เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 20280 นิราศเมืองแกลงไม่ได้แต่งครั้งรัชกาลที่ 1
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
 เมื่อ 12 ส.ค. 07, 22:29

ในกลอนมีกล่าวถึงขุนช้างเข้าหอ
ตอนที่นายแสงคนนำทางหนีหายไปแล้ว
และกำลังจะเข้าบ้านกล่ำ

ขุนช้างขุนแผนมาสร้างกันเมื่อในรัชกาลที่ 2
หรือท่านใดมีหลักฐานว่า ในรัชกาลที่ 1 ตอนปลายรัชกาล
เสภาเรื่องนี้ ได้แพร่หลาย.....
จนขุนนางปลายแถวสามคน เอามาร้องบันเทิงระหว่างการเดินทางได้

กว่าเสภานี้ จะแพร่ออกนอกวัง ต้องการเวลาและสื่อที่เหมาะสม
ผมเชื่อว่าขุนนางสามคน(ซึ่งไม่ใช่สุนทรภู่แน่ๆ)
คงร้องเสภานี้ ในวันที่การพิมพ์แพร่หลายแล้ว คงจะจำความสนุกมาจากสมุดที่หมอสมิทพิมพ์

ขอคำค้านด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ส.ค. 07, 08:23

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเกิดตั้งแต่สมัยอยุธยา  เป็นไปได้ไหมว่าแพร่หลายในรูปขอมุขปาฐะมาตั้งแต่ปลายอยุธยา
รู้จักในหมู่คนไทยสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นอย่างดี   
มีคนแต่งไว้หลายสำนวน   อาจจะมีสำนวนใดสำนวนหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันมาก่อนสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงรวบรวมชำระไว้เป็นเสภาขุนช้างขุนแผนฉบับหอพระสมุดก็ได้นี่คะ

เสนอไว้พิจารณาอีกมุมหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 10:50

ยังไม่เห็นมีใครมาแจม     เลยมาเพิ่มเรตติ้ง
น่าเสียดายที่เรารู้เพียงกระท่อนกระแท่นว่าขุนช้างขุนแผนบางตอน  ใครแต่ง แม้แต่แต่งปีไหนก็ไม่รู้
ถ้าตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างแต่งในสมัยรัชกาลที่ ๒  ตอนขุนช้างเข้าหอ ก็เป็นได้ว่าแต่งไม่เกินรัชกาลที่ ๒   
ถ้านิราศเมืองแกลงแต่งในรัชกาลที่ ๒ หรือช้ากว่านั้นคือรัชกาลที่ ๓  ประวัติที่เคยมีก็ต้องรื้อออกมาชำระใหม่กันหมด

หมุดเวลาอีกดอก คือการพูดถึงไม้ดัด
เห็นพฤกษาไม้มะค่ามะขามข่อย         ทั้งไทรย้อยยอดโยนโดนตะโขง
เหมือนไม้ดัดจัดวางข้างพระโรง          เป็นพุ่มโพรงสาขาน่าเสียดาย
เดินพินิจเหมือนคิดสมบัติบ้า             จะใคร่หาต้นไม้เข้าไปถวาย
นี่เหน็ดเหนื่อยเลื่อยล้าบรรดาตาย       แสนเสียดายดูเดินจนเกินไป

ไม้ดัดเป็นที่นิยมกันสมัยรัชกาลที่ ๒    พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ซึ่งใช้เป็นท้องพระโรง ตั้งกระถางไม้ดัดไว้โดยรอบ
ถ้ากวีหนุ่มของเราคุ้นกับไม้ดัด  จนเห็นไม้ป่าปุ๊บนึกถึงไม้ดัดข้างท้องพระโรงปั๊บ จนอยากจะหาไปถวาย 
ก็เป็นไปได้ไหมว่า เป็นมหาดเล็กวังหลวง  ไม่ใช่มหาดเล็กของเจ้านายวังหลัง
เว้นแต่ว่าวังหลัง หรือวังเจ้านายระดับพระองค์เจ้าก็มีท้องพระโรงในวัง ตั้งไม้ดัดเหมือนกัน?
 
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 11:30

อาจารย์จุลทัศน์ แห่งราชบัณฑิตสถาน อธิบายเรื่องไม้ดัดไว้ ขอนำบางส่วนมาเสนอนะครับ
เจ้านายที่มีชื่อเรื่องไม้ดัด ได้แก่
กรมหลวงพิทักษ์มนตรี (สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (จุ้ย) พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต้นสกุลมนตรีกุล) กรมพระพิพิธ (พระองค์เจ้าชายพนมวัน กรมพระพิพิธภูเบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต้นสกุล พนมวัน ณ อยุธยา) กรมพระพิทักษ์ (พระองค์เจ้าชายกุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัย ต้นสกุล กุญชร ณ อยุธยา) พระด้วง (นายด้วง  ขุนท่องสื่อ) (นายช่วง  ไกรฤกษ์) ฯลฯ โดยเฉพาะขุนท่องสื่อนั้น เป็นผู้รวบรวมและรจนาตำราไม้ดัดตามแบบแผนแต่โบราณขึ้นใหม่ในช่วงรัชกาลที่ ๓ คือ “ตำราไม้ดัดฉบับขุนท่องสื่อ” ซึ่งเป็นแบบแผนไม้ดัดอันเป็นที่ยอมรับและเป็นมาตรฐานในการทำไม้ดัดในยุคต่อมาจวบจนปัจจุบัน

          ในการทำไม้ดัดแต่ก่อนนั้น นักเล่นและนักทำไม้ดัดนิยมใช้ไม้มะสัง ข่อย ชา โมก มาทำไม้ดัดและที่นิยมมากคือไม้ตะโก ไม้ที่จะนำมาทำไม้ดัดนั้นจะใช้ไม้ที่ไปหามาจากป่า หรือจะเพาะชำต้นขึ้นจากเมล็ดก็ได้ ไม้ที่เลือกขุดมาจากป่านั้นต้องขุดหลุมชำไม้ให้ฟื้นตัวก่อนแล้วจึงตัดแต่งกิ่ง ดัดกิ่ง แต่งพุ่มใบให้เป็นแบบแผนตามต้องการ พวกที่ใช้เมล็ดเพาะขึ้นเป็นต้น ต้องรอให้ต้นโตได้ขนาดตามต้องการจึงตัดแต่ง ดัดให้เป็นรูปทรงแบบต่าง ๆ ตามแต่ใจนิยม


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 11:35

http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1058
ลืมให้ลิ้งค์
รายพระนามนี้ มีเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (จุ้ย) เท่านั้น ที่เป็นรุ่นรัชกาลที่ 1
นอกนั้น เป็นผู้มีบทบาทในรัชกาลที่ 2-3 ทั้งสิ้น
โคลงไม้ดัด มีอยู่ที่นี่
http://www.panmai.com/TemplePo/Title2.shtml

คงต้องเรียนถามไปในวรรณคดีละครับ ว่าคำประพันธ์ครั้งรัชกาลที่ 1 นั้น
ให้น้ำหนักกับไม้ดัดเพียงใด
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ส.ค. 07, 02:28

อืม..บทกลอนและนิทานเรื่องขุนช้างขุนแผนมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  บทเสถาก็มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจากเวปนี้ครับ
http://www.duangden.com/EthicalLecture/531-8.html
แต่จะถึงขนาดฮิตแพร่หลายในวังหรือนอกวังด้วยหรือเปล่า  และในครั้งรัชกาลที่ 1  จะแพร่หลายจนติดปากคนได้เพียงใดยังหายืนยันได้ชัดๆไม่ได้ครับ  อันนี้ต้องยกประโยชน์ให้ท่านพิพัฒน์

เห็นพฤกษาไม้มะค่ามะขามข่อย         ทั้งไทรย้อยยอดโยนโดนตะโขง
เหมือนไม้ดัดจัดวางข้างพระโรง          เป็นพุ่มโพรงสาขาน่าเสียดาย

บทนี้ไม่แปลกครับเป็นหมุดเวลาไม่ได้ครับ  ไม้ดัดมีในวังตั้งแต่ครั้งกรุงศรีฯแล้วครับ  และในรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็มีได้ครับ  แม้แต่ในวังระดับวังหลังวังหน้า  มีได้ครับไม่ใช่ของเฉพาะที่ใครจะมีไม่ได้  และพระโรงนี่คงไม่ได้หมายถึงแต่วังหลวงอย่างเดียวกระมังครับ  พระราชวังย่อมมีพระโรงไม่ใช่หรือครับ  หรือผมเข้าใจผิด.......... รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ส.ค. 07, 15:38

ไม้ดัดมีมาแต่โบราณนั้น ไม่เถียงครับ
แต่ที่นิยมกันขนาดขุนนางน้อย(หรือกลางๆ ก้อได้) ออกไปเห็น หรือออกไปหามาถวายเจ้านายนี่ เป็นอีกประเด็น
ขุนแผนโจนลงชานเรือนขุนช้าง ดูไม้กระถางอันเป็นตอนลือลั่น ก็สะท้อนความนิยมนี้

จึงเรียนถามท่านนักวรรณดคิอีกครั้งว่า บทประพันธ์สมัยรัชกาลที่ 1 มีเรื่องนี้รึไม่อย่างไร
วานบอก....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ส.ค. 07, 21:10

นึกไม่ออกว่ามีวรรณคดีรัชกาลที่ ๑ เรื่องไหนพูดถึงไม้ดัด   แต่วรรณคดีรัชกาลที่ ๒ ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงวิเคราะห์ว่าสุนทรภู่เป็นคนแต่ง ดูจากสำนวนกลอน   
มีเอ่ยถึงไม้ดัด  ลักษณะตรงกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ค่ะ

ครานั้นพลายงามทรามสวาท          แหลมฉลาดเลขผาปัญญาขยัน
อยู่บ้านท่านหมื่นศรียินดีครัน           ทุกคืนวันตามหลังเข้าวังใน
เธอนั่งเฝ้าเจ้าก็นั่ง บังไม้ดัด            คอยฟังตรัสตรึกตราอัชฌาศัย
ค่อยรู้กิจผิดชอบรอบคอบไป           ด้วยมิได้คบเพื่อนเที่ยวเชือนแช

แล้วก็อีกตอน เมื่อขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ที่เชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒  ขุนช้างแกเล่นไม้ดัดโดยตรง


บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 01:03

บทประพันธ์คงไม่มีล่ะครับท่าน  มีแต่เค้าว่าสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าทรงให้จัดไม้ดัด  แบบสมัยกรุงเก่าประดับที่วัดพระเชตุพนฯ  มีโคลงของหลวงมงคลรัตน์(ช่วง) กล่าวไว้  คงแต่งในชั้นหลังถือเป็นแม่แบบไม้ดัดไทย  แต่มีให้ชมที่วัดโพธิ์  แต่จะนิยมเพียงใดในสังคม  หรือบทเสภาขุนช้างขุนแผนจะฮิตแค่ไหนในสังคมรัชกาลที่ ๑  ซึ่งเชื่อว่ากลอนและนิทานเรื่องนี้  เป็นสิ่งสืบเนื่องมาจากกรุงศรีฯมีการเล่าขานและมีบทกลอนที่กล่าวกันมาบ้าง  อันนี้ตามตำราครับ  ขออภัยไม่มีหลักฐานแบชี้ชัด  เป๊ะๆ........ อายจัง


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 09:43

นำมาลงไว้ จะได้ไม่ต้องไปค้นใหม่ครับ
ตำราไม้ดัดของหลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์)

@ พระบาทบรมนารถเจ้า  จอมสยาม 
ทรงแบบไม้ดัดงาม  เรียบร้อย 
ขบวนดัดคัดจัดตาม  กรุงเก่า มาแฮ 
โปรดแบบบรรยายถ้อย  ถูกแล้วเกณฑ์หา 
@ กรมหลวงพิทักษ์สร้อย  มนตรี ทรงเฮย 
เขนกับญี่ปุ่นที  ป่าข้อม 
หกเหียนพับดัดดี  ถวายเทียม แบบแฮ 
สิบเอ็ดกิ่งพริ้งพร้อม  แยกใช้กิ่งสาม 
@ พระด้วงรองบาทไท้  กรมหลวง 
ฝึกหัดสันทัดปวง  ปลูกแก้ 
แสดงบอกบ่หันหวง  สอนหัด ชินเฮย 
จึงประจักษ์เหตุแท้  ท่านอ้างออกองค์ 
@ ไม้ขบวนวาดเอี้ยว  วงเวียน ต้นนา 
ตอต่ำตัดเรือนเจียน  เรียบร้อย 
ที่กิ่งชอบใช้เนียน  สนิทช่อง ไฟแฮ 
ทรงพุ่มชิดเชิดช้อย  ช่องชั้นจังหวะวาง 
@ ฉากแบบโคนทอดน้อย  หนึ่งงาม 
ที่คดคบขดตาม  หักค้อม 
ตอย่อกิ่งต่อสาม  สมแบบ เดิมนอ 
ต้นขอเค้ากิ่งย่อม  อย่าซ้ำเสียคม 
@ หกเหียนเห็นดัดคู้  คัดทับ 
ตอเพล่เร่เรือนรับ  ลอดพริ้ว 
ที่ยอดทอดทวนทับ  ทบกิ่ง กลแฮ 
ดูดุจหมัดมวยงิ้ว  ผงาดง้ำผงกหงาย 
@ ไม้เขนเบนกิ่งท้าย  ทวนลง 
โคนปุ่มภูค้นตรง  เกร่อเก้อ 
ที่ยอดทอดหวนหง  เห็นขด คู้แฮ 
ดุจมฤคเหลียวชะเง้อ  ชะโงกเงื้อมมาหลัง 
@ ป่าข้อมโคนปุ่มต้น  ตามตรง 
คบแยกสามกิ่งจง  จัดเก้า 
จังหวะระยะวง  เวียนรอบ กลมแฮ 
จัดช่องไฟให้เท่า  ส่วนต้นตัดเรือน 
@ ไม้ญี่ปุ่นรวมทั้ง  กำมะลอ 
ตลกรากเอนชายมอ  มากใช้ 
ท่วงทีที่ขันพอ  พูมตลก 
คงกิ่งจัดจังหวะได้  ช่องพร้อมเรือนเสมอ 
@ เก้าชนิดนับชื่ออ้าง  ออกนาม ไม้เฮย 
โดยบุราณเรียกตาม  ต่อถ้อย 
คิดดัดแต่งตัดงาม  คงเงื่อน นั้นนา 
พอประจักษ์นามน้อย  เนื่องไม้มีเดิม 
@ ขุนท่องสือเก่าแจ้ง  จำถนัด 
ลิขิตโคลงไม้ดัด  แต่งไว้ 
เคยฝึกเล่นโดยจัด  จวบพระ ด้วงนา 
เพื่อจักดัดคงไว้  ดุจถ้อยกลอนแถลง 
@ ผู้มีวิริยะพร้อม  เพลินเพียร 
เย็นกระมลเนาเนียร  เนิ่นแท้ 
เล่นดัดตัดแต่งเจียน  จัดพุ่ม เรือนเฮย 
โดยประณีตนับแท้  ท่านนั้นจิตรเสมอ 
@ ทำจนกลบบาทได้  นับถือ 
จึงจักชมฝีมือ  แม่นไม้ 
แผลบาดอุจาดคือ  รอยตัด คงนอ 
เป็นที่ตำหนิได้  คัดค้านคำฉิน 
@ พระบัณฑูรโปรดไม้  นามเขน 
กับป่าข้อมชายเอน  ออกตั้ง 
โรงหุ่นแต่งทุกเวร  วางเทียบ งามแฮ 
สมฉากสมเขาทั้ง  เทียบพื้นไพรระหง 
@ กรมพระพิพิธได้  ทรงมา 
กรมพระพิทักษ์หา  เช่นบ้าง 
เอนชายป่าข้อมตรา  ตรงชื่อ เดิมเฮย 
พอประจักษ์จิตรอ้าง  ออกให้เห็นพยาน 
@ ไม้ขบวนฉากแบบทั้ง  สองชนิด 
ในพระราชวังสถิตย์  เกิดพร้อม 
พระบาทพระนั่งเกล้าสฤษฎิ์  รังรุกข์ ไว้นา 
มาบัดนี้ทรงสร้อม  แทรกฟื้นพรรคขบวน 
@ หกเหียนฉากแบบนี้  นานสูญ 
เพราะบ่เห็นสมบูรณ์  เริศร้าง 
สุดงามสุดยากปูน  ปานเช่น กันแฮ 
สองรุกข์แถวบางช้าง  เชิดคล้ายพอแปลง 
@ รอบกลมกว้างต้นคลี่  ยาววัด 
สี่ส่วนประจงตัด  แต่งได้ 
ตอสองส่วนเสร็จชัด ชาม่อ หมายเฮย 
พับท่อนหนึ่งสองให้  หักรู้ส่วนเดิม 
@ ขาดตัววัดหยั่งพื้น  พูนดิน บนเฮย 
พับสี่ปันสองจิน  ตนะไว้ 
เป็นตอต่ำพอผิน  ผันเล่น แลพ่อ 
ทีดัดหนึ่งสองให้  หักซ้ำส่วนเดิม 
@ ดูงามจังหวะคล้อง  ฉันใด 
บิดผลักหักเพล่ไผล  ไพล่พลิ้ว 
ทีแรงท่าเพลงไถล  ถลาเผ่น โผนแฮ 
หงายหมัดซัดมวยงิ้ว  ชะโงกเอี้ยวอาจถลา 
@ ที่ยอดหวนหกให้  เห็นแรง 
ทีกิ่งสอดพลิกแพลง  เพลี่ยงต้น 
ทีเรือนตัดเรือนแสดง  ดุจกระ ทุ่มเฮย 
ทีวัดจังหวะค้น  คิดเท้าต้นเสมอ 
@ เขียนไว้หวังวัดเค้า  ควรตรอง 
ฝึกหัดดัดดูลอง  เล่ห์นั้น 
กะคงหนึ่งสองสอง  สมเหตุ ใช้นา 
กิ่งสิบเอ็ดคาดคั้น  คิดไม้หกเหียน 

คัดจากบทความเรื่อง ไม้ดัดและก่อเขามอ เรียบเรียงโดย รังสฤษฎ์ ทองสวัสดิ์
จากหนังสือ บอนไซ 01 ของชมรมบอบไซ ( ไม้แคระ ) แห่งประเทศไทย ( พ.ศ.2520 ) 

http://www.greenthailand.net/tbonsai/lesson11/poetry.htm
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 10:02

โคลงที่คุณพพ.ยกมา  แต่งรัชกาลไหนคะ

เห็นมีพระนามรัชกาลที่ ๓ ด้วย
ไม้ขบวนฉากแบบทั้ง               สองชนิด 
ในพระราชวังสถิตย์                เกิดพร้อม 
พระบาทพระนั่งเกล้าสฤษฎิ์             รังรุกข์ ไว้นา 
มาบัดนี้ทรงสร้อม                   แทรกฟื้นพรรคขบวน 

กับคำว่าพระบัณฑูร  ซึ่งใช้กับวังหน้า  มีโรงหุ่นด้วย เลยนึกถึง วังหน้ารัชกาลที่ ๕ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระบัณฑูรโปรดไม้                   นามเขน 
กับป่าข้อมชายเอน                    ออกตั้ง 
โรงหุ่นแต่งทุกเวร                     วางเทียบ งามแฮ 
สมฉากสมเขาทั้ง                      เทียบพื้นไพรระหง 

แต่กรมหลวงพิทักษ์มนตรีท่านสิ้นพระชนม์ไปก่อนรัชกาลที่ ๕ นี่นา   
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 10:46

น่าจะแต่งเมื่อในรัชกาลที่ 4 เพื่อรักษาตำราของกรมหลวงพิทักษ์มนตรีไว้
ขุนท่องสื่อ ช่วง ภายหลังเป็นหลวงมงคลรัตน์ ท่านอยู่ในสกุลไกรฤกษ์ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 11:07

งั้นไม้ดัดก็มีกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑
มหาดเล็กเจ้าของนิราศเมืองแกลง อยู่ในรัชกาลไหนก็ได้ตั้งแต่ ร.๑ ถึงร. ๕
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 18:57

ไม้ดัดมีมาแต่ยุธยาแล้วครับ
แต่มาบ้าเล่นกันถึงวางตำราอาจจะในรัชกาลที่ 2

แต่ขุนช้างขุนแผนน่ะ
กว่าจะแพร่หลายออกมาให้ขุนนางปลายแถวสามคน จำเอามาว่าเล่นริมชายหาดได้
ต้องเป็นยุคที่ตัวบทหาอ่านได้ง่ายๆแล้วเท่านั้น

เจ้าหนุ่มทั้งสามนี่ คงไม่บิ๊กพอได้อ่านสมุดไทยที่คัดลอกกันแพงๆดอก
อ่านเอาจากสมุดเล่มบางๆของหมอสมิท นั่นล่ะเข้าเค้า
กวีที่แต่งนิราศนี่น่ะ อาจจะได้จับต้องสมุดดำมาบ้าง
แต่ประเด็นมันอยู่ที่คนพายเรือ ลูกน้องแหละครับ ที่สามารถว่ากลอนได้
ผมเพ่งที่สองคนนี้ตะหาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 19:19

ลบทิ้งค่ะ ถูกวางยา ลังเล

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง