เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 20324 นิราศเมืองแกลงไม่ได้แต่งครั้งรัชกาลที่ 1
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 19:36

ยาแรงไป อาจารย์ตอบผิดกระทู้แฮะ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 ส.ค. 07, 23:48

ง่ะ..ใครหนอมาวางยาท่านอาจารย์เทาชมภูได้

ไม้ดัด กับ ขุนช้างขุนแผน  คิดได้เหมือนกันครับ  ก็ตำราบอกชัดแล้วไงครับว่าไม้ดัดมีมาตั้งแต่อยุธยา  แพร่หลายมาถึงรัตนโกสินทร์ เพราะรัตนโกสินทร์รับเอาทุกอย่างของครั้งกรุงศรีมาทั้งหมด  แม้แต่นิยายปะรำปะราเรื่องขุนช้างขุนแผน  ที่เล่าสืบกันมาทั้งแบบนิทานบอกเล่าและแบบบทกลอน  ไม่แปลกนี่ครับที่จะแพร่หลายบ้างในหมู่คนชอบนิทานหรือกลอน  แล้วก็มารวบรวมกันเป็นเรื่องเป็นราวในสมัยยุคทองของกวี  เป็นไปได้ครับ .......... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
มีนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 25 ส.ค. 07, 22:43

น่าจะแต่งเมื่อในรัชกาลที่ 4 เพื่อรักษาตำราของกรมหลวงพิทักษ์มนตรีไว้
ขุนท่องสื่อ ช่วง ภายหลังเป็นหลวงมงคลรัตน์ ท่านอยู่ในสกุลไกรฤกษ์ครับ


ขุนท่องสื่อนั้น หนังสือ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา ของ จิตร ภูมิศักดิ์ บอกไว้ว่าเป็นตำแหน่งล่าม โดยเดิมเป็นตำแหน่งขุนนางจีน ทง ซือ แปลว่า ล่าม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 ส.ค. 07, 10:15

ต้นสกุลไกรฤกษ์ เป็นจีนฮกเกี้ยนมาแต่เดิม ลูกหลานเป็นล่ามจีนก็ไม่แปลกอะไร สมัยนั้นจีนฮกเกี้ยนมีความรู้  ร่วมแปลพงศาวดารจีนเอาไว้หลายเล่ม สามก๊กนี่ก็ฮกเกี้ยนแปล

ขุนท่องสื่อ มีหลายคน  ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๔    แล้วแต่ว่าใครจะรับตำแหน่งนี้  พอเจริญในราชการเลื่อนไปสู่ตำแหน่งสูงกว่า  คนใหม่ก็เข้ามาเป็นขุนท่องสื่อแทนค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 01 ต.ค. 07, 16:59

ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้ง ยังติดใจบางประเด็นอยู่


กลับไปเปิดพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  ว่าด้วยเรื่องประวัติของขุนช้างขุนแผนอีกครั้ง

"ข้าพเจ้าสังเกตสำนวนกลอนเห็นว่า  ตอนนางวันทองหึงกับนางลาวทอง เมื่อขุนแผนกลับมาถึงบ้าน   ดูเหมือนจะเป็นพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ 
ส่วนพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เข้าใจว่าเป็นตอนขุนช้างขอนางพิม  และตอนขุนช้างพานางวันทองหนี  อยู่ต่อพระราชนิพนธ์ทั้ง ๒ ตอน"

ถ้าเป็นตามนี้  นิราศเมืองแกลงตอนที่บอกว่า

ดูครึ้มครึกพฤกษาป่าสงัด              ทะลุลัดตัดทะเลแหลมทองหลาง
ต่างเพลิดเพลินเดินว่าเสภาพลาง    ถูกขุนช้างเข้าหอหัวร่อเฮ

จะต้องแต่งอย่างเร็วสุดก็ในรัชกาลที่ ๒   ไม่ใช่รัชกาลที่ ๑    เพราะผู้แต่งตอนขุนช้างเข้าหอ  คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
ส่วนเสภาแพร่หลายออกมานอกวังเมื่อไร   สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าไว้เองว่า แพร่หลายในรัชกาลที่ ๓

" เมื่อในรัชกาลที่ ๓ นั้น  ถึงสมเด็จพระนั่งเกล้าฯไม่โปรดการฟ้อนรำขับร้องก็จริง   แต่ก็ไม่ทรงขัดขวางห้ามปราม มิให้ผู้อื่นเล่น
การเหล่านั้น เจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เล่นกันขึ้นหลายแห่ง   เล่นละครบ้าง มโหรีปี่พาทย์บ้า   เสภานับว่าเป็นส่วนอันหนึ่งของปี่พาทย์ เพราะเป็นต้นบทส่งลำ
จึงเล่นเสภากันแพร่หลายต่อมา"

ตีความได้ว่าอะไร
๑)กวีหนุ่มเจ้าของนิราศเมืองแกลง ตลอดจนเพื่อนรุ่นน้องสองหนุ่ม เดินขับเสภากันเฮฮา  ในรัชกาลที่ ๓  หรืออย่างเร็วก็รัชกาลที่ ๒
๒)ถ้าเป็นรัชกาลที่ ๒ ก็แสดงว่ากวีหนุ่มของเรา และเพื่อนต้องใกล้ชิดกับวังหลวงมาก ถึงรู้เรื่องเสภาอย่างดีขนาดจำขึ้นใจได้
๓)ถ้าเป็นรัชกาลที่ ๓  กวีหนุ่มเรื่องนี้ยังไม่ทันแต่งงาน   มาถึงนิราศพระบาท แต่งงานแล้วกำลังงอนกับเมีย  ถ้าเป็นคนเดียวกัน  นิราศเมืองแกลงแต่งก่อน
นิราศพระบาทก็จะต้องแต่งในรัชกาลที่ ๓ หรือหลังจากนั้น
 
หมายเหตุ  คำว่า "ถ้า" เยอะมากค่ะ  เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ตีความยากจริงๆ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 01 ต.ค. 07, 19:02

ตีไม่ยากเลยครับ
ขอบคุณที่ขุดทั้งกระทู้ และขุดข้อมูลมาเสริม

ผมเองไม่ใคร่เข้าใจเรื่องการประพันธ์ ก็เลยนึกเทียบแบบละคอนทีวี
การที่ขุนนางชั้นล่าง 3 คน มาเดินว่าเสภากันริมหาด ย่อมต้องหมายความว่า ช่ำชองกับความตอนนั้นจนขึ้นใจ
แความตอนนั้น ต้องเป็นของยอดนิยมด้วย

ถ้าเป็นคนวงใน แกก็อาจจะได้อ่านได้ฟังตัวบทมา และอาจจะเคยร่วมขับมาบ้างกระมัง
แต่เท่าที่อ่านๆ มา ทั้งกวี และศิษย์ ดูเหมือนจะรับราชกาลกับเจ้านายที่ไม่สูงศักดิ์นัก
และไม่หนิดหนมด้วย...สังเกตจากที่อ้างถึงเจ้านาย ไม่ไคร่จะแสดงความผูกพันธ์เท่าใดนัก

และเจ้านายก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องอะไรกับละคอนเสภา เพราะงานที่สามหนุ่มมาทำ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องทางหัวเมือง
ทีนี้ สามหนุ่มจะไปจำบทเสภามาจากใหน ผมก็ขอเดาว่าจำมาจากฉบับพิมพ์ของหมอสมิธ

จึงยังยืนกรานว่า นิราศเมืองแกลงแต่งราวรัชกาลที่ 4 ครับ หลังหมอสมิธตั้งโรงพิมพ์แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 ต.ค. 07, 19:13

ถ้าจะปักหมุดลงไปในรัชกาลที่ ๓  ก็พอจะมีเหตุผลประกอบได้
๑) เสภาที่หนุ่มๆขับกันเฮฮา เป็นส่วนหนึ่งของปี่พาทย์ที่เล่นกันแพร่หลายนอกวังหลวง ในรัชกาลที่ ๓
๒) เจ้านายของสามหนุ่ม โปรดปี่พาทย์   จึงมีเสภาขับกันให้ฟังอยู่เป็นประจำในวังของท่าน เพราะเสภาเป็นส่วนหนึ่งของปี่พาทย์
๓) ตอนขุนช้างเข้าหอ  เป็นตอนที่น่าจะขับกันหลายครั้งในวัง
๔) เป็นได้ว่ามหาดเล็กสามคนนี้ ขับเสภาถวายเจ้านายมาก่อน  จึงว่ากลอนตอนนี้กันแม่น  ตอนอื่นๆก็คงแม่นเหมือนกัน
๕) ตอนขุนช้างเข้าหอ เป็นตอนตลกทะลึ่ง   ถูกใจหนุ่มๆกันมาก
๖) ถ้าเป็นหนุ่มมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๔  หมอสมิธ "พิมพ์"ขุนช้างขุนแผนให้คน"อ่าน"   ไม่ใช่ให้"ขับ"  พวกนี้ไม่น่าจะได้" อ่าน" แล้วมา"ขับ" ทีหลัง
แต่ว่าจะต้องได้ยิน "การขับเสภา" โดยตรง  ถึงจำมาขับ  ไม่ได้มาว่าเป็นกลอนอย่างคนอ่านพึงจำ
๗) ลักษณะการจำอะไรเป็นตอนยาวๆ มาขับ  น่าจะเป็นคุณสมบัติในยุคที่ฟังด้วยหูแล้วจำขึ้นใจ  มากกว่าจะอ่าน แล้วจำ ค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 ต.ค. 07, 20:40

๋๋หลังจากที่คณะแบบติสต์มิสชันยุบแผนก    แสมูเอ็ล์ เจ. สมิท  เปิดโรงพิมพ์บางคอแหลมในปี ๒๔๑๑ เพื่อทำงานเลี้ยงชีวิต   
หนังสือที่พิมพ์แจกในงานเปิดโรงพิมพ์ ๑๐๐ เล่ม คือ สามก๊กเล่มสอง ตั้งแต่เรื่อง ๒๕ จบ ๔๘ สมุดไทย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 ต.ค. 07, 22:23

วินิจฉัยของอาจารย์มีเหตุผลครับ
ขอน้อมรับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 ต.ค. 07, 22:48

ถ้างั้น  ก็มีให้คิดได้  ๒ ข้อ
๑) สุนทรภู่ไม่ได้แต่งนิราศเมืองแกลง  คนแต่งเป็นมหาดเล็กหนุ่มในรัชกาลที่ ๓ ชื่อเรียงเสียงไรไม่ปรากฏ
๒) สุนทรภู่คือคนแต่งนิราศเมืองแกลง  แต่ไม่ได้มีชีวิตอยู่ในรัชกาลที่ ๑ อย่างที่เชื่อกันมา   เป็นคนเกิดสมัยรัชกาลที่ ๒ หรือรัชกาลที่ ๓   
อาจจะไม่ได้ตายสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่อยู่มายาวนานกว่านั้น

ถ้างั้น("ถ้า" อีกครั้ง) จะอลหม่าน   ชนเปรี้ยงเข้ากับหลักฐานหลายข้อ

- ท่านแต่งกำเนิดพลายงามในรัชกาลไหนกันแน่
- ถ้าเป็นมหาดเล็กหนุ่มน้อย  ยังไม่ทันมีเมียในรัชกาลที่ ๓    ก็จะเป็นกวีเอกในรัชกาลที่ ๒ ขนาดต่อพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ไม่ได้ เพราะเกิดไม่ทัน
- เรื่องวิวาทหน้าพระที่นั่งกับกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ก็เป็นไปไม่ได้  เกิดไม่ทัน หรือเกิดแล้วแต่โตไม่ทัน
- จะเอาเวลาช่วงไหนไปเป็น "อาลักษณ์เดิม" ของเจ้าฟ้าอาภรณ์
- ไม่ทันเป็นมหาดเล็กพระองค์เจ้าปฐมวงศ์แน่ๆ
- แม่ของสุนทรภู่ต้องไม่ทันเป็นแม่นมพระธิดากรมพระราชวังหลัง
- ก็จะไปขัดกับนิราศสุพรรณ ที่เอ่ยถึงวังหลังเอาไว้อย่างสนิทสนม
ฯลฯ
เหนื่อย
เอาเป็นว่าคนแต่งนิราศเมืองแกลง เป็นคนละคนกับสุนทรภู่จะง่ายกว่า   แต่ขืนเผยแพร่ออกไป   ชาวระยองเอาตาย!
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 ต.ค. 07, 00:29

ถ้าสุนทรภู่ เป็นกวีที่แต่งนิราศเมืองแกลง
เราก็ต้องวางอายุให้ท่านใหม่
ในปีแต่งนิราศนี้ ผู้แต่งต้องยังหนุ่มพอควร ไม่น่าจะเกิน 35 บวกลบได้นิดหน่อย
เพราะท่านต้องมีเสน่ห์พอที่หลานสาวจะหึงหวงกัน
และตลอดทั้งเรื่อง ไม่มีตรงใหนบ่นว่าตัวเองแก่

วันเวลาเดินทาง ก็ต้องเป็นช่วงรัชกาลที่ 3 เมื่อเสภาแพร่จากวังหลวง มาสู่วังเจ้านาย
ความจริงตอนที่เรือออกปากน้ำ ครั้งรัชกาลที่ 3 มีการสร้างป้อมวิเชียรโชฏก ไว้ปากคลองมหาชัย ปี 2371
ท่านมิได้เอ่ยไว้ น่าจะเป็นหมุดเวลาได้ว่าแต่งตอนต้นรัชกาล ก่อนป้อม
(แต่ไม่รับรองว่าเป็นดังนั้น ท่านไม่เอ่ย อาจจะมีป้อมแล้วก็ได้)

ตีเสียว่า ท่านเป็นหนุ่มฉกรรจ์เมื่อปีนั้น ท่านก็จะเป็นอาลักษณ์มิได้ และท่านก็มิได้ออกบวชหนีโอษฐ์ภัย
แต่ไปเป็นข้าในวังเจ้านายพระองค์หนึ่ง ที่มีวงเสภาประจำ และมีราชการดูแลท้องถิ่นฝั่งระยองนี้
โอ้...แล้วท่านจะเอาชีวิตช่วงใหนไปทำตัวให้ตรงกับเพลงยาวถวายโอวาทที่ว่าเป็นอาลักษณ์เดิมเล่า

นี่ผมทำอะไรไปเนี่ยะ
มีทางเดียวที่จะคงประวัติท่านสุนทรไว้ตามเดิม อ้อ 2 ทางครับ
1 ข้อความผิดพลาด คนรุ่นหลังมาแต่งใส่
2 สมัยรัชกาลที่ 1 ตอนปลายนั้น เสภาเป็นของยอดนิยมแล้ว ว่ากันสนุกทั่วทุกหัวระแหง
จนราชสำนัก ต้องนำเข้ามาปรุงแต่งเป็นของสูง

คิดเข้าข้างคนระยองได้เพียงนี้แหละครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 ต.ค. 07, 12:38

นิราศเมืองแกลง ดิฉันให้อายุกวีมากที่สุด  25 หรือลดลงแค่ 20 ต้นๆด้วยซ้ำ     เพราะว่ายังไม่ได้แต่งงาน มีแต่คนรัก
ผู้ชายสมัยนั้นอายุครบ 20 ก็บวช  บวชเสร็จแล้วก็แต่ง 
พ่ออายุ 35 ลูกก็เป็นวัยรุ่นแล้ว

นอกจากนี้  ลักษณะผิวบางเหยาะแหยะ  ทนลำบากไม่ไหว  บอกถึงว่ายังอ่อนประสบการณ์ชีวิตอยู่มาก

ทุกเช้าเย็นเห็นแต่หลานที่บ้านกร่ำ              ม่วงกับคำกลอยจิตขนิษฐา
เห็นเจ็บปวดนวดฟั้นช่วยฝนยา                   ตามประสาซื่อตรงเป็นวงศ์วาน
ครั้นหายเจ็บเก็บดอกไม้มาให้บ้าง               กลับระคางเคืองข้องกันสองหลาน
จะว่ากล่าวน้าวโน้มประโลมลาน                  ไม่สมานสโมสรเหมือนก่อนมา
ก็จนจิตคิดเห็นว่าเป็นเคราะห์                      จึงจำเพาะหึงหวงพวงบุปผา
ต้องคร่ำครวญรวนอยู่ดูเอกา                       ก็เลยลาบิตุรงค์ทั้งวงศ์วาน

หลานสาวที่ว่า คงจะอายุไม่ต่างจากกวีหนุ่มมากนัก  ถึงได้หึงหวงกัน ตามประสาสองสาวกับหนึ่งหนุ่ม
ตัวเธอเองก็คงจะยังสาวรุ่น ถึงยังไม่ออกเรือน 
ตามธรรมเนียม พอลูกสาวโตเป็นสาว พ่อแม่ก็จัดการให้มีเหย้าเรือนไปเสียตั้งแต่อายุไม่เกิน 18  ไม่ปล่อยเป็นสาวแก่อยู่คาบ้าน
ถ้าคุณน้า(หรือคุณอา) อายุ 30 กว่า   สาวน้อยสองคนนี้คงจะมองเห็นเป็นญาติผู้ใหญ่ ไม่มาหึงกันแน่ๆค่ะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 02 ต.ค. 07, 12:47

กลอนเปิดของนิราศเมืองแกลง บอกไว้เรียบร้อยว่าใครแต่ง
                                  ๏ โอ้สังเวชวาสนานิจจาเอ๋ย
จะมีคู่มิได้อยู่ประคองเชย        ต้องละเลยดวงใจไว้ไกลตา
ถึงทุกข์ใครในโลกที่โศกเศร้า    ไม่เหมือนเราภุมรินถวิลหา
จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา    ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน ฯ

ที่น่าสนใจคือ ในกระบวนนิราศที่เชื่อ(หรือสงสัย)ว่าเป็นงานของสุนทรภู่ เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวที่ประกาศชื่อไว้ตั้งแต่ตอนต้นแบบนี้ รำพันพิลาปยังออกแค่ชื่อ "สุนทร" คงมีเพียงนิราศเณรหนูพัดกับนิราศเณรกลั่นที่ออกชื่อโจ่งแจ้งกว่านี้ครับ



พิจารณาในเชิงกลอน กลอนในนิราศเมืองแกลงเป็นแบบสุนทรภู่เป๊ะ ถึงขนาดที่ว่าบางท่านที่เชื่อว่านิราศทั้งหมดเป็นงานของสุนทรภู่ถึงกับต้องดิ้นรนสลับนิราศพระบาทไปอยู่หน้านิราศเมืองแกลง เพราะทางกลอนนิราศเมืองแกลงเป็นแบบสุนทรภู่ ชัดกว่านิราศพระบาทแบบเทียบกันไม่ได้ จนถึงกับต้องสร้างข้อสันนิษฐานว่านิราศพระบาทแต่งเมื่อทางกลอนของสุนทรภู่ยังไม่ลงตัว (และลงตัวในอีกหนึ่งปีต่อมาเมื่อแต่งนิราศเมืองแกลง)

มองจากแง่มุมนี้ ถ้านิราศเมืองแกลงไม่ใช่งานของสุนทรภู่ ก็ต้องเป็นงาน "ตั้งใจ" ทำเทียม และทำได้เหมือนเสียด้วยซีครับ



ผมสอบเส้นทางนิราศเมืองแกลง เจอความยากอีกอย่างหนึ่งคือ หานิราศอื่นที่ใช้เส้นทางนี้ได้ยาก ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือนิราศฉะเชิงเทรา พระนิพนธ์กรมหลวงภูวเนตร์นรินทรฤทธิ์ ( พ.ศ. ๒๓๖๙ ?) นิราศเรื่องนี้ใช้เส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเลี้ยวเข้าคลองสำโรงเหมือนนิราศเมืองแกลง แต่เมื่อออกแม่น้ำบางปะกงแล้วทวนน้ำขึ้นไปทางเหนือ ในขณะที่นิราศเมืองแกลงล่องลงใต้ออกปากแม่น้ำบางปะกง แล้วเลียบชายทะเลไปถึงบางปลาสร้อย แล้วจึงเดินบกไปถึงเมืองแกลง

(ปล. ไม่ได้ออกไปทางท่าจีนออกมหาชัยนาครับอาจารย์พิพัฒน์ ดังนั้นต้องไม่ผ่านป้อมวิเชียรโชฏกแน่ๆครับ)

ที่ใกล้เคียงรองลงมาจากนิราศฉะเชิงเทรา  ก็เป็นนิราศที่ล่องมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่เลี้ยวเข้าคลองบางกอกใหญ่ไปเสียก่อน ได้แก่
- กำสรวลสมุทร ซึ่งยุคสมัยต่างกันมาก และกล่าวถึงสถานที่ในเส้นทางนี้น้อยมาก ไม่เหมาะที่จะนำมาเปรียบเทียบ
- นิราศพระยาตรัง ซึ่งก็ใช้เส้นทางเดียวกันแค่จากกรุงเทพลงมาถึงปากคลองสำโรง แล้วล่องลงไปจนถึงปากน้ำ แต่งราว ๒๓๕๒
- นิราศชุมพร ของพระพิพิธสาลี ซึ่งก็ใช้เส้นทางเดียวกันแค่จากกรุงเทพลงมาถึงปากคลองสำโรง เหมือนนิราศพระยาตรัง แต่งเมื่อใดไม่ปรากฏ ท่านจันทร์ทรงวินิจฉัยว่าสำนวนด้อยกว่านิราศทวายซึ่งแต่ง ๒๓๓๔ น่าจะแต่งก่อน แต่ผมพบว่านิราศชุมพรกล่าวถึงวัดราชบุรณะ ซึ่งน่าจะได้ชื่อนี้เมื่อบูรณะเสร็จ (พ.ศ. ๒๓๓๙ ?) ดังนั้นนิราศชุมพรน่าจะแต่งขึ้นหลังจากนั้น
- โคลงนิราศท้าวสุภัติการภักดี พระราชนิพนธ์ ร.๕ ล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยาไปออกปากน้ำเช่นเดียวกัน กล่าวถึงสถานที่ในแม่น้ำเจ้าพระยาน้อย และยุคสมัยใหม่กว่าเรื่องอื่นๆ

ดังนั้นจะขอเปรียบเทียบโดยอิงนิราศฉะเชิงเทรา, นิราศพระยาตรังและ นิราศชุมพรครับ

(โปรดติดตามตอนต่อไปครับ)
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 02 ต.ค. 07, 13:23

ที่ผมกำหนดอายุนิราศชุมพรด้วยวัดราชบุรณะเห็นจะไม่ได้ความแล้วครับ โคลงออกชื่อวัดราชบุรณะ แต่ตำแหน่งดันเป็นวัดราษฎร์บูรณะ
เรื่องนี้มีประเด็นที่น่าสนใจมากกว่านี้ เดี๋ยวจะเอามาขยายอีกทีครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 02 ต.ค. 07, 13:32

รับแซ่บครับ...รอฟังต่อไป
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง