เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 63054 สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองเมื่อต้นรัชกาลที่ 5
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 21:11

กำเนิดพลายงาม บอกว่าสุนทรภู่ไม่เกี่ยวเลย ผมยังทำใจเชื่อง่ายกว่าบอกว่าสุนทรภู่แต่งคนเดียวทั้งตอนครับ

เสียงกลอนบางตอนเหมือนกลอนสุนทรภู่ แต่หลายๆตอนก็ไม่ใช่ ไม่ใช่เรื่องเสียงกลอนตลาดกับกลอนเสภาต่างกันหรอกครับ

งานของนายมีก็เดินตามเสียงของสุนทรภู่ เขาถึงลือกันว่านายมีเป็นศิษย์สุนทรภู่ จริงเท็จอย่างไรไม่รู้

แต่นิราศที่ถูดจัดเข้าสารบบงานของสุนทรภู่ เดินตามรอยนี้ทั้งหมด ยกเว้น.. นิราศพระบาท... เรื่องเดียวโดดๆ ที่เพี้ยนทั้งแบบกลอน เพี้ยนทั้งเสียงกลอน เพี้ยนทั้งเรื่องราวแวดล้อม และเพี้ยนกระทั่งประวัติตัวกวีเอง ดูผิดที่ผิดทางไปหมด เอาไงเอากันครับ  เจ๋ง

เรื่องค่าเงินสมัยนั้น ยังไม่ได้เป็นระบบ currency แบบปัจจุบันครับ เงินหนึ่งบาทคือเนื้อเงินแท้หนักหนึ่งบาทเอามาขึ้นรูปเป็นเงินพดด้วง ดังนั้นค่าเงินไม่เฟ้อตามเวลา ราคาสินค้าจะขึ้นกับอุปสงค์อุปทานเป็นสำคัญครับ

จำไม่ได้แล้วว่านิราศเรื่องใดเรื่องหนึ่ง บอกราคาค่าจ้างลากโยงเรือที่คลองโยง ราคาลำละหนึ่งสลึงครับ
อีกตอนหนึ่งบอกเรื่องซื้อกล้วย (พูดเป็นนัยว่าราคาถูก) ราคาเครือละเฟื้องเดียวเท่านั้นเอง

จดหมายเหตุโหรในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๘ ตอนหนึ่งมีความว่า

ปีมเสง จ.ศ.๑๑๘๓ (พ.ศ. ๒๓๖๔) เข้าเกวียนละ ๗ ตำลึง เข้าสารถังละ ๓ สลึงเฟื้อง
ปีเถาะ จ.ศ.๑๑๙๓ (พ.ศ. ๒๓๗๔) เข้าแพงเกวียนละ  ๘  ตำลึง

ราคาปกติไม่ทราบ แต่อย่างแพง ก็ ๗-๘ ตำลึงต่อเกวียน ตกราว ๓๐ บาทเท่านั้นเองครับ

ในขณะที่จดหมายเหตุของหมอบรัดเลในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๒ บอกว่า
ปีชวดจุลศักราช ๑๒๒๖ พ.ศ.๒๔๐๗
พฤศจิกายน ที่ ๒๑ มีกำปั่นพ่อค้าทอดอยู่ในลำแม่น้ำพร้อมกันถึง ๑๐๐ ลำ ไม่เคยมีมากเหมือนอย่างนี้มาแต่ก่อน เรือเหล่านี้มาซื้อเข้าสารจะไปขายเมืองจีน เปนเหตุให้ราคาเข้าสารขึ้นทันที จนถึงเกวียนละ ๑๒๐ บาท แลเกวียนละ ๑๒๕ บาท ไม่เคยมีราคาเท่านี้มาแต่ก่อน

พอจะเห็นภาพครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 21:48

เอ ดิฉันไม่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ก็เลยยังไม่เข้าใจอยู่ดีละค่ะ คุณอาชา
ค่าเงินมันจะเกิดจากอุปสงค์อุปทานอะไรไม่รู้   ไม่ได้หมายความเรื่องนี้   หรือคุณอาชาตอบแล้วดิฉันไม่เข้าใจก็ไม่ทราบ
ดิฉันทราบแต่ว่า  จำนวนเงิน 1 ชั่ง = 20 ตำลึง 
                                     1 ตำลึง = 4 บาท
                                     1 บาท  = 4 สลึง
                                     
คืออุปสงค์ อุปทานจะมากหรือน้อย  ชั่งก็ต้องมากกว่าตำลึง ตำลึงมากกว่าบาท   อยู่นั่นเอง

ยกเรื่องค่าจ้างควายลากเรือมาก็ดีแล้วค่ะ
ในรัชกาลที่ ๓ (อาจจะอนุโลมว่ารัชกาลที่ ๒ ด้วย) ค่าจ้างควายลากเรือที่คลองโยง  ลำละ ๑ สลึง    แต่ราคากระทายในยุคเดียวกัน ใบละ ๑ บาทได้เชียวหรือ
สานกระทาย ๑ ใบเท่ากับควายลากเรือ ๔ ลำ    ดิฉันสานกระทายขายวันละ ๑๐ ใบ มีเงินเข้ากระเป๋า เท่ากับคุณอาชาเจ้าของกิจการควายลากเรือ ต้องลากถึง ๔๐ ลำ
วันไหนขายดีได้ ๒๐ ใบ คุณอาชาต้องให้ควายลากถึง ๘๐ ลำ ถึงได้เงินเท่ากัน
งั้นเลิกกิจการมาสานกระทายขายไม่ดีกว่าหรือคะ

ที่ถามเพราะสงสัยว่า ราคากระทายที่ใบละ ๑ บาท นั้นจะไม่ใช่ราคาข้าวของสมัยรัชกาลที่ ๒ น่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 21:54

ในกลอนบอกว่าเป็นกระทายเคลือบรัก
ชวนให้คิดว่าไม่ใช่ของภาคกลาง เพราะเครื่องสานของภาคกลางทาน้ำมันยาชัน
อาจบางทีจะเป็นกระทายชั้นสูง

ก็จะขัดกับที่บอกว่าสานง่ายๆ สานง่ายนั่นมันกระทงใบตอง....5555
บางทีกวีของเราจะไฮโซเสียจนตีราคาของไม่เป็น และเห็นว่าเงินบาทหนึ่ง เป็นเงินเล็กน้อย

ผมเคยเอาราคาข้าวเป็นตัวเทียบ เกียนละ 30 บาทเมื่อแพง เมื่อไม่แพงก็คงตก 20 บาท
เดี๋ยวนี้ซื้อข้าวหนึ่งเกียน เห็นจะต้องใช้เงินกว่า 5000 บาท ตีเสียว่าเป็นข้าวเบา ไม่ได้ราคา
เพราะฉะนั้น หนึ่งบาทวันนั้น จะซื้อข้าวได้ 1 ใน 20 เกียน
เท่ากับ 20 หาร 5000 เท่ากับใบละ 250 บาท แพงโคตๆ ละครับ กะทายใบละยี่สิบบาทก็แพงมากแล้ว
ตอนที่ผมออกภาคสนามกับครูของผม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 22:17

ไม่ไหวมั้งคะ     

ถ้าท่านกวีของเราท่านไม่รู้จักทั้งวิธีสานกระทาย ทั้งราคาขายกระทาย  แล้วมาแต่งตอนนี้ได้ยังไง ให้ขุนแผนนั่งเล่นนอนเล่นอยู่ในหับเผยเฉยๆก็ได้  ง่ายกว่า
วิธีเล่าว่า เมียช่วยทารัก  ผัวถักขอบรัดกระหวัดหวาย เป็นวิธีทำกระทายที่บรรยายไว้ทะมัดทะแมงราวกับกวีเคยเห็นมาเอง
ถ้าเดาสุ่มว่ากระทายมันคงทารักมั้ง  ไม่รู้แน่ว่าเอาอะไรทา  อ้ำๆอึ้งๆได้แต่เดา  คงไม่มั่นใจพอจะบรรยายแบบนี้

ดิฉันไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเอารักทาหวาย    รักทาแล้วเป็นสีดำ หมายถึงเคลือบให้คงทนหรือเปล่า   ไม่เกิดเชื้อราบนหวายหรือไงคะ?
หรือเป็นกระทายอีกแบบที่คุณพพ.ไม่เคยเห็น    เพราะเลิกทำกันมานานแล้ว
แต่มันจะต้องไม่ใช่กระทายไฮโซแน่ๆ  เพราะแขวนขายไว้ทั้งเรือนออกเกลื่อนไป  แสดงว่าเอาไว้ขายชาวบ้านร้านถิ่น 

เอางี้  ยุคคุณพพ.ออกภาคสนามกับครู  กระทายใบละ ๒๐ บาทถือว่าแพงแล้ว
สมัยอาจารย์ท่านเป็นเด็กหนุ่ม กระทายใบละเท่าไร  ๑๐ บาท?
ทีนี้ กระทายใบละ ๑ บาท เป็นราคาปกติในท้องตลาด   จะถอยหลังไปวางขายในตลาดสมัยไหน 
ตลาดเก่า ๑๐๐ ปีสามชุก ทันไหมคะ



บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 22:34

ทารักเพื่อกันน้ำครับ น้ำรักจะทำให้เส้นหวายแข็งแรงขึ้น
แต่รักจะเป็นสีดำ ของก็ไม่งาม ทางเหนือผสมแดง กลายเป็นเครื่องเขิน
กวีบรรยายไม่ชัด บอกไม่ได้ว่ารู้จักกระทายมากขนาดใหน
แต่บอกได้ว่าไม่รู้เรื่องสานกระบุงกะต้าเลย

จริงๆมันไม่ง่ายนะครับ ต้องหาหวายมาทำเส้นตอก ต้องรูดให้เท่ากันทุกเส้น
จะเอามาจากใหนเล่า หวายไม่ใช่งอกในทุกที่
มีที่เก็บกอง มีแท่นวางเครื่องมือ ซึ่งประกอบด้วยมีดหลายขนาด เสารูด (เขามีชื่อเรียก ผมก็ลืมรเ
เส้นตอกที่กองไว้ พร้อมใช้งาน
นั่งสานไปก็ต้องเป็นที่สงบ ม่ายงั้นสอดตอกผิดอีก สอดไม่แน่นอีก สอดไม่หม่ำเหมออีก
โอ้ย...สารพัด

จะว่าไปก็คงเหมือนนักเขียนที่ไม่เป็นเรื่องกับข้าว แต่ดันเขียนให้ตัวเอกเป็นพ่อครัว
แล้วน้ำรักนั่นก็ต้องต้ม มีเตา มีหม้อ มีแปรงทา เมียต้องนั่งทำในที่อับลม
ตอนผึ่งก็ต้องหามุ้งครอบ หรือมีห้องเฉพาะ ไม่งั้นฝุ่นจับเสียของ

สรุปว่า กวีคนนี้ ว่าไปเรื่อย คิดว่าเครื่องสานเป็นของง่ายจนไม่เคยใส่ใจ
กระทายใบละบาทในรัชกาลที่ 2 ก็คงเทียบระดับน้องๆกระเป๋าลุ่ยติงต๊อง
ประมาณนั้นแหละครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 22:50

ถามแบบเกมโชว์
ท่านคิดว่า
๑) กวีท่านนี้ไฮโซ อยู่สูงเหนือชีวิตชาวบ้านสานกระบุงมากมายนัก จะเป็นเพราะเป็นกวีราชสำนักมาแต่เกิด
หรือเกิดมาเป็นคุณชาย พ่อแม่ไม่เคยยอมให้เห็นบ่าวสานกระบุงใกล้ๆ เห็นอยู่ห่างๆ
๒) กระบุงกระทายสมัยนั้น  เขาสานกันง่ายและคล่องกว่าสมัยนี้  เหมือนปลูกข้าวสมัยนั้น ชาวบ้านเขาก็ทำกันง่าย  เด็กสิบขวบก็ช่วยพ่อแม่ปักดำได้   เด็กสมัยนี้ถ้าให้สอบวิชาปลูกข้าว ไอคิวสูงขนาดไหนก็สอบตก
เราเลยคิดว่าปลูกข้าวมันยาก   
๓) สุนทรภู่ไม่รู้จักวิชาสานกระบุง  เคยอยู่แต่ในวังหลัง 
๔) คนแต่งตอนนี้เป็นใครก็ตาม ไม่ใช่สุนทรภู่   เพราะเป็นไปไม่ได้ที่สามัญชนอย่างสุนทรภู่จะไม่รู้เรื่องที่ชาวบ้านเขาทำกัน
๕) เรื่องนี้แต่งในยุคที่กระทายราคา ๑ บาท
๖) กวีผู้แต่งเรื่องนี้ไม่รู้แม้กระทั่งว่ากระทายใบละเท่าไร   บอกเกินจริงไป ๑๐๐ กว่าเท่า
ถ้าเป็นข้อ ๖ ขอแทรกว่ากวีอื่นที่ช่วยกันแต่งขุนช้างขุนแผนก็คงไม่รู้ราคากระทายเหมือนกันหมด  ไม่งั้นคงท้วงกันบ้างแล้ว ว่าคุณหลวง(หรือคุณพระ) ขอรับ กระทายคุณหลวงใบละเจ็ดหมื่นบาทเชียวนะขอรับ(คิดตามกระเป๋าแบรนด์เนมค่ะ)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 23:20

ไม่คิดว่าคณะกวีที่ประชุมกันแต่งเสภานั้น จะมีใครรู้จักสานกระบุงกระทาย หรือแม้แต่หุงข้าวเป็น
สมัยก่อนชนชั้นไม่ปนเปื้อนกัน ใครอยู่สูงก็ยากจะมารู้จักของต่ำ
ถึงได้มีเกร็ดเล่าว่า พระเจ้าอยู่หัวถูกท้าทายว่าแต่งกลอนชาวบ้านไม่เป็น
แต่ขอประกาศตรงนี้ก่อนว่า ผมไม่เชื่อเรื่องนี้ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 กำเนิดเป็นสามัญชน
อายุสามสี่ขวบก็วิ่งเล่นลานวัดแถวอัมพวา เพราะพ่อเป็นยกกระบัตร
แม้จะเป็นลูกผู้ดี แต่ในปีนั้น สังคมปั่นป่วน จึงน่าจะทรงคุ้นเคยกับชีวิตติดดิน

แต่คนที่เข้ารับราชการนั้น เขาสืบตระกูล ยิ่งได้ไกล้ชิด ยิ่งต้องมีตระกูลสง่าผ่าเผย
ท่านเหล่านี้ ให้หุงข้าวก็คงไหม้ ให้ปิ้งปลาประชดแมว แมวก็คงเดินหนี เพราะไหม้
ทีนี้ ถ้าเราจะย้ายเรื่องจากนิราศภูเขาทองมาเป็นเสภาขุนช้างขุนแผน
ผมก็จะขอตั้งหลักถามท่านเสียก่อนว่า

ที่เรียกว่าประชุมกวีนั้น ท่านเคยเห็นหรือไม่ ถ้าไม่เคยเห็น ขอคำสันนิษฐานกระบวนการทำงานหน่อย
ผมจะได้คิดตามครับ
แล้วในงานที่ประชุมกันเขียน ท่านเห็นรอยต่อ หรือจุดเด่นที่จะแยกว่ากี่กวี ที่น่าจะมาร่วมมือ

ถ้าท่านตอบได้ ผมจะได้เชื่อท่าน ยอมรับนับถือและดำเนินความคิด ตามแต่การชี้นำของท่าน....55555
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 01:21

อิอิ.......เข้ามาวันนี้ไหงมาลง "กระทาย" ได้ล่ะครับอาจารย์เทาชมภู  small basket หรือกระทายนี่นะ  อืมมมมม
วันนี้ท่านอาจารย์เทาชมภูเล่นเอาดอกใหญ่เลย  แค่กระทายใบเล็กๆ  แต่เป็นเรื่องใหญ่ได้  เพราะจริงอย่างที่ท่านอาจารย์ว่าครับ  ไม่มีข้อโต้เถียง  ยุคไหนก็ตาม  ใบละบาท มากไปครับ  สมัยผมเด็กๆอ่ะใช่ครับ  ใบละบาทถือไปพายไปบางทีก็เอามาคล้องกับหัว  เวลาไปเก็บผลไม้หรือผักบางอย่าง  สำหรับเด็กๆก็ใช้ได้เพราะไม่ใหญ่นัก  แต่เอาหวายถักทำขอบนี่ผมทำเป็น  แต่ทารักนี่ไม่เคยเห็นครับ  จริงอย่างท่าน CH ว่า  พาลให้ไปนึกถึงเครื่องเขิน  ถอยหลังไปหน่อย  ที่ดินที่ยุคคุณปู่ผมซื้อจนเป็นมรดกมาถึงรุ่นผมเนี่ย  20 ไร่  15 บาทครับ  อาจแย้งว่าบ้านป่าเมืองเถื่อน  แต่ก็ราคานี้จริงๆครับ  ปัจจุบัน ไร่ละประมาณ 10000-15000 บาทครับ

ถ้าเราจะอ้างว่าแค่กลอนพาไป  ในที่ประชุมน่าจะมีใครหักคอบ้างอ่ะครับ

ใบละบาทคาดได้ด้วยง่ายดาย

อาจเปลี่ยนเป็น

ใบสลึงพึงได้โดยง่ายได้

หรือ

ใบละไพขายได้ด้วยง่ายดาย           อิอิ (ขออภัยบังอาจเทียบครู)

ผมคิดว่าในยุคทองของกวีนั้น  ล้นเกล้าฯรัชกาลที่สอง  คงจะมุ่งไปทางละครมากที่สุดครับ  กวีที่ปรึกษาหรือการประชุมกวี  น่าจะเกี่ยวกับบทละครเป็นส่วนใหญ่  หรือเป็นวรรณคดีที่ยกมาชำระ  ก็เพื่อนำมาเล่นละคร  โดยเรื่องก็จะสืบสานมาจากกรุงศรี  แล้วรวบรวมมาปะติดปะต่อ  หรือแต่งใหม่บางตอน  อาจมีบางเรื่องที่แต่งใหม่เลย  บทกลอนกับละครเลยน่าจะเป็นเรื่องเดียวกันในสมัยนั้น

ถ้าให้นึกภาพแบบท่านพิพัฒน์  ผมว่าน่าจะเป็นแบบ  กวีที่ปรึกษาคนไหนพระองค์เห็นสมควร  ก็จะตัดทอนแบ่งบทตอนสักตอนไปให้แต่งมาอ่านถวาย  ถ้าเป็นที่พอพระราชหฤทัยก็เป็นเครดิตไป  หรืออาจจะมีพระราชประสงค์ให้ได้ยินกันหลายๆคน  แล้วก็แก้ไขบ้างถ้ามีการท้วงติงกันขึ้น  เรียกว่านำไปแต่งที่บ้านแล้วนำมาอ่านถวายหน้าพระที่นั่ง  ต่อหน้ากวีที่ปรึกษาอื่นๆอีกหลายท่าน ก็น่าจะกดดันพอสมควร เพราะพระองค์ท่านก็ยอดกวี  และกวีที่สามารถเข้าไปถวายงานในวังได้ก็ต้องระดับบรมครู  หรือก็ยอดกวีทั้งสิ้น  แต่ก็นั่นล่ะครับ  ความเป็นศิลปินมีผลงานย่อมจะต้องชอบแสดง  และผมเชื่อว่าต้องพระราชทานโอกาสให้ทุกคน  แบบว่าทุกคนเสมอกันในที่นั้น  จะเป็นเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือขุนนางระดับไหนก็ตามทักท้วงถามกันได้  แต่ก็นั่นแหละ  ในความคิดของผม  ผมว่าก็ต้องมีเกรงๆใจกันอยู่บ้าง  และคิดว่าพระองค์ท่านนั่นล่ะครับที่จะทักท้วงถามเหตุมากว่าใครๆ  แต่ก็เป็นบันไดอันยิ่งใหญ่ของศิลปินทุกคน  ถ้าผ่านการยอมรับและทรงโปรดแล้วละก็   อนาคตรุ่งโรจน์ลูกศิษย์ลูกหาเพียบ  หาถวายพระอักษรเจ้านายหรือรับราชการเป็นใหญ่เป็นโตทางนี้มีสำนักมีบารมีอนันต์เชียวล่ะครับ

แต่แบบถือกระดานชนวนคนละอัน  แล้วมาว่ากันด้นกลอนกันสดๆ  ไปทีละบทละบาทในที่ประชุม  ผมว่าคงจะไม่ถึงขนาดนั้นดอกขอรับ  ท่านพิพัฒน์เจ้าขา  หรือจะว่าไง.........อิอิ  ฝันซะนาน เจ๋ง
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 01:37

นั่งถักจักสานภาชนะ                        สานวาระหัตถกรรมตามสมัย
ภูมิปัญญาอันล้ำค่าของคนไทย          รักษาไว้ให้แผ่นดินท้องถิ่นตน

                                                                    (สุนทรกล้วย).....อิอิ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 01:41

กลับมาอ่านกลอนใหม่ "ใบละบาทคาดได้ด้วยง่ายดาย" วรรคนี้อ่านไม่รู้เรื่องครับ

เอะใจขึ้นมาก็เลยไปเข้าเฝ้าพระอินทร์ (royin)

บาท ๔    น. ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที.

เห็นแล้วก็เขกหัวตัวเองเสียหนึ่งโป๊ก เวลาครับ ไม่ใช่ราคา
ซตพ.

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 01:54

เห็นด้วยครับท่าน CH  ขอชูจั๊กกะแร้สองข้างเลยครับ

1 บาท     =  100 สตางค์  พึ่งมาใช้กันแบบเป็นมาตรฐาน  เมื่อปี พ.ศ. 2440  สมัยรัชกาลที่ 5 ครับ (คือค่าของเงินเล็กลงมา)

สมัยก่อนซื้ออะไรค่าของเงินคงต้องเป็นแบบนี้
1 เบี้ย ,  1 โสฬส ,   1 อัฐ ,  1 ไพ  ,  1  เฟื้อง , 1 สลึง

ซึ่งลำดับกว่าจะถึงบาท ตำลึง ชั่ง  แปลว่าใหญ่มากๆ  ต้องซื้อของใหญ่ด้วย  แต่ถ้าเป็นเวลาหมดสงสัย  ยกเครดิตให้ท่าน CH ครับ  เห็นด้วยไม๊ครับท่านอาจารย์เทาชมภู ........... ยิงฟันยิ้ม


6  นาทีเสร็จไม๊ ขนาดนี้


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 02:23

ไม่เห็นพ้องในเรื่องเวลา ยิ่งหกนาที ก็ทำได้แค่ขึ้นรูปจากก้น
งานฝีมือที่ทำขายได้ระดับนี้ ต้องการเวลาเป็นชั่วโมงครับ วัยหนึ่งเช้ายันเย็นได้สิบใบผมก็ว่ายอดคนแล้ว
นี่ท่านเครซี่จะให้สานได้ถึงสิบใบต่อชั่วโมง
อีนี่ ฉานม่ายรับน่ะนาย

อีกอย่าง ยังไม่เคยได้ยินการเรียกวัตถุโดยผูกพันกับหน่วยนับเวลาเลย ยกเว้นการเดินทาง
ส่วนเรื่องประชุมกวี ผมว่าจะเป็นว่า ต่างก็แต่งถวายเข้าไป คนละตอนตามที่ได้รับมอบหมาย
แล้วมีใครสักคนเรียบเรียงถวาย ทรงตัดสินขั้นสุดท้าย อาจจะทรงใหม่หมดก็ได้

พระเจ้าอยู่หัวมักจะประทับที่พระที่นั่งจันทร์ มีเจ้าฟ้ามงกุฏอยู่ข้าง คอยซึมซับปรีชาญาน
การประชุมกวีอะไรที่ว่าเวียนกันไป หรือเอ็งถามข้าตอบ .....ผมนึกสภาพไม่ออกครับ
นึกออกแต่ทรงอ่านสมุดไทยของแต่ละกวี หรืออ่านที่เจ้ากรมอาลักษณ์ประมวลแล้ว แล้วทรงบอกจดเป็นฉบับไฟนั่ล
จะมีคนอยู่เฝ้าก็น้อยตัวนัก

อย่างนี้กระมัง
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 02:45

ขุนแผนถักขอบรัดกระหวัดหวาย
ใบละบาทคาดได้ด้วยง่ายดาย


ไม่ใช่เรียกวัตถุผูกพันกับเวลาครับ แต่บอกว่าใช้เวลาแค่บาทเดียวในการ"คาด" ถักขอบด้วยหวาย ไม่ใช่เวลาที่ใช้ทำทั้งใบ แค่รอรักแห้งก็เกินไปหลายบาทแล้วครับ

แต่หกนาทีถักขอบเสร็จก็ฟังดูเร็วอยู่ดี ผมไม่รู้ว่าเขาทำกันจริงๆได้เร็วขนาดไหน เอาเป็นว่าเป็นโวหารกวีว่าทำได้คล่องแคล่วคงพอฟังได้นะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 09:09

คราวนี้ขอหักคอ ๓ คนรวด
๑)คุณอาชา
๒)คุณ Bana
ไม่มีเหตุผลอะไรที่กวีจะมาเสียเวลาอธิบายว่า ขุนแผนแกนั่งสานกระทาย (ใช้เวลาเท่าไร   ไม่รู้  ข้าพเจ้าขอไม่บอก) แต่เฉพาะถักขอบปากกระทายน่ะ ๖ นาที
เหตุการณ์ในกลอน  เขาไม่ได้มาจับเวลาถักปากกระบุงแข่งกันนะคะ  จะได้ต้องเน้นตอนนี้
คำว่า "บาท" ในที่นี้เป็นมาตราเงินแน่นอนค่ะ  ลองอ่านตรงนี้ดูอีกทีนะคะ
อยู่เปล่าๆเล่าก็จนพ้นกำลัง       อุตส่าห์นั่งทำการสานกระทาย
ให้นางแก้วกิริยาช่วยทารัก        ขุนแผนถักขอบรัดกระหวัดหวาย
ใบละบาทคาดได้ด้วยง่ายดาย    แขวนไว้ขายทั้งเรือนออกเกลื่อนไป

ก็ในเมื่อจน ไม่มีรายได้เพราะติดคุก  ก็มาสานกระทายขาย เพื่อหาเงิน  ขายใบละบาท
คำว่า ใบละบาท ก็บอกในตัวแล้วว่าเป็นราคาขายสินค้า ๑ หน่วย
ไม่ใช่ว่า
"จนเหลือเกิน  เลยต้องมาสานกระทาย   ขอบอกหน่อยนะว่าถักปากกระทายได้เสร็จใน ๖ นาที"
บอกทำไมกันล่ะคะ ? ลังเล

๓) คุณพิพัฒน์  ดิฉันก็ต้องหักคอซ้ำ 

ลูกผู้ดีสมัยรัชกาลที่ ๒ เกิดมาในคฤหาสน์เจ้าคุณพ่อ โตขึ้น เข้าทำงานในราชสำนัก   เท้าไม่แตะดิน
ไม่รู้ว่าหุงข้าวเขาทำกันยังไง  ในบ้านมีแต่บ่าวหุงให้
ถ้าโปรดเกล้าฯให้ท่านกวีขุนนางพวกนี้แต่งตอนขุนแผนหุงข้าว  อาจจะเขียนว่าเอาข้าวสารใส่หม้อ ตั้งไฟจนสุก  ลืมเขียนว่าต้องใส่น้ำด้วย
ยังงี้ดิฉันเชื่อว่าเป็นไปได้ค่ะ

แต่ว่าสิ่งที่ขุนนางทุกคนต้องรู้ คือค่าของเงิน

อย่างน้อยท่านต้องรู้ว่า เบี้ยหวัดขุนนางของตัวท่านได้ปีละเท่าไร   ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า  ในรัชกาลที่ ๒ ท้องพระคลังสตางค์หมด ปิดหีบงบประมาณไม่ลง
ต้องติดเบี้ยหวัดขุนนาง   จ่ายเป็นผ้าลายบ้าง ทองคำบ้าง    ก็หมายความว่า ราคาทองและผ้านั้นเทียบเท่าราคาเบี้ยหวัด หรือไล่เลี่ย

ขุนนางย่อมบวกลบคูณหารออก ว่าเบี้ยหวัดข้าพเจ้าได้ปีละ ๕ ตำลึง  ได้ทองมาแท่งนึง   แทนเงิน
ทองแท่งนี้  จะซื้อกระบุงเล็กๆได้ ๒๐ ใบเท่านั้น    ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้
หรือถ้าท่านขุนนางท่านนี้เบลอ   เวลาแต่งเสร็จ  มันมีขั้นตอน เอามาอ่านกันดังๆ เพื่อตรวจสอบว่าใช้ได้หรือยัง  ขุนนางอื่นจะเบลอตามกันไปหมดเชียวหรือคะ

เรื่องแต่งวรรณคดีพระราชนิพนธ์ แล้วจะมาโพสต่อ
ว่าแต่คุณพิพัฒน์ไม่รู้จริงๆ หรือถามเพื่อทดสอบว่าคนอื่นๆรู้หรือเปล่า  ถ้ารู้ผิดจะได้แก้ไขให้ถูก...คะ





บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 10:22

อยากทราบว่าขั้นตอนอ่านดังๆ นี่
มีจดไว้ตรงใหนครับ ผมจาได้ไปอ่านต่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง