เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 63044 สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองเมื่อต้นรัชกาลที่ 5
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 22:40

ลองดูคำที่มีความหมายว่า คาด อย่าง คะเน มุ่ง มาด หมาย ปรากฏว่าเจอเพียบเลยครับ

ชักจะสงสัยว่า คาด ในความหมายนี้ อาจจะมาใช้กันในชั้นหลังนี้เอง
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 23:06

นั่งจิบกาแฟอ่านพลาง  ขโมยเมี่ยงคำท่านอาจารย์เทาชมภูแกล้มไปด้วย...อิอิ

-และไม่ใช่ศิษย์วัดชีปะขาวด้วยใช่ไม๊ท่าน
-ไม่ใช่คนเมืองแกลง
-ไม่รู้จักพระองค์เจ้าปฐมฯ แปลว่าไม่เคยอยู่วังหลัง
-ไม่เคยมีภรรยาหรือคนรักชื่อ แม่จัน

แต่การประชุมกวีนี่ต้องขอพึ่งบารมีท่านอาจารย์เทาแล้วล่ะครับ  ว่ามีไม๊  แบบสามก๊ก  เป็นแบบไหนขอรับ

แต่การคิดแบบท่านพิพัฒน์  ก็ดีครับตรงตามแบบพุทธ  เรื่องกาลามสูตร  แต่อะไรบ้างครับที่ใช่และปะติดปะต่อกันแล้ว  ประวัติของท่านมหากวีจะออกมาในรูปใดขอรับ  อันนี้ No comment......... ฮืม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 20 ส.ค. 07, 01:14

คุณบานานี่เป็นกะหลังเที่ยง(คืน)

ประวัติสุนทรภู่ค่อนข้างเลอะ ผมเสนอให้เช็ดถูปัดกวาดเสียหน่อย
1 ดวงชะตาของท่าน มีใครเคยเห็นตัวจริงบ้าง ความใต้ดวงที่จดว่าอาลักษณ์ขี้เมา ทำไมกลายเป็นสุนทรภู่ได้
2 ดวงนั้นเกิดเมื่อ 2329 แปลว่าอายุ 65 จึงได้เป็นจาวางกรมพระอาลักษณ์ให้พระปิ่นเกล้า ไม่แก่ไปหน่อยหรือ
3 ถึงปีที่ผ่านวัดเขมาอาราม อร่ามทอง ก็จะอายุ 80 กว่า แก่เกินเที่ยวแล้วกระมัง

4 นิราศเมืองแกลง มีตรงใหนที่ชี้ว่าเป็นรัชกาลที่ 1 บ้าง อ่านแล้วเข้าใจชัดว่ากวีออกตรวจราชการ
เพราะเข้าพักบ้านผู้ใหญ่ในถิ่นเสมอ เจ้านายน่าจะเป็นระดับพระองค์เจ้าขึ้นไป มีวัง และคงดูแลหัวเมืองฝั่งตะวันตก
ประเพณีเจ้านายดูราชการ เริ่มสมัยรัชกาลที่ 2
5 เสภาตอนขุนช้างเข้าหอ เป็นตอนดังที่แต่งเมื่อรัชกาลที่ 2 แต่อีกนาน... กว่าจะแพร่มาให้ขุนนางปลายแถวร้องเล่น
6 มีตรงใหน ชี้ว่าเป็นงานของสุนทรภู่บ้าง

7 นิราศพระบาท ถ้าเชื่อผม ก็ตัดทิ้งได้เลย
8 และต้องตัดแม่จันทร์ในเรื่องนี้ทิ้งจากชีวิตสุนทรภู่ด้วย
9 รวมทั้ง ปลดท่านๆ ที่อ่านว่านิราศนี้เป็นงานรัชกาลที่ 1 ออกจากงานทั้งหมด

10 สรุปว่า สองนิราศแล้ว ที่ถูกชำระออก
11 บทที่เก่าที่สุด ผมยกให้เพลงยาวถวายโอวาท
12 ใครจะบอกว่าเรื่องใหนเก่ากว่านี้ เอาหลักฐานมา
อย่าเอาความเห็นนะ เพราะข้อ 9 ตีท่านตกงานหมดทุกคนแล้ว
13 ตำนานอะไรเกี่ยวกับท่านภู่ ถ้าอ้างคำเล่าลือ ส่งไปใต้ลิ้นชักให้หมด
เช่น
-ต่อกลอนหน้าพระที่นั่ง จะเข้านิกายเดียวกะศรีปราชญ์ต่อกลอนพระนารายณ์ เหลวทั้งเพ
- ทะเลาะกับกรมเจษฎ์ ถ้าทะเลาะจริง จะรอดหรือ จะได้สอนเจ้าฟ้ากลางหรือ พระเจ้าแผ่นดินทรงเลี้ยงดูเจ้าฟ้านะครับ
- บ้านพระราชทาน
-เรือพระราชทาน
-เรื่องลอยเรือหนีพระเจ้าแผ่นดิน....ฯลฯ
รวมทั้งกลอนเศษไม่เป็นโล้เป็นพายที่ไปยัดใส่ปากท่าน ถอนออกให้หมด

ยังมีอีกเพียบนะครับที่ผมทำรายการรื้อถอนไว้ วันนี้เอาแค่นี้ก่อน

ปิดท้ายด้วยคำถามชวนคิด
กลอนที่ด่าเจ้าอาวาสวัดเลียบนั่นน่ะ แรงมากๆ
ตนที่บวชหนีราชภัย กล้าทำอย่างนั้นหรือ
วัดเลียบนั้นขึ้นหนกลาง เจ้าคณะใหญ่หนกลางคือใครนึกออกใหมครับ
พระบวชใหม่สองสามพรรษา กล้าด่าเจ้าอาวาสวัดโพธิ์
คนที่วินิจฉัยเรื่องนี้ ผมว่าต้องไปตรวจสมอง

เอ้า ....แถมอีกข้อ
ปีวอกออกขาดราชกิจ....ใครๆ เจอคำนี้ก็บอกเลยว่า บวชหนีภัย บวชแทนคุณ
อยากให้นับเลขหน่อยนะครับ ปีวอกเป็นปีสวรรคตจริง
แต่ถ้าบวชถวาย ต้องรอเดือนหกปีระกาครับ จึงจะบวชหน้าไฟได้
แต่ กวีเขาเขียนไว้ชัดๆ ว่าเขาออกจากราชการมาบวช เพราะพิศวาสพระศาสนา
ไม่เห็นจะอ้างเรื่องเสด็จสวรรคต อะไรสักแอะ คำก็เรียบร้อยดี
เรียบร้อยจนใส่เกร็ดอะไรไม่ได้เลย

ขอความกรุณานะครับ จะอ้างเกร็ดอะไร ก็บอกที่มาด้วย ขอแค่นี้แหละ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 20 ส.ค. 07, 10:54

เรื่องเล็กก่อน

พบคำว่า "คาด" ใช้ในพระอภัยมณี ในความหมาย คะเน และ มุ่งหมาย หลายครั้งครับ

เรื่องใหญ่

พระวินิจฉัยสมเด็จดำรง มีหลายเรื่องที่ไม่อยู่ในกลอน แต่เป็นเรื่องที่เล่า หรือลือกันมา เรื่องแบบนี้มันก็มีทั้งจริงและไม่จริง การอ่านอย่างละเอียด พิจารณาประกอบหลักฐานอื่นก็ช่วยให้สามารถตัดบางเรื่องออกไปได้

แต่ก็ต้องยอมรับว่า สมเด็จฯท่านทรงอยู่ใกล้เหตุการณ์มากกว่าเราครับ บางเรื่องอาจจะเป็นเรื่องที่รับรู้กันมาจริง แต่โชคร้ายที่ไม่มีใครบันทึกที่มาที่ไปไว้อย่างน่าเชื่อถือมากพอ (เพราะอาจมองไม่เห็นความจำเป็น?)

สุดท้ายแล้ว พอมาอ่านนิราศ ผมคิดว่า เรื่องของสุนทรภู่ที่ไม่ได้ระบุไว้ในกลอน ก็คือยืนยันไม่ได้ ต้องฟังหูไว้หู แต่คงด่วนสรุปว่าไม่จริงไม่ได้ ยกเว้นมีเรื่องที่ไม่สอดคล้องกันอย่างชัดแจ้ง

ส่วนตัวผมเองขอยกมือโหวตสนับสนุนให้ตัดนิราศพระบาทออกจากสารบบงานสุนทรภู่ครับ

ส่วนเรื่องอื่น ยังเห็นว่าไม่มีเหตุผลหนักแน่นเพียงพอที่จะตัดออก ขออนุญาตเก็บไว้ก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 02:56

ขอคารวะท่านพิพัฒน์ด้วยความเลื่อมใส

เป็นคติที่ดีครับเวลาที่เราจะศึกษาและวินิจฉัยอะไร  เราต้องทำตัวเราให้ว่าง  ละจากความเชื่อเดิมหรือเชื่อเพราะต้องเชื่อ  แล้วมาใช้เหตุผลวิเคราะห์ด้วยอุเบกขาธรรม  ตามหลักกาลามสูตรเป๊ะ

เพลงยาวถวายโอวาท  ที่ท่านแต่งถวายเจ้านายน้อยทั้งสองพระองค์  มีอะไรดีดีและมีเงื่อนไขเวลาเป็นบทตั้งต้นอยู่หลายอย่าง  เช่น

ผลงานนี้ต้องเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3  แน่ๆ  เพราะพระชนมายุของเจ้าฟ้าสองพระองค์เป็นตัวบังคับ
เหตุผลของผมนะครับ
1.ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นระดับพระอาจารย์ถวายการสอนเจ้านายระดับเจ้าฟ้า  ต้องพร้อมแน่นอน ด้วยวัยวุฒิ  คุณวุฒิ  ชาติวุฒิ  คงไม่เอาพระอาจารย์หนุ่มรุ่นกระทง  หรือคนผ่านงานไม่มาก (ถ้าปัจจุบัน  ก็ต้องอาจารย์สอนหนังสือระดับ ซี 7  ซี 8 ขึ้นไป) ชาติวุฒิก็หมายถึง  เป็นคนมีสกุลรุนชาติ  พอควร  ผมจึงคิดว่าอย่างต่ำๆ  อายุต้อง 40 +

2.ถ้าข้อสันนิษฐานตามเหตุผลในข้อแรกถูกหรือใกล้เคียง  พระอาจารย์ท่านนี้ก็เกิดในสมัย  รัชกาลที่ 1  2330-2340 เป็นอย่างน้อย

3.เสริมเหตุผลตามข้อ 1  ในบาทหนึ่งของเพลงยาวฯที่ว่า

แผ่นดินหลังครั้งพระโกศก็โปรดเกศ    ฝากพระเชษฐานั้นให้ฉันสอน

แปลความว่าในครั้งรัชกาลก่อน  คือรัชกาลที่ 2  ได้ฝากพระเชษฐาของเจ้าฟ้าน้อยทั้งสองพระองค์ให้พระอาจารย์ท่านนี้สอน  ซึ่งในแผ่นดินสมัยนั้น  มากไปด้วยปราชญ์แก้วจอมกวี  แต่บุคคลผู้นี้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยถึงขนาด  ให้ถวายการสอนเจ้านายระดับเจ้าฟ้า  ไม่รู้ว่า 40+  ที่ผมคาดไว้จะพอหรือเปล่า

4. แล้วตำแหน่งจางวางกรมพระอาลักษณ์วังหน้า  จะอายุเท่าไหร่ดีล่ะท่านถึงจะได้เป็น  หรือคำนวนพระราชโอรส ในสมเด็จกุณฑลฯ ผิด

และผมว่าการปะติดปะต่อประวัติของท่านมหากวี  รำพันพิลาป ครับ  เป็นกุญแจดอกใหญ่ของพระวินิจฉัย  หรืออาจารย์หลายท่านใช้เป็นข้อเปรียบเทียบประวัติ  เพราะในรำพันพิลาปมีเยอะมากที่กล่าวถึงผลงานต่างๆ  ในแง่ของการกล่าวถึงสถานที่ที่ได้เคยไปของผู้ประพันธ์  ไม่ว่าจะเป็นการไปพริบพรี  ราชพรี  เมืองกาญจน์ฯลฯ  ถ้าบทประพันธ์บทนี้เชื่อว่าเป็นของท่านสุนทรภู่  ด้วยบทที่ว่า

พระภู่แต่งแกล้งกล่าวสาวสาวเอ๋ย        อย่าถือเลยเคยเจนเหมือนเหลนหลาน
นักเลงกลอนนอนฝันเป็นสันดาน          เคยเขียนอ่านอดใจมิใคร่ฟัง

พระภู่ในที่นี้ที่เชื่อว่าเป็นสุนทรภู่  ไปมาเยอะปานนี้  ออกจากราชการแล้วมาบวชด้วยเหตุใดไม่ทราบ  ตามเนื้อความที่บรรยายในกลอน  แต่กลอนบทนี้แต่งปีขาล  แล้วในกลอนเรียกคนนั้นคนนี้ว่าหลาน  แปลว่าอายุมากพอควร

เงื่อนปมในใจตรงนี้ล่ะครับท่านทำให้มองยังไงกวีท่านนี้ต้องมีอายุพอสมควรจริงๆ  ถึงได้ทำงานสำคัญ  หรือมีผลงานถวายเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินได้เพียงนี้

อย่าพึ่งรำคาญกระผมเลยนะท่านพิพัฒน์  ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลปนคำถามเพื่อความกระจ่างแจ้งขอรับ  ......... ขยิบตา

อิอิ.....จากนักศึกษาภาคเที่ยงคืน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 10:49

ถามเที่ยงคืน ตอบเที่ยงวัน
พระอาจารย์สอนเจ้าฟ้า จะเป็นตรงข้ามกะที่ท่านคิดครับ
การศึกษาของเจ้าฟ้าแบ่งเป็นสองสามหลักสูตร
เมื่อยังทรงพระเยาว์มากๆ อาจจะสักสี่-ห้าขวบ เรียนข้างในกับครูสตรี
อาจจะถึงขั้นที่เรียกว่าขึ้นสมุด คือพออ่านออกเขียนได้ ผันแม่อักษรได้ เขียนตัวได้
ก็จะเป็นขั้นสอง ซึ่งจะต้องหาครูจริงๆ มาสอน ครูชั้นนี้ เป็นครูสอนเด็กเล็ก วัยเพียง 6-7 ขวบ
เอานักปราชญ์มาสอนก็ได้คลั่งใจตายกันพอดี
โดยมากก็จะพระราชทานเข้าสำนักเช่นสำนักของพระศรีสุนทรโวหาร ท่านก็จะจ่ายให้อาลักษณ์ที่เหมาะสมรับไป
ตัวเจ้าคุณน่ะงานล้นมือครับ ยิ่งพระเจ้าแผ่นดินเป็นจอมปราชญ์อย่างรัชกาลที่ 2 หรือ 4
คงจะนึกออกว่า งานเอกสารหนักเพียงใด

ครูที่เหมากับเด็กวัยนี้ ถ้าเลือกได้ ก็ควรเป็นหนุ่มแคล่วคล่อง หนังสือดี ภาษาดี
ไปค้นพระราชประวัติรัชกาลที่ 6  หรือปะเหลาะคุณอั๊บให้เล่าหน่อย ก็จะเห็นความเป็นไปแจ่มชัด
สรุปว่า ผมเชื่อว่า ท่านสุนทรตอนหนุ่มฟ้อ คงจะได้เป็นครูเจ้าฟ้า โก้หรูทีเดียว
น่าเสียดาย ที่เจ้าฟ้าเรียนแป๊ปเดียวก็สิ้นรัชกาล
ตอนนั้นคงโกลาหลนัก วังหลวงเปลี่ยนผู้ดูแล พระนั่งเกล้าทรงขอพระราชมารดามาเป็นประธาน
ผู้คนก็ผลัดเปลี่ยน มีเข้ามีออก และเจ้าฟ้าก็ต้องเฝ้าพระศพ ต้องกระทำพระราชพิธีมากมาย ไม่มีเวลาเรียนแล้วละครับ
ครูภู่ก็คงหาทางเข้าวังไม่เจอ เพราะผู้คนเปลี่ยนหมด
ครูหนุ่มและศิษย์น้อย จึงต้องลาจากเพราะเหตุใหญ่ฉะนี้แล......

ห้าปีผ่านไปไวเหมือนดั่งที่ควรเป็น
เจ้าฟ้าอาภรณ์โสกันต์ คราวนี้ก็ยุ่งละ เพราะท่านต้องออกวัง

เดาว่า พระราชมารดาคงถวายบังคมขอออกมาอยู่ด้วย ได้รับพระราชทานวังถนนหน้าพระลาน
ซึ่งเป็นวังสูงศักดิ์ แสดงให้เห็นว่า พระนั่งเกล้าท่านเคารพสถานะเจ้าฟ้าพระราชโอรสของพระบิดาเป็นอย่างยิ่ง
เจ้าฟ้ากุณฑลคงต้องย้ายออกทั้งหมด สี่แม่ลูกมาเริ่มชีวิตนอกวังหลวงในปีนั้น
ก็คือปีที่พระภู่บอกว่า วันนั้นวันอังคารพยานอยู่....2372

ที่ตาภู่ไปบวชเมื่อปีวอกออกขาดราชกิจ ผมเองเดาว่า ท่านตกงานไงครับ
เลยถือโอกาสบวชเสียเลย ตรงนี้เดาต่อว่า ความจริงท่านอาจจะต้องบวชแล้ว เพราะถึงวัย
อย่าลืมนะครับ เป็นอาลักษณ์ ไม่บวชเรียนได้อย่างไร และต้องบวชตามเกณฑ์ด้วย คือยี่สิบเศษ
ไม่ใช่มาบวชตอนอายุ 38 ใครเขาจะนับถือ (ถ้าเชื่อว่าแกเกิด 2329 อย่างตำนานเดิม)

เคาะตัวเลขแล้ว ผลออกมาว่า
ท่านภู่ของผม อายุสัก 25+ เมื่อบวช มีลูกเมียแล้วด้วย
อายุเข้า 30+ เมื่อถวายหนังสือฟ้ากลาง
หรือเอาให้แน่ชัดเลย ผมเห็นว่า ท่านควรเกิดราวๆ 2340 บวก-ลบหนึ่งปี
มาอยู่วัดเทพธิดาราม อาบุสี่สิบกว่าๆ อาจจะถึงกลางๆ
ที่ท่านเรียกคนอื่นว่าหลาน ก็เป็นคารมน่ะครับ คนเดี๋ยวนี้วัยเพิ่งสามสิบกว่าๆ เรียกพวกเอเอฟว่าลูกๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
น่าหมั่นไส้เหลือที่จะประมาณตน

อ้าว...ไหงมาจบที่นี่ได้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 12:09

พระรูปเจ้าเณรน้อยเสด็จมา ดูน่ารัก....


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 13:40

คราวนี้ถึงคิวคุณพพ.โพสผิดกระทู้บ้างละค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 14:13

เจี๊ยกกก.....
พระอาญามิพ้นเกล้า ข้าพระพุทธเจ้าเบลอ.....
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 23:04

กร๊ากกกก  ผมดันไปตอบกระทู้โน้นโดยไม่ได้ดูท่านพิพัฒน์ตอบตรงนี้

ขอบพระคุณครับ  ถ้าตัดเรื่องอายุครูถวายการสอนเจ้านายออกไป  หนทางเริ่มมองเห็นขอรับ  เริ่มที่จะเดินตามทางของท่านพิพัฒน์ได้  ผมเห็นด้วยครับ
ปีวอกออกขาดราชกิจ    แปลง่ายๆคือออกจากราชการ  แล้วก็มาบวช  คงไม่ได้เกี่ยวกับหนีราชภัย  เพราะกลอนว่าโต้งๆ

ควรมิควรส่วนผลาอานิสงส์         ซึ่งรูปทรงสังวรณ์รัตน์ประภัสสร
ทั้งสี่องค์ทรงมหาสถาวร             ถวายพรพันวะสาขอลาเอย ฯ

ดังนั้นต้องขออนุญาตเริ่มเรื่องสุนทรภู่ผจญภัย  ตั้งแต่ลาออก(ถวายบังคมลา)จากการเป็นครู  และท่านต้องเป็นคนที่มีนิสัยชอบเดินทางผจญภัย  มีจินตนาการ  และ

อย่างหม่อมฉันอันที่ดีแลชั่ว                      ถึงลับตัวก็แต่ชื่อเขาลือฉาว
เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว               เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร

ดังซะด้วยซี  ดังไปถึงต่างประเทศ  เรียกว่าโกอินเตอร์

ในวันอังคารพะยานอยู่              ปีฉลูเอกศกแรมหกค่ำ

ในปีนั้น ก็ต้องตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม 2372  วันอังคาร  แรม 6 ค่ำ  เดือน 8  หรือไม่ก็

วันที่ 10 สิงหาคม 2373  วันอังคาร  แรม 6 ค่ำ  เดือน 9


ดังนั้นขออนุญาตไปอ่านนิราศภูเขาทองก่อนขอรับ ......... แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
วรณัย
อสุรผัด
*
ตอบ: 84


คนธรรมดาที่แสนธรรมดา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 08:59

มาอ่านด้วยความสนุก
คนอาร้าย ช่างจับจุดมาให้คิดได้มันส์ดีแท้

ตามอ่านจอมยุทธวรรณกรรมเขาว่ากัน
นาทีนี้ทำได้เพียง ...เอารูปมาแจม



บันทึกการเข้า

นักวิชาเกินในบอร์ดวิชาการ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 12:17

ชอบรูปคุณวรณัย ขอบคุณครับ
ตัวผมเองเป็นนักวิชากรรมในวงวิชากวน พอจะไปด้วยกันได้ใหมนี่

คุณบานาหายไปนาน นึกว่าล้างมือในอ่างทองคำ แถมวันนี้ยังมารอบเช้าอีก นับว่าแปลก
วันนี้มีกิจธุระต้องเข้าเมือง หัวค่ำจะมาต่อนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.103 วินาที กับ 19 คำสั่ง