เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 63046 สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองเมื่อต้นรัชกาลที่ 5
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 22:17

ถ้าสุนทรภู่อาลัยพระปิ่น พระจมื่นไวยก็ต้องเป็นของทางฝ่ายวังหน้า
พระจอมเกล้าโปรดให้พระอนุชามีตำแหน่งข้าราชการเลียนแบบวังหลวงทุกอย่าง
ผมยังหาทำเนียบนามวังหน้าไม่เจอ
จะได้รู้ว่าไวยของวังหน้า มีหรือไม่
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 22:22

กลับไปคุ้ยกระทู้เก่าในเรือนไทยเรานี้เอง อ.เทาชมพูเคยยกบทกลอนเฉลิมพระเกียรติของท่านเผือกมาให้อ่าน ที่กระทู้สามแผ่นดิน

อันวัดวาอาวาสประหลาดสร้าง
ยักย้ายหลายอย่างโบสถ์วิหาร
ช่อฟ้าหางหงส์ทรงบุราณ
ไม่ทนทานว่ามักจะหักพัง

พระอารามนามราชโอรส
หน้าบันชั้นลดลายฝรั่ง
กระเบื้องเคลือบสอดสีมีพนัง
เป็นอย่างนอกออกปลั่งปลาบปลิว

ลางหลังตั้งวงเป็นทรงเก๋ง
จีนสำเพ็งพวกแซ่แต้จิ๋ว
วิชาช่างจ้างทำเป็นแถวทิว
แจกติ้วให้ตั๋วตั้งครัวเลี้ยง


ทางกลอนคุ้นๆไหมครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 22:36

ทำเนียบนามขุนนางวังหน้า  ไม่มีหัวหมื่นมหาดเล็กที่ขึ้นต้นว่า "ไวย" ค่ะ
นี่ตอบจากความจำ
จมื่นไวยวรนารถ กับศรีสรรักษ์ เป็นตำแหน่งวังหลวง
แต่จะค้นหนังสือมาให้อีกที

ทางกลอนของพระยาไชยวิชิต  คล้ายๆกลอนบทละครสมัยรัชกาลที่ 2  ไม่ใช่กลอนสุภาพของสุนทรภู่

       พระยาไชยวิชิต                             สุนทรภู่
ลางหลัง/ตั้งวง/เป็นทรงเก๋ง         ทวยหาญ/โห่ร้อง/ก้องกัมปนาท
จีนสำเพ็ง/พวกแซ่/แต้จิ๋ว            สุธาวาส/ไหวหวั่น/ลั่นเลื่อน
วิชาช่าง/จ้างทำ/เป็นแถวทิว         บดบัง/สุริยัน/ตะวันเดือน
แจกติ้ว/ให้ตั๋ว/ตั้งครัวเลี้ยง           คลาดเคลื่อน/จัตุรงค์/ตรงมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 17 ส.ค. 07, 10:18

เจอหนังสือทำเนียมนามขุนนางวังหน้าแล้วค่ะ   

กรมอาลักษณ์
พระสุนทรโวหาร              จางวาง                ศักดินา 2500
หลวงลิขิตปรีชา               เจ้ากรม                ศักดินา 1500
ขุนสาราบรรจง                ปลัดกรมขวา          ศักดินา   800
ขุนจำนงสุนทร                ปลัดกรมซ้าย          ศักดินา   500

อ้าว เพิ่งรู้ว่าหลวงตาเป็นจางวางกรมอาลักษณ์ ไม่ใช่เจ้ากรม   สูงกว่าเจ้ากรมอีกนะคะ
ที่เพิ่งเห็นก็คือ  บรรดาศักดิ์หลวงสุนทรโวหารที่ระบุไว้ในนิราศหนองคาย เชื่อกันว่าเป็นสุนทรภู่  นั้นสังกัดกรมราชบัณฑิตย์ของวังหน้า  ไม่ใช่วังหลวง
แต่ก็เป็นได้ว่า  ในรัชกาลที่ 2   เมื่อสิ้นกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์แล้ว  ขุนนางวังหน้าก็โอนไปสังกัดวังหลวงตามกฎหมาย  จนสิ้นรัชกาล
ถ้าหากว่าสุนทรภู่ได้เป็นหลวงสุนทรโวหาร  ก็น่าจะเป็นหลังปีที่กรมพระราชวังบวรฯสิ้นพระชนม์แล้ว

ทีนี้มาดูว่า กรมมหาดเล็กวังหน้า มีใครบ้าง
กรมมหาดเล็ก
พระยาบำเรอบริรักษ์          จางวาง                ศักดินา   1000
พระสุนทรานุกิจ                ปลัดจางวาง          ศักดินา   500

ระดับหัวหมื่นมหาดเล็กในวังหน้า  มี
เวรชิดภูบาล
จมื่นมหาดเล็ก                ศักดินา   500

เวรชาญภูเบศร์
จมื่นเด็กชาย                  ศักดินา   500

เวรเสน่ห์รักษา
จมื่นมหาสนิท                ศักดินา   500

เวรมหาใจภักดิ์
จมื่นจิตรเสน่ห์                ศักดินา   500

จมื่นไวยวรนารถ  อยู่วังหลวงค่ะ  ไม่มีจมื่นไวยวังหน้า
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 17 ส.ค. 07, 11:49

เอ.....ตาก็ว่าเคยบอกหลายหนแล้วนา...ว่าตาน่ะเป็นจางวางกรมในพระบวรราชวัง
พวกหนูก็ไม่มีประวัติตาที่คุณพระปริยัติเธอเก็บเล็กประสมน้อยเอาไว้
ในนั้นเขาเล่าว่า
ตาน่ะเป็นจางวางที่ไม่หยิ่ง ไม่เหมือนจาวางของกรมสมเด็จพระปรมาฯ...ขานั้นเจ้ายศเจ้าอย่างจนคนเขาลือ
พ่อเทพฯ ที่มายัดเยียดนามสกุลให้ตานั่นเขาก็ป่าวประกาศเรื่องตาเป็นจางวางออกโครมๆ

เห็นรึยัง ว่าฟ้าน้อยท่านเมตตายิ่งใหญ่เพียงใด
แล้วจะไม่ให้ตาอาลัยท่านอย่างในนิราศภูเขาทองละหรือ
แล้วเจ้านายน่ะ...เขาห้ามแสว เอ่อ หรือแซวหว่า...ช่างเถิดภาษากระเหรี่ยงตาไม่คุ้น
จ้วงจาบเจ้านายมันอกตัญญู โบราณห้ามขาด รู้ไหม
ยิ่งหากว่าเป็นเจ้าเหนือหัวที่ทรงพระราชทานยศฐาบรรดาศักดิ์ให้
ใครอื่นอาจจะทำ แต่สุนทรภู่ไม่ทำ ....เขาใจใหม

พวกหนูๆ นี่ก้อ ชอบเชื่อแต่คำลือ ไม่ยอมเชื่อคำจริง....เฮ้อ
กุ้มจาย....กุ้มจาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 17 ส.ค. 07, 15:51

อ้าว  ถ้างั้นกำเนิดพลายงามก็แปลว่าสุนทรภู่ไม่ได้แต่ง
หรือแปลว่า
คนแต่งไม่เคยเป็นขุนนางในรัชกาลที่ ๒ กันแน่ล่ะเจ้าคะ หลวงตา
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 17 ส.ค. 07, 16:47

ประวัติของฉาน
มีพิรุธมากมายขนาดนี้ .....พวกหนูๆ ยังจะเชื่อ ไอ้ที่เขาเขียนกันอีกหรือจ๊ะ
มีตรงใหนล่ะ ที่พะยี่ห้อสุนทรภู่ไว้ในคุ้นช้างคุ้นแผน

พระราชนิพนธ์ทั้งหลายตั้งแต่รามเกียรติลงมา ช่วยกันแต่งถวายตั้งหลายสิบฝีปาก
ทำไฉน จึงมีชื่อฉานอยู่หน่อเดียว ว่าแต่งท่อนโน้น ท่อนนี้
พวกหนูไม่สงสัยบ้างละหรือ

ถ้าจะแต่งประวัติฉาน ให้มันเข้าท่าสมเป็นยุคพาราเวบวิถีละก้อ
ช่วยถอนสะเก็ด ฝอย สากเสี้ยนออกจากชีวิตด้วยเทอะ...จะขอบพระเดชพระคุณนัก
ฉานน่ะไม่เคยอ่อนข้อแก่ผู้ใดในเรื่องหนังสือ
แต่ม่ายอยากเอาฝีปากคนอื่นมาเป็นของตัว

ทำบาญขีงานหดสั้นไปกว่าจริง ยังไม่น่าเกลียดเท่าตู่เอาของชาวบ้านมาเป็นของตัวน่ะนา....

(ฮ่า ฮ่า ฮ่า....หัวร่อแบบไม่เมาเหล้าแต่เมารัก)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 17 ส.ค. 07, 17:14

มิน่าล่ะ
ขอคัดลอกพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ มาให้หลวงตาอ่านนะเจ้าคะ
จาก" อธิบายบทเสภา เล่ม ๒"
ตอนที่ ๒๔  กำเนิดพลายงาม   
ตอนนี้ถ้าใครเคยสังเกตกลอนสุนทรภู่จะเห็นเป็นอย่างเดียวกันหมด  ว่าเป็นของสุนทรภู่แต่ง   จะเป็นสำนวนผู้อื่นไม่ได้เป็นอันขาด   
ถ้ายิ่งสังเกตกระบวนกลอนในตอนนี้  จะเห็นได้อีกชั้นหนึ่งว่า  สุนทรภู่ประจงแต่งกลอนตลอดทั้งตอน  โดยจะไม่ให้แพ้ของผู้อื่น   
ดูเหมือนจะกล่าวได้ว่า   สำนวนกลอนสุนทรภู่ที่แต่งเรื่องต่างๆ  ไว้ จะเป็นเรื่องพระอภัยมณีก็ตาม   เรื่องลักษณวงศ์หรือเรื่องอะไรๆก็ตาม
ไม่ได้ตั้งใจประจงแต่งเหมือนบทเสภาตอนนี้
*****************
ขอยกตัวอย่างกลอน
แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก               คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน
จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน       จะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว
***************
เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น       แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา
แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์   โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 17 ส.ค. 07, 17:30

ท่านนักอ่านทั้งหลาย
ประโยคนี้ ถ้าไม่พะยี่ห้อว่าใครเป็นเจ้าของข้อความ ท่านจะเชื่อใหมเล่า....

"ดูเหมือนจะกล่าวได้ว่า สำนวนกลอนสุนทรภู่ที่แต่งเรื่องต่างๆ  ไว้
จะเป็นเรื่องพระอภัยมณีก็ตาม เรื่องลักษณวงศ์ หรือเรื่องอะไรๆก็ตาม
ไม่ได้ตั้งใจประจงแต่งเหมือนบทเสภาตอนนี้"

ตื่นๆๆๆๆๆ
ได้เวลาอ่านหนังสือใหม่แล้ว ถอดแว่นสมเด็จฯ ออกด้วยนะหนู
อ่านด้วยใจอันเปรื่องปราดของหนูๆ เองนั่นแหละ

เฮ้อ...ฉานละกลุ้มใจจริ้ง
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 17 ส.ค. 07, 23:35

อิอิ.....เข้ามาในนี้ดันมาเห็นหลวงตาเมารักซะแล้ว 

ผมเชื่อนะว่าในยุคกวีรุ่งโรจน์  จอมกวีในยุคนั้นต้องมีไม่น้อยเชียว  แบบว่าอาจจะคล้าย อาร์เอส  แกรมมี่ เบเกอรี่ ฯลฯ  แบเป็นสำนักต่างๆ  หรืออยู่วังต่างๆที่เจ้านายทั้งหลายก็คงต้องหามาประดับบารมี  เหมือนกับที่เที่ยวหายอดฝีมือดนตรีมาประดับตัวนั่นล่ะครับ 
แต่ผมเชื่อที่สุดเลยนะครับ  ส่งที่ศิลปินไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนก็ตาม  ไม่มีวันที่จะยอมเลียนแบบหรือเอาทางผู้อื่นมาเป็นของตนเอง(ยกเว้นสำนักเดียวกัน)  ไม่ว่าจะแขนงไหนก็ตาม  ต่างก็ต้องมีลายมือของตัวเองทั้งนั้น  อันนี้เรียกทิฏฐิศิลปินก็ว่าได้  ต่างคนก็มักเอาทางของตนมาประชันหรือโชว์  โดยให้เด่นหรือเหนือผู้อื่นในทางของตน  ลองศึกษาดูได้ครับในศิลปะทุกแขนง  เหมือนรูปวาด  ของโกแกง  ปิคาสโซ่  อ.จักรพันธ์ อ.ปรีชา  จะชัดเจนครับ 

และนี่ก็เป็นอีกอย่างครับที่เป็นลักษณะเด่นของท่านมหากวี  นอกจากจินตนาการแล้ว  ทางของท่านท่านจะรักษารูปแบบ  แบบไปอยู่ตรงไหนก็จะบอกยี่ห้อว่าเป็นท่าน  แม้แต่คำที่นิยมใช้  แต่นี่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดหรอกครับที่จะฟันธง

ตอนนี้เหลืออยู่ว่าตำนานหลวงตา  กับแนววิเคาะห์ของท่านสีกาเทาชมภู  เวลาของใครจะมีความเป็นไปได้มากที่สุด  แต่เท่าที่ทราบตามประวัติโดยรวม  ยุคทองของกวีคือสมัยรัชกาลที่สองครับ  อันนี้ยากจะหักล้าง  เพราะผลงานมากมายที่เกิดในยุคนี้เป็นข้อยืนยัน ................. โกรธ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 09:23

ที่เคยเรียนมา รัชกาลที่ ๒ เป็นยุคทองของวรรณคดี(เก่า)  ส่วนรัชกาลที่ ๖ เป็นยุคทองของวรรณคดี(ใหม่)ที่รับอิทธิพลจากตะวันตกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
เห็นด้วยกับคุณ Bana ค่ะ
แต่มองแยกเป็น ๒ ทาง
ถ้าแต่งร่วม เช่นอิเหนา รามเกียรติ์  พวกนี้กวีทั้งหลายแต่งตาม"ทาง" ของเรื่อง หรือตามพระราชนิยม
แต่ถ้าแต่งส่วนตัวละก็  ตาม"ทาง"ของตัวเอง
แม้แต่นายมีเอง  ถึงเดินรอยตาม"ทาง"สุนทรภู่  แต่ถ้าอ่านละเอียดลงไปจริงๆ ความเป็นนายมีก็ยังอยู่ในตัว
นายมี เป็นคนเรียบๆ ประณีตบรรจง  แต่ว่าไร้อารมณ์ผูกพันกับสิ่งใดมากมาย เรียกว่าตาดูหูฟังอะไรก็พรรณนาตามนั้น   อ่านแล้วให้อารมณ์สบายๆ เหมือนกินอาหารอ่อนๆอย่างซุป  กลืนง่าย อร่อยดี แต่ไม่ติดลิ้น

อันว่าเจ็บเจ็บแผลพอแก้หาย             ถ้าเจ็บกายแล้วชีวาจะอาสัญ
แต่เจ็บแค้นนี่แลแสนจะเจ็บครัน          สุดจะกลั้นสุดจะกลืนฝืนอารมณ์
อ่านแล้วเห็นแต่คำว่าเจ็บ  แต่ไม่รู้สึกว่าเจ็บมากแค่ไหน

แต่สุนทรภู่ เป็นอาหารสำรับ  มีแกงเผ็ด แกงจืด น้ำพริกผักจิ้ม  ยำ และของหวาน  ครบชุดครบทุกรส 
อารมณ์แสดงออกชัด  ไม่ใช่แค่อารมณ์รักหรือโศก แต่มีความอหังการ์ของกวีเต็มตัว  ขนาดด่ายังเพราะเลยค่ะ


หนึ่งขอฝากปากคำทำหนังสือ           ให้สืบชื่อชั่วฟ้าสุธาสถาน
สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรพาฬ           พระทรงสารศรีเศวตเกศกุญชรฯ
   
อนึ่งมนุษย์อุตริติต่างต่าง                 แล้วเอาอย่างเทียบทำคำอักษร
ให้ฟั่นเฟือนเหมือนเราสาปในกาพย์กลอน ต่อโอนอ่อนออกชื่อจึงลือชาฯ
   

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 09:44

ตามที่ผมไม่ได้เรียนมา
คิดว่าครั้งรัชกาลที่สองเป็นยุคทองของกวีพระราชสำนัก
ปัจเจกบุคคลมาสำแดงตัวเอาในรัชกาลที่สาม
อาจจะเป็นเพราะพระเจ้าอยู่หัวท่านไม่ส่งเสริมกวีนิพนธ์เข้มแข็งเหมือนรัชกาลก่อน
จึงเปิดโอกาสให้กวีนอกราชสำนักเจริญก้าวหน้า เพราะยุคนั้นคนเก่งยังเต็มพระนคร

ในเมื่อไม่มีศูนย์รวมอยู่ในพระบรมมหาราชวัง

ก็ต้องมาเก่งข้างนอกครับ
พูดมายาวก็เพื่อจะยืนยันว่า บทประพันธ์ชนิดที่บอกว่าฉันแต่ง ไม่น่าจะมีในรัชกาลที่หนึ่งที่สอง
เว้นแต่คนสำคัญแต่ง....กระมัง
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 11:55

ทางกลอนของสุนทรภู่ นอกจากจะมีอุดมคติว่าเป็นกลอนแปดใช้สัมผัสในสองคู่แล้ว ยังมีเรื่องเสียงเข้ามาเกี่ยวด้วยนะครับ

ส่วนที่เห็นได้ชัด และอธิบายได้ง่ายก็คือเสียงท้ายวรรค ซึ่งใช้ดังนี้
วรรคสดับ - ใช้ได้ทุกเสียงยกเว้นเสียงสามัญ
วรรครับ - เสียงจัตวา
วรรครอง - เสียงสามัญ
วรรคส่ง - เสียงสามัญ

กลอนเสภายืดหยุ่นได้ก็จริง แต่เฉลี่ยอยู่ที่ ๗ คำ ใครมาแต่งก็ต้องตามจังหวะนี้ให้เหมือนๆกัน ไม่งั้นก็โดดออกมาครับ

แต่เรื่องเสียงที่ว่าไว้ข้างต้นเป็นความนิยมส่วนบุคคล เหมือนนักดนตรีแจ๊ซมาแจมกัน ทีใครทีมัน เชิญโซโล่ตามสบายขอให้อยู่ในจังหวะเท่านั้นแหละ

ผมเห็นว่าเสียงกลอนเสภาขุนช้างขุนแผนตอนกำเินิดพลายงามนี้ ไม่ใช่เสียงกลอนของสุนทรภู่ทั้งตอนครับ น่าจะมีคนอื่นแต่งร่วมด้วยปะปนกันไปทั้งตอน

หรือถ้าคิดว่าสุนทรภู่แต่งโดยยึดตามประวัติเดิม ก็อาจคิดได้ว่าตอนนั้นเสียงกลอนของท่านสุนทรยังไม่ตกผลึกเป็นแนวทางชัดเจน

แต่... จะอธิบายยังไงกับเสียงกลอนในนิราศเมืองแกลงที่ว่ากันว่าแต่งก่อนหน้านั้นล่ะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 15:25

ลองขบคิดคำอธิบายให้คุณอาชา จนปวดหัว
ข้อใดข้อหนึ่งตามนี้  ไหวไหมคะ
๑) สุนทรภู่แต่งกำเนิดพลายงามเป็นเสภา ไม่ใช่กลอนนิราศหรือกลอนเพลงยาว  เลยต้องเอนเอียงไปทางกลอนเสภาให้เข้ากับกวีหน้าพระที่นั่งอื่นๆ
ไม่งั้นจะ "โดด" ออกมา
๒) สุนทรภู่เขียนแบบ"ทางตัวเอง" แต่พออ่านถวายหน้าพระที่นั่ง ถูกเพื่อนกวีด้วยกัน  เป็น"มนุษย์อุตริติต่างต่าง" ให้แก้ทางกลอนเป็นแบบคนอื่นๆเขา
ท่านก็กัดฟันกรอดๆหลายครั้ง แต่จำต้องแก้ไขตามนั้น     เลยออกมาเป็นทางที่เฉไฉจากทางของท่านอยู่บ้าง

ตำนานเรื่องสุนทรภู่ท้วงกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์   หน้าพระที่นั่ง  ในเรื่องแต่ง"สังข์ทอง"    เป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม
แต่มันสะท้อนให้เห็นอย่างหนึ่งได้ว่า  การประชุมกวีแต่งเรื่องวรรณคดีกันในสมัยนั้น มีการแก้ไข  ตัดตอน  แต่งเติม กันเป็นปกติธรรมดา   อาจจะอุตลุดยิ่งกว่าการแปรญัตติในสภาเสียอีก

สุนทรภู่คงโดนแก้โดนติมาเยอะ    แล้วคนที่แก้นั่นแหละ  ตัวเองแต่งอะไรขึ้นมา ก็กลายเป็นแต่งตาม"ทาง" สุนทรภู่   คือมีสัมผัส มีเสียงรับส่ง แบบที่ท่านชอบ (อย่างที่คุณอาชาอธิบายข้างบนนี้)  เพราะมันเพราะพริ้งไงคะ 
ดิฉันเคยอ่านบทละครนอกเก่าๆ ฉบับที่ไม่ได้ตีพิมพ์  ในหอสมุดแห่งชาติ   แต่งโดยกวีสมัยต้นรัตนโกสินทร์
แต่งโดยวรรคส่ง คำท้ายเป็นเสียงจัตวา ทำแบบนี้กันหลายบท   เป็นของธรรมดา  โอ้โฮ อ่านแล้วฟังไม่ได้เลย ไม่รื่นหู 
มันเหมือนฟังเสียงแซกฯ ที่จู่ๆแทนที่จะลดต่ำลง   ก็แผดเสียงสูงปรี๊ดขึ้นมาเฉยๆ จนสะดุ้งกันไปทั้งโรง
เพื่อนกวีของท่านภู่นี่ละ หลายคนด้วย  ติท่านแล้วมาใช้ทางกลอนแบบท่าน  ไม่ให้เครดิตสักคำ  ท่านถึงฉุนจัด  สาปแช่งเอาไว้

อนึ่งมนุษย์อุตริติต่างต่าง                 แล้วเอาอย่างเทียบทำคำอักษร
ให้ฟั่นเฟือนเหมือนเราสาปในกาพย์กลอน ต่อโอนอ่อนออกชื่อจึงลือชาฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 16:30

๓) สุนทรภู่ไม่ได้แต่ง กำเนิดพลายงาม
๔) สุนทรภู่ แต่งกำเนิดพลายงาม บางส่วน ไม่ใช่ทั้งตอน

ข้อ ๓ เหมือนโยนระเบิดลงมากลางวง  ให้คุณอาชาและคุณ Bana หูอื้อเล่น    ส่วนหลวงตาอาจจะยิ้มกริ่มอยู่ในหน้า

มีอะไรอย่างหนึ่งใน กำเนิดพลายงาม ที่ดิฉันสงสัยอยู่นานแล้ว ไม่รู้จะถามใคร
คือตอนที่กล่าวถึงขุนแผนติดคุก  แต่เป็นนักโทษชั้นดี อยู่ที่หับเผย  วันๆก็สานกระบุงตะกร้าขายไปตามเรื่อง เป็นรายได้เล็กๆน้อยๆเลี้ยงตัว

อยู่เปล่าๆเล่าก็จนพ้นกำลัง       อุตส่าห์นั่งทำการสานกระทาย
ให้นางแก้วกิริยาช่วยทารัก        ขุนแผนถักขอบรัดกระหวัดหวาย
ใบละบาทคาดได้ด้วยง่ายดาย    แขวนไว้ขายทั้งเรือนออกเกลื่อนไป

กระทาย คือกระบุงขนาดเล็ก    เล็กพอจะแขวนไว้ได้ในร้านขาย ไม่ใช่ภาชนะใหญ่ขนาดต้องตั้งกับพื้น
ราคาใบละหนึ่งบาท   เป็นราคาถูกในสมัยนั้น ขนาดขุนแผนบอกว่า "คาดได้ด้วยง่ายดาย" คือลูกค้าเห็นก็ซื้อ ไม่บอกว่าแพง
ถ้าแกขายได้    วันหนึ่งขายได้ ๑๐ ใบ ก็ได้เงินวันละ ๑๐ บาท
แขวนไว้ทั้งเรือนออกเกลื่อนไป เห็นจะมีมากกว่า ๑๐ ใบ ตีเสียว่า ๕๐ ใบ ขายหมดก็ได้ ๕๐ บาท ต่อครั้ง
ทีนี้   กระบุงใบเล็กที่ราคา ๑ บาท กวีถือว่าถูก  เป็นกระบุงสมัยรัชกาลไหน

ในรัชกาลที่ ๒    ค่าของเงิน ๑ บาท ซื้อกระบุงเล็กหรือกระทายได้ใบเดียวเท่านั้นหรือคะ

ยังเคยอ่านพบว่า สมัยรัชกาลที่ ๖  ครอบครัวพ่อแม่ลูกหลายคน ปู่ย่าตายายก็อยู่ในบ้าน จ่ายกับข้าววันละ ๑ บาทเท่านั้นก็พอกิน

ศาสตราจารย์นายแพทย์เสนอ อินทรสุขศรี  ท่านเคยเขียนนิยายเรื่อง"เพื่อนนักเรียนเก่า" เล่าว่าประมาณรัชกาลที่ ๗ หรือต้นรัชกาลที่ ๘   เพื่อนคนหนึ่งอยากได้กระเป๋านักเรียน ราคา ๑ บาท พ่อแม่ซื้อให้ไม่ไหว  ต้องรับจ้างแจกใบปลิวหน้าโรงหนังเก็บเงินซื้อเอง

นั่นคือรัชกาลที่ ๗ ห่างจากรัชกาลที่ ๒  หนึ่งร้อยกว่าปี   หนึ่งบาทถือว่าเป็นมูลค่าแพงสำหรับครอบครัวจนๆ เกินกว่าจะซื้อของใช้ฟุ่มเฟือยให้ลูก

ถอยหลังกลับไปอีกหน่อย  ในสี่แผ่นดิน   ตอนคุณนุ้ยอาของคุณเปรมมาดูตัวแม่พลอย  ควักเงินออกมาแจกช้อย ๕ ตำลึงให้ไปซื้อผ้านุ่ง
ช้อยดีใจ บอกว่าเงินขนาดนี้ซื้อได้ผ้านุ่งทั้งกุลี  ไม่ต้องเลือก
๕ ตำลึง เท่ากับ ๒๐ บาท    ได้ผ้านุ่งสวยๆชั้นดี ของชาววังถึง  ๒๐ ผืน
ผ้านุ่งอย่างดี ชาววังนุ่งในปลายรัชกาลที่ ๕  ราวๆพ.ศ. ๒๔๔๓  ราคา ๑ บาท ถือว่าสมเหตุผล
แต่ย้อนไปสมัยรัชกาลที่ ๒  ระยะ ๒๓๕๒-๒๓๖๗  ก่อนหน้านี้ตั้งเกือบร้อยปี    กระบุงหวายสานใบเล็กๆใบเดียว ราคาเท่าผ้านุ่งชาววัง ถือว่าเป็นกระทายราคาถูก   
มันไม่สมเหตุผลเสียเลย
ท่านอื่นๆว่ายังไงกันคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง