เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12
  พิมพ์  
อ่าน: 55551 สุนทรภู่ไม่ใช่ผู้แต่งนิราศพระบาท
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 01 ก.ย. 07, 10:44

http://www.school.net.th/library/webcontest2003/100team/dlbs089/summary.htm
ในนิราศพระบาทบอกไว้ว่า


ทั้งยังบอกอีกว่า

[กวี??]....บันทึกรายละเอียดที่ปรากฏในวัดพระพุทธบาทได้ชัดเจนละเอียดและถูกต้อง
ซึ่งปัจจุบันมีปรากฏอยู่จริงดังนี้
- ร่มโพธิ์ / พิกุล
- ยักษ์ 2 ตน เฝ้าประตูทางเข้า
- บันไดนาค
- รูปดาบส
- สิงโตต้น 2 ตัว
- ฐานมณฑป
- เสามณฑปล้อมด้วยกระจก
- รูปบัวหงายปลายเสามณฑป
- ใบโพธิ์ ( ห้อยรอบมณฑป )
- หน้าบ้านเหนือประตูพระมณฑป
- บานประตูมุข
- มณฑปน้อย
- เขาโพธิ์ลังกา
- ถ้ำประทุนคีรี
- บ่อพรานล้างเนื้อ


หนอนบุ้ง เกาศรีษะแกรกๆ ฉงนว่า
เออแน่ะ กวีบรรยายครบถ้วนทุกสิ่ง
แต่ทำไมหนอท่านจึงไม่เอ่ยถึงพระธาตุคล้ายพระธาตุพนมที่สร้างปลาย ร. ๓???
คำตอบคือ....ก็สมัยที่กวีไปพระบาท พระธาตุนั้นยังไม่มี น่ะซีท่าน หรือว่าไม่จริงกันแน่จ๊ะพี่ๆ ทุกท่านขา   ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 01 ก.ย. 07, 10:50

เพื่อตอบคำถามของคุณพี่พิพัฒน์ ที่ว่าขนาดวัดพระแก้ว วัดสำคัญในสมัยนั้น
ฝาผนังยังเป็นแค่ชาด แล้วพระบาทจะมีฝาผนังทองได้อย่างไร


หนูขอตอบว่า
๑. วัดพระบาท ต้องการซ่อมแซมเพื่อให้เหมือนของเดิม
จะปิดทองที่ฝาผนัง ก็ไม่ได้หมดเปลืองกระไรมาก
ส่วนวัดพระแก้วเป็นวัดสร้างใหม่ มีทรัพย์เท่าไรก็ใส่ไปแค่นั้นก่อน

๒. ความสำคัญของพระบาทมีมานานแล้ว
นานแค่ไหน เจ้าฟ้ากุ้งในสมัยกรุงศรีอยุธยายังเสด็จพระราชดำเนินชม

ส่วนวัดพระแก้ว ในขณะนั้นยังสำคัญไม่เพียงพอที่จะเรียกว่า “คู่บ้านคู่เมือง”
เพราะเป็นวัดแบรนด์นิว อายุกี่ปี? ขนาดใช้ “ไม้ทองหลาง” ขัดตาทัพ

เมื่อพิจารณาดูแล้ว จะเห็นได้ว่าพระบาทนั้นแกรนด์กว่าด้วยประการทั้งปวง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 01 ก.ย. 07, 13:17

คุณหนอนบุ้งคร๊าบบบ.....อ่านข้อมูลอย่างนั้นมิได้นะคร๊าบบบบบ.....
มันสลับที่สลับทางไปหมด และเพี้ยนสนิทเลยท่าน

ท่านจะเชิญพระพุทธบาทสระบุรี มาวางเหนือวัดพระแก้วมิได้....บาป
ตอนปราบดาภิเษก เปลี่ยนรัชกาลมาเป็นพระพุทธยอดฟ้า
ท่านยกพระแก้วมรกตเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำพระเจ้าตากทรงพระสติแตก เพราะทานพระบารมีพระแก้วมรกตมิได้
เมืองหลวงใหม่ ท่านก็ตั้งชื่อว่ากรุงรัตนโกสินท์
ก็ในจักรวาลนี้ มีแก้วสีเขียวอันพึงเคารพอยู่ที่ใหนอีก ถ้าไม่ใช่พระแก้วมรกต

พระอุโบสถนี้ มีชื่อเรียกเต็มยศว่า "พระศรีรัตนอุโบสถ" คำว่า "ศรีรัตน" เป็นสรรพนามสูงสุดที่จะคิดได้แล้วครับ
ส่วนพระพุทธบาทนั้น มิใช่ความจำเป็นเร่งด่วน สถาปนากรุงแล้วถึง 15 ปี จึงเริ่มปฏิสังขรณ์
และกว่าจะเสร็จก็คงใกล้ๆ สิ้นรัชกาล เพราะไม่ปรากฏว่าจะทรงกระทำการเฉลิมฉลองอันใด
ให้สมกับคำยกย่องของคุณหนอนบุ้งเลย

ผมจึงเชื่อว่าเทศกาลไหว้พระบาทอย่างประเพณีหลวงนั้น เริ่มในรัชกาลต่อมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 01 ก.ย. 07, 16:24


ส่วนวัดพระแก้ว ในขณะนั้นยังสำคัญไม่เพียงพอที่จะเรียกว่า “คู่บ้านคู่เมือง”
เพราะเป็นวัดแบรนด์นิว อายุกี่ปี? ขนาดใช้ “ไม้ทองหลาง” ขัดตาทัพ

เมื่อพิจารณาดูแล้ว จะเห็นได้ว่าพระบาทนั้นแกรนด์กว่าด้วยประการทั้งปวง

อ่านของหนูบุ้ง แล้วนึกว่า หนูตีถูกขนดหางพญานาคพิพัฒน์เข้าให้แล้ว   
แล้วก็จริง  คุณพิพัฒน์ รี่เข้ามาแทบไม่ทันเชียว
วัดพระแก้ว เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง  เหมือนวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ของกรุงศรีฯ เชียวนะหนู
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ สถาปนาฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเป็นที่ตั้งเมืองหลวง 
ท่านก็ตั้งพระทัยจะชะลอกรุงศรีอยุธยาให้กลับคืนมาใหม่ สุดกำลังความสามารถ  ฟื้นฟูทั้งศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วรรณคดี เรียกขวัญกำลังใจของคนไทยกลับคืนมา
เรียกว่าเป็น Renaissance กันทีเดียวรัชกาลนี้

ไม่งั้นนายนรินทร์ธิเบศร์ ไม่ยอยศ รัตนโกสินทร์หรอก ว่า

อยุธยายศล่มแล้ว           ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
ปรางค์รัตน์สิงหาสน์บรร    เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์     ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า             ฝึกฟื้นใจเมือง

วัดพระแก้ว สำคัญมากค่ะ  มากกว่าวัดไหนๆในเขตกำแพงเมือง   แม้แต่วัดโพธิ์ที่เป็นวัดกษัตริย์สร้างก็ยังสำคัญไม่เท่า
เอาไปเทียบกับพระพุทธบาทที่อยู่ห่างไป ต้องพายเรือเดินทางไปสองวันสองคืนได้ไง   

บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 02 ก.ย. 07, 20:21

โอ โอ เข้ามารับการสั่งสอนจากอาจารย์ทุกท่านค่ะ ขออภัยเป็นอย่างสูง  ยิงฟันยิ้ม

คงเป็นความเขลา และเขลา ของหนูที่ไม่มีอะไรเจือปน (โง่บริสุทธิ์)
หนูทราบว่าแปลนพระบรมมหาราชวังจำลองมาจากกรุงเก่า
แต่คิดไม่ถึงว่าวัดใหม่ๆ จะเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งสูงส่งบางอย่าง
และมีความหมายใหญ่โตเท่าที่พี่ๆ กรุณาบรรยายมา

หนูมาเขวตรงเรื่อง “สี่แผ่นดิน” ค่ะ เพื่อนๆ บางคนทายกันว่า
ที่พ่อเปรมชวนแม่พลอยไปพระบาทนั้น ท่านอาจารย์หม่อมผู้ประพันธ์
อาจกล่าวเป็นนัยให้พระเอกชวนนางเอก “เข้าห้องหอ” เอาดื้อๆ

แต่อาจารย์ภาษาไทยบอกว่าเป็นแฟชันของคนสมัยก่อน ที่ครั้งหนึ่งในชีวิต
ขอไปสักการะพระพุทธบาท คงจะเหมือนที่ฝรั่งคนหนึ่งพูดถึงปราสาทเขมรว่า
“See Angkor Wat and die”

หนูขออนุญาตยกพระนิพนธ์มาให้ชมอีกหน่อยค่ะ

ในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๒ (พระเจ้าบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑)
ในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวแต่ว่าทรงพระราชศรัทธาเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาททุกปี
และว่าครั้งหนึ่งจำเริญงาช้างต้นพระบรมจักรพาฬถึงไส้งาเกรงช้างจะเป็นอันตราย
จึงโปรดฯ ให้ทำเครื่องสดผูกช้างนั้นปล่อยถวายเป็นพระพุทธบูชาที่พระพุทธบาทดังนี้
 
แต่สถานที่ต่างๆ ที่มีอยู่ ณ พระพุทธบาทส่อให้เห็นว่าจะได้ทรงปฏิสังขรณ์ในรัชกาล
พระเจ้าบรมโกศอีกครั้งหนึ่ง มีสิ่งที่สร้างใหม่เล่ากันมาเป็นแน่นั้น คือบานประตูพระมณฑป
ว่าสร้างเป็นบานมุกในครั้งรัชกาลพระเจ้าบรมโกศทั้ง ๘ บาน ความที่แต่งพรรณนาในฉันท์บุณโณวาท
(ที่หอพระสมุดฯ พิมพ์) ก็พรรณนาสิ่งซึ่งมีอยู่ในรัชกาลพระเจ้าบรมโกศทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 02 ก.ย. 07, 20:26

ถึงรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ (พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ พ.ศ. ๒๓๐๑ – ๒๓๑๐)
เมื่อพม่าเข้ามาตั้งล้อมกรุงฯ ในปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ เดิมพวกจีนที่อยู่ในกรุงฯ อาสาต่อสู้ข้าศึก
จึงจัดให้กองจีนตั้งค่ายอยู่ ณ ตำบลคลองสวนพูล

ต่อมาจีนพวกนั้นคบคิดกันประมาณ ๓๐๐ คน คุมกันขึ้นไปยังพระพุทธบาท
ไปเลิกทองคำที่หุ้มพระมณฑปน้อยอันทรงรอยพระพุทธบาท
และแผ่นเงินที่ปูลาดพื้นพระมณฑป เอามาเป็นอาณาประโยชน์แล้วเลยเผาพระมณฑปเสีย
เพื่อจะให้ความสูญ

พระมณฑปพระพุทธบาทก็เป็นอันตรายยับเยิน ถึงครั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
ติดการศึก ก็ไม่มีเวลาที่จะได้สร้างพระมณฑปพระพุทธบาทให้คืนดีดังแต่ก่อน

มาจนถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดฯ
ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท เสด็จขึ้นไปทรงอำนวยการปฏิสังขรณ์
พระมณฑปพระพุทธบาท เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐……

……แต่กรมพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่ ๓ นั้นทรงเลื่อมใสพระพุทธบาทมาก
เมื่อเสด็จกลับจากปราบขบถเวียงจันทน์ ทรงอุทิศถวายเครื่องสูงที่แห่เสด็จในการสงครามคราวนั้น
ไว้เป็นพุทธบูชา และทรงสร้างพระเจดีย์ตามแบบพระธาตุพนมไว้ด้วยองค์ ๑

ส่วนพระพุทธบาทนั้น มิใช่ความจำเป็นเร่งด่วน สถาปนากรุงแล้วถึง 15 ปี จึงเริ่มปฏิสังขรณ์
และกว่าจะเสร็จก็คงใกล้ๆ สิ้นรัชกาล เพราะไม่ปรากฏว่าจะทรงกระทำการเฉลิมฉลองอันใด

๑. ฉลองกรุงแล้วแค่ ๕ ปี จึงปฏิสังขรณ์มังคะ (พ.ศ. ๒๓๓๐)
๒. แค่ท่านพระคลังสร้างศาลากว้างคืบยาวศอกเสร็จ ยังมีละครนอกใหญ่โต
แล้วถ้าหากปฏิสังขรณ์พระมณฑปเสร็จ มีประตูมุข ๘ บาน แล้วไรต่อมิไรเยอะแยะ
โดยพระอนุชาทรงเป็นหัวเรือใหญ่เอง หนูเดาว่าคงฉลองกันครึ่งค่อนเดือนแน่

(ถ้าพี่ๆ ฟันธงเรื่องพระบาทแล้ว อยากเชิญให้เปิดกระทู้โคลงทวาทศมาศ
หรือยวนพ่ายก็ได้ หนูร้อนวิชาอยากทราบหลายประเด็นค่ะ)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 02 ก.ย. 07, 23:07

ขอบคุณที่ประท้วง....เอ้ย ท้วง
นับผิดไปตั้งสิบปี ตกเลขจริงๆ ขออภัยด้วยครับ

มาย้ำอีกทีว่า พระพุทธบาทไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญมากอย่างที่หนูคิด
ในเทศนาพระราชประวัติ(คราวฉลองกรุงเทพ 100 ปี) ไม่มีระบุความสำคัญของที่นี่
แต่อธิบายเรื่องวัดพระแก้วหลายประโยคอยู่

เชิญเปิดกระทู้ที่อยากสนทนาได้เลยครับ
จะตามไปอุดหนุน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 03 ก.ย. 07, 16:33

คุณเปรมชวนแม่พลอยขึ้นพระบาทในคืนส่งตัว
         
       ......พลอยนั่งก้มหน้าดูพรมสีแดง เป็นลายดอกกุหลาบเหลืองอย่างพินิจพิเคราะห์ เหมือนกับจะทำความรู้จักกับขนสัตว์ในพรมนั้นทุกเส้น
ทั้งสองคนต่างนั่งนิ่งอยู่อีกนาน ในที่สุดคุณเปรมก็กระถดตัวเข้าใกล้อีกนิดหนึ่ง แล้วถามขึ้นด้วยน้ำเสียงที่เบาเกือบเป็นกระซิบ และด้วยถ้อยคำ
ที่พลอยไม่นึกเลยว่า
                                  "แม่พลอยจ๋า แม่พลอยเคยขึ้นพระบาทหรือยัง"

มีพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ กล่าวถึงการไปพระพุทธบาทดังนี้ ครับ

          พระราชหัตถเลขาพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ(พระองค์เจ้านพวงศ์ -พระราชโอรสองค์แรกก่อนทรงผนวช)
ความว่า

            "...พิเคราะห์เถิดถึงใจผู้หญิงแทบทุกหนทุกแห่งทั้งแก่ทั้งสาวมักร่านอยู่ในที่จะใคร่ไปพระพุทธบาท
     มีผัวก็สำออยผัว มีบิดามารดาก็อ้อยอิ่งวิงวอนให้พาไปพระพุทธบาทนั้นเปนปรกติ
     จนเปนลัทธิติดตำราเล่าเปนนิยายเยาะเย้ยกันสืบมา ว่าเจ้าบ่าวไปนอนหออยู่สามคืนแล้ว
     เขาส่งตัวเจ้าสาวๆ ไปอายนั่งก้มหน้าอยู่ เจ้าบ่าวจึงปราไสว่าปีนี้แม่จะไปพระบาทฤๅไม่นะจ๊ะ
     ซึ่งปราไสเรื่องพระบาทขึ้นก่อน ก็เพราะว่ารู้ผู้หญิงนั้นคันอยู่ในอยากจะไปพระบาทยิ่งนัก
     จะพูดให้ชอบใจจึงยกเรื่องนั้นขึ้นก่อน..."

ที่มา: พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว / ทรงรวบรวมโดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
องค์การค้าของคุรุสภา, 2506
         
จากกระทู้ห้องสมุด pantip 
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 03 ก.ย. 07, 21:25

ดูกร ท่านทั้งหลาย….เห็นทีคงปิดกระทู้ได้เสียทีมังคะ
หนูได้อ่านพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๒, ศึกษาภัณฑ์ ๒๕๒๖, หน้า ๑๒๕

กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นแม่กองสร้างพระมณฑปขึ้นใหม่
ของเดิมครั้งกรุงเก่าทำเป็นห้ายอดเห็นไม่งาม
ทำใหม่ครั้งนี้แก้เป็นยอดเดียว การสร้างพระมณฑปในรัชกาลที่ ๑ สำเร็จแต่พระมณฑปใหญ่
แต่พระมณฑปน้อยสวมรอยพระพุทธบาทข้างในอีกชั้น ๑ ยังหาได้ทำไม่
เมื่อปีระกา เบญจศกนี้ จึงโปรดให้สร้างพระมณฑปเล็กข้างในให้บริบูรณ์ตามเดิม*

[*ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระมณฑปเล็กเปลี่ยนใหม่
พระมณฑปเล็กที่ทำครั้งรัชกาลที่ ๒ เอาลงมาปรุงในวิหารพระบาทจำลองในบริเวณพระพุทธบาท
ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้]

หนูมึนแล้วค่ะ รบกวนสายตาที่ยังไม่ล้า
โปรดช่วยกันดูให้ทีว่าในนิราศพระบาท
กวีบรรยายเข้าลักษณะรัชกาลที่ ๑ หรือ ๒ กันเเน่คะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 03 ก.ย. 07, 22:40

เออ....วันนี้หนอนบุ้งมาแปลกแฮะ
ประกาศปิดกระทู้ แต่ปิดท้ายด้วยการกวนกระทู้ต่อ....555555

ฟังดีๆ นะจ๊ะ
"มณฑปน้อยสวมรอยพระบาทนั้น ล้วนสุวรรณแจ่มแจ้งแสงอร่าม"

ยังไงก็ไม่ใช่สภาพครั้งรัชกาลที่ 1 และถ้าถือตามปีระกาเบญจศก ก็ตก 2356 ปีเถาะเคราะร้ายก็ต้องหลังจากนี้ เป็นอย่างน้อย 2362
ปีนั้นเจ้าฟ้าใหญ่พระชนม์ 16 แล้ว ฟ้าน้อยเพิ่ง 11 ย่าง 12 ยังไม่โสกันต์

อยากรู้แน่ ก็ต้องเหมารถไปพระบาท ไปดูมณฑปเล็กที่ถูกรื้อไปเก็บไว้ที่วิหารพระบาทจำลอง
ซึ่งสมเด็จอาจจะกล่าวรวบรัดไปหน่อย
เนื่องจากของเดิมที่ว่าสร้างครั้งรัชกาลที่ 2 ถูกไฟไหม้เสียหายไปแล้ว
ที่เชิญไปเก็บนั่นเป็นของรัชกาลที่ 3 ซ่อมใหม่

ยิ่งค้นก็ยิ่งสนุกแฮะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 03 ก.ย. 07, 23:04

หนูบุ้งยกมา ยิ่งทำให้เวียนหนักเข้าไปอีก  ฮืม

พงศาวดาร ร.๒ ฉบับสมเด็จดำรงชำระที่หนูบุ้งยกมาบอกว่า สมัย ร.๑ มณฑปเล็กยังไม่ได้ทำ

แต่พงศาวดาร ร.๑ ฉบับท่านขำ กับฉบับพระราชหัตถเลขาบอกตรงกันว่าทำมณฑปเล็กแล้ว

เอ๊ะ.. ยังไง มันต้องผิดสักที่นึงสิครับ

ไม่รู้พงศาวดาร ร.๒ ฉบับท่านขำว่ายังไง ผมไม่มีครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 04 ก.ย. 07, 00:47

สมเด็จก็ใช้ฉบับท่านขำแหละครับ ไม่ได้มีของใหม่ แต่ทรงเก็บเรื่องเป็นหมวดหมู่
การที่ท่านขำจดละเอียดในฉบับร. 2 ว่า กระทำการในปีระกาเบญจศก ทำให้น่าเชื่อว่าจะถูกต้อง
ธรรมดาจดหมายเหตุนั้น หมายกับการปฏิบัติไม่ตรงกันได้

ฉบับ ร. 1 นั้น ท่านก็ว่าตามจดหมายเหตุที่เล่าเรื่องการสร้างซึ่งเน้นพระอุตสาหของกรมพระราชวังบวรฯ
เรื่องอื่น อาจจะคลาดเคลื่อนได้
พอมาฉบับ ร. 2 ท่านก็ว่าไปตามจดหมายเหตุประจำรัชกาล มีก็บอกว่ามี เห็นจะไม่มั่ว

สรุปว่า ซวยละเรา จะเอาไงกันแน่จ๊ะเนี่ย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 04 ก.ย. 07, 20:56

หนูบุ้งคงไม่ใจร้าย   ปิดกระทู้ทั้งๆยังไม่มีใครตอบคำถามนะคะ

แต่เวียนเดินเพลินชมมาตามกัน        ตามช่องชั้นกำแพงแก้วอันแพรวพราย
ทั้งซุ้มเสามณฑปกระจกแจ่ม            กระจังแซมปลายเสาเป็นบัวหงาย
มีดอกจันทน์ก้านแย่งสลับลาย         กลางกระจายดอกจอกประจำทำฯ
พื้นผนังหลังบัวที่ฐานปัทม์              เป็นครุฑอัดยืนเหยียบภุชงค์ขยำ
หยิกขยุ้มกุมวาสุกรีกำ                    กินนรรำรายเทพประนมกร
ใบระกาหน้าบันบนชั้นมุข                สุวรรณสุกเลื่อมแก้วประภัสสร
ดููยอดเยี่ยมเทียมยอดยุคุนธร           กระจังซ้อนแซมใบระกาบัง
   
๏ บานทวารลานแลล้วนลายมุก         น่าสนุกในกระหนกดูผกผัน
เป็นนาคครุฑยุดเหนี่ยวในเครือวัลย์    รูปยักษ์ยันยืนกอดกระบองกุม
สิงโตอัดกัดก้านกระหนกเกี่ยว           เทพเหนี่ยวเครือกระหวัดหัตถ์ขยุ้ม
ชมพูพานกอดก้านกระหนกรุม           สุครีพกุมขรรค์เงื้อในเครือวง
รูปนารายณ์ทรงขี่ครุฑาเหิน              พรหมเจริญเสด็จยังบัลลังก์หงส์
รูปอมรกรกำพระธำมรงค์                  เสด็จทรงคชสารในบานบัง
ผนังในกุฎีทั้งสี่ด้าน                         โอฬาร์ฬารทองทาฝาผนัง
จำเพาะมีสี่ด้านทวารบัง                    ที่พื้นนั่งดาดด้วยแผ่นเงินงาม

มณฑปน้อยสรวมรอยพระบาทนั้น       ล้วนสุวรรณแจ่มแจ้งแสงอร่าม
เพดานดาดลาดล้วนกระจกงาม          พระเพลิงพลามพร่างพร่างสว่างพราย
ตาข่ายแก้วปักกรองเป็นกรวยห้อย      ระย้าย้อยแวววามอร่ามฉาย
หอมควันธูปเทียนตลบอยู่อบอาย        ฟุ้งกระจายรื่นรื่นทั้งห้องทองฯ

สมมุติว่า มาอ่านโดยไม่รู้ว่าพระพุทธบาทที่บรรยายนี้   สร้างหรือปฏิสังขรณ์ในสมัยไหน   จะได้ความรู้สึกอย่างไรบ้าง
คำตอบ
๑)  อลังการงานสร้าง  ในด้านศิลปะตกแต่ง  ทั้งเงิน ทอง กระจก ประดับกันแพรวพราว  แสดงถึงงานฝีมือและเงินทองที่ลงไปในงานนี้ ไม่น้อย
๒)  การตกแต่งยังสภาพดี  ใหม่หรือค่อนข้างใหม่  ไม่เก่าคร่ำหมอง     หลักฐานอ่านได้จากกระจก ที่บรรยายไว้กระทบแสงเทียนก็สว่างพราย
นอกจากนี้กวียังเน้นคำว่า แจ่ม เลื่อม แพรว พราย  บอกให้รู้ว่าตื่นตาตื่นใจกับสภาพที่เห็นมากทีเดียว
๓) ลายมุกที่บรรยาย เป็นฝีมือช่างชั้นเยี่ยม ทำอย่างประณีตบรรจง
๔) ยังไม่มีเสื่อเงินปู  แต่พื้นดาดด้วยแผ่นเงินซึ่งยังไม่ชำรุดทรุดโทรม
๕ ) มณฑปที่บรรยาย  หรูหรามาก  ปิด(หรือทา) ทองอร่ามไปทั้งองค์  น่าจะเห็นแต่ไกล

ตรงกับการตกแต่งในรัชกาลที่ ๑ หรือ ๓  รัชกาลไหนมากกว่ากัน ก็โปรดพิจารณาค่ะ
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 04 ก.ย. 07, 21:25

เออ....วันนี้หนอนบุ้งมาแปลกแฮะ
ประกาศปิดกระทู้ แต่ปิดท้ายด้วยการกวนกระทู้ต่อ....555555

แหม หนูมีน้ำใจนักกีฬาล่ะไม่ว่า
เรากำลังถกประเด็นว่านิราศพระบาทแต่งในรัชกาลใด
ใจหนูน่ะ เอนเอียงไปแบบดั้งเดิม แต่คุณพี่ประกาศทฤษฎีใหม่

ทีหลังหากหนูเจอข้อมูลที่ไปเข้าทางคุณพี่พิพัฒน์
หนูจะนั่งทับ อุบเงียบเอาไว้คนเดียว  รูดซิบปาก

เออ แล้วหนูจะตอบคำถามคุณเทาชมพูยังไงดีล่ะค่ะ ยังไม่อยากยงธงขาวค่ะ  ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 04 ก.ย. 07, 22:01

ตอบว่าไม่ใช่รัชกาลที่ 1 นั่นละแน่นอนครับ
แต่ไม่น่าจะเป็นรัชกาลที่ 3 ด้วย รัชกาลนี้ไม่เห็นใช้การปิดทองประดับกระจกกับการตกแต่งภายในครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง