เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 48732 !! พ่อขุนรามคำแหงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยสมัยสุโขทัย ในด้านใดบ้าง ??
roccoco
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 01 ก.ย. 07, 16:28

อยากรู้ว่าพ่อขุนราม มีพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทย ในสมัยสุโขทัย

ในด้านใดบ้างคะ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ก.ย. 07, 16:51

ลองตอบเองก่อนนะคะ   
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ก.ย. 07, 22:40

ขอให้หนอนบุ้งช่วยเพื่อนรุ่นน้องหน่อยนึงนะค่ะ  ยิ้มกว้างๆ
แหมนึกถึงตอนที่เพิ่งเรียนเรื่องนี้เลย ได้ฟื้นความจำจ้า
 
๑. พระองค์ท่านทรงทำอะไรล่ะ ที่บรรยายว่าเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขายน่ะ

อ้อ...วิธีสั่นกระดิ่งก็ด้วย ในรัชกาลที่ ๔  ของรัตนโกสินทร์ก็รับมาใช้ เพื่อให้พสกนิกรมาเคาะเหง่งหง่างน่ะ

๒. พระมหากรุณาธิคุณอีกอย่างหนึ่งคือ พระองค์ทรงให้กำเนิดลูกหลาน ที่ทรงพระนามว่า
พระเจ้าศรีสุริยพงศรามมหาธรรมราชาธิราช
(ออกพระนามสามัญว่า พระมหาธรรมราชา ที่ ๑ หรือพระเจ้าลิไท)
ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๕ ของราชอาณาจักรสุโขทัย ที่ทรงพระราชนิพนธ์
หนังสือไตรภูมิกถา วรรณคดีสำคัญเรื่องแรกๆ ของไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๘๘
บันทึกการเข้า
KoKoKo
อสุรผัด
*
ตอบ: 49


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 06:30

แหม ให้ตายเถอะครับ กระทู้เรื่องศิลาจารึกหลักที่หนึ่งนี่เสี่ยงเหลือเกินนะครับ (อย่างที่รู้ๆกันว่า ไม่ต้องพูดก็รู้ว่าอะไร เหอๆ สำเนียงเหมือนเรื่องแฮรี่พอร์ตเตอร์ยังไงไม่รู้เนอะ)  รูดซิบปาก

สำหรับผม สิ่งที่ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณมากที่สุด น่าจะเป็นผลของแนวคิดการค้าเสรี และสภาพสังคมกึ่งเสรีธิปไตยในยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ว่าใครอยากจะขายวัว ม้า ช้าง ทาสชาย ทาสหญิงก็ทำได้ เป็นต้น นั้น ส่งต่อการปรับประเทศในยุคร.๔ และ ร.๕  อย่างรุนแรงเลยทีเดียวเทียว ยิ้ม แต่มีผลต่อคนในสมัยสุโขทัยอย่างไรไม่รู้แฮะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 07:12

แสดงว่าคุณสามโก เชื่อทริดสะดีของสองด๊อกและคณะเรื่องจารึกนี้ปลอมใหม่ อย่างนั้นละหรือ
บันทึกการเข้า
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 08:17

มีมากเลยครับ หากยึดตามจารึก

ทรงปกครองไปถึงมลายู ตะวันตกจรดเบลกอล ตะวันออกจรดล้านช้าง เหนือจรดเชียงใหม่
ไปเมืองจีน พบกุลไลข่าน เจรจายอมจิ้มก้อง นำช่างจีนมาสังคโลก ออกไปขายตีตลาดแข่งกับเตาเวียงกาหลง
ทรงปกครองระบอบเสรี ไม่มีสภา ไม่มีรัฐบาล ไพร่ฟ้าเดือดร้อน ก็มาตีกลองที่ศาลาลูกขุน ตีเมื่อไหร่ ก็เสด็จลงมาเมื่อนั้น ใครแย่งที่นาใครก็มาตัดสินความให้ วัวใครหายก็ทรงตามให้
กาค้าเสรี ไม่เอาภาษาจังกอบ ใครอยากเข้าสุโขทัยก็เข้า จะมาจากชาติไหนก็ไหน
อัตราแลกเปลี่ยนคงลอยตัวเพราะมะกะโทสามารถใช้เงินเพียงนิดเดียวซื้อผักกาดขาวได้
ทรงโปรดให้สร้างศาสนสถานมากมายทั้งสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในรัชกาลเดียว ได้ทั้งรัชกาลมีจารึกของพระองค์หลักเดียว คงเพราะจะได้ไม่มีใครเหมือน
กำแพงวงใน 3400 วา วงนอกเป็นตรีบูร ทรงวางแผนผังไว้ให้ชาวอยุธยามาสร้างกำแพงต่อให้สมบูรณ์
ทรงรประดิษฐ์อักษรไทยด้วยพระองค์เอง ด้วยอักษรขอมมันอ่านยาก เลยดัดตัวให้อ่านง่าย ด้วยการให้สระกับพยัญชนะไปอยู่บนบรรทัดเดียวแบบภาษาอังกฤษ เสียดายที่ไม่ค่อยมีใครนิยมใช้ต่อ มาจนถึงปัจจุบัน
ทรงปั้นพระพักตรไว้ให้ผู้คนรุ่นหลังบูชาที่วัดมหาธาตุเชลียง
ทรงขึ้นไปนั่งสวดมนต์ด้วยเสียงอันดังกังวานบนปิรามิดสามชั้นวัดมหาธาตุ เพื่อให้พสกนิกรเข้ามาฟังธรรมทุกวันพระ
ทรงสร้างปลาก้างพระร่วงให้เป็นปลาประจำแม่น้ำยม
คนไทยสมัยนั้นมีแต่สุโขทัย ที่เหลือเป็นพวกชาวต่างชาติที่เข้ามากดขี่ข่มเหงคนไทย ต้องคอยส่งน้ำใส่ชะลอมไปให้ที่โตนเลสาป เพราะเขมรพระนครกลัวน้ำแห้ง
ใครไม่ได้เกิดสุโขทัย ไม่นับว่าเป็นคนไทย เพราะคนอยุธยาไม่ได้มาจากสุโขทัย คนอยุธยาจึงไม่ใช่คนไทย
ทรงสร้างทางด่วยสายแรก ถนนพระร่วง จากสุโขทัยเชื่อมถึงกำแพงเพชร สมัยหลังสร้างถนนไม่เป็นจนมาถึงสมัยโฮปเวลล์
ทรงโปรดให้สร้างพระเดินทั้งหมด เรียกกันว่าปางลีลา เพราะเป็นการแสดงบุคลิกของพระองค์ว่าขยันขันแข็ง มีความคิดก้าวหน้า เอแต่สมันนั้นพระสงฆ์จากลังกาเข้ามาแล้วหรือ อนุมานให้เข้ามาแล้วล่ะกัน เดี๋ยวไม่รับกับจารึก

เท่าที่หาได้มีเท่านี้ครับ


ปล. จารึกหลักรูป 4 เหลี่ยมด้านเท่า พบก่อนหน้าสมัยสุโขทัย เป็นหลักจารึกประจำอโรคยศาลา ในพุทธศตวรรษที่ 18 จึงเชื่อได้ว่ารูปแบบจารึกไม่ใช่ของใหม่
       ส่วนใครจะเชื่อว่าจารึกปลอมหรือไม่ปลอม ผมว่า"อ่าน"แนวคิดของทั้งฝ่ายให้จบก่อน ที่จะ"เชื่อ" โดยไม่ลืมหูลืมตา ทั้งฝ่ายใดก็ตาม
       
       สุโขทัย อาจจะไม่มีอะไรเหลือเลย หลังสมัยที่รุ่งเรืองในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม
       หรือสุโขทัย จะเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ประดิษฐ์อักษร(ที่ปัจจุบัน)ไม่ได้ใช้ ก็ใช่ว่าจะเชื่อไม่ได้

       อยู่ที่ว่า คุณศึกษาเหรียญทั้งสองด้านหรือเปล่า เคยไปสุโขทัยหรือเปล่า เคยศึกษาการสร้างประวัติศาสตร์และภาพถ่ายเก่าของกรุงสุโขทัยก่อนการบูรณะหรือเปล่า
       ถ้ายัง  ก็อย่าเพิ่ง"เชื่อ" ใครทั้งสิ้น

       แต่ถ้าต้องทำการบ้านส่งครู ก็ให้รีบลอกตามเดิมไปซะ เพราะคิดมากก็จะ"แตกต่าง" ไปจากแบบแผนการเรียนเสียเปล่า คะแนนก็ไม่ได้ ถูกหาว่าโง่อีก 

       ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ก.ย. 07, 08:59 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
KoKoKo
อสุรผัด
*
ตอบ: 49


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 10:01

ประเด็นของผู้ตั้งกระทู้เริ่มบิดเบี้ยวไป เริ่มต้นตั้งแต่คำตอบของผมเอง ผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

เรียนสอบถามคุณ pipat ซักนิดนะครับว่า เคยมีคนศึกษาถึงช่วงเวลาที่ตัดหินมาทำแท่งศิลารึเปล่านะครับ
ผมรู้สึกว่าเคยมีงานวิจัยออกมาแล้ว แต่มันเลอะๆเลือนๆ อย่างไรจำไม่ค่อยได้น่ะครับ

ประมาณว่าผู้ศึกษาตรวจสอบการทำปฎิกิริยาของสารประกอบในหินกับอากาศ พวกโลหะอะไรซักอย่างไม่แน่ใจน่ะครับ มันเกิดเป็นสนิมที่ผิวศิลา
หรือการกัดกร่อนของไอน้ำกับหน้าหิน (อันนี้ไม่แน่ใจจริงๆน่ะครับถึงวิธีการวิจัย ถ้าใครเจองานวิจัยนี้ผมอยากอ่านมากเลยน่ะครับ)
หินที่ยังไม่ตัดแยกออกมา ออกซิเจนจะเข้าไปทำปฏิกิริยาได้น้อยซึ่งกระบวนการทางธรณีวิทยาสามารถคำนวณได้คร่าวๆถึงช่วงอายุที่หินถูกตัดออกมา

ประการแรกคือตัวแท่งศิลา
ถ้าศิลาถูกตัดในช่วงสุโขทัย หรือก่อนหน้านั้น ก็ยังสรุปไม่ได้ แต่ถ้าถูกตัดในช่วงหลัง ก็คงเป็นที่แน่ชัด เพราะคงไม่มีใครสามารถจารึกอักษรลงบนศิลาที่ยังไม่ได้ตัด จริงหรือไม่ครับ

ถ้ายังมีข้อสงสัยอีกว่า อาจจารึกภายหลังก็เป็นได้ คราวนี้ก็ต้องขั้นต่อไป
ร่องอักษรที่จารึกลงไปในแท่งหินก็ศึกษาในระเบียบเดียวกัน
คำตอบน่าจะออกมาได้นะครับ

สำหรับส่วนตัวผมแล้ว หลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์มันตรงไปตรงมา แม้จะไม่ร้อยเปอร์เซนต์ แต่เป็นหลักฐานที่น่าจับตามองที่สุดนะครับ

เผอิญว่าผมเป็นคาธอลิคน่ะครับ ขนาดเรื่องพิสูจน์เยซูคริสต์ว่าพระองค์เป็นปุถุชนธรรมดา อันมีผลกระทบต่อความเชือของมนุษยชาติทั่วโลก
มีผลต่อไบเบิลคำภีร์หลักของศาสนาต้องกลายเป็นนิยายเรื่องหนึง ผมกลับยอมรับได้อย่างใจกว้างเพราะความจริงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ทำนองเดียวกันกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  จะจริงหรือไม่จริงอย่างไร เป็นเรื่องต้องพิสูจน์(เน้นว่า ต้องพิสูจน์)
เพราะเมื่อเราอยู่ร่วมกัน เรายอมรับในความเป็นจริงร่วมกันในอดีต ย่อมเป็นแรงผลักดันพวกเราสู่อนาคตได้อย่างมั่นใจมิใช่หรือครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 12:10

บิดเบี้ยว แต่ไม่บิดเบือน ย่อมนับว่าอยู่ในกรอบของการศึกษา

เดี๋ยวนี้ พูดถึงจารึกหลักที่ 1 หรือพ่อขุนรามคำแหง หรือกรุงสุโขทัย
กลายเป็นต้องมาพูดเรื่อง ร. 4 ปลอมจารึก.....เซ็ง
อ่านแนวคิดของสองด๊อกมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว ก็ยังไม่เคยคล้อยตาม อาจจะเพราะรู้นิสัยของนักวิชาการเหล่านี้
ตรงนี้ อาจจะละเมิดมาตรฐานการประเมินงานไปหน่อย เพราะดูหน้า ไม่ดูงาน
แต่เนื่องจากหน้านี้ ไม่เคยอยู่กะร่องกะรอย
ใครยังจำทริดสะดีพุทธศาสนนิทานที่จุลละประโทนเจดีย์ได้บ้าง ที่เสนอแนวคิดหรูเริ่ดเรื่องลัทธิเถรวาทเอียงมหายาน
จนไม่ยอมเรียกชาดก เรียกพุทธศาสนนิทาน
แล้วมีดอกเตอร์สาวจากแดนกังหันลม มาสอนประติมานวิทยาให้
เดี๋ยวนี้แกเลยไม่ศึกษาทวาฯอีกเลย

คือว่า ถ้าเรารู้เป้าหมายทางวิชาการของใคร ก็จะทำให้เราอ่านทะลุไปถึงเนื้อในว่า ทำไปทำไม
พอรู้ว่าทำไปทำไม ก็รู้ต่อว่า อ่านไปทำไม.....เสียเวลา
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 13:09

เรื่องจารึกหลักที่ ๑ เป็นเรื่องที่คุยกันไม่จบ

ที่ไม่จบก็เพราะมันไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนมั่นเหมาะ เป็นเรื่องของการตีความทั้งนั้น

พิสูจน์ได้ก็อยากพิสูจน์ แต่ไม่รู้จะพิสูจน์ยังไงสิครับ  เศร้า
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 15:10

ทฤษฎีพุทธนิทานที่จุลประโทนเจดีย์ อยู่ในงานเล่มไหนหรือครับ กรุณาแนะนำเป็นวิทยาทานหน่อย
ส่วนผมมีเล่มนี้ เห็นมีคำอธิบายที่อ่านได้ ไม่"อคติ" ก็ชัดเจนดี อาจไม่เหมือนกับของกรมศิลป์บางที ก็ไม่แปลก เพราะรูปมันพังไปมาก เรื่องราวตีความตามหลักฐานคัมภีร์ศาสนานี่ครับ
ไม่มีแนวคิด"พุทธนิทาน"เลย

ส่วนการที่เถรวาทจะไปยืมพระโพธิสัตว์ มหายานมาใช้ในชาดก 500 พระชาติ ก็ไม่แปลกอะไร เถรวาทเกิดในสมัยหลัง ก่อนเข้ามาที่ทวารวดี ไม่ใช่มหาสังฆิกะที่ยึดตัวบทจากยุคเริ่มแรก การมีพระโพธิสัตว์ก็แปลกดีครับ ผสมผสานกันอย่างไรไม่รู้

ส่วนใครไม่คิดอ่านของใคร ก็สุดแล้วแต่ใจกันครับ

ผมว่าหลักจารึกหลักหนึ่งมันน่าเบื่อ  เพราะอ่านกี่รอบ ก็เหมือนเดิม ส่วนที่เติมแต่งโดยนักวิชาการอนุมานมากมาย ให้สอดรับกับจารึก ก็อ่านหมด สนุกดี

ส่วนที่ว่า จริงหรือปลอมเห็นด้วยกับคุณ 3 K ครับ
กระบวนการวิทยาศาสตร์ทำถึง"แค่ไหน" รู้แก่ใจกันดี พิสูจน์กันชัดก็จะหมดข้อกังขา








บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 16:04

ท่านเปรี๊ยะ เมื่อหนุ่มแกเอาดีทางเพ้นท์เต้อร์ เคยไปเข้าคลาสของโคคชก้ามาด้วย
เปิดนิทรรศการยิ่งใหญ่ที่สยามสมาคม แล้วท่านก็เลิก เปลี่ยนไปเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะแทน จนจบปริญญาเอกอุ

แกเสนองานครั้งแรกแก่ชาวไทย ด้วยบทความขนาดยาวเรื่องพุทธศาสนนิทานฯ บอกว่ารูปประดับฐานเจดีย์จุลประโทน
แท้จริง เดินตามคัมภีร์ของนิกายสรวาทสติวาทิน ท่านสุภัทรฯ ทรงแปลให้เรพาะแกเขียนไทยไม่ได้ พิมพ์เป็นเล่มงดงาม ก็เป็นที่ฮือฮา
ภายหลังมีผู้รู้มากกว่า มาเขียนแย้ง แต่พิมพ์ในนิตยสารศิลปากร จึงอ่านกันในวงจำกัด

ท่านเปรี๊ยะก็หายไปอีกนานปี โผล่มาใหม่ก็ทำเรื่องใหญ่กว่าเดิม
คือแก้วิธีเรียกชื่อศิลปะใหม่หมด คำว่าศิลปะทวารวดี ลพบุรี ศรีวิชัย เรียกไม่ได้ ให้เรียกศิลปะมอญ ศิลปะเขมร และศิลปะกลุ่มชนภาคใต้
เออ เอากะแกดิ
ตอนแรกคนก็ตื่น เหมือนตื่นเอเอฟประมาณนั้นแหละ
พอหายตื่น ก็พลันนึกได้ว่า อ้าว แล้วศิลปะมอญมาทำอะไรเต็มประเทศไทยวะเนี่ยะ
ก็ประเทศมอญ ยังไม่มีเลย จะมีศิลปะด้วยหรือ
พอพ้นอายุศิลปะมอญ อ้าว ที่เดิม จังหวัดเดิม เมืองเดิม กลายเป็นศิลปะเขมรไปเระ
เปลี่ยนง่ายเหมือนเปลี่ยนผ้านุ่งเลยนิ

เป็นทริดสะดีที่สิ้นสะติที่สุดที่คิดขึ้นได้ทีเดียว......แต่...ยังก่อน
ของดีมีมาอีก

จู่ๆ แกก็วกเข้าศิลปะสมัยใหม่ แล้วก็เขียนประวัติศาสตร์เอาใจประเทศอะไรประเทศหนึ่ง ว่า
อันศิลปะสมัยใหม่ของไทยนั้น แท้จริงมาจากแยงกี้
(คือตัดอาจารย์ศิลป์ออก ง่ายๆ อย่างนั้นแหละ อั๊วเป็นด๊อก ทำด้ายยยยย.....ฮ่ะ)
โดยบอกว่า มันเริ่มจากนักเรียนทุนโคลัมโบกลุ่มแรก....บล่าๆๆๆๆๆ มาจนถึงยุคที่ศิลปะนิวหยอกเฟื่องฟู ก็รับเอามาหมด

แล้วแกก็รับเงินแยงกี้มาจัดนิทรรศการประจาน ทำนองว่า
ศิลปินไทยก๊อบปี้เมกันมากี่คน
คิดดูเหอะ อาจารย์ไพฑูรย์ของผม ท่านรับทุนไปดูงานที่ฟิลาเดเฟียแค่ไม่กี่ชั่วยาม ตอนนั้นท่านเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมแล้วด้วย
เปรี๊ยะบอกว่า นายไปทูน ไปเห็นงานห้อยต่องแต่งของนายคัลเดอร์ที่มิวเซียมนั้น จึงลอกเอามาทำบ้าง

อาจารย์ไพฑุรย์บอกว่า ผมไม่รู้จักนายคัลเดอร์อะไรนั่น เขาเป็นใครอ่ะ
ส่วนมิวเซียมนั่น ผมไปเดินมาสองสามครั้ง ไม่ได้ดูแผนกสมัยใหม่ เพราะมันห่วย ผมไปดูพวกงานปั้นหล่ออนุสาวรีย์ชิ้นใหญ่ๆ ตะหาก
และสิ่งเดียวที่ผมได้จากเมกาก็คือ ไปหัดทำภาพพิมพ์ที่นั่น
ชิ้นโตเท่ากระดาษโปสการ์ด ว่าแล้วท่านก็ควักออกมา เป็นลายเส้นหน้าอาจารย์ศิลป์ เขียนเล่นๆ ไม่ได้นับเป็นศิลปะด้วยซ้ำ

นี่อ่ะนะ งานวิชัยระดับโรค....เฮ้อ...ขอไม่เล่าต่อดีฝ่า มันไร้สาระครับ
ไปอ่านเรื่องกระเบื้องจานแตกๆ ของมหาอ่ำ ยังสนุกกว่า
บันทึกการเข้า
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 18:13

ขอบคุณครับ   ที่ไม่บอกว่างานอะไร  เขียนเรื่องทฤษฎีไว้
เล่าแต่"อคติ" ในมุมของตัวเองให้ฟัง

หลายคนมีสมองคิด ไม่ใช่ติดกับการ"ดูถูกดูแคลน" เลยไม่รับฟังใคร
จะบอกว่าแกเป็นโฮโมด้วย ก็ไม่เกี่ยวกับงาน
อะไรรับได้ก็รับ
อะไรรับไม่ได้ก็"เลือก"ไม่รับ

โลกนักวิชาการ"คับแคบ"เป็นเช่นนี้เอง
ดีใจที่ไม่ได้คิดอยากเป็น

เล่มนี้ก็คงไม่เคยแลเช่นกัน เพราะเกลียด"ตัวตน"
ถ้าผมเกลียด"เจ้านาย"บ้าง ก็คงไปอ่านกระเบื้องห้าห่วงตราตาอ่ำ สนุกกว่าเพราะบอกว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย เช่นกัน

เลือกข้างเกลียด เลือกข้างรับ เพราะ"ความแตกต่าง"
มิน่าวิชาการไทยจึงยังเป็นเช่นนี้

เป็นกลาง เป็นกลางและเป็นกลาง ในใจได้เมื่อไหร่ สุโขทัยก็ชัดเจน






บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 20:25

เรื่อง "อคติ" เป็นเรื่องยาว

แต่ละคนมีเส้นทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ในแวดวงวิชาการ ความรู้ที่หลุดจากกรอบความคิดของตัวเองไปมากคงไม่ง่ายที่จะยอมรับกัน คนจะเสนอสิ่งใหม่ ถ้าไม่แสดงหลักการได้จะแจ้งชัดเจนพอจะล้มของเก่าได้ ก็ต้องเหนื่อยหน่อยครับ จะหวังให้ใครยอมรับไม่ใช่เรื่องง่าย

ผมว่าอาจารย์พิริยะเองก็เข้าใจเรื่องนี้ดี

ความจริง ต่อให้ไม่ใช่วงวิชาการ การที่เราได้รับรู้อะไรมาสักอย่างจากคนที่เราเชื่อถือ เราก็มีแนวโน้มจะเชื่อเช่นนั้นเหมือนกัน ยิ่งถ้าเป็นสภาพที่เราไม่รู้เรื่องเลย ก็ยิ่งง่ายที่จะเป็นเช่นนั้น

ผมเองก็มีความเชื่อพิลึกๆที่ถูกปลูกฝังมาจากพ่อแม่บ้าง ครูบ้าง หนังสือบ้าง ฝังมาตั้งแต่เด็ก เชื่อแบบไม่ต้องถาม และไม่ต้องสงสัยถึงความสมเหตุสมผลของเรื่องราว เชื่ออยู่ได้ ๒๐-๓๐ ปี จนโตมา บางเรื่องเอะใจลองทบทวนความคิดดูถึงได้เห็นว่าเป็นความเชื่อที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงเลย

นี่ก็เป็นอคติอีกแบบ เป็นอคติแบบชาวบ้านมีได้ ไม่ต้องไปไกลถึงวงวิชาการซึ่งฟาดฟันกันหนักกว่า แต่อยู่บนพื้นฐานของวิชา

การจัดการแก้อคติของตัวเองว่ายากแล้ว การยอมรับว่าอคติคือธรรมชาติของมนุษย์ที่เราต้องรับมืออย่างมีสตินั้น ยากกว่า ท้าทายกว่า

และทำให้เราสามารถมองโลกได้อย่างชัดเจนมากขึ้นครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 20:38

บางทีคุณวรณัยอาจจะอ่านที่ผมเขียนไม่ออก ก็จะขอแปลพพ. เป็นพพ. ให้ฟังชัดๆ

1 กรณีพุทธศาสนาที่จุลประโทนเจดีย์
ซึ่งผมไม่เชื่อว่า คุณจะไม่เคยอ่าน หากไม่เคยอ่านจริงๆ
ก็แปลว่าคุณยังตามอ่านนักปราดคนนี้ไม่ครบ ก็รออ่านตอนลักษณะไทยเล่มสุดท้ายพิมพ์ออกมาละกัน
จะได้ควบเก่าสุดกับใหม่สุดไปด้วยกัน ตอนนั้นอาจจะคุยสนุกกว่านี้
งานวิจัยเรื่องนี้ ชี้ว่า ผู้เขียนมีความไม่รอบด้านเพียงใด ในงานที่ตนเองเสนอ
ส่วนว่าจะไม่รอบด้านเพียงใหน คุณก็ต้องไปหานิตยสารศิลปากรฉบับที่สมควรอ่าน มาอ่านนะครับ

เมื่อนักวิชาการ ไม่รอบด้านในงานที่ตนเองทำวิจัย เราจะได้งานวิจัยแบบใหนออกมาเล่า

2 กรณีทริดสะดี "แบบศิลปะ"
คุณอาจจะมองไม่เห็นความบกพร่องมากมายนัก เพราะเป็นนักมานุษยวิทยา นี่เชื่อตามที่คุณปิดป้ายตัวเองไว้นะครับ
คุณอาจจะไม่ทราบว่า ในการกำหนด style of art ไม่มีใครเขาเอาไปผูกพันกับเชื้อชาติ หรือภูมิประเทศ
และคำว่าสกุลช่าง school of art เขาก็ไม่แปะป้ายกันดื้อๆ ว่าเจอที่ใหน เป็นมีสกุลช่างที่นั่น
คำนี้ ถ้าไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซนต์ เราจะไม่เอ่ยถึงเลย
เช่นที่เสนอว่า พระพุทธรูปพระเจ้าหย่อนตีน ที่นครปฐม อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ซึ่งเราเคยเรียกว่าศิลปะทวารวดี
ท่านให้เรียกว่า ศิลปะมอญ-สกุลช่างนครปฐม ถ้าเทียบแนวนี้ แล้วเอาไปเรียกงานของดาวินชี่ว่า
ศิลปะอิตาลี่-สกุลช่างปารีส /โรม/ฟลอเรนส์....บล่าๆๆๆๆ ก็คงตลกพอลงต่วยตูนได้
ผมก็ไม่ได้อ่านหนังสือเล่มล่าของแกเสียด้วย ไม่รู้ว่าบัดเดี๋ยวนี้ แกเรียกโบราณศิลปะเหล่านี้อย่างไรแล้ว
เรื่องสุดท้ายที่"ทน"อ่าน ก็คือเกี่ยวกับวิวัฒนาการลายไทย ที่สยามสมาคมพิมพ์เป็นรวมบทความ ก็นานโขพอดู
ที่กล่าวมายาวนี้ เพื่อจะบอกว่า
คนที่เสนอแนวคิดเลอะเทอะแบบนี้ ยากที่จะทำเรื่องไม่เลอะเทอะต่อไปในภายภาคหน้า
และการณ์ก็สมดั่งความสังหรณ์ของผม คือข้อต่อไป

3 เรื่องศิลปะสมัยใหม่ "แบบอะเมริกันไหนส์"
งานวิจัยนี้ จัดว่าเป็นโศกนาฏกรรมแห่งความรู้ทีเดียว
คุณทำเรื่องก่อนเกิดแปดร้อยปี พันสองร้อยปี หรือเก่ากว่านั้น คุณก็เปิดหนังสือ อ่านที่เขาเขียนไว้
มาร์แชลว่าไง คันนิ่งแฮมว่าไง เซแดสว่าไง โกรลิเย บวสลิเย่ว่าไง
ก็อ้างไป หน้าโน้นหน้านี้ ว่าอย่างโน้นอย่างนี้ คนอ่านก็ปื้มมม์ ว่าอ่านมาก ขยันอ้างอิง
แต่เมื่อคุณเขียนเรื่องศิลปะของเมื่อวานนี้
คุณจะมานั่งอ้างหนังสือเล่มๆ ที่ค้างอยู่ตามชั้นหนังสือในห้องสมุด
ไม่ได้
นั่นมันงานแบบเสมียน

แล้วควรทำยังไง
คุณอ้างทุนโคลอมโบเป็นจุดตั้งต้น เอาละ ฉลาดเลือก แล้วได้ทำการบ้านเกี่ยวกับทุนนี้ไหม
ไม่
ได้ตามสำรวจผลที่เกิดขึ้นจากผู้รับทุนนี้ ต่อศิลปะวัฒนธรรมใหม
เปล่า
คุณไม่ได้ทำอะไรเลย แม้แต่จะเรียกคนขับรถมา บอกว่าชั้นจะไปมะหาลัยศิลปะกรหน่อย
จะไปถามคุณชลูด ว่าที่ไปเรียนเมกามาน่ะ ได้อะไรมาบ้าง
เปล่า คุณไม่ไป
แล้วไกลกว่านั้น อย่างเช่นทับแก้ว ที่อาจารย์ดำรง สร้างอาณาจักรอยู่ ก็อย่าหวังว่าจะไป
แต่คุณใช้วิธีเปิดหนังสือ อาร์ตทรูดิเอจ เลือกรูปที่หน้าตาเหมือนกับที่ศิลปินไทยทำ
แล้วชี้เปรี้ยงเลย ว่าได้รับอิทธิพลมา
เด็กต่ำกว่าปริญญาตรีครับ ที่ทำอย่างนั้น แล้วครูที่ฉลาด จะให้เอฟ

ที่ตาหลกร้ายสุดๆ ในงานวิจัยนี้ คือคุณรวมเอาถาวร โกฯ เข้าในกลุ่มที่ไปฟักตัวจากเมกาเอาไว้ด้วย
คนในวงการเขาช๊อคครับ
ถาวร แกไปเมกาจริง
แต่แกไปวีซ่าท่องเที่ยวครับ ไปเยี่ยมพี่กมล โชว์งานนิดหน่อย ราวสองอาทิตย์แล้วก็บินกลับ
แค่สองอาทิตย์เนี่ยะนะ คุณเอามาวางเป็นตัวแบบของอาเมริกันไหนส์และ
งานวิชัยอะไร มั่วซั่วขนาดนี้

แล้วคนที่เคยมั่วซั่วมาก่อน สวรรค์จะกล้ารับประกันใหม ว่าต่อไปจะเลิกมั่ว
ที่ว่ามายาวนี่ จะบอกว่าอคติ ก็ต้องยอมรับละครับ
จะให้มีฉันทาคติ ยอมรับนับถืองานวิชาการชั้นล่าง ให้มาอยู่ชั้นบน มันก็ฝืนความรู้สึกมากเกินไป
แต่ผมก็อคติ หลังจากอ่านงานของท่านผู้นี้จนพอจะลงเนื้อเห็นแล้วว่า
ควรจะวางงานของเขาไว้ตรงใหนในชั้นหนังสือ และตั้งใจดูถูกอย่างละเอียด
เพราะไม่ชอบงานที่ห่วย

แต่จะห่วยอย่างไร ก็ไม่เกี่ยวกับคุณสมบัติทางยีนสที่ทำให้แกเป็นอย่างที่เป็น
และผมไม่เคยเห็นว่า จะทำให้คนเราแตกต่างกันหรือเป็นเหตุให้เอามาดูหมิ่นกัน
จึงไม่ชอบอย่างยิ่ง ในการที่คุณเอาคำ ฮอ มอ มาใช้ในที่สาธารณะ
โดยไม่มีเหตุผลรองรับ
และแม้จะมี สาธุชนก็ไม่ทำกันนะครับ
จะ "อคติ" "ดูถูกดูแคลน" "คับแคบ" ฯลฯลฯลฯ....
เราก็ดูถูกกันที่ผลิตผลจากสมอง ไม่ใช่เพศภาวะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 21:24

เลือกข้างเกลียด เลือกข้างรับ เพราะ"ความแตกต่าง"
มิน่าวิชาการไทยจึงยังเป็นเช่นนี้

เป็นกลาง เป็นกลางและเป็นกลาง ในใจได้เมื่อไหร่ สุโขทัยก็ชัดเจน

เอามาฝากค่ะ

If we were to wake up some morning and find that everyone was the same race, creed and color, we would find some other causes for prejudice by noon.  ~George Aiken
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง