ตอบคุณพิพัฒน์ครับ
เรื่องการแทรก "พรหม" นี้ ผมไม่แน่ใจว่า ท่านผู้แปลทั้งสอง "มีธง" ในใจไว้ว่า เป็น "พุทธเถรวาท" หรือเปล่า ? จึงตีความบทที่คุณ CrazyHOrse ยกมาว่าเป็น "พรหม" และตีความว่า วัชรสัตว์ เป็นนามของภิกษุที่ถูกยกให้เป็นเสมือนพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๖ เพราะบทถัดลงไปดูเหมือนจะเป็นการกล่าวยกย่องพระภิกษุจริงๆ แต่อย่างไรก็ตาม ทางพุทธเถรวาท หรือ จะนิกายใดก็ตาม ก็ไม่น่าจะมีธรรมเนียมยกย่อกันถึงเป็น "พระพุทธเจ้าองค์ใหม่" ได้ เพราะในคัมภีร์ระบุไว้ชัดเจนว่า องค์ถัดไปจะต้องเป็นการจุติของพระโพธิสัตว์ไมเตรยะเท่านั้น
บทแปล กับ บทวินิจฉัย ก็มีจุดที่ไม่เหมือนกันคือ ท่านแปลว่า "พุทธองค์ที่ ๖" แต่ตอนวินิจฉัยกลับใช้คำว่า "โพธิสัตว์"
บทแปล: ผู้เป็นพุทธะ องค์ที่ ๖ ที่ประเสริฐสมบูรณ์
บทวินิจฉัย: จนได้รับการยกย่องให้เป็นพระโพธิสัตว์ องค์ที่ ๖ (ปัญหาคือ โพธิสัตว์องค์ที่ ๑ ถึง ๕ เป็นใคร ท่านไม่ได้อธิบายไว้

หรือจะหมายถึง ก่อนหน้านี้มีพระภิกษุที่ได้รับการยกย่องมาแล้ว ๕ รูป

)
ผมมิอาจกล่าวได้ว่า ท่านแปลผิด หรือ ตีความผิด เพราะผมไม่มีความรู้เรื่องภาษาสันสกฤต แต่เท่าที่ดูคำสันสกฤตแล้ว ไม่มีคำว่า "พรหม"
ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผมทราบมาในวงการแปลจารึกที่เป็นภาษาสันกฤตก็คือ จารึกเหล่านี้มักเป็นการเขียนแบบโศลก ดังนั้น บางครั้งไม่ได้เล่าเรื่องตรงๆ แต่ต้องตีความจากศัพท์ ซึ่งถ้าให้ผู้มีความรู้ สาม คนมาแปล ทั้งสามท่านก็อาจแปลไม่เหมือนกันเลยก็ได้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องชื่อที่กำกวม
ตัวอย่างมีให้เห็นมาแล้วครับในจารึกหลักที่ 23 จารึกวัดเสมาเืมือง ซึ่งแต่ละท่านจะตีความเทวรูปในศาสนสถานแตกต่างกันดังนี้
ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ :
สฺถาปิต ไอษฺฏิกเคหวรตฺรยเมตตฺ กชกรมารนิ สูทนพชฺรินิวาสํ๑. ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. ๒๔๗๒) : ทรงสร้างปราสาทอิฐทั้งสามนี้
เป็นที่บูชาพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือดอกบัว (คือปทุมปาณี) พระผู้ผจญพระยามาร แลพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือวชิระ (คือ วัชรปาณี)๒. แสง มนวิทูร (พ.ศ. ๒๕๑๐) : โปรดให้สร้างเรือนอิษฏ์อันประเสริฐ ๓ องค์นั้น
เหมือนวิมานของพระวิษณุ วิมานของพระศิวะ และวิมานของพระอินทร์๓. ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. ๒๕๒๖) : ได้สร้างอาคาร ๓ หลัง ที่ทำด้วยอิฐนี้
ให้เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ผู้ทำลายมารด้วยมือที่ถือดอกบัว (ตามนัยนี้อาจหมาย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร)
๔. จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา (พ.ศ. ๒๕๒๙) : ได้ทรงให้สร้างอาคารอิฐที่สวยงามทั้งสามหลังนี้
ให้เป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ผู้มีวัชระ (ในบทต่อไป อ.จิรพัฒน์ วงเล็บว่า อาจหมายถึง วัชรธร ซึ่งก็คือ วัชรสัตว์)
================================
จารึกบ้านซับบาก ด้านที่ ๑๑. ศฺรีปญฺจสุคตายาเทา ศฺรีฆนานำวิภาวกา ะ
๒. ศฺรีฆนาศฺจ สุเทพานำ ศฺรีปฺรทาตฺฤนฺนมามิ ตานฺคำแปล : บรรดาพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้า ขอนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ตั้งแต่พระพุทธห้าองค์เป็นต้นมา บรรดาเทพทั้งหลาย
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพรหม
ตรงนี้ผมสงสัยคำว่า
ศฺรีปญฺจสุคตา ว่า ท่านตีความว่า พระพุทธห้าองค์ ใช่หรือไม่

จะเห็นว่า บทนี้ ไม่มีคำไหนที่ใช้ศัพท์ตรงๆ ว่า ธยานิพุทธ, ชินพุทธ, หรือ พรหม เลย
๓. พชฺรสตฺว สฺตุษฺฐะ ส โงฺว ธิสตฺวปฺรภุรฺวร ะ
๔. อาธาระ สรฺว วุทฺธานำ ตนฺนมามิ วิมุกฺตเยคำแปล :เพื่อความหลุดพ้น ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพัชรสัตวะ
ผู้เป็นพุทธะ องค์ที่ ๖ ที่ประเสริฐสมบูรณ์ ด้วยสัมโพธิสัตวะ
ซี่งเป็นอาธาระ (ที่รองรับ) ขององค์พุทธะทั้งปวง
พชฺรสตฺว สฺตุษฺฐะ น่าจะตรงกับบทแปลว่า พระพัชรสัตวะผู้เป็นพุทธะ องค์ที่ ๖
ดูไปแล้วก็ไม่มีคำว่า พุทธะ ในบทตรง พชฺรสตฺว เหมือนกัน (วุทฺธานำ น่าจะตรงกับ ขององค์พุทธะทั้งปวง)
ส่วนผมตอนนี้ก็สรุปว่า ยังไม่ปักใจเชื่อทั้ง ที่แปลว่า เป็นชื่อภิกษุ หรือ เป็นชื่อวัชรสัตว์ ครับ คงต้องศึกษาเนื้อหาจารึกนี้ดูอีกทีว่ามีแนวโน้มไปทางลัทธิใด
