไทยอายุหกร้อยปีแหละครับ จึงจะปลอมจารึกให้ด๊อกทั่นได้
พระจอมเกล้าฯ ปีนั้นพระชนม์เพียง 48-50 เศษ ขาดไปห้าร้อยกว่าปี ก็จะรู้ว่าจารึกควรจะปลอมอย่างไร
ท่านดอกจะรู้หรือว่า ปลอมให้เหมือน ต้องหินแบบนี้(เท่านั้น)

ท่านคงลืมนึกไปว่า ในวันนั้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าศิลาจารึกปรากฏอยู่ในการรับรู้ของชาวไทย
อ้อ หากจะมี ก็จารึกภาษาเขมร และพระแท่น ที่กล่าวกันว่า นำลงมาด้วยกัน

......เอ แล้วทำมะไร ด๊อกเตอร์ไม่สงสัยหนอ
ว่าสองชิ้นนั้นก็ปลอมเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 16:51

 ฮืม มานั่งท้าวคาง... ทำตาปริบๆ..ฟังท่านผู้รู้ถกกันต่อไป.. ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 17:56

ชอบรูปของคุณตูก้าจริงๆ
----------------------
ตามหลักของผม ถ้าปลอม ก็ปลอมหมด ไม่มีใครมีสิทธิพิเศษ
แปลว่า ต้องทรงหาหินมา 3 ก้อนมหึมา

เป็นพระเจ้าแผ่นดินนี่ก้อ ลำบากอยู่นา ยิ่งในระบบของสยาม
หินทั้งหลาย จะมาจากหัวเมืองสุโขทัยได้ ก็โดยพระบรมราชโองการ
เจ้าเมืองสุโขทัย จะงุบงิบส่งหินมาเงียบๆ ถึงท่าเตียน ยกแบกไปบ้านตาเพ็ง เคาะกันโป๊กๆ โดยไม่มีใครรู้เห็น
เป็นไปไม่ได้ครับ คนเป็นหลายร้อย ที่ต้องอยู่ในขบวนการลวงโลกครั้งนี้

เอ้า ....เอาเป็นว่า ทำได้ละกัน พระจอมเกล้าได้หินที่ทรงปรารถนามาแล้ว อยู่บ้านท่านเพ็งแล้วเรียบร้อย
ทีนี้จะผลิตอย่างไรล่ะ
ความจริงเจ้าของทริดสะดีลวงโลก ท่านต้องเป็นคนจำลองเหตุการณ์นา .....ไม่ใช่ผม
ผมสิต้องเป็นฝ่ายชี้ ว่าข้อเสนอมีพิรุธอย่างไร ไม่ใช่มาเล่นเกมส์ลวงโลกไปด้วย
เอาเป็นว่าพักเรื่องหินไว้พลางก่อน มาต่อเรื่องที่ 3

3 วัตถุประสงค์
ข้อนี้ดอกท่านทำหรูมาก ลากมาเข้าเรื่องล่าอาณานิคมได้อย่างงดงาม นี่เสียดายที่ทวิภพภาค ร. 4 เขาสร้างเสร็จไปแล้ว
หาไม่จะปรึกษาให้เขาใส่ประเด็นนี้เข้าในนั้น อาจจะทำฮอลี่หวูดซึมไปเล๊ยยยย์

ท่านเสนอว่า
"การที่พระองค์จะลดค่าระวางปากเรือ จังกอบ ให้เหลือว่าละ 1000 บาท จากวาละ 1700 บาท
ตามที่อังกฤษขอมาในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง จึงมีมาแต่เมื่อโบราณว่า " เจ้าเมืองบ่อเอาจังกอบในไพร่"


ตรงนี้ขำสนิทเลยครับท่าน
เบาริ่งเข้ามาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2397 ถึงวันที่ 8 เมษายนก็จากไป สัญญาจึงทำขึ้นระหว่างนี้
เราก็จะได้วันที่ที่แน่นอนของการปลอมจารึกว่า ต้องหลังจากนี้ แน่ๆ
เพราะก่อนนี้ ไม่มีใครรู้ว่า อังกฤษจะเสนออะไร และจะได้อะไร พระจอมเกล้าจึงยังปลอมจารึกไม่ได้
ต้องหลังทำสัญญาแล้วนั่นแหละ จึงทรงปลอมได้ตรงตามความต้องการของด๊อกเตอร์
แต่กว่าสัญญาจะมีผลบังคับ ก็ต้องรอแฮรี่ ปัก กลับเข้ามา เพื่อลงสัตยาบัน
ทรงมีเวลาปลอมจารึกประมาณ 1 ปี

ทีนี้ละ ตอนสนุกละท่าน พอปลอมเสร็จ แทนที่จะเผยแผ่แก่ชาวไทย ที่เป็นผู้รับสาส์น
ในรูปของตำนานแบบเรื่องเรวดีศรีนพมาศ
พระองค์กลับพระราชทานจารึกปลอมนี้ออกไปให้เสอร์เบาริ่งพิมพ์กลับเข้ามา
หนังสือนี้ พิมพ์เสร็จปี 2401 ....เอ่อ มันจะไม่ประดักประเดิดไปหน่อยหรือ
ผ่านไปแล้ว สามจะสี่ปีเต็มๆ กว่าจะให้ชาวสยามยอมรับในการเปลี่ยนแปลง
แถมทรงเดิ้นมาก ทรงทำเหมือนคนไทยทุกวันนี้เลย

ร้านขายกระปิ ตราเด็กพุงโร บอกกะผมว่า กระปิเราเป็นที่ยอมรับกันทั้งประเทศ เพราะเราจ้างฝาหรั่งมาขาย
มันไปสะปี๊กที่ใหน คนก็ซื้อกันตรึม เมืองไทยอะนะ คนไทยพูดไม่มีใครเชื่อหรอก ต้องให้ฝรั่งพูด
ถ้าไม่ได้ฝรั่งจริง เอาฝรั่งปลอมก็ได้ ....555555

สรุปว่า ชาวสยามของพระองค์ ไม่แตกตื่นเรื่องภาษีที่หายไป เพราะมีจารึกปลอมมาสอนไว้
คงท่องกันทั้งบางกอกเลยสิ....บ่อเอาจะกอบๆ ๆๆๆๆ ๆๆๆๆๆๆ
ซึ่งอันที่จริง ไม่มีใครเดือดร้อนนะครับ งานนี้ชาวบ้านไม่เกี่ยว ชาวเมืองก็ไม่เกี่ยว
ภาษีนี่เข้าท้องพระคลัง คนเดียวที่ควรจะต้องหลอกให้เชื่อคือพระจอมเกล้าเท่านั้น
เพราะเป็นรายได้ของพระองค์

....555555555
ไม่รู้คิดได้ไงย...มุขนี้ ยกนิ้วให้เลย ด๊อก
พระจอมเกล้าปลอมจารึกเพื่อหลอกพระจอมเกล้าให้ยอมรับความเปลี่ยนแปลง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 20:28

เอามาฝากคุณอาชาผยองค่ะ
http://www.praphansarn.com/webboard2/QAview.asp?id=2401

ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร
ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน

"ทางวิทยาศาสตร์เขาได้พิสูจน์แล้ว เอาหินไปดูรอยขูด พบว่าทำในสมัยสุโขทัย ไม่ใช่เพิ่งทำขึ้นเมื่อสมัย ๑๕๐ ปีมานี้แน่ ๆ"

"การเอาสระพยัญชนะมาไว้บรรทัดเดียวกัน ไม่ได้เป็นอิทธิพลของฝรั่ง แต่รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ไมเคิล วิกเคอรี ซึ่งเป็นคนแรกที่ออกมาบอกว่า เป็นการเขียนโดยได้รับอิทธิพลของฝรั่ง หมายความว่าต้องคบฝรั่งแล้ว ตอนหลังก็ออกมายอมรับว่า ที่อินเดียก็มีการเอาสระพยัญชนะไว้บรรทัดเดียวกันเหมือนกัน นอกจากนั้นยังมีสระลอย อย่างคำว่า อีก สระ -ี ก็อยู่บรรทัดเดียวกับพยัญชนะในจารึกสมัยพระยาลิไท และยังมีในจารึกหลักอื่นอีก เช่น จารึกวัดพระยืน เชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๙๑๓) ก็วางสระ -ื ไว้ในบรรทัดเดียวกันกับพยัญชนะ พ่อขุนรามคำแหงสามารถเอาตัวเชิงพยัญชนะขึ้นมาอยู่ในบรรทัดเดียวกับพยัญชนะตัวธรรมดาได้โดยไม่ต้องคบฝรั่ง ทำไมจะต้องรอจนคบกับฝรั่งจึงจะนำสระวางไว้บรรทัดเดียวกับพยัญชนะเล่า

"จารึกหลักที่ ๑ ไม่ได้เล็กว่าหลักอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน หลักที่ ๑ สูง ๑๑๑ เซนติเมตร หลักที่ ๔ สมัยพระยาลิไทสูง ๒๐๐ เซนติเมตร แต่หากมาดูเรื่องความกว้าง จะเห็นว่าจารึกหลักที่ ๑ กว้างกว่า คือ กว้างด้านละ ๓๕ เซนติเมตร หลักที่ ๔ กว้างแค่ ๓๐ เซนติเมตร ดังนั้นจะบอกว่าจารึกหลักที่ ๑ เล็กกว่าหลักอื่นๆ จึงไม่ถูกต้องนัก จารึกในสมัยเดียวกันที่เล็กกว่าจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็มี เช่น สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จารึกไว้ในประเทศลาว เป็นต้น จะไปอ้างเรื่องขนาดจารึกว่าเล็กไปใหญ่ไปคงไม่ได้ เพราะขนาดของจารึกในแต่ละยุค แต่ละแห่ง ก็ทำขึ้นมาให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะเขียน

"ชื่อของพ่อขุนรามคำแหงนั้น ก็สงสัยกันมานานแล้วว่าพระองค์ท่านชื่ออะไร ความจริง สุโขทัยใช้ชื่อพญารามกับพญาบาลคู่กันมาหลายคู่ สุโขทัยมีธรรมเนียมเอาชื่อของปู่มาเป็นชื่อของหลาน ธรรมเนียมนี้ไม่ได้มีแต่สุโขทัย พงศาวดารน่านก็มี กรีกโบราณก็มี สมัยพญาลิไทก็มีจารึกว่า น้องชื่อพญาราม แสดงว่าเขาเอาชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ก็หมายความว่าท่านชื่อพญาราม เมื่อไปรบชนะก็เลยเรียกว่า รามผู้กล้าแข็ง หรือรามคำแหง ที่กล่าวว่าไม่มีผู้พูดถึงพ่อขุนรามคำแหงเลยก็ไม่เป็นความจริง ในจารึกหลักที่ ๓๘ (พ.ศ. ๑๙๔๐) ทางอยุธยาเขายังบอกเลยว่า ต้องการจะขัดสีมาให้ร่มเย็นเป็นสุขเหมือนพญารามราช และ ชินกาลมาลีปกรณ์ (พ.ศ. ๒๐๗๐) ของล้านนา ยังกล่าวถึงท่านว่า พระยารามราชเป็นผู้ทรงนำศาสนาพุทธ ลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาในประเทศไทย และ ยวนพ่าย ของอยุธยาก็สรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงสามารถเท่ากับรามราชบวกกับฤาไทราช เพราะฉะนั้นคนเขาก็พูดถึงพ่อขุนรามคำแหงกันไปทั่ว ไม่ใช่ว่าไม่มีใครพูดถึง

"ตรีบูรสามพันสี่ร้อยวา จารึกของอยุธยาก็บอกว่า "อยุธยา ไพโรจน์ใต้ตรีบูร" แล้วอยุธยามีกำแพงสามชั้นไหม ก็มีชั้นเดียว ทำไมเขียนได้ ในจารึกเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ก็เขียนว่า กำแพงเชียงใหม่เป็นตรีบูร ความจริงก็มีชั้นเดียว เพราะฉะนั้นตรีบูรแต่เดิมก็อาจจะเป็นสามชั้น แต่ต่อมาอาจมีชั้นเดียวก็พอ ไม่จำเป็นต้องสร้างถึงสามชั้น ตรีบูรอาจจะหมายถึงกำแพงที่แข็งแรงก็ได้ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นกำแพงสามชั้น เหมือนที่เราใช้คำว่าหลังคา ซึ่งมีที่มาจากหลังคามุงด้วยหญ้าคา ต่อมาหลังคามุงด้วยสังกะสี เราก็ยังเรียกว่าหลังคาอยู่ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มุงด้วยหญ้าคาแล้ว ตรีบูรในจารึกสุโขทัยก็ไม่จำเป็นต้องมีสามชั้น

"พระพุทธรูปที่กล่าวถึงในจารึกหลักที่ ๑ ดูตามรูปแบบศิลปะแล้ว ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับศิลปะสมัยสุโขทัยหรือร่วมสมัยกับพ่อขุนรามคำแหงเลย เพราะว่ามันผ่านมา ๗๐๐ ปี แล้วมีการซ่อมใหม่หมด ทำให้ไม่เห็นว่าเป็นศิลปะแบบสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระพุทธรูปสมัยพระเจ้าลิไทเองก็มีตั้งมากมายที่กลายเป็นรูปแบบสมัยอยุธยายุคกลางเพราะมีการซ่อมแซมภายหลัง

"ช้างของขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ชื่อ มาสเมือง เหมือนช้างของรัชกาลที่ ๒ คือมิ่งเมือง และช้างของพ่อขุนรามคำแหง ชื่อ รูจาครี ซึ่งไม่เหมือนเป็นชื่อช้างในสมัยนั้น ถ้าไปดูในจารึกหลักที่ ๒ ช้างของมหาเถรชื่อ อีแดงเพลิง ซึ่งฟังเป็นสุโขทัย ความจริงแล้วเขาอ่านจารึกไม่ถูก อีแดงพุเลิง หรือ อีแดงเพลิง เป็นชื่อของกษัตริย์ที่มาชนช้าง ไม่ใช่ชื่อช้าง ท้าวอีจานในจารึกหลักเดียวกัน มีชื่อท้าวอีจานเป็นกษัตริย์ เช่นเดียวกัน ส่วนที่ว่า รูจาครี คล้ายกับชื่อ คีรีเมฆ ซึ่งเป็นชื่อช้างเผือกสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น ที่จริง รูจาครี เป็นชื่อตระกูลช้างลักษณะดี แต่คนไทยนิยมเอาชื่อตระกูลช้างมาตั้งเป็นชื่อช้าง ตัวอย่างเช่น ตระกูลช้างฉัททันต์ ก็มาตั้งเป็นชื่อพระยาช้าง

"การสรุปว่าไม่มีการใช้คำว่า หมากม่วง หมากขาม ในสมัยสุโขทัย เพราะอ่านจารึกไม่ทั่ว อันที่จริงก็ใช้กันมานานแล้ว มีปรากฏอยู่ในจารึกสุโขทัย สมัยพระเจ้าลิไทก็พูดกันว่าหมากม่วงเหมือนกัน

"พนมเบี้ย พนมหมาก คนไทยใช้เบี้ยเป็นเงินตรามาถึงรัชกาลที่ ๕ เวลาไปทำบุญเขาเอาเบี้ยไปกอง ใครมีเท่าไรก็กองไว้ เวลาจะถวายพระก็นับว่าเท่าไร สมัยนี้เวลาทอดผ้าป่าก็ยังเอาแบงก์ใบละ ๕๐๐ ใบละ ๑,๐๐๐ ปักเป็นพุ่มไม้ เวลาเอาไปถวายพระก็ยังเรียกเป็นกอง การเอาเบี้ยหรือเงินในสมัยนั้นไปกอง เป็นพนมเบี้ยพนมหมาก ก็ไม่เห็นว่าจะผิดประหลาดตรงไหน

"การจารึกว่าเมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แม้สุโขทัยจะไม่มีแม่น้ำใหญ่ผ่านกลางแต่คูข้างถนนก็มีปลา แม้แต่พวกจ้วงก็พูดเหมือนกัน แต่อาจจะเปลี่ยนเป็นกุ้งหรืออะไรอย่างอื่น ที่ตีความผิด เพราะอ่านจารึกผิด อ่านแล้วไม่เข้าใจ

"เราไม่เคยเห็นหลักฐานเลยว่า มีตัวหนังสือไทยมาก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง ทั้ง ๆ ที่มีคนไทยอยู่ตั้งแต่ยูนนาน ผ่านลงไปถึงกลันตัน จากอินเดีย คนไทยอาหม มาไทยใหญ่ ไทยลื้อ ลาว กาว พวกญวน มีคนไทยอยู่เต็มไปหมด แต่ก็ไม่มีจารึกและไม่มีหลักฐานว่ามีลายสือไทยก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงเลย

"ถ้าทำขึ้นมาเพื่อปกป้องอาณานิคมจากฝรั่ง ทำไมต้องเขียนด้วยตัวอักษรที่ใครก็อ่านไม่ออก ฝรั่งก็อ่านไม่ออก ไทยก็อ่านไม่ออก รัชกาลที่ ๔ เองเวลาทรงพระราชนิพนธ์ไปถึงฝรั่งก็ยังทรงแปลผิดตั้ง ๑๐ กว่าแห่งเป็นอย่างน้อย แล้วก็มีบางตอนที่คนไทยยังอ่านไม่ออกและยังไม่เข้าใจจนบัดนี้ ในเมื่อไม่มีใครอ่านออกแล้วจะเอาไปโฆษณากับฝรั่งได้อย่างไร

"ทางวิทยาศาสตร์นั้นเขาได้พิสูจน์แล้ว เอาหินไปดูรอยขูด ผิวของหินถูกแดดถูกฝนมานานมาก ก็จะเกิดปฏิกิริยา มีออกไซด์มากกว่าผิวที่เพิ่งถูกแดดถูกฝนมาไม่นานนัก ปรากฏว่าความเปลี่ยนแปลงของผิวหิน รอยขูด พอ ๆ กับจารึกสมัยสุโขทัยหลักอื่น ๆ เช่น หลักที่ ๔ ซึ่งเป็นหินแบบเดียวกัน เราก็สรุปว่า รอยขูดนี้ทำในสมัยสุโขทัย ไม่ใช่เพิ่งทำขึ้นเมื่อสมัย ๑๕๐ ปีมานี้แน่ ๆ เพราะถ้ามาขูดใหม่ ส่วนที่สัมผัสกับบรรยากาศเพียง ๑๕๐ ปีจะมีออกไซด์น้อย พูดง่าย ๆ คือเหล็กถูกฝนใหม่ ๆ สนิมเหล็กก็จะมีน้อย ถ้าอยู่นานก็จะมีมากขึ้น ทางวิทยาศาสตร์เขาสรุปแล้วว่ามันเป็นสมัยสุโขทัยแน่นอน เพียงแต่บอกไม่ได้ว่าอยู่รัชกาลไหน เพราะตามหลักสถิติ ตัวเลขที่คำนวณได้ จะต้องบวกหรือลบด้วยจำนวนปีที่คำนวณได้ตามหลักสถิติ เช่น รายได้ของครอบครัวชาวอีสานเฉลี่ยปีละ ๒,๐๐๐ บาท บวกหรือลบด้วย ๒๕๐ บาท รายได้จริงอาจจะเป็น ๑,๗๕๐ บาทถึง ๒,๒๕๐ บาทเป็นต้น"

โดย : ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร - - - 20/1/254

เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร


"ไม่ได้ทำในสมัยพ่อขุนรามคำแหงแน่นอน และไม่ได้ทำในสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วย"

"เรื่องภาษาและอักษรเป็นเรื่องของการวิวัฒนาการ ไม่มีต้นไม่มีปลาย การบอกว่าใครคนใดคนหนึ่งคิดขึ้นมานั้นไม่ถูกต้อง แต่อาจจะเป็นลักษณะตำนานเพื่อจะอธิบายเรื่องต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้รู้ในสมัยนั้นว่าจะอธิบายและแต่งตำนานอย่างไร จารึกหลักนี้มีพิรุธในตัวเอง คือ ๑๗ บรรทัดแรกจารึกไว้ว่า ก*ชื่อนั้น พ่อกูชื่อนี้ จึงทำให้สันนิษฐานว่า พ่อขุนรามคำแหงเป็นคนจารึก แต่พอบรรทัดที่ ๑๘ จารึกว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี" คำว่า "เมื่อชั่ว" หมายถึง พ่อตายแล้ว แสดงว่าเขียนหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงแน่นอน ก็ชัดเจนว่าบรรทัดที่ ๑๘ เป็นต้นไปไม่ได้ทำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง อย่างไรก็ตามผมก็ยังไม่เชื่อว่า ๑๗ บรรทัดแรกเป็นของสมัยพ่อขุนรามคำแหง แม้จะจารึกว่ากูอย่างนั้น ก*อย่างนี้ การใช้สรรพนามอื่นเพื่อเล่าเรื่องเป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลรูปแบบหนึ่ง หมายความว่า "กู" อาจไม่ได้เป็นพ่อขุนรามที่จารึกก็ได้

"ประการที่ ๒ เป็นไปไม่ได้ว่าในสมัยสุโขทัยมีการใช้สระผสมแล้ว สระ เ-ือ เป็นสระผสม ประกอบด้วย เ- -ื -อ คำว่า เดือน เรือน เมือง ทองเหลือง ที่ปรากฏในจารึกหลักที่ ๑ จึงไม่น่าจะเป็นฝีมือของคนในสมัยนั้น เพราะในสมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ. ๒๐๕๐) คนไทยยังไม่รู้จักเอาสระ -ื มาใช้เป็นสระผสม แต่ใช้สระ เ- สระ -ิ สระ -อ มาผสมแทน เช่น เมือง ก็จะเขียน เ-ม -ี -ง หรือบางทีก็ใช้ เ-ม -ี -อ-ง แม้ว่าจารึกบางหลัก มีการใช้รูปสระ -ื แล้วก็ตาม เช่น คำว่าชื่อ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ ชิ หรือ ชี เมื่อไล่ดูจารึกทั้งหมด จะพบว่าแม้แต่รูปสระ -ื ก็โผล่มาให้เห็นช่วงหลัง ๆ ไม่กี่ตัว เท่าที่ผมค้นดูมีอยู่ตัวเดียวเท่านั้นที่เอารูปสระ -ื มาเป็นสระผสม อยู่ในประมาณ พ.ศ. ๑๙๕๐ จน พ.ศ. ๒๐๐๐ กว่าแล้วยังไม่ปรากฏว่าเอามาใช้เลย (ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะปริวรรตตัวอักษรโบราณถูกหรือไม่) แสดงว่ากว่าจะวิวัฒนาการเอาสระ -ื มาใช้เป็นสระผสมก็หลังจากนั้นอีกมาก

"หากคนไทยรู้จักใช้สระ เ-ือ ที่มีสระ -ื ผสมตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง ทำไมจารึกหลักอื่นๆ จนถึงปลายอยุธยาจึงไม่เอารูปสระ เ-ือ มาใช้ ต้นฉบับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่เขียนขึ้นในสมัยพระนารายณ์จนปลายสมัยอยุธยาก็ยังไม่ใช้ ก็แสดงว่ายังคิดไม่ออก วิวัฒนาการทางภาษายังไปไม่ถึงก็เลยใช้สระอื่นๆ แทนไปก่อน จนจวนจะถึงสมัยรัตนโกสินทร์แล้วยังไม่มีการใช้สระ เ-ือ อย่างเป็นมาตรฐาน จนใกล้สมัยรัชกาลที่ ๔ เข้าไปทุกที จึงปรากฏการใช้สระ เ-ือ อย่างมีแบบแผนเป็นมาตรฐาน แต่สระ เ-ือ กลับปรากฏอยู่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จารึกหลักที่ ๑ จะทำขึ้นมาในสมัยรามคำแหง

"ผมยังไม่แน่ใจว่าทำในสมัยไหน แต่ไม่ใช่สมัยพ่อขุนรามคำแหงแน่นอน และไม่เชื่อว่าจะเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วย เพราะท่านได้จารึกถึงสิ่งที่คนในสมัยนั้นยังไม่ทราบ (เรามารู้จักหรือเห็นภาพสุโขทัยจากหลักฐานและข้อค้นพบภายหลัง) จนสามารถสร้างภาพให้แก่เมืองสุโขทัยได้อย่างถูกต้อง ท่านรู้ได้อย่างไร เช่น ในจารึกบอกว่ามีลานเหมือนสนามหลวง อาจจะใช้สำหรับประกอบพิธีหรือกิจอื่น ๆ อยู่ระหว่างประตูเมืองกับศูนย์กลางของเมือง แต่ลานนี้เลิกใช้ไปหลังจากนั้น ๑๐๐ ปีและสร้างวัดคร่อมแทน กว่าท่านจะเสด็จไปที่กรุงสุโขทัยก็ไม่หลงเหลือร่องรอยอะไรที่บ่งบอกว่าตรงนั้นเคยเป็นลานที่ว่ามาก่อน และยังมีอีกหลายเรื่องที่เราเพิ่งมาค้นพบภายหลังด้วยหลักฐานและข้อมูลใหม่ ๆ หากรัชกาลที่ ๔ ทรงทำหลักศิลาจารึกหลักนี้ขึ้นมาจริง ก็น่าสงสัยว่าท่านทราบเรื่องเหล่านี้มาก่อนได้อย่างไร อย่างไรก็ตามอาจมีผู้ทักท้วงว่าท่านศึกษามาก รู้มาก อาจจะรู้มาก่อนแล้วก็เป็นได้

"อย่าลืมว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรทุกชนิด "คน" เป็นคนประดิษฐ์ขึ้นมา คนที่ไม่เคยสมบูรณ์แบบ เมื่อเขียนสิ่งใดออกมาเป็นตัวหนังสือ ไม่ว่าจะเขียนบนหิน แผ่นทอง บนกระดาษ หรือผนังส้วม เขาย่อมมีความต้องการ มีวัตถุประสงค์อะไรสักอย่าง เมื่อจะเอามาใช้ต้องพิจารณา มีการวิพากษ์ก่อนที่จะดึงมาใช้ และสำนึกอยู่เสมอว่าใช้ในบริบทอะไร หากยังไม่แน่ใจก็ไม่ควรฟันธงว่าเป็นของสมัยไหน หากไม่ใช่อันหนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นอีกอันหนึ่ง ในกรณีนี้ไม่ได้ทำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และผมก็ไม่คิดว่าทำในสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วย"


โดย : พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ - - - 20/1/2547
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 20:42

มนุษย์เดินดินกินข้าวแกงต้องมาสวมหัวโขนยักษ์มาสู้กับพระแบบนี้ มันอึดอัดใจจริงโวย   รูดซิบปาก
พึมพำเสร็จแล้วก็ต้องเดินหน้าลุยล่ะครับ ม่ายงั้นอาจโดนข้อหาล้มมวย  ยิงฟันยิ้ม

1. ไม้บรรทัดของพระเจ้ารามราชอาจยาวไม่เท่ากับไม้บรรทัดสมัยใหม่ อันนี้จริง เพราะไม่มีใครหาไม้บรรทัดพระเจ้ารามราชเจอ แต่ในทางกลับกัน ในเมื่อหาไม่เจอมันก็แปลว่าไม่มีใครยืนยันได้ว่ามันยาวไม่เท่ากันสินะกั๊บ ใช่บ่กั๊บ แล้วพระยาสุโขทัยสั่งรื้อตรีบูรสร้างใหม่ ใครจะไปรู้ได้ ท่านอาจสร้างทับของเดิมเด๊ะๆเลยก็ด้าย  ยิงฟันยิ้ม สรุปได้ว่าเรื่องนี้ใช้ยืนยันไม่ได้ทั้งทางบวกและทางลบครับ

2. หิน - แหม่... ถ้าจะทำให้เชื่อมันก็ต้องได้สิครับ หินเนื้อดีแบบนี้หายาก แต่ก็หาได้ไม่ใช่หรือครับ

ขอแถมล้วงเรื่องเก่ามาหน่อย ผมไปขุดฐานข้อมูลจารึก เอาจารึกอื่นๆที่เขาเอามาเปรียบเทียบวัดอายุกัน ขอเชิญท่านทั้งหลายดูเอาเองดีกว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นครับ
- หลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนราม
- หลักที่ ๔๕ จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด
- หลักที่ ๓ จารึกนครชุม
- จารึกชีผ้าขาวเพสสันดร

ข้อมูลจากฐานข้อมูลว่า หลัก ๑ เป็นหินทรายแป้งเนื้อละเอียด, หลัก ๓ เป็นหินชนวนสีเขียว, หลัก ๔๕ หินทรายแป้ง แทรกสลับกับหินดินดาน ส่วนจารึกชีผ้าขาวฐานพระพุทธรูปเป็นหินชนวนสีเขียวครับพ้ม ทั้งหมดใหม่กว่าหลัก ๑ ราว ๑๐๐ ปี + ครับ
อันนี้ต้องให้คุณพิพัฒน์ชมเชยทีมงานพิสูจน์เอง เพราะผมไม่สันทัดเรื่องนี้  รูดซิบปาก

3. คิดได้คำตอบนึง แฮ่ๆ ถ้าคุณพิพัฒน์จะสวดชยันโต สวดใส่หัวยักษ์นะครับ ผมอยู่ข้างในเป็นมนุษย์ ไม่เกี่ยวด้วย หัวยักษ์บอกว่า พระเจ้าแผ่นดินจะทรงลดจกอบเพราะฝรั่งมาต่อรองก็แย่สิครับ ถ้าทำตามอย่างมหาราชในอดีต อันนี้งามครับ

ยักษ์กบาลแยกแน่งานนี้  ขยิบตา

ปล. อ.เทาชมพูครับ กระทู้เก่าของเรารวมมิตร มีคคห.ครบสารพัดสำนักเลยครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 22:17

กลับไปอ่านกระทู้เก่าแล้ว  ลืมไปเสียมาก
หลายปีก่อนโน้น คุณอาชาผยองมีฤทธิ์ระดับญาติสนิทของทศกัณฐ์ทีเดียว 
เหนื่อยมากเวลาหาคำตอบมาให้คุณ   ยิ้ม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 22:26

การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีนั้น ผมคิดว่าจินตนาการเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้
สามพันสี่ร้อยวาในจารึก อาจจะเท่ากับ หกพันเมตรเศษๆ ของปัจจุบันก็เป็นได้
คือ 1 วา เท่ากับ 1.8 เมตร (ไม่ใช่ 2 เมตรตามเกณฑ์สากล)
จะไขคดีนี้ ก็ต้องไปอ่านตำนานสร้างเมืองเก่าๆ เช่นเมืองเชียงใหม่ ว่าตำนานระบุตัวเมืองเท่าไหร่
เทียบเมตรปัจจุบันได้เท่าไหร่ ถ้าจำไม่ผิด ดูเหมือนได้ 1 ต่อ 1.8 เหมือนกัน
แต่ตัวเลขนี้ ไม่ได้ใช้ชี้ว่าจารึกปลอมไม่ปลอม ใช้ชี้คนยกขึ้นมา ว่าไม่รอบด้าน

ตัวเลขนี้ กลับชี้ว่าในปี 2376 ที่พระภิกษุเจ้าฟ้าใหญ่ นำศิษย์ไปยังเมืองสุโขทัยนั้น
ท่านไม่มีวันทราบขนาดของเมือง
ในวันนั้น จะหาตัวเลขนี้ ท่านจะต้องให้ศิษย์เดินเท้าวัดระยะเท่านั้นครับ ทำวิธีอื่นไม่ได้
แล้ววันนั้น ท่านเครซี่คิดว่าท่านทำได้หรือ.....ฮึ ภายในไม่กี่วันที่ประพาส

จากกระทู้ก่อน ผมพบว่า การแก้ข้อหาคุณด๊อก ง่ายกว่าข้อหาเสริมจากคุณเครซี่แฮะ
คือคุณเครซี่เธอมาแนว ไม่เข้าใครออกใคร ครือไม่เอากะใครเลย
และฟันธงว่า จารึกหลักที่ 1 นี่ ใครสร้างก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้

ยกเว้นพ่อขุนราม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 22:38

พ่อขุนรามก็ได้ครับ ไม่ผิดกติกา ยิงฟันยิ้ม

ยกเว้นช่วงท้าย เพราะส่วนนั้นมันจะแจ้งเกินไป

ผมเพียงชี้ให้ดูว่า ถ้าเราจะบอกว่าจารึกนี้พ่อขุนรามสร้าง เราต้องยอมรับว่ามีข้อบ่งชี้หลายประการที่ไม่มีคำอธิบายอื่นใด ยกเว้นเพียงว่าพ่อขุนท่านทรงอัฉริยภาพสูงส่งล้ำคนในยุคเดียวกัน ขนาดที่ว่าไม่มีใครในยุคนั้นตามทัน ระบบการเขียนในหลัก ๑ บางจุดยังดีกว่าระบบที่ใช้ในปัจจุบันด้วยซ้ำไป (เรื่องอักษรนำ)

แปลก แต่ต้องยอมรับว่าอาจจะ จริง ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 22:38

เรื่องรหัสพ.ศ. ค.ศ. ที่ถอดออกมาว่ามีความหมายอะไรซ่อนอยู่  ปัจจุบันมีใครติดใจประเด็นนี้อยู่หรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 22:46

เรื่องนั้นเป็น conspiracy theory ครับ

อ.พิริยะชี้ว่าเรื่องสวมลงกับเรื่องสมัย ร.๔ ได้
แต่เข้ากันได้ กับมีหลักฐานยืนยัน เป็นคนละเรื่องกัน
ให้ปักใจเชื่อก็ทำใจไม่ลง เพราะไม่มีข้อบ่งชี้ที่หนักแน่นพอ
ให้รีบปฏิเสธ ก็โดนฝึกมาไม่ให้ทิ้ง 0.01% แห่งความเป็นไปได้
ทำใจลำบากครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 22:48

เรื่องหิน
ประเด็นก็ไม่ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดอยู่ที่การหาหินยากหรือง่ายดอก วิธีที่นักวิทย์สองท่านใช้ศึกษานั้น น่าสนใจ
หลักการก็ง่ายๆ เพียงว่า เอาหินที่เนื้อไกล้กัน อายุไกล้กัน มาศึกษา
เขาพบว่าองค์ประกอบที่ผิวกับที่ร่องตัวอักษร เหมือนกัน
แปลว่าการทำผิวให้เรียบเพื่อการสลัก กับรอยอักษรทำในช่วงเวลาเดียวกัน
การพิสูจน์นี้ ชี้ได้ว่า
1 จารึกพ่อขุนราม ไม่ได้เพิ่งมาสลักทีหลังบนหินเก่ากว่า
2 อายุของจารึกหลักนี้ สอดคล้องกับจารึกอื่นๆ ที่นำมาศึกษา ซึ่งกำหนดอายุไว้ในสมัยสุโขทัย

ผลการพิสูจน์นี้ ถือว่าจบในตัวเอง ไม่ต้องอ้างหินก้อนอื่น ยุคอื่น
เว้นแต่คุณเครซี่จะบอกว่า ทุกก้อนปลอมเมื่อช่วงเวลาเดียวกัน
หรือ เอาหินเมื่อวานนี้ มาศึกษาด้วยวิธีเดียวกัน
แล้วผลออกมาว่าหินใหม่ มีองค์ประกอบเหมือนหินโบราณ

ถ้าเป็นอย่างนั้น จึงจะล้มผลการศึกษานี้ได้ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 22:59

ปัญหาเรื่องวิธีทดสอบหินอีกประการหนึ่งคือ ไม่มีการนำจารึกจากยุคอื่นมาเทียบด้วยครับ

ผลการวิเคราะห์บอกได้แค่ว่า ผู้วิเคราะห์เห็นว่าหลักที่ ๑ ดูคล้ายจารึกช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อีก ๓ หลัก โดยที่สองหลักในนี้เป็นหินชนวนซึ่งมีเนื้อต่างจากหลัก ๑ ที่เป็นหินทราย

ในวงการวิทยาศาสตร์เองก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้นะครับ

ผมยังคิดว่า ผลการวิเคราะห์นี้ ใช้บ่งชี้อะไรไม่ได้เลย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 23:00

สงสารคนที่ถูกสอนให้ยึด 0.001 % จริงๆ
แต่กรณีนี้ มันเป็นการละเล่นทางปัญญาครับ มันไม่ใช่การพิสูจน์เพื่อสั่งประหาร
เพื่อด่าละก้อ ...ใช่

ข้อตะขิดตะขวงใจที่ว่า ทำไมจึงมีความถูกต้องมากมายนักในหลักที่ 1
ดูเหมือนมันจะเข้าเกณฑ์ 100 % อยู่แล้วนี่ครับ ความถูกต้องมันผิดตรงใหนหรือ

หรือหลักการของ 0.001 % ก็คือ ถ้าถูกหมด แปลว่าผิด ที่ถูกต้องคือต้องผิดมั่งถูกมั่งปะปนกัน

งงวุ้ย......
ไปอ่านกฏหมายตราสามดวงสิครับ
ฉบับหลวงอ่านทานสามครั้ง ฉบับปิดทอง อ่านทานสองครั้ง ฉบับรองทรง อ่านทานครั้งเดียว
ยกเรื่องนี้ ไม่ใช่ให้คุณครซี่ท้วงต่อว่า ทานกันขนาดนั้น ยังมีผิดเลย

มิได้
จะบอกเพียงว่า เราเองมีระบบตรวจทานความูกต้อง ไม่มั่วซั่วทำอะไรก็ได้อย่างข้อเสนอที่ผมถกอยู่ตอนนี้
แล้วถ้าระบบมันดี จะมีจารึกสักหลักที่ถูกต้อง มิได้เชียวหรือ
จารึกปราสาทพระขรรค์ ก็เป็นที่เลื่องลือในความสมบูรณ์แบบทางด้านภาษา
จารคกเสาธรรมจักแห่งอู่ทอง ก็เช่นกัน เป็บาลีที่สูงส่ง

แล้วจารึกพ่อขุนราม ด้านละสามสิบกว่าบันทัด บันทัดละไม่กี่ตัว
คุมงานดีๆ ทำไมจะถูกต้องไม่ได้.....อ้อ ผมเห็นมีเครื่องหมายตก และเติมอยู่ในจารึกนี้ด้วย


มิใช่หรือ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 23:09

"ผลการวิเคราะห์นี้ ใช้บ่งชี้อะไรไม่ได้เลย"
ได้มีการพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ตามที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเสนอแนะไว้ในคราวประชุมใหญ่ ฯ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2532 โดยมอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์ประจำกรมศิลปากร และกรมทรัพยากรธรณี ทำการวิจัยและพิสูจน์โดย นำศิลาจารึกที่ทำด้วยหินทรายแป้ง ชนิดเดียวกับศิลา ฯ หลักที่ 1 และถูกกรำแดดกรำฝน คือศิลาจารึกวัดพระบรมธาตุนครชุม เมืองกำแพงเพชร ( จารึกหลักที่ 3 ) ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ ( จารึกหลักที่ 45 ) พระแท่นมนังศิลาบาตร และจารึกชีผ้าขาวเพสสันดรวัดข้าวสารมาเปรียบเทียบกัน ผู้วิจัยได้ใช้แว่นขยาย รังสีอัลตราไวโอเลต และรังสีอินฟาเรด กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เป็นเครื่องมืสำคัญในการพิสูจน์ เมื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์หลาย ๆ จุดบนตัวอย่างแต่ละตัวอย่างแล้ว หาค่าเฉลี่ยพบว่า ความแตกต่างขององค์ประกอบที่ผิวกับส่วนี่อยู่ข้างในศิลาจารึกหลักที่ 1 หลักที่ 3 และหลักที่ 45 มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน จึงมีการสรุปผลการพิสูจน์ว่า
" ผลปรากฏว่า ผิวของหินตรงร่องที่เกิดจากการจารึกตัวอักษร มีปริมาณแคลไซด์ ลดลงมากใกล้เคียงกับผิวส่วนอื่น ๆ ของศิลาจารึกหลักที่ 1 จนสามารถมองเห็นป็นชั้นที่มีความอตกต่างได้อย่างชัดเจน แสดงว่เป็นการจารึกในช่วงเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันกับการสลักก้อนหินออกมาเป็นแท่งแล้วขัดผิวให้เรียบ ไม่ใช่เป็นการนำแท่งหินที่ขัดผิวไว้เรียบร้อยในสมัยสุโขทัย แล้วนำมาจารึกขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ "
http://www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=21067

ถ้าการศึกษาขนาดนี้ ใช้บ่งชี้อะไรไม่ได้
แล้วข้อสังเกตอะไรเกี่ยวกับความถูกต้องเกินไปของภาษาในจารึก
เราจะเรียกว่าอะไรดีครับ
และสมควรนำมาหักล้างการศึกษาของคนที่อ่านจารึกมาทั้งชีวิต
กับคนที่เป็นเหมือนห้องสมุดเดินได้
ที่ออกมาค้านทุกประเด็นของดอ๊กเตอร์คนนั้น และเธอก็ไม่เคยตอบกลับอะไรทั้งนั้น

บางทีผมจะเชิญข้อสังเกตเรื่องความถูกต้องที่ผิดพลาดของจารึกหลักที่ 1
ไปถามทั้งสองท่านดู

แต่....คิดแล้ว เราก็อย่าไปสนใจ 0.001 % เลย
เพราะเขาก็ไม่ทำข้อเสนอแก่สาธารณะอยู่แล้วนี่นา

ฮึ่ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.102 วินาที กับ 19 คำสั่ง