เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
อ่าน: 48645 !! พ่อขุนรามคำแหงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยสมัยสุโขทัย ในด้านใดบ้าง ??
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 28 ก.ย. 07, 21:37

เข้ามาชมด้วยคนครับ ไม่มีความรู้ทางด้วยประติมานวิทยาธิเบต ได้แต่เก็บเกี่ยวความรู้เอาไว้


เห็นชื่อแล้วไม่รู้จะเชื่อได้มั้ยเนี่ยะ ?
แม่ดารากุรุกุลา.... หืม
บันทึกการเข้า
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 28 ก.ย. 07, 21:44

ตอบคุณเทา - ชมพูครับ เหมือนหรือแตกต่างจากของคุณวรณัยยังไงบ้างคะ
ตอบ ต่างกันครับ คำผิด ยันตรมณฑลครับ ไม่มีในงานของอ.พิริยะ
                                  วัชรยานที่สุโขทัย วัชรยานที่ลพบุรี ธรรมศาลา อโรคยศาลา รูปแบบปราสาทเขมร ราชมรรคา มหาไวโรจนะ - อาทิพุทธะ ,เหวัชระมณฑล , พิธีกรรมของตันตระ
                            รูปที่ผมเอามาลงที่นี่ทั้งหมด  
                                  วัชรยาน ของผม มาจากงานของอาจารย์ผาสุข ผมจะเหมือนทางนั้นมากกว่าครับ
     ส่วนที่เหมือน วัชรยานศึกษาได้ทั่วไป เช่นเดียวกับมหายานครับ ไม่ใช่งานที่อาจารย์พิริยะคิดเป็นคนแรก ก่อนหน้านี้ ก็มีรายละเอียดของวัชรยานใน "ลัทธิของเพื่อน" ของเสฐียรโกเศศ ให้อ่านครับ



ติบอ ขอบคุณกับ"มารยาท"ที่กรุณาแสดงให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่า  ผมไม่เสวนากับคุณจะดีกว่า  แลบลิ้น  
บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 28 ก.ย. 07, 21:53

ติบอ ขอบคุณกับ"มารยาท"ที่กรุณาแสดงให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่า  ผมไม่เสวนากับคุณจะดีกว่า  แลบลิ้น  


ยินดีเป็นอย่างยิ่ง รู้สึกขอบพระคุณเหลือเกิน
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 28 ก.ย. 07, 22:01

ใจเย็นๆครับ ทั้งสองท่าน จะได้คุยกันได้นานๆ เพิ่มพูนความรู้ในบอร์ดให้มากขึ้น
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 29 ก.ย. 07, 01:28

ใจเย็นๆ ครับ ใจเย็นๆ  ยิ้ม คิดต่างกันได้ แต่อย่างให้ถึงกับมองหน้ากันไม่ได้เลยครับ (แต่ก็นานา จิตตัง เหมือนกัน  ลังเล บังคับกันบ่ได้)

ขอถามคุณวรนัย นิดครับว่า มีความเห็นเกี่ยวกับ "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี" อย่างไรครับ

แลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ อย่าคิดมากว่าลองภูมิ อิอิ

คือว่า เท่าที่ผมผ่านตามาเกี่ยวกับ ปฏิมานวิทยาวัชรยานของอินเดีย เนปาล และทิเบต (หรือแม้กระทั้งญี่ปุ่น) ไม่เคยเห็นที่ไหนเลยครับ นอกจากที่เขมรสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

จริงๆ ประเทศอื่น "อาจจะ" มีก็ได้ ผมไม่ทราบเหมือนกัน แต่ผมไม่เคยเห็น (คือ "ลืม" นั่นเอง อิอิ  อายจัง )

แต่น่าสนใจว่า เป็นคติใหม่ ที่สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ หรือเปล่า ฮืม อันที่จริง คุ้นๆ ว่ารูปปฏิมานวิทยานี้ สร้างขึ้นตามคำบรรยายของคัมภีร์อะไรซักอย่างนี่แหละครับ จำไม่ได้จริงๆ

แต่ก็น่าสนใจครับ ยอมรับว่าผมยังไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับมหายาน-วัชรยานของเขมรอย่างลึกซึ้ง ถ้าพูดตามความรู้สึกนะครับ ผมรู้สึกว่า โบราณวัตถุสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่พบทางเขมรจะออกไปทางวัชรยานอยู่ แต่ที่พบทางลพบุรี-สุโขทัย-กาญจนบุรี-เพชรบุรี นึกไม่ออก นึกออกแต่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี นี่แหละครับ

อย่าง ประธานศาสนาสถาน ที่ปราสาทเมืองสิงห์ ก็คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี (เข้าใจว่าเป็น "ลัทธิพุทธราช" ... ไม่รู้มีใครใช้หรือเปล่าคำนี้ อิอิ เจ๋ง ... คือผูกมาล้อกับ ลัทธิเทวราช ครับ) ประมาณว่า พระองค์ (ชัยฯ ๗) คือ อวตารของอวโลกิเตศวร

อืม.. อีกอย่างครับ ศรีวิชัยเองก็เป็นมหายานวัชยาน หรือเปล่าครับ เพราะทราบมาว่า ศรีวิชัยติดต่อกับ ราชวงศ์เสนะ-ปาละ ที่อุปถัมภ์มหาวิทยาลัยนาลันทา อยู่ ดังที่ได้เคยพบจารึกทองแดง ที่กล่าวถึง ราชาแห่งสุวรรณทวีป (สุมาตรา ?) หรือจะแล้วแต่ช่วงเวลา คือ ตอนต้นเป็นมหายาน แต่ปลายๆ เริ่มเป็นมหายานวัชยาน จนไปๆ มาๆ ทางใต้ของไทยกลายเป็นลังกาวงศ์ ทางมาเลย์ อินโดกลายเป็นมุสลิมไป
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 29 ก.ย. 07, 03:12

ได้บทเรียนมาอย่างหนึ่งว่า สนทนากับคุณวรณัย อย่าถามมาก ควรถามทีละเรื่อง
ขอเรียนถาม 2 ข้อ อย่างนี้นะครับ

1 คุณเรียกบริเวณวัดพระพายหลวงว่า "เมือง" (อยู่ที่ความคิดเห็น 32)
อยากทราบว่า มีหลักฐานอะไรครับ เป็นรายงานการขุดค้น เป็นรูปทางอากาศ หรือเป็นตำนาน
ถ้าเป็นเมืองจริง ก็ควรจะมีองค์ประกอบอย่างอื่นๆ ให้มั่นใจบ้าง
ยิ่งอ่านจากรูปถ่ายขาวดำ จะแสดงชัดว่ามีการครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไร

2 ขอความรู้ว่า วัชรยานของชยวรมันที่ 7เหมือนหรือต่างจากของธิเบตอย่างไร พอสังเขปก็ได้นะครับ
เพราะผมก็ไม่รู้เรื่องทางศาสนาดีสักเท่าไร
อ้อ ถ้าบอกชื่อคัมภีร์ที่เขมรใช้ ก็จะยิ่งขอบคุณ เผื่อจะหามาอ่านบ้าง

3 คุณยืนยันว่าศิลปะก่อนราชวงศ์พระร่วงเป็นคติวัชรยาน
ลองยกตัวอย่างสถาปัตยกรรมสักแห่งเพื่อบอกได้ใหมครับว่า เป็นมัณฑะละอะไร
และหากเปรียบกับคัมภีร์วัสตุศาสตร์ ท่านใช้ระบบบาทคี่ หรือบาทคู่ วางปุรุษะลงพอเหมาะได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 29 ก.ย. 07, 03:14

ทีนี้จะเล่าถึงการทำลายล้างสุโขทัยตามที่ผมมีประสบการณ์มาเอง
คงจะรู้จักเจดีย์วัดสรศักดิ์ ที่นั่น เดิมเป็นกองอิฐิหักพัง ดูจากที่ไกลๆ ก็เป็นเนินลูกเล็กๆ สูงราวๆ 3-4 เมตร
คือสูงเกินกว่าเด็กจะไปปีนป่ายได้ เวลาเราออกสนาม ก็จะแวะดูทรากช้างล้อม ที่หักพังแทบไม่มีชิ้นดี เหลืองวงสักอันสองอัน
และมียอดของปล้องฉไน พังอยู่ เท่าเสาไฟฟ้าต้นหนึ่ง ราวๆ 2522-2526 ผมจะเข้าศึกษาที่นั่นบ่อยหน่อย
พบว่า จู่ๆ ก็มีเจดีย์สูงตระหง่าน สมบูรณ์ไปถึงยอดใหม่เอี่ยม ที่ฐานมีช้างล้อมครบถ้วน
เราก็ช๊อคสิครับ งงว่ากรมศิลป์ทำอย่างนี้ได้ยังไง

นี่คือการบูรณะ ภายใต้แนวคิดใหม่ของผู้บริหารคนหนึ่ง บอกชื่อก็ได้ว่านายนิคม มูสิกะคามะ(เสียชีวิต 2548)
อย่าตกใจที่เอ่ยชื่อท่าน สมัยที่แกยังอยู่ เขาโต้แย้งกันยับเยินเหลือที่จะกล่าว แกก็เฉย ทำตามเป้าประสงค์ไม่สะทกสะท้าน
ตอนนั้น เรามีโครงการสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ และแกเป็นผู้อำนวยการคนแรก
แกประกาศว่า ยอมเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อให้งานสำเร็จ แนวคิดก็คือ โบราณสถาน ต้องไม่มีคน
โบราณสถานต้องดึงดูด และโบราณสถานต้องทำเงินจากการท่องเที่ยว

ในตอนเริ่มต้น เมืองเก่ามีคนอาศัยอยู่เป็นหมื่น มีเป็นสิบหมู่บ้าน โดยเฉพาะแถบวัดพระพายหลวง
แนวคิดนี้ ไม่มีใครที่อยู่ในวงวิชาการเห็นด้วย ทุกครั้งที่สัมนาก้จะมีคนด่า ผมอยู่ในวงสนทนาครั้งหนึ่ง
พี่นิคมกำลังกริ่มได้ที่ พอถูกแย้งเรื่องแผ้วถางที่ โดยไม่มีแผนแม่บท แกหัวร่อตามปกติ บอกว่า ไม่ทันแฎกน่ะสิ
mang... นักเลงเต็มเมือง แผนจะไปทันมันได้ยังไง ต้องทำไปเขียนไป
อย่างป่าหมากป่าพลู ป่ามะม่วง กูก็(ขอโทษ เราคุยกันอย่างนั้นจริงๆ) ...ลงแอ้งให้เต็มทั้งแปลง พวกมึงไม่ชอบก็มาขุดทิ้งทีหลังสิวะ
แกยังเป็นคนแรกที่นำเอาระบบรับเหมามาใช้
เดิมเราจะขุดแต่งภายใต้การควบคุมของนักโบราณคดี ซึ่งมีขั้นตอนเคร่งครัด
พี่เขาก็บอกว่า...ไม่ทันกิน เอาแบบก่อสร้างมาใช้ อันใหนที่น่าจะเป็นอย่างนั้น ก็ให้มันรับเหมาไปเลย นักโบราณคดีก็ไปคุมให้ถูกต้อง
(แกเป็นคนแรกที่หางานโฟร์แมนให้นักโบราณคดี)
พอมีคนท้วงเรื่องข้อสังเกตของยูเนสโก้ แกก็บอกว่า แล้วมันมาสร้างกับกูหรือเปล่า
สรุปว่า แกเนรมิตเมืองอุทยานได้สมใจจริงๆ จนได้กินตำแหน่งอธิบดี

ก่อนตาย ผมได้ไปประชุมกับแกอีกหน คราวนี้ แกคิดแผนระดับหัวโกร๋นเลยครับ จะทำพิพิธภัณฑ์วังหน้า ให้หรูแบบแวร์ซาย
มีห้องมัลติมีเดี่ย ภายในมีแสงสีเสียง คัดแต่ชิ้นเด็ดมาอวด ขอเงินรัฐมนตรี 2000 ล้าน บอกว่าทำได้แน่ภายในสองปี

สำหรับการทำลายล้างที่วัดพระพายหลวงนั้น โชคร้ายที่ผมได้ไปเห็น
ตอนนั้นเราตกใจกันมาก ว่ารถแทรคเตอร์มาทำอะไรในที่แห่งนี้ และยิ่งตกใจที่หมู่บ้านริมวัดหายไปหมด
เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ มีเรือนพื้นบ้านที่น่าสนใจ และมีร้านโอเลี้ยงให้เราแก้กระหายด้วย
ผมยังจำได้ว่า พอเราเหนื่อยจากการรังวัด เราก็ปีนป่ายเนินดิน ทรากอาคาร ข้ามสระน้ำที่ตื้นเขินเสียรูปรางไปหมดแล้ว เพื่อไปที่ร้านนี้
นั่งดูดโอเลี้ยง มองกลับไปที่ปรางค์สีเหลือง ที่เหลืออยู่หลังเดียว นึกชมฝีมือปั้นปูนของช่างสุโขทัยว่า งามอย่างอวบอิ่ม
มีความนุ่มนวลในบริมาตร ต่างจากแหล่งโบราณสถานอื่นๆ

คุณนิคมให้ช่างมาส่องกล้อง ตีผัง แล้วขุกสระขึ้นมาใหม่
เนินสูงๆ ต่ำๆ ที่เก็บอดีตกาลหก-เจ็ดร้อยปีอยู่ในนั้น แกให้ไถเรียบ เพื่อตะลุยลงไปหาดินเมื่อพ.ศ. 1800 แล้วเผยมันออกมา
สุดท้ายมันก็กลายเป็นที่ราบปลูกหญ้าเขียวขจี มีสายยางฉีดเช้าเย็น กันเขตด้วยอิฐบปก.ใหม่เอี่ยว
ตรงแหนวอย่างไม่ต้องใช้จินตนาการ
มีที่จอดรถอย่างเป็นระเบียบ จะชมโบราณสถานก็เดินข้ามสะพานไม้ที่แสนจะกว้างขวาง ยืนที่หัวสะพานถ่ายรูปได้องค์ปรางค์เป็นฉากหลัง
นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ผมเห็นสุโขทัย

อ้อ
เนื่องจากเป็นงานรับเหมา มันก้อต้องมีคนงานมาก ปัญหาเรื่องขับถ่ายก็ต้องมี
เขาแก้ปัญหาด้วยการฝังโถส้วมแบบนั่งยองไว้ตรงมุมสนามของวัดศรีสวาย กั้นสังกะสีเรียบร้อย
เพื่อนคนหนึ่งทำงานมติชน นำรูปนี้ประจาน ส้วมจึงหายไป
บันทึกการเข้า
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 29 ก.ย. 07, 08:29

กราบขอบพระคุณอาจารย์พิพัฒน์ครับ กับการเล่าเรื่องประสบการณ์อันมีค่าจริง ๆ  ที่ผมไม่อาจได้เห็นในชีวิตด้วยตาตัวเอง และเปิดโอกาสให้ ผมหาหลักฐานมายืนยันอธิบายในส่วนที่เป็นข้อโต้แย้ง ผมขออนุญาตเก็บทำการบ้าน เพราะเอกสารและรูปถ่ายทางอากาศที่มีอยู่ ผมเอาไว้ที่บ้านที่กรุงเทพ ฯ และจะกลับมาจัดทำเป็นรายงานนำเสนอท่านที่นี่อีกครั้ง เพื่อให้ท่านได้ติติงอีกครั้ง
ทั้งเรื่อง เมืองที่พระพายหลวงก่อนเมืองสุโขทัย
เรื่อง    วัชรยานพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต่างจากธิเบตอย่างไร
เรื่อง    การสร้างปราสาทในยันตรมณฑลของแต่ละองค์ ผมจะเทียบการสร้างปราสาท หนึ่งหลัง สามหลัง ในคติฮินดู และในคติวัชรยานในประเทศกัมพูชา มาที่ปราสาทสามยอดเมืองลพบุรีเมืองสำคัญในหลักฐานของเขมร และส่งต่อไปยังสุโขทัย (ซึ่งผมดันเชื่อเองคนเดียวว่าเป็นเสียมกุก เพราะเป็นบ้านเมืองในพุทธศตวรรษที่ 17 ที่"น่าจะ"มีแสงยานุภาพทางทหาร)ไล่จาก ที่ตาผาแดง ที่พระพายหลวง วัดศรีสวาย ที่วัดมหาธาตุ(ศูนย์)กลางเมือง และวัดเจ้าจันทร์ 

ขออนุญาต เปิดเป็นกระทู้ใหม่ อีกสักพัก เพราะงาน(ส่วนตัว)เริ่มยุ่งแล้ว

ด้วยความเคารพครับ ตามความเห็นที่ 141 ผมมีความเห็นเช่นเดียวกับท่านทุกประการ และเสียใจต่อการกระทำเช่นนั้น ของกลุ่มผู้มีอำนาจที่หลักฐานมากมายถูกทำลาย จนไม่สามารถศึกษาได้แม้กระทั้งกระบวนการวิทยาศาสตร์ เช่น การวิเคาระห์ละอองเรณู ของแต่ละศาสนสถาน ทุกอย่างตาม หลักฐานหายากและถูกดัดแปลง 

จากความรู้ในสองกระทู้หลังนี้ ผมจึงขอกราบขอขมาอภัยท่านในกระทู้ก่อน ๆ ที่ได้ล่วงเกินทั้งวาจาและใจ ไป และหวังว่าจะได้รับการให้อภัย เพราะประสบการณ์ที่ท่านเล่ามานั้น"มีคุณค่ามาก" ผมยังมีคำถามอีกมากมาย หากจะได้รับความกรุณาเช่นนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ผมหาและทำเองไม่ได้ ถึงจะเชื่อมั่นในตัวเองเช่นใดก็ตาม ยิ่งถ้าท่านมีภาพเก่าก่อนบูรณะในวิถีของผู้คนที่อยู่อาศัยและการไล่ที่ การใช้งบประมาณแบบล้างผลาญ การสร้างอุจจายานประวัติศาสตร์

 ส่วนภาพเจดีย์พังทลายแล้วกลายมาเป็นเจดีย์สมบูรณ์พอมีให้เทียบเกือบครบทุกวัดแล้วครับ สักพักว่าจะพิมพ์เป็นหนังสือ " เหรียญสองด้าน อัปหรือเกียรติยศแห่งกรุงสุโขทัย" รวมเล่ม แต่คงต้องสมบูรณ์แบบจริง ๆ ซึ่งก็ต้องมีผู้มีประสบการณ์จริง ๆ  ทั้งสองด้านของมุมมอง มาประกอบด้วย

ท่านคือ"สิ่ง"ที่ผมค้นหามานาน แต่มุมยืนอาจต่างกันไกล ผมจะได้เรียนในมุมของท่านให้แน่น และจะโต้แย้งท่านเสมอ หากมีความคิดที่แตกต่าง

บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 29 ก.ย. 07, 10:09

เรียน คุณHotacunus ยินดีครับที่ได้แลกเปลี่ยนความเห็น เพราะที่ผมมีอยู่ก็ใช่ว่าจะเป็นข้อสรุป ผมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอก หากมีสิ่งที่เป็นเหตุผล และตรรกะเชิงวิทยาศาสตร์มาเปลี่ยน
เรื่องโลเกศวร เปล่งรัศมี ถ้าถามความเห็นของผม ผมว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ท่านมีปัญหาในการใช้พราหมณ์ในด้านการปกครอง เพราะอำนาจแห่งศาสนาพราหมณ์มันซ้อนทับอำนาจของรัฐ (ต่างจากพม่าในปัจจุบัน ที่อำนาจรัฐเหยียบย่ำอำนาจแห่งศาสนา)
ก่อนหน้าท่าน จามเองก็ใช้ระบอบเทพเจ้า ปกครอง เขมร และสมมุติตัวเองเป็นเป็นเหล่าเทพเจ้านั้นกันหมดแล้ว พอท่านปลดแอกเขมรจากอำนาจของจามได้ ท่านคงรังเกียจ และคงจะต้องหาเทพเจ้าองค์ใหม่มาทดแทน เทพเจ้าที่ต้องเหนือกว่า เทพเจ้าที่ต้องทรงพลังกว่า และเป็นเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ในโพธิญาณแห่งโลก ไม่ใช่แห่งธรรม นั่นคือการกำเนิดของลัทธิโลเกศวร ที่เป็น"ระบอบ" ไม่ใช่คติศาสนาหลักของรัฐ

ระบอบเจือไปด้วยการถือหุ้น  50 % ของคติวัชรยานตันตระ คติความเชื่อที่มีอยู่แล้วในเขมร แต่ไม่นิยม  20 % เป็นฮินดูเก่า และ 30 % เป็นสิ่งที่ท่านอุปโลกน์ขึ้นมาใหม่เอง นี่คือที่มาของหน้าปราสาททั้ง 4 ทิศ ที่หลายคนตีความกันงงไปหมด เพราะมันเป็นเฉพาะสมัยจริง ๆ ไม่มีใครที่อื่น ทั้งในอินเดีย ในธิเบต ในจาม หรือแม้แต่ในชวาที่เขมรรับวัชรยานต่อมา

ด้วยความที่ไม่เหมือน ก็ยากที่จะไปเปรียบเทียบในรายละเอียด แต่ก็ยังโชคดีที่ 50 % นั้น มีการใช้คัมภีร์ปรัชญาปรามิตาสูตร มาสร้างรูปบุคลาฐิษฐานฝ่ายศักติ

วัชรยานไม่ได้ใช้รูปเพื่อการเคารพ จึงไม่มีรูปเคารพ มีแต่รูปที่แทนความหมายนามธรรม ในเป้าหมายของการบรรลุโพธิญาณ ทางโลกก็ได้ ทางธรรมก็ได้ มีพระโพธิสัตว์ให้เลือกใช้เยอะและครอบคลุม
เรียกว่า เขมรโบราณใช้ไม่เหมือนใคร และหากจะตีความรูปใดสักองค์ การไปเทียบจากวัชรยานในปัจจุบัน ก็จะพาออกทะเลไป เพราะทั้งที่ญี่ปุ่น คุจากุ หรือการ์ตูนเทพฤทธิ์พิชิตมาร ก็ใช้วัชรยานในการปราบปีศาจ ( ที่ต้องเทียบการ์ตูน เพราะมันเป็นภาพสะท้อนวัชรยานในสังคมญี่ป่นได้เป็นอย่างดี) วัชระ กระดิ่ง และท่ามุทรา กลายเป็นอาวุธเทพอันทรงพลัง ของเหล่านักบวชสายวัชรยานในญี่ปุ่น ที่นี่ ดูจะมีรายละเอียด"คล้าย"กับวัชรยานเขมรโบราณ มากกว่าของธิเบต เนปาล จีน และเกาหลี  เพราะหากมุทราและเปล่วจีรหัสตันตระของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นจะลงมาสถิตและปราบมาร ที่สำคัญ มุทรามีทั้งหมด 250 ท่า แต่ละองค์โพธิสัตว์ มีท่าต่างกัน

 ของผมเรียนรู้แค่มุทราของพระคเณศจากสาธุฮินดูจากอินเดียมา ก็มี 8 ท่า และมีวจีรหัส มากกว่าคำสวดโอม สั้น ๆ

อานุภาพแห่งการประสาน มือ ใจ กาย และภาษาลับ กลายเป็นอานุภาพแห่งองค์พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ผู้ที่บูชาเหวัชระ ก็ต้องมี องค์ประกอบครบถ้วน จึงจะเข้าสู่เป้าหมายแห่งโพธิญาณได้ ไหว้เฉย เคารพเฉย เช่นคนในปัจจุบัน ไร้ประโยชน์

เทพเจ้า พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ถูกสร้างขึ้น โดยมี เทพปกรณัมจากคัมภีร์กำกับและมีองค์ประกอบของการใช้ประโยชน์ เป็นคู่มือที่ผู้ใช้(ผู้หวังเป้าหมาย ช่วยเหลือมนุษย์)จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และถุกต้อง อำนาจแห่งองค์เทพโพธิสัตว์นั้นจะสำแดง อานุภาพ และโพธิญาณ

ตัวอย่างเช่นจตุคามรามเทพ ที่สร้างกันอย่างไร้ คติปรัชญาและองค์ประกอบในการใช้บรลุ ยิ่งอ้างว่าเป็นพระโพธิสัตว์ แล้วกล่าวคำผิดเพี้ยน มุทราก็ไม่เป็น เป็นแต่ท่าพนมมือ รูปเคารพก็มุทราผิด ยกมือบอกให้หยุดทุกสิ่ง ไม่ใช่ประทานพรแบบที่ต้องหงายมือด้านล่าง ซึ่งแปลว่า ไม่สำเร็จสักกะอย่าง

ทางคติวัชรยานตันตระ และฮินดูตันตระ มีทั้งด่านสว่าง และด้านมืด ที่มีอาถรรพ์เวทย์กำกับอยู่ หากใช้มุทราถูกตามยันตรมณฑลของตน ที่แต่ละคนจะแตกต่างกัน ตามอำนาจบารมี พระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ประจำตัวที่สัมพันธืกับตัว จะคำละองค์กัน จึงมียันตรมณฑลต่างกันทุกเทพเจ้า พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์

หากใช้แบบไม่รู้เรื่อง เช่นการใช้จตุคามรามเทพ ทางตันตระอธิบายว่า มันคือความเสื่อมสู่สังคมไทย เป็นการเร่งสาปแช่ง ให้กัลกีเข้ามาล้างเหล่าอธรรม(โดยเฉพาะชาวพุทธ)ให้พินาศไปเร็วขึ้น( ท่าทางจะแบ่งภาคอวตารมาลองเชิงชื่อ ตานฉ่วย)

การสาปแช่ง จึงพบทั้งในจารึกของเขมรและชวา ก็มาอิทธิพลด้านมืดของโพธิญาณที่มาจากตันตระเช่นกัน และหากใครใช้เป็น คาถาอาคม อาถรรพ์ และคำสาปแช่ง จะใช้ได้ผลจริง ๆ ( อันนี้พวกนักบวช แปลก ๆ ในอินเดียเชื่อกันมาก)

ตันตระน่ากลัว และผมก็เรียนตันตระจากสาธุอินเดียอยู่ในวันนี้ แต่มุทรายังไม่ได้เรื่อง เลยยังไม่บรรลุอะไรซักอย่าง

ไปไกล จากคำถาม คงไม่ติติงกันนะครับ ไม่ใช่เรื่องใหญ่

ในประเทศไทย หลักฐานทางตรงที่เห็นก็มีอย่างที่เห็นล่ะครับ พระโลกเศวรเปล่งรัศมี มีอยู่ 5 - 6 องค์ตามตำรา แต่ที่ผมเห็นจาก Collections ของหลายท่าน ก็น่าประมาณได้เกือบ 10  องค์ เอาเฉพาะเศียร ที่นครปฐมมี สององค์

พระโลเกศวรเปล่งรัศมี ก็คือพระอวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี แต่เรียกให้ เป็นเฉพาะในลัทธิโลเกศวร เพราะอวโลกิเตศวร มีทั้งในมหายาน วัรชยานที่ชวา เป็นบุคลาธิษฐานแห่ง"มหาอำนาจ" ในเชิงสงครามและการปกครอง ในความเห็นผม ที่ใดที่ไม่ใช่อำนาจของพระองค์ แล้วครอบครองได้ ก็จะสร้างรูปนี้เข้าประจำการ เพื่อการประกอบพิธีกรรมตามอานุภาพ ในพื้นที่นั้น ในขณะที่สบาย ๆ  อยู่อาณาเขตแห่งอำนาจทางการปกครอง ก็จะใช้พระไภษัชยคุรุ พระชัยพุทธมหานาถ( ชินพุทธะองค์ที่ 6 พระพุทธเจ้าสูงสุด ในใบหน้าของพระองค์เอง) และพระวัชรสัตว์ ที่ทรงเครื่องกษัตริย์ ในฐานะของราชาแห่งตถาคตทั้งปวง รวมทั้งใช้วัชรธร บุคลาฐิษฐานของพระวัชรสัตว์แต่ทำหน้าที่สอนปัญญาและอุบายในที่สงบสุขในอาณาเขต ที่ไหนมีพระพุทธเจ้า หรือพระโพธิสัตว์อะไร อะไรก็พอตีความตามรูปสลักไปได้เช่นนั้น

ที่ราชบุรี หาย มีพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาในซุ้มเรือนแก้ว รอบกำแพงยันตรมณฑลของอโรคยศาลา แห่งเดียวในภาคตะวันตก
ที่เนินทางพระ หาย
ที่หนองแจง หาย หายทั้งปราสาท
ที่ลพบุรี พระชัยพุทธมหานาถ - พระวัชรสัตว์ -โลเกศวรเปล่งรัศมี -เครื่องบนพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา
พิษณุโลก - เครื่องบนพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา 
ที่เพชรบุรี โลเกศวร เปล่งรัศมี
ที่โกสินารายณ์  โลเกศวร เปล่งรัศมี
ที่เพชรบุรี ไกลสุด โลเกศวร เปล่งรัศมี
ที่กาญฯ ไกลกว่า โลเกศวร เปล่งรัศมี - ปรัชญาปารมิตา - โพธิสัตว์อวโลกกิเตศวร - พระชัยพุทธมหานาถ(หาย) - พระวัชรสัตว์(หาย)
ที่สุโขทัย โลเกศวร เปล่งรัศมี ( เขานารายณ์ -หาย) - เครื่องบนพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา
อยุธยา - โลเกศวร เปล่งรัศมี ที่เหลือ หายเรียบทั้งถูกดัดแปลงสมัยหลัง และ หายตามน้ำ

ส่วนที่เห็นนอกข้อมูลที่บันทึกไว้ ก็มีมากมาย แต่ไม่ค่อยรู้ที่มา เช่นกระดิ่งและวัชระ พบกระจายทั่วภาคกลาง โดยเฉพาะที่ลพบุรีจะชุกชุมมาก ที่สุโขทัยก็พบ ( ผมยังได้พระกรุวัดมหาธาตุ จากร้านรีสอร์ท ใหล้โรงแรมใหญ่ หน้าทางเข้าสุโขทัยมาหลายองค์ ก็เลยไปพบของในพิธีกรรมวัชรยาน และของแปลก ๆ อีกมา ทั้งกลองมโหระทึกที่ขุดพบในตัวสุโขทัยเองก็มี) รูปเคารพเล็ก ๆ เช่นพระไตรโลกยวิชัย เจอที่พิมายองค์เดียวตามหลักวิชาการ ส่วนที่ผมเห็น เทพเจ้าขนาดพกพาสำริดนอกตำรา มีมากกว่าประมาณ 30 เท่า เฉพาะพระไตรโลกยวิชัย ก็เห็นมาแล้ว 2 - 3 องค์ พบในภาคกลาง ยิ่งอวโลกิเตศวร พระเครื่องสำริด พระเครื่องดินเผา เหวัชระมณฑล วัชรินณฑลและเหล่ายิดัมทั้งหลาย รวมทั้งพระวัชระสัตว์ พระโพธิสัตว์ นางปรัชญาปรามิตา ก็พบทั่วไป ยิ่งพระเครื่อง พระกรุ ที่ผู้ใหญ่สมัยก่อนชอบขุดหาไปสะสมกัน มีรูปพระวัชรสัตว์ทรงเครื่องกษัตริย์ของวัชรยาน ที่มักเรียกว่า"พระร่วง" พบทั่วกรุในสุโขทัย มาจนถึงอยุธยา ซึ่งไม่ใช่คติของลังกาวงศ์อย่างแน่นอน

อย่าเชื่อผมนะครับ ทั้งหมดที่พูดมา ผมโม้ (ต้อออกตัวไว้ก่อน)

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ไม่เคยจารึกบอกว่าพระองค์คืออวตาร บอกแต่ พระองค์ปฏิบัติโพธิญาณ ครับ และพระองคืก็เลือกใช้เทพเจ้าโพธิสัตว์ ในหน้าที่ต่าง ๆ ไปประจำการตามสถานที่ต่าง ๆ ตามสถานการณ์บ้านเมืองในพื้นที่นั้น อย่างครบถ้วน ที่สุโขทัยน่าจะสงบ เพราะเอาพระไภษัชยคุรุไปประจำการ

ส่วนเรื่องวัรยานที่ศรีวิชัย เขมรรับมาจากศรีวิชัยด้วย และรับมาจากอินเดียด้วย ในอินเดียมีหลักฐานว่า กษัตริย์เขมรยังเคยเดินทางไปอินเดียด้วย ( ไม่ได้มาจากต่วยตูนนะครับ)
วัชรยานตันตระเริ่มนิยมในพุทธศตวรรษที่ 12 แต่กกว่าจะมาถึงชวา ก็พุทธศตวรรษที่ 14 - 15 มาถึงเขมร ก็ 16 -  18 รายละเอียดก็เพิ่ม นิกายย่อยก็แตกสาขาออก มากขึ้นแบบพุทธศาสนาเมืองไทย ที่ก็ไม่ใช่พุทธศาสนาสมัยพระเจ้าอโศก

วัชรยานเริ่มแรกก็คือมหายาน แต่พอไปรับ คัมภีร์และการปฏิบัติแบบตันตระมาใช้ ( ในอินเดียเขาว่า เป็นการแย่งลูกค้ากันระหว่างพุทธกับพราหมณ์ฮินดู  นักบวชพราหมณ์จึงเอาพุทธมหายานไปใช้ ไม่ใช่พุทธมหายานไปเอาตันตระมา เป็นความร่วมมือเชิงอำนาจของผู้คนในการชิงทรัพยากร เมื่อเกิดวัชยาน  Targets ทางการตลาดก็มากขึ้น พุทธมหายานก็เลยกลายมาเป็นวัชรยาน เพราะเข้าถึงนิพพานำได้ง่ายขึ้น ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนเอื่นก็ได้ แต่หินยานทำไม่ได้ เลยไม่รู้ว่า ใครกลืนใคร แต่ก็รู้ว่า เกิดวัชรยานตันตระ เป็นคติผสมผสานขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 เท่านั้น)

วัชรยานที่เป็นมหายานเก่า ก็เรียกตัวเองว่ามหายาน เพราะวัชรยานเป็นเพียงรายละเอียด ที่เพิ่มขึ้นในมหายานเดิม แต่นานวันเข้าชักเอ๊ะ ไฉนจึงกลายเป็นมหายาน แต่เนื้อในมีพระดุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เกิดใหม่มากมาย แถมมีอำนาจไปรบรากำหราบเทพเจ้าของฮินดู ได้อยู่หมัด อาจจะแสดงว่า อำนาจการเมืองของฝ่ายมหายานวัชรยานตันตระ เอาชนะ พราหมณ์นดูเดิมได้แล้ว ก็แต่งคัมภีร์ขึ้นมารองรับใหม่ เทพเจ้าโพธิสัตว์เหล่านั้นก็ตามมาในเขมร ในขณะที่ทางชวายังเป็นมหายานที่มีคตืวัชระยานผสมอยู่แบบเดิม ๆ  เขมรจึงต่างไปจากชวา หลายส่วน

ผมแนะนำว่า หากจะเข้าวิธีการใช้รูปบุคลาฐิษฐาน ของพระโพธิสัตว์ อยากให้มองไปที่ญี่ป่นมากกว่าของธิเบต เพราะที่นี่ ใช้รูปเทพเจ้าโพธิสัตว์ในทางโลกมากกว่า เช่นมารูจี ไตรโลก วัชรปราณี ประยุกต์เพื่อต่อสู้กับศัตรูในทางโลก  ซึ่งมีส่วนคล้ายกับคตินิยมของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มากกว่าของทางธิเบตฃ

และชัดเจนในการใช้ วัชระกับกระดิ่ง วจีรหัส มุทรา มโนรหัส ตันตระยาน(ภาษาลับ) ผสมผสานในการปฎิบัติโพธิญาณเพื่อจุดประสงค์ทางโลก ได้ชัดเจนกว่า ทางธิเบต ที่ปัจจุบัน ใช้ไปในทางบรรลุสู่พระนิพพานเสียมากกว่า

 
หาก อธิบายไม่ตรงคำถามคุณ Hotacunus ก็สุดแล้วแต่ครับ เพราะมีวิธีคิดของตัวเอง และเคยเรียนหลักการของตันตระ จึงมั่นใจว่า ไม่ได้เหมือนใครแน่ ๆ ครับ

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม



 
 




   

 






     
บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 29 ก.ย. 07, 10:21

ยินดีครับ
รักจะถกกันต่อ ก็อย่าใช้ถ้อยคำที่งดงามขนาดนั้นเลย
มันระย่ออ่ะครับ

ลุยไปตามปกติ ไม่ชอบความเห็นผม ข้อใดอย่างไรก็บอกได้ครับ รับได้ไม่มีกังวล
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 29 ก.ย. 07, 21:28

ดีใจครับ ที่ลดอุณหภูมิ กันลงมาได้  ยิงฟันยิ้ม

ขอบคุณ คุณพิพัฒน์ครับ ที่ได้เล่าประสบการณ์ช่วงนั้นให้ฟัง ผมก็เคยได้ยินวีรกรรมของ "อดีตอธิบดี" ท่านนั้นอยู่เหมือนกัน  เศร้า

ส่วนคำตอบของคุณวรณัย น่าสนใจมากครับ เพราะมีหลายเรื่องที่ผมไม่ทราบมาก่อน ต้องขอขอบคุณเช่นกันครับ

ว่าจะโพสข้อมูลเกี่ยวกับ "องค์ที่ ๖" ที่พบในศิลาจารึกเขมรในประเทศไทย เสียหน่อย ฐานข้อมูลจารึกของศูนย์มานุษยฯ ดันเสียไปได้ (สงสัยไฟดับ อิอิ)

จารึกชื่อ "จารึกซับบาก" ครับ

ข้อมูลที่ผมโน้ตไว้ มีดังนี้ครับ

พ.ศ.๑๖๐๙ จารึกบ้านซับบาก (นครราชสีมา) : พระพุทธห้าองค์ + พระหรหม ; พชฺรสตฺว (วัชรสัตว์) ผู้เป็นพุทธะ องค์ที่ ๖ (พชฺรสตฺว สฺตุษฺฐะ ส)
   พระศรีสมาชะ, ศฺรีสมนฺตปฺรเภศฺวร ะ

จารึกหลักนี้เป็นจารึกวัชรยานแน่นอนครับ ซึ่งเป็นวัชรยานยุคต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (ถ้าการกำหนดอายุไม่ผิด) ก่อนคติ วัชรยานแบบชัยฯ ๗ จะรุ่งเรือง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 29 ก.ย. 07, 23:03

จารึกบ้านซับบาก 
ศักราช พุทธศักราช ๑๖๐๙
ภาษา สันสกฤต ,เขมร
วัตถุจารึก หินทรายสีเขียว
ลักษณะวัตถุ รูปใบเสมา
ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๔๘ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๓๖ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๑๒ บรรทัด
ขนาดวัตถุ กว้าง ๒๖.๕ ซม. หนา ๘ ซม. สูง ๕๑ ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น "นม. ๓๙"
๒) ในนิตยสาร ศิลปากร ปีที่ ๓๖ เล่มที่ ๖ (พฤศจิกายน - ธันวาคม, ๒๕๓๘) กำหนดเป็น "จารึกบ้านโคกสะแกราช"
พิมพ์เผยแพร่ นิตยสารศิลปากร ปีที่ ๓๖ เล่มที่ ๖ (พฤศจิกายน - ธันวาคม, ๒๕๓๘) : ๑๐๙ - ๑๒๒.
------------------------------------
คำแปล ด้านที่ ๑
๑. บรรดาพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้า ขอนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
     ตั้งแต่พระพุทธห้าองค์เป็นต้นมา บรรดาเทพทั้งหลาย
     ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพรหม
 
๒. เพื่อความหลุดพ้น ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพัชรสัตวะ(๒)   
     ผู้เป็นพุทธะ องค์ที่ ๖ ที่ประเสริฐสมบูรณ์ ด้วยสัมโพธิสัตวะ
     ซี่งเป็นอาธาระ (ที่รองรับ) ขององค์พุทธะทั้งปวง
 
๓. ขอให้ข้าพเจ้า พึงเกิดเป็นทาส แห่งทาสผู้มีความภักดี
     และศรัทธาบริสุทธิ์เป็นเลิศ ในพระศรีสมาชะ ไปทุกชาติ

-----------------------------------------
๒. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : "พระพัชระสัตวะ" ที่จารึกกล่าวถึงว่า "เป็นพระโพธิสัตว์องค์ที่ ๖"
มีการกล่าวถึงในจารึก TUK CUM พ.ศ. ๑๕๓๗ K. ๒๓๘ ด้วยคำว่า "พชฺเรนฺทฺราจารฺยฺยะ" คือ พระพัชเรนทราจารย์ อาจจะเป็น
นักบวชคนเดียวกัน เพราะระยะเวลาก็ไม่ห่างกันนัก ท่านคงเป็นนักบวชคนสำคัญที่มีบารมีสูง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป
จนได้รับการยกย่องให้เป็นพระโพธิสัตว์ องค์ที่ ๖


------------------------------------------
http://www.sac.or.th/jaruk/
พิมพ์คำว่า จารึกบ้านซับบาก
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 00:11

ขอบคุณ คุณพิพัฒน์มากครับ รวดเร็วทันใจดีจริงๆ  เจ๋ง

เรื่องชื่อ วัชรสัตว์ ตามคำวินิจฉัยของ อ.ชะเอม แก้วคล้าย และ อ. บุญเลิศ เสนานนท์ ที่ว่า เป็นนักบวชนั้น (๑) ในเบื้องต้นนี้ ผมยังไม่ปักใจเชื่อครับ แต่ผมเชื่อว่า น่าจะเป็น วัชรสัตว์ (วัชรธร) ของนิกายวัชรยานมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังไม่ฟันธงนะครับ คือ ตอนนี้ฟังหูไว้หูก่อน เพราะยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลเชิงลึก

========================
(๑) "พระพัชระสัตวะ" ที่จารึกกล่าวถึงว่า "เป็นพระโพธิสัตว์องค์ที่ ๖" มีการกล่าวถึงในจารึก TUK CUM พ.ศ. ๑๕๓๗ K. ๒๓๘ ด้วยคำว่า "พชฺเรนฺทฺราจารฺยฺยะ" คือ พระพัชเรนทราจารย์ อาจจะเป็นนักบวชคนเดียวกัน เพราะระยะเวลาก็ไม่ห่างกันนัก ท่านคงเป็นนักบวชคนสำคัญที่มีบารมีสูง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป จนได้รับการยกย่องให้เป็นพระโพธิสัตว์ องค์ที่ ๖

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 00:45

อ่านจากคำแปล รู้สึกว่าเป็นการยกท่านผู้หนึ่งขึ้นสู่สถานะแห่งพระวัชรสัตว์
มิได้หมายถึงการระบุจำนวนตั้งต้นว่ามี 6 พระองค์เลยทีเดียว เห็นขัดเพราะแยกคำสรรเสริญเป็นสองตอน
     ข้าพเจ้า ขอนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
     ตั้งแต่พระพุทธห้าองค์เป็นต้นมา
บรรดาเทพทั้งหลาย
     ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพรหม

คือเรียงมาดังนี้
1 พระพุทธทั้งห้าพระองค์
2 พระพรหม
3 แล้วจึงมาถึงองค์พิเศษ
      พระพัชรสัตวะผู้เป็นพุทธะ องค์ที่ ๖
     ที่ประเสริฐสมบูรณ์ ด้วยสัมโพธิสัตวะซี่งเป็นอาธาระ (ที่รองรับ) ขององค์พุทธะทั้งปวง

ไม่คิดว่าวัชรญาน จะยกพระพรหมไว้ก่อนพระพัชรสัตวะ
และไม่มีเหตุผลเลย ที่แทรกการสรรเสริญพระพรหมเข้าในสำรับพระพุทธเจ้าอย่างนี้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 30 ก.ย. 07, 12:25

ดูตรงส่วนที่ว่า "ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพรหม" คำจารึกคือ

ศฺรีปฺรทาตฺฤนฺนมามิ ตานฺ

คำว่า ปฺรทาตฺฤนฺ (ผู้ให้ ?) ต้องแปลว่าพระพรหมสถานเดียวเลยหรือครับ? แล้วต้องเจาะจงว่าเป็นพระพรหมฮินดูหรือเปล่าครับ? เป็นพรหมพุทธได้ไหม?
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 20 คำสั่ง