เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 48643 !! พ่อขุนรามคำแหงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยสมัยสุโขทัย ในด้านใดบ้าง ??
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 17:22

อ้าว เป็นงั้นไปเสียแล้ว

อ้างถึง
ผมเข้าใจตรรกะของคุณเทาชมพูดีครับ ว่าจะออกมาเช่นนี้
คือการพยายามอธิบายแทนคุณ Pipat ครับ

เอาละค่ะ  ดิฉันคงเปลี่ยนวิธีคิดของคุณวรณัยไม่ได้    ที่ชอบมอง บุคคล มากกว่า ประเด็น
คุณจะมองดิฉันออกนอกลู่นอกทางไปถึงขนาดนั้นก็ตามใจ   เพราะไม่ว่าคุณวรณัยจะมองดีหรือร้าย   ดิฉันยังอยู่ที่จุดเดิม คือไม่เข้าใจเรื่องนิกายวัชรยานอยู่ดี
ดิฉันต้องการรู้เรื่องนี้   เพราะไม่เคยรู้รายละเอียดมาก่อน   ส่วนคุณจะคิดยังไงกับ ตัวดิฉัน  เป็นสิ่งไม่สลักสำคัญ    มันไม่ได้ทำให้คนเข้ามาอ่านกระทู้ได้อะไรติดหัวออกไป

งั้นเอาใหม่

ช่วยกรอกฟอร์มข้างล่างนี้ด้วยนะคะ   
ตามข้อคิดหรือวิชาการที่คุณเรียนมา   คุณต้องการบอกในกระทู้ว่า

๑) นิกายวัชรยาน  เข้ามาในสุโขทัย   ประมาณช่วงเวลา ........................
๒) ชาวสุโขทัย นับถือนิกายวัชรยาน ก่อน เถรวาท    ถูกหรือไม่
๓) หลักฐานที่แสดงว่านิกายวัชรยาน เป็นที่นับถือของชาวสุโขทัย  คือ..................(ถ้าบอกแล้ว ช่วยบอกอีกที ว่าค.ห.ไหน )
๔) นิกายวัชรยาน หมดไปจากสุโขทัย เมื่อมีเถรวาทเข้ามาแทนที่   ถูกหรือไม่
๕) มีความพยายามจะทำลายวัชรยาน โดยชาวสุโขทัย   แต่ยังหลงเหลือหลักฐานมาให้เห็น ถูกหรือไม่
๖) การค้นพบนี้ นักวิชาการผู้นำเสนอ   คือ..............
๗) หลักฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง   หรือว่าเป็นการนำเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ที่เป็นแนวคิดเท่านั้น
๘) ผู้สนับสนุน มีใครบ้าง  ผู้คัดค้าน ในแวดวง มีใครบ้าง 
๘) การคัดค้าน  คุณวรณัยพบไหมว่า มีใครบ้าง และคัดค้านอย่างไร
ทั้งหมดนี้แกะรอยเอาในกระทู้นี้เองค่ะ จากที่คุณตอบมาหลายๆค.ห.

ป.ล.  ดิฉันสังเกตว่า ตรรกะของคุณวรณัยเกี่ยวกับดิฉัน ว่าพยายามอธิบายแทนคุณพพ. เป็นตรรกะที่ขาดหลักฐานและวิธีการพิสูจน์ไม่ว่าทางใด
มีแต่ความเข้าใจและสรุปความฝ่ายเดียว     ทำให้ได้ผลออกมาผิดความจริงโดยสิ้นเชิง 
คุณพพ.ก็ยังอยู่ตรงนี้   ทำไมไม่ถามล่ะคะว่า คนอย่างคุณพพ.น่ะหรือยอมให้มีมนุษย์หน้าไหนมาอธิบายแทน  โดยเฉพาะคนที่ไม่มีความรู้ทางโบราณคดี
ตลกจริงๆ  หวังว่าคุณคงไม่เอาวิธีคิดแบบนี้ไปสรุปในการทำงานวิชาการนะคะ
บันทึกการเข้า
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 17:53

โวหารเก่า ๆ ผุ ๆยังเหมือนเดิมเลยนะครับ
ก็รู้แล้วนี่ครับ ว่า เป็นผู้เบี่ยงประเด็นออกไปเอง

- ถ้าจะยึดตามจารึกทุกคำก็ยึดไปสิครับ เพราะถ้ารู้จักประวัติศาสตร์สุโขทัยแต่จารึก แล้วก็ใช้ไปล่ะกัน ของผมใช้ของคุณทองใบ แตงน้อย ที่เชื่อตามจารึก เขาเรียกว่า"ประยุกต์" ครับทำเป็นไหมครับ
- นี่คงเป็นอาการหมั่นไส้ ก็มีการตีความกันมานานแล้วนี่ครับว่าพ่อขุนรามไปเมืองจีน ไปเอาสังคโลก ก็ไม่เคยเห็นในจารึกเหมือนกัน แล้วเมื่อไหร่จะเลิกหลอกเด็กเสียที ประวัติศาสตร์สุโขทัยจอมปลอมนี่
- ก็เสรีไงครับ ไม่สภา ไม่มีรัฐบาล ไม่ขำเลยหรือครับ ไม่มีคำในจารึกนี่ใช้ไม่ได้เลยใช่ไหมครับ ท่าจะติดยึด ไม่ค่อยมีอารมณ์ขันเอาเสียเลยครับ
- สรุปเป็นศาลาสั่นกระดิ่งหรือครับ ก็พูดเหมือนเดิม ก็ไม่เคยเห็นในจารึกเหมือนกัน แล้วเมื่อไหร่จะเลิกหลอกเด็กเสียที ประวัติศาสตร์สุโขทัยจอมปลอมนี่
- ตามจารึกอีกแล้ว ถ้านอกจากจารึกแล้ว คงไม่รู้อื่น ๆ เลยสิครับ ก็ตัดสินคดี หรือเขาแย่งที่นากัน จะไม่ตัดสินคดีหรือครับ ไม่มีในจารึกหรอกครับ เพราะในจารึกไม่มีอะไรเลย ที่ควรยกย่องเป็นมหาราช กษัตริย์ทุกรัชกาลก็ทำ หลายพระองค์ทำดีกว่าด้วยซ้ำ
- แล้วมะกะโท อยู่ในจารึกไหนครับ ก็ไม่เคยเห็นในจารึกเหมือนกัน แล้วเมื่อไหร่จะเลิกหลอกเด็กเสียที ประวัติศาสตร์สุโขทัยจอมปลอมนี่
- สรุปเมืองกำแพงเพชรสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วสิครับ ไม่มีในจารึกไหนเลย เจดีย์ช้างล้อมที่กำแพงเพชรก็สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาใช่ไหมครับ จารึกไม่ได้บอกไว้ และทำไมต้องอุปโลกน์ให้เป็นสมัยสุโขทัย ก็ไม่เคยเห็นในจารึกเหมือนกัน แล้วเมื่อไหร่จะเลิกหลอกเด็กเสียที ประวัติศาสตร์สุโขทัยจอมปลอมนี่
- มีจารึกประหลาดหลักเดียว เอามาแบบไม่รู่ที่มา ไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีรองรับ มีแต่บันทึก "พระโกหกไม่ได้" "เจ้าโกหกไม่ได้" แถมเป็นภาษาเขียนที่ใช่เพียงครั้งเดียว หลักเดียว ผมพูดผิดหรือครับ หรือมีหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักสอง หลักสาม หลักสี่อีก
- ครับผมพูดเอง 3400 เป็นวงใน แล้ววงนอกมาสร้างในสมัยอยุธยา ผมก็พูดเอง ก็ไม่ผิดจากจารึก อันนี้ตรงกันชัด ๆ แต่คงไม่มีใครไปวัดในช่วงรัชกาลที่สามหรอกครับ
- "ทรงประดิษฐ์อักษรไทยด้วยพระองค์เอง" ใครแต่งครับ ท่านเซเดส์หรือครับ ไม่ใช่ลอกอักษรมาหรือครับ สร้างใหม่กับลอกต่างกันนะครับ เดี๋ยวนี้ยังมีกฏหมายละเมิดลิขสิทธิ์ เมื่อก่อนไม่มีอักษรไทย ก็ใช่ครับ แล้วหลังจากนั้นก็ยังไม่มี เพราะเพิ่งมีก็ในสมัยอยุธยา เอาแบบปัจจุบันอ่านได้สิครับ ให้เครดิตเจ้าของอักษรรุ่นก่อนหน้าเขาบ้างครับ( แล้วเมื่อไหร่จะเลิกหลอกเด็กเสียที ประวัติศาสตร์สุโขทัยจอมปลอมนี่)
- อ่านด้วยหรือครับ ต่วยตูน ผมอ่านมาตั้งแต่เล่มแรก แต่คนพูดเรื่องนี้เป็นคนแรกสิครับ มันน่าด่าครับ
- นั่นสิครับ ทำไมต้องไปนั่งเทศนาธรรมบนยอปิรามิดไม่รู้ คนคิดคนแรกนี่ ไม่รู้อ่านต่วยตูนมากไปหรือเปล่า
- นั่นสิครับ ปลามันมีมานานแล้ว ไม่รู้ใครไปแต่งนิทานหลอกเด็กไปเกียวกับพระร่วงวาจาสิทธิ์ ขนาดคนยังกลายเป็นหิน ต้องเป็นคนขอมด้วย คนไทยเป็นหินไม่ได้ เดี๋ยวพระร่วงไม่รักชาติ

ถ้าผมไม่ตอบตามนี้ หรือต้องไปตอบแบบความเห็นที่ 29 ครับ นั่นก็ตีความเองไปนอกจารึกไกลกว่าผมเสียอีก แถมคิดเองเออเองเสียด้วย
ส่วนเรื่อง การตีความของผมเพิ่มเติมจากจารึก มันก็ไม่ใช่การลอกจารึกมาอธิบาย ผมแค่นำการตีความของคนรุ่นที่แล้ว มาเรียบเรียงใหม่ การตีความของคนรุ่นก่อนที่ยกให้สุโขทัยยิ่งใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีจารึกรองรับ ผมคิดเองเพียงนิดเดียวครับ ตรงส่วนที่เติมเข้าไปบางข้อ ซึ่งก็ไม่แปลกที่คนอื่นก็มีสิทธิจะคิดได้

เช่นในความเห็นที่ 29 ท่านตีความว่าพ่อขุนเอาลังกาวงศ์เข้ามา แต่ผมตีความว่าพญาลิไท สร้าภาษาสุโขทัย สร้างจารึก นำศาสนาลังกาวงศ์เข้ามาชัดเจน ในขณะที่สมัยพ่อขุนรามบ้านเมืองยังเป็นวัฒนธรรมแบบเขมรสุโขทัย
ท่านตีความเองว่า มีการปฏิวัติแยกศาสนา ฮินดูต้องเป็นของขอม ลังกาวงศ์เป็นของไทย แต่ผมตีความว่า ในจารึกหลัก 2 วัดป่ามะม่วง คำเรียกผู้นำแบบเขมร กมรเตงอัญ ก็ยังชัดเจนว่า บ้านเมืองยังมีวัฒนธรรมเขมรผสมผสานอยู่ ผมจึงเชื่อมโยง ศาสนาพุทธวัรยาน ว่าต่อมาจากฮินดู แล้วค่อยมารับลังกาวงศ์ ซึ่งมันเข้ากันได้ เพราะบ้านเมืองสุโขทัย ติดต่อกับบ้านเมืองในเขตอ่าวเบงกอล วัฒนธรรมทางพุทธศาสนามันเข้ามาทางนั้น ไม่ใช่มาจากหัวเมืองทิศใต้ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ยังเป็นแบบวัชรยานอยู่มาก

ท่านตีความว่า เขมรแยกกับคนไทย ผมตีความว่า คนทิศใต้ แยกกับคนทิศเหนือ ชาติพันธุ์ จะเอาถาษามาวัดไม่ได้ การผสมผสานผู้คนตั้งแต่กก่อนมีสุโขทัยสมัยพระร่วง คนเขมรดองกับคนไทลาว มานานขนาดไหน ผสมกับกับพวกมอญจากตะวันตก และพวกมองโกลอยด์จากทางทิศเหนือ รูปร่างหน้าตาผ่านไป สองสามรุ่น ย่อมผสมกัน เขมรสุโขทัย ก็คือคนที่ครองสุโขทัยต่อมา พ่อขุนรามเอง พญาลิไทเอง ก็ล้วนมีเชื้อสายเขมรทั้งสิ้น

ท่านตีความเองว่า"ประกาศเอกราช" ผมตีความว่า "แย่งชิงอำนาจ" ก็ด้วยจากศูนย์กลางอำนาจในเมืองพระนครมันอ่อนแอแล้ว คนเขมรที่อยู่ตามหัวเมืองก็เป็นอิสระ ลูกหลานก็แย่งชิงอำนาจ ไม่แน่สมาดโขลงลำพงอาจจะเป็นคนไทลาวที่ปกครองสุโขทัยก็ได้ ส่วนพ่อขุนเมืองราดนั้นเคยมียศเหรือเป็นเขมรก็ได้ แล้วค่อยกลับมาเป็นสุโขทัยในยุคราชวงศ์พระร่วง หลังจากการติดต่อด้านทิศใต้ขาดไป การติดต่อทางอ่าวเบงกอลนำสุโขทัยไปสู่ลังกาได้ง่ายกว่า

ผมเลยบอกไงครับว่าสุโขทัยมีอำนาจถึงเบงกอล ตามใครก็ไม่รู้ในอดีตที่อ้างว่ามะกะโทไปเป็นกษัตริย์มอญ หลอกเด็กอีกแล้ว

ผมว่า หากคุณ Pipat ตีประเด็นผมจากความเห็น 5 โดยไม่ต้องฟาดงวงฟาดงาไปหาใคร ผมอาจจะได้เรียนรู้จากท่านมากกว่านี้ เพราะความเห็นแตกต่างกันอย่างแน่นอน
ส่วนที่จะเป็นประโยชน์กับใครหรือไม่นั้น ผมรู้ดีที่สุดครับ คุณPipat ตัดสินไม่ได้หรอก เพราะคุณPipat ตั้งธงไว้คำที่จารึก แต่ของผม เอาจารึกออกไปก่อนแล้วเพราะมันตีความกันมั่วมาตั้งแต่สมัยท่านเซเดส์
ส่วนใครจะเชื่อไม่เชื่อ วันนี้ก็เริ่มรู้แล้วครับว่า วิชาประวัติศาตร์มันเริ่มน่าเบื่อขนาดไหน ภาควิชานี้หายไปกี่แห่งแล้ว เพราะเขาเชื่อกันไงครับ ก็เลยไม่ต้องเรียนรู้แล้ว ไม่ต้องคิด เพราะถ้าเรียนก็ต้องท่องจำ
คนเบื่อประวัติศาสตร์เพราะอะไร คุณ Pipat น่าจะตอบได้ เพราะเป็นรุ่นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์

อย่ามาโทษผมนะครับ เพราะผมเลือกที่จะไม่เชื่อใครเลย แล้วมีวิธีการเรียนทางวิทยาศาสตร์ที่คนในประเทศนี้ก็ยังไม่ได้เคยใช้ เพราะมีกฏห้ามว่า"คิดแตกต่างไม่ได้" ทุกอย่าง"ผิดหมด"

ผมไม่ได้มีสมองล้นเหลือครับ แต่ผมมีความคิดเป็นของตัวเอง จะเชื่อก็ต้องเป็นวิทยาศาสตร์ และมี"ตรรกะ" รองรับ ครับ

 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม



 
บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 18:07

เห็นด้วยกับคุณวรณัยในหลายประเด็น

แต่ไม่รู้ผมตีความผิดหรือเปล่าที่คิดว่าคุณวรณัยมองว่าคุณ pipat มีกฏห้ามว่า"คิดแตกต่างไม่ได้" ทุกอย่าง"ผิดหมด"

ที่ผ่านมา คิดตรงกันบ้าง ต่างกันบ้าง แต่ผมไม่เคยรู้สึกว่าคุณ pipat เป็นอย่างนั้นนะครับ

คนเราคิดต่างกันได้ เหรียญมันมีสองด้าน การมองด้านเดียวไม่ได้หมายถึงแค่การมองแต่ด้านหัว การมองแต่ด้านก้อยก็เป็นการมองด้านเดียวเหมือนกัน สำคัญว่าเราต้องเข้าใจการมีอยู่ของทั้งสองด้านนี่แหละ

ในความเป็นมนุษย์ คุณภาพของความสัมพันธ์ บางครั้งมันมีเรื่องทัศนคติต่อกันเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย ถ้ามองกันในแง่ดี คิดต่างกันก็ยังคุยเฮฮากันได้ เรื่องเดียวกันไปคุยกับคนที่เหม็นขี้หน้า(ไม่ว่าเหตุผลใด) มันพาลไม่เข้าหูซะงั้น และถ้าสะท้อนออกมาโดยการชวนทะเลาะ มันก็ดูไม่จืดครับ

แล้วถ้าคนหนึ่งชวนทะเลาะไม่เลิก ก็ไม่แคล้วที่อีกผ่ายจะลุกมาตอบโต้บ้าง เพราะคนเราไม่ใช่พระอิฐพระปูนนะครับ

ลองรักกันหน่อยดีไหม จุมพิต
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 18:46

ขออภัยครับ ถ้าเจตนาของคุณเทาชมพูไม่ใช่เช่นนั้น

งั้นเอาใหม่

ช่วยกรอกฟอร์มข้างล่างนี้ด้วยนะคะ  
ตามข้อคิดหรือวิชาการที่ผมศึกษามานะครับ  ผมต้องการบอกในกระทู้ว่า

๑) นิกายวัชรยาน  เข้ามาในสุโขทัย   ประมาณช่วงเวลา
       พร้อมกับอำนาจการปกครองของเขมร เขมรหรือขอมเป็นผู้มาตั้งเมืองสุโขทัย โดยเริ่มต้นที่เขาปู่จาในลัทธิไศวะ พุทธศตวรรษที่ 16 พอพุทธศตวรรษที่ 17 นิกายไวษณพเป็นที่นิยมในเขตศูนย์กลาง และก็มาถึงสุโขทัย นั่นคือการสร้างเมืองรุ่นแรกก่อนเมืองสุโขทัยที่วัดพระพายหลวงในพุทธศตวรรษที่ 17 โดยใช้แผนผังคูน้ำแทนคติจักรวาล มหาสมุทรทั้ง 4 เช่นเดียวกับที่นครวัด วัชรยานนิยมในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้วปรากฏรูปเหมือนของท่านที่สุโขทัย วัชรยานจึงเข้ามาสู่สุโขทัยในช่วงนี้ครับ และ ผังเมืองสุโขทัยรับกับทิศกับคูน้ำวัดพระพายหลวงซึ่งเมืองสุโขทัย ก็คือเมืองบายนทางทิศเหนือ โดยมีวัดมหธาตุในสมัยราชวงศ์พระร่วงเป็นศูนย์กลางของเมือง
๒) ชาวสุโขทัย นับถือนิกายวัชรยาน ก่อน เถรวาท ถูกหรือไม่  
       ครับ เพราะเป็นคติศาสนาที่มากับการปกครองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ส่วนเถรวาทจากลังกาวงศ์เพิ่งเข้ามาในสมัยพญาลิไท

๓) หลักฐานที่แสดงว่านิกายวัชรยาน เป็นที่นับถือของชาวสุโขทัย  คือ
      วัดมหาธาตุ เป็นปราสาทเกือบกลางเมือง หันทางทิศตะวันออก ยังคงมีบรรณาลัยศิลแลงสองด้าน มีฐานรูปเคารพแบบเขมรไม่มีร่องน้ำ แบบวัชรยาแตกกักอยู่จำนวนสามถึงสี่ชิ้น ฐานใหญ่ร่องพระสามองค์ คติของวัชยาน ตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ ปรางค์สามองค์ที่วัดพระพายหลวง และวัดศรีสวาย คติการสร้างปรางค์สามองค์ฐานเดียวกัน ไม่ใช่ของฮินดู ที่วัดพระพายหลวง มีปรางค์สามองค์หันไปทางทิศตะวันออก สององค์พัง แต่แลงถูกนำไปใช้อย่างอื่นภายในวัด เหลือเพียงปรางค์องค์เดียว ฐานรูปเคารพแบบวัชรยาน จำนวนมาก แตกหักอยู่ภายในวัด ส่วนวัดศรีสวาย มีปรางค์สามองค์ฐานติดกัน ทรงปรางค์ วัดเจ้าจันทร์"น่าจะ"เป็นสุคตาลัย หรือสถานบูชาแห่งอโรคยศาลา
     หลักฐานโบราณวัตถุ คือพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาในซุ่มเรือนแก้ว จัดแสดงอยู่ที่สุโขทัยและกรุงเทพฯ พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ในคติพระวัชรสัตว์ พระโพธิสัตว์เปล่งรัศมีในถ้ำนารายณ์ (หายไปแล้ว) รูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ถูกทุบทำลายหรือแตกหักเอง
 
๔) นิกายวัชรยาน หมดไปจากสุโขทัย เมื่อมีเถรวาทเข้ามาแทนที่   ถูกหรือไม่
         ไม่ถูกต้องครับ ศาสนาพุทธแบบวัชรยาน สร้างให้สุโขทัยเป็นเมืองขึ้นมาครั้งแรก แต่เมื่ออำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หมดลง การนับถ่อศาสนาของสุโขทัย ก็ผสมฮินดูและพุทธวัชรยานกันต่อในระดับหนึ่ง ในเวลาน สิ่งก่อสร้างในคติวัชรยาน ยังไม่ได้ถูกดัดแปลงมากนัก วัดมหาธาตุยังเป็นปราสาทกลางเมือง หินทรายสีเทาที่หาไม่ได้ในภูมิภาค ก็ยังใช้เป็นส่วนประกอบของศาสนาสถานและรูปเคารพ แต่ในสมัยสมัยใช้หินปูน ปูนปั้น และหินตระกูลหินตะกอน อย่างหินชนวน และโลหะมาแทน
 
๕) มีความพยายามจะทำลายวัชรยาน โดยชาวสุโขทัย   แต่ยังหลงเหลือหลักฐานมาให้เห็น ถูกหรือไม่
       ชาวสุโขทัย ไม่ได้ทำลาย แต่ดัดแปลงศาสนาสถานเดิม ให้รับกับความเชื่อใหม่ที่เข้ามาภายหลัง ทั้งดัดแปลง ทั้งรื้อ และก็นำหินที่เป็นวัสดุเก่านั้นไปใช้สร้างใหม่ เช่นเจดีย์ในวัดมหาธาตุ นำศิลาแลงจากปราสาทหลังกลางและบรรณาลัยไปสร้างเป็น สถูปแบบลังกา ปรางค์เก่าที่อยู่ระหว่างบรรณาลัยก็แปลงเป็นสถูปสามชั้นทรงปิรามิด แล้วค่อยแปลงเป็นห้ายอดภายหลังอีกครั้งหนึ่ง

๖) การค้นพบนี้ นักวิชาการผู้นำเสนอ  
     ไม่มีใครเสนอครับ เพราะไม่มีนักวิชาการคนไหนทำครับ แต่บังเอิญผมศึกษามาทางมานุษยวิทยา ผมก็ใช้วิธีการทางมานุษยในการศึกษาประวัติศาสตร์ แทนการมองจากประวัติศาสตร์ศิลป์

๗) หลักฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง   หรือว่าเป็นการนำเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ที่เป็นแนวคิดเท่านั้น
         เป็นแนวคิดครับ เพราะอะไรที่ขัดกับแบบเรียน ม. 2 ทุกอย่างเป็นแนวคิดหมด อย่างของค่ายศิลปวัฒนธรรม ก็เป็นแนวคิดทั้งหมด เช่นเรื่องนางนพมาศ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ลอยกระทง สังคโลก ฯลฯ ล้วนเป็นแนวคิดหมด เพราะประวัติศาสตร์สุโขทัย แตะต้องไม่ได้แล้ว

๘  ) ผู้สนับสนุน มีใครบ้าง  ผู้คัดค้าน ในแวดวง มีใครบ้าง  
       ไม่มีใครศึกษาประวัติศาสตร์แบบคติชนวิทยาและคติศาสนาความเชื่อเลยในประเทศไทย นอกจากตามประวัติศาสตร์จารึกและประวัติศาสตร์ศิลปะเดิมครับ

๘) การคัดค้าน  คุณวรณัยพบไหมว่า มีใครบ้าง และคัดค้านอย่างไร
      ยังไม่มีครับ เพราะในประเทศไทยมีคนเชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการของศาสนาพุทธในประเทศไทยไม่กี่คน ผมศึกษาประยุกต์มาจากงานของอาจารย์ผาสุขและเอกสารวัรชยานของต่างประเทศ ประกอบกับการศึกษาเรื่องวัชรยานในประเทศไทยจากหลักฐานที่ค้นพบตามที่ต่าง ๆ เองครับ

ต้องขออภัยอย่างยิ่งครับ หากไม่ใช่เช่นนั้นจริง ๆ  ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 19:09

ตรรกะของคุณนี่ พิศดารมาก

ผมยกข้อความคุณมา 14 ข้อ ชี้ว่าเป็นข้อความที่น่าสงสัย คุณไม่ตอบ ดันไปบอกว่าเป็นโวหารเก่าๆ ผุๆ
ผมมันโง่ เชื่อที่คุณบอกว่า "มีมากเลยครับ หากยึดตามจารึก" ก็นึกว่าคำพรรณาต่อๆ ลงมา อ้างอิงจารึก
อ้าว เพิ่งรู้เดี๋ยวนีเอง ว่ามาจากทองใบ แตงน้อย
พิริยะรู้เข้าคงดีใจแย่ งานวิจัยของตัว ถูกยกทาบชั้นครูทองใบ....กร๊ากกกๆๆๆๆๆๆ

แล้วตกลง 14 ข้อนี่ เป็นไปตามนั้นใช่แมะ ผมจะได้จบเรื่องซะที เสียเวลาเปล่าๆ
บันทึกการเข้า
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 19:43

"มีมากเลยครับ หากยึดตามจารึก" ยึดคำเป็นที่ตั้ง คนอื่นต้องผิด ไม่เคยยืดหยุ่น

แขวะพิริยะ ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้อธิบายอะไรชัดเจนซักกะอย่าง ยกแต่คำในจารึกมาอ้าง หาอ่านได้จากนี่ครับ http://www.sac.or.th/jaruk/ ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว
อ่านเสร็จจะตีความอย่างไร เขาคิดกันได้ครับท่าน ไม่ต้องมาอ้างยึดคำจะ "เอาชนะ" จากคำพูดอีก

พอในความเห็นที่ 29 ของตัวเอง ...กลับลื่นไหล ไม่ยึดซักคำในจารึก ตีความเป็นเรื่องเอกราชปลดแอกเขมร ท่าจะเกลียดเขมรมาก ไม่เห็นจารึกเขียนคำนี้ไว้สักคำ อ้างเป็นตุเป็นตะ

ใครกันแน่ที่พลิ้ว ตรรกะแบบจับผิดเด็ก ๆ  "แกพูดอย่างนี้ แกต้องผิด" ฉันเลยมีสิทธิกล่าวว่า
แค่อ้างเรื่องเดิม ๆ เก่า ๆ มาจับผิดพิริยะอีก  เขาอ่านกันหมดแล้วครับ ไปยุ่งเขาทำไม ท่าทางจะอคติฝังใจ

ใครกันแน่ที่เสียเวลา... จังเลย

ปล. 14 ข้อ ตอบไปแล้วนะครับ กรุณาอ่านของคนอื่นเขาบ้างอย่าติดกับ"ความเชื่อ"ของตัวเองนัก จะลดอคติ (Bias )ได้เยอะ
บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 20:29

อ้างถึง
ขออภัยครับ ถ้าเจตนาของคุณเทาชมพูไม่ใช่เช่นนั้น
เจตนาของดิฉัน ไม่ใช่เช่นนั้นค่ะ

เมื่อคุณวรณัยขออภัย ก็ให้อภัย   
ดิฉันจะดีใจกว่านี้ ถ้าคุณวรณัยสามารถโพสอะไรได้   โดยไม่ต้องมาขออภัยภายหลังบ่อยนัก   

คนเราถ้าเสนอแนวคิดอะไรใหม่  ก็ต้องเจอทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย     
ถ้ามั่นใจในข้อมูลและความคิดเห็นใดๆว่ามีน้ำหนักพอ   ก็ไม่ต้องระเบิดอารมณ์กับข้อมูลและความเห็นที่แตกต่างไปจากนั้น
ถ้าเรายังยอมรับความเห็นของคนอื่นไม่ได้   ก็จะไปหวังอะไรว่าคนอื่นจะยอมรับความเห็นของเรา 
ถ้าความเห็นที่คัดค้าน มีน้ำหนักน้อยกว่า   ถึงคนอื่นไม่รู้ เราก็รู้    ถ้าเขามีน้ำหนักมากกว่า  เราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้น
สำหรับนักวิชาการแล้ว อะไรจะสำคัญเท่าความรู้เป็นไม่มี    ส่วนความเห็นนั้นจะสนับสนุนหรือจะค้าน  ถ้ารู้จักพิจารณา มันก็ทำให้คุณรู้มากขึ้นได้ทั้งนั้นค่ะ 
แม้แต่เป็นความคิดโง่ๆ คุณก็ยังได้รู้ว่ามันโง่นี่นา

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 20:50

ความเห็นที่ 29 ของผม อ่านซ้ำไปมาก็ยังไม่เห็นว่าจะต้องแก้ตัวอะไร
"...กลับลื่นไหล ไม่ยึดซักคำในจารึก ตีความเป็นเรื่องเอกราชปลดแอกเขมร ท่าจะเกลียดเขมรมาก"
อ่านแล้วไม่เข้าใจ แต่ช่างเถิดเสียเวลาต้องเข้าใจ เดี๋ยวก็บิดไปทางอื่นอีกอยู่ดี
อย่างไรก็ดี ถ้าคำพูดเป็นของผม ผมไม่ทิ้งขว้าง ยินดีรับผิดชอบเสมอ....ตลอดไป

คุณอาจจะเห็นความสำคัญของปราสามสามองค์บนฐานเดียวกัน และ"รู้ดี"ว่าอย่างนี้เรียกอโรคยาศาล
ผมเห็นต่าง เพราะผมเดินมาอีกทาง เชื่อว่า ปราสาทหมู่บนฐานยกชั้นนั้น ต้นแบบเป็นเทวาลัยฮินดู แล้วมหายานมายืมไปใช้
รูปแบบเช่นนี้ ผมเชื่อว่ามาจากลัทธิบูชาบรรพบุรุษดังเช่นหมู่ห้าองค์ที่เมืองต่ำ แต่จะทราบสายวิวัฒนาการนั้น
ต้องทำงานอีกมาก จึงยังไม่กล้าสรุปในขณะนี้

ส่วนรูปแบบของอโรคยาศาลนั้น ผมไม่มีประสบการณ์ไกล้ชิด ขนาดไปตามดูได้ทุกแห่ง
เท่าที่เคยเห็นแถบสุรินทร์ พบว่ามีรูปแบบที่ชัดเจนพอแยกแยะได้ คืออยู่ในวงล้อมพระระเบียงหรือกำแพง
ขนาดไม่ใหญ่โต นี่ก็ว่าไปตามคนที่ขุดค้นคนแรก คืออาจารย์มานิต บวกกับที่ตัวเองตามไปรังวัดซ้ำ บางแห่ง
แต่ไม่เคยพบอโรคยาศาลที่เป็นปราสาทสามหลังเลย
สำหรับปรางค์วัดเจ้าจันทร์นั้น กริสเวิล์ดเป็นผู้เสนอว่า เป็นอโรคยาศาลที่อยู่เหนือสุดของอาณาจักรเขมร
ผมไม่เห็นด้วย แต่ไม่คิดว่าจะมีน้ำหนักความสำคัญอันใด ลำพังศาลตาผาแดง และปราสาทบาปวนที่พบใหม่
ก็พอเพียงที่จะยืนยันอิทธิพลของเขมรในบริเวณนี้

และทำให้ประวัติศาสตร์สุโขทัย ต้องเริ่มต้นที่การแยกตัวออกจากเขมร หรือตามจารึกหลักที่ 2 เรียกขอม
เนื้อความก็ดำเนินมาตามนี้ ไม่ได้ต้องบังคับให้ใครเชื่อเลย
ตรงใหนสงสัย ก็มีเอกสารรองรับ จะเป็นการตีความหรือเป็นการอ่านมาจากจารึก ก็ล้วนชี้แจงได้ทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 21:38

มาเพิ่มเติมครับ คุณเทาชมพู

ผมเอาผังของเมืองคู่แฝดสองเมืองในภูมิภาคสุวรรณภูมิ ในอายุเดียวกันมาเทียบให้ดู เพื่อตอบคำถามในเรื่องวัชรยาน
ภาพบน เป็นเมืองสุโขทัย กับวัดพระพายหลวง ที่อยู่ในแนวเหนือใต้ ระหว่างกัน ทั้งสองมีศาสนสถานหลัก กลางเมืองเช่นกัน แต่ของ ปราสาทกลางสุโขทัย(วัดมหาธาตุ)ดูจะไม่กลางเท่าใดนัก ทั้งสองมีศาสนสถานหลัก และหันหน้าไปทางทิศตะวันออก วัดพระพายหลวงเป็นศาสนสถานในพุทธศตวรรษที่ 17 แล้วมาแปลงในพุทธศตวรรษที่ 18 ส่วนเมืองสุโขทัย มีปราสาทที่วัดมหาธาตุเป็นศูนย์กลางในพุทธศตวรรษที่ 18

ภาพล่างเป็นผังเมืองในระดับความสูงเดียวกัน ของเมืองนครวัดและพระนครหลวงบายน นครวัดก็มีบรมวิษณุโลกเป็นศูนย์กลาง ในพุทธศตวรรษที่ 17 ปราสาทบายนเป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครในพุทธศตวรรษที่ 18

ขอบคุณสำหรับคำสอนน้อมรับอย่างตั้งใจครับ คุณเทาชมพู

ศาสนาสถานแบบเขมรในพุทธศตวรรษที่ 18 มี 4 แบบใหญ่
แบบแรก ก็คือปราสาทใหญ่และปราสาททั้วไป เช่นปราสาทพระขรรค์ ปราสาทบันทายคดี ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายฉมาร์ ล้วนมีแผนผังที่สอดรับกับยันมันดารา ในนิกายวัชรยานตันตระทั้งสิ้น  ปราสาทบายนเป็นปราสาทใหญ่ปราสาทแรก ที่ทำรูปปราสาทเป็นวงกลาม ตามรูปแบบยันต์มันดารา เช่นเดียวกับที่บุโรพุทโธ ในพุทธศตวรรษที่ 15 แต่ที่เขมร ด้วยอิทธิพลการสร้างคติจักรวาลสี่เหลี่ยมของฮินดู ยังมีอิทธิพลมาก การจัดยันต์เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ จึงใช้วิธรการดัดและการวางอาคาร แต่ละหลังในจุดที่เป็นพลัง เป็นศักติของแผ่นดินและของเทพเจ้า

แบบที่สอง เป็นปราสาทประจำอโรคยศาลา เรียกว่า (สุคตาลัย) (Chapel of Hospital) เป็นสถานที่เพื่อการบูชาพระไภสัชยคุรุไวฑูรยประภา แบบที่สองนี้มีผังสี่เหลี่ยม ใหญ่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ปราสาทเมืองสิงห์ที่กาญจนบุรี

แบที่สาม เรียกว่า ธรรมศาลา หรือ บ้านมีไฟ เป็นศาลาประจำทางเดิน หรือศาลพระภูมิประจำถิ่นในเส้นทางต่าง ๆ ของพระเจ้าชัยวรมัน

แบบที่สี่ เป็นปราสาทแบบท้องถิ่น เช่นที่ ปราสาทกำแพงแลง  ปราสาทเนินทางพระที่สามชุก ปราสาทวัดมหาธาตุราชบุรี ปราสาทที่วัดมหาธาตุเมืองเพชร จอมปราสาทที่ที่สระโกสินารายณ์ ปราสาทสามยอดที่ลพบุรี ปราสาทที่วัดมหาธาตุอยุธยา ปราสาทวัดมหาธาตุพิษณุโลก หรือวัดจุฬามณี ปราสาทส่วนใหญ่ถูกทำลายและดัดแปลงเป็นมหาธาตุภายหลังที่คติความเชื่อศาสนาเปลี่ยนไป

ปราสาทแบบสุคตาลัย ไม่ได้ขึ้นเกินจังหวัดลพบุรี ที่เพชรบูรณ์ ก็ไม่พบ ภาคกลางตอนบนไม่พบเลยสักแห่ง แต่ไปพบปราสาทที่เมืองสุโขทัยและสวรรคโลกเลย และเลยขึ้นไปก็ไม่พบปราสาทหินอีกเลย
รูปแบบพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาแบบสุโขทัย มีศิลปะที่สวยงามเฉพาะตัวกว่าที่พบตามสุคตาลัยในอีสาน

ชุมชนก่อนเกิดเป็นสุโขทัย เป็นรัฐในการปกครองของเมืองเขมร แต่ไม่ใช่เมืองขึ้น เป็นรัฐที่มี กมรเตงชคต ปกครอง ในระดับเจ้านายท้องถิ่น ที่มีอิสระและมีความสำคัญทางทิศเหนือสุดของอาณาจักรเขมรขอมศูนย์กลางที่ลพบุรี ไม่ใช่ที่เขมรที่เมืองพระนคร

แนวคิดผมแยก
เขมร-ไทลาว-สุโขทัย เป็นชาวสุโขทัยในเวลาต่อมา
เขมร - ขอม -ลพบุรี เปนชาวอยุธยาในเวลาต่อมา
ในขณะที่ชาวอยุธยาที่ผสมชาวสุโขทัยแล้วผสม จีน ลาว กลายเป็นคนกรุงเทพฯ
และเขมรพระนคร ก็เป็นชาวเขมรและชาวอีสานใต้ในเวลาต่อมา

ภาพที่สองเป็นภาพ สุคตาลัยเน็คเปรียง ที่หน้าปราสาทตาแก้ว  มีผังกำแพงสี่เหลี่ยม บางที่มีโคปุระ บางทีไม่มี บางทีมีบรรณาลัย บางทีไม่มี แต่ทุกที่ต้องมีสระน้ำตรงมุม สูงสุด 4 ทิศ ต่ำสุด 1 บาราย
ภาพที่สาม เป็นธรรมศาลา หรือบ้านมีไฟ ในจารึกปราสาทพระขรรค์อ้างว่ามี 102 ตอนนี้เห็นไม่เกิน 20 ส่วนที่เหลือสร้างไม่ทัน ก็ไปแปลงปราสาทในศาสนาฮินดูอายุก่อนหน้ามาใช้งานแทนครับ ภาพนี้เรียกว่าปราสาทพระขรรค์ที่กำปงสวาย บนเส้นทาง มรรครา
ภาพที่สี่ เป็นโคปุระของปราสาทแบบที่สี่ หรือแบบท้องถิ่นที่ไกลจากพระนครสุดกู่ อย่างที่ปราสาทกำแพงแลง เมืองเพชรบุรี เสียดายที่บารายถูกถมไป เพราะอ้างว่าไม่สำคัญ






คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ



บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 21:48

ขอชี้แจงกับคุณวรณัย  ต่อข้อกล่าวหาของคุณวรณัยอีกครั้ง  

ดิฉันเคยเรียนประวัติศาสตร์ตอนปี ๑  อาจารย์สอนว่า  ถ้าเราเห็นหลักฐานทางวัฒนธรรมในดินแดนหนึ่ง ไปเหมือนในอีกดินแดนหนึ่ง  
ก็อย่าเพิ่งเหมาว่า  เป็นวัฒนธรรมอันหนึ่งอันเดียวกัน  แต่บอกได้ว่า ทั้งสองแดน  มีการติดต่อกัน

ดิฉันถึงได้ยกตัวอย่างเจ้าแม่กวนอิมขึ้นมา    เพื่อให้เห็นว่าการมีหลักฐานทางนิกายมหายานอยู่ในจังหวัดของไทย ก็ไม่ได้หมายความว่า  แถวนั้นในยุคนั้นเป็นมหายาน
ในกรณีนี้ถ้าเป็นสุโขทัย จะอธิบายร่องรอยของมหายานที่เจอได้ไหม  ว่ามันเหมือนหรือแตกต่างกันกับตัวอย่างนี้ยังไง
แต่คุณวรณัย ก็ไปตอบอะไรคนละเรื่อง ในครั้งแรก   ดิฉันถามซ้ำอีก ขยายความให้ชัดเจน  คราวนี้คุณเอาดิฉันไปโยงกับคุณพิพัฒน์
เดชะบุญ   ยังทันนึกออกว่าควรให้กรอกฟอร์มดีกว่า   เผื่อจะได้คำตอบ
ถ้าดิฉันยังไม่ได้คำตอบอีก   ก็คงหมดปัญญาถามแล้วคราวนี้
ปรากฏว่าได้คำตอบรู้เรื่อง   โล่งอกไปที
คำตอบของคุณ ขอบอกว่ารู้เรื่องแล้วว่าคุณหมายความว่าอะไร   ส่วนเรื่องความคิดเห็นนั้น  ไม่มีค่ะ
แค่นี้พอตามต้องการแล้ว
บันทึกการเข้า
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 22:09

มาอธิบายเพิ่มครับ
ภาพแบบปราสาทที่สี่ในเมืองไทย จารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากปราสาทตอร์  ได้กล่าวถึงการเอาชนะพระราชาในทิศตะวันตก แล้วกล่าวถึงชายแดนที่ติดกับพม่า ปราสาทสำคัญคือปราสาทเมืองสิงห์ หัวเมืองตะวันตกสุด ที่มีการพบรูปสลักมากมาย ในลัทธิวัชรยาน และมีรูปใบหน้าของพระเจ้าชัยวรมันขนาดใหญ่บนปรางค์ประธานเช่นเดียวกับที่นครธม ( ภาพสมมุติ)

ภาพปราสาทครุฑที่เมืองครุฑ ใกล้ปราสาทเมืองสิงห์ (ภาพสมมุติ)

ภาพโคปุระ อโคยศาลาที่วัดมหาธาตุราชบุรี

ภาพพระพุทธเจ้าธยานิพุทธะ หรือพระไภษัชยคุรุ บนกำแพงล้อมวัดมหาธาตุ แบบเดียวกับที่พบตามอโรคยศาลาทั่วไป



บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 26 ก.ย. 07, 22:13

มาอธิบายเพิ่มครับ
ภาพแบบปราสาทที่สี่ในเมืองไทย จารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากปราสาทตอร์  ได้กล่าวถึงการเอาชนะพระราชาในทิศตะวันตก แล้วกล่าวถึงชายแดนที่ติดกับพม่า ปราสาทสำคัญคือปราสาทเมืองสิงห์ หัวเมืองตะวันตกสุด ที่มีการพบรูปสลักมากมาย ในลัทธิวัชรยาน และมีรูปใบหน้าของพระเจ้าชัยวรมันขนาดใหญ่บนปรางค์ประธานเช่นเดียวกับที่นครธม ( ภาพสมมุติ)

ภาพปราสาทครุฑที่เมืองครุฑ ใกล้ปราสาทเมืองสิงห์ (ภาพสมมุติ)

ภาพโคปุระ อโคยศาลาที่วัดมหาธาตุราชบุรี ในขณะที่ปรางค์ประธานถูกแปลงเป็นมหาธาตุแบบเถรวาทอยุธยาแล้ว

ภาพพระพุทธเจ้าธยานิพุทธะ หรือพระไภษัชยคุรุ บนกำแพงล้อมวัดมหาธาตุ แบบเดียวกับที่พบตามอโรคยศาลาทั่วไป



บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 27 ก.ย. 07, 08:49

พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาในซุ้มเรือนแก้ว เป็นคติเฉพาะของ"วัชรยาน"เท่านั้น ดูได้จากวัชรยานในธิเบต-เนปาล-ญี่ป่น ก็ยังยึดหลักปรัชญาจากคัมภีร์เดียวกัน แต่รายละเอียดเปลี่ยนแปลงไป มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนในเขมรโบราณ วัชรยานถูกแปลงอย่างสุดกู่ มีการสถาปนาพระมหาไวโรจนะ ชินพุทธะองค์ที่ 6 ผู้อยู่เหนือธยานิพุทธะทั้ง 5 เกิดเป็นพระวัชรสัตว์พุทธะในรูปแบบทรงเครื่องกษัตริย์ เกิดพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ในใบหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง และเกิดลัทธิโลเกศวรในคติของพระโพธิญาณของอำนาจและสงคราม

หากจะบอกว่าอิทธิพลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ไปไม่ถึงสุโขทัย ก็คงต้องอธิบายหลักฐานเหล่านี้ว่าเกิดมาได้อย่างไร ทั้งรูปเคารพในคติความเชื่อวัชรยานเดียวกัน แต่ ศิลปะคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน ตรงนี้แหละที่ประวัติศาสตร์ศิลป์อธิบายไม่ได้ ผมจึงเรียกว่า ศิลปะวัชรยานแบบสุโขทัย ไม่ใช่ศิลปะสุโขทัยที่แฝงไปด้วยแนวคิดแบบชาตินิยม แยกไทยแยกเขมร

ศิลปะวัชรยานแบบสุโขทัย ใช้คติแบบวัชรยาน แต่มีความเป็นท้องถิ่นเมืองใหญ่ มีศิลปะเป็นเอกลักษณ์ ทั้งที่คล้ายและแตกต่าง แต่ก็ยังคงรายละเอียดตามคัมภีร์ศาสนาไม่ผิดเพี้ยนจากศูนย์กลางที่เมืองพระนครหลวง

นอกจากนี้ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภายังมีแบบปางนาคปรก เช่นเดียวกับรูปพระวัชรสัตว์พุทธะ พระพุทธเจ้าสูงสุดทรงเครื่องกษัตริย์ซึ่งก็เป็นคติของวัชรยาน ซึ่งก็คือรูปของพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่องกษัตริย์ที่ทุ่งเสลี่ยม ซึ่งเป็นศิลปะวัชรยานแบบสุโขทัยชิ้นเอก

ภาพพระวัชรสัตว์พุทธะ ปางประทานอภัย พบในเขต ม.ราชภัฏลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18

ภาพ พระวัชรสัตว์พุทธะ ปางสมาธิ พบที่ทุ่งเสลี่ยม สุโขทัย






บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 27 ก.ย. 07, 08:59

ติดตามอยู่ค่ะ ไม่ใช่ในฐานะอะไร นอกจากอยากอ่านเพลินๆ และมีความรู้ใหม่ๆติดสมองไปบ้าง ดิฉันเรียนประวัติศาสตร์สำนักเดียวกับท่านอาจารย์เทาชมพู สำนักเรานั้น มีทั้งสอนนักเรียนแบบให้จำพ.ศ. กับเหตุการณ์ กับแบบวิเคราะห์ ถกเถียง บรรยาย คิด มีทั้งท่านอาจารย์ดอกเตอร์เดินสวนกันเต็มไปหมด แล้วก็ยังเชิญท่านนอกสำนักทั้งเชื้อเจ้า และไม่มีเชื้อมาบรรยาย
เราเรียนแบบหนุกหนาน เท่าที่จำได้ ไม่มีการฉุนโกรธ หากใครคิดไม่เหมือนตัว เอาเหตุผลมาคุยกันดีกว่า บางทีเหตุผลก็มาจากโลกในกะลาใบเล็ก หรือในสระจ้อยบัวบาน ..
สุดท้าย ถึงตกลงกันไม่ได้ แล้วแต่ใครจะเชื่ออย่างไร ก็ได้ประโยชน์อยู่ดี
แต่ที่เราจำได้แม่นก็คือ ที่ท่านกล่าวว่า ขุดเจออะไรที่ไหน อย่าด่วนสรุปว่า มีชนชาตินั้นในที่นั่น..
อาจจะแค่มีการติดต่อกัน ...
 
บันทึกการเข้า
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 27 ก.ย. 07, 09:09

ตำแหน่งการวางรูปพระไภษัชยไวฑูรยะประภา ในสถานที่เป็นที่บูชาแห่งอโรคยศาลา หรือสุคตาลัย (Chapel of Hospital) จะมีรูปเคารพนี้ ประกอบอย่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของศาสนสถานเสมอ
ซึ่งเท่าที่พบมีสามแบบ

ภาพแบบที่หนึ่ง ประดับบนหลังคาแทน ยอดบราลี จากภาพปราสาทตาพรหมเก็ล และภาพลายเส้นธรรมศาลาที่ปราสาทพระขรรค์ การวางรูปพระในซุ้มเรือนแก้วจะวางประดับอยู่บนสันกลางของหลังคา ในภาพพระพุทธเจ้าสูงสุดถูกขูดทำลายหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งปรากฏทั่วไปทั่วเมืองพระนครหลวง

ภาพที่สอง แบบที่สอง ประดับบนกำแพงล้อมรอบ จากอิทธิพลของปราสาทบันทายคดี หรือบันทายกุฏิ รูปพระพุทธเจ้าในซุ้มเรือนแก้ว จะประดับบนกำแพงแก้ว ล้อมสุคตาลัย มีลักษณะเป็นชิ้นหินต่อกันสามองค์ แต่ก็มีแบบสององค์ ในประเทศไทย ที่สวยที่สุดอยู่ที่กำแพงอโรคยศาลาที่วัดมหาธาตุราชบุรี แต่ก็พบในภาคอีสานกระจัดกระจาย หลายชิ้นจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ทั้งในกรุงเทพและในอีสานหลายแห่ง

ภาพที่สามแบบที่สาม เป็นแบบประดับบนเรือนยอดองค์ปราสาท เป็นรูปตั้งแทนรูปฤาษี แทนรูปปราสาทจำลองและรูปเทพเจ้าประจำทิศ หากใช้วิธีการดัดแปลงศาสนสถานที่มีอยู่ก่อนหน้า จะใช้วิธีแปลงปราสาทพราหมณ์ให้มาเป็นปราสาทวัชรยาน โดยการเปล่ยนรายละเอียดรูปเคารพ ซึ่งวิธีนี้จะทำมห้สามารถสร้างศาสนสถานได้เร็วกว่าการสร้างใหม่ ภาพนี้มาจากปราสาทกุฏิฤาษี ใกล้เขาพนมรุ้ง อยู่บนเส้นทางมรรครา จะมีรูปพระไภษัชยคุรุกำลังรักษาโรค สะท้อนคติท้องถิ่นที่ประยุกต์พระโพธิสัตว์ให้ชัดเจนมากกว่าเป็นบุคลาธิษฐานว่าพระองค์เป็นเทพเจ้าเพื่อการรักษาโรค

ภาพที่ 4 พบในสุโขทัยมาจนถึงพิษณุโลก ส่วนใหญ่แตกหัก มีขนาดเล็กใหญ่ไล่เรียงขนาดตามชั้นของปราสาท เป็นแบบประดับบนปราสาท แบบใบเดี่ยว รูปทั้งหมดเป็นรูปปางสมาธิมีหม้อยาอยู่ในมือทั้งหมด  ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเทพและที่สุโขทัย






บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง