เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 63055 สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองเมื่อต้นรัชกาลที่ 5
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 10:32

อ้าว  ก็ตำนานตอนที่สุนทรภู่ท้วงกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ไงคะ
ดิฉันแยกน้ำออกจากเนื้อ
สมมุติว่าเหตุการณ์ตอนนี้ ไม่จริง   แต่แบคกราวน์การแต่งวรรณคดี มันมีสิทธิ์จริง
ถ้าไม่มีอาลักษณ์หรือใครอ่านดังๆว่ากรมหมื่นเจษฤาบดินทร์ทรงนิพนธ์ ว่า

จำจะคิดปลูกฝังเสียยังแล้ว  ใ  ห้ลูกแก้วสมมาดปรารถนา

แค่อ่านกันเงียบๆในใจ   กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์นิพนธ์แล้ว ส่งข้อความที่ร่างมา ถวาย  สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ ทรงรับไปตรวจเงียบๆ   เอาหรือไม่เอาก็ติ๊กบอกกันไป
ก็ต้องรู้กันสองคนพ่อลูกเท่านั้น  เหมือนนักเรียนส่งการบ้าน ครูเปิดสมุดตรวจ  เพื่อนนักเรียนในห้องย่อมไม่รู้ว่านายนี่หรือน.ส.นั่นส่งการบ้านว่าไง   ถูกหรือผิด
แต่นี่ต้องมีการอ่านดังๆ     ถึงมีตำนานเล่ามาว่า สุนทรภู่ท้วง  ท้วงได้เพราะหูได้ยินเสียงอ่านน่ะซีคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 10:37

อ้อ มีหลักฐานอีกตอนของการอ่านดังๆ

เคยทรงแต่งแปลงบทพจนาถ     เคยรับราชโองการอ่านฉลอง
อ่านฉลอง คือการอ่านดังๆตามคำสั่ง  ไม่ใช่ว่าพระเจ้าอยู่หัวส่งให้อ่านก็ทำปากหมุบหมิบ อ่านอยู่ในใจ
ยังงั้นไม่ใช่หน้าที่อาลักษณ์  อาลักษณ์ต้องเขียนอ่านตามคำสั่ง
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 10:42

ถ้าบาทเป็นราคา แล้ว "ใบละบาทคาดได้ด้วยง่ายดาย" จะแปลว่าอะไรล่ะครับ ผมอ่านยังไงก็ไม่ได้ความนะครับว่า"คาด"ยากง่ายเกี่ยวกับราคาตรงไหน  ฮืม

กลอนตอนนี้บอกว่า

อยู่เปล่าๆเล่าก็จนพ้นกำลัง
อุตส่าห์นั่งทำการสานกระทาย
.
.
แขวนไว้ขายทั้งเรือนออกเกลื่อนไป


คิดว่าความจบในตัวดีอยู่แล้วครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 10:46

ใบละบาทคาดได้ด้วยง่ายดาย
ขายใบละบาท คิดว่าขายได้(ด้วยความ)ง่ายดาย ค่ะ
คาดในที่นี้    คือ คาดคิด  ไม่ใช่คาดเข็มขัด
กวีใช้คาด ให้สัมผัสกับ บาท 

ถ้าอัตราเงินต่ำลงกว่านี้ ก็อาจเป็น

ใบละอัฐจัดขายด้วยง่ายดาย              แขวนไว้ขายทั้งเรือนออกเกลื่อนไป
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 11:32

เราไม่เคยเรียกวัตถุด้วยฐานความคิดเรื่องเวลาครับ
เช่นบอกว่าข้าวเปลือกหนึ่งทะนาน ไม่ใช้ว่าข้าวเปลือกหนึ่งบาท(เวลาในการโกยใส่ให้เต็ม)
แกงหนึ่งชาม ไม่ใช่แกงชั่วอึดใจ

ใบละบาทนี่ เป็นคำติดปากอยู่แล้ว แต่ใบละครึ่งชั่วบาม หรือใบละหกนาที อันนี้ไม่เคยเห็น
จึงยังปักใจเชื่อว่าเป็นหน่วยเงิน มากกว่าหน่วยเวลาครับ

ส่วนเรื่องท่านสุนทรหักหน้ากรมเจษฏ์อะไรนั่น
ผมเคยบ่นแล้วว่า มาจากคนที่อ่านหนังสือผิดยุค กลอนว่าจำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว
คนครั้งรัชกาลที่ 1 2 3 ฟังเข้าใจเลย ไม่ต้องแปล
แต่คนครั้งรัชกาลที่ 6 เห็นว่า "จำจะปลูกฝัง" ยังไม่รู้เรื่อง ต้องขยายให้หมดว่าปลูกอะไร ฝังอะไร
เพราะท่านรุ่นใหม่ ท่านไม่รู้ว่า "ปลูกฝัง" แปลว่ามีครอบครัว แปลว่าหาคู่ครอง
พูดแล้วจบ ไม่ต้องต่อออกไปว่าปลูกฝัง.....ให้มีคู่
เหมือนเดี๋ยวนี้ เราบอกเพียงว่า หาเมียให้ ก็จบ ไม่ต้องบอกละเอียดว่า
หาเมียผู้หญิง...ให้ (เอ รึต้องกำกับชัดๆ แล้วหว่า)

คนที่ลือท่อนนี้ จึงบ้องตื้น ลือได้ลือดี แถมไอ้ที่บอกว่าแก้ให้ดีขึ้น สมองอึ่งของผมบอกว่า ไม่ดีขึ้นเลย
สุดท้าย เจ้าภู่ที่(คนรุ่นใหม่ตู่)บอกว่า"ปลูกฝัง" เป็นความขาด แกก็ใช้ปลูกฝังกับศรีสุวรรณนะฮ่า

ผมต้องเรียนอย่างโจ่งแจ้งเลยครับ ว่าตำนานสุนทรภู่ทั้งหมด ถ้าไม่มีหลักฐาน ขอไม่พิจารณา
คนสมัยรัชกาลที่ 6 อยู่ห่างจากรัชกาลที่ 2 และ 3 นานจนไม่รู้เรื่องกันแล้วละครับ
ผมรู้แต่ยามที่รัชกาลที่ 2 ทรงงาน มีแต่เจ้าฟ้ามงกุฏอยู่ไกล้ๆ เท่านั้น ไม่เคยได้ยินว่ามีใครอื่นอยู่ด้วย
ใครจะเล่าว่ามีคนมานอนหมอบรอบพระแท่น กระทำการหักหน้ากันไปมา หรือไอ้ภู่มาล้อพ่อข้า
อะไรเทือกนั้น...ขอไม่ฟังครับ อ้างมาถือว่าว่างเปล่า

ดังนั้น การประชุมกลอน เท่าที่มีหลักฐาน ก็คงครั้งทำจารึกวัดโพธิ์ แล้วข้ามมาครั้งรัชกาลที่ 5 ที่ประชุมกันแต่งโคลงภาพบ้าง แต่งคำพากย์บ้าง
ล้วนแต่ไม่ตรงกับนิยายก่อนนอนเรื่องสุนทรภู่กับคณะ..... แม้แต่น้อย

เท่าที่ผมมีความรู้อีกอย่างหนึ่งก็คือ บรรดาพระราชนิพนธ์ทั้งหลาย ทรงใช้วิธีบอกจด ที่เจ้าพระยาภาสท่านเรียก"ดิ๊คเตท"
อย่างรัชกาลที่ 5 นั้น ที่ยกมาอ้างกันว่าเป็นลายพระราชหัตถ์เลขากันบ่อยๆ ก็เป็นลายมือผู้อื่น
ลายเซนต์ดอก จึงเป็นพระองค์จริง ลายพระหัตถ์เท่าที่เคยมีวาสนาได้เห็นนั้น หวัดจนอ่านไม่ออกครับ
สมัยรัชกาลที่สอง ก็คิดว่าจะเป็นอย่างเดียวกัน
คือทรงดิ๊คเตทใครสักคน ก็ควรจะเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์พระราชวัง เหมือนที่ท่านฟักรับสนองครั้งรัชกาลที่ 4
เขียนตามมือเป็นระวิง แล้วค่อยไปคัดงดงามทีหลัง

ยังไงก็นึกให้เห็นคนมาล้อมพระเจ้าอยู่หัวช่วยกันแต่งกลอนไม่ออกครับ
แรมสมองมีไม่ถึง....ฮิฮิ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 11:33

จากเรื่อง บาท ต้องแวะข้างทางที่เรื่อง คาด ก่อนครับตอนนี้  ยิงฟันยิ้ม

ผมลองไปตรวจสอบดูนิราศเก้าเรื่อง(ที่เชื่อว่าเป็น)ของสุนทรภู่ที่มีออนไลน์อยู่ บวกกับนิราศร่วมสมัยอีก 4-5 เรื่อง เพื่อตรวจสอบสถิติการใช้คำว่า "คาด"

ได้ผลว่า...

ไม่มีคำว่า "คาด" ปรากฏอยู่ที่ใดเลย!!!
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 12:09

ขอลบค่ะคุณอาชา   ดิฉันสรุปเร็วไปหน่อย  ยังมีให้สงสัยอีกมาก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 12:16

แล้วคำว่า "บาท" พบกี่หนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 12:37

คุณพพ. คะ
พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ และ อิเหนาในรัชกาลที่ ๒ อุณรุทและดาหลัง อีก 
ทั้งหมดนี้     คนเดียวแต่งไม่ไหวหรอกค่ะ 
ยังไม่รวมละครนอกอีกนะคะ
แค่อิเหนาเล่มเดียว  คุณคิดว่าท่านแต่งอยู่พระองค์เดียวตั้งแต่ต้นจนจบหรือ 
ราชการบ้านเมืองใน ๑๖ ปี  ยกให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  ตัวท่านไม่ทำอะไรนอกจากทรงกลอน  งั้นหรือ
งั้นกวีมีเอาไว้ทำอะไร 

วิธีประชุมกวีหลวงแต่งวรรณคดีเรื่องใหญ่ๆ   แล้วมีพระวินิจฉัยชี้ขาด   มีร่องรอยให้แกะได้ในวิธีการแต่งสามก๊กและพงศาวดารจีนเรื่องอื่นๆค่ะ
ว่าทำตามแบบตั้งกรรมการมีประธานชี้ขาด  ไม่ใช่คนเดียวแต่ง
ส่วนหลักฐานการแต่งขุนช้างขุนแผน ก็มีให้เห็นนี่คะ  เช่นในฉบับครูแจ้ง และเสภาของหลายๆคนที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงคัดออกไป ไม่รวมไว้ในฉบับหอพระสมุดที่เราอ่านกันอยู่ทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 13:58

สุนทรภู่ แต่งคนเดียวยังได้พระอภัยมณีมา 94 เล่ม (มีเสียงเบาๆแย้งว่า เล่มหลังๆไม่ได้แต่งเอง...)
นั่นคนธรรมดาที่ต้องรับราชการด้วยนะครับ ไม่มีคณะบุคคลคอยช่วยเหลือ
แกยังแต่งอย่างอื่นอีกไม่รู้เท่าไหร่

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 มีพระราชนิพนธ์ เท่าที่เราได้รับรู้ ก็เป็นหนังสือหลายพันหน้า เรื่องหนักๆ ทั้งนั้น
กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงผลงานไว้มากขนาดใหน ผมไม่ทราบ แต่อาจารย์คงทราบ
รัชกาลที่ 5 แค่ไกลบ้านเล่มเดียว เขียนต่อเนื่องระยะหนึ่งเท่านั้น ก็หนาสองนิ้ว
ไม่รวมเล่มอื่นๆอีกสามสี่สิบรายการ หนาวเป็นศอกๆ
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ มี 600 รายการ (เท่านั้นเอง)
ฯลฯ

แม้...ผมต้องไปเชิญนักเขียนที่ผมเคารพนับถือมาโต้กับคุณครูให้สังเวียนล่มซะแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 14:14

สมมุติว่าคุณอาชาผยองเข้าอินเตอร์เน็ตวันละ ๑๒ ชั่วโมง    ทำงานประจำวันละ ๘ ชั่วโมงไปพร้อมๆกัน   แล้วยังรับงานพิเศษหลังเลิกงานอีก ๑ หรือ ๒  จ๊อบ  นอกจากนี้ มาเป็นเวบมาสเตอร์เรือนไทยนั่งเฝ้าเว็บบอร์ด ไม่ให้เกิดเว็บล่มหรือภัยพาลมาราวี  ไปค้นหนังสือวรรณคดีภาษาจีน  และหนังสืออื่นจิปาถะมาตอบในกระทู้ แล้วแต่ใครจะถามอะไร
ดิฉันควรจะบอกไหมว่า  เรื่องนี้ย่อมแสดงว่า คุณพิพัฒน์ก็ทำได้  คุณ Bana ก็ทำได้  แม้แต่ดิฉันเองก็ทำได้   
ชาวเรือนไทยโดยเฉลี่ยก็ต้องทำได้
ไม่จริง
ศาสตร์แห่งการอนุมาน ข้อนี้ ใช่ไม่ได้ค่ะ 
คุณอาชาฯแกทำของแกได้  แต่คนอื่นร่วมสมัยและร่วมเรือนไทย ใช่ว่าจะทำได้
สุนทรภู่เขียนพระอภัย ๘๔ เล่มไม่ได้เป็นการยืนยันว่ากวีอื่นจะทำได้ด้วย  เป็นรายตัวไป ไม่ว่าคนไหน

นอกจากนี้ หักคอจนจะหมุนรอบได้อยู่แล้ว ไม่พอ  ต้องแบมือมา  อัญเชิญพระราชนิพนธ์ละครรามเกียรติ์รัชกาลที่ ๒ วางลง ไปให้อ่าน
อ่านไม่จบ หรือเอาไปวางทิ้งไว้ จะโดนคาบไม้บรรทัด

อ่านแล้ว  จะเห็นว่ามีฉากซ้ำหน้าเว้นหน้า
คือ พระรามพระลักษณ์อาบน้ำแต่งตัวออกรบ    ฝ่ายยักษ์อาบน้ำแต่งตัวออกรบ   บรรยายรถทรงของทั้งสองฝ่าย
นี่ยังไม่รวมการซ้ำกันอื่นๆ เช่นฉากเชิญพระยายักษ์มาเข้ากรุงลงกา เลี้ยงดูปูเสื่อกัน    ฉากพระรามถามพิเภกว่าใครยกทัพมาวันนี้
โอย  ซ้ำกันจนบอกได้ว่า ถ้าใครสักคนแต่งซ้ำๆๆๆๆกันอย่างนี้   คงหน้ามืดตาลาย
ลักษณะแบบนี้ ไม่ต้องนั่งทางในก็มองเห็นได้ว่า มันเป็นการแต่งเป็นตอน   แบบมอบหมายกันให้ต่างคนต่างแต่ง ในกรอบแพทเทิร์นที่รู้กัน
พอต่างคนต่างแต่ง ก็แต่งกันได้ไม่เบื่อ    ไม่ซ้ำกันในรายละเอียด
แล้วมาเรียงต่อกัน

อ่านเองรู้เองค่ะ
นี่ยังไม่ได้เล่าถึงวิธีแต่งสามก๊กนะคะ   เอาไว้ก่อน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 14:45

แบ่งเป็นสองกรณีครับ
1  งานมหากาพย์ คนๆ เดียวย่อมแต่งได้ ไม่ใช่บอกว่าระดับรามเกียรติ์นี่ ต้องหลายมือ จึงจะทำได้
เพียงแต่ว่า ทำแล้วดีหรือไม่ดี
2 งานที่มีรอยต่อมากมาย ก็แปลว่าบรรณาธิการไม่ดี ซ่อมรอยต่อไม่เป็น
ท่านทั้งหลายอ่านพระอภัยมณีได้ราบรื่น ไม่สะดุด นั่นเป็นเพราะบรรณาธิการดี
เป็นบรรณาธิการที่ไม่อ่านสุนทรภู่ด้วย

3 ฉบับต่างๆ ของคำประพันธ์นั้น มีมากมาย และสลับสับสน ไม่มีใครมีฉบับสมบูรณ์
ยิ่งเก่ายิ่งมีมากความ ที่อาจารย์ว่าบทซ้ำๆกัน อาจจะมาจากหลายเหตุผล
แต่ต้องเข้าใจว่า ในการเล่น เขาเล่นเป็นตอน ต้นฉบับจึงมีหลายมาตรฐาน
เราไม่เคยมีความรู้เลยว่า รามเกียรติฉบับที่เรารู้จักนี้ มาจากต้นฉบับกี่วัง กี่บ้าน
และคนยำรวมกัน เก่งแค่ใหน

แต่ผมเชื่อว่า เมื่อเล่นกันในรัชกาลที่ 1 2 นั้น ต้นฉบับต้องเจ๋งครับ
แต่จะได้ฉบับนั้นมาพิมพ์หรือเปล่า สวรรค์ที่รู้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 15:07

ไม่รู้ค่ะ  คำตอบของคุณพพ. เปลืองเซลสมองของดิฉันมาก   เลยตอบได้สั้นๆแค่นี้
 เศร้า
ไม่รู้ว่าใครในเมืองไทยจะรู้หรือเปล่านะคะ   ว่ารามเกียรติ์และเรื่องอื่นๆ ที่เราอ่านๆกันอยู่ ทั้งฉบับร.๑ และร. ๒ มีกี่เวอร์ชั่น และเราได้อ่านเวอร์ชั่นไหน
เวอร์ชั่นเกรด A หรือเปล่า
ถ้าจะรู้ต้องลุยสมุดไทยให้หมดทั้งในและนอกหอสมุดแห่งชาติ   มาจัดทำเองใหม่  แต่ก็อาจจะยังไม่รู้อยู่ดีเพราะไม่เจอ หรือเจอไม่ครบ

เอางี้ เพื่อรักษาเซลสมองส่วนที่เหลือไว้ตอบกระทู้อื่น  คุณพพ.มีอะไรจะบอกก็บอกมาเลยค่ะ   
ปูเสื่อนั่งรอ   กินเมี่ยงคำไปด้วยพลางๆ

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 15:39

ผมอยากจะบอกเพียงว่า ฟังหูไว้หูเท่านั้นแหละครับ
ยกตัวอย่างก็นิราศเมืองเพชรนี้เอง ฉบับที่"อนุญาต"ให้เราศึกษา ถูกหั่น หรือหายไปตั้งมาก
ดังที่อาจารย์ล้วนท่านไปเจอมา  ที่เจอก็ไม่ใช่สมุดต่ำๆ นะครับ มาจากคลังของหอหลวงทีเดียว

สมัยก่อน เราต้องเชื่อผู้ใหญ่ แล้วก็สบายใจว่าได้รู้อะไรออกมามากมาย
แต่เมื่อเกิดฉุกคิด ก็พบว่า ท่านผู้ใหญ่ ท่านทำงานแปลกๆ ทำให้เราปัจจุบันนี้ถึงจนมุม
หมุนวนอยู่กลางกระดาน
ทางออกก็มีแต่แกะรอยวงกต ค่อยๆ คลานต้วมเตี้ยมออกมาสู่ความกระจ่างเท่านั้นเอง

ประวัติสุนทรภู่นั้น แม้ว่าหั่นจนเกลี้ยง ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับท่าน เหมือนเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับนายนรินทร์
กลอนของท่านก็ยังเป็นยอดของภาษา แม้แต่แต่งเมื่อวาน ก็ยังยอดอยู่นั่นเอง
แต่การที่เห็นวินิจฉัยที่ไม่รอบคอบ ครั้งแล้วครั้งเล่า บางเรื่องไมใช่เรื่องเล็กๆ
บางเรื่องเราก็มาพบหลักฐานที่อื่นว่าน่าสงสัย ทำผมอยากจะอ่านแบบใหม่
คืออ่านเท่าที่มี จากฝีปากสุนทรภู่เอง เมื่อจำเป็นจึงพึ่งอรรถาธิบายภายนอก

อย่างเรื่องร.3 กริ้ว ถึงขั้นต้องลอยเรือหนี เล่าเป็นตุเป็นตะขนาดว่าแผ่นดินข้า เอ็งห้ามเหยียบ
เลยไปอยู่ใต่ร่มกาสาวพัสตร์ ลิเกเสียนี่กระไร..........
สมมติเชื่อว่าท่านภู่แกหนีตาย ออกบวชจริงๆ และแกแต่งนิราศภูเขาทองอาลัยรัชกาลที่ 2 หมาดๆ
ไม่เฉลียวใจหรือ ว่าพระบวชใหม่ พรรษาแค่สองสามปี กล้าด่าอธิบดีวัด เป็นสัดตวงข้าว
คนตั้งเจ้าอาวาสวัดเลียบ อยู่วัดพระเชตุพน เป็นเจ้าคณะหนกลางนะครับ
เป็นผู้ที่เจ้าแผ่นดินเคารพนับถือ และเล่ากันว่าเคยไปพึ่งด้วย
คนอย่างอ้ายภู่หรือ จะกล้ากล่าวคำอย่างนั้น ท่านอ่านแล้วไม่ตะขิดตะขวงใจ แต่ผมเป็นอะครับ

ความรู้ที่บกพร่อง ถ้าบังอิญเห็นก็ควรจะเก็บกวาด
แต่การเก็บกวาดโดยอดอ้างของเดิมนี่ มีแต่ทำให้ความรู้ใหม่กะเก่าไม่แตกออกจากกัน
ผมจึงเชื่อของผมว่า
สุนทรภู่ไม่รู้จักไกล้ชิดกับรัชกาลที่ 2
ไม่เคยเป็นกวีที่ปรึกษา
การแต่งกลอนแบบประชุมกวีก็ไม่เคยเกิด
เรื่องที่ทะเลาะกับกรมเจษฏ์ก็ไม่จริง
บ้านพระราชทานก็ไม่มี
ต่อกลอนเลอะเทอะก็ไม่ใช่ของท่าน
ไม่เคยรู้จักกับพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระองค์เจ้าลักขณา และพระองค์เจ้าหญิงวิลาส
มีชื่อเสียงเป็นนักเพลงยาวมาแต่ปลายรัชกาลที่สองและได้เป็นครูสอนเจ้าฟ้าอยู่แป๊บเดียว
ถึงรัชกาลที่สามได้เป็นครูหลวง
บวชเมื่อปีวอกก็ไม่ใช่ถวายพระราชกุศล
เพราะบวชปีวอก แต่งานพระเมรุ(ที่ต้องมาบวชถวาย)นั่นปีระกา เดือนหกครับ
..............นิราศอีกสี่ห้าเรื่องก้อไม่ใช่ของท่าน

โอยเหนื่อย
นี่แค่ย่อๆ นะครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 22:01

ส่งการบ้านเรื่อง "บาท" ครับ

ถ้าใช้ google ค้นคำ "บาท" กับ "สุนทรภู่" เจอคำตอบเพียบครับ

ล้วนแล้วแต่ "นิราศพระบาท" ทั้งนั้น แหะๆ

มานั่งนับกันจริงๆ บาท นี่มีใช้เพียบครับ แต่ส่วนมากเกี่ยวข้องกับการกล่าวถึงเจ้านาย หรือไม่ก็ในความหมายว่าเท้า

มีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยเงินเพียงหนึ่งแห่ง ในนิราศวัดเจ้าฟ้า (เณรหนูพัด)

ทั้งหนูกลั่นนั้นคะนองจะลองทิ้ง     บอกให้หญิงรำรับขยับหัน
ถ้าทิ้งถูกลูกละบาทประกาศกัน     เขารับทันเราก็ให้ใบละเฟื้อง


เงินบาทหนึ่งนั้นใหญ่เกินไปครับ คงไม่ได้ใช้กันบ่อยนัก ถ้าเป็นสลึงเฟื้องนี่เจอหลายที่

ส่วนที่ใช้ในความหมายเวลา... ศูนย์ครับ ไม่มีเลย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.183 วินาที กับ 19 คำสั่ง