เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11]
  พิมพ์  
อ่าน: 48711 !! พ่อขุนรามคำแหงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยสมัยสุโขทัย ในด้านใดบ้าง ??
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 12:59

ตามมาอ่าน..ซึมซับความรู้ใหม่ๆไว้ เพราะไม่มีความรู้ด้านนี้เหมือนกันเพียงแต่ชอบอ่าน..(เดินไปหยิบหมอน ลงนอนริมชาน ฟังต่อ) ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 15:58

ติงทิ้งติงขว้าง....
ถ้ามิใช่พระพรหม งั้นควรเป็นองค์ใดฤา วานบอก
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 18:12

สวัสดีท่านผู้รู้ทุกท่านครับ
มาด้วยจุดประสงค์เดียวกับคุณตูก้าครับ ยิ้มกว้างๆ
(ฉับพลันก็ออกไปข้างนอก ควักกล้องดูดาวมาส่องการเสวนา)
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 20:08

ไม่ได้เข้ามาเยี่ยมเยียนเรือนไทยนานมากแล้ว กราบสวัสดีอาจารย์ทุกท่านที่ยังคงเป็นเสาหลักทางวิชาการให้กับเด็กน้อยจนถึงทุกวันนี้ เห็นกระทู้นี้น่าสนใจก็เลยคิดจะลองตอบดูบ้าง ผิดถูกก็ว่ากล่าวกันเถิดครับ

บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 20:14

เห็นว่ากำลังเปิดประเด็นเรื่องพระวัชรสัตว์กันก็เลยลองค้นคว้ามาให้ชมบ้าง


คำว่า วัชรสัตว์ มาจากคำว่า วัชร (Vajra) แปลว่า ศูนยหรือความว่างเปล่า และ สัตว์ (Sattva) แปลว่า ความจริง (Essence) รวมความแล้วแปลว่า ความจริงแท้คือศูนยตา 


ในญี่ปุ่นเรียกพระองค์ว่า คองโกสัตว์ (Kongosatta) จีนเรียกว่า Woziluosazui ธิเบตเรียกว่า Rdo-rje-sems-dpah
ในพุทธศาสนามหายาน พระวัชรสัตว์มีหลายสถานภาพ ในฐานะของพระธยานิโพธิสัตว์ จัดว่าเป็นทายาทของพระธยานิพุทธอักโษภยะ ในฐานะของธยานิพุทธ  ได้รับยกย่องว่าเป็นหัวหน้าของธยานิพุทธทั้ง 5


ตามคัมภีร์อภิธาโนทธรตันตระ (Abhidanottara tantra) ถือว่าพระองค์ทรงเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าทั้งมวล  และนิกายโยคาจารย์จัดเป็นธยานิพุทธองค์ที่ 6 ประจำขันธ์ที่ 6 คือใจ (Manas)  และประทับอยู่เป็นเอกเทศ ไม่ได้ประดิษฐานไว้ตามทิศของสถูปเช่นเดียวกับธยานิพุทธองค์อื่นๆ แต่มีศาสนสถานเป็นของตนเอง การบูชาจะกระทำอย่างเป็นความลับ



บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 20:15

นิกายสวาภาวิกะ (Svabhavika) ในประเทศเนปาลยกย่องวัชรสัตว์ว่าเป็นพระอาทิพุทธ และนิกายดับปะ (นิกายหมวกแดงใหม่)

ในประเทศธิเบตก็ยกย่องให้วัชรสัตว์เป็นพระอาทิพุทธเจ้าด้วย

ในประเทศเนปาล วัชรสัตว์ไม่ค่อยปรากฏในรูปประติมากรรม แต่จะปรากฏในจิตรกรรมขนาดเล็ก และในฐานะพระอาทิพุทธเจ้า มักปรากฏเป็นเปลวไฟรูปลึงค์ บนเสี้ยวพระจันทร์ที่มีดอกบัวรองรับ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระอาทิพุทธประทับบนเขาพระสุเมรุ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 20:17

   พระวัชรสัตว์โดยทั่วไปจะปรากฏเพียงเศียรเดียว มี 2 กร แต่ถ้าปรากฏในรูปพระอาทิพุทธจะมี 4 พักตร์ 2 กร  ทรงเครื่องกษัตริย์ ซึ่งทำให้คล้ายคลึงกับพระโพธิสัตว์มากกว่าพระธยานิพุทธ มักจะประทับนั่งในท่าวัชรปรยังก์ (Vajraparyanka) หรือธยานสนะ (Dhyanasana) และลลิตาสนะ บนปัทมาสน์

    มีรูปธยานิพุทธอักโษภยะบนมงกุฏ ทรงวัชระในพระหัตถ์ขวาในระดับพระอุระ และทรงกระดิ่งหรือฆัณฏาในพระหัตถ์ซ้ายในระดับพระโสณี ลักษณะกริยาของพระวัชรสัตว์ถูกอธิบายไว้ในคัมภีร์ต่างๆมากมายเช่น ธรรมโฆษสังกราหะ (Dharmakosasangraha) สาธนมาลา  และในคัมภีร์อัฒวายวัชรสังกราหะ (Advayavajrasangraha) ได้กล่าวถึงพระวัชรสัตว์ว่า


“พระวัชรสัตว์ทรงมีกำเนิดมาจากคาถา “หุม” (Hum) ทรงมีพระวรกายสีขาว พระองค์มี 2 กร มีพระพักตร์เดียว ทรงวัชระและฆัณฎา ทรงแสดงออกซึ่งพระอาการดุดันแข็งขัน ทรงเป็นตัวแทนของฤดูใบไม้ร่วง และยังถูกแสดงแทนในรูปตัวอักษร ยะ ระ ละ และ วะ ทรงเป็นส่วนหนึ่งของราตรีในช่วงขณะเที่ยงคืนจนถึงรุ่งสาง และทรงมีอีกพระนามว่า ธรรมธาตุ (Dharmadhatu) ศักติของพระองค์ทรงนามว่า วัชรสัตวมิกา (Vajrasattvamika) ซึ่งทรงไว้ซึ่งกปาละและการติ (Karti) ทรงมีทายาทคือพระโพธิสัตว์ฆัณฎาปาณี” 


   ในสาธนมาลา มีหลายบทที่กล่าวถึงพระวัชรสัตว์อย่างสั้นๆ ว่าพระองค์ปรากฏทั้งในท่ายับยัมและปรากฏองค์เพียงพระองค์เดียวโดยไม่มีศักติ ถือกำเนิดจากพระธยานิพุทธเจ้าอักโษภยะ ในบางกรณีก็ถือว่าทรงเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์วัชรปาณี 
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 20:20


ความแพร่หลายของพระวัชรสัตว์ในอินเดียและอุษาคเนย์

   ในประเทศอินเดีย แม้ว่าจะเป็นแหล่งกำเนิดของพุทธศาสนาแต่ก็พบประติมากรรมพระวัชรสัตว์จำนวนไม่มากนัก ส่วนมากสร้างขึ้นในศิลปะปาละ  พบมากแถบสารนาถ นาลันทา พิหาร ซึ่งจะส่งอิทธิพลให้ดินแดนที่อยู่เหนือขึ้นไป เช่นธิเบต และเนปาล ซึ่งลัทธิตันตระค่อนข้างแพร่หลาย จนมีบางนิกายเช่น สวาภาวิกะ ยกย่องให้พระวัชรสัตว์เป็นพระอาทิพุทธเจ้า และมีการสร้างพุทธศิลป์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระวัชรสัตว์เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประติมากรรมหรือจิตรกรรม

   ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในดินแดนที่พุทธศาสนามหายานแพร่หลาย เช่น ในประเทศอินโดนีเซียและเขมร ซึ่งในอินโดนีเซียพบเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นประติมากรรมสำริดและสลักจากหิน ซึ่งรับรูปแบบทางศิลปะมาจากศิลปะปาละ ในประเทศอินเดีย ส่วนในประเทศเขมร มีความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมากในพุทธศตวรรษที่ 18 ในศิลปะบายน ซึ่งมีผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนามหายานองค์สำคัญคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพระราชอำนาจแพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง แม้ในเขตแดนประเทศไทยก็มีศิลปะร่วมแบบเขมรปรากฏภาพวัชรสัตว์อย่างมากมาย ในรูปประติมากรรมและทับหลัง ชิ้นที่สำคัญได้แก่พระวัชรสัตว์ที่ปรากฏในทับหลังปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา เป็นต้น

อ้างอิงจาก

ผาสุข อินทราวุธ, พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2543, หน้า 61.

Benoytosh Bhattacharyya, The Indian Buddhist Iconography, Calcutta : Firma K.L. MUKHOPADHYAY, 1968, P.2.

Alice Getty ; translated from the French by J. Deniker, The gods of Northern Buddhism : their history, iconography and progressive evolution through the Northern Buddhist countries, Rutland, Vt. : Charles E. Tuttle, c1962, P.147.


R.S. Gupte, Iconography of the Hindus, Buddhists and Jains, Bombay : D.B. Taraporevala, 1980, P.125.
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 20:33

รูปใส่ยังไงอะครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 20:40



ลองดูใหม่


บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 01 ต.ค. 07, 06:52

ตอบคุณพิพัฒน์ครับ

เรื่องการแทรก "พรหม" นี้ ผมไม่แน่ใจว่า ท่านผู้แปลทั้งสอง "มีธง" ในใจไว้ว่า เป็น "พุทธเถรวาท" หรือเปล่า ? จึงตีความบทที่คุณ CrazyHOrse ยกมาว่าเป็น "พรหม" และตีความว่า วัชรสัตว์ เป็นนามของภิกษุที่ถูกยกให้เป็นเสมือนพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๖ เพราะบทถัดลงไปดูเหมือนจะเป็นการกล่าวยกย่องพระภิกษุจริงๆ แต่อย่างไรก็ตาม ทางพุทธเถรวาท หรือ จะนิกายใดก็ตาม ก็ไม่น่าจะมีธรรมเนียมยกย่อกันถึงเป็น "พระพุทธเจ้าองค์ใหม่" ได้ เพราะในคัมภีร์ระบุไว้ชัดเจนว่า องค์ถัดไปจะต้องเป็นการจุติของพระโพธิสัตว์ไมเตรยะเท่านั้น

บทแปล กับ บทวินิจฉัย ก็มีจุดที่ไม่เหมือนกันคือ ท่านแปลว่า "พุทธองค์ที่ ๖" แต่ตอนวินิจฉัยกลับใช้คำว่า "โพธิสัตว์"

บทแปล: ผู้เป็นพุทธะ องค์ที่ ๖ ที่ประเสริฐสมบูรณ์
บทวินิจฉัย: จนได้รับการยกย่องให้เป็นพระโพธิสัตว์ องค์ที่ ๖ (ปัญหาคือ โพธิสัตว์องค์ที่ ๑ ถึง ๕ เป็นใคร ท่านไม่ได้อธิบายไว้  ลังเล หรือจะหมายถึง ก่อนหน้านี้มีพระภิกษุที่ได้รับการยกย่องมาแล้ว ๕ รูป ฮืม)

ผมมิอาจกล่าวได้ว่า ท่านแปลผิด หรือ ตีความผิด เพราะผมไม่มีความรู้เรื่องภาษาสันสกฤต แต่เท่าที่ดูคำสันสกฤตแล้ว ไม่มีคำว่า "พรหม"
ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผมทราบมาในวงการแปลจารึกที่เป็นภาษาสันกฤตก็คือ จารึกเหล่านี้มักเป็นการเขียนแบบโศลก ดังนั้น บางครั้งไม่ได้เล่าเรื่องตรงๆ แต่ต้องตีความจากศัพท์ ซึ่งถ้าให้ผู้มีความรู้ สาม คนมาแปล ทั้งสามท่านก็อาจแปลไม่เหมือนกันเลยก็ได้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องชื่อที่กำกวม

ตัวอย่างมีให้เห็นมาแล้วครับในจารึกหลักที่ 23 จารึกวัดเสมาเืมือง ซึ่งแต่ละท่านจะตีความเทวรูปในศาสนสถานแตกต่างกันดังนี้

ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ : สฺถาปิต ไอษฺฏิกเคหวรตฺรยเมตตฺ กชกรมารนิ สูทนพชฺรินิวาสํ

๑. ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. ๒๔๗๒) : ทรงสร้างปราสาทอิฐทั้งสามนี้ เป็นที่บูชาพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือดอกบัว (คือปทุมปาณี) พระผู้ผจญพระยามาร แลพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือวชิระ (คือ วัชรปาณี)
๒. แสง มนวิทูร (พ.ศ. ๒๕๑๐) : โปรดให้สร้างเรือนอิษฏ์อันประเสริฐ ๓ องค์นั้น เหมือนวิมานของพระวิษณุ วิมานของพระศิวะ และวิมานของพระอินทร์
๓. ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. ๒๕๒๖) : ได้สร้างอาคาร ๓ หลัง ที่ทำด้วยอิฐนี้ ให้เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ผู้ทำลายมารด้วยมือที่ถือดอกบัว (ตามนัยนี้อาจหมาย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร)
๔. จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา (พ.ศ. ๒๕๒๙) : ได้ทรงให้สร้างอาคารอิฐที่สวยงามทั้งสามหลังนี้ ให้เป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ผู้มีวัชระ (ในบทต่อไป อ.จิรพัฒน์ วงเล็บว่า อาจหมายถึง วัชรธร ซึ่งก็คือ วัชรสัตว์)

================================

จารึกบ้านซับบาก ด้านที่ ๑
๑. ศฺรีปญฺจสุคตายาเทา     ศฺรีฆนานำวิภาวกา ะ
๒. ศฺรีฆนาศฺจ สุเทพานำ    ศฺรีปฺรทาตฺฤนฺนมามิ ตานฺ


คำแปล : บรรดาพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้า ขอนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
     ตั้งแต่พระพุทธห้าองค์เป็นต้นมา บรรดาเทพทั้งหลาย
     ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพรหม

ตรงนี้ผมสงสัยคำว่า ศฺรีปญฺจสุคตา ว่า ท่านตีความว่า พระพุทธห้าองค์ ใช่หรือไม่ ฮืม
จะเห็นว่า บทนี้ ไม่มีคำไหนที่ใช้ศัพท์ตรงๆ ว่า ธยานิพุทธ, ชินพุทธ, หรือ พรหม เลย


๓. พชฺรสตฺว สฺตุษฺฐะ ส     โงฺว ธิสตฺวปฺรภุรฺวร ะ
๔. อาธาระ สรฺว วุทฺธานำ    ตนฺนมามิ วิมุกฺตเย


คำแปล :เพื่อความหลุดพ้น ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพัชรสัตวะ
     ผู้เป็นพุทธะ องค์ที่ ๖ ที่ประเสริฐสมบูรณ์ ด้วยสัมโพธิสัตวะ
     ซี่งเป็นอาธาระ (ที่รองรับ) ขององค์พุทธะทั้งปวง

พชฺรสตฺว สฺตุษฺฐะ น่าจะตรงกับบทแปลว่า พระพัชรสัตวะผู้เป็นพุทธะ องค์ที่ ๖
ดูไปแล้วก็ไม่มีคำว่า พุทธะ ในบทตรง พชฺรสตฺว เหมือนกัน (วุทฺธานำ น่าจะตรงกับ ขององค์พุทธะทั้งปวง)

ส่วนผมตอนนี้ก็สรุปว่า ยังไม่ปักใจเชื่อทั้ง ที่แปลว่า เป็นชื่อภิกษุ หรือ เป็นชื่อวัชรสัตว์ ครับ คงต้องศึกษาเนื้อหาจารึกนี้ดูอีกทีว่ามีแนวโน้มไปทางลัทธิใด  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 01 ต.ค. 07, 07:05

เข้ามาฟังทุกท่านค่ะ .. ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 01 ต.ค. 07, 11:53

ขออภัยอ.พิพัฒน์ครับ ช่วงนี้ผมมีเวลาแบบแว่บเข้าแว่บออก เขียนด้วนไปหน่อย ต้องขอบคุณคุณ Hotacunus ที่มาขยายให้ครับ เข้าใจมากขึ้นแล้วครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 01 ต.ค. 07, 13:26

ปัญหา เมื่อมาจากการตีความ
หากเห็นแย้ง ก็ต้องแย้งทั้งการตีความ ไม่ใช่แย้งเพียงการแปลศัพท์
ข้อแย้งนั้นน่าสนใจ
แต่ถ้าแย้งเพียงเท่านี้ ก็ไม่เปิดทางเลือกให้ผู้สนใจ

เพราะแย้งให้สะพานขาด
เราก็ชะเง้ออยู่ฝั่งกระนี้ .....
แล้วขะข้ามความไม่รู้ไปได้ยังไง
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 03 ต.ค. 07, 00:46

สะพานนี้ ผมคงซ่อมคนเดียวไม่ได้ คงต้องหา "วิศวกรสันสกฤต" มาช่วยอีกแรงครับ

แต่ตอนนี้ยังหาไม่เจอ อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้น่าสนใจมากครับ กลับไปแล้วจะลองไปติดต่อวิศวกรมาช่วยศึกษาครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง